กว่าจะเป็นเมล็ดข้าว : ปลูกวันแม่เกี่ยววันพ่อ


นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขจากการลงมือปฏิบัติจริง

 

 

กว่าจะเป็นเมล็ดข้าว

ปลูกวันแม่..เกี่ยววันพ่อ

 1. กว่าจะเป็นข้าว

ของชาวนาไทย

เธอรู้บ้างไหม

ต้องใช้เวลา

จึงอยากเรียนรู้

กับครูลินลดา

ชวนพวกเรามา

วางแผนร่วมกัน

 

 

 2. นักเรียน ป.๒        

อยากทำนานั้น

ทดลองร่วมกัน

จะเป็นอย่างไร

ได้อ่านเรื่องราว 

ต้นข้าวชาวนาไทย

แรงบันดาลใจ

ทำให้อยากลอง

 3. ร่วมกันวางแผน

เชิญผู้ปกครอง

มาช่วยทดลอง

รีบเร่งเร็วไว

คิดหาทุ่งนา

จะปลูกที่ไหน

สวนเกษตรนั่นไง

รีบไปจัดการ

4.  พร้อมกันวันหยุด

เร่งรุดเตรียมสถาน

ช่วยกันทำงาน 

อย่างสามัคคี

ร่วมแรงแข็งขัน

ช่วยกันน้องพี่

เตรียมดินที่มี

ยกร่องแปลงนา

5.  มีพลาสติกรอง

กันน้ำออกมา

ช่วยกันไถนา

แปลงกล้าข้าวพันธุ์

เมล็ดข้าวแช่น้ำ

สามคืนสองวัน

แล้วหว่านข้าวกัน

สุขสันต์ในนา

6.  พ่อแม่ลูกร่วม

เรียนรู้วิชา

สนุกหรรษา

ร่วมด้วยช่วยกัน

หว่านกล้าเสร็จแล้ว

จัดแถวเร็วพลัน

ทานข้าวด้วยกัน

ร่วมวงเฮฮา

7. เวลาผ่านไป

ได้หนึ่งสัปดาห์

สังเกตทุ่งนา

เมล็ดงอกเติบโต

แต่มีปัญหา

ที่น่าโมโห

มีนกฝูงโต

มากินข้าวในนา

8.  เด็กเด็กช่วยคิด

พิจารณาว่า

สร้างหุ่นไล่กา

มาช่วยทันใด

สัปดาห์ที่สอง

ต้นข้าวเติบใหญ่

ฝนตกมากไป         

ใช้ขันวิดน้ำ

9.สัปดาห์ที่สาม

ติดตามตอกย้ำ

ใส่ปุ๋ยช่วยนำ

ย้ำความงอกงาม

สัปดาห์ที่สี่

ไม่มีฤกษ์ยาม

ต้นข้าวสูงงาม

เขียวสวยขจี

10.สัปดาห์ที่ห้า

ต่างน่ายินดี

ต้นข้าวเขียวขจี

เต็มท้องทุ่งนา

วางแผนเตรียมดิน

ช่วยกันถอนกล้า

ปักดำในนา

รอให้ข้าวโต

CAR 2 ของครูลินลดา มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ

มีขั้นตอน เครื่องมือ การจัดเก็บข้อมูลที่ชัดเจน

นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขจากการลงมือปฏิบัติจริง

ครูลินลดาจัดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม

ครูลินลดาสอนภาษาไทยด้วยการบูรณาการกับชีวิตจริง

เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้

เป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

พบกับ

..กว่าจะเป็นเมล็ดข้าว ภาคสองต่อนะคะ

..เมื่อข้าวเริ่มตั้งท้อง..

 

 

...ชื่นชมครูไทยหัวใจนักสู้..

 

หมายเลขบันทึก: 261785เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2009 05:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆค่ะ

จะติดตามอ่านต่อไปนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พี่คงสบายดีนะคะ

Take care

สวัสดีค่ะ

  • ถ้าพี่คิมพลาดบันทึกนี้..เสียโอกาสมาก ๆเลยนะคะ
  • การวางพลาสติกลงไปในแปลงหมายถึง  ให้อุ้มน้ำแบบในนาจริง ๆใช่ไหมคะ
  • ครูที่โรงเรียนกำลังจะทำข้าวในกระถางค่ะ
  • ขออนุญาตนำแบบนี้ไปเผยแพร่บอกต่อนะคะ
  • ขอขอบคุณน้องอ้วนและน้องรินลดาค่ะ
  • เด็กๆ ได้ร่วมแรง ร่วมใจและได้เรียนรู้ในการปลูกข้าว
  • เห็นแล้วน่ารักดีค่ะ
  • ยิ่งเด็กสมัยนี้แค่โคลนยังแทบไม่เคยลงไปเดิน
  • เป็นการสอนเด็กให้รู้จักคุณค่าของข้าวและสอนให้เด็กติดดินดีค่ะ

ศน.อ้วนเจ้า

ได้อ่านบันทึก กว่าจะเป็นเมล็ดข้าว ในวันนี้ ทำให้คิดถึงบรรยากาศของการทำนาในปีแรกมาก ที่ประทับใจมากก็คือ ภาพที่ผู้ปกครองและลูกๆ ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างท้องทุ่งนาจำลองตามความฝันของครูลินลดา การใช้แผ่นพลาสติกรองพื้นดินเพื่อจะให้มีน้ำเหมือนในทุ่งนาจริง เด็กๆ มองเห็นความแตกต่างของคุณลักษณะของดินเหนียวและเห็นความแตกต่างของดินอย่างไม่ต้องมีคำอธิบายมากเพราะเห็นจากของจริง เป็นสิ่งที่ครูขวัญกับผู้ปกครองคิดประยุกต์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินที่ใช้ในการทำทุ่งนาจำลองนี้ผู้ปกครองได้ซื้อให้เป็นจำนวน ตั้งสามคันรถบรรทุกและใช้แรงงานทุกคนช่วยกันขนย้ายดินจากริมถนนเข้าไปในสวนเกษตร เหนื่อยแต่สนุกอย่าบอกใครเลยนะ และอีกแปลงข้างๆ เด็กๆก็เสนอให้มีการทดลองเพาะปลูกถั่วตามวิชาวิทย์ที่ต้องเรียน เพาะถั่วก็สนุกเพราะเด็กๆได้ใช้แว่นขยายส่องดูศัตรูพืชมากมาย ส่วนในบทกลอนสี่ ที่แต่งนั้น เป็นการคิดร่วมกันกับเด็กๆ หลังการเรียนรู้ที่เป็นการสรุปประมวลผลความรู้ร่วมกัน โดยใช้บทร้อยกรอง ซึ่งกลอนสี่ก็เป็นบทร้อยกรองที่เหมาะสำหรับเด็กในระดับชั้นนี้ และเมื่อแต่งเสร็จก็ให้เด็กๆ อ่านแล้วเลือกคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรองที่เขาชอบ เชื่อไหมคะว่ามุมมองของเด็กที่เขาได้เลือกตอบตามความคิดของตนเอง เป็นสิ่งที่ครูขวัญปลื้มใจมากค่ะ อยากรู้ต้องติดตามตอนต่อไปนะคะ

ขอขอบพระคุณ นายสถานีคนเก่งที่เป็นผู้ถ่ายทอดอีกหนึ่งความฝันที่เป็นความภาคภูมิใจของครูลินลดากับเด็กๆ ทุกคนและผู้ปกครองค่ะ

สวัสดีค่ะ

เป็นโครงการดีๆที่ทำให้เด็กๆรู้รากเหง้าของตัวเอง

กว่าจะเป็นข้าวแต่ละเมล็ด...

สวัสดีค่ะ..เพื่อนกัลยาณมิตรที่รักทุกท่าน

  • ขอบคุณน้องสายธารค่ะ..ที่เฝ้าติดตามเรื่องราวดี่ๆ
  • ขอบคุณพี่คิมค่ะ..และดีใจมากที่พี่คิมสามารถนำความรู้ไปใช้ได้
  • เป้นภูมิปัญญาที่ยอดเยี่ยมนะคะ..
  • น้องขวัญบอกว่าผู้ปกครองนักเรียนค่ะเป็นผู้ให้ความรู้และลงมือทำ
  • ขอบคุณคุณน้ำผึ้งสีชมพูค่ะ..ที่แวะมาอ่าน
  • ใช่เลยค่ะ..ครูขวัญช่างสรรหาวิธีสอนที่ทำให้เด็กรู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา และลงมือทำงานด้วยตัวเอง
  • ขอบคุณพี่แดงมากค่ะ..ที่กรุณามาเยี่ยม  น้องก็ชื่นชมกิจกรรมนี้ค่ะ
  • ทำให้เด็กได้รู้จักรากเหง้าวิถีชีวิตของตนเอง
  • ขอบคุณทุกท่านอีกครั้งหนึ่งค่ะ

อ.เขียนน่ารัก เป็นกำลังใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท