พฤติกรรม คนในเว็ป ตามหลักสุนทรียสนทนา


เคารพความแตกต่าง
ประสบการณ์ เป็น web master ของผม

ผมดูแล เว็ป เล็ก    ชื่อ http://managerroom.com  เป็นเว็ปแบบ บอร์ดทั่วๆไป   เช่นเดียวกับพวก pantip.com ที่ผมเข้าไปแจมอยู่เสมอๆ   

คนที่โพสต์เข้ามามีหลายจำพวก   ได้แก่    (ก)  อ่านแล้ว จิตเกิด ยินดี ร่วมวง  กระโดดใส่   รีบไปคว้า  (ข)  อ่านแล้ว จิตเกิด  แต่ เป็นแบบอกุศล  คือ เข้า ขย้ำ    กัดแหลก   (ค)  อ่านแล้ว  ไม่อยาก เสนออะไร  ใบ้ๆ เงียบ เอาตัวรอดดีกว่า    เกิด ความอาย กลัว  ไม่กล้าแสดงออก

คนไทยใช้เว็ป   จะแสดง กำพืดออกมามากมาย เช่น  สำนวนโหดๆ    การเพ่งโทษ  การยกตนข่มท่าน  การคาดหวังให้คนมาชื่นชม  การเยินยอ   การแบ่งพรรคพวก  ฯลฯ   นี่ สะท้อน ลักษณะของการศึกษา   ที่ เป็นแบบ Format   หรือ แบบ Industrial    เป็นการศึกษาที่ไม่เข้าถึง แก่นของ ไตรสิกขา   นั่นคือ ไม่เป็น  Natural       

อย่างไรก็ตาม  ผมได้ ข้อคิด ของผมเองดังนี้

 

โดยถ้าเราพิจารณา ตาม หลักการของ Dialogue  ที่มี  ๔ ระดับ  ของ การสนทนา  ….  เราจะพบว่า   

(ก) ระยะแรก : คนที่ เงียบ  เอาแต่ อ่านๆๆๆ  หรือ โพสต์ๆๆๆ  ไม่สนใจใคร  วันๆเอาห่วงว่า จะมีใครมาอ่านไหม  เอาตัวกู ของกู เป็นสำคัญ    หรือ วันๆ จิตใจจดจ่อ วันนี้ จะโพสตื จะเขียนอะไรดี   เห็น เว็ป  เป็น ยาที่ขาดไม่ได้    ฯลฯ   ตัวใคร ตัวมัน   ต่างคนต่างโพสต์   เอาผลงานโพสต์ไปเป็นดัชนีวัดผลงาน 

(ข)  ระยะสอง :  คนพวกนี้   จะ เชียร์  จะโต้แย้ง    แต่ ก็จะใช้   ระดับของจิตที่เกิดแรง  ระดับ เบต้า     รัก ชอบ ชัดเจน  แบ่งกลุ่ม    ผลที่ตามมา  คือ บ้างได้เพื่อน บ้างได้ศัตรูในเว็ปนี่เอง   บ้างได้อกุศล  บ้างได้กุศล    หลายคน งอน ไม่กลับมาที่เว็ปอีกเลย   หลายคนประกาศ กร้าว ฉันไม่คบกับแก  แกอย่ามาโพสต์ อีกนะ    คนใน สองระดับนี้  ยังไม่พัฒนาตามแนว สุนทรียสนทนา  (Dialogue)   เลยครับ  

(ค)  ระยะสาม :  เป็นระยะ ที่เหนือ การสนทนาทั่วไป  เข้าสู่  สุนทรียสนทนา  คือ  เริ่ม รับฟังทางลึก (deep listening)   เริ่มเคารพตัวตนของคนอื่น เคารพในความคิดของคน   มองคนในแง่ปัจเจกชน  เริ่มย้อนดูตนเอง   เริ่ม เฉลียวใจ    เช่น  เอ๊ะ หรือ ที่เขาบอกเล่า จะมีมูล  เริ่มมีคำถามในใจ  เริ่มกลับไปทำงานแต่ คำถามก็ตามไปให้ย่อย ให้ขบ     เริ่มมองคนที่คิดต่างว่าเป็นคนที่มีพระคุณ   เริ่มอยาก ลองทำ    เริ่มอยากแปลง ข้อมูล เป็นปฏิบัติ   

การจะเข้ามาสู่ ระรยะสามนี้     คงต้องผ่าน การฝึก   เพราะ เป็น ทักษะ สำคัญของ LO & Km 

การรู้เท่าทัน  เสียงภายใน (Inner voice) /  เสียงแห่งการพิพากษา (Voice of judgement) / ความคิดที่เป็นสังขาร การปรุ่งแต่ง   วิตก (คิดฟุ้งซ่าน ไปใน อนาคต)  วิจารณ์ (เพ่.งโทษ  เทียบกับกติกาของตน  หาข้อผิดคนอื่น)   นี่แหละ คือ  การมีสติ    รู้เท่าทัน จิต และ ความคิด     

การสนทนาในระดับ สุนทรียสนทนา   จัดเป็นการปฏิบัติธรรม ในแนว มหาสติปัฏฐานสี่  เพราะ เราต้อง ดูจิต ขณะสนทนา    ดูตัวเราเองบ่อย ๆ  (โอปนยิโก)    ใช้ โยนิโสมนสิการให้มากๆ 

คนเป็น Web master เอง  ก็ต้อง มีทักษะในระดับสามนี้เป็น อย่างน้อย  จึงจะ รักษาบรรยากาศการเรียนรู้ ในเว็ปได้     

(ง) ระยะสี่ :   สนทนากันแบบ Flow  ไหลลื่น   ขัดแย้งแต่ไม่ขัดใจ    นี่แหละ   เป็น เกลียวความรู้    แม้คนที่ดูจะไร้สาระ ก็อาจจะกลายเป็นคนที่ สะกิดต่อมความรู้ออกมาได้   บรรยากาศแบบ Team learning ดีมาก   Mental model น้อยมาก  คิดต่างกันแต่ก็รักกัน เป้าหมายเดียวกัน   Share vision ร่วมกัน   คิดเพื่อการ รักษ์โลก รักเพื่อนมนุษย์   (System thinking)    ฯลฯ 

สุดท้ายนี้   เราลองมาพิจารณาตัวเราเอง  ( Hansei ตัวของเราเอง )     สำรวจตัวเราเองว่า  ทักษะในการสนทนาของเรา  อยู่ใน ระดับไหน    และ จงให้ อภัย  คนที่เขา ยังอยู่ในระดับ 1  และ 2 

คำสำคัญ (Tags): #สุนทรียสนทนา
หมายเลขบันทึก: 82826เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สาธุครับ ดร.วรภัทร์

อ่านแล้วต่อมปัญญา(ทางโลก) ชักติดเครื่องทำงานครับ

ด้วยความเคารพครับ

เป็นกระจกอย่างดี  เลยครับอาจารย์

แต่บางทีก็มีหลุดเหมือนกันครับ   อารมณ์ ชอบมาหลอกล่อ จิต ที่ยังไม่ค่อยแข็งแรง  เกิดเป็นไปโดยทันที ชั่วขณะ  

อาการของผมประมาณนี้  มีคำแนะนำอย่างไรบ้าง  เพื่อให้จิต เป็นนาย  อารมณ์   แทนที่  อารม์  เข้ามานาย  จิต  ครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

เรียนท่านไร้กรอบ

 สาธุ สาธุ และ สาธุ ครับ

 ท่านว่า "คิดก่อนเขียน เพียรสรรค์สร้าง"ครับ

อ่านแล้วเห็นภาพครับ...

คงต้องสำรวจตัวเองแล้วครับ...

ขอบคุณครับ...

  • ขอบคุณหลาย ๆ เด้อครับ
  • หายไป 10 วัน ช่วงนิสิตสอบ Final อาจารย์งานหนักครับ
  • ตอนนั้น ผมยังไม่เจออาจารย์ เลยไม่มี Sati พอ จึงตัดสินโดยปิด Web board ทิ้ง เพราะทนพวกมา Post แต่โฆษณาขายของ กับ ประเภทชักชวน Work at Home
  • ตามลบไม่ไหวครับ

เรียนท่าน Thawat

ลองเข้าไปอ่าน ในเว็ป managerroom.com  ห้อง ธรรมะ  ดูนะครับ

คนขี้โมโห ขี้หงุดหงิดนี่  บรรลุธรรมง่าย กว่า คนโลภ คนหลง นะครับ

ถ้าจิตเกิด  ก็อย่าคิดต่อในเรื่องนั้นๆ    "หยุดคิดก็จะรู้   ผู้รู้ (มีสติ)จะไม่คิด(อกุศล หรือ ไม่คิดต่อ)  ผู้คิด(มาก คิดต่อ) ไม่รู้ (ขาดสติ)"

"ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดไม่รู้   หยุดคิดก็จะรู้" --- คำสอน หลวงปู่ดูลย์    ครับ

จิตถ้าเกิดแรงๆ   ให้ ดุตนเอง  ข่มความคิดนั้นๆลง   คิดในแง่บวกให้มากๆ    เอาไตรลักษณ์เข้ามาเป็นเหตุผล (เป็น ปลายก้างปลา) 

ถ้าหัวปลา คือ ปัญหา   ที่ปลายสุดของก้างปลา จะ จบลงที่ ไตรลักษณ์  (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)

แยก "จิต สติ ความคิด" ให้ได้ทัน  ก็จะมี กำลังสติมากขึ้นครับ

ขอบคุณค่ะ จะนำมาปรับใช้กับตนเอง ... เพื่อพัฒนาระดับการสนทนา โดยเฉพาะในที่ประชุมขณะทำงาน
  • เป็นบันทึกที่มีประโยชน์มากครับ
  • นานๆ มาเยี่ยมที
  • สุดท้าย ไม่พ้นเรื่อง "การฝึกตนเอง" และ มีสุนทรียสนทนากับผู้อื่น
สาธุค่ะอาจารย์   กำลังฝึกปฏิบัติการดูจิตจากพระอาจารย์ปราโมทย์ที่สวนสันติธรรมอยู่ค่ะ    อยากเรียนถามว่าดิฉันถูกต่อว่าก็เกิดความโกรธ   พยายามดูจิตก็ทราบว่ากำลังโกรธ   ดูหลายวันแล้วก็ทราบว่ายังไม่หายโกรธ   ใช้เวลาประมาณ2สัปดาห์กว่าจะหายโกรธและดูจิตก็ทราบว่าหายโกรธแล้ว    ความโกรธทำให้ตกนรกทั้งๆที่รู้แต่ทำไมไม่หายคะอาจารย์  

หลักการดูจิต  ไม่ใช่ แค่ เอาแต่ดู    เพราะ กิเลส บางตัว   มันมีกำลังแรง กว่า กำลังสติของเรา

คนฝึกใหม่ๆ กำลังสติ  ยังไม่มาก  ขืนตามดู   กิเลส ก็จะกำเริบมากขึ้น  เท่ากับไปให้ อาหารกับมัน  

เอางี้ดีกว่า

เมื่อ จิตเกิดแรงๆ   ใช้  เทคนิค  ต่อไปนี้  ตามความเหมาะสม เช่น

  • ดุตนเอง   ด่าตนเอง เช่น หยุดคิดนะ  จะบ้าเหรอ คิดบ้าๆอยู่ได้   ฉันไม่โกรธหรอกเรื่องแค่นี้   ช่างมอม (mom) มัน
  • คิดแบบบวก (positive thinking)  หาข้อดีมาพิจารณา มองโลกให้สนุก ฯลฯ  วิธีนี้ยาก  เพราะ เป็นทักษะ
  • คิดไปที่ ปลายก้างปลา ที่เป็นไตรลักษณ์  (อนิจจัง ทุกขัง อเตา)    คิดเป็นข้อธรรม  วิธีนี้ยาก  เพราะ ป็นทักษะ     ที่ต้อง โยนิโสมนสิการบ่อยๆ  อ่านหนังสือธรรมะมากๆ  ฟังธรรมตามกาล  คบกัลยาณมิตร  คบบัณฑิต เข้าหาครูบาอาจารย์หลวงปู่ หลวงพ่อ  ฯลฯ
  • เดินหนีไปก่อน   ให้เวลาเป็นเครื่องรักษา
  • เดินหนี แบบ กำหนดรู้  ที่ เท้า   ขวาพุธ ซ้ายโธ
  • ใช้ สมถะข่ม เช่น ดูลมหายใจ  หายใจลึกๆ มีสติกับการเคลื่อนไหว ( อ่าน ของ หลวงพ่อเทียน หลวงพ่อคำเขียน)
  • ฯลฯ  (ค้นหาเองนะ)  

จำไว้ นะครับ จิตเกิดแรงๆ อย่าดูจิต  ให้ ตบ ข่ม จนจิต  ลงมาเกิดแบบปานกลาง หรือ เบาบาง  จึงค่อยดูจิต

อย่าไปดูจิต  ตอนจิตเกิดแรงเกินความสามารถของเรา  .....  ตบ ข่ม 

เอาไว้ จิตเกิด เบาบางลง  หายใจลึกๆ  ทำใจให้ว่างๆ  ก็ ดูความคิด  ดูจิต  อย่าให้  ทั้งสอง มามีอิทธิพลต่อกัน .....  อย่าเอาจิตไปทำงาน

เอาสติไปทำงานแทนจิต  เอาสติไปคิด ...... จิตก็จะว่าง  เพราะ สติ เค้าไปแย่งงานจิตทำสะแล้ว

 

ขอบคุณครับ

อ่านที่อาจารย์เขียนแล้วได้มุมมองและสติดีครับ 

 

ชัดเจนมากเลยค่ะอาจารย์

คนที่กำลังเรียนรู้เรื่อง "สุนทรียสนทนา" ก็คงได้เข้าใจมากขึ้น

สำหรับตัวเอง ก็มีหลุดบ้างค่ะ ถ้ามีใคร comment แรงๆ พูดแบบไม่สุภาพ ก็จะฉุนเหมือนกัน แล้วแต่ว่าสติในขณะนั้นมีมากมีน้อย ถ้ามากหน่อย ก็ยับยั้ง "ปาก" ไว้ได้ล่ะคะ แต่ถ้าน้อยหน่อย ก็หลุดคำแรงๆ ไปเหมือนกัน

แล้วก็ตามประสาคนลักษณ์ 1 ค่ะ มักจะคิดว่าทำไมเขาไม่บอกเราดีๆ  มีวิธีการพูดตั้งหลายอย่างที่จะสื่อความหมายเดียวกัน ทำไมเขาไม่เลือกทางอื่น ....

 

ขอบคุณอาจารย์ที่อธิบายค่ะ   ดิฉันหายโมโหก่อนมาอ่านของอาจารย์ค่ะ     สิ่งที่ทำคือคิดว่าเธอจะบ้าเหรอโมโหอยู่ได้   คนที่เราโมโหเค้าไม่รู้ว่าเราโกรธ   แก่จนจะตายจากกันแล้วเลิกโมโหได้แล้ว   ใหนเธอเคยสัญญากับตัวเองว่าจะทำดี  ละชั่ว  ทำจิตใจให้ผ่องใส   คิดได้แล้ววันรุ่งขึ้นก็หายเลยค่ะ    ทำให้โล่งมากๆเลยค่ะ   ขอบพระคุณอาจารย์และจะนำไปใช้ค่ะ
  • สวัสดีครับ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ
  • แวะมาทักทายครับ
  • ดีใจครับที่ได้ี่เจออาจารย์ใน gotoknow ครับ
  • อ่านแล้วได้ข้อคิดเตือนใจครับ

ได้ข้อคิด และมุมมองดีมากครับ อาจารย์

 

 

ลึกซึ้งครับ

อ่านแล้วตรึกตรองดู อืมม... 

ผมเข้าใจเรื่องที่คุณพูด

เป็นบันทึกทื่ดี ทำให้เข้าใจคนได้มากขึ้นค่ะ

และที่ยังไม่เข้าใจ ก็มีข้อมูลได้คอยสังเกตเพื่อให้เข้าใจได้มากขึ้น

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท