ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งทอ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเมืองเกียวโต


ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งทอ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเมืองเกียวโต

ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งทอ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเมืองเกียวโต

นายฮามานากะ ฮิโรชิ หัวหน้าการวิจัย ห้องให้คำปรึกษาทางเทคโนโลยี ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งทอ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเมืองโตเกียวได้บรรยายสรุปให้ผู้เขียนเมื่อครั้งได้เดินทางไปศึกษากิจการในมิติของการคุ้มครองผู้บริโภค ดังนี้

เมืองเกียวโตเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยเฉพาะสินค้าประเภทผ้าไหมที่ตัดเย็บแบบกิโมโนและผลิตภัณฑ์สิ่งทอตามแบบลักษณะเฉพาะของญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์รวมส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอตามแบบลักษณะเฉพาะของญี่ปุ่นอีกด้วย  ดังนั้น จึงได้มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสิ่งทอสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเมืองเกียวโตแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสิ่งทอตามแบบลักษณะเฉพาะของญี่ปุ่นให้กับบริษัทต่างๆ พื้นที่ของศูนย์ฯแห่งนี้จะประกอบได้ด้วย ห้องทดสอบและวิจัย ห้องอบรมและสัมมนา นอกจากนี้ บริษัทสิ่งทอต่างๆ และประชาชนทั่วไปสามารถขอรับคำปรึกษาปัญหาในด้านสิ่งทอ เช่น ปรึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี ปรึกษาด้านความขัดข้องหรือชำรุดเสียหายของผลิตภัณฑ์ และปรึกษาในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอ ซึ่งศูนย์แห่งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ไว้วางใจที่จะขอคำปรึกษาเนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญและผู้ชำนาญการหลายท่านที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้ นอกจากนี้ ยังดำเนินการรวบรวมข้อมูลการวิจัยต่างๆ ค่อนข้างมากที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เช่น การวิจัยด้านการพิมพ์ผ้า ด้านการย้อมสีผ้าและผสมสี ด้านการออกแบบ ด้านการตรวจสอบสินค้าที่เป็นปัญหา เป็นต้น

ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งทอสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเมืองเกียวโตได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตทางอุตสาหกรรมด้านสิ่งทอในจังหวัดเกียวโต

ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งทอสถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเมืองเกียวโตได้รับการสนับสนุนการสมาคมสิ่งทอนิชิจิน มีบทบาทที่สำคัญได้แก่ ด้านคุณภาพและการทดสอบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ด้านการวิเคราะห์และการวิจัยเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การประหยัดแรงงานและการพัฒนาคุณภาพ ด้านการแนะนำรวมถึงการชี้เฉพาะข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์สิ่งทอและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทางเทคนิค และด้านการฝึกอบรมและการให้ความรู้แก่ผู้ดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมสิ่งทอแบบดั้งเดิมเพื่ออนาคต  นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตสิ่งทอต่างๆ ยังสามารถขอความอนุเคราะห์ใช้เครื่องมือของศูนย์แห่งนี้เพื่อดำเนินงานวิจัยหรือทดสอบได้โดยเสียค่าใช้จ่ายไม่มาก

 

ข้อคิดเห็นของผู้เขียน

แม้ว่าศูนย์เทคโนโลยีสิ่งทอ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเมืองเกียวโตจะเป็นองค์กรที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ผลิตสิ่งทอ มีการเก็บรักษาข้อมูล และเป็นองค์กรที่ค้นหาสาเหตุด้านกฎหมายว่าด้วยความรับผิดในผลิตภัณฑ์ก็ตาม ประโยชน์ก็จะได้แก่ผู้บริโภคโดยทางอ้อมจากสินค้าที่ผู้ผลิตได้รับคำปรึกษาจากศูนย์ฯ เพื่อนำไปพัฒนาการผลิต  นอกจากนี้ ขณะนี้ ยังไม่มีการขอจากหน่วยงานใดให้หาสาเหตุเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดในผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด  อย่างไรก็ตาม สถาบันวิจัยฯ ดังกล่าวนี้ก็เป็นองค์กรฐานที่สำหรับใช้ตรวจสอบและวิจัย ตลอดจนหาสาเหตุระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ต่อไปในอนาคตแม้ว่าขณะนี้จะยังไม่ปรากฏในเรื่องดังกล่าวก็ตาม

อนึ่ง สำหรับการเก็บรักษาข้อมูลนั้น ในแต่ละวันจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์และทางอินเตอร์เนต จำนวน ๕ คน ข้อมูลคำปรึกษาต่างๆ จะเผยแพร่ในโฮมเพจ โดยประชาชนทั่วไปสามารถศึกษาข้อมูลต่างๆ ได้ นอกจากนี้ ยังเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ มีฐานข้อมูลการขอและให้คำปรึกษา ข้อมูลที่สำคัญที่สุดคือข้อมูลที่เป็นรูปภาพผลการวิเคราะห์ต่างๆ จะบันทึกลงแผ่นดิสก์ และจัดเก็บอย่างดีเนื่องจากเป็นข้อมูลที่สามารถชี้แนะหรืออธิบายปัญหาด้านสิ่งทอได้ชัดเจนกว่าคำบรรยาย

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ผู้เขียนได้เข้ารับฟังและศึกษาวิธีการทำงาน หน่วยงานทุกหน่วยงานต่างให้ความสำคัญกับข้อมูลและระบบฐานข้อมูลอย่างมาก

บทบาทที่มีความสำคัญของศูนย์ฯ นอกจากนี้คือ การพัฒนาสิ่งทอพื้นเมืองและการรวบรวมข้อมูลปัญหาสิ่งทอพื้นเมืองซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและบริษัทผู้ประกอบการ สิ่งที่น่าสนใจคือ การวิจัยเพื่อประสิทธิภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการมุ่งมั่นดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติสืบไป

หมายเลขบันทึก: 173242เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2008 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ที่เมืองไทยมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี่หรือเปล่าครับ..ใช่ MTEC หรือ Dip หรือหน่วยงานอื่นครับ..สำหรับสิ่งทอพื้นเมืองนอกจากพัฒนาชุมชนแล้วควรปรึกษาหน่วยงานใดที่สามารถส่งเสริมการตลาดต่างประเทศบ้างครับ โดยเฉพาะญี่ปุ่น..กรมส่งเสริมการส่งออกก็มีค่าดำเนินการสูงมากสำหรับตลาดต่างประเทศ..ขอบคุณครับ

กรมส่งเสริมการส่งออกน่าจะมีหน้าที่หลักในมิตินี้ครับ อย่างไรก็ตาม คิดว่าขึ้นอยู่กับนโยบายและวิธีการบริหารจัดการภายใน ที่จะสามารถขจัดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท