การวางแผนชีวิต


การวางแผนชีวิต

"การวางแผนชีวิต"

นับแต่ผู้เขียนเกิดมา ตั้งแต่จำความได้ ก็ได้ทราบว่าตนเองเกิดมาจากตระกูลของชาวนา ได้ดีมีความรู้ ตำแหน่งหน้าที่การงานก็เพราะ พ่อ - แม่เป็นชาวนา...ผู้เขียนไม่เคยเสียใจที่เกิดมาจากครอบครัวของชาวนา แต่กลับ ภูมิใจเสียด้วยซ้ำว่าได้มาเป็นลูกของพ่อ - แม่ในชาตินี้...พ่อ - แม่ คอยแต่สอนให้ลูกเป็นคนดี คิดแต่สิ่งที่ดี ๆ ทำแต่สิ่งที่ดี ๆ เพื่อจะได้ติดอยู่กับตัวของลูก ๆ ...พ่อกับแม่คงลำบากมากกว่า...ได้ส่งเสียให้ลูก ๆ เล่าเรียน...ไม่เคยให้ลูก ๆ ทำนา เพราะกลัวว่าลูกจะลำบาก ตั้งใจส่งเสียจนลูกจบการศึกษาและได้รับราชการสมความตั้งใจ...

อาจเป็นเพราะสายเลือดที่เป็นชาวนา จึงทำให้ผู้เขียน เมื่อมารับราชการและได้มาซื้อบ้านอยู่ในเมือง ซึ่งเป็นบ้านปูน ที่ก็คับแคบ เวลาเข้าบ้านก็ต้องเปิดแอร์...ไม่เหมือนบ้านเดิมที่เราเติบโตมา มีที่ตั้ง 3-4 ไร่ กว้างกว่าในเมืองด้วยซ้ำ...รอบบ้านก็มีแต่สวนสัก...ทำให้สดชื่น ร่มเย็น ไม่ต้องใช้แอร์ อากาศก็เป็นธรรมชาติ เย็นสบาย ทำให้พ่อบ้านและผู้เขียนนึกถึงว่าหลังจากที่เกษียณแล้ว เราต้องทำสิ่งใดบ้าง?...โดยพ่อบ้านเหลือเวลารับราชการอีกประมาณ 4 เดือนกว่า ก็เกษียณอายุราชการแล้ว (สมกับที่ตั้งใจไว้ว่าได้รับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้จนถึงเกษียณอายุราชการ 60 ปี) รวมเวลารับราชการได้ประมาณ 40 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่เรียกว่า "นานมาก" ในการรับราชการต้องใช้ความอดทนอย่างสูง...ครั้งแรกนึกว่าจะรับราชการได้ไม่ครบการเกษียณอายุ ...คิดลาออกก็หลายครั้ง...เพราะเมื่อปีที่แล้วเกิดป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ...แต่ก็ได้ทำกายภาพบำบัดมาตลอด อาการดีขึ้นตามลำดับ... จนแพทย์ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช ถามว่า...ไปทำอะไรมา จึงดีขึ้นเกือบเหมือนปกติ... ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังใจ + การทำกายภาพบำบัด + รักตัวเอง จึงทำให้อาการดีขึ้น...เกือบปกติ

เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ครอบครัวของผู้เขียนได้ซื้อที่ดินที่อยู่หลังบ้านเดิม (ที่อำเภอพรหมพิราม) ของผู้เขียน ประมาณ 3 - 4 ไร่ ราคาตอนนั้นประมาณ 50,000 กว่าบาท เพราะเป็นที่ที่ไม่มี นส.3 ก หรือโฉนด จนปัจจุบันได้ทำการขอออกโฉนดได้เรียบร้อยแล้ว...ดินอุดมสมบูรณ์มาก...ครั้งแรก คิดที่จะปลูกถั่ว ข้าวโพด แต่ติดที่ว่าพ่อบ้านและผู้เขียนรับราชการทั้งคู่ แม้เวลาที่จะดูแลไม่มี... เลยคิดกันว่า เรา ควรปลูกไม้ยืนต้น เพื่อไม่ให้เสียเวลาเปล่า...ถือว่าเป็นการวางแผนชีวิตของครอบครัวเลยค่ะ...

ดังนั้น เราจึงตัดสินใจปลูก "ต้นสักทอง" เราจะใช้กำลังแรงกายของคนภายในครอบครัวเราเองเป็นคนปลูก ไม่จ้างเพราะเราทำกันเองได้ ก็จะมีลูกชายเจ้าตัวโต ตอนนั้นอายุประมาณ 2 - 3 ขวบ มาร่วมวงปลูกด้วย...ผู้เขียนซื้อต้นกล้าสักทองมาประมาณ 1,000 ต้น จะปลูกกันในวันเสาร์ - อาทิตย์ เพราะว่างจากการทำงาน เราปลูกทิ้งไว้ โดยไม่สนใจ แต่เวลาผ่านไปประมาณ 20 ปี เราหันกลับไปดู...โอ้โฮ...ต้นสักอะไรต้นใหญ่จริง ๆ...แถมเป็นสักทองเสียอีก...เรียกว่า...เป็น การวางแผนชีวิต...ที่เรานึกไม่ถึงเชียวค่ะ...ซึ่ง เจ้าลูกชายตัวโต ปัจจุบันอายุ 22 ปี เรียนที่ ม.นเรศวร ปี 4 ได้ถ่ายภาพแล้วนำมาฝากกันค่ะ...

ป้ายการได้ขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าที่ทางครอบครัวได้ทำขึ้น

ตามหนังสือรับรองฯ ที่ทางป่าไม้อำเภอได้ออกให้...

ป้ายตั้งไว้หน้าบ้านที่อำเภอพรหมพิราม ซึ่งสวนป่าสักจะอยู่ด้านหลัง..

เนื้อที่ประมาณ 3 - 4 ไร่ เป็นต้นสักทองค่ะ...

อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

ห่างอำเภอประมาณ 2 - 3 กิโลเมตรค่ะ...

ถ้าอากาศร้อนอบอ้าว...จะมีเห็ดโคนขึ้นด้วยค่ะ...

เห็ดโคน...รสชาติอร่อยมาก...หวาน เพราะดินอุดมสมบูรณ์

ชาวบ้านชอบแอบมาเก็บไปขาย...กิโลกรัมประมาณเกือบ 200 บาท

เชียวนะค่ะ...เจ้าของเก็บไม่ทันเพราะมัวมาทำงาน...แต่ไม่ว่ากันค่ะ...

ต้นสักทองค่ะ...

ที่ป่าสักนี้ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นสวนป่าจากกรมป่าไม้ ด้วยค่ะ...

สามารถตัด + ขนย้าย ...ได้ถูกต้องตามกฎหมายค่ะ

ต้นเล็ก ต้นใหญ่ ปะปนกันค่ะ...

มีคนมาขอซื้อค่ะ...แต่พวกเราไม่ขาย

ต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติ + สิ่งแวดล้อมค่ะ...

จะปลูกต้นยางทดแทน เมื่อต้นสักตายค่ะ...

ครอบครัวเราเคย...บริจาค...ต้นสักให้กับ

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก

เพื่อทำศาลาพักของผู้มาติดต่อราชการค่ะ...

(ทดแทนบุญคุณแผ่นดิน...ที่ให้เงินเดือน + ค่าจ้าง กับครอบครัวเรา)

ไม้สักทอง (ด้านบน + เสา) ที่ครอบครัวของเราบริจาค

ให้กับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลกค่ะ...

ไม้สักทอง ที่ครอบครัวเราบริจาคให้เป็น...

ศาลาร่วมใจ ณ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก ค่ะ...

นี่คือ..."การวางแผนชีวิต"...เมื่อ 20 ปีก่อนค่ะ...ของครอบครัวเรา

นี่ก็เป็นที่อีกแปลงหนึ่ง...ซึ่งย่าได้ยกให้เป็นที่มรดกให้กับพ่อบ้าน

มีเนื้อที่ประมาณ ไร่เศษ ๆ ค่ะ...อยู่ติดกับเขื่อนนเรศวร

อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก...เป็นที่ปลอดจำนองค่ะ...

ต้นยางค่ะ...ปลูกมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ - ย่า ทำไว้ให้ค่ะ...

ซึ่งในที่ของญาติพี่น้อง ตัด โค่น หมดแล้ว เหลือแต่ในที่ของพ่อบ้าน

ไม่ยอมตัดค่ะ...จึงทำให้ต้นยางสูงและโตค่ะ...

ต้นยางสูงและใหญ่มากค่ะ....ยังแอบโดนญาติ พี่ - น้องแซวว่า...

ทางบ้านของผู้เขียนมีเงินแล้วยกต้นไม้นี้ให้กับพี่ - น้องเถอะ...

(คงกะว่าจะตัด ทำลายอีกนั่นแหล่ะค่ะ...)

ต้นยาง + ต้นข่อย + ต้นขนุน ฯลฯ...

ผู้เขียนและพ่อบ้าน ไม่ยอมยกให้ใครหรอกค่ะ...

ปลูกไว้เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมค่ะ...

(มีใครสักกี่คน...ทราบบ้างไหมว่า...เหตุที่เกิดน้ำท่วม + ภัยธรรมชาติ

เนื่องมาจากสาเหตุที่มนุษย์ตัดไม้ ทำลายป่ากันค่ะ...

แล้วไม่ยอมปลูกป่าเพื่อทดแทนไงค่ะ)...

ต้นยางที่ปลูกเพิ่มเติมภายหลังค่ะ...

ผู้เขียนยังจำได้ว่า เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และองค์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรม-

ราชินีนารถ ทรงตรัสให้ประชาชนทุกคนร่วมกันปลูกป่า...

จะมีใครสักกี่คน?...ที่ร่วมใจกันทำตามกระแสพระราชดำรัส...

แต่ครอบครัวของเราได้ทำแล้วค่ะ...(ตามภาพข้างต้นนี้ค่ะ)...

และเห็นจริงอย่างที่พระองค์ท่านตรัสด้วยค่ะ...

นี่ก็เป็นที่มรดกของย่ายกให้พ่อบ้าน ประมาณ 5 ไร่ เป็นที่นาค่ะ...

ปลูกต้นตาล...ตามคันนาที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรค่ะ...

เราไม่เคยลืม!...ว่าเรามาจากดิน...

ตามคันนาพ่อบ้านได้พาลูกชายเจ้าตัวโต + เจ้าตัวเล็ก

มาปลูกต้นตาลไว้ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วค่ะ...

(ปัจจุบันเจ้าตัวโตอายุ 22 ปี + เจ้าตัวเล็กอายุ 19 ปีค่ะ...)

ครั้งแรกชาวบ้านว่า...ปลูกอะไรไม่รู้...แต่มาปัจจุบัน...บอกว่าดีค่ะ...

บางครั้งการทำสิ่งใด...ก็ต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ค่ะ...

เคยสอนลูกว่า...ต่อให้เจ้าเรียนจบปริญญาเอก...

ขอให้เจ้าจงอย่าลืมว่า...เจ้าคือลูก หลาน ของชาวนา...

ต่อให้เจ้าบินสูง...แต่จงอย่าลืม!...ที่มาว่าเจ้ามาจากที่ที่ตรงนี้...

ที่ซึ่งเป็นต้นกำเนิดที่ทำให้เจ้าบินสูงได้...

ดังนั้น...เจ้าอย่าลืมตน...อย่าดูหมิ่น...ดูแคลนผู้อื่น...

ต้นตาลของเราจะไม่ปลูกในครั้งเดียว เพราะเรารู้ว่าอายุต้นตาล

จะอยู่ได้ประมาณ 70 กว่าปี เราจะปลูก 3 ครั้ง

ครั้งแรก ปลูก 30 ต้น เมื่อ 8 ปีที่แล้ว...และปลูก ครั้งที่ 2

อีกประมาณ 40 ต้น จะทิ้งช่วงห่างกันประมาณ 8 ปี

(เพราะเมื่อต้นตาลหมดอายุ ก็จะได้ไม่ตายในครั้งเดียวกัน)

นี่เป็น...ครั้งที่ 2 ที่ปลูกได้ประมาณ 40 ต้น เมื่อ 8 ปีที่แล้ว

และจะเริ่มปลูกครั้งที่ 3 ประมาณปีหน้าค่ะ....อีกประมาณ 30 ต้น...

เจ้าตัวโต + เจ้าตัวเล็ก ภูมิใจในผลงานที่เขาได้มาปลูกไว้กับพ่อค่ะ...

เมื่อเจ้าไปไหนไม่รอด...ก็จงกลับมาบ้านเรา...พ่อ + แม่ ยังรอเจ้าอยู่

(ที่ทุกแปลงที่กล่าวมาข้างต้น ปลอดจำนองหมดค่ะ...)

ยังมีที่นาอีกประมาณ 40 ไร่ค่ะที่เราได้ให้เขาเช่าทำค่ะ...

ตั้งใจว่า...ที่มรดกที่ พ่อ - แม่ ให้มา ไม่มีการขาย หรือจำนอง...ค่ะ

นี่คือ..."การวางแผนชีวิต" ของครอบครัวเราค่ะ...ไม่มีซื้อ ไม่มีขาย...แต่สามารถคิดเอง + ทำเองได้ด้วยแรงใจและแรงกายของตัวเราค่ะ...ทำเสียตั้งแต่ตอนที่เรายังมีแรงนะค่ะ...

"คนเราเลือกเกิดไม่ได้...แต่เลือกที่จะเป็น หรือจะทำให้ดีได้ค่ะ..."

อ่าน "นักวางแผนชีวิตครอบครัว" ได้จากบล็อกนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas7/376467

ฆ้อนตราใช้สำหรับตอกหน้าไม้สักทอง...

ซึ่งกรมป่าไม้เป็นผู้รับรอง...

มีอายุสัมปทาน 30 ปี...เมื่อหมดอายุ 30 ปี

ให้ต่ออายุกับกรมป่าไม้ใหม่ค่ะ...

ใช้เฉพาะสวนป่าสักทองของผู้เขียน...

ฆ้อนตราใช้สำหรับตอกหน้าไม้สัก เพื่อการขนย้ายที่ถูกต้อง

ตามกฎหมาย...

หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนตรา...

หนังสือรับรองตรา...

หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินสวนป่า...

หมายเลขบันทึก: 362463เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2010 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

สวัสดีค่ะ

ขอร่วมภาคภูมิใจกับท่านอาจารย์ด้วยความชื่นชม และขอบคุณค่ะ  มีความสุขมากๆ ตลอดไปนานๆ นะคะ    Faith

สวัสดีค่ะ...

ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ...เช่นเดียวกันค่ะ ขอให้มีความสุขนะค่ะ...

เรียนท่านผอ.บุษ

ขอแสดงความชื่นชม ยินดีกับครอบครัวของท่าน ผอ.ที่มีการวางแผนชีวิตที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ

ถ้า nayniranam สามารถหวลกลับถอยหลังชีวิตได้ ชีวิตคงไม่เป็นแบบนี้หรอก ขอให้ครอบครัว

ของท่าน ผอ.บุษจงมีความสุข ความเจริญก้าวหน้าต่อ ๆ ไปนะครับ

จากnayniranam

เรียนท่านผอ.บุษ

ระวังคนไปขโมยตัดต้นสักนะครับ

จากnayniranam

สวัสดีค่ะ...คุณ nayniranam...

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...ใครจะกล้าล้วงคองูเขียวจ้า....55555555

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

คนรุ่นพวกเราเป็นลูกชาวนา แต่ลูกของพวกเราเขาเป็นลูกข้าราชการ

ท่านอาจารย์สอนลูกให้เป็นชาวนาได้ นั่นแหละการสอนรากเหง้าของชีวิตครับ

ผมพาลูกไปช่วยแม่ทำนา ตอนนี้ไปเป็นลูกจ้างเขาหมดแล้ว นาก็ปู้ย่าช่วยกันทำเหมือนเดิม

สวัสดีค่ะ...ท่าน ผอ.พรชัย...

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...ในอนาคตเราก็ไม่ทราบว่าเขาจะกลับมาถิ่นเดิมหรือเปล่า...

เพียงแต่สอนว่าเขาไม่ควรลืม...ว่าพวกเขามีถิ่นกำเนิดมาจากที่ไหนค่ะ...

ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตค่ะ...

อ่านเรื่องเล่าด้วยความหลงไหลคะ มีวิธีการเขียนที่น่าติดตาม
ภาพที่นำมาเสนอก็สวยถูกใจมากคะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพต้นสักทองยางนาและต้นตาล
ชอบมากคะ

สวัสดครับ มาศึกษาการวางแผนของท่านอาจารย์ครับ

สวัสดีค่ะ...คุณ gannigar...

ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีค่ะ...คุณสามารถ...

P  ขอบคุณค่ะ...เราควรสร้างตัวตั้งแต่เรายังหนุ่ม - สาว ค่ะ เพราะยังมีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่  แต่ถ้าอายุมากขึ้นกำลังชักเริ่มทดถอยแล้วค่ะ...อย่าหวังเพียงแต่เงินเดือนอย่างเดียวค่ะ...ควรมองหาช่องทางอื่นที่สามารถสร้างฐานะของเราได้ค่ะ...(โอกาส)...ที่ทุกคนสามารถแสวงหาได้ด้วยตัวเองค่ะ...

ดีใจที่ได้อ่านครับ

เห็นแล้วอยากถ่ายรูปต้นอ้อยที่พ่อผมปลูกบ้างจัง

ไม่รู้ภาพจะสวยเหมือนไม้ยืนต้นหรือไม่

เป็นการวางแผนชีวิตที่ดี ผมมีเวลา 10 ปี

แค่นั้นเองเกษียณเสียแล้ว คงพอทันปลูกไม้บางชนิดเท่านั้น

สวัสดีค่ะ...คุณ soponpersanit...

ขอบคุณค่ะ...ก็ลองดูสิค่ะ...ไม่ว่าสิ่งใดที่เราได้ทำ...ได้เตรียมวางแผนไว้ นั่นคือ ความภาคภูมิใจค่ะ...ถ้าเรายังมีแรง กำลัง  รีบทำนะค่ะ...ไม่มีอะไรจะสายเกินไปหรอกค่ะ...ที่นำมาลงเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับเด็ก ๆ รุ่นหลัง ได้ทราบไว้ค่ะว่า...ถึงแม้คุณเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย  ไม่ว่าคุณจะเก่งวิชาการ ความรู้ต่าง ๆ...แต่ก็อย่าชะล่าใจ...เพราะพวกนี้จะไม่ยั่งยืนกับเรา...หมดเวลา หมดกำลังเมื่อไร...ถ้าเราได้เตรียมตัวเตรียมทำไว้...สุดท้ายเราจะกลับไปสู่ถิ่นที่เรามาค่ะ...สิ่งใดที่เรายังไม่ได้ทำ...และจะเริ่มทำ  จะดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลยนะค่ะ...ผู้เขียนยังคิดต่ออีกว่า...พอเกษียณแล้วได้เงินก้อนมาบ้าง...ก็จะนำไปซื้อที่ดิน เพื่อปลูกต้นสักไว้อีกค่ะ...ถ้ากำลังเรายังมี...ไม่เคยคิดว่าเราจะได้ทันใช้หรือเปล่า...แต่ทำไว้เพื่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม...ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้ ได้ทันเห็น  แต่ก็ขอให้ได้ทำไว้ให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้ดู ได้เห็นค่ะ...อย่างน้อยก็สร้างนิสัยให้รุ่นลูก หลาน เห็นว่า พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้ทำอะไรไว้บ้าง  แล้วรุ่นเจ้าล่ะ...ได้ทำอะไรไว้เพื่อแผ่นดินและคนรุ่นหลังบ้าง...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...ถ้าจะเริ่มก็เริ่มได้นะค่ะ...เพราะอย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไปวัน ๆ ค่ะ...เห็นไหมค่ะ...นี่แค่ลืม ๆ ไป ก็ปาเข้าไปเกือบ 20 ปีกว่าแล้วค่ะ...

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

รบกวนช่วยเล่ารายละเอียด และวิธีการขึ้นทะเบียน การขอใบอนุญาติด้วยครับ

1. หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนตรา

2. หนังสือรับรองตรา

3. หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า

ที่ดินที่จะขออนุญาติ จำเป็นจะต้องเป็นโฉนด หรือ สปก.4-01ข จะขอขึ้นทะเบียนได้ไหมครับ

ปลูกเสร็จแล้วขออนุญาติเลย หรือ รอให้ต้นสักมีอายุประมาณเท่าไหร่จึงจะขออนุญาติออกใบทะเบียนได้ครับ

เห็นสวนป่าของอาจารย์แล้วรู้สึกเย็น สงบดีครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

สวัสดีค่ะ...คุณสุกฤษฏิ์...

พี่ขอตอบตามประสบการณ์ของพี่นะค่ะ...การปลูกต้นสัก สิ่งแรกที่ต้องเตรียม คือ ...

1. ที่ดินค่ะ...ข้อสำคัญ ควรเป็น น.ส.3 ก. หรือ โฉนด จะดีกว่า สปก.4-01 ข. เหตุที่ต้องเป็น น.ส.3 ก. หรือ โฉนด นั้น คือ การแสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่ดินที่ชัดเจน ตามกฎหมายมากกว่า สปก. 4-01 ค่ะ...เพราะจะเกี่ยวเนื่องไปกับการขออนุญาตตัด ขาย หรือนำไปใช้ประโยชน์ของเราเองค่ะ...

2. เตรียมเง้าสัก หรือ ต้นสักที่เพาะจากเมล็ด ...กรณีใช้เง้าสักปลูก มีข้อดี คือ ไม่มีรากแก้ว โตเร็ว ข้อเสีย เวลาโตขึ้นไม่มีรากยึดดิน ทำให้เวลามีลมพัด จะทำให้ต้นหักค่ะ...แต่ถ้าใช้เมล็ดสักปลูก ข้อดี ต้นคงทน ไม่หักง่ายเพราะมีรากแก้วยึดดิน ข้อเสีย เวลาตัดต้นไปใช้ประโยชน์แล้ว รากฝังลึก เราต้องขุดเอารากออกให้หมดก่อน ที่จะทำการปลูกพืชอย่างอื่น หรือ ปลูกสักใหม่ต่อไปค่ะ...

3. เมื่อปลูกแล้วไม่จำเป็นว่าต้องกี่ปีค่ะ...ให้ปรึกษาป่าไม้อำเภอ...ว่าขออนุญาตปลูก (ขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า...ถ้าป่าไม้อำเภออนุญาตแล้ว...ต้องมาทำป้ายการเป็นสวนป่า เพื่อติดไว้ที่สวนสักที่เราปลูกค่ะ...พี่ไม่ได้ถ่ายมาให้ดู...ถ้ามีโอกาสจะไปถ่ายมาให้ดูนะค่ะ...เพราะยังไม่ได้กลับไปที่บ้านที่พรหมพิราม เนื่องจากมาอยู่บ้านที่พิษณุโลก ทำงานเลิกเย็น + ทำเสาร์ + อาทิตย์ เลยไม่มีเวลาไปบ้านที่พรหมพิราม...ถ้ามีเวลาจะถ่ายป้ายสวนป่าที่พี่ทำไว้ นำมาให้ดูนะค่ะ)...

3. สำหรับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนตรา + หนังสือรับรองตรา...ให้ปรึกษากับป่าไม้อำเภอเลยค่ะ เขาทราบดี แล้วเขาจะแนะนำเราเอง...

4. ก่อนไปหาป่าไม้ ควรเตรียม หลักฐาน ที่ดิน เช่น น.ส. 3 ก. หรือ โฉนด (ที่เราได้ปลูกต้นสักแล้ว) + สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน + สำเนาทะเบียนบ้าน (พร้อมตัวจริง)...บอกป่าไม้อำเภอว่ามาขอคำแนะนำ ว่าควรทำอย่างไรค่ะ...ทางป่าไม้อำเภอจะแนะนำเราเอง...ส่วนฆ้อนที่ทำหมายเลข นั้น ป่าไม้จังหวัดจะเป็นผู้ให้เลขตราเรามาเองค่ะ แต่ละสวนจะมีหมายเลขไม่เหมือนกันค่ะ...ลองดูนะค่ะ...ถ้าติดขัดอย่างไร ก็ถามมาใหม่ค่ะ...

ยินดีด้วยนะค่ะ ที่จะปลูกป่าไม้สัก ซึ่งเป็นไม้หายากมากแล้ว ไม่ค่อยมีคนจะปลูก มีแต่คนคิดจะตัด...พี่ยังคิดอีกว่า ประมาณ 4 - 5 ปี หลังจากที่เจ้าตัวโตเรียนจบปริญญาเอกแล้ว...จะหาซื้อที่ดิน เพื่อปลูกต้นสักไว้อีก สัก 5 ไร่...เราไม่ได้ใช้ ...ลูกหลาน เราก็จะได้มี ได้ใช้ประโยชน์...ถ้าไม่ตัด ก็เป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมค่ะ...พี่คิดว่า คนเรา ไม่จำเป็นต้องเรียนให้สูง ๆ อย่างเดียว...ถ้าเรียนสูงแล้ว ฐานล่างต้องแน่นค่ะ...จะได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้ โดยไม่ต้องหวังค่าตอบแทนมากนัก หรือไปคอรัปชั่นประเทศชาติค่ะ...

สมัยที่ปลูกต้นสักตอนแรก เป็นโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร. 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติย์ มีพระบรมราโชวาท ต้องการให้ประชาชนอนุรักษ์ป่าไม้ไงค่ะ + ให้ค่าปลูกต้นสักด้วยค่ะ...จำไม่ได้แล้วค่ะ ว่าอย่างไร แต่ครอบครัวพี่ไม่ขอรับ เพราะเรามีกำลังเงินพอที่จะหาซื้อมาเอง (ตอนนั้นต้นกล้าสัก ประมาณ ต้นละ 1 หรือ 2 บาท ค่ะ)...สำหรับต้นสักที่ตาย (เพราะจะมีต้นใหญ่เบียดต้นเล็ก (แย่งอาหาร) พี่จะปลูกต้นยางแทนค่ะ ต้นยางนานะค่ะ...โตเร็วมากค่ะ จะโตเร็วกว่าต้นสัก...

การปลูกสัก จะเป็นสักทอง สักหิน สักขี้ควาย (เนื้อไม้สีดำ) ขึ้นอยู่สภาพดินด้วยนะค่ะ...ถ้าเป็นดินน้ำไหลทรายมูล จะทำให้เป็นสักทอง (เนื้อไม้สีเหลืองทอง)ค่ะ ถ้าปลูกตามท้องไร่ท้องนา ส่วนมากจะเป็นสักขี้ควาย (เนื้อไม้สีดำ) ถ้าปลูกตามหิน ไม้สักจะเป็นเนื้อไม้แข็ง ไม่สวยเหมือนสักทอง (สีเหลืองทอง)ค่ะ...

20 ปี ผ่านไป มาดูคุณค่าของต้นสักในตอนนี้...ปลื้มใจมาก ๆ ค่ะ พอเข้าไปในสวนสักครั้งใด ร่มเย็นมาก ๆ แล้วเราก็ชอบต้นไม้ด้วยไงค่ะ...สงบดี ไม่วุ่นวาย...ไม่ค่อยรกเท่าไร เพราะใบจะตกลงมาทำให้ต้นไม้เล็ก ๆ ด้านล่างไม่ค่อยขึ้นค่ะ...กลับเป็นที่อยู่ของปลวก มด แล้วทำให้เห็ดโคนขึ้นค่ะ...

ลองดูนะค่ะ...คนเราถ้าไม่คิดที่จะทำอะไรแล้ว ปล่อยให้เวลาเสียไปวัน ๆ ไม่ได้อะไรหรอกค่ะ...ควรทำตอนที่เรายังมีกำลังอยู่ค่ะ...ทุกคนเกิดมามีเวลาเท่า ๆ กัน เว้นแต่ใครจะใช้เวลานั้นให้เป็นประโยชน์ได้มากกว่ากันค่ะ...

 

ขอชื่นชมการวางแผนชีวิตเพื่อกลับสู่ความสมดุลของธรรมชาติอย่างมีความสุข..พี่เพิ่งเคยเห็นต้นสักทองค่ะ..ยินดีด้วยที่ช่วยกันรักษ์โลกนะคะ..

            

สวัสดีค่ะ...พี่นงนาท...

  • ค่ะ ก็จะทำเท่าที่กำลังเราทำได้นะค่ะ...
  • แต่ก็ยังต้องการให้คนอื่น ลองทำดูบ้างค่ะ
  • ดีกว่าปล่อยที่ดินว่างเปล่าไว้ค่ะ...
  • เป็นการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนด้วยนะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ...

อ่านแล้วรู้สึกปลื้มใจแทนอาจารย์มากๆเลยค่ะ เพราะหนูก็เป็นลูกชาวนาและทำงานให้ในหลวงเหมือนกัน ความใฝ่ฝันอยากปลูกต้นไม้ถึงจะทำได้ไม่ถึงเศษเสี้ยวของอาจารย์แต่ก็รู้สึกภูมิใจค่ะ เปิดอ่านแล้วโดนมากๆ

สวัสดีค่ะ...คุณวิจิตร...

  • คนเราเลือกเกิดไม่ได้...แต่เลือกที่จะทำ จะเป็นได้ค่ะ...การเป็นข้าราชการนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับการที่เราต้องไม่ใช่ลูกชาวนา...แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราเองต่างหาก...
  • คนเราเริ่มต้นได้ เมื่อเริ่ม จึงนับ 1 คนเราเกิดมาเวลาเท่ากัน เพียงแต่ว่า คน ๆ นั้น จะนำเวลานั้นมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดอย่างไรเองค่ะ...
  • ลองเริ่มต้นทำนะค่ะ...แล้วจะทราบว่ามีประโยชน์ต่อตัวเรา ต่อประเทศชาติอย่างมากค่ะ...ดีกว่าปล่อยเวลาให้ล่วงลับไปเปล่า ๆ ค่ะ..."เวลา...เป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับมนุษย์ค่ะ"...

สวัสดีค่ะ ผอ.บุษยมาศ

เป็นลูกชาวนาเหมือนกันค่ะ เพราะ พ่อ-แม่ดี ที่คอยพร่ำสอน จึงเติบโตได้ทำงานที่ดี มีครอบครัวที่ดี มีเพื่อนที่ดี และพบสิ่งดีๆ อีกเรื่องหนึ่งคือ แนวทางการวางแผนชีวิต ของผอ.ค่ะ คิดว่าระยะเวลา 20 ปี ที่อยู่ในราชการ นอกจะทำงานให้ดีที่สุดแล้ว จะเริ่มกลับไปทำอย่างที่ตั้งใจไว้ เพราะตอนนี้ปลุกบ้านไว้ที่บ้านเกิด เมื่อเกษียณจะกลับบ้านค่ะ

สวัสดีค่ะ...คุณฐิติกานต์...

  • คนเราเกิดมา เลือกเกิดไม่ได้ แต่สามารถเลือกที่จะทำให้ดีได้ค่ะ...อยากบอกเด็ก ๆ รุ่นใหม่ ๆ ว่า คนเราถ้าคิดจะทำสิ่งใด ควรทำตั้งแต่ตอนที่อายุเรายังไม่มาก ควรวางแผนไว้ได้แล้วว่า คิดจะทำสิ่งใดให้กับอนาคตตัวเราเอง เพราะอนาคตนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แต่บางเรื่องก็แน่นอน...จึงไม่ควรปล่อยเวลาไปให้เปล่าประโยชน์ เรียกว่า "ทุกลมหายใจเข้าออก  เวลาสำคัญต่อชีวิตคนเรามาก ควรทำประโยชน์ให้กับตัวเราและสังคมให้มากที่สุด เท่าที่กำลัง แรงของเราจะสามารถทำได้ค่ะ"...
  • ค่ะ ยินดีด้วยนะค่ะ...

 สวัสดีครับ ท่านผอ.

ผมภูมิใจมากที่ประเทศไทยมีคนดี

การเสียสละไม่ว่าเพื่อตัวเองหรือเพื่อสังคมก็มีความสุขครับ

ตอบ คุณ ppk

  • ขอบคุณค่ะ...ถูกต้องค่ะ ทำเพื่อตัวเองได้แล้วก็อย่าลืมนึกถึงส่วนรวมหรือสังคมด้วยแล้วกันค่ะ สังคมจะดีอยู่ได้ก็เพราะพวกเราร่วมมือกันทำ คนละไม้คนละมือค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท