“พลิกฟื้นผืนป่า ด้วยพระบารมี”


โครงการที่ทุกหน่วยของกองทัพบกร่วมมือกันพลิกฟื้นพื้นที่บริเวณต้นน้ำป่าเสื่อมโทรม และป่าชายเลนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

 

         โครงการนี้เป็นโครงการที่ทุกหน่วยของกองทัพบกร่วมมือกันพลิกฟื้นพื้นที่บริเวณต้นน้ำป่าเสื่อมโทรม และป่าชายเลนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ สำหรับความเป็นมาของโครงการ จะเล่าพอสังเขป คือ

          ย้อนหลังไปประมาณ ๕๐ ปี ประเทศไทยได้ชื่อว่า "เป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์"  โดยในปี ๒๕๐๔ ประเทศไทยมีปริมาณพื้นที่ป่าไม้ทั้งประเทศรวมทั้งสิ้นถึง ๑๗๑ ล้านไร่ จากจำนวนพื้นที่ทั้งหมด ๓๒๐.๗ ล้านไร่ (ร้อยละ ๕๓.๓ )

          แต่ในปัจจุบันจากการสำรวจพบว่าในปี ๕๐ ปริมาณพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยลดลงอย่างน่าเป็นห่วง โดยเหลือพื้นที่ป่าไม้เพียง ๑๐๔.๖ ล้านไร่ (ร้อยละ ๓๒.๖)

          การลดจำนวนลงของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากการบุกรุกของชาวบ้าน โดยมีนายทุนอยู่เบื้องหลังกับการแผ้วกางป่าทำไร่เลื่อนลอยของผู้หนีภัยจากการสู้รบและคนในพื้นที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี ๔๑ ที่เกิดคดีป่าสาละวิน สังคมได้รับรู้ว่ามีขบวนการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งกรมป่าไม้ได้ประสานความร่วมมือกับกองทัพบก ในการป้องกันปราบปราม  การลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้  ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

          ปัจจุบันสัดส่วนของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยก็ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร ในห้วงระยะ ๑-๒ ปี ที่ผ่านมา สังคมได้ตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน หน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน ได้เริ่มตื่นตัวในอันที่จะทำโครงการในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหากันแล้วหลายโครงการ อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า "การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ป่าไม้และสิ่งแวดล้อมเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนลงได้"

ตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวได้ว่า "ทุกรอยพระบาทที่ย่างก้าวไปทั่วทุกแห่ง ได้ช่วยนำความอุดมสมบูรณ์มาสู่ผืนแผ่นดินไทย"

พระราชกรณียกิจ ในการพลิกฟื้นคืนความสมบูรณ์ทั้งในด้านน้ำ  ดิน  ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมนั้น ทรงจำแนกออกไปตามสภาพภูมิประเทศและเศรษฐกิจสังคมของแต่ละภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงคิดค้นกลวิธีและทฤษฎีต่างๆ มากมาย ในการแก้ปัญหาดินและน้ำ รวมทั้งป่าไม้ เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินการแก้ปัญหา จนปัจจุบันชาวบ้านได้เรียนรู้ตัวอย่างของความสำเร็จจากสถานที่จริงและนำกลับไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนอย่างเป็นรูปธรรม

ความสำเร็จของโครงการต่างๆ สะท้อนถึงพระอัฉริยภาพอันลึกซึ้งที่ทรงเข้าใจธรรมชาติอย่างถ่องแท้ และทรงใช้ธรรมชาตินั้นกลับมาแก้ไขให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนของพระองค์ และทรงพระราชทานแนวพระราชดำริในการจัดการอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อมไว้ใน ๓ แนวทางดังนี้

 

         ๑.  การอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อม

         ๒.  การฟื้นฟูสภาพป่าและการปลูกป่า

         ๓.  การพัฒนาเพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับป่าอย่างยั่งยืน

 

            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ก็ทรงห่วงใยและใหัความสำคัญมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่า  ดังจะเห็นได้จากพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่พระราชทานไว้ความว่า 

          พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ  ฉันจะเป็นป่า  ป่าที่ถวายความจงรักภักดี พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ  ฉันจะสร้างป่า  

          ทรงเน้นความสำคัญของป่าไม้อันเป็นทรัพยากรของชาติ...ในความหมายของป่า...พระองค์มิได้มุ่งเน้นเฉพาะประชากรไม้ที่มีลักษณะสูงใหญ่เท่านั้น แม้เพียงต้นหญ้าหรือต้นไม้เล็กๆ เมื่อทรงเห็นว่ามีคุณค่าก็จะรับสั่งให้อนุรักษ์ไว้ ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ และปฏิบัติพระราชกรณียกิจ  เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่คนไทยทุกคนได้ตระหนักถึงหน้าที่ที่ทุกคนต้องร่วมกันปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติ  ซึ่งเปรียบเสมือนลมหายใจในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ทุกชีวิตบนโลกให้ยั่งยืน ทั้ง คิดสร้าง  คิดรักษา  คิดใช้ประโยชน์ให้ถูกต้อง

            ผบ.ทบ. ได้สั่งการให้หน่วยขึ้นตรงกองทัพบก เร่งรัดดำเนินการโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชดำริให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน โดยให้มีการประชาสัมพันธ์ควบคู่ไปด้วยอย่างกว้างขวาง  กรมกิจการพลเรือนทหารบก จึงได้ประสานกับ หน่วยขึ้นตรงกองทัพบก จัดทำโครงการรณรงค์เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมขึ้น  โดยมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ มีนาคม ๒๕๕๑ - ธันวาคม ๒๕๕๔ เพื่อให้เป็นโครงการฯ หนึ่งของ ทบ. ในการร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ใน ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

ที่มา : http://www.rta.mi.th/data/mv/0405/home.html (กองทัพบก)

 

           ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราในฐานะเป็นคนไทยคนหนึ่ง ต้อง (ต้อง) เข้ามามีส่วนร่วมในการพลิกฝืนป่าของเรา มิใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตนเองและคนรอบข้างของเรานั่นเอง  ....ขอบคุณถ้าคุณมีใจให้แผ่นดิน....

 

หมายเลขบันทึก: 217805เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

เป็นบันทึกที่น่าสนใจครับพี่ ขออนุญาตเสริมนิดนึงนะครับ พวกตัวย่อทั้งหลายน่ะเพื่อนๆ พลเรือนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยครับพี่

  • ขอบคุณครับ น้อง เสธ.Prince
  • ตามแนะ... แก้แล้วครับพี่น้อง (ลืม ลืม)
  • งานเป็นไงบ้าง ไม่คิดจะกลับมากองพลพัฒนาหรือ
  • รู้สึกตำแหน่งไม่แออัดด้วยนะ

สวัสดีค่ะ

  • เป็นบันทึกที่น่าสนใจและติดตาม
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ
  • สวัสดีครับ คุณMSU-KM :panatung
  • ฝากโครงการไว้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือนะครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาครับ

สวัสดีในยามเช้าที่สดใสค่ะ

  • ครูอ้อย มาอ่าน มาชมภาพ ของคนไทย เมืองไทย ประเทศไทยของเราทุกคน  มีความสุขจังเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ  ที่มอบความสุขให้แต่เช้า

รออ่านบันทึกต่อไปนะคะ..เรียนเชิญชมดอกไม้ได้ที่ .. พวกฉันไม่เกี่ยวสักหน่อย..ฟังดอกไม้พูด

  • ขอบคุณครับ ครูอ้อย แซ่เฮ
  • มาแต่เช้าเหมือนกันนะครับ
  • เมืองไทยยังมีอีกหลายมุมที่เราไปไม่ถึงครับ
  • ขอให้มีความสุขในวันฟ้าสวยนะครับ

สวัสดีครับ...

บันทึกนี้ของพี่ มีเรื่องราวน่าสนใจจังเลยครับ ผมเพิ่งไปศึกษาดูงานที่ ศูนย์การเรียนรู้ป่าดงนาทาม ที่อุบลราชธานีมาครับ ที่นั่นบริหารจัดการโดย กรมทหารราบที่ ๖ ปัจจุบันมี พ.อ.จุลเดช จิตถวิล เป็น หน.โครงการ ซึ่งเดิมท่าน พลโทพิเชษฐ์ วิสัยจร ปัจจุบันท่านเป็น แม่ทัพภาค  ๔ เป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้

ภานในศูนย์น่าสนใจมาก เป็นศูนย์ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบอรมให้กับเกษตรกรตาม ๓ แผนงาน

  • แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • แผนงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • แผนงานรักษา ความมั่นคงปลอดภัย

ที่นี่มีเกษตรกรเฉลี่ยมารับการฝึกอบรมราว ๑,๕๐๐๐ คน

ถามว่าทำไมทหารถึงเข้ามาทำงานตรงนี้ ไม่ใช่เกษตร ศึกษา หรือ หน่วยงานที่ใกล้เคียง ผมมองว่า ทหารเองมียุทธศาสตร์ที่กว้างไกลกว่านี้มากนัก การพัฒนาที่ได้ผลก็ยึด "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"

การเกษตรเป็นวิถี และทหารจึงใช้การเกษตรเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงชุมชน

 

เมื่อครั้งไปศึกษาดูงาน สาม จว.ชายแดนภาคใต้ ผมได้ยินผู้ใหญ่ท่านหนึ่งพูดข้างๆหูว่า ทหารมาทำอะไรแบบนี้ แทนที่จะรบ...จะป้องกันประเทศ นั่นแสดงว่าเขามองแคบ เป็นวิธีคิดที่จำกัดอยู่กับตัวเอง

หากไม่เข้าใจ เราจะเข้าถึงชาวบ้าน และจะพัฒนาได้อย่างไร จริงไหมครับ...

 

รักชีวิต  รักป่า

      ขอร่วมรณรงค์รักป่า...ด้วยคนค่ะ:)

                   มีความสุขในการทำงาน

                           มีแต่สิ่งดีๆนะคะ

                                    สุขภาพแข็งแรง

            

                   เขื่อนจุฬาภรณ์ มิถุนายน 2551 ค่ะ

ธรรมชาติ หรือฝีมือมนุษย์

หน่วยงานหรือชุมชน ต้องทำเป็นตัวอย่างแก่เด็กและเยาวชน

เพื่อให้เขาได้ตระหนักในการมีความรับผิดชอบต่อสังคมในการร่วมมือ

  • ขอบคุณครับ คุณจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
  • เยี่ยมเลยครับ เข้าใจธรรมชาติมาก
  • จริง ๆ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" เป็นหลักการทรงงานของในหลวง พระองค์ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้มาก
  • การทำงานกับมวลชนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญของทหารครับ
  • เพื่อ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์และประชาชน" ครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • ที่โรงเรียนรับผิดชอบเรื่องงานสิ่งแวดล้อมและพลังงานเหมือนกันค่ะ
  • เรื่องธรรมชาติรอบตัวเป็นสิ่งที่สำคัญ เราเกื้อกูลอาศัยซึ่งกันและกัน โลกร้อนขึ้นทุกวัน ต้องช่วยกันนะคะ
  • ฝากลิงค์เรื่องภาวะโลกร้อนด้วยค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/sawarin3
  • ขอบคุณค่ะ
  • สบายดีนะครับ คุณ<< lovefull >>
  • เข้าไปดูแล้วครับ เยี่ยม เยี่ยม
  • ช่วยกันรักษาโลกของเรา เพื่อในหลวงนะครับ

เพลงเพราะดีครับ

รักธรรมชาติเหมือนกัน

2ปีที่แล้วก็ไปปลูกป่าชายเลนมา

ขอบคุณครับ

ขอเป็นกำลังใจ ผมกำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่พอดี ว่าจะถ่ายทอดเรื่องราวผ่านงานเขียนเรื่องสั้น "พลิกฟื้นผืนป่าด้วยพระบารมี" ครับ ยังไงคงจะช่วยได้อีกทางครับ

  • ขอบคุณครับ คุณ ธรรมชาติ
  • ปลูกป่าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง มากกว่านี้สิ่งดี
  • เพราะต้นไม้เป็นเครื่องจักรสำคัญในการลดภาวะโลกร้อนครับ

แวะมาเยี่ยมค่ะ ทำblog ได้สวย และน่าสนใจมากค่ะ ดีใจที่มีโครงการดีๆแบบนี้ค่ะ

  • สวัสดีครับ คุณทัศนีย์
  • พวกเราช่วยกันทุกหน่วยเลยครับ
  • อย่างน้อยเพื่อพ่อของแผ่นดินและเพื่อโลกของเรา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท