ปฐมเหตุแห่ง World Cafe


AI and Positive Psychology

ถ้าคุณเคยเป็นวิทยากร หรือเคยเข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารในระดับใดก็ตาม ครับมักจะตามด้วย "...เอาล่ะ ผมเป็นคน Open-minded ใจกว้างเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกคน พูดมาเลยครับว่ามีปัญหาอะไร เรารับฟังคุณ..." ถ้าคุณอยู่มานาน คุณก็จะเริ่มเก็งละว่า ใครจะ "ซวย" เผลอแสดงความคิดเห็น แล้วก็มีครับ มักเป็นเด็กหน้าใหม่ ที่เข้ามาอย่างไฟแรง ก็จะนำเสนอผู้บริหาร ซึ่งก็จะรีบตอบอย่าง ขอไปที ในที่สุดคุณจะพบว่าไม่มีข้อเสนอใดได้รับการยอมรับ การ Brainstorm ทั่วไปแม้กระทั่งในชั้นเรียนจึงกลายเป็น Silentstorm องค์กรเราจึงได้แต่ "ความเงียบ การหมดศรัทธาในองค์กร" มากกว่า "ความรู้  และความภักดี"

เรื่องเหล่านี้ไม่ได้เกิดในประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดทั่วไปภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ครับ จึงมีคนพยายามคิดเทคนิคการระดมสมองในรูปแบบต่างขึ้นมา หนึ่งในนั้นคือ World Cafe เทคนิคนี้ใช้การประชุมกันวนไปทีละโต๊ะ โดยมี Host จดประเด็นสรุปครับ เทคนิคนี้เท่าที่ผมเคยใช้มาสามารถทำให้เกิดการมีส่วนร่วมได้อย่างสูง ได้ความรู้แปลกใหม่มากกว่าการระดมสมองด้วยเทคนิคอื่นๆครับ (ประสบการณ์ส่วนตัวครับ) เพื่อนผมอาจารย์อัจฉริยะ กลุ่ม Appreciative Leadership ก็ยืนยันเช่นกัน

ปัจจุบัน World Cafe มีใช้ในหลายวงการครับ เรียกว่ากลายเป็น Movement ระดับโลกไปเลย ช่วยแก้ปัญหาแม้กระทั่งความขัดแย้งในชุมชน หรือระดมสมองเพื่อหาความรู้ และ Social Innovation ใหม่ๆ 

ตามมุมมองของผม Wolrd Cafe คล้ายๆกับ AI Summit  ใช้เมื่อเวลาต้องการระดมสมองกับคนกลุ่มใหญ่ 30 คนขึ้นไป

1. ดูข่าวสารและความเคลื่อนไหวของ World Cafe ในระดับโลก Click ที่นี่

2. ผมเองได้เก็บรวมรวมข้อมูลจากการทำ World Cafe ไว้ 9 ครั้ง สนใจ Click ที่นี่

3. สนใจหนังสือภาคภาษาไทย มีแล้วครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#world cafe
หมายเลขบันทึก: 337992เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เป็นเทคนิคการระดมสมองที่ สุดยอดมาก ครับอาจารย์

ทำให้ได้รับความคิดที่หลากหลาย ไม่น่าเบื่อที่ต้องนั่งอยู่กับที่

สมองได้รับการกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา เพราะต้องหมุนเวียนกลุ่มไปเรื่อยๆ

ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีหัวข้อให้คิดแตกต่างกัน

"ขอบคุณเทคนิคการสอน สุดบรรเจิด ครับ"

       ผมเอง   ได้เคยลองนำมาใช้ดูบ้าง   เป็นความแปลกใหม่ที่ได้ผลครับ  เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ   ไม่เกร็ง

      แต่ที่ผมทำ ทำอย่างไม่เป็นทางการครับ  บรรยากาศแบบสบายๆ ไม่เน้นวิชาการจริงจัง

ตอบคุณ Waht women want? ขอให้สนุกนะ

ตอยคุณ Small Man ครับขอบคุณท่านที่แวะมาครับ เทคนิคนี้ดีจริงๆครับ

silence storm นั้น ก็เหมือนเป็นการสื่อสารเพียทางเดียวเท่านั้นเองค่ะ

แต่ว่า การทำ world cafe สามารถขจัด bias ได้จริงมั้ยคะอาจารย์

หากการพูดคุยของกลุ่มคนที่มีพื่นความรู้ต่างกันมากเกินไป

จะเกิดข้อขัดแย้งภายในจิตใจหรือเปล่าคะ

ว่าคนนี้พูดเสนอต่างๆ เก่งกว่าความคิดที่เราเสนอออกมา

ขอคำชี้แนะ ด้วยคะ

jw

ตามความเห็นของผม การทำ World Cafe ไม่ใช่ยาครอบจักรวาลครับ Facilatator ต้องสนใจเรื่อง Inclusion ต้องคอยสังเกต ใครไปไหว ไม่ไหว กลุ่มใดมีปัญหา หรือดีกว่าคนอื่น โดยทั่วไปผมใช้ AI ผสมเข้าไป ครัล บรรยากาศจะดี และช่วยเพิ่ม Inclusiion หรือการมีส่วนร่วมได้ดีครับ นอกจากนี้ยังทำให้เข้มด้วยการใช้ KM โดยเฉพาะ SECI ของ ท่าน Takeuchi and Noanaka (1995) และ ในเดือนหน้าจะผสมผสาน AAR กับ BAR เข้าไป คอยติดตามดูนะครับ

สวัสดีท่านอาจารย์ภิญโญครับ

ผมสั่งซื้อหนังสือตั้งแต่ออกวางแผงครับ

สนใจ world cafe เหมือนกันครับ ยังไม่มีโอกาสได้ไปเข้าร่วม หรือ ได้ใช้

แต่ก็เตรียมตัว เรียนรู้ไว้ก่อนครับ เผื่อจะมีโอกาสได้ใช้ในอนาคตครับ

ขอบพระคุณครับ

การสอนแบบ world cafe เป็นอะไรที่ไม่ธรรมดาเลยครับ

ไม่น่าเบื่อ รู้สึกสนุกและได้ประสบการณ์ใหม่ๆเยอะเลยครับ

ขอขอบคุณท่านอาจารย์มากครับ สำหรับสิ่งดีๆครับ

ชอบแนวคิดนี้เหมือนกันค่ะ อ.โย

ให้คนที่มีส่วนร่วมได้มีอิสระที่จะเสนอแนะแนวคิดได้อย่างกว้างขวางดีค่ะ สนุกด้วยค่ะไม่เครียด

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ภิญโญ

ดิฉันมีความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับ World Cafe ซึ่งเป็นการร่วมแสดงความคิดเห็นที่เปิดกว้าง

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท