ธรรมฐิต
พระ(มหา) วิชิต ชิต สมถวิล(ฐิตธมฺโม)

mind mirror กระจกส่องใจให้รู้เท่าทันสรรพสิ่ง


mind  mirror  กระจกส่องใจให้รู้เท่าทันสรรพสิ่ง

เช้านี้นั่งสาธยายพระธรรมอยู่เลยเหลือบเห็นกระจกที่วางอยู่

เห็นภาพในกระจกหลายอย่าง

เลยนำมาสอนใจของธรรมฐิตที่ยังโง่ต่อการเข้าใจธรรมชาติมากนักว่า

กระจก........ไม่เลือกจะสะท้อนภาพทุกชนิด  ฉันใด

จิตใจ......... จงเอาเยี่ยงอย่างกระจก

กระจก.......... รับรู้   แต่ไม่ยึดถือครอบครอง

ดังนั้น........... จึงไม่มีภาพใดๆ หลงเหลือติดอยู่ในกระจก

สายฝน.......... ในกระจก  หาได้เปียกกระจกไม่

เปลวไฟ........... ในกระจก  ก็หาได้เผาลนกระจก  เช่นกัน

ทั้งนี้............เพราะกระจกไม่ได้ให้อำนาจแก่สายฝนและเปลวไฟ

ดังนั้น........จงทำจิตใจของท่านให้เป็นดุจการรับรู้ของกระจก

แต่ไม่ยึดติด  เพราะถ้าหากจิตของท่าน 

หลงยึดถือหรือตกเป็นทาสของสรรพสิ่ง 

อย่างไม่รู้เท่าทัน  ความเศร้าหมองใจย่อมตามมา

อย่างหลีกไม่ได้ 

แล้วกระจกใจของท่านละเป็นยังไง...

ธรรมะสวัสดีขอรับ...

คำสำคัญ (Tags): #mind mirror
หมายเลขบันทึก: 280611เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2009 06:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 00:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

กระจกใจหนูส่องแล้วมักเก็บมันไว้ค่ะ และมักเก็บแต่เรืองไม่ดีเสียด้วย

นมัสการค่ะ...ขอบคุณที่นำสิ่งดีมาให้ทบทวนตนเองแต่เช้าค่ะ

ไม่มีรูปมันเป็นธรรมดาของใจขอรับต้องฝึกเข้าไว้จะรู้เท่าทันมัน.

Pก็หวังให้ทุกชีวิตได้คิดในสิ่งดีๆขอรับคุณครู..

mind  mirror  กระจกส่องใจให้รู้เท่าทันสรรพสิ่ง

แต่บางครั้ง   กระจกเงาก็เป็นสิ่งรับเข้ามาทุกสรรพสิ่งครับ

กราบนมัสการ  เพื่อความเป็นศิริมงคลในการดำเนินชีวิตของวันนี้  มารับกระจกแห่งธรรมะ

สาธุ สาธุ สาธุ

ใช้ธรรมเป็นกระจกส่องใจได้ดีค่ะ

Pรับแต่มันไม่ยึดนะขอรับท่านรอง

ใจเราก็ต้องรับ(รู้)สิ่งที่เข้ามาเพื่อศึกษามันแล้วคัดสรรสิ่งที่เป็นประโยชน์แต่หายึดติดไว้ไม่..

 

Pก็ขอให้สิ่งดีสะท้อนเข้าหาท่านผอ.นะขอรับ..

Pหายไปหลายวันสบายนะขอรับอาจารย์

อนุโทนาที่แวะมาเยี่ยมเยียน..

นมัสการค่ะ

มีข้อสงสัยด้วยค่ะ

การเป็นคนไม่ค่อยคิด หรือไม่คิดอะไรมาก ต่างจากการไม่ยึดติดหรือเปล่าคะ

เข้าใจมาตลอดว่าคนละประเด็นกัน การไม่คิดมาก อาจจะกลายเป็นคนละเลยไป หรือเปล่า ?

กราบเรียนถามพระคุณเจ้าค่ะ :)

Pการเป็นคนไม่ค่อยคิด หรือไม่คิดอะไรมาก ต่างจากการไม่ยึดติดหรือเปล่าคะ...

ต่างกันขอรับ  การไม่ค่อยคิดหรือไม่คิดอะไรมาก  กับการไม่ยึดติดคนละอย่างกัน  การไม่คิดอาจจะเป็นคนง่ายๆหรือบางครั้งอาจจะมักง่ายก็ได้อย่างเช่นเมื่อหิวมีไรก็กินไม่ต้องคิดมากได้ทั้งนั้น  แต่บางครั้งทำไรแบบไม่คิดตริตรองผลออกมาก็ไม่สวยหรูเท่าไหร

แต่การไม่ยึดติดต้องคิดด้วยปัญญาด้วยการมีสติควบคุม รู้เข้าใจกับสิ่งที่มากระทบทางทวารทั้งหก แต่ไม่ได้ดีใจเสียใจ(อาจทำยากต้องฝึก)

ง่ายๆเราหิวข้าวกินแล้วลองถามตัวเองว่าเรากินเพื่ออะไร?

หรือมีคนด่าเราเราโกรธเพราะอะไรคนด่ากลับบ้านนอนสบายแต่เรายึดกลับไปทุกข์ที่บ้านต่อ  นั่นแหละยึดติด 

ดังนั้นการไม่ยึดติดต้องใช้ปัญญารู้เท่าทันกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างนิ่มนวล

มีโอกาสจะอธิบายให้ละเอียดกว่านี้ขอรับ..

นมัสการพระคุณเจ้า

  • การยึดติดคือการมีอัตตาสูงใช่ไหม
  • หรือการหลงวัตถุ..ก็ทำนองเดียวกันหรือเปล่าเจ้าคะ
  • กราบขอบพระคุณอย่างสูง

 

Pทั้งสองอย่างแหละขอรับคุณครู..

นมัสการครับ

ท่านอธิบายแจ่มแจ้งมากครับ

นมัสการ

Pคุณใช้ปัญญาแจ่มแจ้งมากกว่าขอรับ..

 

นมัสการพระคุณเจ้า

  • วันนี้เป็นวันดีที่ได้เข้ามาพบธรรมะดี ๆ บันทึกนี้
  • เป็นบุญวาสนาเหลือเกินขอรับ

 

นมัสการครับ

สาธุครับ

วันหนึ่ง ถ้าหมดสภาพ

กระจกคงเสื่อมสลายไปเองนะครับ

 

กราบนมัสการพระคุณเจ้า (อีกรอบขอรับ)

 

  • ด้วยความเขลาของกระผม ทำให้เข้าใจไม่หมด จึงขอเรียนถามพระคุณเจ้าเพิ่มเติมก่อนนอนว่า .........เพราะกระจกไม่ได้ให้อำนาจแก่สายฝนและเปลวไฟ... หมายความเช่นไรขอรับ

 

(กราบ 3 หน)

 

Pสาธุขอรับที่มาเยี่ยม..

Pขอบคุณอาจารย์ขอรับที่แวะมาทักทาย..

แต่ขณะที่กำลังมีสภาพนี่สิน่าคิกเหนาะอาจารย์..

Pด้วยความเขลาของกระผม ทำให้เข้าใจไม่หมด จึงขอเรียนถามพระคุณเจ้าเพิ่มเติมก่อนนอนว่า .........เพราะกระจกไม่ได้ให้อำนาจแก่สายฝนและเปลวไฟ... หมายความเช่นไรขอรับ

ลองคิดตามง่ายๆนะขอรับว่าท่านมีรถอยู่คันนึงตอนแรกๆเรามีอำนาจเหนือมันแต่เมื่อรถถูกคนขูดขีดเป็นรอย  แล้วท่านไม่สบายใจหงุดหงิดทันที..

ถามว่าใจท่าน(เปรียบดังกระจก)มีอำนาจหรือท่านให้อำนาจรถ(เปรียบดังสายฝนและเปลวไฟ)มาอยู่เหนือใจให้งุดหงิดละ..

พิจารณาอย่างนิ่มนวลนะขอรับ..แล้วใจเราจะมีอำนาจเหนือสรรพสิ่ง..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท