Stage of Change การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


ผุ้บำบัดควรทำการประเิมินว่า ณ ขณะนั้นสภาพความพร้อมของผู้รับบริการอยู่ในระยะใดของกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากนั้นก็ให้คำปรึกษาที่สอดคล้องกับสภาพของผู้รับบริการ

เมือพูดถึง motivational interview  สิ่งหนึี่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ แนวคิดเรืองของ readiness to change และ stages of change  ผมก็เลยขอแนะนำ แนวคิด TTM stages of change

TTM Stages of change (transtheoretical Model)  เป็นแนวคิดเกียวกับกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคน อันประกอบไปด้วย 5 ระยะ ก็คือ

Precontemplation เป็นระยะแรก ที่คนยังมองไม่เห็นปัญหาของตัวเอง  ไม่คิดจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง เพราะคิดว่า ทุกวันนี้มันก็ดีอยู่แล้ว

Comtemplation  เป็นระยะที่คนเริ่มมองเห็นปัญหา และมองถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขั้นในอนาคต  แต่ก็ได้แค่คิดแต่ยังไม่ลงมีือกระทำ หรือวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Preparation  เป็นระยะที่คนเิริ่มวางแผน เริ่มคิดกลยุทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันเป็นปัญหา

Action  เป็นระยะที่คนเริ่มลงมือปฏบัติ เริ่มลองผิด ลองถูกที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Maintenance  เป็นระยะที่คนปฏบัิติจนเป็นนิัสัย และมีการทำพฤติกรรมใหม่ ไม่หันกลับไปทำแบบเดิมๆ จนกระทั่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ กลายเป็นนิสัยถาวร

ตัวอย่าง ถ้าเทียบ กับการเลิกสูบบุหรี

Precontemplation  เป็นระยะที่คนสูบมองว่า การสูบบุหรี ไม่ใช่ปัญหา ใครๆ เขาก็สูบกัน

Contemplation  เป็นระยะที่คนสูบเริ่มตระหนึกถึงปัญหา อาจจะเจอคนข้างบ้านป่วยด้วยโรคปอด ก็คิดกลัวๆ แต่ก็ยังสูบ เพราะคิดว่า กว่าจะถึงคิวตัวเองก็อีกนาน หรือคิดอยากจะเลิกเหมือนกัน แต่รอ "ฤกษ์ดี" เสียก่อน

Preparation  เป็นระยะที่คนสูบเริ่ม ค้นหาวิธีที่จะเลิกสูบบุหรี่ อาจจะใช้ลูกอม นิโคตินแผ่น หรือหมากฝรั่ง

Action  เป็นระยะที่คนเิริ่มลงมีอดบุหรี ตามแผนที่ได้วางไว้

Maintenance เป็นระยะที่อดบุหรี่สำเร็จแล้วในระดับหนึีง แต่กลยุทธิ์การเลิกบุหรียังคงดำเนินต่อไป จนสามารถเลิกได้ในที่สุด

ฟังดูแล้วเหมือนจะง่าย  แต่คนเราจะเลิก หรือจะเริ่มทำอะไรสักอย่าง มันยากพอสมควร

เพราะ  การที่คนเราจะนับหนึี่งได้  ก็รอแล้วรออีก อ้างแล้วอ้างอีก จนแล้วจนรอด ก็ไม่ได้นับหนึี่งสักที

ในขณะเดียวกัน หลายคน ทำจนเกือบจะสำเร็จล่ะ แต่ก็แพ้ใจตัวเอง แพ้สิ่งแวดล้อม สุดท้ายก็หันกลับไปทำพฤติกรรมแบบเิดิมๆ อีก

หมายเลขบันทึก: 210405เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2008 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับ

    ขออนุญาตตามติดมาอย่างใกล้ชิดนะครับ   เพราะเป็นเรื่องที่ผมสนใจอยู่พอดี

    ผมว่า TTM Stages of change (transtheoretical Model) มันยากอยู่ตรงขั้นแรกและขั้นที่สองนี่แหละครับ  เพรามันอยู่ที่ "ใจ"

   อีกอย่างผู้ติดยา มักจะเป็นคน "ขาด" ครับ  ก็เลยต้องเอายาเสพติดมาเสริมเติมเต็ม

   ผมคิดว่าส่วนใหญ่  ผู้เสพย์เขาก็รู้นะครับ ว่ายาเสพย์ติดมีโทษ  เพียงแต่ว่าเขาไม่สามารถหาสิ่งใดมาทดแทนได้

                                  ขอบคุณครับ

ขอบคุณ ท่านอาจารย์ small man สำหรับการติดตามอย่างใกล้ชิด

ใช่แล้วครับ ขั้นแรก ขั้นสอง จะเป้นเรืองที่ยาก ถึงต้องใช้ motivational interview ไงครับ 

โดยหลักก็คือ  ผู้บำบัด จะใช้กลยุทธ์ให้ผุ้รับการบำบัดเกิดความรู้สึก สองใจ (ambivalence) กับพฤติกรรมที่เป็นอยุ่  (ต่างจะการให้คำปรึกษาแบบเดิมที่มุ่งแต่ให้เขามองแค่ด้านเดียว คือต้องเปลียนพฤติกรรม) 

วิธีการก็คือ ให้เขามองเห็น ข้อดี ข้อเสีย เช่น

ถ้าเขาจะสูบบุหรี มีข้อดียังไง   จากนั้น มองเห็นข้อเสีย จากนั้นเอามาชั่งว่าข้างไหนหนักกว่ากัน

ปัญหาทีเจอก็คือ  พอชั่งแล้ว เขาก็ยังมองเห็นข้อดีของการสูบบุหรี่อยู่เลยทำให้ เขายังสูบบุหรี หรือ กลับไปสูบบุหรี่เหมือนเดิม

(ถึงเวลาแล้วที่ผู้บำบัดต้อง ใช้กลยุทธิ์ในการโน้มน้าวใจ)

สวัสดีค่ะ อีกครั้ง

  • ตั้งใจจะไปทำงานที่ค้าง  หันมาอ่านอีกสักบันทึก  แหม  หากไม่ได้อ่าน  จะต้องกล่าวคำว่าเสียใจเลยล่ะค่ะ
  • ต่อจากบันทึกเมื้อกี้ที่อ่านไปเลยค่ะ  นอกจากจะรู้ว่า...จะทำอะไร..What to
  • มาบันทึกนี้  ยังรู้ว่า..จะทำอย่างไร....How to 
  • เยี่ยมมากเลยค่ะ..ฝันยาว อาจจะสั้นลง เพราะมองเห็นความสำเร็จ
  • แต่คงไม่ใช่....ฝันเฟื่องนะคะ..Motivational English Educational Methods  เขียนเหมือนเดิมไหมนี่...ครูอ้อย

ขอบคุณค่ะ...ไปทำงานต่อแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ค่ะ

ดูคล้าย วงจร PDCA เลยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ ครูอ้อย

เป็นแนวคิดที่ดีนะครับที่จะทำโปรเจค Motivational English Educational Methods  ผมว่างานนี้ ครูอ้อย ต้องคว้ารางวัล Motivational English Instructor Award แน่เลยครับผม

ขอบคุณ ป้าแดง มากนะครับทีแวะมาเยี่ยมเยียน

ใช่ละครับ ดูๆ ไปก็คล้ายกับวงรอบ PDCA เพราะทั้งสองอัน เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหมือนกันครับผม  ไม่แน่นะครับ Motivational interview อาจจะเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหา วงรอบไม่เดิน ครับผม

สวัสดีค่ะ

- เป็นประโยชน์มากเลยคะ ได้นำไปใช้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดฯ

- รบกวนขอแบบประเมิน Stage of Change นะคะ

ขอบคุณค่ะ

เรียน คุณไม้มุก

ขอบคุณสำหรับการเข้ามาแลกเปลียนเรียนรู้ จริงๆ แล้วมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ประยุกต์แนวคิด Transtheoreticl Model of Chage มาใช้ในการปรับเปลียนพฤติกรรม โดยเฉพาะในการเปลียนพฤติกรรมการเสพยาเสพติด สำหรับแบบวัด Stage of chage ตอนนี้ที่พบจะเป็นต้นฉบับภาษาอังกฤษที่ใช้กับเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สูบบุหรี่ คิดว่าอาจจะต้องพัฒนาใหม่เพือให้เหมาะกับบริบทของคนไทย

หรืออาจจะมีคนไทยได้พัฒนาไว้แล้ว อันนี้ขอเวลาหาข้อมูลเพิ่มเติม

TTM Stages of change เป็นเรื่องที่สามารถทำได้โดย ผู้เผชิญปัญหา ต้องร่วมมืออย่างจริงจัง และผู้สนับสนุนมุ่งมั่น

กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ค่ะ สนใจแลกเปลี่ยนข้อคิดเห้นกันได้นะคะ

กำลังทำโครงการค่ะ ตั้งใจมากที่จะทำให้โครงการปลับเปลี่ยนพฤตืกรรมให้ประสบความสำเร็จ แต่ตอนนี้ต้องการคู่มือที่เป็นแบบเฉพาะสำหรับ Intervention  แต่ละ stage ค่ะ ใครพอมีบ้างไหมคะ รบกวน ช่วยอนุเคราะห์ส่งให้หน่อยคะ ตามเมลล์นี้นะคะ ขอบคุณมากค่ะ [email protected]

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท