CAR 1 ของครูลินลดา


ความแตกต่างระหว่างบุคคลไม่ใช่สิ่งที่เราจะมองข้ามและเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้จะต้องได้รับความสนใจเช่นเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง

 

 

 

 

มารู้จัก CAR 1 ของครูลินลดา กันนะคะ..

สืบเนื่องจากบันทึกที่ผ่านมา  เรื่องเล่าเร้าพลัง : CAR งานง่ายๆของครูลินลดา

ครูลินลดาขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาการอ่าน-การเขียนของนักเรียน โดยใช้ CAR ตั้ง 4 คันค่ะ

วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอ การขับเคลื่อนด้วย  CAR คันที่ 1 ของครูลินลดากันนะคะ

 

CAR 1  การรู้จักเด็กเป็นรายบุคคล 

           เพื่อวางแผนจัดการเรียนรู้, ค้นหานวัตกรรมแก้ปัญหาการอ่านการเขียน

 

 

   ๑. แนวคิดและเหตุผล

เมื่อเปิดเทอมใหม่จะพบนักเรียนกลุ่มใหม่ ครูจึงต้องเรียนรู้ วิเคราะห์นักเรียนให้มากที่สุด เพื่อวางแผนจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียนเพราะนักเรียนสำคัญที่สุด เราต้องศึกษาว่า  นักเรียนแต่ละคนมีลักษณะสำคัญอย่างไรนักเรียนแต่ละคนมีจุดน่าสนใจที่ควรได้รับการปรับปรุงพัฒนาในเรื่องใดบ้าง ครูควรออกแบบการเรียนรู้อย่างไรให้สามารถพัฒนาคุณภาพของแต่ละคน และทุกคน ต่อจากนั้นจึงทำการจัดเก็บข้อมูล ค้นหาภูมิหลังทางครอบครัว ศึกษาผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร / NT/LT/ST ฯลฯ พัฒนาการทุกด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ค่านิยม ฯลฯ ความสนใจ ความถนัด ศักยภาพ และความต้องการจำเป็น รวมทั้งปัญหาและข้อจำกัด

จากการอบรม การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (CAR – Classroom  Action  Research) เป็นการพัฒนาการเรียนรู้เชิงระบบโดยใช้ข้อมูลระดับห้องเรียน  เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายตามที่หลักสูตรกำหนดไว้    เมื่อวันเสาร์ที่ ๕  กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๑ จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต ๑จากการบรรยายสรุปโดยท่านศึกษานิเทศก์วัชราภรณ์  วัตรสุข ทำให้ได้มองเห็นแนวทางในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน และจากการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://km.loei2.net พบว่า Kemmis, S.กล่าวว่า Kurt Lewin เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า"action research" โดยมีขอบเขตอยู่ที่การแก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มีความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และให้สามารถศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสอดคล้อง กับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ (๕) ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูผู้สอนสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนรู้ มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มาตรา ๖๗ รัฐจ้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ปฏิบัติการวิจัย เรียกว่า ครูนักวิจัย(teacher as Research)ซึ่งจะต้องมีพันธะกิจ (Mission) ที่จะต้องค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียนต่อไป

ในปีการศึกษานี้ ผู้วิจัย มีนักเรียนในการดูแลจำนวน  ๒๙  คน เป็นหญิง ๑๕  คน  ชาย  ๑๔  คน จากการอบรมการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (CAR – Classroom  Action  Research) จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษาและรู้จักเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและการเขียนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในชั้นที่รับผิดชอบ

 

 

 

  ๒. คำถามวิจัย

        ๒.๑   นักเรียนแต่ละคนมีปัญหาด้านการอ่าน การเขียนอย่างไรบ้าง 

          ๒.๒   นักเรียนแต่ละคนมีจุดที่ควรได้รับการแก้ไขและพัฒนาเรื่องใดบ้าง 

          ๒.๓   ครูควรออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไรให้สามารถพัฒนาศักยภาพของแต่ละคนและทุกคนได้ในภาคเรียนนี้

 

 

  

  ๓. วิธีดำเนินการวิจัย

          ๓.๑   กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๗ โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่จำนวน  ๒๙  คน เป็นหญิง ๑๕  คน  ชาย  ๑๔  คน 

          ๓.๒   สารสนเทศ/ข้อมูลที่จะเก็บรวบรวมข้อมูล (รายละเอียดประวัตินักเรียนภาคผนวก) 

          ๓.๓   แหล่งข้อมูล เครื่องมือ และแผนปฏิบัติการในการจัดเก็บข้อมูล 

 

แผนปฏิบัติการในการจัดเก็บข้อมูล

สัปดาห์ที่

เดือน 

กิจกรรม 

เครื่องมือ / อุปกรณ์ 

- ๒

มิถุนายน 

สำรวจข้อมูลประวัติของนักเรียนทุกคน  บันทึกลงในสมุด ปพ.๕ และสมุดบันทึกรายบุคคล

-สมุด ปพ.๕

-สมุดบันทึกรายบุคคล

มิถุนายน

ทำการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลด้านผลการเรียนภาษาไทย ความสามารถด้านการคิด   และพัฒนาการด้านต่างๆ

- car  ๑/๑  ข้อมูลของนักเรียนรายบุคคลด้านผลการเรียนภาษาไทย ความสามารถด้านการคิด   และพัฒนาการด้านต่างๆ

มิถุนายน

จัดทำสารสนเทศของนักเรียนรายบุคคล  เพื่อการจัดทำและพัฒนา แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

- car  ๑/๒  สารสนเทศของนักเรียนรายบุคคล  เพื่อการจัดทำและพัฒนา แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มิถุนายน

จัดทำสารสนเทศของนักเรียนรายกลุ่ม  เพื่อการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

- car  ๑/๓  สารสนเทศของนักเรียนรายกลุ่ม  เพื่อการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

กรกฎาคม

การตรวจสอบข้อมูลเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ขาดหาย และหรือลืมตอบ  ตรวจความเป็นไปได้ของข้อมูลและตรวจสภาพความเป็นเอกภาพของการได้มาซึ่งข้อมูล

ตรวจสอบจาก car  ๑/๑ – ๑/๓ 

กรกฎาคม

การจัดทำข้อมูลคือการจัดเตรียมข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว จัดให้เป็นระบบสะดวกแก่การวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต่อไป

car  ๑/๑ – ๑/๓ 

กรกฎาคม

เขียนรายงาน car  ๑การวิเคราะห์นักเรียน

 

          ๓.๔   การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการนำข้อมูลที่ได้มาสร้างตารางแจกแจงความถี่หรือสร้างแผนภูมิต่าง ๆ และจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะของการบรรยาย

 

  ๔. ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัย    

          ๔.๑ ทำให้รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล โดยสามารถวิเคราะห์ได้ละเอียดขึ้นเพราะได้กระทำจากเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล

          ๔.๒ ทำให้ค้นหาแนวทางในการที่จะพัฒนานักเรียนได้ในระดับต่อไป

  ๕.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

 

ระดับ 4     ผลการเรียนดีเยี่ยม    ภาคเรียนที่ 1 (29 คน) ภาคเรียนที่ 2(10 คน) ปลายปี (23คน)

ระดับ 3.5  ผลการเรียนดีมาก     ภาคเรียนที่ 1 (1 คน)   ภาคเรียนที่ 2 (5 คน)   ปลายปี (5คน)

ระดับ 3     ผลการเรียนดี             ภาคเรียนที่ 1 (0 คน)   ภาคเรียนที่ 2( 11 คน) ปลายปี (2คน)

ระดับ 2.5 ผลการเรียนค่อนข้างดี ภาคเรียนที่ 1 (0 คน)  ภาคเรียนที่ 2(2 คน)   ปลายปี (0คน)

ระดับ 2     ผลการเรียนน่าพอใจ   ภาคเรียนที่ 1 (0 คน)   ภาคเรียนที่ 2(2 คน)   ปลายปี (0คน)

ระดับ 1.5  ผลการเรียนพอใช้       ภาคเรียนที่ 1 (0 คน)  ภาคเรียนที่ 2(0 คน)   ปลายปี (0คน)

ระดับ 1     ผลผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ    ภาคเรียนที่ 1 (0 คน)   ภาคเรียนที่ 2(0 คน)   ปลายปี (0คน)

 

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายกลุ่ม

นักเรียนกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ แบ่งได้ ๓  กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่    กลุ่มที่มีความพร้อมทุกด้านสูง จำนวน  ๑๐  คน แยกเป็นชาย    คน  หญิง    คน

กลุ่มที่  ๒ กลุ่มที่มีความพร้อมปานกลาง(พร้อมในบางเรื่อง )จำนวน ๑๑ คน แยกเป็นชาย    คนหญิง    คน

กลุ่มที่  ๓ กลุ่มที่ไม่มีความพร้อม(มีปัญหาในหลายเรื่อง ) จำนวน    คน แยกเป็นชาย    คนหญิง    คน

 

  ๖.  สรุปผลการวิจัย

          ๖.๑  นักเรียนแต่ละคนมีปัญหาด้านการอ่าน การเขียนแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะกลุ่มที่ ๓ กลุ่มที่ไม่มีความพร้อมและมีปัญหาในหลายเรื่อง จากการทดสอบเบื้องต้น ปรากฏว่ามีนักเรียนชาย ๒ คนที่อาการหนักกว่าเพื่อน คือ อ่านเขียนภาษาไทยได้ไม่คล่องเขียนไม่ถูกและมีปัญหาด้านการเขียนมากที่สุด

๖.๒   นักเรียนแต่ละคนมีจุดที่ควรได้รับการแก้ไขและพัฒนาเรื่องการฝึกอ่านเขียนและคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะนักเรียนกลุ่มที่ ๓ โดยภาพรวมนักเรียนจะมีความสามารถในการอ่านเขียนและคิดได้นั้นจะต้องมีการฝึกอย่างหนัก สม่ำเสมอและครอบคลุมในเนื้อหาจึงต้องเริ่มทำการฝึกฝนอย่างเข้มงวด

๖.๓   ครูควรออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไรให้สามารถพัฒนาศักยภาพของแต่ละคนและทุกคนได้ในภาคเรียนนี้ ในด้านการอ่าน เขียนและคิดวิเคราะห์ ครูได้เตรียมการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบเน้นหนักในด้านการฝึกอ่านเขียนและคิดโดยเตรียมนวัตกรรมที่มีการตรวจสอบและหาประสิทธิภาพเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด บทกลอนสอนคำยาก จำนวน    เล่ม  เรียนรู้คำพื้นฐานทั้งหมดของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จากแบบฝึกชุดภาษาพาสนุกกับครูลินลดา จำนวน  ๓๔  ชุด ชุดละ  ๒๐  คำ รวมทั้งหมด  ๖๘๐  คำ

  ๗.  ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

          ๗.๑  บทเรียนสำหรับตนเองในการพัฒนานักเรียนจากการบันทึกข้อมูลใน CAR ๑ จะพยายามนำข้อมูลที่ได้มาหาแนวทางในการปรับพฤติกรรมที่ไม่ดีของผู้เรียนและหารูปแบบการสอนที่เหมาะแก่บุคคลต่อไป

          ๗.๒  บทเรียนสำหรับตนเองในการปรับปรุงการออกแบบแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้คู่แบบฝึกชุด หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด บทกลอนสอนคำยาก จำนวน    เล่ม  และการเรียนรู้คำพื้นฐานทั้งหมดของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จากแบบฝึกชุดภาษาพาสนุกกับครูลินลดา เพื่อนำไปใช้ต่อไป

          ๗.๓   ข้อเสนอแนะสำหรับตนเองในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อรู้จักนักเรียนในปีต่อไปคือ ควรนำรายชื่อของนักเรียนที่จะขึ้นชั้นเรียนใหม่มาจัดระเบียบและสืบค้นสัมภาษณ์จากครูคนเดิมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและบันทึกลงใน CAR ๑/๑ ก่อนตั้งแต่ต้นเทอม และจัดทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบันเสมอ รวมทั้งการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนให้พยายามทั่วถึงมากกว่าในปีนี้

 

  ๘.  บทเรียนความคิดใหม่และประโยชน์ที่ผู้วิจัยได้จากการทำวิจัยในครั้งนี้

          ความแตกต่างระหว่างบุคคลไม่ใช่สิ่งที่เราจะมองข้าม และเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้จะต้องได้รับการสนใจเป็นพิเศษรวมทั้งนักเรียนทุกคนในห้องเช่นกัน

 

 เครื่องมือในการทำ CAR 1 ของครูลินลดา มี 3 รายการนะคะ

CAR1/1 CAR1/2  CAR1/3

เป็นข้อมูลนักเรียนรายบุคคลทั่วไปและเน้นข้อมูลการอ่าน-การเขียน

เป็นข้อมูลด้านจุดเด่น-จุดควรพัฒนาของนักเรียนรายบุคคล

เป็นข้อมูลการจัดกลุ่มเด็กตามระดับความสามารถ

เพื่อการวางแผนขับเคลื่อน CAR 2 ต่อไป

ขอบคุณในการแบ่งปันขัอมูลของครูลินลดา..

เพื่อเป็นหนึ่งแนวทางในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

ตอนต่อไปเรามาพบกับ CAR 2 ของครูลินลดาต่อกันนะคะ

เรามาดูว่า..ครูขวัญขับ CAR 2 ..อย่างไร

ใช้เครื่องมืออะไรบ้างนะคะ

และผลเป็นอย่างไร

สวัสดีค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 259010เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2009 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะ

  • มาเปิดเรื่องรอบบ่ายก่อนไปออกกำลังกายค่ะ
  • พบผลงานที่เป็นแบบอย่างของครู..คุณครูลินลดา
  • ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ค่ะ
  • ขอขอบคุณน้องอ้วนที่นำมาแลกเปลี่ยน

สวัสดีค่ะ..พี่คิมผู้น่ารักเสมอ

ขอโทษนะคะ..ข้อมูลมากค่ะ และอักษรอังสนาด้วยค่ะ จึงขึ้นได้ไม่หมด (ตอนนี้ปรับแล้วค่ะ ..ลดทอนลงบ้างในส่วนที่เป็นเครื่องมือวิจัยของน้องขวัญค่ะ)

พี่คิมขยันจังนะคะ ได้ออกกำลังกายด้วย

น้องต้องได้เริ่มบ้างแล้วเหมือนกันค่ะ..นั่งมากเกินไปแล้ว เริ่มรู้สึกอึดอัดเหมือนกัน

ตอบเช้าก็แว๊บๆเข้ามาค่ะ..คุยได้แป๊บหนึ่งก็ต้องรีบออกไปปฏิบัติภารกิจ  ตอนนี้กลับมาท่องเที่ยวดังเดิมอีกแล้วค่ะ

ขอบคุณพี่คิมมากค่ะ..น้องก็ตั้งใจจะนำเสนอเป็นตัวอย่างค่ะ

อาจไม่สมบูรณ์ที่สุด แต่ก็พอเป็นแนวได้ในการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างครบขั้นตอนนะคะ

เพราะช่วงนี้ก็ใกล้โรงเรียนเปิดแล้ว

หากคุณครูได้ลงมือรีบทำข้อมูลนักเรียนรายบุคคลแล้วก็จะทันการในการนำมาใช้ในการวางแผนจัดการเรียนรู้และหาสื่อนวัตกรรมให้เหมาะกับนักเรียนรายกลุ่ม/รายบุคคลได้

ออกกำลังเผื่อน้องด้วยนะคะ..

ศน.อ้วนเจ้าขา...

       วันนี้หนูอ่าน  อ่าน  และอ่าน  อย่างตั้งใจที่สุด สุดยอดจริงค่ะครูขวัญ  ชื่นชมจากใจจริงค่ะ 

       ขออนุญาตSAVEเก็บไว้เป็นข้อมูลนะคะ

       แล้วจะกลับมาเป็นผู้โดยสารร่วมเรียนรู้กับ CAR2 ค่ะ

       ส่งความคิดถึงก่อนนอนคืนนี้ค่ะ ^_^

  • สวัสดีค่ะ ศนอ้วนคนเก่ง
  • อ่านบันทึกแล้ว ...สุดยอด..สมแล้วกับ ศน.เชียวชาญ สพท.ชม.๑
  •  ขอให้เป็นผู้นำทางคุณครูต่อไปนคะ

 

P

 

สวัสดีจ้ะครูตุ๊กแกตัวดำๆ..(จะเปลี่ยนนามสกุลอีกไหมคะ..อิอิ)

ดีใจๆๆๆ..ที่อ่าน อ่าน อ่าน จ้ะ  ครูรักการอ่าน

ดีมากๆๆๆ..ด้วยค่ะ ที่บันทึกนี้เป็นประโยชน์ต่อครูตุ๊ก

และจะนำความชื่นชมจากใจคนตัวดำ..ไปฝากบอกครูขวัญด้วยค่ะ

แล้วมานั่ง CAR 2 กับครูขวัญคนงามอีกนะจ๊ะ

ดีใจๆๆๆๆ....

คิดถึงเช่นกันค่ะ

แวะมาตั้งใจอ่านจ้าพี่ศน.อ้วนคนเก่ง...

น้องaddขอคารวะด้วยใจ

P

 

 

สวัสดีเจ้า..ปี้เอื้องคนงามของน้อง

ขอบพระคุณงามๆเจ้าสำหรับคำชม เป๋นกำลังหื้อน้องจ้าดนักเจ้า

น้องอยากเป๋นหนึ่งแรงในการจ้วยคุณครูหื้อก้าวไปตางหน้าอย่างมีคุณภาพเจ้า

หื้อสมกำว่า "ครูมืออาชีพ" 

น้องก่อจะขอแฮงจากคุณครูกัลยาณมิตรตี้ฮักนี้แหละเจ้า

จ้วยบอกจ้วยแนะ..

ปี้ฮู้สองน้องฮู้นึ่งนะเจ้า..ปี้เอื้อง

ปี้เอื้องสบายดีนะเจ้า..

กึ๊ดเติงหาจ้าดนักเจ้า..

P

 

น้องแอ๊ดจ๋า..

คิดถึงจัง..เห็นแล้วจ้าว่าไปเติมพลังชีวิตมา

อิอิ..ยังไม่ได้คุยด้วยเลย (เพราะแอบอิจฉานิดๆ)

ขอบคุณจ๊ะ..คารวะๆ เช่นกัน

เพื่อคุณภาพเด็กไทย..ต้องอ่านออกเขียนได้..นะจ๊ะ

 

  • มานั่งรถ CAR 1 กับเขาด้วย
  • แต่ไม่รู้เขาจะไปไหนกัน
  • รู้แต่ว่าตัวเอง
  • ก็ต้องทำแผนการดูแลผู้ป่วยเป็นรายบุคคลเช่นกัน
  • เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพกับผู้ป่วย
  • อย่างที่สุดค่ะ
  • คิดถึงพี่อ้วนจัง

ศน.อ้วนคนเก่ง

ขอบคุณมากค่ะที่กรุณานำรถยนต์ผลงานนี้ได้ขับเคลื่อนต่อไป

ขออภัยหากงานวิจัยนี้ยังไม่สมบูรณ์ ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูนะคะ

ขอบคุณครูพี่คิม ครูตุ๊กแก และอีกหลายท่านที่ร่วมขบวนไปด้วยกัน

ใกล้เปิดเทอมแล้วเรามาเติมพลังให้กันดีกว่าค่ะ

ขอบคุณจากใจจริงค่ะ

ครูขวัญลินลดา

สวัสดีคับ

ผมชื่อมะระ

กำลังเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูอยู่คับ

ชอบหลักการของครูมากเลยคับ

ครูเก่งมากเลยคับ

เก่งมากๆขอปรบมือให้เป็นที่หนึ่งเลย

ขอบคุณสำหรับ CAR1

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท