ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ครั้งที่ 1/2554 (อย่างเป็นทางการ)


ในวันที่ 2 มีนาคม 2554 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ครั้งที่ 2/2554 ณ ห้องประชุมชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

โดยที่ประชุมจะพิจารณาการแต่งตั้งคณะทำงานและแนวทางการศึกษา ดังนี้ 

คณะทำงาน

สมาชิก

แนวทาง

(1) Education-Architecture of Human Resource

ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

-บริหารจัดการครู

-แก้ไขร่างพระราชบัญญัติเพื่อให้เอกชนมาเป็นครูได้ จะได้พัฒนาคนให้ตรงตามความต้องการของภาคธุรกิจ

-ให้ความสำคัญด้านการศึกานอกระบบมากขึ้น

(2) เป้าหมายของธุรกิจที่พึงประสงค์ (Sunrise) กับเป้าหมายของทุนมนุษย์

 

-ทราบวิสัยทัศน์ประเทศไทย รวมถึงวิสัยทัศน์ทางธุรกิจและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

-ธุรกิจท่องเที่ยว

-ธุรกิจ Logistics

-พัฒนาคนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างมีทิศทาง ทำงานร่วมกันได้

-พัฒนาธุรกิจตามหลักภูมิปัญญาไทย

-เน้น Creative Economy

-เน้น Green Business

-เน้น share benefit และการแบ่งปันผลประโยชน์

-มีการถ่ายทอดทักษะการบริหาร SMEs

-มีมาตรการลดหย่อนภาษีให้ธุรกิจที่ทำประโยชน์ให้แก่สังคม

-ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัวที่ดี

-ให้ความสำคัญแก่ Stakeholder

-จัดการศึกษาด้านธุรกิจครอบครัวอย่างเป็นระบบมากขึ้น

-นวัตกรรม

-ทรัพย์สินทางปัญญา

(3) ทุนมนุษย์กับธุรกิจระหว่างประเทศ

ธนพล ก่อฐานะ

สภาอุตสาหกรรม

สภาหอการค้า

สมาคมธนาคารไทย

1. ตั้งสถาบันพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

-สอนให้ทุนมนุษย์รู้จักเป้าหมายที่แท้จริง

-รู้จักธุรกิจที่ควรทำในประเทศนั้นๆ

-เตรียมความพร้อมเป็น CEO ในธุรกิจระดับนานาชาติ

-ผลักดันให้คนรุ่นใหม่กับคนมีประสบการณ์ทำงานร่วมกัน

-พัฒนาคนให้อนุรักษ์พลังงาน

 

2. พัฒนาคนให้มีความรู้เรื่องการเปิดการค้าเสรี

 

(4) อุปสรรคเรื่องวัฒนธรรมของทุนมนุษย์ (ระดับชาติและองค์กร)

 

แก้ปัญหาความรู้กระจัดกระจายโดย

-มีระบบรวบรวมความรู้

-จัดทำกรณีศึกษาจริง จัดระเบียบให้ค้นคว้าง่ายต่อการนำมาใช้เริ่มธุรกิจ

-มีธนาคารสมองรวบรวมคนเก่งแต่ละสาขา

(5) คุณสมบัติของคนไทยที่พึงปรารถนา

ประกาย ชลหาญ

ธัญญา ผลอนันต์

พรทิพย์

-Lifelong Learning

1.Farmers University ให้ปราชญ์ชาวบ้านเป็นโค้ชสอนให้ปฏิบัติในพื้นที่การเกษตรจริง เกษตรกรจะมีรายได้จากการขายสิทธิบัตร เมื่อมีรายได้จะไม่อพยพเข้ามาทำงานในเมือง

 

2.เตรียมความพร้อมด้านอาชีพให้เยาวชนตั้งแต่เรียนมัธยมปลาย

 

- 7 Habits

 

-16 นิสัยคนช่างคิด เสนอโดย Prof. Art Costa and Kallick

  1. Persisting
  2. Thinking and communicating with clarity and precision
  3. Managing impulsivity
  4. Gathering data through all senses
  5. Listening with understanding and empathy
  6. Creating, imagining, innovating
  7. Thinking flexibly
  8. Responding with wonderment and awe
  9. Thinking about thinking (metacognition)
  10. Taking responsible risks
  11. Striving for accuracy
  12. Finding humor
  13. Questioning and posing problems
  14. Thinking interdependently
  15. Applying past knowledge to new situations
  16. Remaining open to continuous learning

-จริยธรรมทางธุรกิจ

-ดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชน

-พัฒนาคนให้ตรงตามความต้องการของแต่ละท้องถิ่นโดยไม่จำกัดวิธี

-ภาวะผู้นำ ต้องเริ่มตั้งแต่วัยเยาว์

-การทำงานเป็นทีม

-ความคิดสร้างสรรค์

-ดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เน้นพัฒนาผู้ด้อยโอกาสในสังคมแล้วดูพัฒนาการของพวกเขา

-จิตวิญญาณผู้ประกอบการ

-การสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานอย่างเต็มความสามารถ

-ทักษะภาษาอังกฤษ

-ผู้บริหารต้องมีสมองและใจ คือเก่งและดี

(6) สื่อเพื่อทุนมนุษย์ในธุรกิจ

พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

-ทำเว็บไซต์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่ใช้ง่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย

-E-marketplace

 

ติดตามสาระและบรรยากาศในการประชุมครั้งที่ 1 ได้ที่..

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/428004

 

หมายเลขบันทึก: 429054เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2011 18:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ จะออกรายการ คุยนอกทำเนียบ ร่วมกับรัฐมนตรีอลงกรณ์ พลบุตร เกี่ยวกับเรื่องคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ในวันพุธที่ 2 มีนาคม 2554 เวลา 20.40 น. โปรดติดตามได้ทางช่อง NBT ค่ะ

ได้รับชมเรียบร้อบครับ เวลาน้อยไปหน่อย ทั่วไปก็ดีครับ

ถ้าหากใครพลาดชมรายการคุยนอกทำเนียบ วันพุธที่ 2 มีนาคม 2554 เวลา 20.40 น. ทางช่อง NBT

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อชมรายการย้อนหลังค่ะ

http://www.me.in.th/live/index1.php

เมื่อคลิกเข้าไปแล้ว

โปรดคลิกที่โลโก้ช่อง NBT แล้วคลิกเลือกวันที่ 2 มีนาคม 2554

คลิกลูกศรเลื่อนไปที่เวลา 20.40 น.

เมื่อได้ชมแล้วก็จะเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติค่ะ

 

พัฒนาทุนมนุษย์เพื่อประโยชน์ของสังคม และเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (ภาคธุรกิจ) มนุษย์ที่กล่าวถึงคือคนไทยทุกคน ช่วงแรกเกิด ช่วงศึกษาหาความรู้ (อนุบาล / ประถม / มัธยมต้น/มัธยมปลาย/อาชีวะ/อุดมศึกษา) ช่วงทำงาน ช่วงชราภาพ(ผู้สูงอายุ) ไม่ว่าจะอยู่ในชั่วไหน มนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์อยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ของแต่ละคน

มนุษย์ทุกคนจะเพิ่มทุนของตัวเองตามอายุ ข้อสำคัญคือจะนำทุนมนุษย์ของแต่ละคนไปสร้างคุณค่าให้กับสังคม หรือกับเศรษฐกิจ (แบ่งเป็นเศรษฐกิจของตัวเอง ครอบครัว องค์กร สังคมและประเทศชาติ)

คนบางคนเน้นการนำทุนไปใช้ทางเศรษฐกิจ (รายได้) โดยไม่ใช่้ทุนในการตอบแทนสังคม บางครั้งเศรษฐกิจและสังคมจะวิ่งสวนทางกัน การพัฒนาทุนมนุษย์ ก็คือการพัฒนาให้มนุษย์ใช้ทุนเพื่อเศรษฐกิจและเพื่อสังคมอย่างสมดุล

คนที่มีทุนด้านสังคมมากอาจต้องได้รับการพัฒนาความรู้ด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และผู้ที่ใช้ทุนเศรษฐกิจมากจะต้องหันมาใช้ทุนเพื่อสังคมบ้าง ถ้ามนุษย์นำทุนของตัวเองมาใช้เพื่อสังคมและเศรษฐกิจอย่างสมดุล ทั้งตัวเอง ครอบครัว องค์กร สังคม และประเทศชาติจะมีความมั่นคงอย่างยั่งยืน

มนุษย์ที่มีชีวิตประกอบด้วยส่วนของร่างกายและส่วนของจิต ทุนมนุษย์ที่ถูกนำไปใช้ด้านเศรษฐกิจ เป็นเรื่องของการตอบสนองความต้องการของร่างกาย เพื่อความอยู่รอด เกิดการแข่งขันเพื่อแย่งชิง เป็นเรื่องของการแสวงหาเพื่อตัวเอง

ส่วนทุนมนุษย์ที่ถูกนำไปใช้ในด้านสังคม เป็นเรื่องของการตอบสนองความต้องการภายในด้านจิตใจ สร้างความสุขอย่างแท้จริงให้กับชีวิต

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่อยู่ร่วมกัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความสุขคนเดียวโดยที่คนรอบข้างมีความทุกข์ การพัฒนาทุนมนุษย์จึงเป็นขบวนการในการสร้างทุนมนุษย์ให้สามารถใช้ทุนด้านเศรษฐกิจ (หรืออาจเรียกว่าทุนทางวิชาชีพ)และทุนด้านสังคม อย่างสมดุล เพื่อทำให้เกิดความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศชาติอย่างยั่งยืน

ประเด็นพิจารณาเรื่องทุนมนุษย์กับธุรกิจ

            ๑.สถานการณ์ปัจจุบัน     ผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศไทย มากกว่า 95% เป็นธุรกิจ SMEs และ MSEs ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ส่วนมากทำธุรกิจตามกระแส หรือรับมรดกจากบรรพบุรุษ ขาดความรู้และความเข้าใจในธุรกิจที่ทำ เรียนรู้จากความผิดพลาดและพัฒนาด้วยตัวเอง มีจำนวนไม่มากที่สามารถพัฒนาและขยายธุรกิจให้ใหญ่โตขึ้น  การที่ไม่มีการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ ทำให้ไม่มีการวางแผนในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ไม่ได้สร้างคนมารองรับการเติบโตของธุรกิจ จ้างคนเมื่องานมาก ปลดคนเมื่องานน้อย  ขาดความยั่งยืน ไม่เน้นเรื่องคุณภาพ ไม่ให้คุณค่ากับทุนมนุษย์ พนักงานที่ทำงานด้วยจึงไม่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้มีทุนมนุษย์เพิ่มขึ้น  

            ๒.ปัญหา                       ผู้ประกอบการ SMEs มีเงินทุนไม่มากนัก ประกอบธุรกิจด้วยความสามารถของเจ้าของเอง ลองผิดลองถูก รับพนักงานใหม่ที่ไม่เป็นงานให้เงินเดือนถูกๆเพราะคนที่เป็นงานหรือรู้งานจะไปอยู่บริษัทใหญ่ๆที่มีเงินเดือนดี และสวัสดิการที่ดีกว่า เมื่อพนักงานได้รับการสอนงานและมีปะสบการณ์จะถูกดึงตัวไปทำงานบริษัทที่ใหญ่กว่า หรือเงินเดือนดีกว่า หรือบริษัทเปิดใหม่ที่ต้องการหัวหน้างานหรือผู้จัดการ ผู้ประกอบการส่วนมากจะเป็นผู้บริหารเอง จ้างแค่หัวหน้างาน หรือผู้จัดการที่เป็นแค่ทำตามคำสั่ง หรือเป็นกันชน

            ๓.สิ่งที่ควรจะเป็น          ต้องให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนวิสัยทัศน์ ในการทำธุรกิจ สร้างแผนธุรกิจ เรียนรู้การบริหารจัดการธุรกิจแบบมืออาชีพ หันมาสนใจกับทุนมนุษย์ โดยเริ่มการสร้างทุนมนุษย์ในตัวเจ้าของและหุ้นส่วนก่อน หลังจากนั้นจึงจะไปเรื่องสร้างแผนบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในองค์กรของตัวเอง

            ๔.ทำอย่างไร                 ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาทุนมนุษย์ เรียนรู้การสร้างทุนทางธุรกิจ (เศรษฐกิจ) และการสร้างทุนทางสังคม ควบคู่กันไปอย่างสมดุล และหาช่องทางสนับสนุนด้านเงินทุน สร้างขบวนการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการที่เกิดใหม่หรือที่กำลังมีปัญหา ที่มีการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ ที่เหมาะสม อาจมีการจัดตั้งกองทุน หรือจัดตั้งสภาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจ ขึ้นมาบริหารจัดการในส่วนนี้

            ๕.จะทำให้สำเร็จเป็นรูปธรรมได้อย่างไร           ต้องมีการจัดตั้งกองทุนและมีหน่วยงานขึ้นมาบริหารจัดการและมีงบประมาณเพียงพอ ( ขึ้นตรงกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ .....................?  )ผู้ประกอบการต้องเข้ามาเป็นสมาชิก มีเงินจากภาครัฐส่วนหนึ่งที่เหลือเป็นเงินค่าสมาชิกของผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป  บริหารจัดการอิสระ มีผู้จัดการและพนักงานประจำ  โดยการควบคุมของกรรมการบริหาร (กรณีเป็นองค์กรที่ไม่ขึ้นกับส่วนราชการ) ที่ได้จากการคัดสรรค์หรือแต่งตั้ง  จากภาคธุรกิจ สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคาร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สถาบันการศึกษา  สมาชิก (สามารถใช้โครงสร้างของ ศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ได้)

            ขับเคลื่อนขบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยส่งเสริมบทบาทของสภาบันทางสังคมในกระบวนการพัฒนาประเทศ บูรณาการกลไกการดำเนินงานทั้งในระดับครอบครัว ระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับสากล ให้เชื่อมสัมพันธ์กันอย่างเกื้อกูล ส่งเสริมองค์กรธุรกิจในการดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนที่สอดคล้องกับศักยภาพแต่ละพื้นที่

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๖ มีนาคม ๒๕๕๔

ประเด็นพิจารณาเรื่องทุนมนุษย์กับการศึกษา –Architecture of Human Resource 

            .สถานการณ์ปัจจุบัน        คนไทยได้รับการพัฒนาศักยภาพ แต่มีปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาและสติปัญญา เด็กและเยาวชนมีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้น  แต่คุภาพการศึกษายังมีปัญหามาก เด็กมีพัฒนาการด้านความสามารถทางเชาว์ปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ค่อนข้างต่ำ คนไทยเกือบร้อยละ ๖๐ ของผู้มีอายุเกิน ๑๕ ปีขึ้นไป ไม่สามารถคิดเป็น ทำเป็น ทำให้ขาดทักษะในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ผลิตภาพในวัยแรงงานต่ำ 

                ๒..ปัญหา                                มาจากระบบครอบครัวไทยมีความเปาะบางทั้งจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กระแสโลกาภิวัตน์ และความจำเป็นในการประกอบอาชีพ ส่งผลให้ครอบครัวไทยเปลี่ยนจากการอยู่ร่วมกัน ของ พ่อ แม่ ลูก หลาน ที่มีการสืบทอดมรดกทั้งวิถีการดำรงชีวิต ค่านิยม วัฒนธรรม และทรัพย์สิน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวและความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวมีน้อยลง ขาดกลไกการอบรมที่เชื่อมโยงกันในลักษณะบ้าน วัด โรงเรียน ส่งผลให้ขาดพื้นฐานที่ดีที่จะเป็นปัจจัยหล่อหลอมให้เกิดการพัฒนาทางกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ

                ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงเรียน สถานศึกษา ที่เพิ่มขึ้น ยาเสพติดมีส่วนทำลายพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมอง  ของเด็กและเยาวชน ทำให้เยาวชนที่จะเป็นกำลังแรงงานใหม่ทดแทนผู้สูงอายุ มีคุณภาพด้อยลง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว

                ๓.สิ่งที่ควรจะเป็น                 มีขบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันในลักษณะ บ้าน วัด โรงเรียน ครอบครัวเข้มแข็ง ดำรงชีวิตโดยยึดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  คนเป็นศูนย์การของการพัฒนา สร้างสมดุลการพัฒนา ในทุกมิติ

                ๔.ทำอย่างไร                        พัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน  พัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพ ด้วยการเสริมสร้างทักษะให้มีจิตสาธารณะ เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น การสังเคราะห์ความรู้สั่งสม และต่อยอดสู่นวัตกรรมความรู้ ฝึกฝนจนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เปิดใจกว้างพร้อมรับทุกความคิดเห็น และการปลูกฝังจิตที่มีคุณธรรม รวมทั้งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มั่นคง และเอื้อต่อการพัฒนาคนอย่างสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

                ๕.ทำให้สำเร็จเป็นรูปธรรมได้อย่างไร           พัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต  สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้สู่วัฒนธรรมการเกื้อกูล ด้วยการเสริมสร้างทักษะคนให้มีจิตสาธารณะ  การสร้างเสริมสุขภาวะคนไทยให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันหลักของสังคมทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา ให้มีบทบาทหลักในการหล่อหลอม บ่มเพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวม สร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้คนทุกกลุ่มทุกวัยสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และองค์ความรู้ที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และองค์ความรู้ใหม่ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยการสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน สร้างนิสัยใฝ่รู้ตั้งแต่วัยเด็ก ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กรและสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สร้างปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาทางเลือกเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๖ มีนาคม ๒๕๕๔

เรียบเรียงจาก ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑

 

 

รายงานการประชุม

คณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์

ครั้งที่ 1/2554

วันพุธที่ 2 มีนาคม 2554

เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

กรรมการผู้มาประชุม

1. ดร. ธวัชชัย ยงกิตติคุณ                            ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการ                           

2. ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์                         ประธานอนุกรรมการ

3. รศ. ดร. สมบัติ คชสิทธ์

4. ดร. อภิเทพ แซ่โค้ว (ผู้แทนดร. บุญมาก ศิรินวกุล)

5. นายอรรถการ ตฤษณารังสี                        อนุกรรมการ

6. นายธัญญา ผลอนันต์                              อนุกรรมการ

7. นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล                     อนุกรรมการ

8. นายอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์                         อนุกรรมการ

9. นายประกาย ชลหาญ                              อนุกรรมการ

10. นางสาวพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ                      อนุกรรมการ

11. นายทำนอง ดาศรี                                อนุกรรมการ

12. นายวีรชัย กู้ประเสริฐ                             อนุกรรมการ

13. มล. ชาญโชติ ชมพูนุท                           อนุกรรมการ

14. ดร. เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค                   อนุกรรมการ

15. นางสาวอุมาพร ชัยยะเพกะ                      อนุกรรมการ

16. นายธนพล ก่อฐานะ                              อนุกรรมการ

17. นางเก็จวลี ลิตินุรักษ์                                       อนุกรรมการ

18. นางกาญจนา โชคดารา                           อนุกรรมการ

19. นางวราพร ชูภักดี                                อนุกรรมการ

20. นางสาวจงกลกร สิงห์โต                         อนุกรรมการ

21. นางสาวจิตรลดา ลียากาศ                        อนุกรรมการ

22. นายมนตรี พงษ์พันธุ์                             อนุกรรมการและเลขานุการ

23. นายอภิชาติ ประเสริฐสุด                         อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

24. นางกุลพัทธ์ แจ้งกมลกุลชัย                     อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

 

 

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. นางสาววรลักษณ์ ทองรมย์

2. นายณฐพนธ์ คงศิลา

3. นางสาวปิยพรรษา มณีแสง

4. นางสาวศิริกาญจน์ รัศมีโรจน์

5. นายไพบูลย์ ไสยาวงศ์

6. นายปกิติศักดิ์ ลิมปิฐากรณ์

7. นางสุวรรณี ทองเต็ม

8. นางสาวถนอมศรี รวงคำ

9. นางปิยาภรณ์ อุณหบัณฑิต

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น.

วาระที่ 1         เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

วาระที่ 1.1      แผนพัฒนาทุนมนุษย์

แผนพัฒนาทุนมนุษย์จะประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่

(1) Where are we now?

(2) Where are we going?

(3) How do we get there?

(4) How to do it successfully?

วาระที่ 1.2      การเข้าเยี่ยมสถาบันการศึกษา

สถาบัน AIT: คณะสิ่งแวดล้อม และบริหารธุรกิจ

วันที่ 10 มีนาคม 2554 เวลา 14.00 น.

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 17 มีนาคม 2554 แจ้งเวลาภายหลัง

มติที่ประชุม     รับทราบ

 

 

 

 

 

 

 

 

วาระที่ 2         เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมที่ผ่านมา

วาระที่ 2.1      การกำหนดแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาทุนมนุษย์ ภายใต้คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ

นายธัญญา ผลอนันต์

ได้ให้ความเห็นว่าการพัฒนาทุนมนุษย์นั้น (How to get there?) จะต้องเป็นการเตรียมความพร้อมของเด็กนักเรียนในระยะยาว ไม่ใช่รอใกล้จบมหาวิทยาลัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ

นายทำนอง ดาศรี

ในต่างประเทศ การศึกษาภาคท้องถิ่นที่มีผลปฏิบัติชัด คือ Farmer University ซึ่งเป็นการเรียนของเกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งนำสู่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ และการจดสิทธิบัตร ในการนี้อาจร่วมมือกับ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล   ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะได้ประโยชน์ 3 ด้าน ได้แก่

(1) รายได้จากสิทธิบัตร

(2) การ Train the Trainer (ครูพัฒนาครู)

(3) พัฒนาทุนมนุษย์ท้องถิ่น

นายธนพล ก่อฐานะ

ในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการค้าระหว่างประเทศนั้น ควรให้บุคลากรมีความเข้าใจต่อภาคธุรกิจระดับสากล เช่น AEC หรือ ตลาดแอฟริกา และสอนให้รู้จักว่าธุรกิจที่ดีต้องทำอย่างไร สร้างความพร้อมในการเป็น CEO of International Business

นอกจากการมีแผนพัฒนาทุนมนุษย์แล้ว เห็นควรให้มีหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่ผลักดันโดยตรง และเห็นด้วยกับการจัดตั้งสถาบันเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ภาคธุรกิจอย่างจริงจัง และเชื่อมโยงงานของหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน แต่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และโดยเฉพาะการทำงานอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับแผนของสภาพัฒน์ฯ และ 6 เรื่องที่เราให้ความสำคัญในเบื้องต้นสำหรับแผนนี้ หากแต่การตั้งในรูปแบบของสภา อาจจะมีความยุ่งยาก ซับซ้อน

นายอรรถการ ตฤษณารังสี

ในเรื่องของธุรกิจดาวเด่น (Sun Rise) มีความเห็นว่าอาจเป็นประเภทธุรกิจสีเขียวและดูแลชุมชน –EcoThai

และในส่วนของทุนมนุษย์ที่พึงปรารถนานั้น ควรให้เป็นบุคลากรที่มีจริยธรรมทางการค้า และการทำงานควรเน้น (1) หลักคิด (2) หลักวิชา (3) หลักปฏิบัติ

รศ. ดร. สมบัติ คชสิทธ์

ระบบการศึกษาปัจจุบันของไทยโดยส่วนใหญ่ เป็นการเตรียมคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่ยังขาดการเตรียมคนให้มีความพร้อมต่อนโยบายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เห็นด้วยกับการที่จะมีสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับการทำงานอย่างต่อเนื่องในอนาคต และในเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เช่น ในธุรกิจสุขภาพ ล้วนเป็นธุรกิจที่เรามีโอกาส และมีต้นทุนสูง

นายณฐพนธ์ คงศิลา

สนับสนุนการมีสถาบันฯ ที่เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทุกด้านของทรัพยามนุษย์ระดับชาติ ในส่วนของทุนมนุษย์ที่พึงปรารถนา เห็นควรให้เน้นในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมของมนุษย์ และโดยส่วนใหญ่การพัฒนาทุนมนุษย์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไร้ทิศทาง

นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

เห้นด้วยในเรื่องของ Life Long Learning และนอกจากการพัฒนาทุนมนุษย์ในภาคธุรกิจแล้ว ควรมองไปถึงทุนมนุษย์ของสังคม การเปิดเสรีทางการค้าทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีจุดอ่อน 2 ประเด็นที่สำคัญ คือ (1) การรับรู้สิ่งใหม่ๆ (2) การเป็นสากล ซึ่งต่อจากนี้ ภาคธุรกิจจะต้องเน้นทั้ง กำไร ความยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน

นายปกิติศักดิ์ ลิมปิฐากรณ์

เสนอให้มีการพัฒนาคนให้เหมาะกับท้องถิ่น เพื่อลดการเข้าเมือง และเพิ่มการกระจายแรงงานสู่ภูมิภาค ส่วนทุนมนุษย์ที่พึงปรารถนานั้น ควรให้เป็นคนที่มีความสามารถ และมีจริยธรรมควบคู่กัน

นางสาวอุมาพร ชัยยะเพกะ

มีความสนใจในเป้าหมายของธุรกิจที่พึงปรารถนา และสามารถนำกรอบความคิดดีๆ เข้ามาจับ เช่น เศรษฐกิจพอเพียง โดยเห็นควรให้มุ่งเน้นการพัฒนาคนตัวเล็กในสังคม และข้อ 5 (คุณสมบัติของคนที่พึงปรารถนา) น่าจะเชื่อมโยงกับข้อ 2 (เป้าหมายของธุรกิจที่พึงปรารถนา)

นายประกาย ชลหาญ

เสนอให้มุ่งเน้นในส่วนของ How to get there ให้มากขึ้น ในเรื่องของ execution/action plan ทั้งแผนระยะยาว 5 ปี และ 1 ปี ในส่วนของทุนมนุษย์ที่พึงปรารถนา อาจจำแนกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) Generic Competency (2) Sectoral Competency

ดร. อภิเทพ แซ่โค้ว (ผู้แทนดร. บุญมาก ศิรินวกุล)

ควรอธิบายให้ชัดเจนว่าทุนมนุษย์ที่เราพูดถึงคือใคร เราควรมี Life Long Planning ระยะยาวเป็นอย่างไร ได้ประโยชน์จริงหรือไม่

ดร. เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

ควรเริ่มจากวิสัยทัศน์ของประเทศไทยคืออะไร แล้วเราจึงสะท้อนสู่วิสัยทัศน์ในเรื่องของธุรกิจ และทุนมนุษย์ และการทำแผนพัฒนาทุนมนุษย์ให้สำเร็จ ไม่ใช่แบบ One size fits all และเราควรจะเน้นการสร้างนวัตกรรม ภูมิปัญญาไทย เราควรพิจารณาขั้นตอน ดังนี้ (1) เป้าหมายของการพัฒนาทุนมนุษย์ (2) ผู้ที่เกี่ยวข้องคือใคร (3) กระบวนการพัฒนา (4) เครื่องมือในการพัฒนา

 

 

มล. ชาญโชติ ชมพูนุท

แผนพัฒนาของสภาพัฒน์ในอดีตเน้นพัมนาเศรษฐกิจนำสังคม แต่แผน 8-11 มุ่งเน้นการพัฒนาสังคมนำธุรกิจ สำหรับคำถามที่ว่า Who ในแผนของสภาพัฒน์ นั้น ได้แยกเป็น 4 กลุ่มชัดเจนคือ

(1) สังคม เน้นเรื่องการบริหารคน

(2) ธุรกิจ เน้นที่ SMEs

(3) องค์กร มูลนิธิ สถาบันที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา

(4) สภาชุมชน

ซึ่งเราสามารถกำหนดประเภททุนมนุษย์ ตามสภาพัฒน์ได้

ดร. ธวัชชัย ยงกิตติคุณ

บทเรียนของ Globalization สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ เมื่อต่างชาติเข้ามา เราต้องมีความสามารถเรื่องภาษาอังกฤษ

การพัฒนาทุนมนุษย์วันนี้ ต้องมีความสมดุล 2 ส่วน คือ (1) สมอง และ (2) ใจ ดังนั้น ระบบการศึกษา ระบบการพัฒนาทุนมนุษย์ของสังคมไทยจะต้องให้ความสำคัญทั้ง 2 เรื่อง อยากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคการศึกษาทำกรณีศึกษา (Case Studies) ความสำเร็จและความล้มเหลวของธุรกิจมีอะไรบ้างที่เป็นบทเรียน

นายอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

การสร้างหลักคิด และเติม Inspiration ให้กับหัวหน้าครอบครัว และสร้างให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่น่าจะช่วยได้ หากธุรกิจครอบครัวจะอยู่อย่างยั่งยืนต้องมีการวางแผนที่ดี ต้องให้ความสำคัญกับ Stakeholders ซึ่งประเทศไทยเพิ่งให้ความสนใจกับธุรกิจครอบครัวเมื่อไม่นานมานี้เอง ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องธุรกิจครอบครัวมานานแล้ว เช่น ญี่ปุ่น

นายวีรชัย กู้ประเสริฐ

การจัดการความรู้เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งประเทศไทยยังขาดระบบในการจัดเก็บความรู้ ควรให้มีการพัฒนาความรู้ ควบคู่กับการพัฒนาทุนมนุษย์ ควรมีการจัดระบบความรู้ลักษณะ Taxonomy ควรมี Brain Bank ในนามของสถาบันเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของ AEC หรือ Globalisation

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ในฐานะที่มองแบบ “สื่อ” คิดว่าการจัดตั้งสภาฯ หรือสถาบันฯ เป็นสิ่งที่จำเป็น สภาฯ สามารถจุดความสนใจ และสามารถสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมได้ แต่คำว่า “สถาบัน” อาจจะเกิดข้อกังขาจากสถาบันอื่น ๆ หรือไม่? เว็บไซต์น่าจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้แผนของเรากระจายไปสู่สังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานสำคัญต่าง ๆ ของประเทศ

กองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อกิจการสาธารณะ เป็นแหล่งเงินทุนที่น่าสนใจที่ทางกระทรวงพาณิชย์อาจจะนำไปพิจารณาเรื่องการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องสำหรับแผนของเรา

 

คุณธนพล ก่อฐานะ

แนะนำการใช้ Blog เป็นช่องทางในการระดมความคิด และคลังข้อมูลสำหรับทุกท่านซึ่งเป็นประโยชน์มาก (เข้าที่ www.chiraacademy.com)

เลิกประชุม      เวลา 13.20 น.

นางกุลพัทธ์ แจ้งกมลกุลชัย

นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ

ผู้บันทึกการประชุม

xxxxxxxx

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

นายมนตรี พงษ์พันธุ์

กรรมการและเลขานุการ

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

ติดตามความเคลื่อนไหวของการประชุมทุกครั้งและร่วมแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ได้ที่ http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/428004

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท