BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

อนมตัคคธรรม


อนมตัคคธรรม

ศัพท์นี้อาจไม่คุ้นเคยนักสำหรับคนทั่วไป สำหรับผู้สนใจเรื่องนี้ อาจอ่านได้จากพระไตรปิฏกซึ่งประมวลไว้เฉพาะหมวดหนึ่งเรียกว่า อนมตัคคสังยุตต์ ( คลิกที่นี้ มี ๒๐ พระสูตร ) ในที่นี้ จะขยายความเฉพาะศัพท์เท่านั้น

อนมตัคคะ แปลตามตัวว่า มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว โดยเป็นศัพท์คุณนามขยายคำนาม เท่าที่เคยเจอ มักจะใช้ขยายคำว่า สงสาร กาล และ ธรรม ซึ่งเมื่อถือเอาตามนี้ ก็อาจผูกศัพท์ได้ว่า

  • อนมตัคคสงสาร = สงสารมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว
  • อนมตัคคกาล = กาลมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว
  • อนมตัคคธรรม = ธรรมมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว

 

เมื่อแรกหัดแปลบาลีนั้น นักเรียนมักจะท่องศัพท์นี้ เจอครั้งหนึ่งก็ท่องครั้งหนึ่ง จึงอาจกล่าวได้ว่า สำหรับผู้ที่ผ่านการเรียนบาลีจนกระทั้งเป็นมหาเปรียญนั้น จะท่องคำแปลศัพท์นี้ได้ทุกคน... แต่มิใช่ว่าจะเข้าใจและอธิบายศัพท์นี้ได้ทุกคน...

  • อนุ + อมตะ + อัคคะ = อนมตัคคะ
  • อนุ = น้อย, ภายหลัง, ตาม (เป็นอุปสัค)
  • อมตะ = ไม่รู้แล้ว (เป็นกิริยากิตก์)
  • อัคคะ = เบื้องต้นและที่สุด (เป็นคำสมาส)

 

โดยคำนี้ มีอรรถวิเคราะห์เป็นลำดับดังนี้

  • ปุพฺโพ เจว อคฺโค จาติ อคฺคํ
  • เบื้องต้นด้วยนั่นเทียว ที่สุดด้วย ดังนั้น ชื่อว่า อัคคะ (เบื้องต้นและที่สุด)

คำว่า อัคคะ นี้ เรียกกันว่า เอกเสสสมาส บุพพโลปะ คือ คำสมาสที่เหลือบทสรุปเพียงบทเดียว โดยลบบทข้างหน้า (ปุพพะ - เบื้องต้น) ออกไป คงเหลือแต่ที่เป็นบทข้างหลัง (อัคคะ - ที่สุด) แต่เมื่อแปลก็ให้แปลเต็ม คือแปลว่า เบื้องต้นและที่สุด

 

  • อนุคจฺฉนฺเตน (ปุคฺคเลน) อมตํ อคฺคนฺติ อนมตคฺคํ
  • เบื้องต้นและที่สุด (อันบุคล) ไปตามอยู่ รู้ไม่ได้แล้ว ดังนั้น ชื่อว่า อนมตัคคะ (เบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว)

คำว่า อนุคจฺฉนฺเตน ซึ่งแปลว่า ไปตามอยู่ นั้น จะนำมาแต่เพียงอุปสัคคือ อนุ เท่านั้น แล้วก็นำมาทำการสนธิตามหลักไวยากรณ์จะได้ว่า อนุ + อมตะ =  อนมตะ และ อนมตะ + อัคคะ = อนมตัคคะ ตามลำดับ...

 

อนมตัคคะ (เบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว) ยังเป็นคำนาม เมื่อต้องการทำให้เป็นคุณนามตัวใดก็ต้องนำไปวิเคราะห์อีกครั้ง เช่น

  • อนมตคฺคํ ตสฺส อตฺถีติ อนมตคฺโค (สํสาโร)
  • เบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว แห่งสงสารนั้น มีอยู่ ดังนั้น สงสารนั้น ชื่อว่า อนมตัคคะ (มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว)
  • อนมตคฺคํ ตสฺส อตฺถีติ อนมตคฺโค (กาโล)
  • เบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว แห่งกาลนั้น มีอยู่ ดังนั้น กาลนั้น ชื่อว่า อนมตัคคะ (มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว)
  • อนมตคฺคํ ตสฺส อตฺถีติ อนมตคฺโค (ธมฺโม)
  • เบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว แห่งธรรมนั้น มีอยู่ ดังนั้น ธรรมนั้น ชื่อว่า อนมตัคคะ (มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว)

วิเคราะห์ตามนัยนี้ เป็นตัทธิต ชนิดตทัตสัตถิตัทธิต ใช้สำหรับทำคำนามให้เป็นคุณนาม เพื่อนำไปใช้ขยายคำนามตามความต้องการ...

 

ความเห็นส่วนตัว ศัพท์ว่า อนมตัคคะ นี้ บ่งชี้ถึงความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในพระพุทธศาสนา... และให้สละการค้นหาสาเหตุในอดีตเพราะไม่อาจค้นไปถึงต้นตอคือเบื้องต้นได้ และไม่ควรคาดคะเนไปถึงอนาคตเพราะไม่อาจค้นไปถึงจุดหมายคือที่สุดได้... โดยควรจะพิจารณาปัจจุบัน กล่าวคือ ขณะนี้ ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดของเรา) ที่กำลัง เกิดดับ เกิดดับ อยู่ทุกขณะ... ประมาณนั้น

หมายเลขบันทึก: 228507เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2008 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 06:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดี พระมหาชัยวุธ

ผมเองก็ยังไม่เคยเจอศัพท์นี้

ครับ

เห็นเป็นคำศัพท์แปลกๆค่ะก็เลยแวะมาอ่าน..ได้ความรู้เติมเต็มนะคะ

นมัสการหลวงพี่

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้แวะิิอ่านบันทึกหลวงพี่เท่าไหร่

เรื่อง "อนมตัคคธรรม" นี้ เข้าใจยากเหมือนกัน อิๆ

Pพระ มงคล มงคล ถีราวุฒิ

 

  • อามนฺตา ภนฺเต

........

P add

 

  • สาธุ

.............

Pธ.วั ช ชั ย

 

  • ไม่ค่อยได้เขียนเหมือนกัน

..........

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

มาเรียนศัพท์ บันทึกละคำ

อนมตัคคกาล เหมือนกับว่ามันตันมาแต่ต้นแล้วครับ

ขอบพระคุณครับ ผมชอบบล๊อกของท่านมากครับ

ว่าแต่ว่า ต่อเนื่องจากที่ท่านเขียน ก็เลยขออนุญาตปุจฉานะครับ ท่านจะยังไม่เฉลยทันทีก็ได้ครับ

คำว่า สงสาร แปลว่าอะไรครับ ผมพอจะเข้าใจว่า วัฏสงสารคืออะไร แต่คำนั้นโดดๆ ไม่ทราบ ผมเคยนึกอยากทราบมาหลายครั้ง คาอยู่ในใจเวลาฟังอาจารย์สอนอภิธรรมท่านพูด แต่ท่านก็ไม่ได้แยกศัพท์ให้ดู แล้วก็ไม่ได้ถาม เลยขออนุญาตถามที่นี่ครับ

ไม่มีรูป บุรชัย

 

สงสาร คำนี้เขียนตามบาลีว่า สํสาโร แปลว่า แล่นไปพร้อม หรือ ท่องเที่ยว ก็พอได้ เคยเล่าไว้แล้ว แต่ก็ค้นไม่เจอว่าอยู่ที่ไหน ?

สั้นๆ ว่า วัฎฎะ คือ หมุน กล่าวคือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม ผลที่ได้รับเรียกว่าวิปาก เมื่อพอใจหรือไม่พอใจต่อผลนั้นๆ ก็ย่อมเกิดกิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรมต่อไป.... กิเลส - กรรม - วิปาก - กิเลส - กรรม - วิปาก ฯลฯ ทำนองนี้เรียกว่า วัฎฎะ คือ หมุนเวียนเปลี่ยนไป...

การที่คนเราต้องเป็นไปตามวัฎฎะ ทำนองนี้ คล้ายๆ กับการท่องเที่ยว ดังนั้น วัฎฎะ จึงได้ชื่อว่า สงสาร กล่าวคือ เป็นที่ท่องเที่ยวไปแห่งสัตว์ (ผู้ยังไม่พ้นเวรพ้นกรรม)... ประมาณนี้

เจริญพร

กราบนมัสการหลวงพี่มหาชัยวุธ

ไปค้นศัพท์คำนี้ต่อจากที่หลวงพี่ได้ให้ธรรมทานไว้ที่ลานว่างเหมือนกันค่ะ ไปพบในพระไตรปิฎกออนไลน์ในที่เดียวกันกับที่หลวงพี่ได้ทำ link ไว้ พอไปอ่านก็เข้าใจมากขึ้นแล้วค่ะ

สาธุ ปัจจุบันสำคัญกว่าจริงๆ ค่ะ

P กมลวัลย์

 

  • สาธุ

อาตมาก็ได้ความคิดเริ่มต้นมาจากบันทึกของอาจารย์...

เจริญพร

ขอบพระคุณมากครับ ดีใจที่ไดทราบ (ดีใจก็มีสติทราบว่าดีใจ)

ก๊อปคำอธิบายเก็บไว้แล้ว

นมัสการมาด้วยความเคารพ

รู้แล้วว่า ไม่รู้                เป็นไป

ตามอยู่ไม่ รู้ใด              ไม่ได้

สงสารใคร่ ได้รู้              ตามกาล

ธรรมะมีเบื้องต้น              ท่ามกลาง บั้นปลาย

 

กราบ 3 หน

 

Pนายขำ

 

 

  • ค้นหาเถิดเริ่มต้น       จากไหน
  • อีกที่สุดปานใด         ไป่รู้
  • เบื้องต้นที่สุดใจ        จงใคร่ ครวญแล
  • ยึดท่ามกลางเป็นผู้    รอบรู้ ปัจจุบัน

เจริญพร

อัคคกัมมัฏฐานจริยะ แปลว่า

ภาษาบาลี ซึ่งเป็นรากศัพท์ของภาษาไทย ค่อนข้างยากทีเดียวนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท