คัดลายมือ : ตัวหนังสือสร้างสรรค์ ( ๔ )


การเขียนหวัดแกมบรรจง

การเขียนหวัดแกมบรรจง

                การเขียนหวัดแกมบรรจงเป็นการเขียนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  ไม่เน้นความสวยงามของตัวอักษรเท่าการเขียนบรรจง  แต่คงความถูกต้องของการวางพยัญชนะ  สระ  และวรรณยุกต์เช่นเดียวกัน  การเขียนประเภทนี้จะใช้ทั่วไป  เช่น  การจดบันทึก  การกรอกแบบฟอร์ม  การเขียนสื่อสารต่างๆ  เป็นต้น

 

หลักการเขียนหวัดแกมบรรจง

                ๑.  เขียนหนังสือให้คงที่  คือรักษารูปลักษณะลายมือให้เป็นแบบเดียวกันตลอดไม่ใช่โย้หน้าบ้าง  ตัวตรงบ้าง  โย้หลังบ้าง  ตามแต่อารมณ์  ตามธรรมดาคนเราจะเขียนหนังสือเอียงไปทางขวามือเล็กน้อย  หากใครจะเขียนหนังสือตั้งฉากกับบรรทัดก็ได้  แต่ทว่าการเขียนหนังสือให้เอนมาทางซ้ายอย่างที่เรียกว่าโย้หน้านั้น  ตามหลักการเขียนไม่นิยม

                ๒.  เขียนอักษรให้อ่านง่ายและมีหัวชัดเจน  หลักการเขียนหนังสือโดยทั่วไป  คือ  เขียนหนังสือจากหัวไปหาง  ตัวหนังสือจะอ่านง่ายขึ้น  ถ้าเขียนมีหัวให้สังเกตชัดเจน  คนที่เขียนหนังสือไม่มีหัวหรือที่เรียกกันว่า หัวบอด  นั้น  นอกจากจะผิดหลักการเขียนอักขรวิธีแล้ว   ยังอ่านยากและทำให้เข้าใจผิดได้   โดยเฉพาะอักษรที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน  เช่น  ด, ค, ก, หรือ   เป็นต้น

                ๓.  เขียนอักษรทีละตัว  อย่าเขียนตัวอักษรติดกับไปตลอด  หรือหลายคำ  เช่น คำว่า  ทาน  หรือ  พาน  ถ้าเขียนโดยไม่ยกมือเลยจะมีลักษณะคล้ายกันมาก  ทำให้อ่านยาก  คำอื่นๆ  ก็เช่นเดียวกัน  ต้องระมัดระวังในเรื่องเหล่านี้ด้วย

                ๔.  เขียนสะกดการันต์ให้ถูกต้องตามพจนานุกรม

                ๕.  เขียนให้จบคำในบรรทัด  อย่าเขียนหนังสือฉีกคำ  เช่น  นา - ฬิกา   ความ - รัก  ประชา - ชน  รูปถ่าย

หนังสือแบบ - เรียน  อยู่คนละบรรทัด  ถึงจะใช้ยัติภังค์เชื่อมก็ไม่ถูกต้อง

                ๖.  การเว้นวรรค  เมื่อจบประโยคควรเว้น   ช่วงตัวอักษร  ส่วนอนุประโยค  หรือวลีที่ยาวๆ  ระหว่างประโยค

ควรเว้นประมาณ  -   ช่วงตัวอักษร  คำนามหลายๆ  คำที่ตามหลังคำ เช่นควรเว้น   ช่วงตัวอักษรทุกคำไป

                ๗.  การเขียนเครื่องหมายต่างๆ  และการวางตำแหน่ง  การวางเครื่องหมายต่างๆ  นั้น  ถ้าวางไม่ถูกต้องแล้ว  นอกจากจะไม่สวยงามยังทำให้คามหมายผิดไปด้วย  เครื่องหมายต่างๆ  ที่ใช้บ่อยๆ  และควรระมัดระวังใช้ให้ถูก

ไม้หันอากาศ  ไม้ไต่คู้  ทัณฑฆาตซึ่งใช้เขียนบนพยัญชนะ  สำหรับไม้หันอากาศ  และไม้ไต่คู้นั้นเขียนความกว้างให้เท่ากับความกว้างของตัวพยัญชนะ  ส่วนสูงเพียงครึ่งตัวพยัญชนะ  ส่วนทัณฑฆาตนั้นความกว้างและความสูงเพียงครึ่งของตัวพยัญชนะ  ตำแหน่งที่เขียน  ให้ส่วนบนของหัวและหางเป็นแนวเดียวกับเส้นหลังของพยัญชนะ

ไม้ยมก  เขียนหัวเหมือนเลข   ให้หางยาวลงมาโดยให้มีความสูงเท่ากับตัวพยัญชนะ

ข้อควรคำนึงในการเขียน

                การเขียนที่ดีควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้  คือ

                -     จับปากกา  สมุด  และวางท่าทางให้ถูกแบบการเขียน

                -     เขียนรูปร่างตัวอักษรให้ถูกแบบแผน

                -     ส่วนสัดตัวอักษร  เขียนให้ได้สัดส่วนงดงาม

                -     เส้นตัวอักษร  ต้องตรง  เรียบ  น้ำหนักเส้นดีเท่ากันตลอด

                -     ช่องไฟ  เว้นให้ได้จังหวะเท่านั้น

                -     หัวของตัวอักษรได้ส่วนสมตัว  ไม่ใช่หัวบอด

                -     การเขียนสระ  วรรณยุกต์  และตีนตัวอักษร  ต้องตรงตามที่  และได้ส่วน

                -     การย่อหน้าแต่ละครั้งต้องได้แนวตรงกัน  และเว้นวรรคแต่ละครั้งควรเท่าๆ  กันด้วย

                -     คำนึงถึงความสะอาด  เรียบร้อย  และสวยงามด้วย

                -     เขียนสะกดการันต์ถูกต้อง

                -     ฝึกให้เขียนได้รวดเร็ว

กลับไปอ่าน   คัดลายมือ : ตัวหนังสือสร้างสรรค์ ( ๑ )

เลือกอ่านหน้า   หน้าแรก   หน้า ๒   หน้า ๓   หน้า ๔

 

 

หมายเลขบันทึก: 200413เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2008 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะครูอ๊อฟ

  • ไม่ได้สอนภาษาไทย แต่สนใจมากเลยค่ะ

  • ข้อควรคำนึงในการเขียน  สำคัญมากจริง ๆ บางครั้งก็ละเลยกันไป

  • กลับมาสนใจอย่างจริงจังกันดีกว่า

  • ตอนนี้เป็นแต่ลายมือการ์ตูน

  • ขอบคุณที่อนุรักษ์ภาษาไทยค่ะ

สุดาภรณ์ รอดอยู่ ม.1/5

โหดมาก ใจร้าย อะไรก็นิ้วๆๆๆๆๆๆ สั่งงานเยอะ (ล้อเล่น)

งานที่ครูสั่งทำไมไม่มีในเว็บเลย

ผมเข้ามาดูแล้วน่ะครับ

ขอคำนึงในการเขียนผมลืมไปบ้างแล้วน่ะครับเนี่ย

ขอบคุณน่ะครับสำหรับข้อมูล

กนกพรรณ รัตนอนันต์

สวัสดีค่ะ เข้ามาเยี่ยมชม เห็นว่าเป้นประโยชน์กับนักเรียนมากค่ะ ขออนุญาตนำข้อมูลไปใช้ในการสอนเพื่อจะไม่ให้เกิดข้อความที่ว่า คนไทยเขียนตัวอักษรไทยไม่ถูกต้อง วางรูปสระและวรรณยุกต์ผิดทั้งหมด ทำให้เอกลักษณ์ทางภาษาของไทยผิดตามไปด้วย

ขอขอบคุณในความกรุณาค่ะ

โห ครูอ๊อฟ ป๊อบมากเลยนะครับเนี่ย มีเด็กๆตามมาในบล็อกด้วย แบบนี้ต้องขอเคล็ดลับบ้างแล้ว

ปล. มาให้กำลังใจครูภาษาไทยครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท