พย.สสส. : Workshop แนวคิดและเครื่องมือการจัดการความรู้ (๒)


การเรียนรู้ของคนสามารถออกแบบได้หลากหลาย เอามา design แล้วใส่บรรยากาศเข้าไป

ตอนที่

ในเรื่องแนวคิดการจัดการความรู้ (วงจรการจัดการความรู้) เรามักคุ้นเคยในซีกของ explicit อีกซีกหนึ่งความรู้ tacit อยู่ในคน การเข้าถึงทำได้ยาก การจัดการได้เจ้าของต้องมีใจแบ่งปัน.....ความรู้จะยกระดับไปเรื่อย ๒ วงจรไม่ใช่ต่างคนต่างหมุน ไม่อยู่นิ่งๆ ยกตัวอย่าง R2R การจัดการความรู้มันต่อเชื่อมกันอยู่ ถ้าต่อกันได้จะยิ่งมีพลัง ตัวอย่างเครือข่ายเบาหวานที่แรกๆ ก็ระดมความรู้ tacit ขึ้นมา ต่อมาก็เชื่อมความรู้ทั้ง ๒ ประเภท

 

คุณธวัช หมัดเต๊ะ

การจัดการความรู้ tacit ยาก ขึ้นอยู่ว่าหน่วยงานมีทุนอยู่แค่ไหน ระดับการไปเริ่มแต่ละหน่วยงาน ต้องเข้าใจมิติของคน.....การเข้าถึงจิตใจ ...ความสัมพันธ์ระหว่างคน สคส.เรียกว่า human KM มีเครื่องมือมีเทคนิคอีกหลายตัว

โมเดลเก่าแต่ยังใช้อยู่ โมเดลปลาทู เป็นเครื่องมืออธิบายให้เข้าใจว่า KM ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด เป็นผู้คิด เพื่ออธิบายได้ง่ายขึ้น เป็นบริบทแบบไทยๆ ว่าหลักๆ สำคัญมี ๓ ส่วน
- หัวปลา KV จะเอา KM ไปใช้เพื่ออะไร CKO เป็นคนที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างมาก เข้ามาให้ความสำคัญ
- ตัวปลา KS พอรู้ว่าเราจะให้บรรลุอะไร ก็มาดูว่ามีความรู้ที่จำเป็นอะไร หน่วยงานเรามีอะไรอยู่แล้ว อะไรที่ไม่มีต้องไปเอามาจากข้างนอก ตัวละครที่เข้ามามีบทบาทคือคุณอำนวย เข้ามากระตุ้นการเรียนรู้ ในหน่วยงานส่วนใหญ่เขาจะดูคนที่มีทุนเดิมอยู่แล้ว มีมนุษยสัมพันธ์ดี คนอยากเข้ามาคุยด้วย แล้วไป train อะไรอีกนิดหนึ่ง คุณอำนวยไม่ใช่อยู่ๆ จะราบรื่น บางทีก็โดนปิดประตูใส่ อีกตัวละครหนึ่งคือคุณกิจ คนที่เขาทำงานนั้นอยู่ประจำ ไม่ต้องไป train

หัวปลาอาจแตกเป็นเล็กๆ เช่น การดูแลผู้ป่วยเบาหวานเป็นหัวปลาใหญ่ หัวปลาเล็ก เช่น อาหาร เท้า ยา ออกกำลังกาย ฯลฯ พอได้หัวปลาเล็กจะมองหาคุณกิจได้ชัดขึ้น ประเด็นการพูดคุยจะคมขึ้น ลงรายละเอียดได้มากขึ้น หัวปลาเดียวกันเขาจะมีความสนใจเหมือนกัน

 

ผู้เข้าประชุม

๑๐.๔๐ – ๑๑ น.พัก รับประทานอาหารว่าง หลังจากนั้นต่อเรื่องการจัดการความรู้ ๓ มุมมอง : Body of Knowledge, Process of learning, Sharing นอกจากการ sharing กันแล้ว การบันทึกก็สำคัญ อาจเป็น file word, clip VDO ไปคิดวิธีการจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้ค้นหาได้ง่าย หลักคือให้เข้าไปค้นและเอาไปใช้ต่อ คาดหวังว่าคุณกิจที่อยู่หน้างานจะรู้ว่ามีแหล่งความรู้อยู่ที่นี่

สคส.พบว่าพอทำไปสักพักหลายหน่วยงานมองไปที่มิติเดียวคือตัวความรู้ เป็น part หนึ่งแต่ยังไม่ครบถ้วน แต่ก็มีหลายหน่วยงานที่ทำเรื่อง process of knowing หรือกระบวนการเรียนรู้ได้ดี

ถ้าจะให้ครบถ้วนคือช่องทางที่ทำให้ความรู้ลื่นไหลทั้งองค์กร CoP เป็นกลไกที่ทำให้ความรู้ที่อยู่ในคนวิ่งไป

Process of Knowing
คุณอำนวยต้องทำตรงนี้มาก เพื่อให้คนทำงานมีความรู้และทำงานอย่างมีความสุข มีการพยายามคิดเครื่องมืออกมา ทำให้บรรยากาศดีขึ้น เช่น dialogue, storytelling etc.

Storytelling นอกจากจะดึงความรู้ออกมาแล้ว ยังทำให้บรรยากาศดีขึ้น ใจกระทบใจมากขึ้น (เครื่องมือดึงศักยภาพของคน) สุนทรียสนทนา ฟังด้วยหัวใจ ชื่อว่าสุนทรียสนทนา แต่วิธีการเน้นการฟังอย่างมาก SECI Model อธิบายความรู้และการเชื่อมต่อของความรู้ วิธีการทำความรู้เคลื่อนไปได้ = สุ จิ ปุ ลิ โมเดลเก่าแก่ของไทย หัวใจนักปราชญ์ สุ รับเข้ามา รับเป็นปราการด่านแรก.......จิ รับเข้ามาแล้วก็มีกระบวนการคิดการไตร่ตรอง ปุจฉา เหมือนเราตั้งโจทย์ ยังไม่ได้ลงมือทำ ตั้งปุจฉาว่าใช่หรือไม่ใช่ ลิ ไม่ใช่แค่เอาปากกาเขียนลงไป เป็นการ “ลิ” ลงไปในหัวใจ ทั้งหมดทั้งปวงต้องหมุน ไม่ใช่อยู่นิ่ง

ตัวอย่างการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนชาวนา พอเอา KM มาจับ โดยเชื่อว่าคนที่อยู่หน้างานเขาต้องมีทุนเดิมอยู่บ้าง พอให้เขาบอก เราจะรู้ว่าเขาขาดอะไร ให้นักเรียนชาวนาค้นหาโจทย์ว่าทำอย่างไรจะลดต้นทุนการปลูกข้าว ทำอย่างไรให้สารเคมีในเลือดลดลง ยิ่งทำยิ่งเป็นหนี้ ศักดิ์ศรีหาย พอเอา KM มาจับเขารู้สึกว่าศักดิ์ศรีเขามีมาก ยกตัวอย่างการไปหาเชื้อในการทำปุ๋ย เดิมเราคิดว่าเขาไม่มีความรู้ จริงๆ เขาไปเก็บในป่าไปเก็บเชื้อในป่าเพราะข้างนอกมีสารเคมีเยอะ เขาลองผิดลองถูกเอามาใส่ดูพบว่าดีขึ้น นักวิชาการเอาไปวิเคราะห์ แล้วบอกว่ามีจุลินทรีย์อะไรบ้าง แต่ละตัวมีประโยชน์อย่างไร ชาวนาภูมิใจมาก แต่ก่อนเรียกแต่จุลินทรีย์ไม่รู้ว่าคืออะไร

ต่อมาปูนซีเมนต์ไทย สนใจอยากทำกระบวนการเรียนรู้ ส่งคุณอำนวยมาเรียนรู้จากโรงเรียนชาวนา อยากได้กระบวนการเรียนรู้ การตั้งโจทย์......สนใจ process วิธีเคลื่อนของมัน

SCG Project based learning ปูนฯ มีวิธีเรียนรู้แปลกๆ เช่น พาไปเที่ยว แต่แฝงการเรียนรู้

การเรียนรู้ของคนสามารถออกแบบได้หลากหลาย เอามา design แล้วใส่บรรยากาศเข้าไป

วัลลา ตันตโยทัย

วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๑

 

หมายเลขบันทึก: 208985เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 06:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท