การแชร์ Tacit Knowledge . . . ทำไมต้องใช้เรื่องเล่า?


“ความรู้” ในที่นี้จึงเป็นสิ่งที่มีทั้ง “เทคนิคที่ใช้ + กับบริบทในขณะนั้น” ทำให้ได้เห็นว่า . . . เกิดอะไรขึ้น? ทำอะไร (ใช้เทคนิคอะไร)? ใครอยู่ในเหตุการณ์บ้าง? สิ่งต่างๆ (ปัจจัยรอบข้าง) มีอะไรบ้างจึงทำให้ผลออกมาเป็นเช่นนั้น?

         การแชร์ความรู้ที่เป็น Tacit หรือความรู้ที่เป็น ประสบการณ์ตรง นั้นส่วนใหญ่มักจะใช้ การเล่าเรื่อง (Storytelling)” . . . ที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพราะ Tacit Knowledge เป็นความรู้ประเภทที่ต้องอิงอยู่กับบริบท (Context) ไม่ใช่ความรู้ที่อยู่ลอยๆ (หรือถูก Generalize มาแล้ว) การใช้การเล่าเรื่องจะทำให้ผู้ฟังได้รายละเอียดต่างๆ ที่มาพร้อมๆ กับเทคนิคที่ใช้ ทำให้ได้ทราบว่าในตอนนั้นสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร

          การใช้คำว่า ความรู้ ในที่นี้จึงเป็นสิ่งที่มีทั้ง เทคนิคที่ใช้ + กับบริบทในขณะนั้น ทำให้ได้เห็นว่า . . . เกิดอะไรขึ้น? ทำอะไร (ใช้เทคนิคอะไร)? ใครอยู่ในเหตุการณ์บ้าง? สิ่งต่างๆ (ปัจจัยรอบข้าง) มีอะไรบ้างจึงทำให้ผลออกมาเป็นเช่นนั้น? มันคงคล้ายกับการเรียน MBA ที่เรียนผ่าน กรณีศึกษา (Case Study)” เพื่อที่ว่าจะได้เข้าใจความรู้ภาคทฤษฎีได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการจัดการความรู้ก็เช่นเดียวกัน เราไม่น่าจะจัดการกันเฉพาะความรู้เชิงทฤษฎี (Explicit Knowledge) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องให้ความสำคัญกับ Tacit ด้วยเช่นกัน

          จากการสังเกตการแชร์ Tacit Knowledge ในหลายๆ ที่ พบว่าถึงแม้จะมีการใช้เรื่องเล่า แต่การเล่าเรื่องก็มิได้เลื่อนไหลจนทำให้ได้ Tacit Knowledge ตามที่ต้องการ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ หลายครั้งผู้ฟังไม่ได้ปล่อยให้ผู้เล่า เล่าอย่างครบถ้วนกระบวนความ (ตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริง)  ผู้ฟังมักจะคอยเสริม คอยเติม คอยแต่งอยู่ด้วยตลอดเวลา เป็นต้นว่าผู้เล่ากำลังเล่าถึงเทคนิคที่ตนเองใช้ ว่าทำอะไรไป ทำไมจึงทำไปเช่นนั้น แต่ผู้ฟังมักจะอดใจไม่ได้ เพิ่มเติมให้ตลอดเวลา ว่าน่าจะมีวิธีนั้นวิธีนี้ด้วย ทำให้ผู้เล่า เล่าไปแบบหยุดๆ เป็นการเล่าแบบสั้นๆ ไม่สามารถพูดให้เห็นรายละเอียดได้ว่าทำไมถึงทำไปเช่นนั้น . . . ไปๆ มาๆ กลายเป็นว่าที่พูดกันนั้น ไม่ใช่ Tacit ที่ติดอยู่กับบริบทของใครคนใดคนหนึ่ง แต่กลายเป็นการระดมความคิดของคนหลายๆ คนไป ซึ่งนั่นย่อมไม่ใช่การเล่าเรื่องแต่อย่างใด !!

หมายเลขบันทึก: 261804เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2009 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

สามวันนี้ (เสาร์-อาทิตย์-จันทร์) ผมมาทำ Workshop อยู่ที่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี มาใช้รีสอร์ทในดวงใจของผม Valley Garden Resort . . . อดไม่ได้ที่จะนำภาพถ่ายมาฝาก



เป็นองค์ความรู้ที่เยี่ยมมากครับ

รีสอร์ทสวยมากครับ

พอดีกำลังหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ KM เลยคิดถึงอาจารย์

ขอบคุณอาจารย์ที่เคยให้ความรู้เรื่อง KM

ประชา ม.บูรพา

ดีใจที่ ครูนาย ได้ประโยชน์ . . . นำภาพสิ่งใกล้ตัวที่พบที่รีสอร์ทมาฝากครับ

อาจารย์ประชามาถูกที่แล้วล่ะครับ ใน gotoknow นี้มีคนแชร์เรื่อง KM ไว้มากมายเลยครับ . . . ต้องจับหลักให้ได้ แล้วนำไปทดลองปฏิบัติ จึงจะชัดเรื่องนี้

แวะมาอ่าน และมาชมรีสอร์ทครับ

จาก "ผู้ฟังมักจะคอยเสริม คอยเติม คอยแต่งตลอดเวลา"

บริบทของโรงพยาบาลที่ผมอยู่เป็นดังนี้ครับ

"ผู้ฟังมักจะคอยตำหนิ คอยตัด คอยเร่งรัดและ ก็คอยรับโทรศัพท์ (ของกิ๊ก) ตลอดเวลา"

ระลึกถึงอาจารย์เสมอครับ 

ผมเห็นด้วยกับเรื่อง Tacit knowledge

และจะพยายามนำเข้าห้องเรียนครับ

สวัสดีค่ะท่านอ.

ชอบภาพนี้มากๆ ค่ะ การฝึกฝนปฏิบัติซ้ำๆ ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ

หรือในบางกรณี อาจเกิดความเบื่อหน่ายได้ หากไม่มีการคิดปรับกลยุทธ์ใหม่ๆ :)  ... ขอบพระคุณค่ะ

คุณ poo มองภาพ ออกมาเป็นข้อความที่ว่า . . . "การฝึกฝนปฏิบัติซ้ำๆ ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ" . . . Wow. . . สุดยอด . . . ผมขอเติมอีกหน่อยว่า . . ."ทำให้เลื่อนไหล และเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ. . ."

เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

ผมได้เขียนบทความเรื่อง "ความสุขในครอบครัว ความสุขที่ถูกละลืม"

โดยนำแนวคิด KM มาประยุกต์ใช้

ข้อสรุปอย่างหนึ่งของเรื่องนี้ คือ หลายครั้งที่เกิดการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัวนั้น เนื่องจาก "ความรู้ฝังลึก" ไม่ได้ถูกอธิบายเปรียบเทียบอย่างเป็นรูปธรรม

ผมได้แนะนำไปว่า ควรที่จะใช้ "ศิลปะการเล่าเรื่อง" (The Art of Story Telling) ในการแก้ปัญหานี้

จึงอยากขออนุญาตอาจารย์ประพนธ์ นำบทความนี้ไปใส่เป็น link ไว้ในบทความของผมนะครับ

http://www.siamintelligence.com/happiness-in-the-family/

เผื่อใครไม่เข้าใจว่า ทำไม "ความรู้ฝังลึก" จึงอธิบายตรงไปตรงมาแบบ "ความรู้แจ้งชัด" ไม่ได้ ทำไมจึงต้องใช้ "การเล่าเรื่อง Story Telling" เข้ามาช่วย

ขอบพระคุณครับ

ด้วยความยินดีครับ เจริญชัย . . . ทำไมจึงเขียนได้เก่งอย่างนี้ . . . ผมเข้าไปอ่านมาแล้วครับ

ภาพรีสอร์ทสวยจริงๆค่ะ ชอบๆ มองแล้ว  น่าไปพักจริงๆค่ะ

ขอบพระคุณ อาจารย์ค่ะ

เคยนำ story telling ไปแนะนำ ในช่วงทีอยากให้คนเรียนรู้จากเรื่องเล่า แต่เคยได้รับ reflection จากคนฟังว่า ไม่อยากอดทนฟังจนจบ ใจมันอยากจะถามเป็นช่วงๆ เลยไม่ทราบว่า วิธีไหนจะทำให้คนเรียนรู้ได้มากกว่ากันค่ะ

ขอบพระคุณ อาจารย์ค่ะ

เคยนำ story telling ไปแนะนำ ในช่วงทีอยากให้คนเรียนรู้จากเรื่องเล่า แต่เคยได้รับ reflection จากคนฟังว่า ไม่อยากอดทนฟังจนจบ ใจมันอยากจะถามเป็นช่วงๆ เลยไม่ทราบว่า วิธีไหนจะทำให้คนเรียนรู้ได้มากกว่ากันค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ เรื่องเวลาและสถานที่ด้วยครับ

เวที ที่ ม.ทักษิณวันก่อนยังเล่าไม่หมดเลยครับ

 ชาว ศวพถ.มีเรื่องเล่าจากการคุยสัญจรหลายประเด็นครับอาจารย์

เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์

ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ประพนธ์

ขอบคุณอีกครั้งที่นำมาโพสต์ใน

http://www.kmi.or.th/

"ไม่อยากอดทนฟังจนจบ ใจมันอยากจะถามเป็นช่วงๆ"

ผมขอเดาแบบนี้ได้ไหมครับว่า story telling นั้นยังไม่ดึงดูดและตรึงตราคนฟังได้เพียงพอ

สังเกตเวลาดูหนังที่ดีมากๆ มีฉากสะเทือนใจ การหักมุม ความสุขสม ที่เร้าอารมณ์ให้ลื่นไหล(Flow) ชวนติดตามทุกฝีก้าว

เราจะลืมคำถามและความคิดทั้งมวลไปสิ้น ในช่วงขณะแห่งความปิติรื่นรมย์นี้ ตัวเรากับหนังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราจะสามารถซึมซาบสิ่งละอันพันละน้อยที่หนังพยายามสื่อสารออกมาได้ทั้งหมด เป็นจังหวะที่การรับรู้ของเราเปิดกว้างแจ่มจ้าถึงที่สุด (in the moment of meditation)

คำถามจะโผล่ขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อ Story Telling ที่ดีนั้นได้สิ้นสุดลง

แน่นอนว่า ต่อให้หนังดีแค่ไหน ก็ยังมีคนหลับ หรือแอบคุยกันเสมอๆ

แต่นั่นเป็นเพียงส่วนน้อย ผมมีความเชื่อว่า ถ้า Story Telling ยอดเยี่ยมจริงๆ ผู้เล่าเรื่องจะสามารถตรึงตราผู้ฟังจนจบได้ เรียกว่า ไม่เปิดโอกาสให้คนฟังได้แม้แต่คิดจะถาม เพราะทุกอณูแห่งการรับรู้ได้เปิดกว้างต่อทุกอณูของ Message ที่ Story Telling นั้นได้ถ่ายทอดออกมา ทั้งผ่านการพูด ไม่พูด ระหว่างบรรทัด ท่วงท่า อวัจนภาษา

Story Telling ที่ดีต้องทำให้ผู้ฟังจบลงด้วยความตื้นตันและอิ่มเอิบ จนอยากจะรักษาสถานะแห่งความสุขนี้ ตราบนิรันดร์

กลับมาอ่านบันทึกนี้ เลยได้อ่านความเห็นของคุณเจริญไชย ขอบคุณมากค่ะ เห็นภาพว่า ผู้ฟัง อาจจะไม่ได้จดจ่อ หรือตั้งใจฟังจน in แต่จะไปโทษเขาก็ไม่ได้ เพราะปัญหาของคนเล่า หลายคนที่เคยบอกว่า เขาเป็นคนเล่าไม่เก่ง เวลาเล่า ก็อาจจะไม่เป็นธรรมชาติ ก็คงเหมือนหนังที่ไม่สามารถตรึงผู้ฟังให้คล้อยตามอารมณ์ของหนังได้

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ ที่ช่วยทำให้กระจ่างมากขึ้นค่ะ

มาอ่านอีกรอบ ขอบพระคุณท่านอ.คะ

อ่านเรื่อง ดีไซน์รัก ... รักออกแบบได้  ไหม ไม่ทราบนะคะ

หากจากภาพและคำขยายความของท่านอ. เราสามารถออกแบบความรู้ ได้?

เอ หรือความรู้ จะช่วยออกแบบ ชีวิต และความรัก ให้เรา  ...

ขอตัวนะคะ ก่อนจะเตลิดไปกว่านี้ ... จะลองอ่านดีไซน์รัก อีกรอบ เผื่อตอบโจทย์ได้ 

 มีความสุขมากมายดั่งใจปรารถนานะคะ ขอบคุณค่ะ

คุณ poo บอกว่า . . ."จะลองอ่านดีไซน์รัก อีกรอบ เผื่อตอบโจทย์ได้" หมายความว่าอ่านที่ไหนหรือครับ หรือว่ามีหนังสือที่ชื่อเหมือนกันกับเล่มที่ผมแปล (ฺำBeing in Love) . . ทำให้ผมเริ่มงงครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ขออนุญาตมาเป็นนักเรียน ติดตามงานอาจารย์อีกครั้ง

เพื่อการเรียนรู้ ทบทวนตัวเอง เละนำไปฝึกปฏิบัติ อย่างจริงจัง

อาจารย์ถ่ายรูปสวยมากค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

หนูพึ่งรู้ว่าอยู่ห่างกัน ช่วงตึก นี่เอง ใจระทึกเลยค่ะ :)

HNF _ MCT#4

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท