ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ 5 (ระยะที่ 2)


สวัสดีครับ

ขอต้อนรับสู่บล๊อกผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ 5 (ระยะที่ 2)

ติดตามกิจกรรมที่ผ่านมาได้ที่

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/372489

                                                           ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

 

หมายเลขบันทึก: 382550เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2010 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (104)
อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์ ผนส.5

เรียนอาจารย์จีระ...

ขอบคุณอาจารย์...ที่ทำทางลัดให้กับพวกเราเสมอ ทำให้พวกเราสะดวกขึ้นในการนำเสนอข้อมูลผ่านทางบบล๊อคของอาจารย์ ดีใจนะครับที่อาทิตย์นี้อาจารย์เสียสละเวลาเข้ามาให้ความรู้ ด้วยความใส่ใจอย่างยิ่ง

อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์ ผนส.5

การบรรยายเรื่อง การสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2553

  • ผู้นำกับผู้บริหารเป็นคนละคน
  • องค์กรที่ผิดพลาดเป็นเพราะบริหารมากแต่นำน้อย
  • ผู้นำสหกรณ์ต้องมองไกล พาองค์กรเป็นเลิศ
  • ผู้นำที่ดีต้องฝึกผู้ตามด้วย
  • อย่าสร้างระบบอุปถัมภ์มากเกินไปในสหกรณ์
  • ผู้นำต้องมีจริยธรรมด้วย
  • ผู้นำต้องเป็นคนที่มีบารมีและเสน่ห์ทำให้คนอยากทำงานด้วย
  • ผู้นำที่ดีจะเกิดจากสถานการณ์ แอ่นอกรับสถานการณ์ ไม่ใช่หลบหนีเมื่อมีปัญหา
  • สหกรณ์ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว มีอะไรที่แหวกแนว
  • ผู้นำต้องบริหารคน แต่ให้นักบริหารบริหารระบบและเงิน
  • ผู้นำอยู่ที่ศรัทธาด้วย ต้องได้รับการยอมรับจากลูกน้องและเพื่อนร่วมงานอย่างจริงใจ
  • ประเทศไทยต้องการแผน 20 ปี แต่นักการเมืองมองแค่ปีเดียว
  • สหกรณ์ต้องมองระยะยาว
  • ผู้นำที่ดีต้องถามว่า ทำไมต้องทำ และต้องทำให้สำเร็จ
  • ในการทำนวัตกรรม ต้องมีความคิดใหม่ๆเสมอ คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ ใช้ความรู้ตลอดเวลา เปลี่ยนความคิดให้เป็นโครงการใหม่ๆตลอดเวลา
  • ขอให้เอาจริงนวัตกรรมและมีเป้าหมายไปสู่รุ่นลูกหลาน
  • ควรนำสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่เอาเปรียบสหกรณ์ออกไป
  • ผู้นำที่ดีต้องมองภาพใหญ่ ต้องใฝ่รู้
  • ผู้นำที่ดีต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคนในองค์กร  กระตุ้นให้ลูกน้องมีส่วนร่วม ไม่สั่งการอย่างเดียว
  • ผู้นำที่ดีต้องอาศัยการฝึกฝน
  • Jack Welch บอกว่า ผู้นำต้องกระตุ้นให้คนอื่นมีพลัง และตัดสินใจเร็ว ต้องมีความคิดแปลกใหม่สร้างสรรค์
  • ผู้นำที่ดีอย่ารอการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่ออนาคต
  • ผู้นำที่ดีต้องแก้ปัญหาความขัดแย้ง
  • ผู้นำที่ดีต้องสร้างโอกาสใหม่ๆให้ลูกน้องเสมอ
  • ผู้นำต้องทำงานด้วยจังหวะและความเร็วที่เหมาะสม
  • ผู้นำต้องทำงานเป็นทีม
  • ผู้นำที่ดีต้องกระจายอำนาจ
  • ผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
  • ผู้นำที่ดีต้องรู้จักควบคุมอารมณ์
  • ผู้นำที่ดีต้องให้ลูกน้องมีประสบการณ์
  • ต้องมี KPI ผู้นำต้องมีการให้รางวัล

บทความเนลสัน แมนเดลลาอยู่ในลิ้งค์นี้

http://www.naewna.com/news.asp?ID=114112

Workshop

1.   คัดเลือกผู้นำระดับโลก 2 คน ประเทศ 2 คน เสนอว่า มีคุณลักษณะเหมาะสมกับขบวนการสหกรณ์อย่างไร 3 เรื่อง

2.   ถ้าจะพัฒนาผู้นำในสหกรณ์อย่างจริงจัง มียุทธวิธีอย่างไร

3.   หลักสูตรนี้ ทำให้มีภาวะผู้นำ 2 เรื่อง คืออะไร จึงประสบความสำเร็จ

 

กลุ่ม 1

1.คัดเลือกผู้นำระดับโลก 2 คน ประเทศ 2 คน เสนอว่า มีคุณลักษณะเหมาะสมกับขบวนการสหกรณ์อย่างไร 3 เรื่อง

  • มหาตมะคานธีเป็นแบบอย่างความอุตสาหะ ทำเองในสิ่งที่ทำได้ ท่านมีคุณธรรม
  • เติ้งเสี่ยวผิงผสมคอมมิวนิสต์กับประชาธิปไตย
  • ในหลวง เป็นผู้นำสหกรณ์ดีเด่น สอนคนให้รู้จักทำมาหากิน
  • พลเอกเปรม เป็นผู้นำที่ยาวนาน แก้ระบบต่างๆ

2.ถ้าจะพัฒนาผู้นำในสหกรณ์อย่างจริงจัง มียุทธวิธีอย่างไร

  • ส่งเสริมคนดีให้มาทำงาน
  • มีคนมีความคิดนอกกรอบ คิดอะไรใหม่ๆ
  • มองท้องถิ่นก่อนจะทำอะไร

3.หลักสูตรนี้ ทำให้มีภาวะผู้นำ 2 เรื่อง คืออะไร จึงประสบความสำเร็จ

  • ผู้นำที่ดีต้องคิดนอกกรอบ
  • มีความมั่นใจในตัวเอง

ดร.จีระ

  • ได้ 8 จาก 10 คะแนน
  • ควรเน้นว่าแต่ละผู้นำเกี่ยวข้องกับสหกรณ์อย่างไร
  • ผู้นำยิ่งใหญ่ต้อง back to basic
  • บรรยากาศการเรียนทำให้เปิดกว้าง
  • ข้อ 2 ตอบกว้างเกินไป กลับไปต้องพัฒนาลูกน้องและสมาชิก
  • ควรต่อรองกับรัฐบาลเรื่องเงิน
  • ข้อ 3 ตอบได้ดี

กลุ่ม 2

1.คัดเลือกผู้นำระดับโลก 2 คน ประเทศ 2 คน เสนอว่า มีคุณลักษณะเหมาะสมกับขบวนการสหกรณ์อย่างไร 3 เรื่อง

  • น.พ.ประเวศ เป็นตัวแทนราษฎรเป็นผู้นำทางความคิด มีประโยชน์ต่อขบวนการสหกรณ์
  • โสภณ สุภาพงษ์ พูดความจริง ทำให้คิดได้ว่า สหกรณ์ต้องอยู่กับความจริง
  • เนลสัน แมนเดลล่า วิสัยทัศน์กว้างไกล มุ่งมั่น อดทน สหกรณ์ต้องบรรลุเป้า
  • โอบามา วิสัยทัศน์ชัดเจน สั้นๆง่ายๆ สหกรณ์ต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และสำคัญ

2.ถ้าจะพัฒนาผู้นำในสหกรณ์อย่างจริงจัง มียุทธวิธีอย่างไร

  • ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • สร้างผู้นำให้ได้
  • มีความชัดเจนระหว่างผู้บริหารและผู้นำใช้ทฤษฎีต่างๆที่เรียนมา

3. หลักสูตรนี้ ทำให้มีภาวะผู้นำ 2 เรื่อง คืออะไร จึงประสบความสำเร็จ

  • จุดประกายให้เกิดความใฝ่ฝันในทีมงาน เครือข่าย
  • เน้นความสามารถในการสื่อสารและถ่ายทอดให้คนที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์

ดร.จีระ

  • น.พ.ประเวศเป็นผู้นำความคิด เห็นด้วย
  • พูดถึงโอบามาได้ดี แต่เปลี่ยนแปลงลำบาก
  • ควรนำส่วนดีของแต่ละคนมาใช้
  • สหกรณ์ยังคิดไม่ลึก
  • ข้อ 2 ตอบเอาใจผมมากไปหน่อย แต่ขอให้ทำจริง
  • ข้อ 3 ตอบยังไม่ดี

กลุ่ม 3

1.คัดเลือกผู้นำระดับโลก 2 คน ประเทศ 2 คน เสนอว่า มีคุณลักษณะเหมาะสมกับขบวนการสหกรณ์อย่างไร 3 เรื่อง

  • เหมาเจ๋อตุง ให้ประชาชนช่วยทำงาน เน้นเสมอภาค
  • มหาตมะคานธี พึ่งพาตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น สามัคคี เศรษฐกิจพอเพียง
  • ในหลวง ศึกษารู้จริง ถ่ายทอดได้ ทำให้ประชาชนศรัทธา เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
  • พุทธทาส พัฒนาคน อยู่บนหลักความจริง มีจริยธรรม

2. ถ้าจะพัฒนาผู้นำในสหกรณ์อย่างจริงจัง มียุทธวิธีอย่างไร

  • ให้บุคลากรได้เรียนรู้ มี blog

3. หลักสูตรนี้ ทำให้มีภาวะผู้นำ 2 เรื่อง คืออะไร จึงประสบความสำเร็จ

  • มีวิสัยทัศน์
  • พัฒนาความรู้คู่คุณธรรม

ดร.จีระ

  • เลือกคนนำเสนอได้ดี แบ่งประเภทผู้นำได้ดี
  • อุดมการณ์สหกรณ์สำคัญที่สุด

กลุ่ม 4

1.คัดเลือกผู้นำระดับโลก 2 คน ประเทศ 2 คน เสนอว่า มีคุณลักษณะเหมาะสมกับขบวนการสหกรณ์อย่างไร 3 เรื่อง

  • ลีกวนยู สร้างความเจริญให้สิงคโปร์มาก มีวิสัยทัศน์และซื่อสัตย์ สำคัญต่อสหกรณ์
  • โฮจิมินห์ มีจิตวิทยา วางแผนการใช้ทรัพยากรเหมาะสม ทำให้มองว่า สหกรณ์ต้องปรับตัวให้แข่งขันได้
  • พุทธทาส มีศรัทธาและเผยแผ่ศาสนาพุทธ ทำให้คนทำตามได้
  • อานันท์ ปันยารชุน โปร่งใส ตรวจสอบได้  สหกรณ์ต้องมีธรรมาภิบาลแล้วจะพัฒนาไปได้
  • เหมาะสมกับขบวนการสหกรณ์คือ มีวิสัยทัศน์ สร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาและมีธรรมาภิบาล

2. ถ้าจะพัฒนาผู้นำในสหกรณ์อย่างจริงจัง มียุทธวิธีอย่างไร

5 E

  • เป็นตัวอย่างที่ดี
  • มีการจดบันทึกไว้
  • ใฝ่รู้
  • สร้างบรรยากาศการเรียนรู้
  • ประเมินผล

3.หลักสูตรนี้ ทำให้มีภาวะผู้นำ 2 เรื่อง คืออะไร จึงประสบความสำเร็จ

  • การใฝ่รู้
  • ทัศนคติเชิงบวก สร้างมูลค่าเพิ่ม
  • คุณธรรม
  • การสื่อสาร

ดร.จีระ

  • รุ่น 5 ควรเสนอโครงการไปยังรัฐบาล
  • ครั้งต่อไปควรเชิญเลขาธิการสภาพัฒน์มาพูด
  • ควรทำวิจัยเกี่ยวกับอนาคตสหกรณ์ใน 10 ปีข้างหน้าและผลักดันให้เข้าสู่แผนพัฒนาที่ 11
  • ควรสร้างเครือข่าย
  • เลือกผู้นำได้ดี
  • ข้อ 2 ลอกผมไปหน่อย
  • ควรทำวิจัยผู้นำที่พึงปรารถนาในวงการสหกรณ์

กลุ่ม 5

1.คัดเลือกผู้นำระดับโลก 2 คน ประเทศ 2 คน เสนอว่า มีคุณลักษณะเหมาะสมกับขบวนการสหกรณ์อย่างไร 3 เรื่อง

  • โอบามา เปลี่ยนแปลง เจรจากับโลกมุสลิม
  • เติ้งเสี่ยวผิง เปลี่ยนผ่าน ยอมเปิด
  • ธนินท์ เจียรวนนท์ คิดนอกกรอบ มีนวัตกรรม เข้าใจผู้บริโภค สหกรณ์ต้องหาข้อมูลและทำวิจัย
  • ดร.ปุระชัย ซื่อสัตย์และเป็นที่ยอมรับ

2.ถ้าจะพัฒนาผู้นำในสหกรณ์อย่างจริงจัง มียุทธวิธีอย่างไร

  • พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3.หลักสูตรนี้ ทำให้มีภาวะผู้นำ 2 เรื่อง คืออะไร จึงประสบความสำเร็จ

  • คุณธรรม ผู้นำต้องเป็นตัวอย่าง
  • มีวิสัยทัศน์
  • กล้าตัดสินใจ

ดร.จีระ

  • แนวถูก แต่ต้องปลูกฝังให้กระจายไปทุกจุด
  • ควรเขียนบทความแนวนี้
  • สันนิบาตสหกรณ์ต้องเป็น lobbyist ดึงเงินมาจากรัฐบาล

รุ่งโรจน์

  • ประทับใจการสร้างผู้นำที่มีคุณค่า เราจะนำไปสื่อสารต่อใช้ 3 ศ
  • มีศาสตร์องค์ความรู้ใหม่
  • ศิลปะสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ
  • ศีลธรรม ทำให้เกิดความศรัทธาจากสมาชิก
  • ได้ความรู้จากการวิเคราะห์ผู้นำต่างชาติมาก

คุณเอ๋เก่งจริงๆ/ สรุปการบรรยาย การถาม-ตอบ / ฯลฯ ได้เยี่ยมมาก

ชื่นชมจากใจจริงเลยค่ะ

ศิริวรรณ

ขอบพระคุณ อาจารย์จีระฯมากครับที่เพิ่มช่องทาง พวกเรา ผนส.5 ทุกๆท่าน ขอเชิญเข้ามาใช้บล๊อกระยะที่ 2 เพื่อการสื่อสารของรุ่นได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปครับ

  ศิริชัย ออสุวรรณ ผนส.5

วันที่ 8 สิงหาคม 2553

การศึกษาดูงาน ณ สหกรณ์การเกษตรโรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย จำกัด

บรรยายสรุปโดย นายพันศักดิ์  ใจใหญ่ ประธานสหกรณ์การเกษตรโรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย จำกัด

  • เริ่มจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเครื่องสีข้าวพระราชทานแล้วได้เสด็จพร้อมกับ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเปิดโรงสี
  • ในด้านการบริหารโรงสี ก็ได้มีการดำเนินการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรทำไร่อ่าวน้อยมาเพื่อบริหารกิจการ
  • ได้จดทะเบียนสหกรณ์ในปี 2548
  • สหกรณ์ขาดทุนเรื่อยมาเนื่องจากงบประมาณ และดอกเบี้ยธนาคารมาก
  • สหกรณ์ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่บริโภคข้าวของสหกรณ์ เมื่อได้ผลก็นำกลับไปหารือเพื่อเปลี่ยนวิธีขายและจะเร่งการผลิต

บรรยายสรุปโดย รองประธานสหกรณ์การเกษตรโรงสีข้าวพระราชทานอ่าวน้อย จำกัด

  • ตอนแรก สหกรณ์มีทุนดำเนินงาน 8 แสนบาทใช้สร้างโรงเรือน
  • พื้นที่เหมาะสำหรับปลูกสับปะรดไม่ใช่ทำนา แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดจะให้ทำนา จึงสร้างเขื่อนมูลค่า 50 ล้านบาท และมีพื้นที่ทำนาพอประมาณ
  • เดิมสหกรณ์มีสมาชิก 1,700 คน
  • ปัญหาคือ สมาชิกไม่มาซื้อข้าวสหกรณ์ แต่ไปซื้อกับพ่อค้าแทน กรรมการจึงพยายามสื่อสารกับสมาชิกว่าสหกรณ์เป็นของสมาชิกขอให้มาใช้บริการ แต่ก็มีส่วนหนึ่งมาใช้บริการ นอกจากนี้สมาชิกยังไม่เข้าใจวิธีการสหกรณ์มากนัก
  • ปัจจุบันได้ส่งข้าวสหกรณ์ไปขายในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี
  • สหกรณ์ก็ได้มีการประชุมเครือข่ายโครงการพระราชดำริ
  • ธุรกิจที่สหสกรณ์ทำได้แก่ การขายข้าว ขายน้ำมัน ขายปุ๋ยน้ำชีวภาพและปุ๋ยอินทรีย์ แต่สมาชิกชอบใช้สารเคมี
  • รองประธานได้ไปเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมของสันนิบาตสหกรณ์ตลอดมา
  • สหกรณ์ไม่เพิ่มจำนวนพนักงานเพราะคำนึงถึงหลักสันนิบาตสหกรณ์ที่มีหัวใจคือควมประหยัด ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

ผลการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

  • สหกรณ์ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีกำไร 20% ภายใน 10 ปี
  • สหกรณ์รวบรวมข้าวได้ 100 กว่าตัน ปลูกข้าวน้อย
  • ขายข้าวสารได้กิโลกรัมละ 25 บาท
  • ขายรำได้กิโลกรัมละ 10 บาท
  • ขายปลายข้าวกิโลกรัมละ14 บาท
  • มีการแปรรูปข้าวได้ 100กว่าตัน
  • ตอนนี้ สหกรณ์กำลังมองธุรกิจจัดหา
  • ปล่อยดอกเบี้ยเป็นสิ่งของไม่ใช่เงิน
  • สมาชิกส่วนหนึ่งเป็นลูกค้าธกส.
  • สหกรณ์นำสินค้าไปขายในโครงการพระราชดำริ 7 โครงการ
  • สหกรณ์ซื้อวัตถุดิบจากสหกรณ์ใกล้ๆและมีการเชื่อมโยงธุรกิจกัน
  • บางครั้งสหกรณ์ซื้อข้าวสารมาขายเลยแต่กำไรน้อย
  • สหกรณ์มีเงินสำรองน้อย ต้องระดมทุนจากสมาชิกก่อน
  • สหกรณ์คืนเงินปันผลไม่ได้ มีการขาดทุนสะสม 4 ล้านบาท ปีนี้มีการขาดทุน 9 แสนกว่าบาท
  • การขาดทุนมีสาเหตุมาจาก การแปรรูปน้อย การคิดค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่าย มีค่าเสื่อมราคาระหว่างปี 7 แสนกว่าบาท คาดว่าปีหน้าจะได้กำไรเพราะตัดค่าเสื่อมราคาออกแล้ว
  • สมาชิกซื้อน้ำมัน 326 ราย มีหลายอาชีพ
  • สหกรณ์ทำการเชื่อมโยงสมาชิกโดยประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน
  • ตอนนี้สหกรณ์มีการประชุมตอนเย็นกับสมาชิก 7 หมู่
  • ตอนนี้มีการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์ข้าว โดยจะเน้นว่าเป็นข้าวชนิด 100%  และจะส่งขายไปที่สหกรณ์อื่นๆ ส่วนราชการและร้านหมู่บ้าน
  • สหกรณ์มีทุนหลัก เป็นหนี้ธ.ก.ส. 4.4 ล้านบาท ดอกเบี้ย 6.5%
  • สหกรณ์มีทุน 1,100,000 บาท
  • มีเงินฝากสมาชิก 3 แสนบาท ได้ดอกเบี้ย 3.50 บาท
  • ทางสหกรณ์ได้ชี้แจงสมาชิกว่า สหกรณ์ขาดทุนแต่ไม่เจ๊งเพราะเน้นประหยัด
  • ทรัพย์สินของสหกรณ์มีทุนหุ้น โรงสี รถยนต์ แต่ไม่มีที่ดิน

วันที่ 8 สิงหาคม 2553

การศึกษาดูงาน ณ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านแสงอรุณ จำกัด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การนำเสนอวีดิทัศน์

  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านแสงอรุณ จำกัด เกิดจากปัญหาความยากจน จึงรวมกลุ่มชาวบ้านเพื่อนำมาเงินมาสะสมและบริหารเงินโดยชาวบ้าน
  • วัดไร่ในเคยขอความร่วมมือจากสหกรณ์
  • สหกรณ์ได้สนับสนุนอุปกรณ์สาธารณสุข
  • โรงเรียนอรุณวิทยาเคยช่วยสหกรณ์ ตอนนี้สหกรณ์ก็กลับมาช่วยโรงเรียนแล้ว

บรรยายสรุปโดย คุณเพ็ญสิริ จันทนะโสตถิ์ ผู้จัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านแสงอรุณ จำกัด

  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านแสงอรุณก่อตั้งในชุมชนคาทอลิกและเปิดทำการทุกวัน
  • ปี 2522 ได้ทำการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์
  • ปี 2524 สหกรณ์ได้สร้างสำนักงานหลังแรก
  • ปี 2550 ได้ทำการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านแสงอรุณใช้พื้นที่บริการเป็นวงสัมพันธ์ ซึ่งต่างจากสหกรณ์ออมทรัพย์
  • แต่ละกลุ่มมีสมาชิก 50-300 คน โดยสมาชิกเลือกผู้นำกลุ่ม
  • ในการที่สหกรณ์จะรับสมาชิก หัวหน้ากลุ่มต้องรับรองสมาชิกและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกแก่สหกรณ์ พร้อมทั้งดูหลักทรัพย์
  • 90% ของสมาชิกปลูกมะพร้าว แต่ปลูกสับปะรดมากในห้วยทราย ในพื้นที่ทางด้านตะวันออกทำอาชีพประมงและรับจ้าง
  • มีสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์กอยู่ใกล้เคียงและเป็นสมาชิกด้วย
  • สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ครึ่งหนึ่ง โดยกู้ตามเงินออมที่สมาชิกมี
  • สหกรณ์คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงแต่จ่ายเงินปันผลน้อย
  • สหกรณ์ได้ทำการสำรวจแล้วพบว่า สมาชิกแทบจะทุกคนมีการกู้ฉุกเฉินและกู้ไปประกอบอาชีพ เมื่อดูตามมูลค่าการกู้พบว่า สมาชิกกู้เงินไปประกอบอาชีพเป็นมูลค่ามากที่สุด รองลงมาเป็นการนำไปปลดเปลื้องหนี้สิน
  • สมาชิกมีหนี้คั่งค้างประมาณ 30% กว่า
  • ปีนี้มีการกู้เพิ่มขึ้นและออมน้อยลงเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ ภัยแล้ง พืชผลเสียหาย
  • สหกรณ์จะดูประวัติการชำระนี้คืนครั้งที่แล้วของสมาชิกเพื่อพิจารณาปล่อยกู้
  • สมาชิกต้องได้รับการอบรมความรู้จากสหกรณ์และต้องสอบผ่านอย่างน้อย 16 จาก 20 ข้อ
  • ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สหกรณ์ก็ได้จัดอบรมกลุ่มสมาชิก ให้เจ้าหน้าที่ได้เรียนด้านเทคโนโลยีและมีหลักสูตรพัฒนาคณะกรรมการ
  • สหกรณ์ได้ร่วมประชุมเครือข่ายสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในจังหวัด
  • ได้เชื่อมโยงเครือข่ายข้าวกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนหนองสองห้องและสหกรณ์การเกษตรบางสะพานน้อย และส่งเสริมให้สมาชิกบริโภคข้าวสหกรณ์
  • สหกรณ์ได้ช่วยดูแลชุมชนเช่นสร้างป้อมตำรวจ
  • สหกรณ์ได้นำหลักสูตรสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเข้าไปสู่โรงเรียน
  • ได้ร่วมกับชมรมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนประจวบคีรีขันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านสหกรณ์ ทำงานอาสาและช่วยปิดบัญชีให้กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอื่นๆ
  • ได้ตั้ง Business Development Center

ช่วงถาม-ตอบ

ถาม ก่อนทำและหลังทำระบบ ISO 9000 รู้สึกอย่างไรบ้าง

ตอบ ตอนแรกไม่ทราบว่าจะทำไปทำไม รู้สึกยากและเจ้าหน้าที่ก็ใจฝ่อ แต่เจ้าน้าที่ก็ทำตามมติคณะกรรมการจึงจ้าง Consult มาช่วยและเขาก็ได้บอกถึงประโยชน์ ISO

เมื่อทำแล้วก็ไม่ยาก เพราะ ISO เขียนระบบไว้ ทำให้สบายใจเรื่องมาตรฐานและสมาชิกปลอดภัยมากขึ้น และทำให้สหกรณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ถาม มีสวัสดิการและหนี้สินเป็นอย่างไร เจ้าหน้าที่สหกรณ์เป็นคนในหรือนอกพื้นที่และทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่รักสหกรณ์

ตอบ สวัสดิการสก.1-2 คุ้มครองเงินหุ้น ช่วงอายุ 20-55 ปี เป็นเงิน 1 แสนบาทและจะทบให้อีก 100% แก่ทายาทเมื่อสมาชิกเสียชีวิต

เจ้าหน้าที่เป็นคนในพื้นที่ บ้านใกล้สหกรณ์ มีญาติพี่น้องเป็นกรรมการและมีส่วนร่วมในสหกรณ์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทำให้ซึมลึกรักกัน เอื้ออาทรต่อกัน

ปัญหาคือ ภัยแล้งและสมาชิกยังไม่รู้บทบาท ไม่ยอมชำระหนี้ ทางสหกรณ์ก็พยายามค้นหาว่าทำไมสมาชิกห่างเหินกัน ไม่ค่อยติดต่อและประชุมกลุ่มย่อยกับสหกรณ์

ถาม สหกรณ์มีปัญหาการมีส่วนร่วมของสมาชิกหรือไม่

ตอบ สมาชิกที่มีส่วนร่วมจาก 7,000 คน มี 80% สะสมหุ้น ที่ไม่สะสมหุ้นเพราะมีหนี้

มี 3 พันคนจาก 4 พันคนสะสมหุ้นอย่างเดียวโดยไม่กู้

บางคนมีหุ้นมาก ก็จะได้เงินปันผล แต่ก็ไม่กู้แม้จะให้ดอกเบี้ย 9% ก็ตาม

ถาม  ในการปล่อยกู้อสังหาริมทรัพย์ และที่ดินใช้ราคาจากที่ไหน

ตอบ ปล่อยกู้อสังหาริมทรัพย์ใช้ตามราคาธนาคาร ส่วนการประเมินราคาที่ดินใช้สำนักงานที่ดินจังหวัดเพราะได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่า โดยที่ดินติดถนนมีราคาไร่ละ 1 ล้านบาท

ถาม สหกรณ์มีวิธีการหาเงินฝากอย่างไร

ตอบ พอมีเงินมากแล้วปล่อยกู้ไม่ทัน สหกรณ์จึงมีภาระ ไม่ได้รณรงค์ให้ฝากมาก แต่เวลาออกพื้นที่ ก็บอกให้สมาชิกมาฝากเงินที่สหกรณืก่อนโดยไม่เน้นจำนวนเงิน

ถาม สวัสดิการเจ้าหน้าที่เป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ มีสวัสดิการเหมือนสมาชิกแต่มากกว่าเป็น 2 เท่า

มีสวัสดิการที่เพิ่มมาคือ รักษาพยาบาลได้ที่คลินิคตอนเย็นปีละ 1,000 บาทต่อคน

ชุดทำงานปีละ 1,500 บาทต่อคน

เจ้าหน้าที่ทำงานครบ 10 ปีได้รับทอง 1 บาท และจะได้รับเพิ่มตามจำนวนปีที่ทำงาน

บำเหน็จ คิดจาก เงินเดือนสุดท้ายxจำนวนปีที่ทำงาน โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นสมาชิกเกิน 5 ปี

วันที่ 9 สิงหาคม 2553

การศึกษาดูงาน ณ ชุมพรคาบาน่ารีสอร์ท จังหวัดชุมพร

บรรยายสรุปโดย คุณสุชาวลี วนิชาชีวะ ผู้เสียสละฝ่ายไปทั่ว ชุมพรคาบาน่ารีสอร์ท

  • คุณอัจฉรา รักพันธุ์บริหารชุมพรคาบาน่ารีสอร์ทแล้วต่อมา คุณวริสร ซึ่งเป็นบุตรได้มาบริหารต่อ โดยกู้เงินมาขยายโรงแรม มีโรงเรียนสอนดำน้ำและบริการครบวงจร
  • สถาบันการเงินที่ให้กู้ล้มก่อนโรงแรมเสร็จ จึงไปกู้นอกระบบ
  • เดิมมีพนักงานตำแหน่งต่างๆ ต่อมาพนักงานระดับสูงลาออกไปหมดแต่พนักงานระดับล่างอยู่เพราะคุณอัจฉรารักบุคลากรเหมือนลูกหลาน
  • เมื่อทำกิจการต่อไป ก็ประสบวิกฤติน้ำท่วม แต่โชคดีที่มีรถกองการส่วนพระองค์โดยมีท่านดิศธร วัชโรทัยทำโครงการพระราชดำริแก้มลิงแก้ปัยหาน้ำท่วม
  • ในปี 2542 ได้พบอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธรให้ความรู้เศรษฐกิจพอเพียงและได้แนะนำให้ทำทีละก้าว เปิดห้องกลัดกระดุม ติดกระดุมความคิดให้
  • พนักงานต้องทำกิจกรรมแต่ละวันได้แก่เคารพธงชาติ สวดมนต์ แผ่เมตตา นั่งสมาธิและเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
  • รีสอร์ทใช้พนักงานกลุ่มหัวไวใจสู้มาเป็นหัวขบวนและส่งเสริมให้เขาปฏิบัติ
  • รีสอร์ทเริ่มาจำลองว่าต้องกินและใช้อะไร รีสอร์ทมีนาข้าวเอง จึงช่วยชาวบ้านทำนาและแบ่งข้าวมากิน
  • มีการปลูกของกิน จัดสรรว่าบ้านใครปลูกอะไรใช้หลัก ดื่มได้ ดูได้ ดมได้ ดื่มได้และกินได้ เรียกว่า “โครงการอุ้มชูไม่จำกัด”
  • มีโครงการไม่เกษียณอายุพนักงานเพราะเขาทำงานแล้วมีความสุข
  • 100% ของพนักงานเป็นคนในท้องถิ่น
  • เดิม รีสอร์ทซื้อสบู่ แชมพูและน้ำยาซักผ้าเดือนละ 150,000 บาท ต่อมาคุณวริสร ก็ให้พนักงานเรียนรู้การทำสบู่ แชมพูและน้ำยาซักผ้าเองโดยใช้สมุนไพรที่ปลูก ทำให้ต้นทุนลดลงเหลือ 15,000 บาท
  • แต่ก่อน รีสอร์ทจ้างรถดูดส้วม ต่อมาคุณวรสรไปดูงานที่จังหวัดนนทบุรี ได้ความคิดนำขี้คนมาหมัก 28 วัน ปล่อยผสมแกลบ พีพืชเช่น มะเขือเทศ แตงโมผสมด้วย เมื่อแห้งแล้ว นำมาบด ปั้นเป็นเม็ดทำเป็นปุ๋ยอินเตอร์สูตรนานาชาติ ตราลูกโลก ใช้ในโรงแรมและสวนพนักงานทำให้พืชแข็งแรงดี
  • ดินที่รีสอร์ทเก็บน้ำไม่ได้ จึงนำใบไม้ไปห่มดิน นำปุ๋ยแห้งและน้ำไปรด เนื่องจากอยู่ใกล้ทะเลจึงปลูกได้แต่ปาล์ม
  • รีสอร์ทแก้ปัญหาน้ำ บำบัดน้ำเสียโดยใช้พืชน้ำแล้วนำน้ำมารดในสวนโดยใช้ Sprinkle
  • อาหารที่รีสอร์ทเป็นอาหารอินทรีย์ 100% ได้แก่ข้าวอินทรีย์ ขนมครกโบราณ ขนมปัง ข้าวซ้อมมือไม่มีสารกันบูด ข้าวยำ
  • รีสอร์ทนำเศษอาหารมาทำเป็นแก๊สชีวภาพให้ครัวใช้
  • มีการย้ายไก่ไปบ้านพักไก่ชราและนำขี้ไก่ไปปลูกผัก เมื่อไก่ทยอยตาย ก็ฝังเป็นปุ๋ยสด
  • มีการนำน้ำมันพืชไปทำไบโอดีเซล
  • รีสอร์ทเริ่มจากการไม่มีทุนและการใช้สิ่งใกล้ตัว
  • รีสอร์ทเป็นแหล่งผลิตคนด้านเศรษฐกิจพอเพียง เผยแพร่ความรู้ไปสู่คนนอกและเป็นการให้แบบไม่มีเงื่อนไข เป็นหลักสูตร 4 คืน 5 วัน
  • รีสอร์ทเริ่มจากพัฒนาคนจากในองค์กรก่อน เรียกว่า ระเบิดจากข้างใน
  • มีเครือข่ายเป็นเกษตรกร ทำให้กำหนดราคาสินค้าเกษตรได้เอง เป็นการพึ่งพากัน

ช่วงถาม-ตอบ

ถาม     กิจวัตรพนักงานมีอะไรบ้าง และกลุ่มพนักงานมีอะไรบ้าง

ตอบ     กิจวัตรพนักงานได้แก่

7.00 น. เก็บขยะชายหาด

8.00 น. เคารพธงชาติ สวดมนต์ ปฏิญาณตน แผ่เมตตา นั่งสมาธิ

ต่อมาทำกิจกรรม เรียนรู้ร่วมกัน 1 เรื่อง

กลุ่มพนักงานแบ่งเป็น หัวไวใจสู้ รอดูทีท่า เบิ่งตารอคอย เหงาหงอยจับเจ่า และไม่เอาไหนเลย

ถาม     มีโครงการไหนไม่ประสบความสำเร็จและมีโครงการไหนที่จะทำ

ตอบ    จะทำรูปเครือข่าย “จากภูผา สู่มหานที” เชื่อทพะโต๊ะไปยังเกาะพิพัฒน์ มีการเชื่อมโยงกัน ประชุมทุก 2 เดือน ต้องใช้เวลาในการทำ

ยังมีปัญหาเรื่อง คน เปลี่ยนแปลงยาก ต้องเน้นให้เขาทำเอง

ถาม     ความมีส่วนร่วมจากภายนอกแผ่ไปถึงไหน

ตอบ     รอบนอกคือครอบครัวและญาติพนักงาน เข้าใจง่าย แต่บางส่วนก็กล้าๆกลัวๆ

ลูกค้า 100% เข้าใจพวกเรา เป็นผู้มาเยือนและลูกค้าประจำ

ถาม    มีการดำเนินงานอย่างไร มีค่าตอบแทนพิเศษอะไรให้พนักงาน

ตอบ    มีการให้ค่าแรงสูงกว่าที่อื่น มีที่พักและอาหารฟรี ช่วงปิดเทอม เด็กมาทำงานก็ได้เงิน

ในการดำเนินงานก็มีการสื่อสารกับราชการ

ถาม     มีเทคนิคอะไรในการบริหารจัดการหนี้

ตอบ    ทำการให้ ยิ่งให้ ยิ่งมี ขาดทุนคือกำไร หนี้ที่หายไปเป็นเพราะเราได้ทั้งการประนอมหนี้ และปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ ผู้ใหญ่เห็นใจ จึงไม่ได้ใช้หนี้เป็นตัวเงิน

พลังอุดมการณ์ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่น 5

สหกรณ์ก้าวหน้า เศรษฐกิจก้าวไกล บริหารโปร่งใส ร่วมใจรักสหกรณ์ ไชโย ๆ ๆ

วันที่ 9 สิงหาคม 2553

การศึกษาดูงาน ณ สหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด จังหวัดชุมพร

บรรยายสรุปโดย คุณไกรฤกษ์ ดวงคงทอง ผู้จัดการสหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด

  • จดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2514
  • สหกรณ์ได้รับโล่ห์รางวัลสหกรณ์นิคมในปี 2529 และสหกรณ์แห่งชาติประเภทนิคมในปี 2553
  • วิสัยทัศน์สหกรณ์คือ “สร้างโอกาสเพิ่มในทางเศรษฐกิจและชีวิตแก่สมาชิก ด้วยแนวคิดบริการตามหลักการสหกรณ์ที่สร้างสรรค์เพื่อสู่การเป็นผู้นำ”
  • ภารกิจสหกรณ์ได้แก่

       1.บริการสมาชิกแบบครบวงจร

       2.เทคโนโลยีทันสมัย

       3.เชื่อมโยงเครือข่าย

       4.การบริหารจัดการ

  • การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์

       1.ธุรกิจสินเชื่อ มีทั้งให้สมาชิกกู้ และให้สหก์ณือื่นกู้

       2.ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช สินค้าอุปโภค เชื้อเพลิงและเครื่องใช้ไฟฟ้า มีตลาดนัดชุมชน

       3.ธุรกิจรวบรวมผลผลิตปาล์มน้ำมันและยางพารา ส่งปาล์มน้ำมันไปขายในชุมพรและสุราษฎร์ธานีประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง และสหกรณ์รับซื้อขาด 5-30 ตัน

       4.วิชาการและเกษตร มีนักวิชาการปาล์มและมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ

       5.ธุรกิจรับฝากเงิน สหกรณ์ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคาร วงเงิน 160 ล้านบาทกว่า

       6.ธุรกิจแปรรูปปาล์ม 2 แสนตัน

  • ผลงานปัจจุบัน

       1.สร้างจุดรวบรวมปาล์มน้ำมันให้กับสมาชิก

       2.พัฒนาระบบงานให้ทันสมัย

       3.ร้านค้าสวัสดิการ

       4.แปลงเพาะต้นกล้าปาล์มน้ำมัน

       5.ระดมทุนสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม

       6.IT Zone

  • งานที่สหกรณ์ไปร่วมได้แก่

       1.งานวันพ่อแห่งชาติและวันแม่แห่งชาติ

       2.เป็นเจ้าภาพงานศพ

       3.ช่วยผู้ประสบภัย

       4.สนับสนุนสตรีสหกรณ์

       5.สวัสดิการผู้เสียชีวิต

       6.บริการตามหลักการสหกรณ์ที่สร้างสรรค์

  • ในปี 2540 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ สหกรณ์เริ่มได้รับผลกระทบเพราะมีคู่แข่ง จึงปฏิรูปคน เช่นด้านการทำงาน ทำงาน 7 วัน บริการสมาชิกให้ครอบคลุมหลักการสหกรณ์และขยายเวลาบริการ
  • เมื่อมีกำไรมาก ก็สร้างปัญหามากให้สหกรณ์โดยเฉพาะเงินปันผล
  • สหกรณ์มีกำไรมากบ้าง น้อยบ้าง แต่ไม่ขาดทุน
  • สหกรณ์ไม่ได้คิดกำไรเพิ่มจากสมาชิกแต่ประมูลปาล์มน้ำมัน
  • สหกรณ์มีสาขาเพิ่มเพื่อบริการสมาชิก เช่น สาขาบ้านดินก้องและสาขาบ้านท่าลานทอง
  • มีโครงสร้างองค์กรเหมือนสหกรณ์อื่นๆ
  • กรรมการต้องมาสหกรณ์ทุกวัน
  • สหกรณ์กำหนดนโยบายเป็นระบบ 5-6 ปีแล้ว
  • สหกรณ์นิคมท่าแซะได้ไปดูงานสหกรณ์ทั่วประเทศแล้ว
  • ใช้หลักคิดกว้างไกล คิดแก้ปัญหาสหกรณ์
  • จำนวนคนของสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกวัน
  • เมื่อสหกรณ์โตขึ้น ก็ต้องลดความเสี่ยง มีการทำการประกันภัยคุ้มครองเงิน
  • ในการเลือกตั้งกรรมการ มีการเข้าคูหากาบัตร
  • สหกรณ์มีเจ้าหน้าที่ 80 คน 7 ฝ่าย 5 แผนก  3 สาขาและรองรับ 1 โรงงาน
  • สหกรณ์เพิ่มจุดรับซื้อปาล์ม 70-80 จุด
  • ในด้านธุรกิจสินเชื่อ ใช้เงินทุนภายใน สมาชิกมีโครงการคิดใหม่หลายโครงการ สหกรณ์ทำหน้าที่เป็นสถาบันการเงินให้เช่าซื้อ
  • ในการเช่าซื้อที่ดิน ทุกคนมีโฉนดได้ สหกรณ์ทำราคาขายไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อรายที่ดิน
  • สหกรณ์คิดทำมินิมาร์ท กลัวขาดทุนและสู้ราคาคู่แข่งไม่ได้ แต่จากการไปดูงานที่จังหวัดอุดรธานี ทำให้สร้างมินิมาร์ทขึ้น
  • สหกรณ์ส่งเสริมให้สมาชิกปลูกปาล์มน้ำมัน สมาชิกรอชั่งปาล์มและสหกรณ์ทำหน้าที่ส่งต่อไป แต่มีปัญหาปาล์มผิดคิว
  • ที่ท่าแซะมีโรงงาน มี 3 สาขา 10 ที่ รับปาล์มวันละ 700 ตัน

ช่วงถาม-ตอบ

ถาม        มีเครื่องมืออะไรที่ทำให้ได้เป็นสหกรณ์ดีเด่น

ตอบ       สมาชิกให้ความร่วมมือไม่น้อยกว่า 80% รู้หน้าที่และมาใช้บริการสหกรณ์

นอกจากนี้ สหกรณ์รู้จักปรับตัวเอง เปลี่ยนไปในทางที่ดี คิดอยู่เสมอ นำธรรมาภิบาลมาพัฒนา

มีการใช้ CQA 7 มิติ

สหกรณ์ทำ SWOT นำคนทั้งหมดมาร่วมคิดและวางกรอบแผนกลยุทธ์ 5 ปี

สหกรณ์มีเป้าหมายชัดเจนและมุ่งไปสู่เป้าหมาย

ถาม        การรวบรวมยางแบบซื้อขาด นำราคากลางมาจากที่ไหน คและความร่วมมือของสมาชิกเป็นอย่างไร

ตอบ       สหกรณ์เช็คราคาจากร้านที่ให้ราคา วันหนึ่งมีหลายราคา ต้องตั้งให้มีส่วนต่าง

สมาชิกมาอยู่กับสหกรณ์แล้วดีกว่าเดิม เช่นเรื่องผลกำไรที่ยังไม่เคยขาดทุน ทุกคนมีโอกาสได้ใช้

ควรเข้าใจและเข้าถึงสมาชิก เมื่อสมาชิกเสียชีวิต ต้องไปร่วมงานศพและดูแลครอบครัวเขา

ถาม       ในการเปิดสาขามาก มีวิธีการบริหารความเสี่ยงอย่างไร มีปัญหาด้านไอทีและระบบซอฟท์แวร์ไหม

ตอบ       ใช้การควบคุมภายใน เดิมรวมบัญชีอยู่ ต่อมาทำ Multi-computer เป็น ISO Care ซื้อมาพัฒนาต่อยอด link เข้ามาส่วนกลาง วันต่อวัน

สาขาดูแลการบัญชีอย่างเข้มข้น หัวหน้าสาขาต้องรายงาน

สหกรณ์ทำงานด้วยไอที ทำให้รู้ทันสถานการณ์และไม่มีการทุจริตและไม่ให้มีการสร้างหนี้นอกระบบ จะมีการดูนิสัยสมาชิก ความเป็นอยู่ การเปลี่ยนแปลง การใช้เงิน และมีการตัดไฟแต่ต้น

มีฝ่ายจัดการและฝ่ายบริการร่วมกันแก้ปัญหา

ถาม        กำไรของสหกรณ์ถอยหลังลง มีปัญหาต่อสมาชิกหรือไม่

ตอบ       กำไรจริง 6-7 ล้านต่อปีกำลังจะลดลงมา สหกรณ์นำกำไรไปส่งเสริมตลาดให้สมาชิกมาร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์ ทำให้เขาได้อะไรบ้างระหว่างปี นอกจากนี้ มีการทำโปรโมชั่น ถ้าปาล์มน้อย ก็คิดเพิ่ม

 

การศึกษาดูงาน ณ สหกรณ์นิคมท่าแซะ จำกัด จังหวัดชุมพร ประทับใจในการบริหารงานของคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ มีวิสัยทัศน์ ที่บอกถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสมาชิก “สร้างโอกาสเพิ่มในทางเศรษฐกิจและชีวิตแก่สมาชิก " จากการศึกษาดูงานและจากการได้พูดคุยกับผู้นำสหกรณ์หลายๆ สหกรณ์ สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาคล้ายๆ กันของสหกรณ์ คือสมาชิกไม่ให้ความร่วมมือกับสหกรณ์สมาชิกขาดความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ แต่ที่สหกรณ์นิคมท่าแซะ ไม่มีปัญหานี้ สมาชิกให้ความร่วมมือกับสหกรณ์ ร่วมทำธุระกิจกับสหกรณ์ ร่วมทุกข์ร่วมสุข สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นจุดแข็งของสหกรณ์ คือความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วน ผมไม่แปลกใจเลยว่าทำไม่บริษัทเอกชนถึงกล้าลงทุนสร้างโรงงานปาล์มน้ำมันให้ก่อน มูลค่าโรงงานสามร้อยกว่าล้าน ซึ่งโดยปกติแล้วบริษัทเอกชนจะเป็นบริษัทที่ทำธุระกิจ มุ่งผลกำไรสูงสุด จะต้องคิดอย่างรอบครอบก่อนการลงทุน พิจรณาความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการชำระหนี้ ผมคิดว่าแผนการหรือแผนกลยุทธ์มีส่วนสำคัญ ความเชื่อถือศรัทธาต่อคณะกรรมการ พนักงานในการบริหารงาน ก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นสมาชิกที่ให้ความร่วมมือกับสหกรณ์เป็นอย่างดี ทำให้เกิดพลังในการดำเนินงานสร้างความน่าเชื่อถือศรัทธา ต่อผู้พบเห็นทั้งภายในและภายนอก สร้างมูลค่าเพิ่มจากพลังของสมาชิก คณะกรรมการ พนักงาน กับผลงานที่สร้างชื่อให้สหกรณ์นิคมท่าแซะ ได้รับโล่ห์รางวัลสหกรณ์นิคมในปี 2529 และสหกรณ์แห่งชาติประเภทนิคมในปี 2553

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆผนส.5 ทุกท่าน

       สรุปจากการเดินทางศึกษาดูงานในประเทศเมื่อวันที่ 8 - 10 สิงหาคม 2553 ศิริวรรณประทับใจเพื่อนๆทุกคน ได้รู้จักและสนิทสนมกันมากขึ้น ได้ละลายพฤติกรรมกันทุกคนรวมทั้งท่านอาจารย์ยม น้องเอ๋ และเจ้าหน้าที่สันนิบาตทุกๆคนด้วยค่ะ

แต่ในเมื่อจำเป็นต้องเลือกเพื่อนเพียงแค่ 3 คนที่ประทับใจที่สุด ก็ต้องขอโทษเพื่อนๆคนอื่นๆด้วยนะคะ ไฟท์บังคับค่ะ

1. ประทับใจท่านประธานรุ่นฯ ค่ะ พี่เป้าดูแลทุกคนในกลุ่มเป็นอย่างดี มีรถตู้ส่วนตัวตามมาดูแลพร้อมเสบียงเต็มที่ แต่ตัวท่านเองก็ยังเสียสละไม่นั่งรถตู้ที่สะดวกสบายกว่า แต่กลับมานั่งรวมกับเพื่อนๆในรถบัสตลอดเวลา และยังติดต่อจัดนักร้องดัง นิค นิรนาม มาให้เพื่อนๆได้กระทบไหล่ (บางคนได้กระทบแก้มด้วย อิ อิ ) และร้องเพลงไพเราะสนุกสนานสร้างบรรยากาศได้ดีมาก

2. ประทับใจปชส.รุ่นค่ะ สำหรับคุณรุ่งโรจน์นี่เพื่อนๆทุกคนได้บรรยายสรรพคุณมามากมายแล้ว ขออนุญาตบอกว่า "คิดเหมือนทุกๆคนค่ะ" ต้อม...นายแน่มาก!!

3. อันดับสามนี่เฉือนกันไม่ลง ขออนุญาตประทับใจเท่ากันสองคนนะคะอาจารย์

     3.1 พี่เอียด(เจริญศรี) เหรัญญิกรุ่นค่ะ ทำงานขยันขันแข็งเก็บเงินจ่ายเงินได้ทุกสถานการณ์ ไม่มีกลัวใครหน้าไหน ยิ้มสวยเข้าไปขอเก็บตังค์ได้หมดละค่ะ งานไม่เลิกพี่เอียดไม่ถอยค่ะ สู้ สู้ ค่ะ

     3.2 น้องบอย(อนุวรรตน์) ปฏิคมรุ่นค่ะ แต่ช่วยทำงานแทบทุกหน้าที่ค่ะ ประสานงาน บอกข่าวนัดหมายประชุม และยังทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขานุการบันทึกสาระการประชุม ทำหน้าที่เป็นหมอบอยพกยามาแจกพี่ๆ(ยาอะไรก็ไม่รู้?) คอยเป็นห่วงติดตามดูแลทุกข์สุขพี่ๆเพื่อนๆทุกคน ฯลฯ

คลิกดูภาพดูงานในประเทศได้ที่นี่

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/372489?page=9

สรุปการบรรยายเรื่อง การใช้และวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเพื่อการบริหาร โดย อาจารย์สมชาย ศิริรุ่งกิจ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2553

  • ตัวชี้วัดทางการเงินได้แก่ CAMEL Analysis, CFSAW, EVA, SEVA
  • Financial Analysis วิเคราะห์ทรัพย์สินหมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนมาเปรียบเทียบ ต้องทำตัวเลขให้บริสุทธิ์ก่อนคำนวณ
  • CAMEL Analysis คือการวิเคราะห์
  • C ความเพียงพอของเงินทุน ดูอัตราโตของทุน หนี้สิน และผลตอบแทน อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ ถ้ามีข้อมูลไม่ใช่ตัวเลขแล้วชี้ปัญหาได้ ก็ควรจะนำมาช่วยวิเคราะห์ เช่น เงินทุนจากภาครัฐ
  • A สินทรัพย์มีคุณภาพหรือไม่ ดูจากอัตราหนี้ค้างชำระถ้าไม่ดี คุณภาพสินทรัพย์ไม่ดี ลูกหนี้ถือเป็นสินทรัพย์ อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ (ซื้อมาขายไป) อัตราเติบโตของสินทรัพย์ สินทรัพย์ไม่มีคุณภาพต้องหาสาเหตุให้เจอจะได้แก้ปัญหาได้ถูก นี่คือการวิเคราะห์ที่ไม่ใช่ตัวเลข
  • M การบริหารจัดการ  
  • E การทำกำไร
  • L สภาพคล่อง
  • นำทุกอย่างมารวมกันแล้วเฉลี่ย เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสหกรณ์ขนาดใกล้เคียงกัน
  • ถ้านำมิติทุน การทำกำไร และสภาพคล่องมาบ่งชี้สหกรณ์มีความแข็งแกร่งทางการเงินมากเท่าไร แสดงผลเป็นสีเขียว เหลืองและแดง ตามลำดับ (เป็นการวิเคราะห์ CFSAWS:ss)
  • ต้องรู้จักปรับค่าทางตัวเลขแต่ต้องชี้แจงสาเหตุ เมื่อวิเคราะห์เสร็จต้องระบุให้ผู้อ่านใช้ดุลพินิจ (วางตัวเป็นกลาง)
  • การบริหารค่าใช้จ่าย อยู่ในมิติทำกำไร
  • EVA การวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ ใช้การวิเคราะห์ทางการเงิน
  • EVA เกิดเพื่อแก้ข้อติดขัดการวิเคราะห์ statement การแก้บัญชี การทำกำไรโดยไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • EVA นำมาแปลงเป็น SEVA นำมิติสังคมมาใช้ ให้สหกรณ์ได้ใช้ดูมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและสังคม
  • การที่สหกรณ์การเกษตรสร้าง Co-ops Shop สร้างความเชื่อมั่นได้ สร้างเครือข่ายได้เท่ากับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าสหกรณ์
  • สหกรณ์ควรลงทุนสร้างแบรนด์

การบรรยายเรื่อง หลักเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้นกับงานสหกรณ์ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2553

  • ประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรไม่ได้อยู่ที่ Input เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงและพันธุ์พืชเท่านั้น ภาคเกษตรต้องสนใจทุนมนุษย์ด้วย
  • ประเทศไทยกำลังพึ่งพาการกู้เงินต่างประเทศ สหกรณ์ออมทรัพย์ควรทำเรื่องการออมให้ดีขึ้น
  • ไทยจะเจริญได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สหกรณ์ก็ต้องมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • ไทยไม่ควรลืมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพราะเราเป็นเศรษฐกิจแบบเปิด
  • GDP = C+I+G+X-M
  • C คือ การบริโภคในประเทศไทยไม่ดี
  • I คือ การลงทุน ไทยมีการลงทุนจากต่างประเทศน้อยมากตอนนี้
  • G คือ การลงทุนและใช้จ่ายของรัฐบาล ไทยดีอยู่ ทำให้ไทยยังอยู่รอด
  • X คือ การส่งออก
  • M คือ การนำเข้า การส่งออกยังน้อยกว่านำเข้า
  • สหกรณ์ควรเพิ่มการบริโภคในประเทศไทยและการลงทุนให้มากขึ้น
  • GDP ทำให้รู้สถานภาพประเทศไทย รายได้ประชาชาติไทย 4,000 ดอลล่าร์ต่อคนต่อปี ห่างจากสิงคโปร์ 12 เท่า
  • การเปรียบเทียบความร่ำรวยโดยใช้ GDP ต่อหัว มีปัญหาค่าครองชีพไม่เท่ากัน ไทยไม่ได้จนกว่าสิงคโปร์ 12 เท่า ต้องดู Purchasing Power Parity (PPP) ด้วยโดยดูค่าครองชีพ
  • คนไทยแม้จนกว่าสิงคโปร์ แต่ก็มีความสุขมากกว่า
  • สหกรณ์ควรคิดถึงคุณภาพชีวิตไม่ใช่คิดถึงแค่เงินอย่างเดียว
  • GDP มีจุดอ่อนคือไม่ได้หักสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ถ้าหักอาจทำให้ไทยติดลบ
  • ปัจจุบัน รายได้จากภาคเกษตรคิดเป็นไม่ถึง 10% ของ GDP ประเทศไทย แสดงว่าประสิทธิภาพการผลิตไม่ดี
  • สหกรณ์ควรเข้าไปสู่ภาคบริการมากขึ้น
  • ในการจ้างงาน ภาคเกษตรมีถึง 45% ถือว่าใช้แรงงานมากเกินไปเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพการผลิต
  • จุดอ่อนการจ้างงาน คือจ้างงานมากแต่ค่าจ้างถูก คนที่มีงานทำเกือบจะอยู่ไม่รอด
  • ที่น่ากลัวคือแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ควรคิดให้ดีว่าจะจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างไร
  • การนับกำลังแรงงานคือ ต้องดูว่าอายุเกิน 15 ปีและมีความต้องการทำงาน และถามว่ามีงานทำหรือเปล่า
  • ในประเทศไทย ผู้หญิงมีบทบาทในกำลังแรงงานมาก และผู้หญิงมีศักยภาพในการทำงาน
  • ประเทศไทยไม่ควรใช้สวัสดิการแบบให้เปล่า
  • ควรเพิ่มความรู้และทักษะให้เกษตรกรมากขึ้น
  • การศึกษาไทยอ่อนแอ จึงได้เด็กคิดไม่เป็น วิเคราะห์ไม่เป็น เมื่อเข้าภาคเกษตรก็เป็นแรงงานที่แข่งขันไม่ได้ แก้ปัญหาไม่ได้ แล้วก็ไปคอรัปชั่น
  • สหกรณ์ควรเป็นตัวแทนในการปลูกฝังความรู้
  • ประเทศไทยต้องมีดุลการค้าซึ่งมาจากส่งออกและนำเข้า ต้องมีดุลการค้าเป็นบวกคือส่งออกมากกว่านำเข้า
  • จีนเก่งด้านส่งออก
  • ดุลบัญชีบริการคืออื่นๆที่ไม่ใช่สินค้า
  • Logistics ของไทยแพง เพราะมีสินค้ามากแต่ไม่มีเรือของตนเอง
  • บัญชีทุนคือการยืมเงินมาจากต่างประเทศ
  • สหกรณ์เกี่ยวข้องกับดุลการค้าและดุลบัญชีบริการ ต้องส่งออกมากๆ
  • อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องสำคัญ รัฐบาลจีนควบคุมเงินหยวนไม่ให้แข็งค่า ทำให้จีนส่งออกได้มาก
  • นายธนาคารทั่วโลกอยากจะเก็บเงินหยวนไว้ แต่รัฐบาลจีนพยายามควบคุมเงินหยวนไม่ให้มีการเก็งกำไร
  • วิกฤติต้มยำกุ้งเกิดขึ้นเพราะไทยเปิดเสรีการเงิน กู้เป็นดอลล่าร์ กู้มาในอัตราแลกเปลี่ยน 25 บาทต่อดอลล่าร์ แต่จ่ายคืนมากกว่านั้น
  • วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ทำให้อเมริกาและยุโรปนำเข้าสินค้าจากไทยน้อยลง
  • ประเทศไทยมีการออมน้อย ต้องมีการกู้ต่างประเทศ
  • โลกาภิวัตน์คือการเปิดเสรีทางการค้า
  • ถ้าสหกรณ์พัฒนาคนดี ก็ส่งออกได้มาก และขยายตลาดได้มากขึ้น แต่คนสหกรณ์คุณภาพยังไม่พอจึงฉกฉวยประโยชน์จากต่างประเทศได้ไม่มาก
  • โลกาภิวัตน์ทำให้มีการกีดกันทางการค้าน้อยลง ทำให้ส่งออกได้มากขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงสุภาพอนามัยและมาตรฐานโลก
  • โลกาภิวัตน์กระตุ้นให้สหกรณ์ปรับตัว
  • โลกาภิวัตน์กระตุ้นให้มีการแข่งขันด้านราคา ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น

Workshop เศรษฐศาสตร์มหภาค

1. 2 กลุ่มแรก มาเรียนครั้งนี้ เห็นปัญหาประสิทธิภาพการผลิตของภาคเกษตรตกต่ำ(Q/L)

            -สหกรณ์การเกษตรและธกส.จะช่วยพัฒนาทุนมนุษย์ในภาคเกษตรอย่างไรที่เป็นรูปธรรม

2. สหกรณ์กับโลกาภิวัตน์จะสร้างโอกาส แก้ปัญหาคุกคามอย่างไร (3 กลุ่ม)

            -เน้นโครงการที่ใช้โอกาสของโลกาภิวัตน์ 3 โครงการ

            -เน้นการแก้ปัญหาคุกคามของโลกาภิวัตน์ อย่างไร อีก 3 โครงการ

กลุ่ม 1

ดู 4M ได้แก่ คน เงิน เครื่องมือ วิธีการ

ให้ความสำคัญคน เช่นพัฒนาคนสหกรณ์ และหน่วยงานข้างนอก รวมทั้งสันนิบาตสหกรณ์

 

ในด้านเงิน  หน่วยงานที่ดูแลคือสหกรณ์ ส่วนธกส.เป็นหน่วยสนับสนุน

 

ต้องอาศัยภาครัฐสนับสนุนวิชาการ

ต้องมีกระบวนการจัดการ ทำให้สหกรณ์และสมาชิกมีวินัย

ต้องอาศัยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 

 

ถ้าคนมีศักยภาพ จะใช้จำนวนคนลดลง

 

ดร.จีระ 

ขอชมเชยที่มองเป็นตัวละครไม่ใช่แค่ในสันนิบาตสหกรณ์

ธกส.ต้องพัฒนาเกษตรกรด้วย

ควรเสนอโครงการพัฒนาเกษตรกรต่อรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

กลุ่ม 2

กระแสโลกาภิวัตน์เป็นทั้งโอกาสและอุปสรรค

 

โอกาส

ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หาข้อมูลตัดสินใจทำวิจัยต่อยอด

ทำให้บุคลากรพัฒนาการศึกษากว้างไกล โลกาภิวัตน์เข้าถึงพื้นที่

ต้นทุนบริหารจัดการลดลง ทำธุรกรรมทางคอมพิวเตอร์

 

อุปสรรค

กระทบร้านค้าปลีกและสหกรณ์

ปกป้องผลประโยชน์

วินัยการเงิน

ใช้พลังงานเกินจำเป็น

 

โครงการ

สร้างวินัยการเงิน

ทำบัญชีครัวเรือน

ประหยัดพลังงานและใช้พลังงานทดแทน

 

ดร.จีระ

ควรให้เกษตรกรได้เรียนทางไกล

ควรกระตุ้นให้มีกฎหมายล็อคพื้นที่เปิดร้าน

 

กลุ่ม 3

โครงการพัฒนาผู้นำเกษตรกรยุคใหม่

เราจะพัฒนานักศึกษาอาชีวะและปริญญาโท มีการคัดเลือกนักศึกษาที่รักชุมชนมาเข้าโครงการ

ปลูกฝังทัศนคติ

ดร.จีระ

ขอให้ทำอย่างต่อเนื่อง

สรุปการบรรยายเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดย คุณกฤช สินอุดม ในวันที่ 20 สิงหาคม 2553

  • ความกลัวจัดการได้ด้วยจินตนาการที่สร้างสรรค์
  • ธุรกิจหรือองค์กรต้องผนวกกับความคิดสร้างสรรค์
  • สหรัฐใช้สินค้าลิขสิทธิ์สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจที่นับว่ามีมูลค่ามหาศาล
  • เรากำลังมองโครงสร้างที่หลุดออกไปจากกรอบเดิม เช่น Virtual University มี Social Media ที่มีการโต้ตอบกัน ต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้มีเชิงสร้างสรรค์
  • ต้องสร้างนวัตกรรมการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • เราสามารถนำความคิดสร้างสรรค์ผนวกเข้าเป็นนวัตกรรม จดสิทธิบัตรได้ เพราะมีมูลค่ามากกว่าสินค้า
  • สิงคโปร์ยังไม่สำเร็จในการสร้างสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตน แต่ไทยมีวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากฐานที่ดีในการนำไปสร้างนวัตกรรม
  • ลักษณะเด่นผู้สร้างสรรค์
  • ต้องเปิดใจกว้าง ทำให้คนอื่นช่วยกันคิด เราไม่จำเป็นต้องคิดเองก็ได้
  • มีความคิดที่อิสระที่หลุดกรอบ
  • ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง
  • รู้สึกท้าทายกับที่ว่างและต้องการเติมเต็ม
  • มีอารมณ์ขัน
  • ชอบการแข่งขันและมีจุดมุ่งหมายชัดเจน
  • ต้องทำให้ความคิดกลายเป็นจริงได้
  • ต้องสามารถตอบสนองความสนใจของชาวโลกได้
  • ต้องมองเทรนด์ แฟชั่น และก้าวให้ทัน
  • ต้องนำโลกแห่งความฝันและความจริงมาพบกันครึ่งทาง
  • เศรษฐกิจสร้างสรรค์คือ เศรษฐกิจที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมที่มีรากฐานมาจากความคิดสร้างสรรค์โดยนำไปสร้างประโยชน์และความมั่งคั่งได้
  • ดูไบมีเมืองลอยน้ำใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ มีตึกหมุนรอบตัวเอง ทำให้ 1 ชั้นเป็นบ้าน 1 หลัง ทำให้มองวิวได้รอบ
  • สถานีรถไฟเยอรมนีออกแบบให้ดูเหมือนต้นไม้
  • ขอให้ลองทบทวน สร้างจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจ ทำสิ่งใหม่ๆให้เกิดในองค์กร ไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุ อาจรวมถึงกระบวนการการทำงานด้วย

ดร.จีระ

  • วันนี้เป็นอีกมุมมองจากสถาปนิก
  • ความใฝ่รู้ การเรียนรู้คือความคิดสร้างสรรค์ เพราะต้องใช้ความคิด
  • ต้องฝึกคิดให้เป็นระบบและฝึกคิดนอกกรอบด้วย

Workshop

ขอให้นำเสนอสิ่งแปลกใหม่ในกิจกรรมที่ทำ

กลุ่ม 1

  • เครดิตยูเนี่ยนเหมือนสหกรณ์ที่ถูกลืม จะสร้างภาพลักษณ์ให้โดดเด่น ลงอบต.โดยใช้ฐานเสียงสหกรณ์ เมื่อเครดิตยูเนี่ยนมีอำนาจต่อรอง ประชาชนก็ได้ประโยชน์ ต่อสู้กับความไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้น
  • ในอีก 2 สมัยจะส่งคนไปสมัครนายกเทศมนตรี
  • เราส่งเสริมคนสหกรณ์เล่นการเมือง จะได้ทำประโยชน์ให้เรา
  • ภายใน 15 ปีจะสร้างฐานสมาชิกให้ได้ 3 หมื่นคน จะได้เป็นสส. ทำงานเพื่อชุมชน และจะเป็นผู้แทนทำงานเพื่อขบวนการสหกรณ์

กลุ่ม 2

  • สิ่งที่มีอยู่แล้วไม่ได้ใช้ก็นำมาปรับเปลี่ยนทำใหม่
  • ได้รับเงินกองทุนปูนซีเมนต์ สร้างยุ้งฉาง
  • จากการเปลี่ยนแปลงการตลาด ตลอดทางจากรุงเทพไปอยุธยา ทำเกษตรไม่พร้อมกันทำให้รวบรวมยาก ต้องเข้าโรงสี
  • ตอนนี้ ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัดอยู่ทุกหย่อม เป็นคู่แข่ง ทำให้สหกรณ์ร้านค้าแย่
  • สหกรณ์มีสมาชิกเป็นลูกค้า จัดฉางข้าวเป็นมินิมาร์ท อีกด้านขายปุ๋ยและกระจายไปยังสินค้าอื่นๆ แล้วนำไปประชาสัมพันธ์กับสมาชิก ได้รับความร่วมมือกับสมาชิกอย่างดี ปีที่แล้วขายได้ 30 ล้านบาท
  • สหกรณ์มีบริการขนส่งสินค้าไปยังสมาชิกฟรี

ความคิดเห็น

มานะ

  • ไปภูเก็ตก่อน แล้วไปสิงคโปร์ ดูแล้วก็มีอะไรที่คล้ายกัน อยากให้ภูเก็ตเป็นมหานครแข่งกับสิงคโปร์ให้ได้

ดร.จีระ

  • ควรไปหานักการเมืองที่หวังดีกับเราและเป็นพันธมิตรกับเขา
  • ควรเปิดให้คนเก่งของโลกเข้าภูเก็ตโดยไม่ต้องมี work permit
  • อยากให้ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่น 5 ทำกิจกรรมให้คนนอกมองเรามาดี เพื่อเป็นการสร้างแบรนด์
  • ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่น 5 ควรได้ไปเรียนวปอ.

กฤช

  • เป็นประเด็นที่น่าสนใจและคนก็เห็นโอกาส
  • คนไทยก็อาจมีปัญหาการเมืองถ้าทำอะไรนอกกรอบ อาจทำให้เราล้าหลังประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต
  • คนไทยมีความคิดมหาศาล แต่ทำให้เป็นรูปธรรมได้ช้ามาก

ดร.จีระ

  • ต้องพึ่งตนเองมากขึ้น

กังวาล

  • ที่ธกส.มีทีมงานขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์
  • ให้พนักงานทั่วประเทศส่งความคิดสร้างสรรค์มาให้ส่วนกลาง และมีการให้รางวัลเบื้องต้น และเลือกบางอันมาพัฒนาต่อ ถ้าใช้ได้ดี ก็จะมีรางวัลให้
  • ปีต่อๆมา ความคิดสร้างสรรค์เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ

กฤช

  • เชื่อว่าทุกองค์กรทำได้
  • ต้องจับตาดูประเทศเพื่อนบ้านไว้ให้ดี เยาวชนลาวรู้เรื่องอาเซียนมากที่สุด แต่ไทยรู้เป็นอันดับที่ 8 แสดงว่า ลาวเห็นโอกาสการเชื่อมโยงและคิดอะไรได้มากกว่าไทย

 

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

  • ผมแนะนำเพื่อนที่เป็นกำนัน ให้ไปเยี่ยมลูกบ้านที่ป่วย แล้วเขาจะจำได้ บอกลูกหลานให้เลือกเรา
  • ผู้นำสหกรณ์ก็ควรทำอย่างนี้บ้าง
  • สหกรณ์การเกษตรควรนำข้าวมาแกะใส่ใจบริสุทธิ์ถวายในหลวง เป็นการสร้างสัญลักษณ์สหกรณ์ทั่วประเทศ

กฤช

  • เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ ปฏิบัติได้จริงทันที ควรมีผู้สานต่อ

คลิกดูรายละเอียดการประชุม ICA ได้ที่นี่

http://www.ica.coop/al-ica/

สรุปการบรรยายเรื่อง การวางแผนและบริหารงบประมาณของผู้บริหารสหกรณ์ โดย อาจารย์สมชาย ศิริรุ่งกิจ ในวันที่ 21 สิงหาคม 2553

  • ต้องพิจารณามิติเหล่านี้โดยกำหนดแผนงานและงบประมาณรองรับ พร้อมตัวชี้วัด
  • ผู้สอบบัญชีต้องคุยกับผู้ตรวจสอบกิจการ
  • ภูมิปัญญาทางบัญชี มีเป้าหมายคือการกินดีอยู่ดี
  • สร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
  • พัฒนานักเรียน พัฒนาร้านสหกรณ์ในโรงเรียน นำสินค้าของนักเรียนและผู้ปกครองมาขาย และนำสินค้าในชุมชนมาขาย
  • พัฒนาครูบัญชี ต้องมีเครือข่ายครูบัญชีมาช่วย
  • การใช้ KPI ต้องวัดทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
  • ต้องจัดเก็บข้อมูลที่เป็นตัวเลขและไม่เป็นตัวเลข
  • สหกรณ์ต้องเข้าสู่สังคม ไม่ใช่เน้นเฉพาะสมาชิก
  • งบประมาณต้องสมบูรณ์จะได้นำมาพัฒนาสหกรณ์ได้เพราะงบประมาณเป็นเครื่องมือในการบริหารสหกรณ์ให้ก้าวหน้า ทำให้จัดสรร กระจายทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ได้
  • อาจจะเขียนโครงการ มันก็จะนำไปสู่แผนงบประมาณได้ เช่น ทำโครงการแก้ปัญหา
  • แผนงานสหกรณ์ต้องทันสมัยเสมอ
  • สหกรณ์ต้องทำงานรวดเร็ว ทันสมัย สร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิก ทำตรงตามความต้องการของลูกค้า
  • Co-ops Shop ควรนำสินค้าเกษตรของสหกรณ์มาขาย มีรูปลักษณ์สหกรณ์ดี สร้างแบรนด์เอกลักษณ์ มีแบรนด์ย่อยๆของสหกรณ์ เช่น ข้าวหอมมะลินางรองมีแบรนด์ของตนเอง
  • ควรทำงบประมาณ มีรายละเอียดชัดเจน เพราะต้องเปิดเผยต่อสาธารณชน
  • ควรนำงบประมาณมาติดตามผลการทำงาน
  • แผนงบประมาณต้องสอดคล้องกับสิ่งที่จะทำ
  • งบประมาณต้องมีความยืดหยุ่นบ้าง แต่อาจเป็นจุดรั่วไหล
  • ต้องทำให้งบประมาณเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและผู้บริหารต้องเห็นความสำคัญ
  • สหกรณ์ต้องมีการสื่อสารเรื่องเกี่ยวกับสหกรณ์ เช่นดอกเบี้ย กลยุทธ์สหกรณ์
  • ทุกเช้าสหกรณ์ออมทรัพย์ต้องดูการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย
  • สหกรณ์การเกษตรต้องดูราคาน้ำมันเพราะมีผลต่อราคาสินค้า
  • ขั้นตอนการทำงบประมาณ
  • จัดเตรียมงบ ประกอบด้วย ประมาณการรายรับรายจ่าย กำหนดแนวนโยบายงบประมาณ กำหนดวงเงิน หน่วยงานจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ คณะกรรมการบริหารงบประมาณ คณะกรรมการพิจารณางบประมาณ
  • อนุมัติงบ พิจารณางบประมาณ วิเคราะห์และแก้ไขโดยใช้ดุลยพินิจก่อนจะอนุมัติ
  • บริหารงบ ต้องดูพ.ร.บ.สหกรณ์ ระเบียบข้อบังคับ ควรมีการทบทวนกฎระเบียบเสมอ
  • ข้อคำนึงเกี่ยวกับการประมาณการรายรับ
  • ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำ
  • กำหนดงบประมาณอย่างรอบคอบและครอบคลุมทุกด้าน
  • คำนึงถึงสาเหตุที่มีผลกระทบต่อรายได้
  • ต้องรวบรวมสถิติที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้
  • กำหนดรายรับให้เหมาะสม โดยใช้วิธีการประมาณการโดยตรง วิธีการหาค่าเฉลี่ย หารายรับจริงที่ผ่านมา
  • การทำ Strategy Map ประเด็นยุทธศาสตร์พัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ทำโดยกำหนดเป้าประสงค์ ความคาดหวังลูกค้า กระบวนการ และการเรียนรู้และการพัฒนา

จรรยาบรรณ 10 ประการ สำหรับ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์

1. มุ่ง มั่น และอุทิศตน เพื่อพัฒนาการบริหารงานของสหกรณ์ให้ก้าวหน้า ด้วยความเสียสละ ซื่อสัตย์ และสุจริต

โดยยึดมั่น อุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์

2. พึง รักษา ปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิกโดยรวม และตัดสินใจบนพื้นฐานประโยชน์สมาชิกอย่างเป็นธรรม

3. พึง ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบสหกรณ์อย่างเคร่งครัด รวมถึงยึดหลักจริยธรรม วัฒนธรรมอันดีงาม

4. มุ่ง พัฒนาความรู้ ศักยภาพของตนและบุคลากรของสหกรณ์อย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสหกรณ์

5. กำกับ ดูแลการจัดการสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยไม่แทรกแซงสายการบังคับบัญชา

แต่จะสร้างความยุติธรรมแก่เจ้าหน้าที่สหกรณ์ในการปฏิบัติงาน

6. พึง ใช้ ดูแล และรักษาทรัพย์สิน อุปกรณ์ของสหกรณ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม

7. ไม่ อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่ง หน้าที่ ในสหกรณ์เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ส่วนตน ญาติ และพวกพ้อง

8. หลีก เลี่ยงการทำธุรกิจส่วนตนที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับสหกรณ์ และเปิดเผยผลประโยชน์ส่วนตนที่มีในองค์กร

หรือธุรกรรมใดที่ขัดกับประโยชน์ของสหกรณ์

9. ละเว้น การให้สัญญาต่างตอบแทนแก่บุคคล องค์กร เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง ผลประโยชน์ของตน

10. ไม่นำ เอาทรัพย์สิน อุปกรณ์ บุคลากรของสหกรณ์ไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนและพวกพ้อง

และไม่กระทำการใดอันเป็นปฏิปักษ์ และเป็นคู่แข่งขันต่อการดำเนินงานของสหกรณ์

จรรยาบรรณ 10 ประการ สำหรับ เจ้าหน้าที่สหกรณ์

1. พึง ปฏิบัติตามนโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์และคำสั่งของผู้บังคับชาอย่างเคร่งครัด ภายใต้ อุดมการณ์

หลักการและวิธีการสหกรณ์

2. พึง ให้บริการแก่สมาชิกและผู้ใช้บริการด้วยความเต็มใจ และประทับใจ

3. พึง รักษาข้อมูลส่วนตัวของสมาชิกเป็นความลับและไม่นำไปแสวงหาประโยชน์เพื่อตนและ พวกพ้อง

4. ให้ บริการแก่สมาชิกอย่างเท่าเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ใด ผู้หนึ่งเป็นการเฉพาะ

5. พัฒนา ตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

6. พึง รักษาและให้ประโยชน์จากทรัพย์สิน อุปกรณ์ของสหกรณ์อย่างประหยัด คุ้มค่ามากที่สุด

รวมถึงไม่นำเอาไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตน

7. พึง รักษาและเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างเจ้าหน้าที่สหกรณ์และหลีกเลี่ยงการ สร้างความขัดแย้ง ปัญหา

หรือการกระทำอันเป็นการสร้างความแตกแยก

8. พึง ให้ข่าวสารการดำเนินงานสหกรณ์ที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกในทุกโอกาสที่เอื้อ อำนวย

ขณะเดียวกันก็รับฟังปัญหาความต้องการของสมาชิกเพื่อพัฒนาการดำเนินงานใน โอกาสต่อไป

9. พึง ละเว้นการรับทรัพย์สิน ประโยชน์อื่นใดจากสมาชิก หรือบุคคลภายนอกเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตน

หรือพวกพ้องอย่างมีศักดิ์ศรี

10. หลีก เลี่ยงการทำธุรกิจที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นคู่แข่งขัน หรือเป็นปฏิปักษ์กับสหกรณ์

จรรยาบรรณ 6 ประการ สาหรับ สมาชิกสหกรณ์

1. มุ่งมั่นอุทิศ เพื่อพัฒนาสหกรณ์ก้าวหน้า โดยยึดมั่น อุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์

2. ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบสหกรณ์อย่างเคร่งครัด

3. สอดส่อง ดูแล และส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่เข้มแข้ง

4. ร่วมทาธุรกิจของสหกรณ์ในฐานะเจ้าของสหกรณ์

5. ร่วมกับคณะกรรมการดาเนินการของสหกรณ์พัฒนาสหกรณ์ให้เจริญรุ่งเรือง มั่นคง

6. มุ่งมั่น ดารงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ประกาศจรรยาบรรณบุคลากรสหกรณ์ พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐) “...การงานทุกอย่างทุกอาชีพ ย่อมจะมีจรรยาบรรณของตนเอง. จรรยาบรรณนั้นจะบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่ยึดถือกันว่าเป็นความดีงาม ที่คนในอาชีพนั้นพึงประพฤติปฏิบัติ. หากผู้ใดล่วงละเมิดก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งแก่บุคคล หมู่คณะ และส่วนรวมได้. เหตุนี้ ผู้ปฏิบัติงานในทุกสาขาอาชีพ นอกจากจะต้องมีความรู้ในสาขาของตนอย่างลึกซึ่งจัดเจนและศึกษาให้ก้าวหน้าอยู่เสมอแล้ว ยังจะต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน ทั้งข้อที่ควรปฏิบัติและไม่พึงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วย จึงจะสามารถประพฤติตนปฏิบัติงานให้ประสบความสาเร็จ ได้รับความเชื่อถือยกย่องในเกียรติ ในศักดิ์ศรี และในความสามารถด้วยประการทั้งปวง...” (พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามหนังสือ สานักราชเลขาธิการที่ รล ๐๐๐๔.๑/๔๕๐๖ ลว. ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑)

สรุปการบรรยายเรื่อง HR for Non-HR โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในวันที่ 21 สิงหาคม 2553

  • แต่ละคน ก่อนจะเข้าไปทำงานในองค์กรก็มีความหลากหลาย มีทุนมนุษย์ มีทักษะ ทัศนคติ
  • ผู้นำต้องมีเป้าหมายว่าจะนำองค์กรไปทางใด
  • ต้องมีการสร้างสมรรถนะพิเศษเมื่อเข้าไปทำงานแล้ว เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การเป็นผู้นำ
  • ควรวิจัยสมรรถนะที่พึงประสงค์สำหรับคนในวงการสหกรณ์
  • วัฒนธรรมองค์กรแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน มันสะสมมานาน ดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ควรศึกษาวัฒนธรรมองค์กรให้ดี
  • องค์กรต้องคล่องตัว จะได้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคน
  • ผู้นำต้องสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้ลูกน้องได้
  • ทุกองค์กรควรมีค่านิยมที่หล่อหลอมคนให้เป็นเลิศ
  • การทำงานเป็นทีม ควรทำงานแบบ Cross-functional Team
  • ผลประกอบการของคนในสหกรณ์
  • ต้องดูความพอใจของลูกค้า ลูกค้าได้ประโยชน์ไหม
  • ดูคุณภาพชีวิต ความสมดุลชีวิตงานและครอบครัว
  • สหกรณ์ต้องมีโครงการเกี่ยวกับสังคมมากขึ้น
  • ความสำเร็จของการพัฒนาคน ต้องเอาชนะอุปสรรคให้ได้ผู้นำต้องขับเคลื่อนคนให้ได้
  • ทรัพยากรมนุษย์ต้องเชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์กรให้ได้
  • คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร
  • ทรัพยากรมนุษย์ต้องไปสู่วิสัยทัศน์ให้ได้ โดยต้องสร้างทุนมนุษย์ให้ได้ และเก็บเกี่ยวศักยภาพของคนในองค์กร การพัฒนาคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการปลูกและเก็บเกี่ยว
  • ในการเก็บเกี่ยว ต้องสร้างแรงบันดาลใจและทำให้คนมีความคิดสร้างสรรค์และสังคมการเรียนรู้ กล้าพูดกับเจ้านายในบรรยากาศที่สุภาพ
  • ความสำเร็จของการพัฒนาบุคลากรต้องมีระบบที่ต่อเนื่องเป็นกระบวนการ
  • ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนพฤติกรรมคน
  • นักพัฒนาคนต้องรู้เรื่องอื่นๆด้วย
  • คนเรามีศักยภาพเท่ากัน ต้องอาศัยบรรยากาศและการเอาชนะอุปสรรค จะได้ใช้ศักยภาพได้มากขึ้น
  • นโยบายทรัพยากรมนุษย์ต้องมีความสำคัญพอๆกับนโยบายด้านอื่นด้วย
  • สหกรณ์ต้องเปลี่ยนจากทำงานประจำเป็นงานยุทธศาสตร์
  • ทรัพยากรมนุษย์ต้องอาศัยความร่วมมือหลายฝ่าย
  • มองคนเป็นการลงทุน
  • เปลี่ยนจากการฝึกอบรมมาเป็นการเรียนรู้
  • บริหารคนคือการบริหารการเปลี่ยนแปลง
  • เปลี่ยนข้อมูลเป็นความรู้ สหกรณ์ต้องวิจัยมากขึ้น
  • ทำงานแบบมีเครือข่าย
  • ทำงานให้มีมูลค่าเพิ่ม
  • ยกย่องมนุษย์ทุกคน
  • ทำงานทั้งระดับมหภาคและองค์กร
  • มีลูกค้าใหม่
  • เปลี่ยนคนจากทรัพย์สินเป็นหนี้สิน
  • คนจะเก่งหรือไม่ขึ้นกับความเข้มแข็งของครอบครัว
  • ต้องกล้าคิด กล้าทำ
  • องค์กรที่มีขั้นตอนการจัดการยาว จะทำให้คนเก่งไม่อยู่องค์กรนี้
  • ต้องสร้างคนขึ้นมาให้เก่ง
  • ความรู้เฉพาะทางของสหกรณ์ก็ยังไม่ดี
  • สหกรณ์ต้องเป็นองค์กรเพื่อการบริหารจัดการ
  • ต้องมีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ รักและหวงแหนองค์กร มีความคิดริเริ่ม บริหารความเสี่ยงและอยู่รอดให้ได้
  • สหกรณ์มีแรงบันดาลใจและแรงจูงใจ
  • ควรจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดี ออนไลน์เอกสาร ไม่มีแฟ้มบนโต๊ะผู้นำ
  • ควรมอบอำนาจแก่ลูกน้องเมื่อเขาพร้อม แต่ควรให้อำนาจบางเรื่อง แต่ไม่ใช่ให้ตัดสินใจแทน ควรทำการมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร

Workshop

1.เสนอวิธีการสร้างแรงบันดาลใจ 3 เรื่องให้แก่ผู้ร่วมงานและทีมงานในวงการสหกรณ์ ทั้งธกส.หรือกรมหรือสหกรณ์

2.จะสร้างแรงจูงใจ (incentive) ให้ผู้ร่วมงานให้ประสบความสำเร็จ 3 เรื่อง

3.อุปสรรคของการทำงานข้อ 1-2 ให้ประสบความสำเร็จคืออะไร (Execution)

1. แรงบันดาลใจวิธีการดังต่อไปนี้

1.1 ให้มีบุคคลตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน

1.2 สร้างศรัทธาให้เกิดในองค์กร

1.3 สร้างมูลค่าของคุณค่าของกระบวนการสหกรณ์

2 แรงจูงใจ

2.1 ให้รางวัลและขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน

2.2 ให้ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

2.3 ให้ความสำคัญของคน

3 อุปสรรค

ไม่มีความศรัทธาและความเชื่อมั่นในขบวนการสหกรณ์

อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์ ผนส.5

ส่งการบ้านอาจารย์ตามหัวข้อที่ได้รับ

หัวข้อแรงบันดาลใจ

1. นำพาคนในองค์กรให้มีโอกาสได้พบสหกรณ์ที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในเรื่องของการบริหารคนเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่าสามารถเป็นได้

2. ให้บุคคลากรในองค์กรมีโอกาสได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลระดับประเทศมีแนวคิดในเรื่องของสหกรณ์อย่างแท้จริง

3.ทำให้คนในองค์กรมองหาอนาคตโดยมีการวางแผนงานร่วมกันเพื่อให้องค์กรมีความเป็นองค์กรชั้นเลิศที่ประสบความสำเร็จในการบริหารและเป็นที่พึ่งของมวลสมาชิก

หัวข้อแรงจูงใจ

1. ทำให้คนในองค์กรมีความรู้สึกมั่นคงในหน้าที่การงานไปจนถึงครอบครัว

2. ให้เจ้าหน้าที่มีความภาคภูมิใจในหน้าที่ เกิดความรักในองค์กรว่าเป็นเสมือนหนึ่งครอบครัว

3. ให้ขวัญกำลังใจในรูปแบบรางวัลตามความเหมาะสม

หัวข้ออุปสรรค

1.การปรับเปลี่ยนความคิดเห็นให้เกิดแนวคิดในการสร้างสรร

2.ให้เกิดความภาคภูมิใจร่วมกัน

3.การไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นการเปลี่ยนแปลง

4.ความเฉื่อยชาและความรู้ขั้นพื้นฐานที่ไม่เท่ากัน ทำให้กระบวนการในการรับรู้ไม่เท่ากัน

วิธีการสร้างแรงบันดาลใจ(ผู้ร่วมงานและทีมงาน ธ.ก.ส.)

1. การปฺฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งด้านความคิดและการกระทำ บทบาทการเป็นผู้นำเพื่อให้ผู้ร่วมงานเกิดความชอบ มีความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวเราจนกลายเป็นแรงบันดาลใจและทำตามในที่สุด

2. การเพิ่มโอกาสให้ผู้ร่วมงานและทีมงานได้เปิดโลกทัศน์ หรือได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงเพื่อจุดประกายและกระตุ้นให้เกิดความกระหายในการเรียนรู้และการปรับตัวให้ดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีเช่น การไปดูงาน ทัศนศึกษา เป็นต้น

3. การเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานและทีมงานได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้รู้ที่เป็นที่รู้จักในสังคม เช่น การจัดกิจกรรมอบรม บรรยายพิเศษ เป็นต้น

วิธีการสร้างแรงจูงใจ

1. มอบรางวัลทั้งที่เป็นเงินรางวัล หรือเกียรติบัตร เป็นต้น

2. การให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม เป็นต้น

3. การมีส่วนร่วมของพนักงานและทีมงานเพื่อให้เกิดความผูกพันธ์ การเป็นเจ้าของ

ปัญหาและอุปสรรค

1. ทัศนคติ(เดิม)ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

2. งบประมาณ

3. การให้ความสำคัญของผู้บริหาร

สร้างแรงจูงใจ (incentive) ให้ผู้ร่วมงาน

1. สนับสนุนให้ความเจริญเติบโตในตำแหน่งหน้าที่ต่อผู้บริหาร

2. ส่งเสริมการเพิ่มรายได้ (เงินเดือน) รวมทั้งผลตอบแทนการปฏิบัติงาน

3. เสริมความรู้ในด้านการอบรมเพิ่มศักยภาพด้านต่างๆพร้อมกับมอบหมายงานสำคัญให้รับผิดชอบ

สร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน

1. พาไปศึกษาดูงานเพื่อให้เกิดความอบากได้ อยากเป็นและนำมาปรับใช้ในองคืกรของตนเอง

2. ให้ผู้นำทำตัวเป็นต้นแบบที่ดีหรือจัดหาบุคคลที่ประสบความสำเร็จมาเป็นต้นแบบให้เพื่อให้คนในองค์กรเกิดการพัฒนาตนเอง

3. สร้างบรรยากาศของการแข่งขันเพื่อให้เกิดแรงของการต้องการเอาชนะ

อุปสรรคของการทำงาน

1.ผู้บังคับบัญชาระดับสูงมองไม่เห้นความสำเคญของการสร้างแรงจูงใจ

2.ไม่เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติ ปฏิบัจิเหมือนไฟไหม้ฟาง

3.บุคลากรบางคนอาจไม่เข้าใจวิธีการและขันตอนในการปฏิบัติ

4.ขาดงบประมาณในการดำเนินการพัฒนา

Workshop

1. วิธีสร้างแรงบันดาลใจ

    1.1 ศึกษาดูงานในสหกรณ์ที่ได้รับรางวัลหรือประสบผลสำเร็จ

    1.2 ผู้บริหารปฏิบัติตัวให้เป้นตัวอย่างที่ดี

    1.3 การร่วมกันทำโครงการหรือกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ

2.การสร้างแรงจูงใจ

   2.1 การเลื่อนขั้นเงินเดือน

   2.2 การให้งานทำที่ท้าทายขึ้น

   2.3 การให้โบนัสหรือรางวัลพิเศษ

3. อุปสรรค

   3.1 จิตสำนึกและจรรยาบรรณของการเป็นคนของสหกรณ์

   3.2 ความรู้และทัศนคติของผู้นำระดับสูง

   3.3 วัฒนธรรมขององค์กร

   3.4 โครงสร้างของเงินเดือน

 

ศิริพงษ์ มีประเสริฐ

สหกรณ์การเกษตรเมืองนครราชสีมา จำกัด

1. การศึกษาดูงาน (เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี)/การศึกษาดูงานต่างประเทศ

2. สร้างทัศนคติ/สร้างศรัทธา/ความคิดจากตัวเราเองก่อน เป็นคนถือศีล 5 เป็นผู้นำ

3. คนดีนอกสหกรณ์สหกรณ์เป็นต้นแบบ

แรงจูงใจ

1.ให้รางวัล เงิน/ตำแหน่ง/ดูงาน

2.เลื่อนตำแหน่ง/เลื่อนเงินเดือน

3.เปลี่ยนตำแหน่ง

อุปสรรค ทำให้คนในสหกรณ์ยอมรับกันทุกคน

1.ความรู้/คนระดับบริหาร

2.เงิน

 

นายอัมพร เลิศกิจเจริญไพศาล

I วิธีการสร้างแรงบันดาลใจ 3 เรื่อง

   1. การให้ผู้ร่วมงาน/ทีมงาน เสนอความคิดอิสระ

   2. ให้มีการ Share ประสบการณ์ที่ดีๆในองค์กรเพื่อพัฒนาแบบอย่างที่ดีในด้านต่างๆ

   3. ส่งเสริม สร้างบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน

II การสร้างแรงจูงใจ

   1.ให้โอกาสในการแสดงความสามารถใน Project สำคัญ

   2.ให้ศึกษาดูงานและอบรมต่างประเทศในด้านนั้นๆ

   3.ส่งเสริมความก้าวหน้าในการทำงานของคนที่มีความสามารถ

III อุปสรรค

    1. ทัศนคติของบุคคลที่แตกต่างกัน ทำให้มุมมองไม่เป็นไปในทางเดียวกัน

    2. ผู้บริหารในองค์กรยังไม่เห็นความสำคัญ

    3. ขาดความต่อเนื่อง

กังวาล เนียมสุวรรณ

-วิธีการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ร่วมงานและทีมงานในวงการสหกรณ์

    -หาโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้มีการพบปะกับต้นแบบ (Model) ที่ประสบผลสำเร็จ

    -สร้างทีมงานเข้าสู่บรรยากาศการแข่งขัน

    -หาโอกาสสร้าง Surprise ให้พนักงาน

-จะสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ร่วมงานให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร

    -กระตุ้นให้บรรลุเป้าหมายด้วยการศึกาดูงานต่างประเทศ

    -ให้โอกาสสร้าง/คิดวานใหม่ๆที่สำคัญๆและให้รางวัล

    -ติดประกาศชมเชย

-อุปสรรคของการทำงานให้ประสบความสำเร็จคืออะไร

    -CEO ไม่เห็นความสำคัญ

    -การทำงานไม่ต่อเนื่อง

 

Workshop 21 ส.ค. 53

     การทำงานให้สำเร็จจะมีปัจจัยหลายๆประการที่องคืประกอบสำคัญที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จ สำเร็จไม่ใช่แค่เสร็จ ผลมันต่างกัน ถ้าต้องให้งานสำเร็จ จะต้องมีทั้งแรงบันดาลใจและแรงจูงใจประกอบกันโดยส่วนใหญ่ งานที่จะต้องทำเป็นทีม จะต้องมีคนหลายๆคนช่วยกันทำ ในคนหลายๆคนนั้น แต่ละคนจะมีหน้าที่ และก็มีแรงบันดาลใจและแรงจูงใจที่อาจไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นความสำเร็จขององค์กร มักจะต้องเกิดจากแรงบันดาลใจอย่างสูงที่นอกเหนือจากค่าตอบแทน อย่างเช่น ธกส. ความสำเร็จของธกส.จะอยู่ที่เกษตรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้ที่มั่นคง สถาบันของลูกค้ามีความเจริญรุ่งเรือง แต่ถ้าจะมองเพียงงานเสร็จ ธกส.จะวัดแค่ธนาคารมีผลกำไร มีการเจริญเติบโตที่ดี จ่ายเงินเดือนและสวัสดิการให้แก่พนักงานได้อย่างเหมาะสม และถ้ามองย่อยลงไปในระดับส่วนงานย่อยภายในธกส. ก็จะเป็นเพียงหน่วยงานเงินฝาก หาเงินฝากได้ตามเป้าหมาย และมีต้นทุนต่ำ หน่วยงานสินเชื่อจ่ายเงินกู้ได้ตามเป้าหมายและเรียกเก็บหนี้ได้ดี

     อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดที่กล่าวมา ผู้นำที่มีความสามารถจะนำมาเชื่อมโยงและรวมเป็นกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกันได้

     ในส่วนของปัญหาอาจมีบ้างที่คนที่จะเข้ามาทำงานขาดความรู้ ความชำนาญ หรืองบประมาณไม่เพียงพอ แต่นั่นไม่ใข่ปัญหาที่ใหญ่โตอะไร แก้ไม่ยาก แต่เรื่องที่เป็นปัญหาและแก้ยากคือ หัวหน้างานหรือผู้นำเลือกคนที่ไม่เหมาะสมมาทำงานอันนี้ ถือว่าลำบากเพราะลูกน้องเปลี่ยนเจ้านายไม่ได้

มีเรื่องปรึกษาด่วน ด๊วน ด่วนค่ะ

ตามที่ผนส.5 ได้พูดคุยกันเมื่อวันเสาร์ (คือเมื่อวาน 21 สิงหา) ว่าเราจะจัดงานเลี้ยงสังสรรวันพฤหัสที่ 7 ตค. งานปิดโครงการวันศุกร์ที่ 8 ตค. (ซึ่งคุณเกรียงไกรยืนยันว่าได้เรียนเชิญท่านรัฐมนตรีศุภชัยมาเป็นประธานฯ) และเสวนาบ่ายวันศุกร์ที่ 8 ตค.

จากที่ได้ตรวจสอบวันที่แล้วปรากฎว่า.....ปรากฎว่า...การเรียนครั้งที่ 9 ของผนส.5 คือวันพฤหัสที่ 7 - วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2553

หมายความว่า วันพฤหัสที่ 7 พวกเรามาเรียน (คือเริ่มนำเสนอโครงการของแต่ละคน) กลางคืนจัดงานเลี้ยงสังสรร

วันศุกร์ที่ 8 ตอนเช้าเรียน(เสนอโครงการรายบุคคลต่อ) ตอน 11 โมง ท่านรมต.มาปิดโครงการ--แจกวุฒิบัตรด้วย???????--

แล้ววันเสาร์ที่ 9 ก็เรียน (คือนำเสนอโครงการรายบุคคลต่อ)จนกว่าจะครบทุกคน แล้วก็แยกย้ายกันกลับบ้านใครบ้านมัน ใช่บ่คะ???

ใช่รึเปล่าคะ???????? คิวมันยึกยักสับสนไปหน่อยรึเปล่าคะ เพื่อนๆ

ขอหารือและขอความเห็นหน่อยค่ะ โดยเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคือ  ท่านประธานฯศิริชัย / น้องบอย /ผอ.กังวาล / คุณเกรียงไกร / ผกก.บุญชัย / พี่โม่งขา / น้องอัมพร(ธปท.) / คุณอรนุช / น้องเอ๋ บุคคลผู้มีรายชื่อปรากฎเหล่านี้ ใครได้ทำอะไรคืบหน้าไปแล้วบ้าง และมีความเห็นเป็นอย่างไร โปรดส่งข่าวด้วยเด้อค่ะ  

เราควรจะปรับเปลี่ยนวันทำกิจกรรมต่างๆเหล่านี้กันซักหน่อยดีไหมคะ?????

จากศิริวรรณ(เจ้าเก่า)ค่ะ

เราควรจะปรับเปลี่ยนวันทำกิจกรรมต่างๆซักหน่อยดีมั๊ยคะ???

ศิริวรรณขอนำเสนอนะคะ

วันพฤหัส 7 ตุลาคม 2553 พวกเรามาเรียน --*นำเสนอโครงการรายบุคคล

วันศุกร์ 8 ตุลาคม 2553 ตอนเช้านำเสนอโครงการรายบุคคล (ต่อ)

11.00 น.พิธีปิดโครงการ รมต.เป็นประธานฯแจกวุฒิบัตร(หรือสัมฤทธิบัตร??)

12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ผนส.5 ร่วมกับรัฐมนตรี

จากนั้นช่วงบ่าย เตรียมงานและจัดงานเลี้ยงสังสรร การแสดงต่างๆ เชิญผนส.รุ่นพี่มาร่วมงาน

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2553 เข้าเรียน(คือนำเสนอโครงการต่อจนครบทุกคน)

แล้วเราอาจมีกิจกรรมอำลาเล็กๆอีกที เป็นการภายในดีมั๊ยคะ??

คือมีผนส.5 + อ.จีระ(รวมน้องเอ๋) + อ.ยม + สตาฟของสันนิบาตที่ดูแลพวกเรามาตลอดจนจบโครงการฯ

อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์

สวัสดีพี่อ้อย...เอาใหม่แม่ครับ

ผมขอบคุณพี่อ้อยแทนเพื่อนๆทุกคนเลยนะครับที่มีให้ความสำคัญในรายละเอียดต่างๆ พี่เห็นว่าอย่างไร พวกเราเอาด้วยเพราะพวกเราเป็นขบวนการอยู่แล้วถ้าอย่างไรพี่ประสานงานกับคุณเกรียงไกรแล้วแจ้งให้เราทราบจะได้เตรียมตัวถูก พี่อาจต้องเหนื่อยหน่อยนะครับแต่ถ้าต้องการให้ผมช่วยเรืองไรโทรมานะครับยินดีครับพี่

copy from facebook

เผื่อคนที่ไม่ได้เข้าfacebookจะได้อ่านด้วยค่ะ...

แจ้งข่าวผนส.5 ทุกท่านนะครับ

ตามที่พวกเราได้ปรึกษาอาจารย์จีระ..เรื่องหัวข้อการเสวนา ตามที่ได้รับทราบจากพี่อ้อย ขอแจ้งให้ทราบคร่าวๆอย่างนี้นะครับ วิทยากรรับเชิญท่านแรกตัวแทนภาครัฐ รัฐมนตรี ก.การคลังหรือรองฯ คุณอัมพร ธ.แห่งประเทศไทยประสานงาน ตัวแทนจาก ธกส.พี่กังวาล ประสานงาน ส่วนอีกท่าน พี่โม่งประสาน ที่ทราบตอบรับแล้ว ใน...ส่วนข่าวสารอื่นผมจะพยายามแจ้งให้ทราบเป็นคราวๆไปนะครับ

42 minutes ago · Comment ·LikeUnlike · View Feedback (6)Hide Feedback (6)อาจารย์ยม Yom likes this.

Siriwan Panyatham ผกก.บุญชัยจะร่างโครงการคร่าวๆให้ก่อน /ผอ.กังวาล+พี่โม่งขา+คุณอัมพร จะเป็นผู้ประสานงานติดต่อวิทยากร

หลังจากติดต่อวิทยากร(ไม่เป็นทางการ)และได้รับการตอบรับแล้ว

คุณเอ๋รับจะเป็นคนทำจดหมายเชิญวิทยากร ให้เพื่อจะได้นำเสนออ.จีระลงนามและส่งออกไปได้ ...

ส่วนจดหมายเชิญผู้เข้าสัมมนาคุณอรนุชจะเป็นคนทำให้ ลงนามโดยผอ.สันนิบาตฯ

เป้าหมายที่จะเชิญคือผนส.รุ่น1-4 กรรมการและฝ่ายจัดการสหกรณ์ทุกประเภทในเขตกทม.+ปริมณฑล ธนาคาร(ธกส./ธปท.) นิสิตและคณาจารย์จากม.ที่มีการเรียนการสอนภาควิชาสหกรณ์เกษตร /ม.แม่โจ้ / มสธ. / สื่อมวลชน รวมแล้วคิดว่าจะส่งจดหมายเชิญออกไปประมาณ 400 - 500 แห่ง

คาดหมายว่าจะมีคนตอบรับมาร่วมเสวนาประมาณ 200 คน

ส่วนของผนส.5 ที่ประสงค์จะเชิญใครมาเพิ่มเติมโปรดส่งรายชื่อพร้อมที่อยู่ให้คุณอรนุชโดยด่วน........

กำหนดการคร่าวๆมีดังนี้

ลงทะเบียน 12.00 - 13.00 น. แล้วแจกอาหารว่าง(เป็นกล่อง)

เสวนา 13.00 - 16.00 น.See More

16 minutes ago · LikeUnlike · อาจารย์ยม Yom อย่าลืม ประสานงาน และเขิญ ประธานและคณะกรรมการดำเนินงาน สันนิบาตฯ ด้วยน๊ะครับ ฝากด้วย

13 minutes ago · LikeUnlikeAnuwat Imsomboon ขอบคุณพี่อ้อยที่ช่วยขยายความเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันโดยทั่ว พวกเราเลือกเลขาฯได้ถูกคนจริงๆๆ

9 minutes ago · LikeUnlikeSiriwan Panyatham นอกจากนี้ ได้ตกลงกันในเบื้องต้น(คือผนส.5ที่ยังเหลืออยู่ตอนเย็นวันเสาร์ที่21น่ะนะ(ผกก.บุญชัย/คุณชัยณรงค์/พี่โม่งขา/พี่เอียด/พี่ยุวดี/คุณอัมพร/คุณเกษม/ผอ.กังวาล ) ว่า

กิจกรรมต่างๆที่ผนส.5จะจัดขึ้นนั้น จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายบางส่วน(นอกเหนือ...จากที่สันนิบาตสนับสนุนให้แล้ว)

ไม่ว่าจะเป็นการจัดเสวนาเวทีสาธารณะ การจัดงานเลี้ยงสังสรร+การแสดง กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

จึงมีความเห็นร่วมกันว่า จะขอความร่วมมือจากผนส.5ทุกคน คนละ 2,000 บาท ซึ่งจะขอเก็บเงินในการมาเรียนครั้งที่ 7 ในวันที่ 17 - 18 กันยายน 2553(หลังกลับจากปักกิ่งแล้ว)....นะ....นะ..See More

6 minutes ago · LikeUnlike · Siriwan Panyatham คิดว่าเพื่อนๆทุกคนคงไม่ขัดข้องนะคะ รายละเอียดอื่นๆเราอาจคุยกันระหว่างเดินทางไปปักกิ่งได้อีก...........

4 minutes ago · LikeUnlike · Write a comment...

แจ้งข่าวเพื่อนๆที่ไม่ได้มาเรียนครั้งที่ 5 ค่ะ

วันเดินทางไปศึกษาดูงาน ขึ้นรถที่สันนิบาตฯ สองทุ่มตรงค่ะ (มีอาหารเย็นให้รับประทานก่อนเดินทางค่ะ)

วันเดินทางนัดกันใส่เสื้อสีขาวนะคะ

ถ้าใครจะเดินทางไปเอง นัดเจอกันที่สุวรรณภูมิ สี่ทุ่มตรงค่ะ

อาคารผู้โดยสารขาออก ชั้น 4 ประตูทางเข้าที่ 9-10 แถว U1-8เคาน์เตอร์สายการบิน AIR CHINA (CA ) โปรดตรงเวลาค่ะ

วันศึกษาดูงาน ใส่เสื้อเขียว สวมสูทดำ(ผนส.5)

อุณหภูมิปักกิ่ง 25 - 33 องศาเซลเซียส เตรียมหมวกหรือร่มไปด้วยนะคะ อาจมีทั้งฝนและแดด

อย่าลืมแลกเงินหยวนไปด้วย.......อย่าพกเงินไปเยอะเกิน 50,000 บาทนะคะ เดี๋ยวถูกยึด

ของมีคม ของเหลว น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกตาแดง....ใส่กระเป๋าใบใหญ่ไปนะคะ อย่าหิ้วติดตัว เดี๋ยวถูกยึด

สงสัยข้องใจ....ติดต่อหัวหน้าทัวร์ คุณวู้ดดี้ 085-161-1888

การสร้างแรงบันดาลใจมีหลายปัจจัยด้วยกัน แต่สิ่งสำคัญน่าจะเป็น

1. การปฎิบัติตัวของผู้นำเอง ควรเป็นตัวอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และต้องสร้างศรัทธาให้เกิดกับตัวผู้นำเอง

2. พาผู้ใต้บังคับบัญชา ไปดูตัวอย่าง หรือต้นแบบที่ดี

3. เชิญบุคคลที่ประสพความสำเร็จในองค์กรต่างๆ มาบอกเล่าประสพการณ์ และแนวทางดำเนินการเพื่อให้เกิดความสำเร็จ

การสร้างแรงจูงใจ

- ที่เป็นตัวเงิน

ให้รางวัล ขึ้นเงินเดือน ให้สวัสดิการ

- ที่ไม่เป็นตัวเป็น

ด้านการบริหาร ต้องดูและผู้ใต้บังคับบัญชาตั้งแต่เข้าทำงานจนออกจากงาน ให้ได้รับความเป็นธรรม

ดูและความก้าวหน้าของตำแหน่งงาน

สภาพแวดล้อมการทำงาน ห้องทำงานและสิ่งแวดล้อมต่างๆในที่ทำงานควรดูเจริญหูเจริญตา

ความมั่นคงขององค์กร ต้องเป็นที่ยอมรับของพนักงงานและคนทั่วๆป

อุปสรรค คงเป็นเรื่องของความไม่เพียงพอในเรื่องงบประมาณ ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญ ทัศนคติพนักงานเอง

และความรู้ของพนักงาน

ส่งการบ้านอาจารย์จีระ

1. วิธีสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ร่วมงานและทีมงานในวงการสหกรณ์

- แนะนำต้นแบบที่ดีมาเป็นตัวอย่าง

- ให้เกิดมีการแข่งขัน/ประกวด

- พาไปศึกษาดูงาน

2. จะสร้างแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงานให้ประสบความสำเร็จ

- มีการยกย่องชมเชย

- มอบของขัวญรางวัล/โบนัส ฯลฯ

- มอบสวัสดิการพิเศษเป็นกรณีพิเศษ

3. อุปสรรคของการทำงาน ตามข้อ1-2 ให้ประสบความสำเร็จคือ

ผู้นำไม่เอาใจใส่ และทำไม่ต่อเนื่อง

สังคมสหกรณ์จะดีได้ต้องช่วยกันสร้าง เพิ่มคนดีมีคุณธรรมเข้าไปในระบบ เพื่อตรวจสอบและควบคุมคนไม่ดี

แรงจูงใจ (Motivation) คือสิ่งซึ่งควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์อันเกิดจากความต้องการ (Needs) พลังกดดัน (Drives)หรือความปรารถนา (Desires) ที่จะพยายามดิ้นรนเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ซึ่งอาจจะเกิดมาตามธรรมชาติหรือจากการเรียนรู้ก็ ได้ แรงจูงใจเกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคลนั้น ๆ เอง ภายในได้แก่ความรู้สึกต้องการหรือขาดอะไรบางอย่างจึงเป็นพลังชักจูงหรือกระตุ้นให้มนุษย์ประกอบกิจกรรมเพื่อทดแทนสิ่งที่ขาดหรือต้องการนั้นส่วนภายนอก ได้แก่สิ่งใดก็ตามที่มาเร่งเร้า นำช่องทางและมาเสริมสร้างความปรารถนาในการประกอบกิจกรรมในตัวมนุษย์ซึ่งแรงจูงใจนี้อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายในหรือภายนอกแต่เพียงอย่างเดียวหรือทั้งสองอย่างพร้อมกันได้ อาจกล่าวได้ว่าแรงจูงใจทำให้เกิดพฤติกรรมซึ่งเกิดจากความต้องการของมนุษย์ ซึ่งความต้องการเป็นสิ่งเร้าภายในที่สำคัญกับการเกิดพฤติกรรมนอกจากนี้ยังมีสิ่งเร้าอื่นๆเช่นการยอมรับของสังคมสภาพบรรยากาศที่เป็นมิตร การบังคับขู่เข็ญการให้รางวัลหรือกำลังใจหรือการทำให้เกิดความพอใจล้วนเป็นเหตุจูงใจให้เกิดแรงจูงใจได้

"สอนตามตัวหนังสือ ..เป็นแค่อาจารย์ธรรมดา ... สอนพร้อมยกตัวอย่าง ..เป็นอาจารย์ที่ดี ... สอนและทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ..สุดยอดอาจารย์..."

สอนและเขาทำตาม...นั่นคือผู้นำ

ส่งการบ้านอาจารย์จีระ

1. วิธีสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ร่วมงานและทีมงานในวงการสหกรณ์

- สร้างพลังใจ พนักงานต้องการกำลังใจ และการยอมรับจากผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะจากหัวหน้าของเขาเอง

 - สร้างแรงบันดาลใจจากบุคคลต้นแบบ

- คิดถึงความสุขที่ได้ทำงานที่ชอบ และการยอมรับนับถือจากเพื่อนร่วมงาน

2. จะสร้างแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงานให้ประสบความสำเร็จ

- การได้รู้สึกว่าตนเองมีความเก่งกาจ และมีความภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำ

 - ความยอมรับผลงานจากหัวหน้างาน และลูกน้อง

- นึกถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และคิดถึงเงินเดือนที่จะได้รับ

3. อุปสรรคของการทำงาน ตามข้อ1-2 ให้ประสบความสำเร็จคือ

- ขาดการสื่อสารที่ดี

- การไม่ให้โอกาสพนักงาน

- การจับผิดพนักงาน

- การไม่ไว้วางใจพนักงาน

สุรพล ชัยมาลา (ผนส.5)

การบ้านอาจารย์ครับ

1. วิธีสร้างแรงบันดางใจ

ความต้องการของมนุษย์ มี 5 ระดับ ตาม Hierarchy of Needs Theory การทำงานในทุกงาน นั้นถ้าเข้าถึงความต้องการของผู้ร่วมงานและทีมงานแล้ว จะมีแรงบันดาลใจ ในการร่วมงานอย่างเสียสละและจะประสบความสำเร็จ

2. จะสร้างแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงานให้ประสบความสำเร็จ จุดมุ่งหมายเดียวกันจะพบความสำเร็จในงานร่วมกัน และผลงานเป็นที่ยอมรับขององค์กร และ ชื่อเสียงของตน

3. อุปสรรคในการทำงานร่วมกัน ขาดการยอมรับในความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

1. วิธีสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ร่วมงานในสหกรณ์ 3 วิธีได้แก่ แนะนำตัวอย่างหรือทำตัวให้เป็นต้นแบบที่ดี การจัดให้มีการประกวดหรือแข่งขัน และให้ไปอบรมหรือศึกษาดูงาน

2. การสร้างแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงาน 3 วิธีได้แก่ เงินค่าตอบแทนในการทำงาน การยกย่องชมเชย การให้โอกาสในการทำงาน

3. อุปสรรคของการทำงาน ตามข้อ1-2 ให้ประสบความสำเร็จ คือ ผู้นำองค์กรไม่ให้ความสำคัญ ไม่มีความรู้ และกระทำไม่ต่อเนื่อง

เจนวิทย์ อภิชัยนันท์

ส่งการบ้าน อาจารย์จีระ ครับ

1.เสนอวิธีการสร้างแรงบันดาลใจ 3 เรื่องให้แก่ผู้ร่วมงานและทีมงานในวงการสหกรณ์ ทั้งธกส.หรือกรมหรือสหกรณ์

แรงบันดาลใจสามารถสร้างได้โดย

1.1 เชิญบุคคลที่ประสบความสำเร็จในระดับหนี่ง ที่สามารถเป็นตัวอย่างได้มาร่วมพูดคุย หรือเสวนากับพนักงาน โดยให้บุคคลนั้นมีความสัมพันธ์กับองค์กรเราระดับหนึ่ง เช่น เคยทำงานในสหกรณ์มาก่อน หรือ เป็นผู้ที่พนักงานคุ้นเคย เพื่อสร้างความเข้าถึงแรงบันดาลใจได้ง่ายกว่า

1.2 พาพนักงานไปดูงานองค์กรอื่นๆ ที่มีการบริหารจัดการที่ดี แล้วให้พนักงานนำเสนอเรื่องความประทับใจขององค์กรนั้นๆ ที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน

1.3 ผู้นำเป็นตัวอย่างที่ดีกับพนักงาน เช่น เรื่องของความใผ่รู้ การตั้งใจทำงาน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้พนักงานปฏิบัติตาม

2.จะสร้างแรงจูงใจ (incentive) ให้ผู้ร่วมงานให้ประสบความสำเร็จ 3 เรื่อง

2.1 ให้การยกย่อง พนักงานที่มีผลงานที่ดี เช่น รางวัลพนักงานตัวอย่าง เพื่อให้ได้รับการยอมรับ

2.2 ให้ผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน เพื่อสร้างแรงจูงใจ

2.3 ให้รางวัลตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น สวัสดิการพิเศษ การพักผ่อนเป็นกรณีพิเศษ

3.อุปสรรคของการทำงานข้อ 1-2 ให้ประสบความสำเร็จคืออะไร (Execution)

3.1 นโยบายของผู้บริหารเปลี่ยน เนื่องจากความไม่ต่อเนื่อง

3.2 มุมมองและทัศนคติของพนักงาน ที่ไม่พัฒนาตัวเอง ไม่ชอบเปลี่ยนแปลง

3.3 การขาดการสื่อสารที่ดีกับพนักงาน

ส่งการบ้านค่ะ

1.วิธีการสร้างแรงบันดาลใจ 3 เรื่องให้แก่ผู้ร่วมงานและทีมงานในวงการสหกรณ์

ตอบ 1.1 พูดคุยให้กำลังใจ กระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่

1.2 ยกย่องชมเชย เมื่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ดีกว่าเป้าหมาย

1.3 ให้โอกาสเจ้าหน้าที่ได้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

2.สร้างแรงจูงใจ (incentive) ให้ผู้ร่วมงานให้ประสบความสำเร็จ 3 เรื่อง

2.1 ปรับปรุงสวัสดิการต่างๆให้เหมาะสม

2.2 จัดระบบการให้รางวัล สร้างขวัญกำลังใจ

2.3 จัดระบบการเลื่อนขั้นเงินเดือนให้เหมาะสม

3.อุปสรรคของการทำงานข้อ 1-2 ให้ประสบความสำเร็จคืออะไร (Execution)

3.1 ฝ่ายบริหารมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้นโยบายไม่คงที่

3.2 งบประมาณไม่ได้รับการอนุมัติตามที่เสนอ

3.3 ความอิจฉาริษยา

ศิริวรรณ ปัญญาธรรม ผนส.5

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiramedias/379842

เพื่ออ่านบทสัมภาษณ์ คุณปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ถึงลูกศิษย์รุ่น 5 ทุกคน

    ผมได้เช็คแล้ว บล๊อกรุ่น 5 2 ช่วง ขณะนี้ วิ่งไปแล้ว 2,600 ก็เป็นอัตราที่ผมพอใจในระดับกลาง

    ผมอยากให้บล๊อกของพวกเรา เขียนกันเยอะๆ และโดยเฉพาะการบ้านที่เรียนกับผมเสาร์ที่แล้ว ช่วยกรุณาตอบให้ครบถ้วน

    อนึ่งการจะเป็นศิษย์ที่ดีต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ ต่อสู้กับอุปนิสัยที่ไม่ค่อยชินกับการอ่านหนังสือ และการแสดงออกผ่านบล๊อกของเรา ผมเลยคาดว่า ใน 2 อาทิตย์ อยากเห็นบล๊อกทั้ง 2 ช่วงขึ้นไปใกล้ๆกับ 4,000 และใกล้ๆกับ Public Seminar และพิธีปิดก็จะขึ้นไปอย่างน้อย 5,000 ซึ่งผ่านไป 3-5 เดือน ก็จะขึ้นไปเป็นหมื่น ซึ่งปัจจุบัน บล๊อกอันดับ 1 คือ บล๊อกรุ่น 2 มีคนคลิกเข้าไปแล้ว 20,000 กว่าคน

    สุดท้ายผมขอให้ประธานศิริชัยช่วยเร่งรัดเรื่องเหล่านี้ด้วย

ความล้มเหลวไม่ได้บอกให้คุณยอมแพ้ แต่บอกให้คุณเพิ่มความพยายามให้มากขึ้นอีก

ความสำเร็จไม่ได้บอกให้คุณประมาท แต่บอกให้คุณเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นไปอีก

ความล้มเหลวไม่ได้บอกว่าคุณไม่มีวันทำได้ มันเพียงแต่บอกคุณว่าต้องใช้เวลาเพิ่มให้มากขึ้น

“ทุกเช้า เมื่อดวงอาทิตย์เริ่มจับขอบฟ้าในป่าอัฟริกา สิงโตมันรู้ว่า มันต้องล่ากวางตัวที่วิ่งช้าที่สุด หรือไม่ก็อด ขณะเดียวกัน กวางเองก็รู้ว่ามันจะต้องวิ่งให้เร็วที่สุด หรือไม่ก็ตาย” ความสำคัญทั้งหมดไม่ได้อยู่ที่คุณเป็นสิงโตหรือกวาง ความสำคัญคือ คุณวิ่งสุดกำลังของตนเองเมื่อถึงคราวก็พอแล้ว

 “คุณวิ่งเร็วที่สุดทุกครั้งแล้วหรือยัง”

ถึง เพื่อน ผนส.5 ทุกท่าน

พวกเรา ผนส.5 โปรดอ่านข้อความของ อาจารย์จีระ และปฏิบัตตามที่อาจารย์ฯแนะนำ ด้วยนำครับ

ศิริชัย ออสุวรรณ ผนส.5

คลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังข่าวโครงการผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ 5

http://radio.mcot.net/player/playProgramClip.php?id=66175

เรียนทุกท่าน

อาจารย์จีระได้เซ็นจดหมายเชิญวิทยากรแล้ว เย็นวันนี้ได้ส่งจดหมายไปให้ผู้ประสานงานกับวิทยากรที่เกี่ยวข้องทางแฟ็กซ์แล้ว

พรุ่งนี้จะส่งจดหมายตัวจริงตามไปค่ะ

ขอแสดงความนับถือ

จิตรลดา

 

ศิริวรรณ ปัญญาธรรม

ขอบคุณมากๆ ค่ะ คุณเอ๋ ทำงานรวดเร็ว ว่องไวมากค่ะ

ชื่นชมด้วยใจจริงค่ะ

พี่ศิริวรรณ

ขอบคุณ....คุณอ้อยและกรรมการรุ่นทุกท่าน แทนเพื่อน ผนส. 5 ทุกคนที่ยังไม่ได้อ่านบล็อกนี้ด้วย ผมเห็นความทุ่มเทและความละเอียดของคุณอ้อย แล้วขอบคุณจริง ๆ คงต้องเร่งหาข้อสรุปกันโดยเร็วเดียวอาจผิดพลาดได้เพราะการเชิญผู้ใหญ่แต่ละท่านที่เป็นผู้ร่วมเสวนา หากคลาดเคลื่อนจะแก้ไขลำบาก.... เดี่ยวผมจะช่วยบอกต่อใน facebook อีกทางหนึ่ง.....ช่วย ๆ กัน มีอะไรจะให้ผมช่วยก็ยินดีครับ.....

ขอบคุณ....คุณอ้อยและกรรมการรุ่นทุกท่าน แทนเพื่อน ผนส. 5 ทุกคนที่ยังไม่ได้อ่านบล็อกนี้ด้วย ผมเห็นความทุ่มเทและความละเอียดของคุณอ้อย แล้วขอบคุณจริง ๆ คงต้องเร่งหาข้อสรุปกันโดยเร็วเดียวอาจผิดพลาดได้เพราะการเชิญผู้ใหญ่แต่ละท่านที่เป็นผู้ร่วมเสวนา หากคลาดเคลื่อนจะแก้ไขลำบาก.... เดี่ยวผมจะช่วยบอกต่อใน facebook อีกทางหนึ่ง.....ช่วย ๆ กัน มีอะไรจะให้ผมช่วยก็ยินดีครับ.....

ผู้นำ....วันนี้ ต้องเป็นผู้ที่มีทั้งความรู้และคุณธรรม จึงจะเป็นแบบอย่างในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นเกิดความชอบ เชื่อมั่นและศรัทธา และอยากทำตาม การจะเป็นผู้นำที่ดีได้ต้องประพฤติดี ปฏิบัติชอบอย่างต่อเนื่อง บางครั้งจำเป็นต้องสร้างสถานการณ์เพื่อให้ผู้อื่นหรือทีมงาน แม้กระทั้งตัวเราเองและคนในครอบครัวเห็นว่า "เปลี่ยนวิธีคิดแล้วชีวิตจะเปลี่ยน"

กำหนดการนำเสนอโครงการฯ เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 5-7 ตุลาคม 2553

ผนส.5ทุกคน นำเสนอโครงการให้แล้วเสร็จใน 3 วัน

เดิมผนส.รุ่น 1-4 รุ่นละ 40 คน นำเสนอฯภายใน 2 วัน ผนส.5 กลุ่มผู้เข้าอบรมเพิ่มมาเป็น 50 คน

จึงขยายวันนำเสนอโครงการออกไปเป็น 3 วัน

คือวันที่ 5- 7 ตค. 2553

ในวันพฤหัสที่ 7 ตค. หลังจากนำเสนอโครงการเสร็จ ก็จะจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 22.00 น.

มีการแสดงของ ผนส.5 เชิญผนส.รุ่นพี่ๆ มาร่วมงานด้วย

เช้าวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม บางคนอาจจะเพลียจากงานเลี้ยงเมื่อคืน ตื่นสายหน่อยได้

พอใกล้เวลา ประมาณ 9.30 โมง ทุกคนต้องเตรียมความพร้อม

ฝ่ายสถาบันฯ จะจัดเตรียมพิธีการ เชิญรมช.ศุภชัย มอบวุฒิบัตร ในเวลา 11.00 น. เสร็จพิธี ประมาณ 12.30 น.

ฝ่ายรับลงทะเบียน (จนท. สสท.) จะช่วยรับลงทะเบียนให้ในช่วงเวลา 12.00-13.00 น.

งานสัมมนาเวทีสาธารณะจะเริ่มตั้งแต่ 13.00 -16.00 น.

ในส่วนของงานสัมมนา ผอ.กังวาล/คุณสุรพล/คุณอัมพร รับช่วยประสานติดต่อวิทยากร

เมื่อวิทยากรตอบรับครบแล้ว คุณเอ๋จะเป็นผู้ทำจดหมายเชิญวิทยากรเสนอ อ.จีระ ลงนามแล้วจัดส่ง

คุณบุญชัยเป็นคนเขียนโครงการ จากนั้นจะส่งโครงการฉบับเต็มให้คุณอรนุช

คุณอรนุชก็จะส่งโครงการไปให้ อ.ยมและประธานฯ สสท.ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบอีกครั้งก่อนส่งออกไปยังกลุ่มเป้าหมาย......

ที่บอกกล่าวมานี้ด้วยความระลึกถึงและขอบคุณเพื่อนๆผนส.5ทุกคนที่ช่วยเหลือและช่วยเป็นกำลังใจให้กันและกัน

ขอบคุณคุณเอ๋ ขอบคุณคุณอรนุช ที่ช่วยให้กิจกรรมของผนส.5 ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นไม่สะดุดค่ะ

ขอบคุณมากๆๆๆๆๆ... ขอบคุณจริงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ..ค่ะ

copy ข้อความของคุณอรนุชมาจาก Facebook  แต่แก้ไขไม่ครบถ้วน..ขออภัยค่ะ

"ในวันพฤหัสที่ 7 ตค. หลังจากนำเสนอโครงการเสร็จ ก็จะจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 22.00 น. "

ขอแก้ไขเป็น 18.00 - 22.00 น. ค่ะ

ศิริวรรณ

อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์ ผนส.5

สวัสดีพี่อ้อยคนสวย

ต้องยกเอาคำชมแบบโบราณมาชมพี่อ้อย กับพี่ๆและทีมงานทุกท่านสักหน่อยว่า"ยอดเยี่ยมกระเทียมดอง"จริงๆเลยพี่คนนี้

ขอบคุณแทนเพื่อนพี่ๆๆน้องๆผนส.5 ทุกคนที่เรามีคนที่เสียสละกับพวกเราอย่างเต็มที่ ยกนิ้งโป้งให้สองมือเลยพี่ "สุดยอด"

ผมขอคอนเฟิร์มร่วมไปดูงานที่ปักกิ่งด้วย แต่จะขอกลับก่อนเพราะติดธุระด่วนที่กทม.

อยากถามว่าอาจารย์ปรากรมหายดีหรือยัง ผมเป็นห่วงท่าน

จะได้ร่วมเดินทางไปดูงานที่ปักกิ่งหรือเปล่า?

แล้วเจอกันนะครับ

เรียน อาจารย์จีระ  ที่เคารพ

ดิฉันขอใช้สิทธิ์พูดแทนผนส.5 ทุกคนค่ะ ว่าพวกเราดีใจมากที่อาจารย์สามารถร่วมเดินทางไปด้วยได้

วันศึกษาดูงาน เรานัดกันใส่เสื้อสีเขียวค่ะ

และได้เตรียมเสื้อสีเขียวไว้เผื่ออาจารย์ด้วยแล้วค่ะ

ศิริวรรณ (เลขานุการ)ผนส.5

 

แจ้งข่าวเพื่อนๆที่ไม่ได้มาเรียนครั้งที่ 5 อีกครั้งนึงค่ะ

วันเดินทางไปศึกษาดูงาน ขึ้นรถที่สันนิบาตฯ สองทุ่มตรงค่ะ (มีอาหารเย็นให้รับประทานก่อนเดินทางค่ะ)

วันเดินทางนัดกันใส่เสื้อสีขาวนะคะ

ถ้าใครจะเดินทางไปเอง นัดเจอกันที่สุวรรณภูมิ สี่ทุ่มตรงค่ะ

อาคารผู้โดยสารขาออก ชั้น 4

ประตูทางเข้าที่ 9-10 แถว U1-8 เคาน์เตอร์สายการบิน AIR CHINA (CA )

โปรดตรงเวลานะคะ

วันศึกษาดูงาน ใส่เสื้อเขียว สวมสูทดำ(ผนส.5)

อุณหภูมิปักกิ่ง 25 - 33 องศาเซลเซียส

เตรียมหมวกหรือร่มไปด้วยนะคะ อาจมีทั้งฝนและแดด

อย่าลืมแลกเงินหยวนไปด้วย.......

อย่าพกเงินไปเยอะเกิน 50,000 บาทนะคะ เดี๋ยวถูกยึด

ของมีคม ของเหลว น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกตาแดง....ใส่กระเป๋าใบใหญ่ไปนะคะ อย่าหิ้วติดตัว

สงสัยข้องใจ....ติดต่อหัวหน้าทัวร์ คุณวู้ดดี้ 085-161-1888  นะคะ

เดินทางคืนวันอังคารที่ 31 สิงหาคม 2553 นะคะ

เรียน ท่านอาจารย์จีระ ที่เคารพ

พวกเรายินดีมากที่ได้ร่วมเดินทางกับอาจารย์ครับ สำหรับ อ.ปรากรมขณะนี้ค่อยยังชั่วแล้ว จะร่วมดูงานที่ปักกิ่งด้วย ครับผม

ศิริชัย ออสุวรรณ ผนส.5

ยุวดี เสือพันธุ์เจริญ

lส่งการบ้านอาจารย์จีระค่ะ

การสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผ้ร่วมงานและทีมงานในวงการสหกรณ์

1. พาไปดูงานในองค์กรที่เราต้องการเอาเป็นแบบอย่าง เพื่อกระตุ้นให้เกิดอยากทำตาม

2. สร้างบรรยากาศในการแข่งขันกับองค์กรที่เราอยากเอาเป็นต้นแบบ

3. ทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีกับบุคคลากรในองค์การ

การสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ร่วมงาน

1. ให้สวัสดิการต่าง ๆ เช่น ค่าตอบแทน เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส วันหยุด เวลาพัก

2. ตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้น การยอมรับจากบุคคลากรในองค์กร

3. ทำให้เขามีความภาคภูมิใจในการทำงานที่ท้าทาย

อุปสรรคของการทำงาน ข้อ 1- 2 ให้ประสบความสำเจ็จ

1. ผู้บริหารไม่ให้ความสำคํญ

2. งบประมาณไม่เพียงพอ

3. บุคคลากรในองค์กรขาดความเอาใจใส่

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกท่าน ดิฉันเห็นด้วยกับคุณอนุวรรตน์ค่ะที่ต้องยกนิ้วให้ น้องศิริวรรณ และท่านบุญชัยพร้อมทีมอาจารย์และที่ปรึกษา ที่ได้ช่วยกันประสานงานเป็นอย่างดีทุกอย่าง ฝากถึงคุณอรนุชด้วยค่ะ อยากทราบว่าของที่ระลึกยังพอหรือไม่ค่ะ ถ้าไม่พอจะได้เตรียมไปเพิ่มค่ะ

เห็นอาจารย์จีระแจ้งให้ทราบว่าจะร่วมเดินทางไปปักกิ่งด้วยรู้สึกอบอุ่นมากเลยค่ะ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ

เจริญศรี โสระมัด ผนส 5

คนที่สำเร็จการศึกษา....เมื่อวานนี้

แล้วหยุดเรียน...หยุดอ่านหนังสือ....วันนี้

เขาจะกลายเป็นผู้ไร้การศึกษา...ในวันรุ่งขึ้น

จงสร้างวิสัยการใฝ่เรียน ใฝ่รู้ตั้งแต่วันนี้...จะเป็นผู้มีการศึกษาตลอดไป

จาก fb สันติ

‎"ดู คนดูที่การกระทำ ดูผู้นำดูที่การเสียสละ" ขอชื่นชมคณะกรรมการรุ่นทุกท่าน ที่มีความตั้งใจในการทำงาน มีความเสียสละ ผมและเพื่อนๆ ผนส 5 ขอเป็นกำลังใจและยินดีให้ความร่วมมือในทุกด้าน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ที่เราต้องการร่วมกัน ครับ

จาก fb สันติ

คลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านบทความดร.จีระ

http://www.naewna.com/news.asp?ID=225472

โปรดอ่านอีกครั้ง (ผนส.5 ทุกท่านครับ)

วันที่ 31 ส.ค.53 มีการสำรองห้องพักไว้ให้ทุกท่านได้อาบน้ำ/แต่งตัว จำนวน 4 ห้อง ดังนี้

สุภาพบุรุษ ห้อง 606 และ 607

สุภาพสตรี ห้อง 608 และ 609

มีบริการอาหารเย็น 1 มื้อ (เริ่มเวลา 17.30 - 19.30 น.)

กลับจากปักกิ่งวันที่ 4 ก.ย.53 ให้บริการห้องพัก 1 คืน (out 12.00 น. วันที่ 5 ก.ย.53)

 

จาก Facebook คุณเกรียงไกร

       ผมจะเดินทางร่วมกับคณะผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ 5 ไปปักกิ่ง คืนวันอังคารที่ 31 นี้

       ดีใจที่ได้สร้างผู้นำอีก 50 คน

       ไปครั้งนี้ ผมไปร่วมแค่ 2 วัน ต้องรีบกลับมาช่วยกลุ่มอีสาน มุกดาหาร แต่ก็คิดว่า เป็นโอกาสที่ดีที่จะอยู่ร่วมกับทุกๆท่าน ซึ่งเป็นรุ่น 5 และใกล้ชิดกับผมมากขึ้น

       การสร้างผู้นำคือเน้น 5E –E ที่จะใช้ก็คือ Experiences

       ขอให้ทุกๆคนเตรียมเขียน Blog ว่า

       -ประเทศจีนกับไทย ในอนาคต จะเน้นทำงานร่วมกันอย่างไร

       -สหกรณ์ของเขากับเราแตกต่างกันอย่างไร

       -ประทับใจอะไรบ้าง

       -มีบทเรียนกับตัวเอง เรื่องอะไร

       -ช่วยทำให้เราเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร

เรียนทุกท่าน

ท่านรัฐมนตรีกรณ์มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมาเป็นผู้แทนร่วมอภิปราย เรื่อง “ขบวนการสหกรณ์สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมได้อย่างไร ” ในวันที่ 8 ตุลาคม 2553

ส่วนความคืบหน้าเกี่ยวกับวิทยากรท่านอื่น จะเรียนให้ทราบต่อไป

ขอแสดงความนับถือ

จิตรลดา

สวัสดีค่ะอาจารย์ และพี่น้องชาวผนส.ทุกคน

การศึกษาดูงานที่ปักกิ่งของผนส.5 ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว

ณ ขณะนี้ ผู้ร่วมเดินทางทุกคนคงจะกลับสู่ครอบครัวกันครบถ้วนแล้ว

อย่าลืมแชร์ประสบการณ์และทำการบ้านส่งอาจารย์ด้วยนะคะ

คิดถึงทุกๆคน อยากให้ถึงวันศุกร์ที่ 17 กันยายนเร็วๆจังเลย.....

ศิริวรรณ

อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์ ผนส.5

ส่งการบ้านอาจารย์ จีระ

คำถามแรก ไทยกับจีนในอนาคตจะเน้นทำงานร่วมกันอย่างไร

ถ้าตอบแบบกว้างๆน่าจะเป็นในเรื่องของการค้าที่น่าจะเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่ายเนื่องจากประเทสจีนมีพลเมืองประมาณ 1300 ล้านคน ยังคงมีความต้องการในเรื่องของอาหารอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งไทยเองก้มีศักยภาพในด้านนี้อยู่บวกกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศนี้และกระบวนการทางภาษีที่มีผลต่อการค้าการลงทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ อีกทั้งธุรกิจการท่องเที่ยวซึ่งถือว่าน่าจะมีโอกาสเติบโตได้มากในอนาคต เพราะรายได้ของพลเมืองของประเทศจีนสุงขึ้นจึงทำให้มีกำลังในการออกเที่ยวต่างประเทศซึ่งไทยน่าจะเป็นตลาดที่ต้องการ

คำถามที่สอง สหกรณ์จีนกับไทยแตกต่างกันอย่างไร

ข้อนี้ขอข้ามเนื่องจากที่ไปดูงานเราไม่ได้ดูงานสหกรณ์ไหน ไปดูเพียงแต่การประชุม

คำถามที่สามประทับใจอะไร

ความประทับใจน่าจะเป็นที่สถานทูตที่ท่านอัครราชทูตได้กรุณาตอบคำถามในหลายๆเรื่องอย่างเป๋นกันเองถึงแม้บางคำตอบจะเป็นการตอบในรูปแบบนักการทูตคือสายกลางแต่ก็ทำให้ได้เห็นในบางมุมที่เป็นประโยชน์สามารถนำเอามาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการวางแผนงานในอนาคตอธิเช่นมุมมองของท่านอัครราชทูตในเรื่องของปริมาณยางพาราใรอนาคตอีก 10-15 ปีข้างหน้าว่าปริมาณยางพาราที่รัฐบาลจีนส่งเสริมให้ปลูกในมณฑลยูนนาน ทางสิบสองปันนาจนกระทั่งการเช่าพื้นที่ในประเทศลาว ผลผลิตที่ได้ไม่สมบูรณ์ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ที่ปลูกต้องการเอาออกเนื่องจากให้ผลผลิตไม่ดี ดังนั้นหากประเทศไทยยังคงบริหารจัดการไดดีและสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้านอกเหนือจากการส่งเพียงวัสถุดิบเข้าประเทศจีนเพียงอย่างเดียวก็น่าจะเป้นการสร้างโอกาสได้ในอนาคต

คำถามข้อทีสีกับห้าน่าจะรวมกันคำถามคือมีบทเรียนกับตัวเองเรื่องอะไร ช่วยทำให้เราเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร

ตอบ บทเรียนจากการศึกษาดูงานในปักกิ่งครั้งนี้ทำให้เราได้ทราบว่าหากเราต้องการที่จะเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์เราจำเป็นต้องศึกษาในเรื่องต่างๆอย่างชัดเจนในทุกมุมมอง และต้องศึกษาหาข้อมูลอย่างชัดเจนในการตัดสินใจลงทุนในสิ่งใดเพราะปัญหาในการลงทุนไม่ใช่เพียงแต่สำคัญที่เงินลงทุนหรือผลิตภัณท์แต่ยังคงมีในส่วนในเรื่องของข้อกฏหมายและนโยบายของรัฐที่เปลี่ยนแปลงทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป อีกทั้งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมทำธุรกิจหากเรามีความเชื่อมั่นและซื่อสัตย์ย่อมทำให้ทุกสิ่งง่ายขึ้น

ชไมพร ตันกุล [IP: 112.121.134.51]

เมื่อ 02 กันยายน 2553 16:47

#2159181 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]

เรียน ผนส.5 ทุกท่าน

การไปดูงานที่จีน ทุกท่านคงได้ประสบการณ์มากมาย อย่าลืมเล่าสู่กันฟัง ในช่วง morning coffee นะคะ และท่านใดที่ยังไม่ได้ส่งโครงการพัฒนาสหกรณ์ เร่งมือหน่อยนะคะ ส่วนท่านที่ทำเสร็จสมบูรณ์แล้ว สามารถส่งต้นฉบับ จำนวน 3 ชุด พร้อมกับ power point ได้ที่ ชไมพร หรือส่ง mail มาที่ [email protected] โปรแกรมการเรียน ครั้งที่ 7/8/9และปิดโครงการ ได้จัดส่งมาให้แล้วค่ะ

ด้วยความเคารพทุกท่าน ชไมพร

กำหนดการเรียนครั้งที่ 7

ระหว่างวันที่ 17 – 18 กันยายน 2553

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2553

เวลา 08.30 - 09.00 น. Morning Coffee

เวลา 09.00 - 12.00 น. การบริหารการเงินและความเสี่ยงกับการทำงานของสหกรณ์

(Financial and Risk Management) โดย ดร.กุศยา ลีฬาหวงศ์

เวลา 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 - 16.00 น. ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (Leadership in the changed word )

โดย Mr. Peter Bjork

เวลา 18.00 - 19.30 น. รับประทานอาหารเย็น

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2553

เวลา 08.30 - 09.00 น. Morning Coffee

เวลา 09.00 - 12.00 น. การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์องค์กร

(Communication and Public Relation in Organization)

โดย รศ.ดร.ยุบล เบญจรงค์กิจ

เวลา 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 - 16.00 น. การบริหารอารมณ์ (EQ Development)

โดย อาจารย์แสงอุษา โลจนานนท์

กำหนดการเรียนครั้งที่ 8

ระหว่างวันที่ 24 – 25 กันยายน 2553

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2553

เวลา 08.30 - 09.00 น. Morning Coffee

เวลา 09.00 - 12.00 น. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการทำงาน (IT and its Application)

โดย ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์

เวลา 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 - 16.00 น. การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning)

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

เวลา 18.00 - 19.30 น. รับประทานอาหารเย็น

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน 2553

เวลา 08.30 - 09.00 น. Morning Coffee

เวลา 09.00 - 12.00 น. ผู้นำกับการพัฒนาระบบความคิด (Leadership and Systematical Thinking)

โดย ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

เวลา 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 - 16.00 น. ผู้นำในระบอบประชาธิปไตย (Leadership in Democracy Society)

โดย นายโคทม อารียา

กำหนดการเรียนครั้งที่ 9

ระหว่างวันที่ 5 – 7 ตุลาคม 2553

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2553

เวลา 09.00 - 12.00 น. นำเสนอโครงการพัฒนาสหกรณ์รายบุคคล

โดย ผู้เข้าอบรม

Commentator: 1. นายมงคลัตถ์ พุกะนัดด์

2. ดร.ยม นาคสุข

3. ดร.สุวิชัย ศุภรานนท์

เวลา 12.00 -13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 -16.00 น. นำเสนอโครงการพัฒนาสหกรณ์รายบุคคล

โดย ผู้เข้าอบรม

Commentator: 1. ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

2. ดร.ยม นาคสุข

3. ดร.สุวิชัย ศุภรานนท์

เวลา 18.00 -19.30 น. รับประทานอาหารเย็น

วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553

เวลา 09.00 - 12.00 น. นำเสนอโครงการพัฒนาสหกรณ์รายบุคคล

โดย ผู้เข้าอบรม

Commentator: 1. ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

2. ดร.ยม นาคสุข

3. ดร.สุวิชัย ศุภรานนท์

เวลา 12.00 -13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 -16.00 น. นำเสนอโครงการพัฒนาสหกรณ์รายบุคคล

โดย ผู้เข้าอบรม

Commentator: 1. ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

2. ดร.ยม นาคสุข

3. ดร.สุวิชัย ศุภรานนท์

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2553

เวลา 09.00 - 12.00 น. นำเสนอโครงการพัฒนาสหกรณ์รายบุคคล

โดย ผู้เข้าอบรม

Commentator: 1. ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

2. ดร.ยม นาคสุข

3. ดร.สุวิชัย ศุภรานนท์

เวลา 12.00 -13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 - 16.00 น. นำเสนอโครงการพัฒนาสหกรณ์รายบุคคล

โดย ผู้เข้าอบรม

Commentator: 1. ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

2. ดร.ยม นาคสุข

3. ดร.สุวิชัย ศุภรานนท์

เวลา 18.00 - 22.00 น. กิจกรรมแสดงความยินดี กับผู้นำที่สำเร็จหลักสูตร

กำหนดการพิธีปิดโครงการและมอบวุฒิบัตร

โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ หลักสูตร “ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง” รุ่นที่ 5 (ผนส.5)

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2553

ณ ห้องประชุมศูนย์รัชนีแจ่มจรัส สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

เวลา 08.00 – 09.00 น.  ลงทะเบียน

เวลา 09.00 – 10.00 น.  แขกผู้มีเกียรติ กรรมการบริหารฯ และผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง รุ่นที่ 1-4

พร้อมกันในห้องประชุม

เวลา 10.00 – 12.00 น.  พิธีปิดการฝึกอบรม

- กล่าวรายงาน

โดย ประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์ฯ

(นายมงคลัตถ์ พุกะนัดด์)

- มอบวุฒิบัตร และกล่าวปิด

โดย ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

(นายศุภชัย โพธิ์สุ)

- กล่าวขอบคุณ

โดย ศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

- มอบของที่ระลึก

โดย ประธานกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์ฯ

- ถ่ายภาพหมู่

เวลา 12.00 – 13.00 น.  รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 – 16.00 น.  กิจกรรมสัมมนาวิชาการ

- เรื่อง ขบวนการสหกรณ์สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

สังคม ได้อย่างไร

โดย ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง รุ่นที่ 5

อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์ ผนส.5

ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง” รุ่นที่ ๕ โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี

ณ วัดพระบาทน้ำพุ ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

-------------------------------------------------------------

ด้วยวัดพระบาทน้ำพุมีสิ่งสำคัญในวัดได้แก่ รอยพระพุทธบาทถูกครอบอยู่ภายใต้มณฑป มีโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ที่ฟักฟื้นและรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้ายที่อาจจะกล่าวได้ว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในอุโบสถขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร มีพระประธานพร้อมด้วยพระอัครสาวก นอกจากนี้ในถ้ำบนเขาที่อยู่ในวัด ภายในมีหลวงพ่อดำ ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา และพระโพธิสัตว์ ๙ องค์ ส่วนบนยอดภูเขาพระอุทัย อโนโม สร้างหลวงพ่อขาวขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๕๒๓

วัดแห่งนี้เริ่มต้นรับรักษาและพักฟื้นผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๕ และดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผู้ริเริ่มโครงการคือเจ้าอาวาส พระอาทรประชานาถ การดำเนินการเกี่ยวกับโรคเอดส์มีสองส่วน ส่วนแรกคือรับดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคเอดส์ทั่วไปจากทั่วประเทศ ส่วนที่สองคือการรับอุปการะเด็กกำพร้าที่ได้รับผลกระทบโรคเอดส์จากบิดามารดา ทั้งสองส่วนอยู่ในการดูแลของวัดประมาณ ๒,๐๐๐ คน แบ่งเป็นเด็กประมาณ ๑,๓๐๐ คน ในแต่ละเดือนวัดจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ ๔ ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าอาหาร ยารักษาโรค ค่าบริหารจัดการภายในวัด และค่าเผาศพ ปัจจุบันได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลประมาณเดือนละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือพร้อมทั้งยาต้านไวรัสเอดส์และอาสาสมัครเป็นการรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งวัดพระบาทน้ำพุ ยังขาดทุนทรัพย์เพื่อใช้จ่ายอีกเป็นจำนวนมาก คณะ “ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง” รุ่นที่ ๕ โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จึงขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อเป็นทุนทรัพย์สนับสนุนโครงการของทางวัดดังกล่าว

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงดลบันดาลให้ท่าน และครอบครัว จงประสบแต่ความสุข ความเจริญด้วยจตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ ตลอดกาลนานเทอญ

กำหนดการ

วันเสาร์ที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

เวลา ๐๗.๐๐ น. ออกเดินทางจากสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ถนนพิชัย กทม.

เวลา ๑๐.๐๐ น. ตั้งองค์ผ้าป่าสามัคคี

เวลา ๑๐.๑๙ น. พิธีทอดผ้าป่าสามัคคี

เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพล แด่พระภิกษุสงฆ์

เวลา ๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

จัดเลี้ยงอาหารกลางวันแก่อาสาสมัคร/เจ้าหน้าที่และผู้ป่วยในความดูแลของวัด

เวลา ๑๓.๐๐ น. เดินทางกลับ

ประธานฝ่ายสงฆ์

ท่านเจ้าคุณพระอุดมประชาทร (เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ)

ประธานฝ่ายฆราวาส

นายมงคลัตถ์ พุกะนัดด์ ประธานกรรมการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานคณะกรรมการบริหารและพัฒนาหลักสูตร โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

นายศิริชัย ออสุวรรณ ประธานนักศึกษาโครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ หลักสูตรผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง รุ่นที่ ๕

รองประธาน

(ฝ่ายคณะกรรมการบริหารและพัฒนาหลักสูตร และทีมงานบริหารโครงการผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง)

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นายเลอพงษ์ มุสิกะมาน รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์

นายสมชาย ศิริรุ่งกิจ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศฯ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

นายสมเพียร ศรีปัญญา ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อสถาบัน ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ

นายเฉลิมพล ดุลสัมพันธ์ ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด

นายอเนก ศรีสำราญรุ่งเรือง ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ จำกัด

นายชินชัย สถิรยากร ประธานกรรมการสหกรณ์ประมงแม่กลอง จำกัด

อ.ยม นาคสุข ผู้อำนวยการศูนย์บริหารและพัฒนาทุนมนุษย์

ดร.สุวิชัย ศุภรานนท์ ผู้อำนวยการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

นางสาวอำไพ เหลืองภิรมย์ รองผู้อำนวยการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

นายเกรียงไกร ขำอินทร์ หัวหน้าสถาบันพิทยาลงกรณและวิชาการ

นางสาวอรนุช กันภัย ผู้ช่วยหัวหน้าสถาบันพิทยาลงกรณและวิชาการ

รองประธาน

(ฝ่ายผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง รุ่นที่ ๕)

นายวีรศักดิ์ สงเคราะห์ รองประธาน สหกรณ์การเกษตรมะขาม จำกัด จ. จันทบุรี

พันเอกยุทธเดช พุฒตาล กรรมการ สสหกรณ์ออมทรัพย์กองบัญชาการกองทัพไทย จำกัด

รศ.ปรากรม ประยูรรัตน์ ประธานกรรมการร้านสหกรณ์มหาวิทยาลัยบูรพา จำกัด จ.ชลบุรี

นายวัฒนศักดิ์ จังจรูญ ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรเขาสวนกวาง จำกัด จ.ขอนแก่น

นายณฐกร แก้วดี กรรมการผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ธุรกิจก๊าซ ปตท. จำกัด จ.ชลบุรี

นายสันติ ขจรเวชไพศาล ประธานกรรมการสหกรณ์นิคมชุมแสงจันทร์ จำกัด จ.ระยอง

นายชัยณรงค์ กัณหา ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรเมืองศรีสะเกษ จำกัด จ. ศรีษะเกษ

นายรุ่งโรจน์ วรชมพู กรรมการ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขนครราชสีมา จำกัด จ.นครราชสีมา

นายธวัชชัย อินทรทัต รองประธาน สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกฟน. จำกัด

นายสมชาย ทองพันธ์อยู่ ประธานกรรมการ ชุมนุมร้านสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด

นายคำนึง โสตถิอุดม กรรมการ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด

นายมานะ สุดสงวน รองประธาน ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด

นายศรชัย วิจิตรพร ประธานกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนพระหฤทัยเชียงใหม่ จำกัด จ.เชียงใหม่

นายภาวัต ศุภสุวรรณ ประธานกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเคหะรัษฎาภูเก็ต จำกัด จ. ภูเก็ต

นายภราดร สื่อมโนธรรม ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์มูลนิธิโครงการหลวง จำกัด จ. เชียงใหม่

พันตำรวจเอกบุญชัย ฤาชัยสา กรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติ จำกัด

นายอนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์ เลขานุการ สหกรณ์การเกษตรเมืองจันทบุรี จำกัด จ.จันทบุรี

นายอัมพร เลิศกิจเจริญไพศาล กรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย จำกัด

นายวิเชียร พวงศรี ประธานกรรมการสหกรณ์บริการเดินรถนครสวรรค์ จำกัด จ.นครสวรรค์

นายอานุภาพ กระจ่างแจ้ง ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรเมืองระยอง จำกัด จ. ระยอง

นายจิตติ เจียมเจือจันทร์ ผู้จัดการ สหกรณ์นิคมลานสัก จำกัด จ.อุทัยธานี

นายเติมศักดิ์ จันทะจร ผู้จัดการ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูมหาสารคาม จำกัด จ. มหาสารคาม

นายทักษิณ สารมณี ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรชนบท จำกัด จ.ขอนแก่น

นายอดิศักดิ์ ฟักแฟง ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรคลองขลุง จำกัด จ.กำแพงเพชร

นายศิริพงษ์ มีประเสริฐ ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรเมืองนครราชสีมา จำกัด จ.นครราชสีมา

นางเจริญศรี โสระมัด ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรขาณุวรลักษณ์ จำกัด จ. กำแพงเพชร

ว่าที่ ร.ท.สุวรรณ แป้นเพ็ชร ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรสามโคก จำกัด จ.ปทุมธานี

นายอารี ภู่สกุล ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรเมืองอยุธยา จำกัด จ.พระนครศรีอยุธยา

นายถาวร เนคมานุรักษ์ ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรบางบาล จำกัด จ.พระนครศรีอยุธยา

นายสมคิด ศรีพยัคฆ์ ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรบางกรวย จำกัด จ. นนทบุรี

นางสาวสุมาลัย รักเขตรการ ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรลานสัก จำกัด จ. อุทัยธานี

นางยุวดี เสือพันธุ์เจริญ ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรวิเศษชัยชาญ จำกัด จ.อ่างทอง

นายชูชีพ วงษ์สูง ผู้จัดการ สหกรณ์ประมงระยอง จำกัด จ.ระยอง

นายอรุณ พรหมคำ ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรเมืองสงขลา จำกัด จ. สงขลา

นายศุภกร ชูเกษม ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรปักธงชัย จำกัด จ. นครราชสีมา

นายเกษม ศรีเกื้อกลิ่น ผู้จัดการ สหกรณ์การเกษตรพังโคน จำกัด จ. สกลนคร

นายเจนวิทย์ อภิชัยนันท์ ผู้จัดการ ร้านสหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด

นายมาโนช วรรณบุตร นักวิชาการฯ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดลพบุรี

นางสาวภาวินี ตุวยานนท์ นักวิชาการฯ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครพนม

นางอรพิน เทียมเมฆ นักวิชาการ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

นายจิระ พิมลลิขิต ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำกัด

นายกังวาล เนียมสุวรรณ ผู้อำนวยการกองการพัฒนาธุรกิจฯ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

นายศิริศักดิ์ หลงจิตร ผู้บริหารทีมฝ่ายสินเชื่อฯ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำกัด

นายวิรัช รมณีย์ ผู้บริหารทีมฝ่ายสินเชื่อฯ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำกัด

นายสามารถ เอี่ยมวงษ์ ผู้บริหารทีมฝ่ายสินเชื่อฯ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำกัด

นายสุรพล ชัยมาลา รองเลขาธิการ สมาคมเศรษฐศาสตร์สหกรณ์แห่งประเทศไทย

นายชโลทร สุวรรณลาภเจริญ เลขานุการ สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิต จำกัด

นางศิริวรรณ ปัญญาธรรม ผู้จัดการ สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด

นางสิริพชนันท์ ชิตญาติ รองผู้จัดการ สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กฟน. จำกัด

กรรมการ

ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูงรุ่นที่ ๑ รุ่นที่ ๒ รุ่นที่ ๓ และรุ่นที่ ๔ ทุกท่าน

นางสาวชไมพร ตันกุล นายประทิน บุญตุ้ย นายภูมินทร์ เจือไทย

นายบัณฑิต แทนอิสระ นางสาวจิตรลดา ลียากาศ นางสาวเอราวรรณ แก้วเนื้ออ่อน

ท่านที่ประสงค์จะมอบปัจจัยเพื่อร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีครั้งนี้ สามารถดำเนินการได้ ดังนี้

1. ฝากส่งมากับประธาน รองประธาน และกรรมการทุกคน

2. ฝากเข้า บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์

เลขที่บัญชี ๑๕๒ ๔ ๖๙๓๐๖ ๔

ชื่อบัญชี “นายบุญชัย ฤาชัยสาและนางศิริวรรณ ปัญญาธรรมและนายเจนวิทย์ อภิชัยนันท์”

“ผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง” รุ่นที่ ๕ โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี

ณ วัดพระบาทน้ำพุ ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

วันเสาร์ที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๑๐.๑๙ น.

------------------------------------------------------------------

ชื่อ-นามสกุลผู้บริจาค…………………………………………………………………………………………………..………

ที่อยู่ สหกรณ์ เลขที่……………….หมู่ที่…………….ถนน………………………..….ตำบล/แขวง…………………………..

อำเภอ/เขต……………………………จังหวัด………………...........................................รหัสไปรษณีย์……………………

จำนวนเงินบริจาค…………………………………..บาท

โดยทาง (กรุณาทำเครื่องหมาย / ในช่องว่างด้านล่าง)

( ) ฝากส่ง ชื่อบุคคล.........................................................................................................................

( ) ฝากเข้า บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์

เลขที่บัญชี ๑๕๒ ๔ ๖๙๓๐๖ ๔

ชื่อบัญชี “นายบุญชัย ฤาชัยสาและนางศิริวรรณ ปัญญาธรรมและนายเจนวิทย์ อภิชัยนันท์”

ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัว

จงประสบแต่ความสุขความเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติตลอดกาลนานเทอญ

หมายเหตุ กรุณาส่งใบนำฝาก และเอกสารฉบับนี้ กลับไปยัง

คุณศิริวรรณ ปัญญาธรรม หมายเลขโทรสาร ๐๒-๖๑๑-๗๔๑๑

เพื่อจัดทำใบอนุโมทนาบัตรส่งให้แก่ท่านต่อไป

วิรัช รมณีย์ [IP: 110.164.202.27]

เมื่อ 13 กันยายน 2553 15:40

#2173176 [ แจ้งไม่เหมาะสม ]

อาจารย์ ดร.จิระ ครับผมและเพื่อนได้ช่วยกันสรุปบทเรียนจากการดูงานในภาพรวมเบื้องต้นแยกเป็นข้อ ๆ ดัวนี้

1. จีนกับไทย ในอนาคตจะทำงานร่วมกันอย่างไร ?

1.1 ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศ ให้ความสำคัญและเพิ่มบทบาทในเวที ICA-AP มากขึ้น

1.2 ไทย-จีน เปิดเวทีความร่วมมือด้านการผลิต การค้า และเทคโนโลยี ระหว่างสหกรณ์ของสองประเทศ

1.3 รัฐบาล ควรใช้มาตรการสนับสนุนกระบวนการสหกรณ์ เช่น กำหนดให้ Supermarket หรือร้านสะดวกซื้อของต่างชาติต้องมี

สินค้าของสหกรณ์วางจำหน่าย หรือการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้บริดภคที่ซื้อสินค้าสหกรณ์ เป็นต้น

1.4 รัฐบาลส่งเสริมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการสหกรณ์ตั้งแต่ระดับเยาวชนจนถึงบุคคลากรในกระบวนการสหกรณ์

โดยทำโครงการแลกเปลี่ยน ฯ

2. สหกรณ์ไทย-จีน ต่างกันอย่างไร ?

2.1 โครงสร้งการบริหารจัดการ จีนบริหารแบบรวมศูนย์ รัฐบาลกลางควบคุมและกำหนดนโยบายผ่านกรรมการบริหาร แต่ไทย

ยึดถือความเป็นอิสระ ตามหลักประชาธิปไตย มีการรวมศูนย์กันลักษณะการเป็นชุมนุมสหกรณ์ หรือ สสท. ซึ่งยังไม่เข้ม

แข็งเพียงพอ

2.2 จีนมีกฎหมายที่เคร่งครัด ยึดนโยบายของรัฐเป็นหลัก แต่ไทยยึดติดกับการเมืองให้ความสำคัญกับฐานคะแนนมากกว่า

อุดมการณ์

3. ประทับใจอะไร ?

3.1 ความเป็นระเบียบ การจัดระบบผังเมือง การจราจร เป็นต้น

3.2 ความสามารถในการบริหารตนเองและประเทศของฮ่องเต้จีนโบราณ

3.3 ความสวยงานของพระราชวังต้องห้าม

4. บทเรียนกับตัวเอง?

" ความเกรงใจและขาดการเตรียมข้อมูลล่วงหน้า อาจส่งผลต่อการเป็นผู้นำที่ดีได้"

5. ช่วยให้เราเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร ?

5.1 กำแพงเมืองจีน สามารถบอกถึงความพยายาม หรือพลังที่จะฟันฝ่าอุปสรรคของผู้นำ(ฮ่องเต้)

5.2 การจัดประตูเข้า-ออกเมือง ต่างกันเช่น ประตูชัยใช้เมื่อทหารเข้าออกยามสงคราม ประตูขนนำเสบียงอาหาร ขนถ่านหิน

แยกจากกันเพื่อความง่ายต่อการควบคุมป้องกันข้าศึก เป็นต้น

5.3 การเป็นผู้นำคนจำนวนมาก ให้เต็มใจและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้น ทุกคนต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองและยึดมั่น

ในความเป็นตนเองและเพื่อนร่วมงาน รวมถึงสังคมรอบข้างจึงจะสร้างผู้นำที่ดีและยังยืน

ส่งการบ้าน อ.จีระ

ข้อ 1. ประเทศจีนกับไทยในอนาคตจะเน้นทำงานร่วมกันอย่างไร

1.1 การลงทุนทำธุรกิจการค้าส่งออกสินค้าจำพวกอาหาร จีนน่าจะเป็นตลาดใหญ่ของการส่งออกสินค้าจำพวกอาหาร/ผลิตผลการเกษตรเช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ผลไม้ต่างๆ

1.2 ความร่วมมือกันทางด้านการผลิต เทคโนโลยีใหม่ๆ

ข้อ 2. สหกรณ์ของเขากับเราแตกต่างกันอย่างไร

ได้เห็นบรรยากาศการประชุมสมัชชาใหญ่ผู้แทนสมาชิกขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค (International Cooperative Alliance,Asia and Pacific - ICA AP)ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมนานาชาติปักกิ่ง (Beijing International Convention Center - BICC)และมีการจัดงานแสดงสินค้าสหกรณ์ด้วย

2.1 สังเกตเห็นได้ว่า รัฐบาลจีนให้การสนับสนุน และให้ความสำคัญกับสหกรณ์ ทำให้สหกรณ์เป็นที่รู้จักของหน่วยงานและเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป

2.2 แบรนด์สินค้าสหกรณ์เป็นที่ยอมรับ ผลผลิต/ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดี

2.3 ความเป็นเมืองที่มีการปกครองระบบพรรค บริหารงานแบบรวมศูนย์ ทำให้นโยบายต่างๆได้รับการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เห็นผลได้ชัดเจน ทุกคนยอมรับ เชื่อฟังและปฏิบัติตาม

ข้อ 3. ประทับใจอะไรบ้าง

3.1 เท่าที่ได้สัมผัสเมืองหลวงของประเทศจีนอยู่สามวัน สังเกตได้ว่าแม้การจราจรจะหนาแน่นแต่ก็ไม่ค่อยเห็นมีควันพิษจากท่อไอเสีย ได้ทราบจากไกด์ท้องถิ่นว่า จีนมีนโยบายให้ใช้เฉพาะรถยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมันดีเซล

3.2 สนับสนุนประชาชนใช้รถจักรยาน มีทางสำหรับการใช้รถจักรยานชัดเจน

3.3 ความกตัญญูรู้คุณต่อบรรพบุรุษ / ความเพียรพยายามในการเอาชนะอุปสรรค-ปัญหาต่างๆ

3.4 อารยธรรมและสิ่งก่อสร้างที่ได้ไปเยี่ยมชม เช่น กำแพงเมืองจีน พระราชวังต้องห้าม สุสานเหมาเจ๋อตุง

ข้อ 4. มีบทเรียนกับตัวเอง เรื่องอะไร

การจัดการประชุมสัมมนาขนาดใหญ่ / การจัดการในการอำนวยความสะดวกผู้เข้าสัมมนา เช่น ชุดหูฟัง(แปลภาษา) / การรักษาความปลอดภัย / การจัดนิทรรศการแสดงสินค้าสหกรณ์

ข้อ 5. ช่วยทำให้เราเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร

กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้ารับทั้งผิดและชอบ

การจะพัฒนาคนให้เป็นผู้นำต้องมีการปลูกฝัง ให้ความรู้ ให้โอกาสในการตัดสินใจ

ควรต้องเริ่มตั้งแต่ระดับเยาวชน ให้ได้รับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ เอาจริงเอาจัง เรียนรู้ ฝึกฝน ดังเช่นที่ประเทศจีนเป็นหนึ่งในกีฬาหลายๆด้าน ก็มีการคัดและฝึกเยาวชนแต่ยังเด็ก

กำหนดการศึกษาดูงานจังหวัดจันทบุรีระหว่างวันที่ 19 – 21 กันยายน 2553

วันที่ 19 กันยายน 53

6.00 น.ออกเดินทางจากที่ทำการอบต.

14.00 น.เดินทางถึงจังหวัดจันทบุรี เข้าชมวัดเขาสุกิม กราบนมัสการพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิรโย สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เพื่อเป็นศิริมงคล และเยี่ยมชมสิ่งของล้ำค่า เครื่องเคลือบลายครามและงานแกะสลัก ต่างๆ16.00 น. เข้าชมโบสถ์คริสก่อสร้างก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง นับว่าทรงคุณค่าและมีความงามติดอันดับโลก

17.00 น.เข้าที่พักที่โรงแรม เค พี แกรนด์ โรงแรมชั้นนำในจังหวัด อยู่ในตัวเมือง พักผ่อนอิสระท่องเที่ยวยามคำคืน

วันที่ 20 กันยายน

9.00 น.เข้าศึกษาดูงานที่สหกรณ์การเกษตรเมืองจันทบุรี ดูในเรื่องการบริหารงาน การรวบรวมผลผลิต และการจัดสวัสดิการ

10.00น. เที่ยวชมน้ำตกพลิ้ว น้ำตกที่มีความสวยงาม มีฝูงปลาพลวง แวะชมวัดชากใหญ่ ชมงานปั้นปูนพุทธประวัติของสมเด็จพระพุทธเจ้าอันเลื่องลือ

14.00 น.เข้าชมโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการอ่าวคุ้งกระเบนเป็นแหล่งศึกษาและพัฒนาธรรมชาติทางทะเล เที่ยวชมป่าโกงกาง และพรรณไม้ทะเลที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ทางธรรมชาติและเป็นห่วงโซ่อาหารอันสำคัญแก่ท้องทะเล

16.00 น. พักผ่อนตามสบายเที่ยวชมชายหาดอันแสนสวยแห่งทะเลเจ้าหลาว

19.00 น กลับที่พัก

วันที่ 21 กันยายน 53

8.00 น.ออกเดินทางจากที่พัก แวะซื้อของฝากจากร้านต้นตำรับ ครบทุกอย่าง ราคาเป็นธรรม เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

การบรรยายเรื่อง การบริหารการเงินและความเสี่ยงกับการทำงานของสหกรณ์ โดย ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์ ในวันที่ 17 กันยายน 2553

  •  เป้าหมายสูงสุดบริหารการเงินของบริษัทเอกชนคือ ความมั่งคั่งและความพึงพอใจของผู้ถือหุ้นนั่นคือเงินปันผล สวัสดิการ ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุด
  • ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นกับความสามารถในการทำกำไรของกิจการ
  • ทำไมสมาชิกอยากจะเป็นสมาชิกสหกรณ์
  • เข้ามาถือหุ้นแล้วได้รับผลประโยชน์
  • แนวโน้มในอนาคตของสหกรณ์นั้นซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน เช่น วิสัยทัศน์ผู้บริหาร การบริหารจัดการ ตัวสมาชิก ผลการดำเนินงานและปัจจัยภายนอก เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี Demand และ Supply
  • หัวใจการบริหารการเงินคือ การรักษาสภาพคล่องให้ได้ เพราะสำคัญกว่ากำไร มันเปรียบเสมือนเลือด
  • ตลาดการเงินนอกระบบ เกิดจากการตกลงของคนสองคน เช่น ยืมเพื่อน ยืมญาติ นายทุน
  • แบ่งตามระยะเวลา
  • ตลาดเงิน มีระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี
  • ตลาดทุนมีระยะเวลายาวกว่า 1 ปี แบ่งเป็น
  • ตลาดแรก เช่น IPO ขายให้ประชาชนครั้งแรก
  • ตลาดรอง ช่วยให้บริษทต่างๆระดมทุนได้ง่ายขึ้น เช่น ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า มีตัวกลางคือ ผู้รับประกันการขาย  แต่สหกรณ์ไม่มีตลาดรอง แต่สามารถโอนหุ้นให้กับสมาชิกคนอื่นได้ ถือว่า เป็นตลาดรองแบบไม่เป็นทางการ
    • แบ่งตามระยะเวลาส่งมอบ
    • ตลาดส่งมอบทันที (Spot Market)
    • ตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Future Market) สามารถขายออกได้ถ้าไม่ต้องการสินค้าจริงๆ เราจะจ่ายแค่ 5% ก่อน แล้ววันรับของไปจ่ายอีกที่เหลือ ตลาดแบบนี้ใช้บริหารความเสี่ยงได้ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าใช้การประมูลราคา ต้องซื้อขายผ่านนายหน้า ต้องเสียค่าคอมมิชชั่น

      สถาบันการเงิน

      • ธนาคารพาณิชย์
      • บริษัทเงินทุน
      • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
      • สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
      • สถาบันการเงินประเภทให้สินเชื่อรายย่อย
      • ตลาดตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง (อายุสั้น) หุ้นกู้เอกชน
      • ตลาดตราสารทุน เช่นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) MAI (สำหรับบริษัทขนาดเล็ก)
      • มีบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเป็นตัวแทนซื้อขายตราสารหนี้และตราสารทุน
      • ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต
      • ตลาดตราสารอนุพันธ์ มูลค่าตราสารขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์ที่คู่กับมันอยู่
      • Non-bank ให้กู้อย่างเดียว เช่น อีอ้อน
      • สหกรณ์ก็อยู่ในระบบการเงิน
      • คนให้กู้ ผู้ออม อาจจะเป็นคนคนเดียวกันหรือคนละคนกับผู้กู้ มีทั้งชาวบ้าน บริษัท รัฐบาลและชาวต่างชาติ
      • ตัวกลางทางการเงินคือสถาบันการเงินมาช่วยจับคู่คนให้กู้กับผู้กู้ เป็นการลงทุนหรือระดมทุนทางอ้อม
      • การลงทุนทางตรงคือ นำเงินไปซื้อตั๋วเงินต่างๆ
      • วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เป็นผลมาจากตราสารอนุพันธ์
      • ควรลงทุนในสิ่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ทันทีแต่มูลค่าต้องไม่ลดลง
      • การคิดถึงความเสี่ยงในการคิดถึงผลตอบแทน อะไรที่ผลตอบแทนมากก็เสี่ยงมาก เราไม่ชอบความเสี่ยง แม้ความเสี่ยงเท่ากัน เราก็เลือกที่ผลตอบแทนมากกว่า
      • การบริหารการเงินคือทำให้มีสภาพคล่อง บริหารเงินทุนหมุนเวียน เช่น
      • เงินสด
      • ลูกหนี้การค้า เรามีสิทธิ์ทวง
      • สินค้าคงคลัง มีสภาพคล่องน้อยที่สุด
      • เจ้าหนี้ระยะสั้น
      • เจ้าหนี้การค้า อะไรซื้อแบบเชื่อได้ก่อน ก็ควรทำ
      • หนี้สินหมุนเวียน
      • ควรจ่ายช้าแต่เก็บเงินเร็ว
      • หลักบัญชีเงินสด ดูกระแสเงินสด
      • งบการเงินและรายงานการเงิน ต้องดูงบดุล งบกำไร ขาดทุน งบกระแสเงินสด
      • ความเสี่ยงบางอย่างป้องกันและลดได้
      • หลักการบริหารความเสี่ยง
      • จำกัดความเสียหาย เช่นประกันการเสี่ยงภัย
      • กระจายความเสี่ยง ทำให้ความเสี่ยงน้อยลง เช่น ลงทุนหลายๆอย่าง แต่อย่ากระจายมากไปเพราะจะเพิ่มความเสี่ยง
      • กำจัดความเสี่ยง Hedging เช่น รู้ว่า ราคาจะขึ้น อาจไปทำประกันความเสี่ยงไว้
      • SWOT วางแผนกลยุทธ์
      • ทำงบประมาณ
      • วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อหาทางป้องกัน
      • การจัดทำประมาณทางการเงิน
      • แหล่งรายได้ เช่น การขาย บริการ กิจกรรมต่างๆ
      • แหล่งใช้เงิน เช่น งบลงทุน (ที่ดิน เครื่องมือ) งบดำเนินการ (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าแรง)
      • การวิเคราะห์ทางการเงิน
      • ถ้าสภาพคล่องต่ำกว่า 1 จะไม่มีเงินให้เจ้าหนี้ระยะสั้น
      • กำไรสุทธิหารด้วยยอดขาย ทำให้ทราบความสามารถในการทำกำไร ต้องดูอย่างน้อย 3 ปีเทียบกัน จะได้ทราบแนวโน้ม
      • ดูสัดส่วนว่ายอดขายเพิ่มขึ้นหรือลดลง

 

ผมมีข้อความที่น่าจะสร้างกำลังใจในการทำงานเมื่อเจอปัญหาและอุปสรรคมาให้อ่าน

 ตราบใดที่คุณยังไม่ลงมือทำ อย่าเชื่อว่าคุณทำไม้ได้

คนงานหลายคน กลายเป็นเศรษฐีมาแล้ว

เด็กขายรองเท้า กลายเป็นพ่อค้าที่ยิ่งใหญ่

เด็กในไร่นา กลายเป็นนักปราชญ์

นักโทษในคุก กลายเป็นประธานาธิบดิ

นายสิบ กลายเป็นจักรพรรดิ

คุณเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของเบียร์ช้าง เมื่อก่อนเป็นคนงานในโรงเหล้า

คุณวินัย เสริมศิริมงคลเจ้าของห้างพาต้า เมื่อก่อนเป็นคนขายรองเท้าแตะที่สนามหลวง

 หลวงพ่อปยุต ปยุตโต ทั่วโลกยกย่องให้เป็นปราชญ์ของชาวพุทธ เป็นเด็กลูกชาวนาที่สุพรรณบุรี

เนลสัน แมนเดล่า ประธานาธิปดีสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ก่อนเป็นประธานาธิปดี ติดคุกอยู่ 27 ปี

จักรพรรดินโปเลียน ไต่เต้ามาจากนายสิบ

เจ้าของไก่ทอด KFC เริ่มต้นขายไก่ทอดเมื่ออายุ 60 ปี

ข้อคิดนักสหกรณ์ เขาบอกว่า

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการล่าสัตว์ ไม่ใช่การยิง แต่มันคือ การยิงให้ถูกเป้า

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการอบรม ไม่ใช่การมาอบรมให้ครบเวลา แต่มันคือ เป้าหมายของการอบรม และเป้าหมายสำคัญที่สุดของการอบรมคือ ความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและการทำงานได้

คุณค่าของนักสหกรณ์

ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งหน้าที่ แต่ขึ้นอยู่กับความดี มีความเสียสละ

จงให้สมาชิก เกินกว่าที่เขาคาดหวัง ไม่ใช่เพียงแค่ พอใจ แต่ต้องประทับใจ

ทุ่มลงไปทั้งใจให้เกินกว่าที่เขาคิด แล้วคุณจะสำเร็จในการเป็นนักสหกรณ์

อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์ ผนส.5

ขอบคุณพี่สันติ ...

เยี่ยมมากพี่ที่เอาความรู้ข้อคิดต่างๆๆมาฝากให้พวกเราได้อ่านเสมอ

วนิดา เป็นหญิงสาวที่สวยที่สุดในสำนักงาน

มีลูกนักการเมืองดัง ลูกเจ้าของห้างทอง ลูกนายทหาร ต่างก็แย่งกันจีบ วนิดา

บักชัยน้อย ยากจนก็หลงรัก วนิดากับเขาด้วย วันวาเลนไทน์ ชายหนุ่มทั้งหมดก็มาเจอกันที่งานเลี้ยงแห่งหนึ่ง

ลูกนักการเมืองดัง บอกว่า วนิดารักผมเธอซื่อไดอารี่ให้ผม

ลูกเจ้าของห้างทองบอกว่าไม่จริง วนิดารักผม เธอซื่อดอกกุหลาบแดงให้ผม พร้อมกับชูดอกกุหลาบให้ดู

ลูกนายทหาร บอกว่า วนิดารักผม มากกว่าใคร เธอซื่อเสื้อให้ผม พร้อมกับโชว์เสื้อที่ใส่มา..

บักชัยน้อย.. นั่งก้มหน้าทำตาแดงๆ .. เพื่อนถามว่า เป็นอะไร..?

บักชัยน้อยบอกว่าฉันเดาใจไม่ถูก ไม่รู้ว่า วนิดารักใคร เธอไม่เคยซื่ออะไรให้ฉันเลย

พูดเสร็จ ก็เดินออกจากกลุ่มเพื่อนไป.. เฮ้ย..บักชัย...แกจะไปไหน..?

กลับบ้าน.. กลับไปทำไม..?

จะไปเอาชุดชั้นในของเธอ ที่ตากไว้ที่ห้องไปคืน..!

กำหนดการ

งานฉลองจบโครงการ ผนส.5

18.00 น. เริ่มงาน / ฉายวิดีทัศน์กิจกรรมผนส.5 / รับประทานอาหารว่าง+เครื่องดื่ม

19.00 น. พิธีกรเชิญประธานฯ กล่าวเปิดงาน

ผนส.5 มอบของที่ระลึกแด่อาจารย์และทีมงานสสท.

รับประทานอาหาร (โต๊ะจีน)/นักร้องขับกล่อมเพลงไพเราะ

20.00 น. การแสดงละครเวที (ผนส.2)

20.30 น. ประธานฯเปิดฟลอร์ / เชิญผู้ร่วมงานร่วมรำวง

การแสดง รำวงย้อนยุค (ผนส.5)

21.30 น. การขับร้องหมู่ เพลง......... (ผนส.1-4)

22.00 น. ปิดงาน

เพื่อนๆช่วยดูด้วย ใครคิดเห็นอะไรต่างจากนี้ช่วยเสนอแนะด้วยค่ะ

ศิริวรรณ 081 9263632

เจ้อ้อย ตกลงเรามีเพลงประจำรุ่นหรือเปล่า? แล้วเราจะร่วมร้องเพลงประจำรุ่นกันไม?

 หรือว่า เพลงมันจำรุ่นไม่ได้ จะได้บอกให้มันรู้ ว่ามันรุ่น 5 (เกี่ยวกันไมเนี่ย)

กำหนดการ

พิธีปิดโครงการและมอบวุฒิบัตร

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2553

ภาคเช้า

08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 - 10.00 น. แขกผู้มีเกียรติ / กก.บริหารฯ / ผนส.รุ่น 1 - 4 พร้อมกันในห้องประชุม

10.00 - 12.00 น. พิธีปิดการฝึกอบรม

พิธีกรเชิญรมช.กระทรวงเกษตรฯ(นายศุภชัย โพธิ์สุ)เป็นประธานฯมอบวุฒิบัตร

พิธีกรเชิญ ประธานสันนิบาตฯ กล่าวรายงาน

รมช.มอบวุฒิบัตร/ กล่าวปิด

พิธีกรเชิญศ.ดร.จีระฯ กล่าวขอบคุณ

ประธานฯสันนิบาตฯมอบของที่ระลึก

ถ่ายภาพหมู่

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

ภาคบ่าย

11.00 - 13.00 น. ลงทะเบียนผู้มาร่วมงานสัมมนาวิชาการ / รับประทานอาหารว่าง-กาแฟ

13.00 - 13.30 น. พิธีเปิดการสัมมนา

พิธีกรเชิญประธานฯสันนิบาตฯ รับฟังการกล่าวรายงานและกล่าวเปิดการสัมมนา

พิธีกรเชิญประธานผนส.5 กล่าวรายงาน

13.30 - 16.00 น.การอภิปรายเรื่อง"ขบวนการสหกรณ์สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมได้อย่างไร"

ผู้ดำเนินการอภิปราย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผู้ร่วมอภิปราย 1. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (ศ.นริศ ชัยสูตร)

2. รศ.ดร.ประเสริฐ จรรยาสุภาพ

3. นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ

4. ผู้แทนผนส.5 (นายศิริชัย ออสุวรรณ)

5. ผู้แทนผนส.5 (นายภาวัต ศุภสุวรรณ)

6. ผู้แทนผนส.5 (นายสุรพล ชัยมาลา)

เมื่อเช้านี้ ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้โทรมาแจ้งว่า ท่านที่ปรึกษากฤษฎาติดภารกิจไปราชการด่วนที่ภาคใต้ จึงไม่สามารถมาร่วมเป็นผู้วิพากษ์ได้ในวันที่ 8 ต.ค. 53

จึงเหลือแค่ผู้วิพากษ์ 2 คนคือ ท่านเอ็นนูและอาจารย์ประเสริฐค่ะ

สรุปการนำเสนอโครงการ วันที่ 6 ตุลาคม 2553 (ต่อ)

7.เจริญศรี โสระมัด

            โครงการต้นกล้าพันธุ์ใหม่หัวใจสหกรณ์

  • เผยแพร่ความรู้ด้านสหกรณ์ให้แก่เยาวชนและคนทั่วไป
  • สร้างความสัมพันธ์กับสมาชิก

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • ชื่อเก๋ดี ทำให้คิดถึงเยาวชน
  • หลักการและเหตุผลตรงกับชื่อเรื่อง
  • วัตถุประสงค์ตอบโจทย์ได้หลายข้อ
  • โครงการให้รายละเอียดชัดเจน มีภาพทำให้เห็นชัด
  • การนำเสนอดี

ดร.ปรีชา

  • บางรายละเอียดขาดไป ต้องสร้างเนื้อหาความรู้ ก็จะทำให้ชัดเจน

ดร.ยม

  • โครงการนี้น่าจะทำคู่กับโครงการโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์
  • มีความตั้งใจมาก

8.ชัยณรงค์ กัณหา

โครงการโรงสีชุมชนขนาดเล็กตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • ชื่อดี
  • ควรจะเพิ่มว่า โรงสีเล็กเชื่อมโยงอย่างไรกับเศรษฐกิจพอเพียง
  • ควรเพิ่มเติมความต่อเนื่องของโครงการ มีกิจกรรมต่อเนื่อง

 

ดร.ปรีชา

  • ควรหมายเหตุโครงการไว้ว่าไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายสถานที่

9.ทักษิณ สาระมณี

            โครงการช่วยเหลือนักเรียนในชุมชน

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • เป็นเรื่องที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย
  • พอดูหลักการและเหตุผล ก็ตรงกับชื่อเรื่อง

ดร.ยม

  • ต้องให้ความรู้ด้านสหกรณ์ด้วย

ดร.ปรีชา

  • คนคาดหวังสูงจากโครงการมาก

10. สิริพชนันท์ ชิตญาติ

            โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์

ข้อเสนอแนะ

ดร.สุวิชัย

  • มีความตั้งใจสูง
  • ควรเขียนหลักการและเหตุผลให้กว้างขึ้น
  • ควรฝึกอบรมพี่เลี้ยงเพื่อเป็นโค้ชให้คนอื่นๆต่อไป

ดร.ปรีชา

  • มิติคุณภาพชีวิตทำได้ยากมาก
  • ค่าอบรมแพงมาก

ดร.ยม

  • ถ้าอบรมคนเป็นหนี้ อย่าอบรมเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเดียว ควรเพิ่มเติมธรรมะด้วย
  • ควรมีการวัดเชิงคุณภาพ ว่าหลังจากอบรมมีความสุขเพิ่มขึ้นไหม

11. วิรัช รมณีย์

             การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสินเชื่อสถาบันเกษตรกร

 

ข้อเสนอแนะ

ดร.ยม

  • การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ
  • เวลาปฏิบัติจริงน่าจะมี action plan
  • กลุ่มเป้าหมายและตัวชี้วัดชัดเจน

คุณศุภาภรณ์ (พี่แดง)

  • แค่การประชุมอาจจะไม่พอ ต้องมีกิจกรรมอย่างอื่นต่อ

ดร.ปรีชา

  • ในเรื่องความเชื่อมั่น ชัดเจน
  • ปริมาณสินเชื่อยังห่างไกล ยังไม่สามารถชี้วัดสินเชื่อเพิ่ม

 

12.สามารถ เอี่ยมวงษ์

โครงการเพิ่มปริมาณสมาชิกทำธุรกิจกับสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้าธกส. ประจวบคีรีขันธ์

 

ข้อเสนอแนะ

คุณศุภาภรณ์ (พี่แดง)

  • ค่อนข้างสมบูรณ์
  • ควรทำความเข้าใจเรื่องระบบสหกรณ์แก่สมาชิกก่อน

ดร.ยม

  • ในกิจกรรม ควรใส่ตารางตัวชี้วัด

13. ศิริศักดิ์ หลงจิตร

            โครงการสินเชื่อฯ        

ข้อเสนอแนะ

คุณศุภาภรณ์ (พี่แดง)

  • มีความชัดเจนหมด
  • ควรเพิ่มด้านการประเมินความเสี่ยง

ดร.ยม

  • มีความตั้งใจมาก
  • ขอให้ดูว่ากิจกรรมครอบคลุม PDCA หรือไม่

14. กังวาล เนียมสุวรรณ

            โครงการสินเชื่อหนึ่งกลุ่ม หนึ่งชุมชน

ข้อเสนอแนะ

คุณศุภาภรณ์ (พี่แดง)

  • ชัดเจนดี
  • ขั้นตอนโอนสินเชื่อต้องเป็นไปตามข้อบังคับสหกรณ์ไม่ใช่ธกส.

ดร.ยม

  • วิสัยทัศน์ชัดเจน
  • มีความเชื่อมโยงกันดี

ดร.ปรีชา

  • ชื่อโครงการเหมือนนำชุมชนมาเกี่ยวข้อง ตอนหลังปรับเปลี่ยนพันธกิจเป็นถ่ายโอนสินเชื่อ

สรุป

โครงการสัมมนาวิชาการเรื่อง ขบวนการสหกรณ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างไร

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม 2553

ณ ห้องประชุมศูนย์การประชุมรัชนีแจ่มจรัส สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย

 

คุณศิริชัย ออสุวรรณ

  • สหกรณ์บางประเภทพัฒนาไปไกลมาก เช่นสหกรณ์ออมทรัพย์ มีระบบดำเนินงานได้มาตรฐาน มีเงินทุนสูงมาก
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเน้นเรื่องสังคมก็ประสบความสำเร็จ
  • สหกรณ์การเกษตรมีปัญหามาก เช่นไม่มีที่ดินทำกิน
  • ปัจจุบันนี้ มีการเปิดเสรีการค้า จะมีปัญหามากระทบสหกรณ์การเกษตรอย่างรุนแรง
  • เมื่อตลาดเป็นทุนนิยมเข้มแข็ง สหกรณ์ก็จะถูกเอาเปรียบมาก
  • ระบบสหกรณ์ต้องปรับตัว โดยเฉพาะสหกรณ์การเกษตร
  • จากการระดมสมองผนส. 5 การบริหารสหกรณ์ขาดความต่อเนื่อง ล่าช้า
  • สหกรณ์ขาดเงินทุน แต่มีอัตราดอกเบี้ยสูง อยากให้เปิดเวทีเสวนาระหว่างแหล่งเงินทุนกับสหกรณ์
  • ต้องดูแลภาพลักษณ์สหกรณ์และประชาสัมพันธ์
  • ควรต้องมีการเพิ่มขีดความสามารถสหกรณ์ สื่อให้ภาครัฐทราบผ่านระบบสหกรณ์ สหกรณ์ไทยยังส่งออกน้อยอยู่

 

คุณภาวัต ศุภสุวรรณ

  • เมื่อปี 2540 ไทยประสบวิกฤติแต่ผ่านมาได้เพราะสหกรณ์
  • แต่สหกรณ์ยังขาดโอกาสจากภาครัฐ
  • สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศมีมากแต่ยังยากจน
  • ร้านค้าต่างประเทศมาขยายกิจการทำให้ร้านสหกรณ์อยู่ไม่ได้
  • เครดิตยูเนี่ยนเป็นภาคประชาชนอย่างแท้จริง
  • สหกรณ์ควบคุมระบบเศรษฐกิจ
  • ควรมีนักการเมืองเป็นปากเสียงให้สหกรณ์บ้าง
  • ควรบุกเบิกสหกรณ์ให้ไปสู่ระดับโลก
  • คนสหกรณ์อดทน อดออม และมุมานะ ควรจะกระตุ้นให้ภาครัฐให้สนใจ
  • สหกรณ์ให้การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • เครดิตยูเนี่ยนเกิดจากศาลาเล็กๆ แต่วันนี้ใหญ่โตเพราะการสร้างคน

 

คุณ สุรพล ชัยมาลา

  • รัฐธรรมนูญไทยปี 2550 บอกว่า สหกรณ์เป็นอิสระ แต่รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุน
  • ในภาคสหกรณ์ก็กำลังผลักดันให้สหกรณ์เป็นอิสระ ถ้าทำได้ ขบวนการสหกรณ์จะก้าวหน้า
  • ขบวนการสหกรณ์เป็นสันติวิธี ต้องเริ่มต้นจากการช่วยเหลือตนเอง แล้วนำไปสู่การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

 

  • คุณศิริชัยพยายามแยกแยะความสำเร็จเป็นสหกรณ์แต่ละชนิด
  • สัดส่วนต่อเกษตรต่อจีดีพี มีแค่ 10% แต่จ้างงานถึง 45%
  • อยากให้มององค์รวมว่าสหกรณ์คืออะไร
  • สหกรณ์ร้านค้าแย่กว่าสหกรณ์เกษตรเพราะเชยมาก
  • ควรรวมตัวคิดร่วมกัน
  • คุณภาวัตพูดดีเรื่องเครดิตยูเนี่ยน
  • เครดิตยูเนี่ยนเป็นกระบวนการการเงินยิ่งกว่าไมโครไฟแนนซ์ ถือว่าประสบความสำเร็จแค่ในมุมเล็กๆ
  • สมัยก่อน สหกรณ์ยังขาดการมองโลกในแง่ดี
  • แต่ 5 รุ่นนี้ มีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
  • ความสำเร็จคือรุ่น 1-5 ต้องกลับไปช่วยสหกรณ์
  • คุณสุรพลพูดถึงการบริหารจัดการซึ่งเป็นจุดอ่อนสหกรณ์
  • สหกรณ์ยังอ่อนเรื่องการพัฒนาคน
  • ควรลงทุนเรื่องทุนมนุษย์ในวงการสหกรณ์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง
  • อดีตรมช.ชาติชายเคยเสนอให้มีการตั้งสถาบันกรรมาธิการสหกรณ์
  • ควรช่วยกันหาเส้นทางเดินและสร้างศักยภาพของรัฐบาล
  • หลักสูตรของสันนิบาตสหกรณ์ดี แต่เป็นดาวกระจาย ต้องมีการบริหารจัดการด้วย

 

รศ.ดร. ประเสริฐ จรรยาสุภาพ

  • ขอชื่นชมอาจารย์จีระที่มาช่วยวงการสหกรณ์
  • ท่านเอ็นนูก็มาช่วยขบวนการสหกรณ์มากมาย
  • ในการนำเสนอ ทั้ง 3 ท่านมีความรู้ความเข้าใจในสหกรณ์แต่ละประเภทดี
  • เศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องกับสหกรณ์อยู่มาก
  • สหกรณ์ไม่ใช่แค่องค์การที่เป็นนิติบุคคลอย่างเดียว
  • กลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆก็ใช้วิธีการสหกรณ์ด้วย
  • ในเรื่องสังคม โดยเฉพาะประชาธิปไตย สหกรณ์ช่วยเผยแพร่ประชาธิปไตยได้มาก
  • อย่ามัวแต่รอรัฐบาล ต้องดูแลว่าจะทำอะไรเองได้บ้าง
  • สหกรณ์ต้องขับเคลื่อนโดย 4S
  • System สหกรณ์ยังขาดระบบหลายเรื่อง เช่นร้านสหกรณ์กับร้าน modern trade มันต่างกันมาก มาตรฐานแต่ละสหกรณ์ต่างกันมาก
  • Space
  • Study การศึกษาวิจัย ยังขาดมาตรฐานการฝึกอบรมผู้บริหาร ยังขาดงานศึกษาวิจัยและพัฒนาบุคลากร
  • Solidarity เรามีขบวนการสหกรณ์มาก ต้องมีการทำให้มีเอกภาพ จะพัฒนาร่วมกันอย่างไร ต้องมีกรรมาธิการบางเรื่อง

 

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ถ้าแบ่งปันความรู้กัน ก็จะเกิดความรู้ที่ดี
  • ต้องเน้นการบริหารจัดการและพัฒนาทุนมนุษย์
  • ผมจะปรับหลักสูตรหลังจากนี้
  • การพูดถึงเรื่องอะไร ทำเป็น Panel Discussion ดีที่สุด

 

คุณ เอ็นนู ซื่อสุวรรณ

  • เห็นด้วยกับทุกท่านที่พูดไป
  • ปัญหาเรื่องนี้ เราพูดกันมานาน
  • ทุกปัญหาไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้
  • การทำหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องที่ดี
  • ผนส.ที่จบไปอยู่จังหวัดใดมากที่สุดแล้วจับกลุ่มเครือข่ายทำโครงการแก้ปัญหา ต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน มีคุณธรรม
  • ปัญหาต้องมาจากชุมชน ต้องร่วมกันคิด
  • จะแก้ปัญหาอย่างไร ต้องร่วมกันคิด
  • ทำให้เป็นแผน มีเจ้าภาพดำเนินการ นำผู้ชำนาญมาช่วย
  • ทำให้
  • เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
  • เกิดกระบวนการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ
  • เกิดกัลยาณมิตรและ กลไกเตรียมพร้อมในยามมีปัญหา
  • ควรเริ่มจากเครือข่ายเล็ก (รุ่นผนส.) แต่เปิดกว้างให้คนนอกเข้าได้
  • เปลี่ยนวิธีคิดแล้วจะเกิดการเปลี่ยนวิธีทำ
  • ควรนำเรื่องเศรษฐกิจมาคิดร่วมกันเป็นประเด็นสังคม

 

  • ต้องคิดบวก

 

ความเห็น

 

อาจารย์เต็มใจ

  • กระบวนการสหกรณ์ทำให้กระจายรายได้
  • ในเรื่องสหกรณ์ ต้องดูความเป็นจริงในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมก็ลงโทษเราเหมือนกัน
  • สภาพการเงินที่จะวัดเป็นมูลค่าผลิตภัณฑ์ก็เปลี่ยนไป
  • จากการที่เป็นประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ธรรมศาสตร์ ก็ได้ศึกษาสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัย ต้องดึงเงินฝากจากคนมีรายได้ ให้ดอกเบี้ยให้เหมาะสมแล้วนำมาจุนเจือคนยาก มีการปันผลสูงสุด
  • สหกรณ์ออมทรัพย์เราได้มหาศาล เพราะไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องหมุนเงินเป็น เช่นหมุนเงินไปตราสารหนี้อีกรอบ
  • สหกรณ์ต้องมองว่าจะทำอะไรให้ประเทศ เพราะประเทศให้เรามามากแล้ว

 

ดร. ชาญชัย เพชรประพันธ์กุล ภาควิชาการสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • วงการสหกรณ์เป็นสิ่งที่โชคดี เรามีบางอย่างเหนือระบบเศรษฐกิจ
  • เราเข้าใจผิดเกี่ยวกับสหกรณ์ สหกรณ์เป็น not-for-profit organization ต้องมีกำไรบ้าง ไม่ใช่องค์กรภาครัฐ
  • ทำให้กำหนดนโยบายและแผนที่ผิด
  • อีกเรื่องคือ ธรรมาภิบาล

 

เชิดศักดิ์

  • ที่ท่านพูดมาถูกทั้งนั้น
  • เห็นใจเกษตรกรมานานแล้ว
  • เมื่อเราเกษียณแล้ว เราก็ยังมีหุ้นอยู่ แต่เราก็ยังจน
  • ถ้าองค์กรต่างๆโตขึ้น แต่ปันผลก็ไม่ได้มากตาม
  • เราต้องเป็นที่พึ่งของเราเอง
  • สหกรณ์ 7 ประเภทร่วมกันเสนอรัฐบาล ตั้งเป็นสหกรณ์กิจการแห่งชาติ ให้ชาวบ้านเป็นสมาชิก เช่น ในโคราช ก็ตั้งสหกรณ์แบบนี้ให้คนมาใช้สหกรณ์กิจการแห่งชาติ เมื่อโตก็ขยายมาจังหวัดอื่น ทำให้สหกรณ์อยู่ได้
  • สหกรณ์ต้องเชื่อมโยง share และต่อยอด
  • ปัจจุบันนี้ คนลงทุนในสหกรณ์ไม่ถึงร้อยละ 2

 

รองประธานเครือข่ายสหกรณ์ฯ (ชายเสื้อฟ้า)

  • ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจใช่ไหม
  • สัจจะล้วนๆใช้ในการแก้ปัญหาชนบท
  • ควรไปจัดการหนี้ของสมาชิกโดยนำมาใช้ที่สหกรณ์ สหกรณ์ทำหน้าที่เก็บข้อมูลพัฒนาสมาชิก
  • ต้องทำให้ครอบครัวสมาชิกออมให้ได้ก่อน
  • ความสุขที่แท้จริงคือ สมาชิกรู้จักพอ บริหารตนเองเป็น คิดล่วงหน้า
  • ควรมีการพัฒนาความรู้สมาชิกให้เขารู้จักบริหารหนี้สิน การให้ความรู้ต้องมีการกำกับถึงที่

 

ประสิทธิ์ บุญสม (ผนส. 4)

  • ทุกท่านพูดถูกหมด
  • ในฐานะที่เป็นเกษตรกร ส่วนต่างกำไรควรจะส่งกลับคืนให้เกษตรกร
  • เกษตรกรก็พึ่งหน่วยงานรัฐ แต่รัฐต้องจริงใจช่วยให้อยู่ดีกินดี

 

รอบสรุป

คุณศิริชัย ออสุวรรณ

  • บางส่วนสหกรณ์ประสบความสำเร็จ บางส่วนมีปัญหา
  • เราสร้างกระแสสหกรณ์ จากการฟังทุกท่าน ท่านก็อยากช่วยสหกรณ์เพื่อให้กลับไปช่วยสังคม
  • ควรมีเวทีความคิดแบบนี้บ่อยๆ
  • ควรสร้างเวทีการมีส่วนร่วมในขบวนการสหกรณ์ จะเชิญผนส. 1-5 มารวมตัวกัน และบุคลากรแต่ละระดับมาช่วยกัน จะนำความรู้ไปเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ขอให้เชื่อมั่นระบบและขบวนการสหกรณ์ ทำงานด้วยความรักและสามัคคี

 

คุณ ภาวัต ศุภสุวรรณ

  • อยากเห็นสหกรณ์เราเหมือนประเทศอื่น
  • สหกรณ์เรารวมตัวแล้วจะเป็นหนึ่งใหญ่โตได้

 

คุณ สุรพล ชัยมาลา

  • ธุรกิจทุกประเภทมันต้องมี cost ต้องมีการหารายได้มาปันผลสมาชิก
  • สมาคมเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ผลักดันจรรยาบรรณสหกรณ์
  • อยากให้ภาครัฐกำหนดนโยบาย โดยสหกรณ์ดำเนินงานเอง
  • อยากเห็นขบวนการสหกรณ์ไทยรวมกันเป็นหนึ่งเดียวก่อน 100 ปี

 

รศ.ดร. ประเสริฐ จรรยาสุภาพ

  • เราต้องขับเคลื่อนโดยใช้หัวขบวนของสหกรณ์ แต่เรามีหลายหัว ต้องมีการสร้างเวทีมาทำงานร่วมกัน อาจมีกรรมการร่วม

 

คุณ เอ็นนู ซื่อสุวรรณ

  • ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้ตามที่ดี ต้องสร้างความเข้าใจ ความรู้
  • การให้ความรู้ ควรเน้นให้ทำบัญชีครัวเรือน
  • ควรจัดเป็นกลุ่มอาชีพแลกเปลี่ยนความรู้ ช่วยกัน
  • ทำตามคำสอนศาสนาที่ตนนับถือ
  • คนไทยต้องเชื่อในหลวงแล้วจะประสบความสำเร็จ

 

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

 

  • หัวข้อนี้ ถ้าเราพูดถึงกระบวนการ ถือว่ายังไม่สำเร็จ เรารวมกันแค่หลวมๆ การเรียนผนส.เป็น informal network
  • ถ้าเรามีค่านิยมคล้ายๆกัน เราก็ร่วมมือกันทำได้
  • หลักสูตรรุ่น 6 จะมี panel discussion มากขึ้น
  • ควรนำวิทยากรที่มาพูด มาวิเคราะห์ว่ารุ่น 6 มีพัฒนาการอะไรบ้าง
  • การสร้างภาพลักษณ์ของสหกรณ์เป็นเรื่องสำคัญ
  • สิ่งสำคัญขององค์กรคือความพอใจของลูกค้า ไม่ใช่แค่กำไร
  • ผนส.ควรรวมตัวกันทำงาน
  • ควรร่วมกันทำงานเป็นภูมิภาค
  • ต้องสำรวจศักยภาพในการทำงานร่วมกัน
  • วงการสหกรณ์ต้องคิดให้ลึก

 

 

อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์ ผนส.5

ถึง พรรคพวกพี่น้อง ขบวนการสหกรณ์ทุกท่าน

สหกรณ์ฯของพวกเราคนใดโดนน้ำท่วม ก็ขอให้เข็มแข็งและผ่านพ้นไปด้วยดีนะครับ เป็นกำลังใจให้ทุกคน

สวัสดีผู้นำรุ่น 5 ทุกคน

เป็นเวลาเกือบ 2 เดือนแล้วที่จบหลักสูตรนี้ไป ผมยังจำบรรยากาศการทำงานของรุ่นนี้ได้ดี จะฝากไว้ 2 เรื่อง

  1. ช่วยกรุณาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้ blog ของเราด้วย
  2. การใช้ Facebook มีประโยชน์ แต่จะรู้กันเฉพาะพวกเรา เพราะ blog เราเป็นทรัพย์สินของส่วนรวม

ปัจจุบัน blog รุ่น 5 รวมกัน 3 blog ได้ 6,000 คลิก ต่ำกว่ามาตรฐานของรุ่น 1-4 มาก

ทางสันนิบาตสหกรณ์ได้ริเริ่มที่จะมีหลักสูตรรุ่นที่ 6 จะขอให้รุ่นที่ 5 เป็นพี่เลี้ยง

อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์ ผนส.5

สวัสดีผนส.5

วันนี้ผมได้เข้ามาที่สันนิบาต เพื่อเดินทางไปทำบุญที่บ้านคุณอดิศักดิ์ ฟักแฟง ได้เห็นการประชุมของคณะกรรมการสันนิบาตชุดใหม่ได้รับทราบแนวทางการทำงาน ขอชื่นชมที่ทุกคนมีความตั้งใจในการทำให้สันนิบาตสามารถที่จะขับเคลื่อนขบวนการอย่างเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น ขอบคุณอาจารย์จีระ ที่เข้ามาให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆๆ พวกเราจะพยายามทำตามที่อาจารย์คาดหวังครับ

วันอาทิตย์ที่ 26 ธ.ค.53 สันนิบาตสหกรณ์ฯ กำหนดประชุมใหญ่สามัญ ที่ศูนย์การประชุมรัชนีแจ่มจรัส กทม. หลังจากประชุมแล้ว ขอเชิญเพื่อน ผนส.ทุกท่าน ทุกรุ่น ร่วมหารือโครงการคืนสู่เหย้าผู้นำสหกรณ์ขั้นสูง (สันนิบาตฯตั้งงบประมาณไว้แล้วจะจัดในเดือนมีนาคม 2554 ครับ)

Sirichai Orsuwan

Friday at 10:07pm ·

เจริญศรี โสระมัด ขอบคุณค่ะท่านประธานศิริชัย พวกเราจะได้พบกัน

Friday at 11:24pm ·

เรียนอาจารย์ยม ทางสันนิบาตฯจะมีหนังสือเชิญประชุมใหญ่ (ในตำแหน่งที่ปรึกษาสันนิบาตฯ) ในวันที่ 26 ธ.ค.53

กรุณาวางแผนงานคืนสู่เหย้า ผนส. ด้วยครับ

หลังประชุมหากมีเวลาจะได้ปรึกษากัน

Yesterday at 11:34am ·

อนุวรรตน์ อิ่มสมบูรณ์ ผนส.5

วันนี้ผนส.5หลายท่านได้เข้าร่วมสังเกตุการและร่วมอบรมสัมนาหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรสหกรณ์สู่ความสำเร็จ ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม จัดโดยชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยโดยการนำของท่านประธานศิริชัย ออสุวรรณ ที่งหวัดขอนแก่น ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ณห้องภูพาน ขอนแก่นโฮเต็ล

สวัสดีวันปีใหม่จีน

 

万事如意 ว่านซื่อหยูอี้ ....สมความปรารถนา

恭喜发财 กงสี่ฟาไฉ..ขอให้ร่ำรวย

财源广进 ไฉเหยียนกว่างจิ้น...เงินทองไหลมา

财进宝 เจาไฉ่จิ้นเป่า..เงินทองไหลมา

年年有余 เหนียนเหนียนโหย่วหยวี๋..เหลือกินเหลือใช้

事事顺利 ซื่อซื่อซุ่นลี่..ทุกเรื่องราบรื่น

金玉满堂 จินยวี้หม่านถัง..ร่ำรวยเงินทอง

一本万利 อิ้เปิ่นว่านลี่...กำไรมากมาย

大吉大利 ต้าจี๋ต้าลี่...ค้าขายได้กำไร

年年发财 เหนียนเหนียนฟาไฉ...รำรายตลอดไป

龙马精神 หลงหม่าจินเสิน..สุขภาพแข็งแรง

吉祥如意 จี๋เสียงหยูอี้..สมปรารถนา

好运年年 เห่ายวิ่นเหนียนเหนียน..โชคดีตลอดไป

四季平安 ซื่จี้ผิงอัน..ปลอดภัยตลอดปี

一帆风顺 อี้ฝันฟงซุ่น..ทุกอย่างราบรื่น

.*.
คำอวยพรตรุษจีน .*.
คำอวยพร : ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวกใช้
คำแปล : ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย

คำอวยพร : ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ
คำแปล : ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย

คำอวยพร : เจาไฉจิ้นเป้า
คำแปล : เงินทองไหลมาเทมา ทรัพย์สมบัติเข้าบ้าน

คำอวยพร : ฟู๋ลู่ซวงฉวน
คำแปล : ศิริมงคลเงินทองอำนาจวาสนา

คำอวยพร : จู้หนี่เจี้ยนคัง
คำแปล : ขอให้คุณสุขภาพแข็งแรง

คำอวยพร : จู้หนี่ฉางโส่ว
คำแปล : ขอให้คุณอายุยืนยาว

คำอวยพร : จู้หนี่ซุ่นลี่
คำแปล : ขอให้คุณประสบความสำเร็จ

คำอวยพร : จู้เห้อซินเหนียน
คำแปล : การอวยพรปีใหม่

 

เรื่องเล่าของเอี๋ยนหุย

 
     เอี๋ยนหุยเป็นศิษย์รักของขงจื้อ   เป็นคนใฝ่ศึกษา มีคุณธรรมงดงาม วันหนึ่ง เอี๋ยนหุยออกไปทำธุระที่ตลาด เห็นผู้คนจำนวนมากห้อมล้อมอยู่ที่หน้าร้านขายผ้า จึงเข้าไปสอบถามดู จึงรู้ว่าเกิดการพิพาทระหว่างคนขายผ้ากับลูกค้า ได้ยินลูกค้าตะโกนเสียงดังโหวกเหวกว่า “3x8ได้ 23 ทำไมท่านถึงให้ข้าจ่าย 24 เหรียญล่ะ!”
     เอี๋ยนหุยจึงเดินเข้าไปที่ร้าน หลังจากทำความเคารพแล้ว ก็กล่าวว่า “พี่ชาย 3x8 ได้ 24 จะเป็น 23 ได้ยังไง? พี่ชายคิดผิดแล้ว ไม่ต้องทะเลาะกันหรอก”
คนซื้อผ้าไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ชี้หน้าเอี๋ยนหุยและกล่าวว่า “ใครให้เจ้าเข้ามายุ่ง! เจ้าอายุเท่าไหร่กัน! คนที่จะตัดสินได้ก็มีเพียงท่านขงจื้อเท่านั้น ผิดหรือถูกมีท่านขงจื๊อผู้เดียวที่ข้าจะยอมรับ  ไป ไปหาท่านขงจื้อกัน ”
     เอี่ยนหุยกล่าวว่า “ก็ดี หากท่านขงจื้อบอกว่าท่านผิด ท่านจะทำอย่างไร?”
     คนซื้อผ้ากล่าวว่า“หากท่านวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมให้หัวหลุดจากบ่า! แล้วหากเจ้าผิดล่ะ?”
     เอี๋ยนหุยกล่าวว่า “หากท่านวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมถูกปลดหมวก(ตำแหน่ง)”
ทั้งสองจึงเกิดการเดิมพันขึ้น
     เมื่อขงจื้อสอบถามจนเกิดความกระจ่าง ก็ยิ้มให้กับเอี๋ยนหุยและกล่าวว่า “3x8ได้ 23 ถูกต้องแล้วเอี๋ยนหุย  เธอแพ้แล้ว  ถอดหมวกของเธอให้พี่ชายท่านนี้เสีย”
     เอี๋ยนหุย ไม่โต้แย้ง ยอมรับในการวินิจฉัยของท่านอาจารย์ จึงถอดหมวกที่สวมให้แก่ชายคนนั้น
ชายผู้นั้นเมื่อได้รับหมวกก็ยิ้มสมหวังกลับไป
     ต่อคำวินิจฉัยของขงจื้อ ต่อหน้าแม้เอี๋ยนหุยจะยอมรับ แต่ในใจกลับไม่ได้คิดเช่นนั้น
เอี๋ยนหุยคิดว่าท่านอาจารย์ชรามากแล้ว ความคิดคงเลอะเลือน จึงไม่อยากอยู่ศึกษากับขงจื้ออีกต่อไป
     พอรุ่งขึ้น เอี๋ยนหุยจึงเข้าไปขอลาอาจารย์กลับบ้าน ด้วยเหตุผลที่ว่าที่บ้านเกิดเรื่องราว ต้องรีบกลับไปจัดการ ขงจื้อรู้ว่าเอี๋ยนหุยคิดอะไรอยู่ ก็ไม่สอบถามมากความ  อนุญาตให้เอี๋ยนหุยกลับบ้านได้
     ก่อนที่เอี๋ยนหุยจะออกเดินทาง ได้เข้าไปกราบลาขงจื้อ ขงจื้อกล่าวอวยพรและให้รีบกลับมาหากเสร็จกิจธุระแล้ว พร้อมกันนั้นก็ได้กำชับว่า “อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง”      เอี๋ยนหุยคำนับพร้อมกล่าวว่า “ศิษย์จะจำใส่ใจ” แล้วลาอาจารย์ออกเดินทาง
     เมื่อออกเดินทางไปได้ระยะหนึ่ง เกิดพายุลมแรงสายฟ้าแลบแปลบ เอี๋ยนหุยคิดว่าต้องเกิดพายุลมฝนเป็นแน่ จึงเร่งฝีเท้าเพื่อจะเข้าไปอาศัยอยู่ไต้ต้นไม้ใหญ่ แต่ก็ฉุกคิดถึงคำกำชับของท่านอาจารย์ที่ว่า “อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง”  เราเองก็ติดตามท่านอาจารย์มาเป็นเวลานาน ลองเชื่ออาจารย์ดูอีกสักครั้ง คิดได้ดังนั้น จึงเดินออกจากต้นไม้ใหญ่
     ในขณะที่เอี๋ยนหุยเดินไปได้ไม่ไกลนัก บัดดล สายฟ้าก็ผ่าต้นไม้ใหญ่นั้นล้มลงมาให้เห็นต่อหน้าต่อตา เอี๋ยนหุยตะลึงพรึงเพริด คำกล่าวของพระอาจารย์ประโยคแรกเป็นจริงแล้ว หรือตัวเราจะฆ่าใครโดยไม่รู้สาเหตุ? เอี๋ยนหุยจึงรีบเดินทางกลับ กว่าจะถึงบ้านก็ดึกแล้ว แต่ไม่กล้าปลุกคนในบ้าน เลยใช้ดาบที่นำติดตัวมาค่อยๆเดาะดาลประตูห้องของภรรยา
     เมื่อเอี๋ยนหุยคลำไปที่เตียงนอน ก็ต้องตกใจ ทำไมมีคนนอนอยู่บนเตียงสองคน! เอี๋ยนหุยโมโหเป็นอย่างยิ่ง จึงหยิบดาบขึ้นมาหมายปลิดชีพผู้ที่นอนอยู่บนเตียง เสียงกำชับของอาจารย์ก็ดังขึ้นมา “อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง” เมื่อเขาจุดตะเกียง จึงได้เห็นว่า คนหนึ่งคือภรรยา อีกคนหนึ่งคือน้องสาวของเขาเอง
     พอฟ้าสาง เอี๋ยนหุยก็รีบกลับสำนัก เมื่อพบหน้าขงจื้อจึงรีบคุกเข่ากราบอาจารย์และกล่าวว่า “ท่านอาจารย์ คำกำชับของท่านได้ช่วยชีวิตของศิษย์ ภรรยาและน้องสาวไว้ ทำไมท่านจึงรู้เหมือนตาเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับศิษย์บ้าง?”
     ขงจื้อพยุงเอี๋ยนหุยให้ลุกขึ้น และกล่าวว่า “เมื่อวานอากาศไม่ค่อยสู้ดีนัก น่าจะมีฟ้าร้องฟ้าแลบเป็นแน่ จึงเตือนเธอว่า อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ และเมื่อวาน เธอจากไปด้วยโทสะ แถมยังพกดาบติดตัวไปด้วย อาจารย์จึงเตือนเธอว่า อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง ”
     เอี๋ยนหุยโค้งคำนับ “ท่านอาจารย์คาดการดังเทวดา ศิษย์รู้สึกเคารพเลื่อมใสท่านเหลือเกิน”
ขงจื้อจึงตักเดือนเอี๋ยนหุยว่า “อาจารย์ว่าที่เธอขอลากลับบ้านนั้นเป็นการโกหก ที่จริงแล้วเธอคิดว่าอาจารย์แก่แล้ว ความคิดเลอะเลือน ไม่อยากศึกษากับอาจารย์อีกแล้ว เธอลองคิดดูสิ อาจารย์บอกว่า 3x8ได้ 23 เธอแพ้ ก็เพียงแค่ถอดหมวก หากอาจารย์บอกว่า 3x8ได้ 24 เขาแพ้ นั่นหมายถึงชีวิตของคนๆหนึ่ง เธอคิดว่าหมวกหรือชีวิตสำคัญล่ะ? ”
     เอี๋ยนหุยกระจ่างในฉับพลัน คุกเข่าต่อหน้าขงจื้อ แล้วกล่าวว่า “ท่านอาจารย์เห็นคุณธรรมเป็นสำคัญ โดยไม่เห็นแก่เรื่องถูกผิดเล็กๆน้อยๆ   ศิษย์คิดว่าอาจารย์แก่ชราจึงเลอะเลือน  ศิษย์เสียใจเป็นที่สุด”
จากนั้นเป็นต้นไป ไม่ว่าขงจื้อจะเดินทางไปยังแห่งหนตำบลใด เอี๋ยนหุยติดตามไม่เคยห่างกาย
      จากตำนานเรื่องเล่านี้ ทำให้นึกถึงเพลงๆหนึ่งของอิวเค่อหลี่หลิน(นักร้องดูโอของไต้หวัน) ที่ร้องว่า “หากสูญเสียเธอไป ต่อให้เอาชนะทั้งโลกได้แล้วจะยังไง?
     เช่นกัน.......บางครั้งคุณอาจเอาชนะคนอื่นด้วยเหตุผลของคุณ แต่อาจจะสูญเสียสิ่งที่สำคัญที่สุดไป...

เรื่องราวต่างๆ แบ่งเป็นหนักเบารีบช้า   อย่าเป็นเพราะต้องการเอาชนะให้ได้ แล้วทำให้เสียใจไปตลอดชีวิต     เรื่องราวมากมายที่ไม่ควรทะเลาะกัน   ถอยหนึ่งก้าวทะเลกว้างฟ้างาม
       ทะเลาะกับลูกค้า ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่ คุณก็จะรู้สึก)
       ทะเลาะกับเจ้านาย   ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ประเมินผลงานปลายปีมาถึง คุณก็จะรู้สึก)
       ทะเลาะกับภรรยา ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เธอไม่สนใจคุณ คุณก็หากับข้าวกินเองละกัน)
       ทะเลาะกับเพื่อน ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เคลียร์ไม่ได้ คุณอาจจะเสียเพื่อนไปเลย)

ใบชา เกิดสีสวยและกลิ่นหอมน่าลิ้มลองได้ ก็เพราะโดนน้ำร้อนลวก   ชีวิตของคนเราก็เช่นเดียวกัน เพราะเผชิญกับอุปสรรคครั้งแล้วครั้งเล่า   จึงเหลือไว้ซึ่งเรื่องราวเป็นตำนานให้ได้เล่าขานน่าตามติด
ผู้ที่รู้สำนึกคุณอยู่เสมอ จึงเป็นผู้มีวาสนามากที่สุด...........................

ที่มาของคำว่า "สวัสดี "

 

        "ฮัลโหล" เป็นคำทักทายที่ใช้มากที่สุดในการรับโทรศัพท์ บ่อยครั้งเราก็นำมาใช้เป็นคำทักทาย ระหว่างเพื่อนฝูง เมื่อพบเจอกัน ทุกวันนี้คนไทยใช้คำว่า "ฮัลโหล" กันจนติดปาก จนบางคนอาจจะลืมไปแล้วว่า คนไทยเราเองก็มีคำทักทายแบบไทย ๆ ที่มีความงดงามทางภาษา มีความไพเราะ และเป็นคำที่มีความหมายดีด้วย

 

เป็นเวลากว่า 64 ปีแล้ว ที่คำว่า "สวัสดี" ได้ก้าวเข้ามาในชีวิตของคนไทย ผู้ที่คิดค้นคำนี้ขึ้นก็คือ "พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)" ซึ่งในขณะนั้นท่านเป็นอาจารย์สอนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้นำคำว่า "สวัสดี" ทดลองใช้ในหมู่นิสิตจุฬาก่อน หลังจากนั้นรัฐบาลในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้นำคำว่า "สวัสดี" มาใช้เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการ เมื่อปีพ.ศ. 2486

 

คำว่า "สวัสดี" นั้น พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้พิจารณามาจากศัพท์ "โสตถิ" ในภาษาบาลี หรือ "สวัสดิ" (สะ-หวัด-ดิ) ในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในวรรณคดีไทยมานาน โดยคำว่า "โสตถิ" หรือ "สวัสดิ์" นี้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า

 

สวัสดิ์ สวัสดี   มีความหมายว่า ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง ความปลอดภัย

โสตถิ   มีความหมายว่า ความสวัสดี ความเจริญรุ่งเรือง

 

จะเห็นได้ว่าคำดังกล่าว เป็นความหมายที่ดี จึงมีความเหมาะสม ที่จะใช้กล่าวเมื่อแรกพบกัน หรือเมื่อลาจากกัน เพราะสวัสดี ไม่ได้เป็นเพียงแค่ คำทักทายเท่านั้น แต่ยังเปี่ยมไปด้วยไมตรีจิต เป็นการอวยพรให้กับผู้ที่เราสนทนา ให้ประสบแต่สิ่งดี ๆ นั่นเป็นลักษณะพิเศษในคำทักทายของคนไทย ซึ่งในคำทักทายของหลายชาติไม่มีเหมือน ยกตัวอย่างคำว่า "ฮัลโหล" ในภาษาอังกฤษ ก็แค่ทักทายกันเมื่อพบกัน คำว่า "หนีฮ่าว" ของภาษาจีนนั้นก็มีความหมายว่าคุณสบายดีไหม ส่วนคำทักทายทั้ง 3 เวลาของชาวญี่ปุ่นนั้น ก็จะเป็นแค่การทักทายโดยทั่วไป ไม่ได้มีความหมายพิเศษอื่น ๆ แต่อย่างไร

 

ส่วนคำว่า "สวัสดี" นั้นจะทำหน้าทีทั้งการทักทาย และอวยพรไปในคราวเดียวกัน และ เมื่อเรากล่าวคำสวัสดี คนไทยเรายังยกมือขึ้นประนมไหว้ตรงอก มือทั้งสองจะประสานกันเป็นรูปดอกบัวตูม เหมือนสัญลักษณ์ที่สื่อความหมาย ถึงสิ่งสูงค่าที่เป็นมงคล เพราะชาวไทยใช้ดอกบัวในการสักการะผู้ใหญ่บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนการวางมือไว้ตรงระดับหัวใจนั้น เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกให้เห็นว่า การทักทายนั้น มาจากใจของผู้ไหว้

ดังนั้น เมื่อกล่าวคำว่า สวัสดี พร้อมกับการยกมือขึ้นประนม จึงแฝงให้เห็นถึงความมีจิตใจที่งดงามของคนไทย ที่หวังให้ผู้อื่นพบเจอแต่ในสิ่งที่ดี ซึ่งการกระทำที่งดงามดังกล่าวนี้ ถือเป็นมงคลทั้งต่อตัวผู้พูด และผู้ฟัง

 

ไม่ว่าโลกจะล้ำหน้าไปขนาดไหนเพียงใดก็ตาม แต่การทักทายด้วยคำว่า สวัสดี ที่สื่อถึงความจริงใจมีไมตรี และความปรารถนาดี ที่คนไทยมีต่อกันและกันนั้น ก็ยังไม่เคยล้าสมัย

ซึ่งชาวต่างชาติเขาก็ยังชื่นชมวัฒนธรรมล้ำค่านี้ แล้วพวกเราจะปล่อยให้ การคำทักทายอย่าง "สวัสดี" นั้นสูญสลายหายไปตามกาลเวลาหรือ....

 

สวัสดีค่ะ

ที่มาของคำว่า "สวัสดี "

 

        "ฮัลโหล" เป็นคำทักทายที่ใช้มากที่สุดในการรับโทรศัพท์ บ่อยครั้งเราก็นำมาใช้เป็นคำทักทาย ระหว่างเพื่อนฝูง เมื่อพบเจอกัน ทุกวันนี้คนไทยใช้คำว่า "ฮัลโหล" กันจนติดปาก จนบางคนอาจจะลืมไปแล้วว่า คนไทยเราเองก็มีคำทักทายแบบไทย ๆ ที่มีความงดงามทางภาษา มีความไพเราะ และเป็นคำที่มีความหมายดีด้วย

 

เป็นเวลากว่า 64 ปีแล้ว ที่คำว่า "สวัสดี" ได้ก้าวเข้ามาในชีวิตของคนไทย ผู้ที่คิดค้นคำนี้ขึ้นก็คือ "พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)" ซึ่งในขณะนั้นท่านเป็นอาจารย์สอนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้นำคำว่า "สวัสดี" ทดลองใช้ในหมู่นิสิตจุฬาก่อน หลังจากนั้นรัฐบาลในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้นำคำว่า "สวัสดี" มาใช้เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการ เมื่อปีพ.ศ. 2486

 

คำว่า "สวัสดี" นั้น พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้พิจารณามาจากศัพท์ "โสตถิ" ในภาษาบาลี หรือ "สวัสดิ" (สะ-หวัด-ดิ) ในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในวรรณคดีไทยมานาน โดยคำว่า "โสตถิ" หรือ "สวัสดิ์" นี้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า

 

สวัสดิ์ สวัสดี   มีความหมายว่า ความดี ความงาม ความเจริญรุ่งเรือง ความปลอดภัย

โสตถิ   มีความหมายว่า ความสวัสดี ความเจริญรุ่งเรือง

 

จะเห็นได้ว่าคำดังกล่าว เป็นความหมายที่ดี จึงมีความเหมาะสม ที่จะใช้กล่าวเมื่อแรกพบกัน หรือเมื่อลาจากกัน เพราะสวัสดี ไม่ได้เป็นเพียงแค่ คำทักทายเท่านั้น แต่ยังเปี่ยมไปด้วยไมตรีจิต เป็นการอวยพรให้กับผู้ที่เราสนทนา ให้ประสบแต่สิ่งดี ๆ นั่นเป็นลักษณะพิเศษในคำทักทายของคนไทย ซึ่งในคำทักทายของหลายชาติไม่มีเหมือน ยกตัวอย่างคำว่า "ฮัลโหล" ในภาษาอังกฤษ ก็แค่ทักทายกันเมื่อพบกัน คำว่า "หนีฮ่าว" ของภาษาจีนนั้นก็มีความหมายว่าคุณสบายดีไหม ส่วนคำทักทายทั้ง 3 เวลาของชาวญี่ปุ่นนั้น ก็จะเป็นแค่การทักทายโดยทั่วไป ไม่ได้มีความหมายพิเศษอื่น ๆ แต่อย่างไร

 

ส่วนคำว่า "สวัสดี" นั้นจะทำหน้าทีทั้งการทักทาย และอวยพรไปในคราวเดียวกัน และ เมื่อเรากล่าวคำสวัสดี คนไทยเรายังยกมือขึ้นประนมไหว้ตรงอก มือทั้งสองจะประสานกันเป็นรูปดอกบัวตูม เหมือนสัญลักษณ์ที่สื่อความหมาย ถึงสิ่งสูงค่าที่เป็นมงคล เพราะชาวไทยใช้ดอกบัวในการสักการะผู้ใหญ่บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนการวางมือไว้ตรงระดับหัวใจนั้น เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกให้เห็นว่า การทักทายนั้น มาจากใจของผู้ไหว้

ดังนั้น เมื่อกล่าวคำว่า สวัสดี พร้อมกับการยกมือขึ้นประนม จึงแฝงให้เห็นถึงความมีจิตใจที่งดงามของคนไทย ที่หวังให้ผู้อื่นพบเจอแต่ในสิ่งที่ดี ซึ่งการกระทำที่งดงามดังกล่าวนี้ ถือเป็นมงคลทั้งต่อตัวผู้พูด และผู้ฟัง

 

ไม่ว่าโลกจะล้ำหน้าไปขนาดไหนเพียงใดก็ตาม แต่การทักทายด้วยคำว่า สวัสดี ที่สื่อถึงความจริงใจมีไมตรี และความปรารถนาดี ที่คนไทยมีต่อกันและกันนั้น ก็ยังไม่เคยล้าสมัย

ซึ่งชาวต่างชาติเขาก็ยังชื่นชมวัฒนธรรมล้ำค่านี้ แล้วพวกเราจะปล่อยให้ การคำทักทายอย่าง "สวัสดี" นั้นสูญสลายหายไปตามกาลเวลาหรือ....

 

สวัสดีค่ะ

ถ้า
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

มีค่าเท่ากับ
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26


แล้วจะพบว่า......
1) H+A+R+D+W+O+R+K = 8+1+18+4+23+15+18+11 = 98%
HARD WORK หรือ ทำงานหนัก มีค่าเท่ากับ 98 %

2) K+N+O+W+L+E+D+G+E = 11+14+15+23+12+5+4+7+5 = 96%
KNOWLEDGE หรือ ความรู้ มีค่าเท่ากับ 96 %

3) L+O+V+E=12+15+22+5 = 54%
LOVE หรือ ความรัก มีค่าเท่ากับ 54 %

4) L+U+C+K = 12+21+3+11 = 47%
LUCK หรือ โชค มีค่าเท่ากับ 47 %

Q : ไม่มีสิ่งใดที่มีค่า 100 % เลยหรือ !!! แล้วสิ่งใดที่มีค่าเท่ากับ 100 %
- ใช่เงินหรือเปล่า ?......... .... .....ไม่ใช่ !!!!!
- ความเป็นผู้นำหรือเปล่า ?.........ไม่ใช่ !!!!!

Q : แล้วอะไรล่ะ ?
Ans. : A+T+T+I+T+U+D+E = 1+20+20+9+20+21+4+5 = 100%
ATTITUDE หรือ ทัศนคติ นั่นเอง ที่มีค่าเท่ากับ 100 %

ท่านคิดเช่นนั้นหรือไม่ ทุกปัญหามีทางออก . .
บางทีแค่เพียงแต่เราเปลี่ยน 'ทัศนคติ ' ของเราเสียใหม่เท่านั้นเอง
มีเพียงแต่ 'ทัศนคติ' ของเราเท่านั้น ที่จะเป็นตัวนำทาง ไปสู่ความสำเร็จในชีวิต และงานที่ทำ 

.... ความคิด & ทัศนคติ .... และสุดท้าย .... การลงมือทำ ....   

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

เรียนทุกท่าน

ขอเชิญเข้าร่วมหลักสูตร “พัฒนาผู้นำ ... การบริหารภายใต้วิกฤตและความเสี่ยง” มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/446835

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/464540

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท