บล็อก GotoKnow ให้คุณมากกว่าที่คิด


"จับฉ่าย"จากบันทึกของตัวเองและบันทึกต่างๆที่ติดใจค่ะ ยกให้เป็นของทุกคน

เริ่มรู้จักบล็อกที่ GotoKnow.org ก็เพราะเป็นสมาชิกชาวห้องแล็บพยา-ธินี่เองค่ะ เป็นสมาชิกที่หายไปเรียนต่อต่างบ้านต่างเมืองมาถึง 6 ปีกว่า กลับมากำลังร้อนวิชามีเรื่องอยากถ่ายทอดมากมาย เปิดเว็บไซต์ของภาควิชา พบว่ามีพื้นที่พิเศษที่เชื่อมโยงไปถึง GotoKnow.org เป็นเวทีซึ่งไม่เป็นทางการนักให้เราได้เขียนโดยที่เราได้รับผิดชอบสิ่งที่เราเขียน เพราะเราสามารถเปิดเป็นเว็บเพจของตัวเองได้เลย เรียนรู้การใช้งานจากการอ่านคู่มือการใช้ในเว็บนั่นเอง จำได้ว่ารู้สึกสับสนกับศัพท์แสงที่มีใช้อยู่ แต่ก็ใช้ไปเรียนไปแก้ไขไป บล็อกแรกที่เปิดก็เป็นเรื่องที่อยากเล่าถึงการใช้ภาษาอังกฤษจริงๆให้ได้ผล มีบล็อกเกอร์ท่านหนึ่งจากคณะทันตะฯเข้ามาต้อนรับและแสดงความสนใจ ทำให้ได้รับรู้ว่าเขียนแล้วมีคนอ่าน รวมทั้งได้รับการต้อนรับจากคุณเอื้อ-อ.หมอปารมีตั้งแต่บันทึกแรกที่เขียนเช่นกัน

หลังจากเริ่มเขียนและเริ่มสำรวจเว็บไซต์นี้ก็พบว่า ชุมชน Smart Path ที่เราเข้าไปขออยู่ด้วยนั้นมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ซึ่งถือเป็นกลยุทธที่ยอดเยี่ยมของคุณเอื้อ ในฐานะผู้นำชุมชน เพราะตัวเราเองก็ได้แนวทางว่า ชุมชนแห่งนี้มีไว้เพื่ออะไร เราในฐานะสมาชิกควรทำอะไร ทำให้เกิดบล็อกเรื่องเล่าและเรื่องคุยจาก Lab Chemซึ่งเป็นจุดเกิดของโอ๋-อโณ บนคลังความรู้แห่งนี้ รู้สึกว่าคุณศิริแห่ง GotoKnow ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกห้องแล็บเคมีเหมือนกัน ก็เริ่มเขียนบล็อกในเวลาไล่เลี่ยกัน  แต่นายดำเขียนมาก่อนหน้าเราสักพักใหญ่ๆ เรียกว่าในบรรดาชาวห้องแล็บ Chem ของเรา มีบล็อกเกอร์ที่เขียนประจำกันอยู่ถึง 3 คน เราต่างก็ช่วยกันสนับสนุนให้พี่ๆน้องๆที่เหลือในหน่วย มาเขียนบล็อก แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เราก็ต้องยอมรับว่า มีเหตุปัจจัยมากมายที่ทำให้รู้ว่า การเป็นคุณลิขิตไม่ใช่เรื่องที่ทำกันได้ทุกคน

หลังจากที่เขียนบันทึกเล่ามาแทบจะทุกจุดที่ตัวเองได้ประจำการ รวมทั้งเล่างานของเพื่อนๆร่วมงาน ตามที่เรามองเห็นมาจนเกือบจะครบปีในอีกไม่กี่เดือนนี้แล้ว พบว่า นอกจากจะทำให้เราได้คิดว่า เราคิดอะไร ได้ไล่เรียงความเป็นไปในแต่ละวันแล้ว เมื่อกลับไปดู เราจะพบว่า การทำอะไรสม่ำเสมอ ทำให้เราทำอะไรได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ นึกไม่ถึงว่าเราจะทำได้

ที่สำคัญที่สุดก็คือ ทำให้ผู้อื่นทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม เช่นคนทำงานสาขาอื่นๆ สายงานอื่นๆ เข้าใจว่าเราทำอะไร รายละเอียดที่เป็นเรื่องเล่าแบบนี้ เรามักจะไม่สามารถหาอ่านได้ที่ไหนเลย และมุมมองของแต่ละคน แม้ในที่ทำงานเดียวกันก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น สิ่งที่ทุกคนถ่ายทอดออกมาก็จะมีประโยชน์ต่างๆกันไป ตัวเราเองกลับไปอ่าน ก็ยังได้ความคิดอะไรเพิ่มเติม เป็นสิ่งที่มีคุณค่าของเราที่ไม่เหมือนใคร ไม่มีทางที่ใครจะเหมือนด้วย

วันนี้ได้อ่านบันทึกขอคิดด้วยคน เรื่อง "การเขียนblog"ที่ตรงใจเป็นอย่างมาก ถึงเหตุผลที่ทำให้ตัวเองเห็นว่าบล็อก GotoKnow มีประโยชน์ คุณบำราศ เขียนได้ครบถ้วนจนต้องขอยืมมาบอกต่อกันอีกที นั่นคือ

  • เป็นเครื่องมือที่ดีมากในการพัฒนาตนเอง
  • ทำให้เราคิดบวกหามุมมองด้านบวกของปัญหาต่างๆที่เข้ามาแล้วสื่อสารลง blog 
  • ได้พัฒนาระบบคิดกลั่นกรองทบทวนเรื่องที่จะสื่อสารกับคนอื่นไม่ให้เรื่องที่สื่อออกไปเป็นPollution ต่อคนอื่น
  • การเขียน blog ของดิฉันจึงเป็นการพักผ่อนไปในตัว
  • เป็นการบูรณาการงานกับการพักผ่อนได้อย่างดี

อยากขอให้คนที่เข้ามาใหม่ๆ อย่าเพิ่งท้อถอย แม้ยังไม่เจอคนคอเดียวกัน เขียนสิ่งที่อยากเขียน สิ่งที่ตัวเองพบเจอจากการทำงานในแต่ละวัน เขียนไปเรื่อยๆ อ่านไปเรื่อยๆ รับรองว่าได้ประโยชน์ทั้งต่อตัวเอง แล้วยังอาจจะก่อประโยชน์ได้ต่อไปในอนาคตด้วย

 ในเบื้องต้น

  1.  ฝึกหัดเขียนบันทึก..แบบไดอารี่ บันทึกเรื่องราวการทำงานประจำวัน..ในหน้าที่...ในกรณีนี้คือฝึกเล่าเรืองแชร์ให้คนอื่นได้อ่านขึ้น..ฝึกความกล้าในการเขียน..ไม่มีถูกไม่มีผิด, ฝึกการตั้งเป้าหมายในการเขียนบันทึกว่าควรจะเขียนเดือนละกี่บันทึก...ที่สำคัญคือฝึกการถ่ายทอดเล่าเรื่องราวโดยการเขียน..เพราะว่าสมัยนี้ตอนเรียนหนังสือ ข้อสอบจะเป็น choice ส่วนใหญ่ พวกเราจึงไม่ค่อยได้ฝึกการเขียนเท่าไร..ส่วนนี้ก็จะพัฒนาการเขียนที่จะสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้..
  2. ในการเขียนบันทึกช่วงแรกๆ พวกเพื่อนๆ ของเราคงได้ติดตามเข้าไปอ่านบ้าง..มีการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน..ข้อนี้ก็เป็นการฝึกให้คนที่เข้ามาอ่าน..ฝึกนิสัยการแสดงความชื่นชมยินดีกับผู้อื่น..การพลอยแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี..หรือการฝึกนิสัยแสดงมุทิตาจิตต่อผู้อื่นด้วย
  3. แสดงตัวตนของเราออกมาจากบันทึกที่เราเขียน..เพราะว่าในบันทึก..มักจะมีเรื่องราวของเราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย (ก็เราเป็นผู้เล่า) บันทึกที่เล่าเรื่องราวอย่างนี้ได้ดี คือ บันทึกที่เกี่ยวกับการเดินทางหรือท่องเที่ยว..ไปเห็นอะไรมา..เราก็ใส่ความรู้สึกของเราเข้าไปในตัวอักษรด้วย
  4. ถ่ายทอดความสำเร็จในการทำงาน...เริ่มจากความสำเร็จเล็กๆ ก่อน...เป็นการฝึกการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน..เพื่อจะไปทำงานที่ใหญ่ขึ้นให้สำเร็จ..ความสำเร็จต้องเริ่มจากก้าวแรกก่อน..เสมอ
  5. เรียนรู้ความสำเร็จจากผู้อื่น..แล้วมาประยุกต์ใช้กับการทำงานของตัวเอง...ในการเริ่มบันทึกใหม่ๆ เราก็ต้องไปหาความรู้จากผู้อื่น..โดยต้องเริ่มเข้าไปอ่านบันทึกของคนอื่น.(ว่าเขามีรูปแบบในการเขียนบันทึกอย่างไรบ้าง) เมื่ออ่านก็ย่อมได้ความรู้..และบางครั้งก็เอามาประยุกต์ใช้กับงานของเราได้อย่างไม่รู้ตัวเหมือนกัน

ในท่ามกลาง

  1.  จะเกิดอาการเป็นโรคติดบล็อก คือ ถ้าไม่ได้เขียนบันทึกวันนี้แล้ว..จะรู้สึกหงุดหงิด..มาถึงตอนนี้ คุณก็จะเป็นคนที่เขาเรียกว่า "Blogger" แล้ว เพราะคุณอาจเขียนบันทึกมาถึง 100 บันทึก โดยไม่รู้ตัว
  2. เกิดมีกลุ่มชน หรือชุมชน "คนคอเดียวกัน" เกิดขึ้น มีคนรู้จักคุณเพิ่มขึ้น..ก็จะเกิดการจับกลุ่มกันเพื่อ ลปรร. (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) กันเพิ่มขึ้น ในกลุ่มคนที่ชอบอะไรเหมือนๆ กัน..นอกจากนั้นก็จะเกิด "มิตรภาพ" ใน blogger เกิดความหวังดีซึ่งกันและกัน เรียกว่าเกิด "กัลยาณมิตร" ขึ้นในบล็อกหรือบันทึกเลยทีเดียว
  3. ถึงตอนนี้..เราก็อยากพบตัวตนจริงๆ ของ คนที่เรา B2B กันบ่อยๆ อยากจะเปลี่ยนเป็น F2F บ้างแล้ว คืออยากจะเห็น "ตัวเป็นๆ" ของเขาบ้างแล้ว ซึ่งอาจพบเจอกันในงานต่างๆ..หรือมีการนัดหมายไปพบกัน

 ในเบื้องปลาย

  1. ใช้บล็อกในการเป็นหางปลา เพื่อเป็นที่รวบรวมขุมความรู้ (Knowledge Assets) ส่วนนี้รู้สึกว่า ป้าย (Tag) จะเข้ามามีบทบาทมาก โดยใช้คำสั่ง "ค้นหา" เพื่อให้ได้มาซึ่งขุมความรู้ที่เราต้องการ
  2. นอกจากบล็อกจะเป็นหางปลาแล้ว มันยังเป็นตัวปลาด้วย..เพราะทำให้เกิดการลปรร. ระดับ individual, ระดับหน่วยงาน. ระดับองค์กร, ระดับข้ามองค์กร, และระดับชาติ...ไม่น่าเชื่อว่าบล็อกจะมีพลังเช่นนี้...
  3. บางครั้งบล็อกยังทำหน้าที่เป็นหัวปลาด้วย...อย่างการกำหนดทิศทางด้านใดด้านหนึ่ง กำหนดเป็นทิศทางหรือเป้าหมายให้เดินกันไป..อย่างเช่น ที่สคส.กำหนดทิศทางของการทำ KM เพื่อไปสู่ LO....
  4. ใช้เป็นกลยุทธ์ ที่จะ implement KM เข้าไปในองค์กร แบบว่า "ทำ KM แบบใจสั่งมา ไม่ต้องให้ใครมาบังคับ" ซึ่งส่วนนี้ถ้าพูดแบบเข้าข้างตัวเองหน่อยๆ รู้สึกว่า มน.จะทำได้ดี...เนื่องจากเมื่อคุณเขียนบล็อก คุณก็ต้องไปอ่านบันทึกที่คนอื่นๆ เขาได้เขียนบ้าง..แล้วข้อเขียนหลายเรื่องก็เป็นเรื่องที่มี KM แฝงอยู่ เราก็จะได้ความรู้ KM ไปแบบไม่ทันรู้ตัว..แล้วนำไปปฏิบัติกับงานของเราแบบไม่ทันรู้ตัวเช่นเดียวกัน

ในเบื้องท้าย (แต่ไม่ท้ายสุด)

  1. อย่าไปตก "หลุมดำ KM" อยู่นะครับ..เพราะว่า KM เป็นเพียงเครื่องมือ..เราต้องใช้ KM...พัฒนา "ฅน" พัฒนาที่จิตใจของเขาให้เป็นคนดี (ประมาณ ๒๐ เปอร์เซนต์ขึ้นไป)..ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ LO....เราเรียกขั้นตอนนี้ว่า "ก้าวข้าม KM"
มากกว่าคาด

  •  ที่ผ่านมาผู้เขียนก็ได้เขียนไปบ้างแล้วกับการได้อะไรมากมายจากการเป็น Blogger ซึ่งเขียนไปแล้วหลายข้อมา...กก แต่ที่เขียนวันนี้เป็นการเพิ่มเติม...(ไม่เขียนซ้ำ)
  • ได้ฝึกความจำ ล่าสุดตัวเองได้บันทึกโดยการฝึกใช้ความจำของตัวเอง (คาดว่าอาจช่วยเพิ่มรอยหยักในสมองได้บ้าง) โดยทดลองไม่ใช้สมุดบันทึกจด ข้อคิดนี้ได้มาจากการฟังคุณเมตตาในวันที่มีเสวนา เรื่องการใช้ mind map คุณเมตตาบอกว่าใช้ mind map แล้วจะช่วยเพิ่มรอยหยักในสมองได้ ไม่เชื่อลองดู หลังจากวันนั้นจึงฝึกใช้ในใจ + deep listening ทดลองฟังรายการสด(จากวิทยุ : ง่วงไม่ขับ) หรือเรื่องราวที่ผ่านมาตอนไปกรุงชิงมาถ่ายทอดลงในบันทึก
  • ได้พบตัวเอง ไม่รู้ถูกหรือเปล่า โดยปรกติผู้เขียนเป็นคนชอบคิดหาเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นไปในด้านขัดแย้ง หรือแตกต่าง แต่สิ่งเหล่านี้จะว่าไปดีก็ดี ไม่ดีก็ไม่ดี แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่แปลก และไม่อยู่กับร่องกับรอย หรือในกรอบ บางครั้งมันจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี หรือไม่ดีก็ได้ แต่ไม่ค่อยจะเหมือนใครและไม่มีใครเหมือน น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความคิดสร้างสรรค์ เอ๊ะ ! หรือทำลาย

สุดท้ายผู้เขียนประทับใจกับคำพูดของ ดร.ปรอง ในหนังสือมหกรรม KM ครั้งที่ 2 (เล่มแดง) ที่ว่า  " Blog เป็นพื้นที่สุดท้ายในจักรวาลที่เราอยากจะแสดงอะไรก็ได้ ทุกทีคือคุณไปพูดแล้วอยากให้คนฟัง แต่ Blog ผมอยากจะเล่าให้โลกนี้รู้ ใครฟังไม่รู้แต่ผมอยากจะเล่า"

สำหรับผมแล้ว gotoknow ถือเป็น "ชุมชนต้นแบบ" ของการจัดการความรู้ในสังคมไทย ...เป็นพื้นที่ที่ทำให้เราได้มีโอกาสเห็น "ศักยภาพ" ของหลายๆ ท่าน ...ทำให้เราได้มารู้จักกัน ได้เห็นสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในแต่ละท่าน ....ได้เห็น "เมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา" ที่ทุกท่านมีอยู่ในตัว ....และยังได้เห็นอีกด้วยว่าถ้าเราจัดให้มี "เวที" เพื่อให้สิ่งดีๆ เหล่านี้ได้เชื่อมโยงกัน ก็จะเกิดการผสานพลัง (synergy) อันยิ่งใหญ่อย่างที่เราสัมผัสได้ใน gotoknow นี้

ตลอดเวลาปีกว่าๆ ที่ผ่านมา ดิฉันอาศัยการอ่านบันทึกใน GotoKnow เพื่อทำความเข้าใจว่า KM คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นบันทึกของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ความเข้าใจค่อยๆ ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

ดิฉันได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือ KM ต่างๆ การจัด KM Workshop หลากหลายลักษณะจากบันทึกของอาจารย์วิจารณ์และน้องๆ ชาว สคส. ตลอดจนภาคีหลากหลายสาขาวิชาชีพ

ความรู้เหล่านี้หาไม่ได้ในตำรา เอาไปใช้งานได้จริง มีมิติของจิต-อารมณ์-สังคม เป็นความรู้ที่มีชีวิตชีวา อ่านแล้วเกิด inspiration ในการทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ ดิฉันนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จาก GotoKnow ไปปรับใช้ในการทำงานแล้วนำกลับมาเล่าไว้ใน GotoKnow อีก

หากใครได้อ่านและติดตามบันทึกของบล็อกเกอร์ทั้งหลายอย่างต่อเนื่อง จะเห็นวงจรของการจัดการความรู้ปฏิบัติที่หมุนแบบไม่รู้จบ

  • เป็นความสุขของคนคอเดียวกันและต้องมาพบกันทุกวันใน G2K
  • เป็นความสัมพันธ์ที่ก่อ-เกิดขึ้นอย่างแน่นแฟ้น โดยไม่รู้ตัว
  • เป็นความผูกพันที่กำลังหยั่งลึกลงไปในทุกวัน ๆ

สิ่งที่เกิดตามมา

  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการใช้ชีวิต
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องราวการทำงาน
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น(ของแต่ละคน)
ทำไมพวกเราหลายๆคนจึงมีอาการติดบล็อก เพราะเราได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเรากันนั่นเอง เป็นสิ่งที่การรู้จักเพียงผิวเผินเวลาเผชิญหน้ากันจะไม่สามารถทำได้ เราต้องใช้เวลาปฏิสัมพันธ์กันยาวนาน กว่าจะเรียนรู้ตัวตนของกันและกัน แต่ใน GotoKnow เรารู้จักกัน เราแลกเปลี่ยนความเป็นไปในชีวิตของกันและกัน ไม่เพียงแต่เรื่องงาน จะเห็นได้ว่าคนที่"ติดบล็อก" ส่วนใหญ่ก็คือคนที่ "ค้นพบ" คนคอเดียวกันนั่นเอง มีอะไรๆในชีวิตที่แลกเปลี่ยนกันได้ หรือไม่ก็เป็นคนที่เราเคารพศรัทธาการดำรงตน การใช้ชีวิต วิธีการมอง วิธีการคิดสิ่งต่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็น TK ที่เรียนรู้กันได้ ผ่านการเล่าเรื่อง เล่าชีวิต เล่าวิธีคิด วิธีมองสิ่งต่างๆนั่นเอง  

อ่านแล้วคิดถึงว่า บล็อกนี่ก็แสดงบุคลิกของเจ้าของได้ชัดเจนเหมือนกันนะคะ (หลายๆคน) ทำให้เรารู้ว่า ทำไมเวลาเราอ่านบล็อกของใครไปนานๆ เราถึงเรียนรู้และเดาได้ว่าบุคลิกของเจ้าของจริงๆจะเป็นยังไง แม้จะไม่เคยพบตัวจริงกันมาก่อน (แต่ขอให้มีรูปให้เห็นสักนิด แบบที่เป็นอยู่นี่แหละนะคะ)

อย่างเช่นอ.ปลื้มจิต เจ้าของบล็อก"ร่วมแรง ร่วมใจ ISO" ที่เข้าเป็นสมาชิก Smart Path ล่าสุดนี่แหละ ท่านเป็นคนสวยที่พูดคุยได้ลูกเล่น สนุกสนาน แทรกสาระได้ตลอด อ่านบันทึกเรื่องที่น่าจะดูหนักหนา น่าเบื่อที่ท่านเขียนแล้ว โอ๊ย...สนุกค่ะ ตัวจริงท่านก็เหมือนเปี๊ยบเลย แบบนี้แหละ ส่วนคุณ ringo หลังจากที่ตัวเองไปพูดกับคนอื่นๆว่า เขียนไม่เห็นเหมือนตัวจริงเลย มีแต่คนแย้งว่า นี่แหละเขาหละ ทำไมเราไม่รู้เหรอ....เล่นเอา...งง....จริงเหรอ...แสดงว่านี่ขนาดคนที่เราคิดว่ารู้จักนะ เรายังมองไม่ตรงเลย

ว่าแล้วก็คิดถึงบล็อกเกอร์ขาประจำที่เราอ่านๆ เขียนๆ คุยๆกันอยู่ คิดไปคิดมา มีหลายๆคนที่เราได้พบตัวแล้ว ตรงกับที่คิด แต่ก็มีบ้างที่ได้พบแล้ว....ไม่เหมือน ไว้มีเวลาจะมาขยายต่อค่ะ นึกได้ว่าตัวเราเองนี่แหละ มีคนคิดว่าเราน่าจะสงบเรียบร้อย รักษากฎ (อะไรประมาณนั้น) แต่ตัวจริง....ไม่ใช่เลยค่ะ บุคลิกไม่ให้ในการเป็นคนคงแก่เรียนอะไรเลย...จริงไหมคะ (ถามใครดีเนี่ย...) แล้วก็ทำให้คิดด้วยว่า เวลาเราเขียน เราคิดถึงใครไหมนะ เราคิดจะบอกอะไรใครเป็นพิเศษหรือเปล่า อยากรู้ความคิดท่านอื่นๆเช่นกันนะคะ ว่าคิดเห็นยังไงกับการอ่าน....เขียน....ใน GotoKnow แต่เชื่อว่า ที่เราคงเห็นเหมือนกันแน่ๆคือ...อิ่มค่ะ แล้วแต่ใครจะอิ่มอะไร...เท่านั้นแหละ

จากประสบการณ์ส่วนนี้  ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ระบบ Blog สามารถ ย่นระยะเวลาในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ได้อย่างเหลือเชื่อ  จากเดิมที่อาจใช้เวลาเป็นปีๆในการศึกษาคนสัก 1 คน  เพราะต้องอยู่ในภาวะ "รู้หน้า ไม่รู้ใจ" อยู่นาน กว่าจะเกิดความคุ้นเคย ความมั่นใจ และความไว้วางใจให้กัน   แต่ระบบ Blog ที่ GotoKnow ทำให้เกิดการ "รู้ใจโดยไม่พบหน้า" ด้วยการสื่อสาร ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ ของแต่ละคน ผ่านบันทึก โดยมีการเปิดเผยตัวตนเป็นหลักประกันว่าข้อมูลที่นำเสนอส่วนมากเชื่อถือได้  จิตวิญญาณ หรือ สำนึกร่วม ของผู้คนก็ค่อยๆเชื่อมโยง สอดประสานได้อย่างลงตัว  เครือข่ายของกัลยาณมิตรที่แท้จึงก่อเกิด และเมื่อได้มีโอกาสพบหน้าและพูดคุยกัน แม้เพียงเวลาสั้นๆ  ความใกล้ชิด สนิทสนมจึงเกิดขึ้นได้เร็วอย่างเหลือเชื่อ  คำว่า "พี่" และ "น้อง" ได้ถูกนำมาใช้แทนคำหน้านามเดิมๆโดยอัตโนมัติ  ซึ่งเป็นการลดช่องว่างที่เคยมี  ก่อให้เกิดการสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันได้มากและ เนียน ยิ่งขึ้นกว่าเดิม  คำว่า "พี่" และ "น้อง" มี พลังอำนาจ ที่นุ่มนวล เกินกว่าจะใช้คำพูดใดๆมาบรรยาย  ผมรู้สึกเช่นนั้นจริงๆครับ .

ต้องเข้าใจค่ะ คนเรารู้มากกว่าพูดและคนเราก็พูดมากกว่าเขียน ค่ะ

ทำระบบให้น่าใช้ให้ผนวกเนียนเข้ากับการทำงานในชีวิตประจำวัน ให้คนได้มีสถานที่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ใช้ง่าย รวดเร็ว และสะดวก ให้มีการ personalization สามารถตกแต่งสีสรรระบบได้เอง ได้สังสรรค์งานศิลป์ของตนทั้งรูปแบบเว็บและความรู้ที่เขียน

และผู้นำองค์กรต้องมาเขียนเป็นตัวอย่าง ตามต่อด้วยหัวหน้างาน และ คุณกิจคนเก่ง และให้รางวัลกระตุ้น และ ให้การยกย่องชื่นชมค่ะ

ปล่อยให้เรื่องระบบเป็นหน้าที่ของดิฉันและอ.ธวัชชัยในช่วงนี้ ส่วนเรื่องอื่นๆ องค์กรคงต้องกระตุ้นกันเองนะค่ะ สคส. ได้หว่านต้นกล้าไว้มากมายและเริ่มเห็นผลขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ ดิฉันว่า บางทีแล้ว เรามาลืมคำว่า การจัดการความรู้ เสียดีกว่า แล้วหันมาใช้คำว่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ น่าจะช่วยลดความกลัวของคนในองค์กรได้เยอะนะค่ะ

ความคิดที่ได้จากบันทึกต่อเนื่อง 2 ชิ้นหลังนี้ก็คือ จะต้องเขียนอีกบันทึก ให้ออกมาเป็นขั้นตอนที่ทำงานจริงๆ และมีภาพประกอบ ซึ่งก็จะเป็นบันทึกที่สื่อสารอะไรอีกแบบ ในขณะที่ทั้ง 2 ชิ้นแรกนั้น เขียนเพื่อปลดปล่อยความเหน็ดเหนื่อยของตัวเอง ต้องขอบคุณ GotoKnow ที่ทำให้เรามีที่เก็บขุมทรัพย์ทางความคิดของเรา และยังเผยแพร่ให้เราได้พบกัลยาณมิตรที่ไม่ได้คาดหมาย ได้พบทางแก้ไขปัญหา ได้ต่อยอดความคิด ได้ฯลฯ

ความรู้สึกดีๆที่ได้รับกลับมานั้น เกินกว่าจะบรรยาย ขอบอกว่าท่านที่ยังเป็นเพียงคนอ่าน ลองลงมือเขียนดูสิคะ เขียนติดต่อกัน เล่าความคิดตัวเองจากการทำงานแต่ละวัน เล่าเรื่องงานที่ตัวเองท

หมายเลขบันทึก: 87942เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2007 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

แล้วต่อด้วยสิ่งที่อ่านจากท่านอื่นๆแล้วประทับใจ แต่ไปๆมาก็หลงไปหลงมา จนหาที่เริ่มไม่เจอค่ะ แต่อ่านซ้ำอีกรอบก็จำได้ว่า มีของอ.  Beeman, คุณศิริ, คุณเมตตา, คุณ Handy และอ.จันทวรรณ

อ่านอีกทีเหมือนเรื่องเดียวกันเลยนะคะ ไปๆมาๆพวกเราสำนวนเข้าพวกเดียวกันไปหมดได้เสียด้วย

ได้ทดสอบด้วยว่าใน 1 บันทึกจะใส่ข้อความได้ยาวที่สุดสักเท่าไหร่ ที่เกินมานี่ใส่ไปในบันทึกไม่ได้ค่ะ

สงสัยจังว่ามีใครอ่านไม่จบ ยอมแพ้ไปก่อนหรือเปล่าหนอ ยาวมากทีเดียว ขอบคุณเจ้าของข้อความทุกท่านนะคะ ประทับใจมาก (รวมทั้งของตัวเองด้วย ให้เขียนใหม่ก็คงได้อีกแบบ ไม่เหมือนเดิมแล้ว) 

  • สวัสดีครับพี่โอ๋
  • ผมนับให้แล้วครับ จากบทความพี่ทั้งหมด
  • จำนวน 6 หน้า
  • 3,312 คำ
  • 13,641 ตัวอักษร รวมช่องว่างครับ
  • สำหรับตัวบทความผมยังไม่เคยทดสอบยาวแบบนี้เหมือนของพี่ครับ น่าสนใจครับ เคยตั้งคำถามเหมือนกันครับ
  • ผมเคยตั้งคำถามไปถึงขั้นที่ว่า หากฐานข้อมูลของ gotoknow พังจะเกิดอะไรขึ้น แต่ผมเชื่อว่ากรณีนี้คงไม่เกิดขึ้นครับ คงจะมีระบบป้องกันสำรองข้อมูลที่ดีอยู่แล้วครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีค่ะ คุณโอ๋
  • แม้จะใช้เวลาอ่านค่อนข้างมากสำหรับบันทึกนี้ แต่คุ้มค่าที่ได้อ่านค่ะ
  • ขอปรบมือดังๆ ให้กับคุณโอ๋นะคะ
  • และขอให้กำลังใจคุณโอ๋ ได้สร้างสรรค์ต่อไปนะคะ
  • นอนหลับฝันดีค่ะ

สวัสดีค่ะคุณโอ๋..

  • โอยๆ  อ่านจนอิ่มเลยค่ะ..จะกินข้าวเช้าได้ไหมนี่
  • ยอดเยี่ยมจริงๆค่ะ..ยกนิ้วให้เลยค่ะ
  • ถูกต้อง..ใช่เลย...โป๊ะเชะ
  • เขียนอีก..ครูอ้อยจะอ่านอีกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เห็นด้วยครับ...

มันเป็นความผูกพันที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว วันไหนถ้าไม่ได้เข้ามาเหมือนมันขาดอะไรไปสักอย่างครับ...

ที่นี่...ทำให้ผมกลับบ้านไวขึ้นด้วยครับ...

ขอบคุณครับ...

ชอบความคิดรวบยอดและการเขียนที่น่าประทับใจของพี่สาวคนโตของผมคนนี้เสมอครับ

เห็นด้วยครับ ความรู้ในที่นี้ มีมากมาย ไม่ต้องซื้อหา เสียเงินเสียทอง

     เอ๊ะ มีของเราอยู่ในนั้นด้วย .. ดีใจจัง .. ไม่บอกก็ได้ว่า .. คือท่อนที่จบด้วย ..
      คำว่า "พี่" และ "น้อง" มี พลังอำนาจ ที่นุ่มนวล เกินกว่าจะใช้คำพูดใดๆมาบรรยาย  ผมรู้สึกเช่นนั้นจริงๆครับ. 
     

คุณโอ๋ ครับ

  • ต้องบันทึกไว้หรือเปล่าครับ ว่าเป็นบันทึกที่ยาววววว ที่สุด
  • ผมใช้เวลาอ่าน ๑ วันครับ เช้าอ่านแล้วไม่จบ ต้องมาอ่านต่อตอนเย็น
  • จุใจดีครับ
  • เพราะเป็นบันทึก เราจึงกลับมาทบทวนได้ ว่าเดิมเราเคยคิดอย่างไร  มองเห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวเอง

คุณ P เม้งคะ ทำไมจำนวนมันไม่เน็ตๆเลยนะคะทั้งจำนวนคำและบันทึก เลยเดายากว่า maximum limit มันอยู่ตรงไหน คุณเม้งเขียนเก่งๆลองสักบันทึกสิคะว่ายาวที่สุดได้เท่าไหร่ ขอบคุณมากๆค่ะที่อุตส่าห์เอาไปนับให้ ที่จริงเขียนข้อความก่อนที่จะเอามาแปะ แล้วใส่ได้ไม่หมด เลยเอาข้อความมาต่อท้าย สุดท้ายโดนตัดไป โดยไม่ได้ copy เอาไว้ ความจริง version แรกที่เขียน สื่อสารได้ดีกว่าในส่วนที่เอามาใส่ในความเห็นมากเลยค่ะ แต่อย่างที่บอกว่า ส่วนมากอะไรที่ดีๆก็เขียนได้ครั้งเดียว พอให้เริ่มใหม่ก็แค่คล้ายแต่ไม่ดีเท่าครั้งแรกค่ะ

สำหรับฐานข้อมูล ทราบจากอ.ธวัชชัยว่าไม่ต้องกลัวค่ะ ระบบแบ็คอัพดีมากๆถึง 2-3 ชั้น ท่านเปรียบเทียบว่าแม้ระเบิดลงข้อมูลก็น่าจะยังอยู่เลยค่ะ (นี่เป็นข้อมูลที่เราเพิ่งคุยกันในสัมมนาภาครังสีฯ มาน่ะค่ะ เพราะเป็นคำถามที่อ.หมอสมชายถามเหมือนกันค่ะ คงมีคนสงสัยหลายๆคน)

ตอบได้คนเดียวก็จะต้องจรลีไปทำอย่างอื่นแล้ว ค่อยเข้ามาคุยกับท่านอื่นๆต่อใหม่นะคะ ขอบคุณทุกๆท่านที่อ่านมาจนถึงลงความเห็นได้นี่แหละนะคะ เยี่ยมจริงๆ ยกนิ้มให้ตัวเองด้วยนะคะ

โอ๋จ๊ะ

หมอจำได้ว่า เราคุยกันว่าจะมีเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ blog ของโอ๋ ในหนังสือด้วยไช่เปล่า (มาทวงการบ้านนะ)

เห็นด้วยทุกข้อเลยค่ะ..และที่สำคัญ สำหรับตนเองแล้วเห็นว่า

การเขียนบล็อค..เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกภายในที่ยากที่จะสื่อสารกับใครได้(เนื่องจากเราไม่รู้ว่า..เค้าจะเข้าใจ หรือคอเดียวกับเราหรือเปล่านั่นเอง) เป็นเหมือนการเล่าความรู้สึก นึกคิดของเรา..อย่างมีสติ เพราะต้องกลั่นกรอง คิดในทุกๆด้าน เผื่อกระทบกับคนอื่น..ซึ่งในชีวิตจริงเป็นการยากมากที่เราจะมีโอกาสได้แสดงความรู้สึกนึกคิด..ให้กับใครต่อใครได้รับรู้...และที่ดีมากๆก็คือ..การได้เพื่อนที่คอเดียวกัน รู้สึกนึกคิดคล้ายๆกัน..ซึ่งหาได้ค่อนข้างยากในชีวิตจริง..เนื่องจากคงต้องใช้เวลาในการคุ้นเคยก่อนนั่นเอง..

อ่านแล้วได้กลับมาคิด..ได้รู้ในมุมมองอื่นๆ..

ขอบคุณมากค่ะ

blog G2K นี่ถือเป็นกระเป๋าโดเรมอนของ KM เลยค่ะ ... แบบว่า หาเรื่อง KM ทุกอย่างได้หมดเลย
  • พี่โอ๋ครับ ผมไปพิสูจน์ให้อีกรอบแล้วนะครับ คือ ตามนี้ครับ http://gotoknow.org/blog/mrschuai/88168 
  • ตามไปพิสูจน์กันดูนะครับ ลองทำซ้ำด้วยก็ได้ครับ เพื่อยืนยันครับ
  • ขอบคุณมากครับ
เป็นบันทึกที่ยาวจริง ๆ ขอบอก แต่ก็อ่านจนจบ ดีใจเหมือนกันค่ะ ..ที่มีบันทึกของตัวเองร่วมอยู่ด้วย ---

น้องโอ๋คะ

  • พี่อ่านบันทึกที่แสนยาววววด้วยความสนุกและตื่นเต้นเพราะเป็นมือใหม่ท่องบล็อกมา3-4วันแล้ว เพิ่งเคยอ่านบันทึกที่ยาวววและได้สาระความรู้มากมายเช่นนี้
  • จากนั้นก็ Add to Favorites..ไว้เลย
  • สงสัยบันทึกนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้มีคนติดบล็อกอีกมากมาย ตอนนี้คุยskypeกับลูกที่อยู่ต่างประเทศลูกๆถามทำไมแม่จ๋าคุยๆ หายๆ (ลูกไม่รู้หรอกว่าเดี๋ยวนี้แม่จ๋าติดบล็อกไปแล้วมัวแต่อ่านบล็อกอยู่)
  • พี่ต้องขออนุญาตนำไปเผยแพร่เพื่อหว่านล้อมให้มีเหยื่อมาติดบล็อกต่อไปอีกนะคะ

เข้ามาเยี่ยมค่ะ   ต้องขอชมว่าสรุปได้ดีมากและคงมีอีกหลายข้อที่หมอกำลังจะเล่าบ้างค่ะ

มาอ่านค่ะ งง ตัวเองว่าหลุดบันทึกบล็อกเกอร์ในใจไปหนึ่งบันทึกได้ไง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท