รู้จักดีเอ็นเอกันอีกนิด


เคยคิดมั้ยว่าดีเอ็นเอที่เราพูดถึงกันบ่อย ๆ มันเกิดจากอะไรและหน้าตาเป็นยังไงกันแน่

บทก่อนหน้านี้ได้เกริ่นนำเรื่องเซลล์ และดีเอ็นเอกันไปบ้างแล้วนะคะ สิ่งมีชีวิตมีเซลล์เยอะมากค่ะ แต่ละเซลล์ก็จะมีดีเอ็นเอที่คอยควบคุมพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ค่ะ เรามาดูดีเอ็นเอให้ลึกกันอีกนิดดีกว่าค่ะ

 

ย้อนความอีกนิดนะคะว่า DNA มีลักษณะคล้าย ๆ ริบบิ้นสองเส้นพันกันเป็นเกลียวอย่างที่เห็นในรูปนี้ค่ะ

                   http://gotoknow.org/file/nichanun/dna.jpg 

 

สีน้ำเงินที่เห็นในรูปคือสายดีเอ็นเอ ส่วนที่เป็นเส้นขีดเล็ก ๆ หลาย ๆ สี คือสิ่งที่โยงดีเอ็นเอสองสายนี้เข้าด้วยกันนั่นเอง อ่านรายละเอียดข้างล่างนี้เลยค่ะ

 

 

 สายทั้งสายของดีเอ็นเอจริง ๆ แล้วประกอบด้วยโมเลกุลที่เรียกว่า Nucleotide (นิวคลีโอไทด์)
                 http://gotoknow.org/file/nichanun/nucleotide.jpg

รูปข้างบนนี้คือหน้าตาของเจ้านิวคลีโอไทด์ ซึ่งประกอบด้วยสามส่วนหลัก ๆ คือ Phosphate (ฟอสเฟต), Sugar (ชูการ์ ที่แปลว่าน้ำตาลค่ะ), Base (เบส) อย่างที่เขียนไว้ในรูปเลยค่ะ สายดีเอ็นเอเกิดขึ้นได้เพราะนิวคลีโอไทด์ตัวนี้ต่อเรียงกันยาว ๆ แบบหัวชนหาง คือ เอาส่วนของ phosphate ของนิวคลีโอไทด์ตัวหนึ่งไปต่อกับ sugar ของนิวคลีโอไทด์อีกตัวหนึ่ง อ่านแล้วอาจจะงง ๆ เรามาดูรูปกันเลยดีกว่าค่ะ  

              http://gotoknow.org/file/nichanun/dna+strand.jpg<p class="MsoNormal">นี่คือรูปตัวอย่างการเรียงต่อกันของนิวคลีโอไทด์สามตัวค่ะ ดีเอ็นเอแต่ละสายจริง ๆ สามารถมีนิวคลีไทด์เรียงต่อกันเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ หรือล้าน ๆ ตัวเลยล่ะค่ะ ทำให้ได้สายดีเอ็นเอที่ยาวมาก ๆ ที่เล่ามานี่เป็นแค่ดีเอ็นเอเส้นเดียวนะคะ อย่าลืมว่าดีเอ็นเอนั้นต้องเป็นเส้นสองเส้นคู่กันค่ะ แล้วดีเอ็นเอสองเส้นมาคู่กันได้ยังไง น่าคิดมั้ยล่ะคะ</p> <p class="MsoNormal"> </p>

 คำตอบนั้นง่ายมากค่ะ เราก็แค่เอาดีเอ็นเออีกเส้นมากลับหัวซะอย่างนี้ค่ะ

               http://gotoknow.org/file/nichanun/dna+strand2.jpg 

แล้วเราก็ให้เจ้าเบสของดีเอ็นเอสองเส้นนี้ (ที่เห็นสีเขียว ๆ ในรูป) มาจับเชื่อมต่อกันอย่างในรูปข้างล่างนี้นะคะ                              http://gotoknow.org/file/nichanun/paring.jpg

 

คราวนี้เราก็ได้ดีเอ็นเอสองเส้นจับคู่กันแล้วล่ะค่ะ ส่วนของ phosphate และ sugar จะเรียกรวมกันว่า sugar phosphate backbone และการจับคู่กันของเบส ก็เรียกตรง ๆ เลยค่ะว่า base pair แต่ในเซลล์ของเราจริง ๆ แล้วนั้น ดีเอ็นเอสองเส้นนี้ไม่อยู่เป็นเส้นตรงแบบนี้หรอกนะคะ เพราะเมื่อมันจับคู่กันแล้วก็จะเกิดการบิดเป็นเกลียว บิดแล้วบิดอีก จนได้ดีเอ็นเอที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดี             

                     http://gotoknow.org/file/nichanun/basepair+edit.jpg

 รูปนี้สรุปให้เห็นดีเอ็นเอที่เล่ามาทั้งหมดในวันนี้ค่ะ เส้นสายสีฟ้า ๆ สองเส้นนั้นคือการเรียงต่อกันระหว่าง phosphate และ sugar ของ nucleotide (sugar phosphate backbone) เส้นเล็ก ๆ หลาย ๆ สีที่เชื่อมต่อระหว่างสองเส้นคือการจับคู่กันของเบส (base pair) ผสมกับการบิดเป็นเกลียว ทำให้ได้ดีเอ็นเอหน้าตาอย่างที่เห็นนี่ล่ะคะ

 

 
สงสัยกันมั้ยค่ะว่าทำไมการจับคู่กันของเบสในสายดีเอ็นเอ ถึงต้องแสดงด้วยเส้นเล็ก ๆ หลาย ๆ สี ทำไมไม่ใช้สีเดียวเหมือน
sugar phosphate backbone คราวหน้าจะมาเฉลยค่ะ

 

คำสำคัญ (Tags): #dna
หมายเลขบันทึก: 89376เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2007 02:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
P

เข้ามาเยี่ยม...........

ถามนิดนะ...

ดี เอน เอ. มี ๒ สาย ..หมายถึง มาจากพ่อกับแม่ หรือว่าเป็นตัวผู้ตัวเมีย หรือ ?

เจริญพร

 
ใช่แล้วค่ะ ดีเอ็นเอสองสายที่เรามี สายนึงมาจากพ่อ ส่วนอีกสายนึงมาจากแม่ ส่วนจะได้มายังไงนั้น ไว้ิติดตามเฉลยนะคะ :D
 
นมัสการ 

 บางทีสายทั้งสองอาจจะมาจากพ่อ หรือจากแม่ทั้งหมดก็ได้นะครับ

 บางทีสายเดียวมาจากทั้งพ่อและแม่ โห่ๆๆ คนเลยไม่เหมือนพ่อแม่ และไม่เหมือนพี่น้อง

สวัสดีค่ะคุณเดอ P 

มีคนมาเฉลยซะแล้ว อย่างงี้จะเอาไปเขียนบันทึกต่อไปยังไงดีเนี่ย :D

หลวงพี่ท่านอาจจะเริ่มงง ไว้จะเขียนรายละเอียดเรื่องนี้อีกครั้งนะคะ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ ^_^

..ณิช.. 

 

 ว้า  ขอโทษครับคุณ ณิช วันหลังไม่เฉลยละ อิอิ
ฮ่าๆๆๆ ไม่เป็นไรค่ะคุณเดอ มาร่วมแจมกันได้ค่ะ  :P

ขอบคุงครับ(แทนคนที่มาอ่านทุกคน) อธิบายได้เข้าใจง่ายดีครับ ไม่ปวดหัวเหมือน นส เรียน หุหุ

เรื่องนี้เข้าใจยากนิดหน่อยเพราะว่าต้องใช้จินตนาการประกอบ หนังสือเรียนบางเล่มอธิบายไว้ดี แต่ส่วนใหญ่จะใส่หลักวิชาการไว้เยอะจนเรามึน อิอิ

อยากทราบว่าทำไม DNA ต้องมี โพลี่นิวคลีโอไทด์สองสายด้วยครับ โปรดตอบด่วนพรุ้งนี้ต้องบอกอาจารย์แล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท