คัดลายมือ : ตัวหนังสือสร้างสรรค์


ต่อไปเยาวชนรุ่นหลังจะวางรูปสระและวรรณยุกต์ผิดทั้งหมด ทำให้เอกลักษณ์ทางภาษาของไทยผิดตามไปด้วย

บทนำ

คัดลายมือ : ตัวหนังสือสร้างสรรค์

 

                การเขียนเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่นิยมใช้ในการสื่อสาร  เพราะสะดวกรวดเร็วและสามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้  แต่การเขียนก็ไม่ใช่วิธีที่ทำให้การสื่อสารบรรลุตามวัตถุประสงค์เสมอไป  เนื่องจากปัญหาการใช้ลายมือที่ไม่ชัดเจน  หรือเขียนอ่านไม่ออก  เหตุผลหนึ่งที่ทำให้บุคคลในปัจจุบันเขียนไม่สวย  อ่านยากหรืออ่านไม่ออก  เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  คนทั่วไปนิยมใช้การพิมพ์แทนการเขียน  บางคนในวันหนึ่งอาจไม่ได้เขียนหนังสือเลย  ดังนั้นเมื่อเขียนหนังสือจึงอ่านยาก  หลายท่านอาจคิดว่าการเขียนหนังสือไม่สวยไม่ใช่เรื่องที่เสียหายอะไร  เพราะอย่างไรก็มีตัวพิมพ์ใช้แทนได้  แต่การใช้เครื่องพิมพ์ก็จะมีข้อจำกัดในรูปแบบของการว่างตำแหน่งอักษร  ทั้งรูปสระ  วรรณยุกต์  ตัวการันต์  จะผิดเพี้ยนไปจากอักขรวิธีของไทย  ต่อไปเยาวชนรุ่นหลังจะวางรูปสระและวรรณยุกต์ผิดทั้งหมด  ทำให้เอกลักษณ์ทางภาษาของไทยผิดตามไปด้วย  อีกประการหนึ่งในการติดต่อกับสถานที่ราชการ  หน่วยงานเอกชนต่างๆ  ก็ยังคงต้องใช้ลายมือเขียน  หรือกรอกข้อมูลต่างๆ  ถ้าเขียนหนังสืออ่านยากก็จะมีปัญหาเรื่องข้อมูลต่างๆผิดพลาดตามมาได้  โดยเฉพาะนักเรียน  นักศึกษาในการเขียนคำตอบในข้อสอบ  สิ่งที่พบเสมอคือ  เด็กที่มีความรู้และความคิดดีแต่สอบตก  เพราะกรรมการอ่านตัวอักษรที่เขียนไม่ออก  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเขียนหนังสือเป็นสิ่งที่สำคัญกับบุคคลทุกเพศทุกวัย  การเขียนให้ลายมือสวยนั้นไม่ยากเกินความสามารถของบุคคลแต่ละคน  เพียงหมั่นฝึกฝนเป็นประจำ  เขียนบ่อยๆ  ลายมือก็จะดีขึ้นตามลำดับ

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคัดลายมือ

                การคัดลายมือนั้นจะต้องมีปัจจัยทางร่างกายหลายอย่างประกอบกัน ดังนี้

                . มือ การพัฒนากล้ามเนื้อก็เป็นส่วนสำคัญต่อการคัดลายมือ เด็กบางคนไม่สามารถบังคับกล้ามเนื้อมือให้เขียนตัวอักษรได้ บางคนมือพิการก็ทำให้เขียนไม่ถนัด หรือไม่สามารถเขียนได้ การเขียนต้องใช้มือเป็นประการสำคัญ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการฝึกกล้ามเนื้อมือด้วย

                . ตา การคัดลายมือจำเป็นต้องใช้สายตาดูแบบตัวอักษร และใช้สายตาดูตัวอักษรว่าเหมือนแบบหรือไม่ สำหรับเด็กที่มีการพัฒนาการทางสายตาไม่เจริญไปตามปกติ จะมองภาพกลับกันกับภาพจริง คือมองตัวอักษรกลับหัวบ้าง กลับตัวบ้าง ดังนั้นเมื่อจะเขียนตัวอักษรก็เขียนกลับหัวตามสายตา จึงเกิดการเขียนผิด เช่น บ้านเขียนเป็นบาน” เป็นต้น ดังนั้นสายตาก็เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเขียนเป็นอย่างยิ่ง

                . ความสัมพันธ์ระหว่างดวงตากับกล้ามเนื้อมือ การเขียนต้องอาศัยตามอง เพื่อรับเข้าและใช้มือแสดงสิ่งที่มองนั้น นอกจากนี้ตายังต้องมองสิ่งที่มือเขียน ว่ามีขนาดถูกต้องเหมือนแบบหรือเหมือนที่คิดไว้หรือไม่

 

ปัญหาและข้อบกพร่องเกี่ยวกับการคัดลายมือ

            ข้อบกพร่องของการคัดลายมือมีดังนี้

            . เขียนตัวอักษรไม่ชัดเจน ทั้งนี้เพราะเขียนหนังสือหัวบอดบ้าง หยักส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวอักษรผิดไปบ้าง เขียนอักษรผิดขนาดบ้าง เขียนลายมือติดกันบ้าง จึงทำให้ตัวอักษรบางตัวคล้ายกัน ไม่ทราบว่าผู้เขียนมีเจตนาเป็นตัวอะไรกันแน่

            . วางเครื่องหมายและสระผิดที่ เช่น ไม้หันอากาศ (     ) ไม้ไต่คู้  (   )    ทัณฑฆาต (   ) สระ                        เป็นต้น เช่น

            ปิด (ปดิ) นี้ (นี ) ปลูก (ปูลก) รัก ( ) อาทิตย์ (อาทิตย  ) เป็นต้น เครื่องหมายและสระที่อยู่ข้างบนหรือข้างล่างตัวพยัญชนะ ต้องเขียนให้อยู่ในแนวเดียวกับเส้นหลังของพยัญชนะ

            . เขียนตัวหนังสือเล่นหาง ทำให้เข้าใจไขว้เขวได้มากเหมือนกัน

            . เขียนลายมือไม่สม่ำเสมอ โย้มาข้างหน้าบ้าง โย้ไปข้างหลังบ้างทำให้อ่านเข้าใจยาก

            . เขียนลายมือตัวเล็กเกินไป อ่านแล้วปวดสายตา เรื่องนี้ควรเห็นใจผู้อ่านและผู้ตรวจบ้าง

            . เขียนขูดลบฆ่าสกปรก นอกจากดูไม่งามตาแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงการทำงานไม่เรียบร้อยอีกด้วย

            . เขียนด้วยหมึกสีจาง ทำให้อ่านไม่ชัด ควรใช้หมึกสีเข้ม สีที่นิยมกันว่าสุภาพคือสีน้ำเงิน

            . เขียนผิดลักษณะตัวอักษรไทย เช่น เขียนรูปตัวอักษรผิดแบบอักษรไทย เช่น เขียนรูปตัวอักษรผิดแบบอักษรไทยบ้าง หรือติดกันเป็นพืดแบบภาษาอังกฤษ

 

อ่านต่อใน  คัดลายมือ : ตัวอักษรสร้างสรรค์ ( ๒ )

เลือกอ่านหน้า   หน้า๑   หน้า ๒   หน้า ๓   หน้า ๔

หมายเลขบันทึก: 200408เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2008 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

ไทมามาเดพกพ้ะเดภๆไพนำดย/นรพ/เ

ไม่รู้เรื่อง

ไมารู้เรื่องเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท