คนไทย ควรมีส่วนร่วม และแสดงออกแค่ไหนในสังคมออนไลน์


ผมเชื่อว่าคนเราทุกคนมีสิทธิ แต่สิทธิควรจะมาควบคู่กับความรับผิดชอบ
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นเทคโนโลยีแห่งยุคก็คือ อินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารและส่งผ่านความคิดของมนุษย์ออกมาได้หลากหลายรูปแบบ มันเป็นมากกว่าปรากฎการณ์ทางเทคโนโลยี เพราะอินเทอร์เน็ตได้เชื่อมโยงสังคมเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดรูปแบบการสื่อสารแบบใหม่ ทำให้มีเกิดการรวมกลุ่มกันแบบใหม่ และกลายเป็นโลกใบใหม่ที่เราเรียกว่า cyberspace ต้องยอมรับว่า World Wide Web (WWW) เป็น killer application เพราะ hyperlink ที่เชื่อมโยงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน ทำให้เราสามารถกระโดดข้ามจากการอ่านเอกสารหน้าหนึ่งไปยังหน้าต่างๆ ได้โดยสะดวก และ WWW ยังเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง (2-way communication) อีกด้วย แต่ในขณะที่เราทราบถึงศักยภาพที่ทำให้ผู้เยี่ยมชมเว็บมีโอกาสส่งผ่านความคิดเห็นกลับไปยังเว็บไซต์ได้ เรากลับพบว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักเป็นผู้ผลักดันข้อมูลจาก web master ไปยังผู้เยี่ยมชมเว็บแต่เพียงทางเดียว เราใช้ประโยชน์จากการสื่อสารในทางย้อนกลับน้อยมาก

หากอ้างอิงถึงหลัก 80:20 ที่ประยุกต์เข้ากับเรื่องของการมีส่วนร่วมกับเว็บไซต์นั้น ถ้าเรามีคนเข้าเยี่ยมชมเว็บ 100 คน จะมีถึง 80 คนที่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ อาจจะเป็นประเภทเข้ามาอ่านอย่างเดียว ในขณะที่อีก 20 คนที่เหลืออาจจะมีบ้างที่เยี่ยมชมแล้วเขียนข้อความหรือโหวตแสดงความคิดเห็นกลีบไปยังเว็บไซต์ ซึ่งก็คือ 20% ก่อให้เกิดผลลัพธ์ 80% ทำให้เว็บไซต์มีปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้น อย่าง wikipedia.org สารานุกรมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีผู้ใช้กว่า 32 ล้านคนในอเมริกา กลับมีคนที่เขียนเนื้อหาเพียง 68,000 คน ตีเป็นเปอร์เซ็นต์ไม่ถึง 0.2 เสียด้วยซ้ำไป สถิติที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งคือปัจจุบัน wikipedia มีเนื้อหาอยู่ประมาณ 1,770,000 บทความในภาษาอังกฤษ และมีภาคภาษาอื่นๆ อีก 251 ภาษา และแน่นอนในจำนวนนั้นมีภาษาไทยอยู่ด้วย ซึ่ง th.wikipedia.org ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 คือมีเนื้อหามากกว่า 10,000 บทความ (เดือนพ.ค. 50 เรามีประมาณ 22,000 บทความ) ในขณะที่ภาษาญี่ปุ่นและจีนอยู่ในกลุ่มที่ 2 โดยมีเนื้อหามากกว่า 100,000 บทความ คือ ประมาณ 365,000 บทความ และ 124,000 บทความตามลำดับ นั้นสื่อถึงอะไร คนไทยเราขี้อาย ไม่กล้าแสดงออกเทียบเท่าคนญี่ปุ่นหรือคนจีนงั้นหรือ?

ในยุคเว็บ 2.0 ผู้เยี่ยมชมเว็บกลายเป็นผู้กำหนดทิศทางของเนื้อหา เว็บไซต์ก็กลายเป็นพื้นที่ในการแสดงออกความเป็นตัวตนของผู้ใช้แต่ละคน จุดเด่นหนึ่งในคุณลักษณะของเว็บ 2.0 คือ การแบ่งปันเนื้อหาซึ่งกันและกันไม่ว่าจะในรูปแบบข้อความ รูปภาพ เสียง หรือวีดีโอ ด้วยระบบโปรแกรมที่เทคนิคอย่าง AJAX เข้ามามีบทบาทเป็นอันมาก ทำให้เกิดสังคมเครือข่าย "Socail Networking" ที่ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ เกิดความเท่าเทียมกันในโลกออนไลน์ แต่โปรแกรมดีๆ ระดับโลก เช่น digg.com flickr.com last.fm และ youtube.com จะไม่มีคุณค่าใดๆ เลยถ้าหากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ไม่ใส่ข้อมูลของตนลงในเว็บไซต์ เช่นเดียวกับเว็บไซต์ไทยๆ อย่าง wish.in.th ที่มีสมาชิกที่  Post อยู่ไม่กี่ร้อย แต่มีสถิติจาก Google analytics ว่ามีคนเข้ามาดูเป็นพัน การดูความฝันคนอื่นอย่างเดียวคงจะไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมา ถ้าไม่เข้ามา Post หรือ Comment มันก็จะไม่เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย และมันคงจะไม่ช่วยให้ความฝันหรือความหวังของผู้แอบชมสำเร็จได้ ผมอยากให้คนไทยก้าวข้ามความกลัว แล้วแสดงความเป็นตัวตนในทางที่ดีออกมาให้โลกได้รู้

สุดท้ายหากเราวิเคราะห์ให้ลึกลงไป สิ่งที่จะส่งผลตามมาก็คือเรื่องของนโยบายเนื้อหาว่าเราสามารถใส่อะไรหรือไม่ควรใส่อะไรลงไปในเว็บไซต์ ซึ่งก็แน่นอนว่าเมื่อ web master ไม่ได้เป็นผู้สร้างเนื้อหาแล้ว เขาต้องทำความเข้าใจกับบทบาทใหม่ในการดูแลภาพรวมของเว็บไซต์และการดูแลผู้เยี่ยมชมเว็บให้ดี มันอาจจะเปรียบได้กับเส้นบางๆ ที่คั่นระหว่างสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของมนุษย์กับการควบคุมสื่อและเครื่องมือในการควบคุมนั้นๆ กรณีศึกษาหนึ่งที่เป็นที่วิพากษณ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางคือเมื่อ MICT บล็อกเว็บ youtube.com ทั้งเว็บ ในช่วงต้นปี 2550 ที่ผ่านมา โดยเรียกร้องให้ทางเว็บไซต์นำวีดีโอคลิปที่ไม่เหมาะสมออกไป แต่ทาง    Google Inc. ในฐานะเจ้าของเว็บยืนยันว่ามันเป็นสิทธิของผู้ใช้งานเว็บไซต์ในการ Post วีดีโอคลิปใดๆ ในเว็บไซต์ แล้วอะไรหละคือความเหมาะสม และอะไรคือสิทธิที่ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ผมเชื่อว่าคนเราทุกคนมีสิทธิ แต่สิทธิควรจะมาควบคู่กับความรับผิดชอบ แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?
หมายเลขบันทึก: 94796เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2007 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สังคมไทยเป็นสังคมที่โดนสั่งสอนมาแบบ one-way communication  สอนให้ผู้รับสารแต่ไม่ได้โดนสอนให้เป็นผู้มีปฏิสัมพันธ์กับสารที่ได้รับ ซึ่งถึงแม้บางครั้งจะถูกกระตุ้นให้มีการโต้ตอบเพื่อให้เกิด two-way communication แต่ก็ยังขาดความชำนาญในทักษะของการคิด และสังเคราะห์สารที่ได้รับ ก่อนที่จะโต้ตอบออกมา ดังนั้นการสื่อสารกันในบางครั้งจึงดูสับสน และเหมือนไม่ได้ตอบโต้ไปในทางเดียวกัน หรือเป็นการตอบโต้เพื่อต่อยอดการสนทนา

ทุกวันนี้การแสดงออกบนสังคมออนไลน์มีมากขึ้น ทั้งนี้เพราะการแสดงออก และโต้ตอบกันในบางครั้งนั้นเหมือนกับเป็นการสนองสันดานดิบของปัจเจกชน การแสดงออก และตอบโต้กันโดยไม่มีการเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ดังพบอยู่มากมายตาม website ทั่วไปที่ผู้เยี่ยมชมส่วนใหญ่จะเข้าไปโพสตความคิดไว้อย่างดุเด็ดเผ็ดมัน แต่หาได้สร้างสาระๆใดๆไม่ หรือเป็นการออกความคิดแค่ในลักษณะที่สั้นๆ เช่น เห็นด้วย ชอบ ไม่ชอบ ที่ไม่สามารถช่วยต่อยอดการความคิดใดๆได้  

ดังนั้นการจะสร้าง website หนึ่งๆเพื่อให้เกิดเป็นสังคมที่มีการแสดงออก หรือการตอบโต้กันในเชิงสร้างสาระประโยชน์นั้น website นั้นอาจจะต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ความเข้มแข็งของตัวเอง ความอดทนของผู้ดูแล และความร่วมมือร่วมใจของผู้เข้ามาเยี่ยมชม ดังนั้นสีสันของเนื้อหาที่เป็น one-way communication จาก web master ในช่วงเริ่มแรกของ website นั้น อาจจะสำคัญมากต่อการวางรากฐานในการพัฒนาไปสู่สังคมแบบ two-way communication ของ website นั้นๆ เพราะจุดประสงค์หลักของผู้เข้าไปเยี่ยมชม website ในครั้งแรกนั้นก็คือเพื่อเสพ และถ้าข้อมูลที่มีอยู่น่าสนใจ มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นแง่ใด เมื่อนั้นเชื่อว่าผู้เยี่ยมชมก็จะเริ่มเข้ามาเสพบ่อยขึ้น จนในวันหนึ่งก็อยากจะเริ่มเป็นผู้สร้างบ้างเหมือนกัน

เพิ่มเติม โดยอ้างอิงจากที่คุณ mari เขียนนะครับ

----------------------------------------------- 

เฮียจาเขาเลยเสนอวิธีช่วยให้ความไม่เท่าเทียมกันนี้เบาบางลง ดังนี้

1 ทำให้ง่ายต่อการให้ หรือแชร์ เช่น กดดาวเพื่อให้คะแนน ง่ายกว่าการเขียนความเห็นเป็นตัวหนังสือ

2 ให้ความเห็นทางอ้อม เช่น ถึงผู้ใช้จะไม่เขียนริวิว แต่เมื่อผู้ใช้ซื้อหนังสือ อเมซอนก็จะเก็บข้อมูลไว้ เอาไปใช้แสดงข้อมูลในเรื่องที่ว่า คนที่ซื้อหนังสือเล่มนี้ ก็ซื้อหนังสือเล่มนั้นๆด้วย โดยทางนี้ คนที่ไม่ให้ความเห็นอะไร เพียงให้ระบบศึกษาพฤติกรรมการใช้ ก็ยังมีผลให้เกิดการแชร์ข้อมูลได้ (ฉลาดจริงๆเลยจอร์จ)

3 ให้แก้ไขโดยที่ไม่ต้องสร้างใหม่ การแก้ไข ทำได้ง่ายกว่าการสร้างใหม่ทั้งหมด เฮียจาเขายกตัวอย่างเช่น การสร้าง avatar จะง่ายกว่า ถ้าแก้ avatar จากตัว default แทนที่จะให้สร้างจากหัวขึ้นมาใหม่

4 รางวัลเล็กๆน้อยๆ เช่น ส่วนลด สินค้าใหม่ๆก่อนใคร เลื่อนฐานะสมาชิก เป็นต้น

5 สนับสนุนการแชร์ข้อมูลอย่างมีคุณภาพ ให้ความสำคัญกับคนที่แชร์ข้อมูลที่มีคุณภาพมากกว่าที่จะดูที่ปริมาณ เป็นต้น

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท