เรื่องต่อเนื่องเกี่ยวกับ OLPC


มีผู้ให้ความเห็นผมในบันทึก "เรื่อง OLPC ไม่เขียนไม่ได ้" ผมจึงเขียนตอบยาวมาเป็นบันทึกนี้ครับ

ก่อนอื่นต้องขอเรียนว่า "เด็กไทยบ้านนอก" ที่เป็น "ตัวจริง" นั้น ขาดแคลนเทคโนโลยีครับ จะต่างกับ "เด็กไทยในเมือง" อย่างฟ้ากับดินทีเดียว

"ลูกชาวบ้าน" ต่างจังหวัดนั้น บางคนดินสอสีดีๆ สักชุดยังไม่มีเลย

ผมรู้ครับ "ผมเป็นคนบ้านนอก"

ที่จริงแล้วไม่ต้องพูดถึง "โรงเรียน" หรอกครับ "มหาวิทยาลัย" ยังมีคอมพิวเตอร์ไม่พอให้นักศึกษาใช้

แล้วไม่ต้องพูดถึง "ร้านเกมส์" ครับ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น "ร้านเกมส์" ไม่ได้ไว้ให้เรียนหนังสือ มีร้านเกมส์ที่ไหนมีโปรแกรมสื่อการสอนดีๆ บริการลูกค้าบ้าง บอกผมที ผมจะไปกราบ

แต่ดูเหมือนทุกท่านจะข้องใจกับประโยชน์การใช้งานของ OLPC ใช่ไหมครับ ผมชี้แจงประเด็นนี้ก็แล้วกัน

ผมเชื่อว่าทุกท่านคงไม่ข้องใจกับ "ประโยชน์ของหนังสือเรียน" กับ "การเรียนหนังสือ" ใช่ไหมครับ

เอาล่ะ เราจะเอา "สื่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน" เป็นจุดตั้ง

ครั้งหนึ่งในอดีตผมเดาว่าก็คงมีคนสงสัยเหมือนกันว่า "หนังสือ" มันจะมาแทนการ "ท่องจำ" ได้อย่างไร เด็กมีหนังสืออ่านก็คงไม่ต้องท่องจำกันพอดี แล้วจะได้เรียนรู้อะไรได้

ดีที่ตอนนี้ไม่มีใครสงสัยประโยชน์ของหนังสือกับแล้ว

แค่ประเทศไทยเลือกที่จะไม่ใช้ประโยชน์จากหนังสือเท่านั้นเอง ประเทศอะไรก็ไม่รู้ หาซื้อบริการทางเพศได้ง่ายกว่าหาซื้อหนังสือ

OLPC จะมีประโยชน์หรือไม่อยู่กับผู้นำไปใช้ครับ หากประเทศไหนไม่มีวิสัยทัศน์ปล่อยให้ใช้กันตามมีตามเกิด ก็เหมือน "แจกหนังสือเรียนให้เด็กแล้วให้เด็กไปพับถุงขาย" ไม่มีประโยชน์

"ผู้นำไปใช้" ต้องคิดหาประโยชน์ที่จะใช้ ต้องระดมสมองกัน ไม่ใช่เห็นว่างานหนักแล้วตั้งท่ารังเกียจไว้ก่อน อย่างนั้นเป็นเรื่องของพวกขี้เกียจ

เรื่องการใช้ OLPC นี้ต้องคิดแบบก้าวหน้าครับ ไม่ใช่คิดแบบถอยหลังอ้างอิงอยู่กับวิธีการเรียนแบบเก่าๆ

นักวิจัยด้านการศึกษา การเรียนรู้ ระบบสารสนเทศ สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การสาธารณสุข ฯลฯ มีงานวิจัยให้ทำเยอะแยะจนนับไม่ไหว หาก OLPC มีการใช้งานทั่วโลก เพราะมันเป็น revolution ด้านการศึกษา

อย่าทำตัวเหมือนพวกเห็นว่าอินเตอร์เน็ตมีแต่รูปโป๊ 

แต่อย่างว่า บางประเทศมีพวกขี้เกียจแต่ดีแต่พูดเยอะ แล้วคนในประเทศเหล่านั้นก็เชื่อพวกคนดีแต่พูดพวกนี้กันจัง ไม่เคยคิดว่าคนที่ชอบพูดพวกนั้นไม่เคยทำงานจริงเลย ชอบลงหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์เป็นหลัก ทำงานจริงเป็นรอง

พวกนี้ชอบใช้แต่ของคุ้นเคยที่ตัวเองเคยใช้ตอนเด็กๆ มองเทคโนโลยีในมุมจำกัด และชอบมองข้อเสียมาก่อนข้อดี พวกนี้จะไม่สนับสนุน OLPC และมองอินเตอร์เน็ตว่าเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ เพราะตามไม่ทัน และขี้เกียจจะเรียนรู้

ดีที่ประเทศไทยเราไม่ได้เป็นเช่นนั้น เรามีคนทำงานจริงเยอะ เพียงแต่คนทำงานจริงไม่ค่อยได้มีปากมีเสียง มัวแต่เอาเวลาไปแก้ปัญหาที่เกิดจากพวกดีแต่พูด

คนทำงานจริงจำนวนไม่น้อยเลยไม่ได้มีโอกาสรับรู้ "ความจริง" เพราะมัวเอาเวลาไป "แก้ปัญหา" ที่พวกดีแต่พูดก่อไว้

บางทีเวลามีคนที่ทำงานจริง quote คำพูดของพวกดีแต่พูด ผมบอกตรงๆ ผมจะอ้วก อยากจะถามตรงๆ ว่าที่คุณ quote คำพูดของเขานั้นคุณเคยรู้ไหมว่าเขามีประสบการณ์หรือความรู้อะไรบ้าง เลิกเป็นลูกไล่ของเขาเสียที

คุณเก่งและมีประสบการณ์ในการทำงานจริงมากกว่าเขาเยอะ เลิกยกย่องเขาเสียทีเถอะ ยกย่องตัวเองกันบ้าง มีความมั่นใจในตัวเองในสิ่งที่สะสมจากประสบการณ์การทำงานจริงของคุณกันบ้าง 

กลับมาเรื่อง OLPC กันต่อ OLPC เป็นมากกว่า "หนังสือเรียน" เพราะมันคือ "อุปกรณ์เพื่อเข้าถึงความรู้" ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล

"หนังสือ" ไม่มีความสามารถเท่า OLPC แต่ OLPC มีความสามารถเท่า "หนังสือ" และมีมากกว่าเยอะ

การมอง OLPC เป็นแค่ "เครื่องคอมพิวเตอร์" เป็นมุมมองที่จำกัดมาก ให้คิดว่า OLPC เป็น "Universal Learning Device" จะเหมาะกว่า

ในอดีตจนถึงปัจจุบันยังไม่มีอุปกรณ์เช่นนี้ เรื่องนี้เลยทำให้หลายคน "นึกไม่ออก" ว่า OLPC คืออะไร เลยนึกว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ก่อน อย่างน้อยก็ยังรู้จักคอมพิวเตอร์

OLPC นั้น ถ้าเปิดใจเราจะเห็นของใหม่ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน ในอดีตถึงปัจจุบัน ถ้าไม่เปิดใจเราก็จะเห็นแค่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี specification "แปลกๆ"

OLPC ไม่ได้ใช้ Windows ไม่ได้เป็นเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบที่เราๆ ท่านๆ เห็นกัน

เพราะ OLPC ไม่ใช่ "คอมพิวเตอร์" มันคืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้

คนที่เห็นว่า OLPC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ยังพอทำเนา ถ้าไม่ได้มีอาชีพด้านเทคโนโลยีด้วยนี่เรียกว่าไม่มีความผิดเลย เป็นความผิดของคนที่มีอาชีพด้านเทคโนโลยี (อย่างผม) ที่ต้องอธิบายให้เข้าใจ

แต่คนที่มีอาชีพด้านเทคโนโลยีที่เห็นว่า OLPC เป็น "ของเล่น" นี่แสดงว่ามีปัญหาในการเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างรุนแรง

บางคนเห็นว่า OLPC เป็น "ของทันสมัย" ที่ "ฟู่ฟ่า" นี่ก็เข้าใจผิด

OLPC ไม่ใช่ "เทคโนโลยีทันสมัย" แต่เป็น "เทคโนโลยีที่พอเพียง" เพื่อการเรียนรู้ ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อการเรียนการสอน

MIT Media Lab เขาเป็นที่หนึ่งในโลกเรื่องความพยายามสร้าง "เทคโนโลยีที่พอเพียง" ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน และมีประโยชน์จริง เขามีชื่อเรื่อง "เทคโนโลยีที่พอเพียง" ในด้านต่างๆ มานานแล้ว

OLPC ใช้ระบบเฉพาะ (Linux) แต่เป็นระบบเปิด (open source) เกมส์ต่างๆ ที่เด็กเล่นกันนั้น เล่นบนเครื่องนี้ไม่ได้ เครื่องนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ

แต่นักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเครื่องนี้นั้นมีเยอะครับ นักพัฒนาเป็นล้านคนที่หัวใจเปิด (open source) ต่างรอคอยพัฒนาซอฟต์แวร์ดีๆ ให้เครื่องนี้กันทั่วโลก

นึกดูก็แล้วกันว่าเด็กๆ จะมีซอฟต์แวร์ดีๆ ที่จะใช้ในเครื่องนี้มากแค่ไหน

นี่คือจุดแข็งที่สุดของ OLPC

แต่ก็จะมีคนไม่ดีพัฒนาซอฟต์แวร์ไม่ดีให้เครื่องนี้เหมือนกัน เรื่องนี้มันห้ามที่เทคโนโลยีไม่ได้ มันต้องห้ามโดยการบริหารจัดการ ถ้าจะเป็นนักจัดการต้องไม่ขี้เกียจแล้วเอาแต่โทษเทคโนโลยี จะเอาจุดบอดเล็กๆ มาบดบังประโยชน์ใหญ่ๆ มันไม่ใช่เหตุผลที่คนที่เรียกตัวเองว่า "นักบริหาร" จะพึงกระทำ

ระบบเครือข่ายที่ใช้บน OLPC ที่เรียกว่า Mesh Networking นี่ก็น่าสนใจมาก เป็นแนวคิดที่ลดต้นทุนด้าน network infrastructure แพงๆ ลงได้มหาศาลทีเดียว

ประเทศที่นำเข้าเทคโนโลยีอย่างเดียวไม่เคยส่งออกเลยอย่างประเทศไทยควรจะสนใจเรื่องการลดต้นทุนพวกนี้ไว้บ้าง

ไหนจะโครงการ MIT OpenCourseWare ที่ชูธงต้นแบบให้มหาวิทยาลัยอื่นๆ ทำตาม

ในอนาคตใบปริญญาจะไม่มีความหมาย เพราะเราจะวัดกันที่ portfolio เพราะโลกนี้จะเป็น Small World แล้ว

เด็กบ้านนอกจะเท่าทันเด็กในเมืองก็คราวนี้

ดังนั้น Revolution ด้านการศึกษาขนาดนี้ ราคา 4,000 บาทต่อเครื่องถือว่า "ถูกเหมือนได้เปล่า"

ลองคิดสิครับว่าเด็กนักเรียนคนหนึ่งซื้อหนังสือเรียนปีหนึ่งๆ กี่บาท เกิน 4,000 บาทต่อปีหรือเปล่า

เกินครับเกิน เกินแน่นอน

ไหนจะค่าใช้จ่ายสำหรับสื่ออื่นๆ อีกที่ OLPC จะมาช่วยลดได้

ถ้ารู้จักใช้ OLPC นี่คุ้มสุดคุ้ม

รัฐบาลที่เน้น "ความพอเพียง" จริงต้องสนับสนุน OLPC

การสนับสนุนคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรนั้นเป็นการสนับสนุนนายทุนให้ได้เงินโดยให้เด็กซื้อคอมพิวเตอร์มาเล่นเกมส์มากกว่า ถือว่าเป็นความคิดที่ใช้ไม่ได้!

การเรียนรู้ไม่ได้อยู่แค่มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows ได้นะครับ เอื้ออาทรกันจริงนั้นคิดเรื่องอื่นประกอบหลังจากเด็กจ่ายเงินแพงๆ ซื้อคอมพิวเตอร์ตกรุ่นมาใช้บ้างหรือเปล่า

คอมพิวเตอร์เอื้ออาทรที่ตกรุ่นถูกๆ แต่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตแพงๆ และใช้ซอฟต์แวร์แพงๆ แถมพังง่ายอีกต่างหาก นี่หรือความพยายามประหยัดเงิน

กลัวนายทุน "จน" ละสิ

OLPC จะทำให้นายทุน "จน" ลงหลายพวกทีเดียว ได้แก่ พวกนายทุนที่จ้องขายคอมฯ แพงๆ เกินความจำเป็นให้เด็ก พวกนายทุนผูกขาดขายหนังสือเรียน พวกนายทุนขายซอฟต์แวร์ให้โรงเรียน พวกนายทุนธุรกิจสื่อสารทั้งหลาย พวกนายทุนที่หากินกับเด็กและโรงเรียนนานับประเภท และพวกนายทุนสื่อมวลชนที่จ้องครอบงำสมองคนไทย

นายทุนพวกนี้ถูกกระทบหมด กระทบหนักด้วย

นี่คือสาเหตุที่คนไทยไม่เคยได้รับรู้ข้อดีของ OLPC เลย

เมื่อไหร่คนไทยจะเลิกเชื่อนายทุน โดยเฉพาะนายทุนสื่อมวลชนเสียทีนะ

หัดหาความจริงในข่าวกันบ้างสิ เชื่อกันงมงายไปได้

บางคนยังนึกว่า OLPC เป็นโครงการของ "ทักษิณ" ด้วยซ้ำ นี่คงเชื่อ "สนธิ" มากเกินไปแล้ว

ที่จริงแล้วคนที่ไม่ชอบ "ทักษิณ" ด้วย "สมอง" เขาสนับสนุนโครงการ OLPC และไม่สนับสนุนโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร

ปรากฎว่ารัฐบาลนี้กลับล้มเลิกโครงการ OLPC แต่ทำโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรต่อ ทั้งๆ ที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรเป็นการเปิดโอกาสให้นายทุนได้ "โล๊ะ" คอมพิวเตอร์ตกรุ่นมาขายให้คนไม่รู้เรื่อง งานนี้เอาใจนายทุนออกนอกหน้ากันเกินไปหน่อยมั้ง

จะว่าไปแล้วโครงการ OLPC ในระดับโลกมีอุปสรรคเยอะ เพราะไปขวางนายทุนหลายพวกอย่างที่ผมให้รายการมาข้างต้น

การล้มเลิก OLPC ทำให้ผมผิดหวังกับรัฐบาลนี้มาก ผมนึกว่ารัฐบาลนี้จะเป็นรัฐบาลที่เพียงพอ แต่กลับเป็นรัฐบาลที่อยู่ข้างนายทุน ผมนึกว่าจะเป็นรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ไกลและยอมทำงานหนัก แต่กลับเป็นรัฐบาลที่เลือกผลประโยชน์ของนายทุนมาก่อน

น่าเสียใจนะครับ ความผิดหวังนี่มันเจ็บหัวใจทีเดียว อกหักกับรัฐบาลนี้!

เริ่มต้นไปได้เดือนแรก รัฐบาลก็หักอกผมแล้ว เฮ้อ!

ไม่เป็นไรครับ รอให้ที่อื่นๆ ในโลกเขาใช้ OLPC กันให้ดีก่อน แล้วประเทศไทยค่อย "ตาม" ก็แล้วกัน

เรา "ตาม" เก่งอยู่แล้ว ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร

--------------------- 

 ขอโทษที่ความเห็นรุนแรง ผมบอกแล้วว่า "ผมเซ็ง"

หมายเลขบันทึก: 57274เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2006 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

แป้นว่าที่เค้ายกเลิก เพราะเค้ารู้พฤติกรรมของเด็กไทยงัยคะ ว่ายังไม่ขยันที่จะขวนขวายหาความรู้ อย่างจริงจัง อย่างเช่นร้านเกมส์ที่อ.พูดมา นั่นคือความจริงของเด็กไทยค่ะ เพราะแป้นเคยไปนั่งร้าน internet ที่วัยรุ่นชอบไป สังเกตุได้ว่าส่วนมากเข้าร้านเน็ตเพราะต้องการแชตคุยกับเพื่อน หรือเล่นเกมส์ออนไลน์ และเปิดเวปดาราเท่านั้น ไม่ค่อยมี หรือเรียกว่าไม่มีเลยด้วยซ้ำที่จะเข้าไปหาข้อมูลที่เป็นความรู้ ดังนั้นถ้ายังปรับพฤติกรรมของเด็กไทยยังไม่ได้ โครงการนี้จะจัดตั้งขึ้นมาก็เปล่าประโยชน์ เพราะเด็กในเมืองสมัยนี้เห็นคอมพิวเตอร์เป็นแค่ ที่ไว้สำหรับเล่นเกมส์ ในขณะที่เด็กบ้านนอก ต้องการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา แต่แป้นไม่แน่ใจว่าถ้าเค้าได้มันไปแล้ว จะนำไปใช้ประโยชน์มากกว่าโทษ หรือไม่ แต่ไม่รู้ว่ารัฐจะคิดเหมือนแป้นรึเปล่านะคะ และที่สำคัญ เด็กไทยยังด้อยภาษาอังกฤษอยู่มากดังนั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารภาษาอังกฤษก็ยังเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน ยกตัวอย่างง่ายๆจากการดูหนัง นะคะ ถ้าให้ทำการสำรวจ เด็กไทยดูหนังแบบ soundtrack น้อยกว่าภาคไทยมากๆ สาเหตูก็คือไม่เห็นความสำคัญของมัน เหมือนกับที่รัฐบาลไม่เห็นความสำคัญของ OLPC นั่นแหละค่ะ

เฮ้อ! ห้ามคอมเม้นกันเกินห้าคนนะคะ ไม่งั้นโดนจับแน่เลย :)

ปล.ขอบคณสำหรับ http://www.storynory.com/ นะคะ ได้ความรู้ใหม่อีกแล้ว เดี๋ยวจะลองโหลดใส่โทรศัพท์ดูว่าจะฟังได้มั้ย เผื่อจะได้สอบTOEFL ได้คะแนนดีๆ

ก่อนอื่นเราเลิกเรียก OLPC ว่า "คอมพิวเตอร์" ก่อนดีไหมครับ เพราะ OLPC ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ครับ

เหมือนที่  DVD player ไม่ใช่คอมพิวเตอร์

เหมือนที่โทรศัพท์มือถือไม่ใช่คอมพิวเตอร์ 

เหมือนที่โทรทัศน์ (รุ่นใหม่ๆ เดี๋ยวนี้) ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ 

เหมือนที่ digital camera ไม่ใช่คอมพิวเตอร์

เหมือนที่ camcorder ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ 

และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมาย

ถ้ายังเรียก OLPC ว่า "คอมพิวเตอร์" เราก็ยังเข้าใจผิดกันไปไม่สิ้นสุดครับ

เรียก OLPC ว่า "คอมพิวเตอร์" ก็เหมือนเรียก "กระดาษ" ว่า "กระดานชนวนแบบอ่อน"

ซึ่งไม่มีประโยชน์ เพราะ อ่อน ฉีกขาดทำลายง่าย เปื่อยยุ่ย เก็บรักษาได้ไม่นาน แถมต้นทุนผลิตต่อแผ่น "ถ้าไม่ได้ผลิตเยอะๆ" ก็แพงกว่ากระดานชนวนด้วย

ผมว่าคำอธิบายใน comment นี้คงช่วยให้หลายท่านคิดในมุมเปรียบเทียบและเข้าใจว่า OLPC คืออะไรนะครับ

OLPC ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ มันคืออุปกรณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อนในอดีตและปัจจุบัน 

อืม อ่านที่คุณเขียนเพิ่ม ได้ความรู้อีกมากจริงๆครับ

ที่ผ่านมารู้สึกรังเกียจการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ เลยทำให้มีอคติไปเสียทุกเรื่องที่เป็นโปรเจ็คใหญ่ๆ ทำให้มีความเข้าใจใน "ค่านายหน้า" ของ OLPC ผิดๆ พาลไม่เห็นด้วยไปด้วย

ที่คุณ PAN ว่ามาเรื่องภาษาก็สำคัญครับ แต่ไม่ใช่ปัญหาของ OLPC (One Laptop per Child) เท่าที่ผมทราบ ตั้งแต่มีข่าวว่าจะจัดซื้อได้มีการเริ่มต้นโครงการ localisation สำหรับ OLPC ไปแล้ว แต่เมื่อแห้วแบบนี้ก็ไม่รู้ว่าจะทำต่อหรือเปล่านะ

ขอบคุณ DrRider ครับ ผมก็ไม่ได้ตอบคุณแป้นเรื่องการใช้ภาษาไทยของ OLPC เพราะมัวไปนึกจดจ่อเรื่องที่คุณแป้นยังเรียก OLPC ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์

OLPC จะไม่มีปัญหาในการใช้ภาษาไทยแน่นอนครับ เพราะ NECTEC มีประสบการณ์จากทำ Linux TLE ที่อยู่บนพื้นฐานของ Fedora Core ซึ่ง OLPC นำมาปรับปรุงใช้อยู่แล้ว

ผมเชื่อว่าโครงการในการทำ localization ของ OLPC เป็นภาษาไทยนั้นคงยังมีต่อแน่นอนครับ แต่คงเป็นในรูปแบบงานทำฟรีกันทำไปมากกว่า เพื่อรอวันที่จะมีผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์เพียงพอ (และไม่ได้เห็นแก่นายทุนมากนัก) มาสานต่อโครงการครับ

ผมเชื่อใน spirit ของทีมทำ localization ของ OLPC แต่สงสารที่ต้องมาทำงานฟรีทั้งๆ ที่งานนี้จะมีประโยชน์มหาศาลต่อการศึกษาของไทย 

ชอบคำว่า OLPC ไม่ใช่ "เทคโนโลยีทันสมัย" แต่เป็น "เทคโนโลยีที่พอเพียง"

รัฐบาลชุดนี้เน้นอะไรพอเพียง แต่ชอบเทคโนโลยีทันสมัย มั้ง

"แค่ประเทศไทยเลือกที่จะไม่ใช้ประโยชน์จากหนังสือเท่านั้นเอง ประเทศอะไรก็ไม่รู้ หาซื้อบริการทางเพศได้ง่ายกว่าหาซื้อหนังสือ"

ส่วนอื่นไม่นับเรื่องการใช้อารมณ์ ก็พอจะเห็นด้วย
แต่ข้างบนไม่น่าเขียน เพราะมันไม่เกี่ยว

ประเทศที่ซื้อบริการทางเพศได้ง่าย ก็แค่นอนดึกเกินสี่
ทุ่มแล้วโทรศัพท์เป็น ในขณะที่หาดใหญ่ต้องออกไป
ท่องราตรีเดินหาคนถือถุง

เรื่องนี้ต้องแก้ที่ประชาชนไม่ใช่แก้ที่รัฐบาล หรือผู้มี
อำนาจ

 

ไม่ใส่อารมณ์มัน "นิ่มนวล" เกินไปครับ เรื่องนี้จะปล่อยให้อ่านกันผ่านๆ ไม่ได้ มันต้อง "สะดุดหัวใจ" ด้วย

ช่วยใส่อารมณ์ ช่วยสงสารเด็กไทยตาดำๆ กันนะครับ

หมายเหตุ: เท่าที่ผมทราบ ประเทศไทยเรามีชื่อเสียงเป็นอย่างมากระดับโลกเรื่องบริการทางเพศที่หาซื้อได้ง่ายและหลากหลาย ไม่จำเป็นต้องไปเดินหาคนถือถุงที่ไหนแล้วครับ

ผมได้แต่นึกว่า ถ้าเด็กเหล่านั้นที่เข้ามาในอุตสาหกรรมบริการทางเพศได้มีการศึกษาที่ดีกว่านี้ ถ้าเขาได้มีโอกาส "learn to learn" ไม่ใช่ "learn to remember" หรือ "learn to follow" แล้ว เขาอาจจะมีโอกาสในชีวิตที่ดีกว่าที่เขามี

ดังนั้นผมจะ "เจ็บปวด" มากเมื่อเห็นใครมาตัดโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทย ไม่ว่าวิธีไหนหรือรูปแบบไหนก็ตาม

รู้สึก "เจ็บปวด" เหมือนผมรู้สึกไหมครับ?

เอาเป็นว่าผมคนหนึ่งที่มองไม่ออกว่า OLPC มีประโยชน์อะไร ..."ในตอนนี้"

ผมรู้สึกดีและเข้าใจ OLPC มากขึ้นจากบทความของ อาจารย์ และ พี่กำธร และผมเห็นด้วยกับบทความทั้งคู่

 มันก็คงไม่เสียหายอะไรมากมั้ง (ถ้าไม่นับรวมความเซ็งในหัวใจสำหรับคนอย่างพี่กำธร และอีกหลายที่หมายจะปลุกปั้น OLPC) 

 OLPC ก็ไหนๆ เรานิยาม OLPC ว่าไม่ใช่แค่อุปกรณ์ ในการเล่น Internet .... "มันคือ Learning Device"

 ถ้ามันจะช้าไปซักปี 2 ปี ... แต่ Content ที่เตรียม (อาจจะเป็นพวก Animation สำหรับเด็ก... ให้เข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายขึ้น)  สมบูรณ์เต็มที่ ผมว่าก็ไม่น่าจะมีปัญหา ... อุปกรณ์ราคาก็น่าจะราคาถูกลงตาม Technology แบบก้าวกระโดดแบบนี้

 เอาหน่า... อาจารย์ครับ เรายังมีงานต้องทำ ... เตรียมเรื่องพวกนี้ให้กับเด็กๆ ถึงแม้วันนี้ไม่มี OLPC ก็ไม่เป็นไร ... มันยังมี Internet ยังสำคัญ ... "ยังมีคน IT ที่เข้าใจและมีไฟอยู่..." .....บ้านนี้เมืองนี้ มันเอาแน่เอานอนไม่ได้อยู่แล้วหนิ .... แต่เราเริ่มต้นกับก้าวของเราได้หนิครับ

 

 

 

ผมเป็นคนใช้เทคโนโลยี แต่ผมไม่เห็นด้วยครับ แปลงกใจตัวเองเหมือนกัน ขอให้ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ เปิดใจรับผมหน่อย 1. เพราะไม่ใช่หน้าที่ จึงต้องรู้จักปล่อยวาง บางเรื่องเราเห็นว่าถูก แต่คนอีกค่อนโลกเห็นว่าผิด ก็เยอะไป การเชื่อมั่นในความถูกต้อง อาจไม่ถูกต้องเสมอไป แค่มองต่างมุมว่า คนที่มีหน้าที่ และรับผิดชอบ เขาคิดดีแล้ว คิดมากไปก็กลุ่มครับ มีเรื่องมากมายที่เราเปลี่ยนไม่ได้ 2. คอมพิวเตอร์ดีสำหรับคนรู้จักเลือก ปัจจุบัน เห็นเยาวชนออกมาแต่งตัวยั่วผู้ชาย ใน TV ก็เรียกว่าสวยงาม ปัจจุบัน เปิด education 2% แต่บันเทิงไป 40% gotoknow.org มีเยาวชนเข้าสักกี่คน มีครูเข้าสักกีคน ผมว่าที่นี่มีแต่ปัญญาชนครับ เด็กมหาลัยไม่เข้าหลอกครับ ดังนั้นปัญหาการเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการมีคอมพิวเตอร์หรือไม่มี 3. ผมอยากให้แก้ไขที่คน อยากให้รัฐบาลทหาร จัดระเบียนอินเทอร์เน็ตซะใหม่ เรื่อง OLPC ไม่ใช่ปัญหาครับ สุดท้ายนี้ผมชอบอ่านที่อาจารย์เขียน ผมว่าได้อารมณ์ดี และเห็นความหวังดีครับ เหรียญมี 2 ด้านครับ และผมก็เป็นทุกข์เรื่องการศึกษาเหมือนอาจารย์ แต่ผมไม่ได้นั่งอมทุกข์นะครับ และงานของผมคือทำให้ education 2% เพิ่มเป็น 3% แต่หลายปีที่ผ่านมาผมล้มเหลว ในอนาคตอาจเหลือ 1% ก็ได้ ข้อมูลจาก truehits.net และผมไม่อยากเรียกร้องให้ใครมาช่วยการศึกษาในประเทศของผม เพราะความหวังทำให้เรามีความทุกข์ ผมจึงทำเงียบ ๆ คนเดียว ผมไม่ลงชื่อนะครับ เกรงใจ

 

ชอบคำว่า OLPC ไม่ใช่ "เทคโนโลยีทันสมัย" แต่เป็น "เทคโนโลยีที่พอเพียง"

ลองดูรายละเอียดโครงการ OLPC ได้ที่

http://pclab.nectec.or.th/wiki/index.php/Software

พอดีผ่านมาเห็นครับ ... อยากเสนอกันอีกมุมมองหนึ่งครับ

 ผมไม่ได้เก่งอะไรมากมาย ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย แต่ผมสงสัยว่า ถ้าคนใช้ ใช้ไม่เป็นเนี่ย ไอ้เครื่องที่ว่ามันจะเอาไปใช้ได้ไหมครับ ?? เข้าใจว่ามันดีจริงนะครับ ตัวฟังก์ชัน และอื่นๆ พอเพียงแก่การเรียนรู้จริง แต่ ... ใครจะเป็นคนสอนใช้เครื่องที่ว่าครับ ... เกิดปัญหา ใครจะเป็นคนแก้ไขเบื้องต้นให้ผู้ใช้ครับ

 ... ทั้งหมด วนกลับมาที่ทรัพยากรณ์หลักของการศึกษานะครับ ... ถ้าเราไม่มีการเตรียมความพร้อมที่พอเพียง ซึ่งผมเข้าใจว่า .. ไม่ง่ายนัก .. ให้กับบุคคลากรทางการศึกษาของเรา ให้สามารถดูแลผู้ใช้ของเราได้ ก็จบกัน อย่าลืมนะครับ ว่าคนเป็นจำนวนมากนะครับ

... แต่จริง ๆ แล้วผมเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีนะครับ เพียงแต่ว่า ดูเราจะหลงประเด็นไปที่การรีบนำเครื่องเข้ามาใช้ให้เร็ว ไปกว่าการเตรียมความพร้อมของบุคคลากรมากกว่า อาจจะยอมให้โครงการเดินช้าลงไปบ้าง เสียโอกาสทางเวลานิดหน่อย เพื่อให้ประสิทธิภาพการใช้สูงขึ้น แถมได้เรียนรู้ปัญหาจากชาวบ้าน(ประเทศที่เอาไปก่อน)มาปรับใช้

เอาเหอะครับ .. สรุปแล้วก็เป็นโครงการที่ดี หากแต่ดูเหมือนว่าตั้งหลักกันผิด ... และถูกเอาไปใช้ในเชิงการเมืองมากไป ...

ส่วนเรื่องเด็กไทย ... เฮ้อ ... ผมขอให้ทุกคนหลับตานะครับ ลืมว่าเด็กวันนี้เป็นอย่างไรนะครับ ... ผ้าขาว ... มันขึ้นกับคนระบายครับ ... หวังว่าซักวันเราจะช่วยกันระบายให้ดูดีได้กว่านี้นะครับ .. อีกอย่าง .. อย่าไปว่าเด็กรุ่นนี้เลย .. ย้อนกลับมามองว่าเราให้อะไรเขาไปกันจะดีกว่ามั้งครับ ... (อ่านแล้วงงๆ แฮะ ..  เอาเป็นว่า เด็กจะดีไม่ดี อยู่ที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ นี่แหละครับ)

 

พยายามกันต่อไปนะครับ หวังว่าซักวันจะได้เห็นประเทศเราไล่ตามไอ้คนสร้างเครื่องที่ว่า(ก็ไม่ให้เรียกคอมฯ ไม่รู้จะแทนมันว่าอะไรดี)ทันนะครับ ...

 

ผมอ่านแล้วรู้สึกขัดแย้งกับคำว่า

"OLPC ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์"

อยู่พอสมควรครับ จากที่ลองตามไปดูที่เว็บหลักของ OLPC ดูแล้วเขาก็ยังเรียกมันว่าเป็น Laptop อยู่ดี ยิ่งชื่อของมันก็ย่อมาจาก One Laptop per Child ก็ยิ่งชัดเจนอย่างแน่นอนแล้วว่ามันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ยิ่งผมไปดูสเป็คแล้ว ใช้ฮาร์ดแวร์

CPU 500 MHz (ไม่รู้ค่ายไหน)

Ram 128 MB (ถือว่าเยอะอยู่สำหรับกรณีนี้)

Flash 500 MB (สบายมากสำหรับระบบปฏิบัติการเช่น Windows98 หรือ Linux)

พร้อมทั้ง 4 USB (เดาว่าน่าจะเป็น 2.0 แล้วนะ)

และ Wireless Network

มีคีย์บอร์ดด้วย

แบบนี้ถ้าไม่เรียกคอมพิวเตอร์ แล้วไอ้คอมที่เราใช้ๆ กันอยู่จะเรียกมันว่าอะไรดีล่ะครับ เพราะโครงสร้างมันก็เหมือนกันซะขนาดนี้

จะมีที่ต่างกันก็ตรงที่หน้าตา กับเครื่องปั่นไฟซึ่งไม่มีในเครื่องคอมทั่วไปแน่นอน แต่ยังไงผมก็ยังมองมันเป็นคอมพิวเตอร์อยู่ดี ยิ่งเว็บหลักเขาก็บอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ ผมจึงขอเสนออีกมุมมองในนี้น่ะครับ

 นอกจากนี้แล้วในส่วนอื่นผมก็เห็นด้วยเกือบทั้งหมดครับ

 

เว็บหลักของ OLPC เขาก็มีปัญหาเรื่องนี้ครับ ดังที่ผมได้เขียนไว้ใน "บันทึกนี้" ว่า

"ที่จริงแล้วเรื่องนี้เป็นความผิดของคนคิดโครงการนี้แต่แรก (Prof. Nicholas Negroponte) ที่ตั้งชื่อไม่สื่อกับสิ่งที่เขาพยายามจะทำ ซึ่งตอนนี้ Prof. Negroponte ก็ได้ประสบการณ์ด้าน branding ราคาแพงและพยายามจะเปลี่ยนชื่อ OLPC ไปหลายต่อหลายชื่อแล้ว อาทิเช่น CM1, 2B1, XO เป็นต้น และก็คงได้เปลี่ยนชื่อไปอีกหลายครั้งกว่าจะสื่อสารให้สาธารณชนเข้าใจว่า OLPC คืออะไร

ผมเองก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรเหมือนกัน นี่ก็ตัดสินใจว่าเรียกว่า OLPC ไว้ก่อน

ในอนาคต เรื่องชื่อของ OLPC นี้จะเป็นเรื่อง classic ด้านความผิดพลาดด้าน branding ที่ต้องเล่ากันต่อไปชั่วลูกชั่วหลานทีเดียว"

กรุณาอ่าน "บันทึกนี้" เพิ่มเติมในรายละเอียดนะครับ 

เด็กสมัยนี้เรียนคอมใช้คอมเป็นกันเป็นส่วนมากหลายคนพิมพ์ฟหกดได้

dl เกมลงมาเรายังเล่นไม่เป็น ปล่อยให้เขาจิ้มสักพักก็ได้แล้ว โรงเรียนข้างวัดชั้นป.มีนักเรียน 800 ชั้นม.มี 2500

 อยากจะได้สัก 1 เครื่องก่อนจะต้องทำอย่างไร ส่งเงินให้ที่ไหน  จะลองให้เ่ขาใช้ดู ดูซิว่าเขาจะทำกันอย่างไร

เวปศูนย็กลางน่าจะมี ตำราเรียนน่าจะมีให้ DL ได้บ้างนะ 

ต่อไปคงจะเก็บเงินได้สักเดือนละพัน จะทยอยซื้อให้เขาไปเรื่อยๆ คงจะดีกว่าปล่อยให้เจ้าพวกนี้ไปเล่นเกมอย่างเดียว

 ถ้าเป็นไปได้และไม่รบกวนช่วยบอกที่เมล์

หรือ 081-9450926 วัดพลงช้างเผือก อ.แกลง ระยอง 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท