งานลดอัตตาตัวตน เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ทำให้กันไม่ได้ !!


แค่เราเปลี่ยนตัวเองได้ ประโยชน์ก็ยิ่งใหญ่เหลือคณาแล้วล่ะครับ

 

         เวลาที่ผมทำสัมมนากลุ่ม แล้วประเด็นพาไปสู่การพูดคุยเรื่องการพัฒนาสติ พัฒนาปัญญา และการลดอัตตาตัวตน คนมักชอบถามว่า . . . “จะมีวิธีลดอัตตาของหัวหน้า (ผู้บริหาร) หรือ ผู้ร่วมงานอย่างไร?” คำถามนี้เป็นคำถามที่ผมชอบ เพราะตอบได้ง่ายมากครับ คือตอบกลับไปว่า . . . “ไม่น่าจะทำได้”

         ทั้งนี้เพราะอัตตาตัวตนเป็นเรื่องของคนแต่ละคน เป็นเรื่อง “เฉพาะตน” ที่เราไม่สามารถจะไปเปลี่ยนใครได้ เป็นเรื่องภายในที่คนแต่ละคนจะต้อง “เห็นตนเอง” คือเห็นว่าอัตตาตัวตน หรือ ego นี้ เป็นสิ่งที่เรา “สร้างขึ้นมา” มันไม่ใช่สิ่งที่มีมาแต่ดั่งเดิม แต่เป็น “สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมา”

        การจะ “เห็น” สิ่งนี้ได้ สติคงต้องว่องไวพอประมาณ งานลดอัตตาตัวตนจึงเป็นเรื่องของคนที่สนใจ ฝึกสติ ให้ว่องไว . . . ไม่มีใครไปลดอัตตาตัวตนให้คนอื่นได้ แค่เราเปลี่ยนตัวเองได้ ประโยชน์ก็ยิ่งใหญ่เหลือคณาแล้วล่ะครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 217922เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2008 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

   เปลี่ยนที่ตัวเอง  ทำตัวเองให้เป็นตัวอย่าง (ลดอัตตา)

   อาจจะส่งผลไปเปลี่ยนแปลงคนอื่นได้บ้างละมั้งครับ

               

  • มาสนับสนุนประโยคที่อาจารย์เขียนว่า
  • ไม่มีใครไปลดอัตตาตัวตนให้คนอื่นได้ แค่เราเปลี่ยนตัวเองได้ ประโยชน์ก็ยิ่งใหญ่เหลือคณาแล้วล่ะครับ ....
  • ทุกวันนี้เรามักจะส่งจิตออกนอก เที่ยวจะไปแก้ไขคนโน้น คนนี้ แต่คนที่เราควรจะรู้จักให้ดีที่สุด และทำการปรับปรุงแก้ไขที่สุดคือตัวเอง กลับถูกละเลย
  • จากประสบการณ์ส่วนตัว เมื่อดิฉันลงมือเปลี่ยนแปลงตัวเองวันละเล็กวันละน้อย พบว่า โลกรอบตัวเราเปลี่ยนไปอย่างน่ามหัศจรรย์ค่ะ  โดยที่เราไม่ต้องไปเปลี่ยนคนอื่นเลย

เห็นด้วยกับคุณ small man-natadee ว่า . . . บางทีการเปลี่ยนแปลงของเราอาจ "เหนี่ยวนำ" ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคนอื่นได้ (บ้าง) แต่เดี๋ยวนี้พยายามไม่หวังมากไปครับ

ยืนยันประสบการณ์เช่นเดียวกับอาจารย์อัญชลีที่ว่า . . . " เมื่อลงมือเปลี่ยนแปลงตัวเองวันละเล็กวันละน้อย พบว่า โลกรอบตัวเราเปลี่ยนไปอย่างน่ามหัศจรรย์โดยที่เราไม่ต้องไปเปลี่ยนคนอื่นเลย " . . . เป็นอย่างนั้นจริงๆ ครับ

  • เรื่องการลดอัตตา ตัวตนนั้นเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลจริงๆครับ
  • การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพราะการหยั่งรู้ของเขา และการกระทำของเขา
  • สิ่งที่เราน่าจะช่วยกันทำคือการเปลี่ยนแปลงตัวเองในเส้นทางนั้น
  • บอกกล่าวกันได้บ้าง  แต่อะไรก็ไม่สู้การทำให้ดู ให้เห็นเป็นแบบอย่างครับ
  • และก็อย่าเผลอไปหวังผล .. เพราะการเปลี่ยนเป็นเรื่องของเขาเท่านั้น

การฝึกปฏิบัติ อานาปานสติ เป็นหนทางนำไปสู่ การละตัวตน (อนัตตา)การฝึกการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์..เป็นการฝึกให้เกิดความนอบน้อมถ่อมตนและสิ่งสำคัญคือการฝึกสติ...การกราบบ่อยๆจะช่วยขจัดความเย่อหยิ่งทนงตนออกไปได้ (หลวงพ่อชา..อานาปนสติ..วิถีแห่งความสุข..ท่านคาเวสโก)

ขอบคุณยายธื (ยายธี?) และอาจารย์ Handy สำหรับการ "ต่อยอด" ครับ

ที่อ่านมาข้างต้นทั้งหมดเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

อยากจะขอถามว่า

ตอนนี้เพิ่งพบว่าตัวเองมีอัตตาสูง ก่อนหน้านี้ไม่รู้ตัวเองมาก่อน

อยากขอคำแนะนำหากรู้แล้วเราควรเริ่มอย่างไรดี?

เข้าวัดฝึกปฏิบัติธรรมอันนี้จะช่วยได้มั้ยคะ?

เปลี่ยนแปลงวันละนิดเริ่มอย่างไร และทำยังไง?

ขอบคุณมากค่ะ

ตาล

ตอบคุณตาล . . ขอพูดจากประสบการณ์ที่่ผ่านมานะครับ . . ผมว่าเราต้องกลับมาเริ่มที่การพัฒนาสติ คือต้องฝึกรู้ตัวให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฝึกตามรู้กาย (ที่เคลื่อนไหว เช่น ยืน เดิน หยิบจับ หายใจเข้าออก . . ) ตามรู้ใจ (สภาพอารมณ์ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไป) รู้จนกระทั่งเห็นการเกิดขึ้นของอัตตาว่ามันมาจาก "ความคิดปรุงแต่ง" ของเรา จนทำให้เราใส่ใจมันน้อยลงไป (เรื่อยๆ) ผมเองก็ใช่ว่าจะทำได้ 100 % แต่ก็รู้ว่าน้อยลงไป ก็เลยคิดว่ามาถูกทาง (หรืออาจจะผิดก็ได้. .) เป็นการตอบจากประสบการณ์นะครับ ไม่ได้ยืนยันว่าเป็นวิธีการที่ถูกหรือดีที่สุด

  • ท่านอาจารย์ตั้งประเด็นน่าสนใจจัง  ง่าย ๆ แต่ลึกนะคะ
  • ครูตาคิดว่านอกจากฝึกสติแล้ว  ควรให้ความรัก  เมตตา มองเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นค่ะ
  • ฝึกแผ่เมตตาบ่อย ๆ "สรรพสิ่งในโลกนี้  ล้วนเป็นเพื่อนเกิด  แก่  เจ็บตายด้วยกันทั้งสิ้น..."

ขอบคุณ ครูตา ที่ช่วยเติมเต็ม ด้วยการพูดถึง "อีกด้านหนึ่งของเหรียณอันเดียวกัน" (อันนี้เป็นคำเปรียบเปรยโดยท่าน osho) หากด้านหนึ่งคือการภาวนา (การฝึกสติ) อีกด้านหนึ่งหมายถึงความรักความเมตตา อย่างที่ครูตาพูดถึง . . จะเข้าทางไหนก็ได้ หรือจะใช้ทั้งสองทางก็ยิ่งดี . . 

เรื่องนี้เป็นแนวคิดที่ตรงกันทั้งทางตะวันตกและตะวันออกคือ “อย่าเสียเวลาไปเปลี่ยนแปลงคนอื่นเลย…จะเกิดความทุกข์เสียเปล่า...ให้เปลี่ยนแปลงที่ตัวเองจะดีกว่า” …ขนาดตัวเองยังเปลี่ยนไม่ค่อยจะได้ ไม่ต้องไปพูดถึงการเปลี่ยนแปลงคนอื่นให้เสียเวลา

หน้าที่หนึ่งของกัลยาณมิตรคือ "เป็นกระจกที่ดี"

กระจกที่ดีสะท้อนส่ิงที่เกิดขึ้น โดยไม่มี bias (หรือ surface กระจกที่ไม่เรียบ ขรุขระ ตะปุ่มตะป่ำ) โดยชัดเจน (surface ที่ขัดถูจนสะอาด ไม่มีลวดลายกระจก หรือฝุ่นเขรอะ) ไม่มี agenda มีแต่ความจริง ความเที่ยง

เมื่อคนๆนั้น จะเป็นผู้บริหารหรือไม่ก็ตาม "ถึงวาระ" และได้เห็นกระจกที่ดีสะท้อนตนเอง ทั้งหน้าตา การกระทำ และชีวิต เขาก็จะเปลี่ยนจากภายในได้ในที่สุด

เราเป็นกระจกที่ดีหรือไม่? และเราได้มีโอกาสมองกระจกรอบๆตัวเรามากน้อยแค่ไหน?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท