การจัดทำแผนธุรกิจแห่งชาติ - การประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์


ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ได้กำหนดจัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ครั้งที่ 1 อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ ณ ห้องประชุมชั้น 7 กรมธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะทำงาน 6 ชุด

1. การศึกษา จะเชิญกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานและสภาพัฒน์มาร่วมด้วย

2. เป้าหมายธุรกิจที่พึงประสงค์+ทุนมนุษย์

3. ทุนมนุษย์+ธุรกิจระหว่างประเทศ

4. อุปสรรคด้านวัฒนธรรม (การเรียนรู้)

5. คุณสมบัติคนไทยที่พึงปรารถนาในยุคธุรกิจใหม่

6. สื่อ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาทุนมนุษย์
หมายเลขบันทึก: 428004เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ผมสนใจเข้าร่วมในหลายคณะทำงานด้วยกัน เช่น

1.Education - Architecture of Human Resorce

2.เป้าหมายของธุรกิจที่พึงประสงค์กับเป้าหมายของทุนมนุษย์

3.ทุนมนุษย์กับธุรกิจระหว่างประเทศ

ผมเห็นว่าคณะที่ 2 และ 3 สามารถรวมเป็นคณะเดียวกันได้

 

สวัสดีครับชาว Blog และคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ทุกท่าน

ผมดีใจมากที่จะได้พบทุกท่านอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ ทุกท่านให้กำลังใจผมมากโดยเฉพาะทีมงานฝ่ายเลขาฯ นำโดย ผอ.มนตรี พงษ์พันธุ์ คุณอภิชาติ ประเสริฐสุด คุณวราพร ชูภักดี คุณจงกลกร สิงห์โต และอีกหลาย ๆ ท่าน

        ผมคิดว่าเราคงต้องอ่านและศึกษาแผนฯ 11 ของสภาพัฒน์ฯ อย่างรอบคอบ ซึ่งมีข้อมูลที่มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะมีการพูดถึงเรื่องทุนมนุษย์ไว้ได้ดี อาทิ เช่น

  • เรื่องเศรษฐกิจฐานความรู้
  • เรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • เรื่องทุนมนุษย์กับธุรกิจสากล

       ข้อเสีย คือ

  • พูดแล้วทำอย่างไร? ทำให้สำเร็จอย่างไร?
  • มีเป้าหมายกว้าง คือ 64 ล้านคน ไม่ใช่แค่ธุรกิจ (ของเราแคบกว่า)

จีระ หงส์ลดารมภ์

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

ผมยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะได้มีส่วนร่วมในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมในครั้งนี้ครับ

และต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ

ธนพล ก่อฐานะ

บันทึกการประชุม
คณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์
ครั้งที่ 1/2554 (อย่างไม่เป็นทางการ)
วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 10.00 น. 
ณ ห้องประชุม ชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

………………………………………………………………………………………………………………

 

วาระที่ 1            เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

                        การจัดทำแผนธุรกิจแห่งชาติของกระทรวงพาณิชย์ ประกอบด้วย อนุกรรมการ รวม 10 ชุด ดังนี้

  1. คณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์
  2. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่อรองรับการพัฒนาธุรกิจ
  3. คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจตัวแทนการค้าและจัดจำหน่าย
  4. คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม และธุรกิจสมัยใหม่
  5. คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจก่อสร้าง
  6. คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว
  7. คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์
  8. คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจอาหารและแปรรูปการเกษตร
  9. คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจแฟชั่นและไลฟ์สไตล์
  10. คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

 

 

วาระที่ 2            เรื่องเพื่อพิจารณา

การกำหนดแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาทุนมนุษย์ ภายใต้คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ

ประเด็นพิจารณาเรื่องทุนมนุษย์กับธุรกิจ

¨ สถานการณ์ปัจจุบัน

¨ ปัญหา

¨ สิ่งที่ควรจะเป็น

¨ ทำอย่างไร

¨ และจะทำให้สำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร?

 

บันทึกความคิดเห็นของที่ประชุม

ดร.จีระ

การเขียนแผนพัฒนาทุนมนุษย์กับธุรกิจในครั้งนี้จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 โดยเน้นให้มีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ เน้น Winning Projects และการทำงานจะต้องเน้น National Interest ไม่ใช่ Sectoral Base

ดร.ธวัชชัย

รู้สึกยินดีที่ ดร.จีระเป็นประธาน เพราะเป็นคนที่ถ้าตั้งใจจะทำอะไรแล้วมักจะทำสำเร็จ

ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมาวาง Agenda ของประเทศไทยอย่างจริงจัง ไม่อย่างนั้นเราจะสู้ประเทศอื่นไม่ได้เลย เพราะคนไทยไม่ใฝ่รู้ - - และการศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด หัวใจสำคัญของการศึกษา คือ หลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องภาษา

เราควรแบ่งการทำงานออกเป็นคณะ ๆ ดร.จีระอาจจะเป็นผู้ที่มองในภาพรวม แต่นอกจากนั้น เราควรจะช่วยกันศึกษาในเรื่องดังต่อไปนี้

¨ หลักสูตร

¨ ครู - รายได้

¨ ตำรา – ต้องทันสมัย เชื่อถือได้ เป็นที่ยอมรับ

¨ การบริหาร – การกระจายรายได้ทำอย่างไร?

¨ การเงิน – ไม่ควรให้เป็นกองทุนรวมของชาติ แต่อาจจะต้องให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

ดร.จีระ

เห็นด้วยกับ ดร.ธวัชชัย ตัวอย่าง HRD Working Group ของ APEC ทำ 3 เรื่องที่สำคัญ คือ

  1. Education
  2. Capacity Building
  3. After Retirement

เพราะฉะนั้นในการทำงานของเราครั้งนี้ ก็คงจะต้องมอง 1+2 เป็นสำคัญ

มล.ชาญโชติ

จากประสบการณ์ในภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่ผ่านมายังไม่มีแผนการพัฒนาคนอย่างเป็นรูปธรรม เพราะยังไม่เห็นประโยชน์

 

ดร.จีระ

-                    มล.ชาญโชติเน้น Capacity Building ในภาคการท่องเที่ยว

-                    เราต้องพยายามเน้นเรื่อง Diversity ด้วย

ธนพล

-                    ธุรกิจในปัจจุบันต้องเตรียมตัวเพื่อการค้าระหว่างประเทศ

-                    CEO for International Business เราจะส่งเสริมให้คนมีความพร้อมอย่างไร?

-                    อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยกำลังเป็นดาวดวงใหม่ คือ Software Applications

-                    ธุรกิจในปัจจุบันต้องเตรียมตัวเพื่อการค้าระหว่างประเทศ

-                    CEO for International Business เราจะส่งเสริมให้คนมีความพร้อมอย่างไร?

-                    อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยกำลังเป็นดาวดวงใหม่ คือ Software Applications ทำอย่างไรให้คนของเรามองโอกาสตรงนี้ออก

-                    การจับความร่วมมือระหว่างกลุ่มนักธุรกิจแม้ว่าจะมี Conflict of Interest แต่ยังคงจะต้องทำ คือ ต้องให้มีการรวมตัวกันต่อไปเพราะว่ายังมีความจำเป็นอย่างมาก ทำอย่างไรจึงจะลดความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ แต่สร้างให้เกิด Synergy

-                    การสร้างความร่วมมือ การสร้างให้คนไทยรู้จักวิธีคิดที่จะสร้างความร่วมมือกับ Stakeholders ของเรา

ดร.จีระ

-                    ความคิดเรื่อง CEO for International Business ดีมาก

-                    เรื่อง Networking and Partnership มีความสำคัญมากต่อสังคมไทย ตัวอย่างของการตั้งศูนย์กระจายสินค้าของจีนที่บางนา ก.ม. 8 หลายคนมองว่าไทยเสียเปรียบแต่จริง ๆ แล้วเราควรจะมองว่าเป็น win/win

-                     เป้าหมายของเราคือการพัฒนาทุนมนุษย์ 64 ล้านคน

-                    เราควรมีเข็มทิศว่า..ธุรกิจอะไรที่เราต้องให้ความสำคัญ (Sunrise) เราต้องมอง New Business ที่ใช้ภูมิปัญญา ใช้ wisdom ของสังคมไทย ควรจะต้องมีกลุ่มหนึ่งที่ช่วยกันมองในเรื่องนี้

ทำนอง

การเรียนของเรามี 3 ช่วง

-                    จากการทำงาน 70%

-                    จากการ Coaching 20%

-                    จากโรงเรียน 10%

เพราะฉะนั้น HR ในอนาคตต้องเป็น HR Responsibility คือดูแลความเก่ง ดูแลความดี ดูแลเรื่องการแข่งขัน เน้น..

–                  Performance

–                  Teamwork

–                  Innovations

เพราะฉะนั้น เราจะต้องสร้าง Culture ให้ทุนมนุษย์ของเราด้วย

- ทิศทางที่เราควรจะไปคิดว่าควรจะเป็นการเกษตร

พงษ์ศักดิ์ (ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมฯ)

ผมจับงาน HR มาปีนี้เป็นปีที่ 20 และปีที่ 12 ในสภาอุตฯ

-                    วลีที่พูดเสมอ ๆ คือ “วัวส่งควายเรียน (ลาสอน)” หมายความว่างานด้าน HR ของเรายังคงต้องทำอะไรอีกมาก

-                    ทำไมประเทศเพื่อนบ้านเราจึงมีการพัฒนาที่รวดเร็วกว่าเรา? สิ่งหนึ่งคือ HR และการพัฒนาแบบองคาพยพ

-                    หากวันนี้เราเปรียบเทียบกับแอฟริกาเราจะเห็นว่าเขาเป็นตลาดใหม่ที่มีการพัฒนาค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของคน อุปสรรคของคนไทย คือ “Culture ของคนไทย” ซึ่งเราจะต้องทบทวนวิธีการพัฒนาคนของประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องของการวางยุทธศาสตร์ เพราะฉะนั้นการปรับวิสัยทัศน์ ปรับกระบวนทัศน์ของราชการไทยสำคัญเป็นอันดับแรก ต่อมาคือเรื่องของการศึกษา

ดร.จีระ

-                    ประทับใจมากและอาจจะขอฝากให้ท่านช่วยดูแลในเรื่องของธุรกิจใหม่ ๆ

-                    วันนี้เราจะไม่เริ่มการเขียนแผนธุรกิจจาก 0 แต่เราจะศึกษาจาก Database ต่าง ๆ ที่หลายๆ ฝ่ายอาจจะเคยมีรการศึกษาไว้บ้างแล้ว

ดร.ไพบูลย์ (ผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)

            ในฐานะผู้แทนท่านอธิการฯ ขอรับฟังความคิดเห็นของที่ประชุมเพื่อนำไปเรียนให้ท่านอธิการทราบ ซึ่งท่านเองตั้งใจที่จะเข้าร่วมกับการประชุมของคณะอนุฯ ด้วยตัวท่านเอง

อนุรัตน์

-                    เห็นความแตกต่างของการศึกษาของประเทศไทยกับต่างประเทศ

-                    มีประสบการณ์ทั้งในบริษัทใหญ่ ๆ และ SMEs ซึ่งก็มีมุมมองในเรื่องคนกับธุรกิจ และแนวทางการพัฒนาจากธุรกิจครอบครัวสู่การเป็นบริษัทใหญ่หรือบริษัทข้ามชาติ โดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนา Skill Labor

-                    การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนก็คงจะต้องเป็นการ Shared Vision ร่วมกัน

ดร.จีระ

-                    การพูดเรื่องการศึกษา เราคงจะต้องทำให้เกิด Impact ขึ้นให้ได้

พงษ์ศักดิ์ (ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมฯ)

-                    การค้าข้ามชาติ สิ่งที่เราไม่กล้าทำ คือเรามีความกลัว เพราะเราไม่สามารถพัฒนาคนให้มีความสามารถทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้

-                    การก้าวข้ามไปสู่ปี 58 ที่ AEC กำลังจะมาถึง เราต้องระมัดระวังเรื่องคนไทยจะเป็นลูกน้องของคนต่างชาติ

-                    การเตรียมคนเพื่อการย้ายฐานการลงทุนเป็นเรื่องใหญ่

-                    การต่อยอดเรื่อง Creative Economy ประเทศไทยอาจจะเป็น Thailand Media Center

-                    หากเราจะปฏิวัติในการเรื่องพัฒนาคนเราจะต้องมองว่าประเทศไทยเราจะอยู่ตรงไหนของทุกประเทศที่มีแผนธุรกิจในโลก

-                    คนไทยมักจะละเลยที่จะหยิบฉวยโอกาสดี ๆ ที่เกิดขึ้น และช้ากว่าประเทศอื่นเสมอ

ตัวแทน อ.ธัญญา ผลอนันต์

-                    แนะนำ อ.ธัญญา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน HR ซึ่งคงจะมาร่วมประชุมกับคณะอนุฯ ในครั้งต่อ ๆ ไป

ผู้แทน สสว.

-                    ฝากประเด็นเรื่องการให้ความสำคัญกับแรงงานรายวันกับคุณภาพชีวิต/เป้าหมายในชีวิต ทำอย่างไรจึงจะวางแผนช่องทางการสื่อสารให้เขาเข้าใจในการดำรงชีวิต และการสร้างทุนมนุษย์ที่เป็นลูกหลานรุ่นต่อ ๆ ไปของเขาให้มีอนาคตที่ดี

ดร.จีระ

-                    ประเด็นหนึ่งที่เป็น Highlight ของวันนี้ คือ HR Responsibility ซึ่งเราก็จะต้องพยายามมองไปที่ทรัพยากรมนุษย์ในทุกส่วน

ประกาย

-                    จากคำพูดของ Jack Welch “Business is all about people.. At the end of the day, it only people that matter.” นั่นหมายถึงทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญมาก

-                    ทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดความคิดว่าคนคือทรัพยากรที่สำคัญ ทำอย่างไรเราจึงจะสร้างแม่แบบ (Model) ของคนที่เราต้องการได้ โดยเอา Concept ของ Supply side – Demand side มาใช้

ดร.จีระ

วันนี้เรื่อง Wisdom เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นสำหรับสังคมไทย

-                    Jack Welch

-                    พารณ

-                    Peter Drucker – Learning how to learn.

ชาญชัย

-                    ธุรกิจส่วนตัว –นำเข้าส่งออกอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์

-                    คณะกรรมการชุดนี้น่าจะกระตุ้นให้แผน 11 สามารถสร้าง Output – Outcome ให้แก่สังคมไทยได้จริง

-                    คนเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ

–                  Mental Skill+ความรู้

–                  คิดให้เป็น

–                  พูดให้ถูก (ถูกต้อง+ถูกใจ)

–                  ทำให้เป็น

-                    ความสำคัญของการประชาสัมพันธ์

-                    การศึกษาต้องเริ่มจากครอบครัว

-                    การศึกษาไม่ได้อยู่ในโรงเรียนอย่างเดียว

-                    วันนี้เราต้องกลับมาดูว่า Fundamental คืออะไร?

-                    การสร้าง Network ทางธุรกิจในวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ต้องทำ

-                    ปัญหาสมองไหลก็ควรที่จะต้องให้ความสำคัญ เช่น โรงพยาบาลคุณภาพดีในสังคมไทย คนไทยไม่กล้าเข้าเพราะแพง คนที่ใช้บริการกลับเป็นคนต่างชาติ

-                    ควรมีกองทุนสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อสร้างทุนมนุษย์ที่เป็นมืออาชีพ (สภาอุตสาหกรรมแนะนำว่าต้องระมัดระวังเรื่องความซ้ำซ้อน หากจะขอจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานอาจจะทำได้เพราะเขามีการตั้งงบประมาณไว้ในส่วนนี้ แต่อาจารย์จีระขอให้ดำเนินงานภายใต้กระทรวงพาณิชย์ เพราะที่ผ่านมาอยู่ที่กระทรวงแรงงานก็อาจจะไม่ได้ผล อยากให้เน้นการมองแบบ Innovation

ผู้แทนสภาพัฒน์ฯ (คุณวรรณา) มาแทนรองเลขาธิการฯ

-                    แผน 11 กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เน้นการพัฒนาคนสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เริ่มตั้งแต่ในครรภ์

พิชญ์ภูรี

-                    กรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือ เรื่องที่ชาวนาออกมาประท้วงรัฐบาลในเรื่องราคาข้าว สิ่งที่น่าคิดคือภาครัฐจะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนในทุกระดับ สื่อแบบอินเตอร์เน็ตชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ

-                    การพัฒนาธุรกิจในภาพกว้างกับความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงของประชาชน

-                    ควรมีการจัดตั้งสภาทุนมนุษย์ฯ

ดร.จีระ

แค่กระทรวงพาณิชย์มีข่าวออกไปว่าให้ความสนใจและตั้งใจทำเรื่องทุนมนุษย์กับธุรกิจอย่างจริงจังก็จะเกิดประโยชน์และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีอย่างมหาศาล

ผอ.มนตรี

-                    การรวมกลุ่มกันของสมาคมการค้ามีความสำคัญและจำเป็น ปัจจุบันยังมีความกระจัดกระจายดังนั้นเราต้องพยายามรวมกลุ่มกันในลักษณะ Cluster มากยิ่งขึ้น

-                    ธุรกิจเกษตรเป็นธุรกิจที่สำคัญ หากเรามองไปถึงการรวมตัวกันให้ได้ในกลุ่มประเทศอาเซียนและสร้างราคาตลาดของอาเซียนก็จะทำให้เราแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

-                    เรื่องคุณธรรมจริยธรรมของทุนมนุษย์

-                    เรื่องการจัดการความสามารถของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีสมองดีเราควรจะมองถึงเรื่องการสร้าง “คลังสมอง” เน้นให้ผู้สูงอายุสามารถเลี้ยงตัวเองได้ก็จะมีประโยชน์มากสำหรับสังคมไทย

-                    ดังนั้น สิ่งที่ทุกท่านมาร่วมกันในวันนี้คงจะสร้างความถาวรในเรื่องการสร้างทุนมนุษย์ของธุรกิจและสังคมไทย

-                    ฝากสภาพัฒน์ฯ ให้มองถึงเรื่องการจัดสรรงบประมาณ เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะจัดสรรงบประมาณตามเนื้องาน/โครงการ ไม่ใช่จัดให้แต่ละกระทรวงไปดำเนินการซึ่งจะเกิดปัญหาต่างคนต่างทำ แล้วก็สำเร็จยาก

 

ข้อสรุปของการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งแรก

การตั้ง Working Group

1)      Education – Architecture of Human Resource

2)     เป้าหมายของธุรกิจที่พึงประสงค์ (Sunrise) กับเป้าหมายของทุนมนุษย์

3)     ทุนมนุษย์กับธุรกิจระหว่างประเทศ

4)     อุปสรรคเรื่องวัฒนธรรมของทุนมนุษย์ (ระดับชาติ+องค์กร)

-                     ไม่ชอบเรียนรู้ / ไม่อ่านหนังสือ

-                    วัตถุนิยม

-                     การทำงานร่วมกัน

5)     คุณสมบัติของคนไทยที่พึงปรารถนา

6)     สื่อเพื่อทุนมนุษย์ในธุรกิจ

นัดหมายเพื่อการประชุมครั้งต่อไป

¨ พุธ 2 มี.ค.54

¨ พุธ 9 มี.ค.54

¨ พุธ 16 มี.ค.54

เวลา 10.00 น.

 

.......................................................................................................................

 

 

 

อ่านร่างแผน 11 คิดว่าสิ่งที่คณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนัษย์ ควรพิจารณาให้มากจะอยู่ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่ 1 และ 2 ดังนี้

 ยุทธศาสตร์การพัฒนา

การพัฒนาประเทศให้มั่นคง สังคมสงบสันติ และประชาชนดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกที่คาดการณ์ได้ยากและมีแนวโน้มรุนแรงทั้งการเมืองในประเทศและวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและส่งผลกระทบวงกว้าง ทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงต้องเร่งสร้างภูมิคุ้มกันทั้งเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และเสริมรากฐานของประเทศด้านต่างๆ ให้เข้มแข็ง รวมทั้งสร้างโอกาสให้ประเทศสามารถเจริญก้าวหน้าต่อไป โดยให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ที่มีลำดับความสำคัญสูง ในมิติสังคมเน้นการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การพัฒนาการศึกษาที่เชื่อมโยงไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่วนมิติเศรษฐกิจมุ่งปรับโครงสร้างการผลิตให้มีคุณภาพ การลงทุนที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาศักยภาพแรงงานให้สามารถเพิ่มรายได้สูงขึ้น และยกระดับเป็นชนชั้นกลาง ขณะที่มิติทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้ ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม (๒) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม เพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน

ทรัพยากร การประกอบอาชีพ ยกระดับรายได้ และสร้างความมั่นคงทางสังคมให้ทุกคนในสังคมไทย ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายคนยากจน คนด้อยโอกาส แรงงานนอกระบบ/ต่างด้าวชนกลุ่มน้อย ให้เข้าถึงบริการทางสังคมอย่างเท่าเทียมกับกลุ่มอื่นๆ สนับสนุนให้ภาคีพัฒนาทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้งในสังคมไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่และเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพ ด้วยการเสริมสร้างทักษะให้มีจิตสาธารณะ ๕ ด้าน ทั้งการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น การสังเคราะห์ความรู้สั่งสม และต่อยอดสู่นวัตกรรมความรู้ การฝึกฝนจนเกิดความคิดสร้างสรรค์ การเปิดใจกว้างพร้อมรับทุกความคิดเห็น และการปลูกฝังจิตใจที่มีคุณธรรม รวมทั้งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มั่นคง และเอื้อต่อการพัฒนาคนอย่างสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

โปรดคลิกใน link นี้เพื่ออ่านข่าวเกี่ยวกับการประชุม

http://www.naewna.com/news.asp?ID=250903

เรียนท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ

ผมสนใจในคณะทำงานที่ 3 คือ

3.ทุนมนุษย์กับธุรกิจระหว่างประเทศ 

 ผมขอแสดงความคิดเห็น ขอเสนอให้ตั้ง "สถาบันพัมนาทุนมนุษย์ เพื่อธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์" เพื่อขับเคลื่อนแผนการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจ

การพัฒนาทุนมนุษย์ล้อแผนของสภาพัฒฯ

การเรียนรู้ ควรแนะนำให้นักธุรกิจเรียนรู้ 3 เรื่องคือ

1) เรียนรู้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่น่าจะไปลงทุน เช่น Asia 600 ล้านคน

2) เรียนรู้เป้าหมายะรกิจที่ควรน่าสนใจ เช่น เกษตร พลังงาน และ Creative Economy

3) สร้างความพร้อม 2 R ( Reality and Relevance) และ/หรือ หา Coaching มาช่วย

ฐานความรู้ ต้องให้ "สถาบันพัมนาทุนมนุษย์ เพื่อธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์" เชื่อมต่อองค์ความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีเช่น สสว., กรมพัมนาธุรกิจการค้า,สภาอุตสาหกรรม,สภาหอการค้า และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อที่จะสนับสนุน หรือเพื่อให้เกิดการค้นหาที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ทันที ตลอดเวลาสามารถค้นหาได้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการ

Age ต้องพยายามนำคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ มีอายุสูง มาช่วยคนหนุ่มที่กำลังเป็นผู้นำ แต่ขาดประสบการณ์ที่มีอยู่มากมายที่เรียกว่าต้องการคนที่มา Coaching นั่นเอง

*** ขอฝากความคิดเพิ่มเติม ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการสืบถอดธุรกิจ เพื่อความเข้มแข็ง

และขอเสนอให้พัฒนาคนรุ่นใหม่ ไฟแรง ธุรกิจใหม่ (Creative Economy) ที่สอดคล้องกับปัจจุบันและอนาคต เพราะคืออนาคตจริง ๆ

ธนพล ก่อฐานะ

 

 

 

 

 

ติดตามสาระสำคัญของการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์
ครั้งที่ 1/2554 (อย่างเป็นทางการ)
วันพุธที่ 2 มีนาคม 2554 เวลา 10.00 น. 
ณ ห้องประชุม ชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ที่.. http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/429054

อนุรัตน์ ก้องธรนินทร์ (ผู้ประกอบการและผู้บรรยายในหัวข้อเรื่องยุทธศาสตร์การวางแผนธุรกิจครอบครัว)

เป็นเกียรติที่ได้รับเชิญเข้าร่วมในคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ครับ ผมขอต่อยอดจากประเด็นที่ ศร.ดร.จีระ เขียนไว้ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2554  เห็นด้วยครับว่าควรอ่านแผนฯ 11 ของสภาพัฒน์ฯ

สิ่งที่ผมได้แบ่งปันประสพการณ์และมุมมองไปเมื่อการประชุมครั้งแรกในวันที่23 กุมภาพันธ์ ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติกับการพัฒนาทุนมนุษย์ Key word ที่ผม Focus คือ ธุรกิจและทุนมนุษย์ ซึ่งผมเห็นว่าธุรกิจ 99% ในประเทศไทย เป็นธุรกิจครอบครัวมีทั้ง S.M.E. ไปจนถึงระดับใหญ่ หากเริ่มต้นที่การพัฒนาตัวเจ้าของและสมาชิกครอบครัวที่เป็นทั้งผู้บริหารหรือเป็นเพียงผู้ถือหุ้น (เจ้าของปัจจุบันและอนาคต) ให้รู้บทบาทความรับผิดชอบที่มีและการพัฒนาการเตรียมตัวในความเป็นผู้นำ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับครอบครัวหรือองค์กร ก็จะช่วยนำพาให้เกิดการทำธุรกิจที่สามารถอยู่ยั่งยืน เติบโตและเป็นประโยชน์ต่อ STAKEHOLDER และประเทศชาติโดยรวมได้ ซึ่งในเนื้อหา-สาระนี้ อาจจะไปตรงกับตัวอย่างที่ ศ.ดร.จีระ เลือกขึ้นมาจากแผน 11 ของสภาพัฒน์ฯ ก็คือ เรื่องทุนมนุษย์กับธุรกิจสากล และหน้าที่-เป้าหมายของคณะอนุกรรมการ ต้องช่วยกันหาแนวทางลงมือปฏิบัติให้ได้ เป้าหมายที่ผมอยากจะเห็นก็คือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจจากขนาดเล็ก สามารถอยู่รอดและเติบโตเป็นขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดกลางกลายเป็นขนาดใหญ่ จุดเริ่มต้นที่ผมนำเสนอได้ก็คือ การจุดประกายให้พวกเขาเข้าใจถึงนัยยะของการวางแผนยุทธศาสตร์ของการทำธุรกิจครอบครัว และวิธีการนำลงปฏิบัติ

เบื้องต้นขอแบ่งปันมุมมองของคุณสมบัติของคนที่พึงปรารถนา ซึ่งผมคัดลอกจากหนังสือที่ผมแปลจากหนังสือ Strategic Planning For The Family Business (ยุทธศาสตร์การวางแผนสำหรับธุรกิจครอบครัว) โดย Randel S. Carlock & John L.Ward ซึ่งเป็นตำราที่สมบูรณ์แบบเล่มแรกของประเทศไทย

คำจำกัดความพฤติกรรมที่เอื้อต่อความสำเร็จของผลปฏิบัติงาน

Conscience                                  : การแสดงออกของพฤติกรรมที่มีจรรยาบรรณทั้งในครอบครัวและธุรกิจ

Credibility                                    : เคารพในความสำเร็จ ผลการปฏิบัติงาน และรูปแบบส่วนบุคคลทั้งในครอบครัวและธุรกิจ

Coaching                                    : ความสามารถในการสอนพัฒนาทักษะและสร้างความสามารถพิเศษให้กับผู้อื่น

Capability                                  : สติปัญญาและความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้ดี เพื่อการเติบโตในอนาคตของความเป็นผู้บริหารและผู้นำ

Commitment                              : การตัดสินใจส่วนตัวเพื่อสนับสนุนส่วนได้เสียของครอบครัวและธุรกิจ

Competence                               : ความชำนาญทางเทคนิคหรือทักษะที่จำเป็นในการบริหารธุรกิจ

Communication                          : ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายบนพื้นฐานของการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร

นับถือ

อนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

3/3/2011

เมื่อคืนวันพุธที่ 2 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา ฯพณฯ นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้ริเริ่มและผลักดันการจัดทำแผนธุรกิจแห่งชาติ ปี 2554 และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในฐานะของประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ร่วมให้สัมภาษณ์ในรายการคุยนอกทำเนียบ  ทางช่อง NBT เวลา 20.40 น. สำหรับท่านที่พลาดชมรายการดังกล่าวโปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อชมรายการย้อนหลังค่ะ

http://www.me.in.th/live/index1.php

เมื่อคลิกเข้าไปแล้ว

โปรดคลิกที่โลโก้ช่อง NBT แล้วคลิกเลือกวันที่ 2 มีนาคม 2554

คลิกลูกศรเลื่อนไปที่เวลา 20.40 น.

เมื่อได้ชมแล้วก็จะเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติค่ะ

ขอขอบคุณ..คุณจิตลดาที่ให้ข้อมูลดังกล่าวค่ะ

ประเด็นพิจารณาเรื่องทุนมนุษย์กับการศึกษา –Architecture of Human Resource 

            .สถานการณ์ปัจจุบัน        คนไทยได้รับการพัฒนาศักยภาพ แต่มีปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาและสติปัญญา เด็กและเยาวชนมีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้น  แต่คุภาพการศึกษายังมีปัญหามาก เด็กมีพัฒนาการด้านความสามารถทางเชาว์ปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ค่อนข้างต่ำ คนไทยเกือบร้อยละ ๖๐ ของผู้มีอายุเกิน ๑๕ ปีขึ้นไป ไม่สามารถคิดเป็น ทำเป็น ทำให้ขาดทักษะในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ผลิตภาพในวัยแรงงานต่ำ 

                ๒..ปัญหา                                มาจากระบบครอบครัวไทยมีความเปาะบางทั้งจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กระแสโลกาภิวัตน์ และความจำเป็นในการประกอบอาชีพ ส่งผลให้ครอบครัวไทยเปลี่ยนจากการอยู่ร่วมกัน ของ พ่อ แม่ ลูก หลาน ที่มีการสืบทอดมรดกทั้งวิถีการดำรงชีวิต ค่านิยม วัฒนธรรม และทรัพย์สิน กลายเป็นครอบครัวเดี่ยวและความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวมีน้อยลง ขาดกลไกการอบรมที่เชื่อมโยงกันในลักษณะบ้าน วัด โรงเรียน ส่งผลให้ขาดพื้นฐานที่ดีที่จะเป็นปัจจัยหล่อหลอมให้เกิดการพัฒนาทางกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ

                ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงเรียน สถานศึกษา ที่เพิ่มขึ้น ยาเสพติดมีส่วนทำลายพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมอง  ของเด็กและเยาวชน ทำให้เยาวชนที่จะเป็นกำลังแรงงานใหม่ทดแทนผู้สูงอายุ มีคุณภาพด้อยลง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว

                ๓.สิ่งที่ควรจะเป็น                 มีขบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันในลักษณะ บ้าน วัด โรงเรียน ครอบครัวเข้มแข็ง ดำรงชีวิตโดยยึดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  คนเป็นศูนย์การของการพัฒนา สร้างสมดุลการพัฒนา ในทุกมิติ

                ๔.ทำอย่างไร                        พัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน  พัฒนาคนไทยทุกกลุ่มวัยให้มีศักยภาพ ด้วยการเสริมสร้างทักษะให้มีจิตสาธารณะ เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น การสังเคราะห์ความรู้สั่งสม และต่อยอดสู่นวัตกรรมความรู้ ฝึกฝนจนเกิดความคิดสร้างสรรค์ เปิดใจกว้างพร้อมรับทุกความคิดเห็น และการปลูกฝังจิตที่มีคุณธรรม รวมทั้งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มั่นคง และเอื้อต่อการพัฒนาคนอย่างสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

                ๕.ทำให้สำเร็จเป็นรูปธรรมได้อย่างไร           พัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาประเทศในอนาคต  สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้สู่วัฒนธรรมการเกื้อกูล ด้วยการเสริมสร้างทักษะคนให้มีจิตสาธารณะ  การสร้างเสริมสุขภาวะคนไทยให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันหลักของสังคมทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา ให้มีบทบาทหลักในการหล่อหลอม บ่มเพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงประโยชน์ต่อส่วนรวม สร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้คนทุกกลุ่มทุกวัยสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้และองค์ความรู้ที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และองค์ความรู้ใหม่ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยการสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน สร้างนิสัยใฝ่รู้ตั้งแต่วัยเด็ก ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กรและสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สร้างปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาทางเลือกเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

๖ มีนาคม ๒๕๕๔

เรียบเรียงจาก ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑

 

 

สรุปการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554

เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ประธานการประชุม : ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานอนุกรรมการ

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ

การประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 10 คณะ ซึ่งประกอบด้วย คณะอนุกรรมการ จำนวน 10 คณะ ได้แก่

(1) คณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์

(2) คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่อรองรับการพัฒนาธุรกิจ

(3) คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจตัวแทนการค้าและจัดจำหน่าย

(4) คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม และธุรกิจสมัยใหม่

(5) คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจก่อสร้าง

(6) คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว

(7) คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์

(8) คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจอาหารและแปรรูปการเกษตร

(9) คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจแฟชั่นและไลฟ์สไตล์

(10) คณะอนุกรรมการพัฒนาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

          ทั้งนี้ ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อลงนามโดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร)

วาระที่ 2 เรื่องเพื่อพิจารณา

          การกำหนดแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาทุนมนุษย์ ภายใต้คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ

ประธาน

          ควรกำหนดให้แผนพัฒนาทุนมนุษย์ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 และมีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อกระทรวงพาณิชย์ โดยควรเน้นให้มีโครงการสำคัญ “Winning Project” และสะท้อนถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก และเสนอในระดับอาเซียน

 

 

ดร. ธวัชชัย ยงกิตติคุณ เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย

          เราควรวางแผนการพัฒนาประเทศไทยอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการศึกษา โดยให้ความสำคัญถึง “หลักสูตร” และในเรื่องของภาษา โดยเสนอให้แบ่งคณะอนุกรรมการออกเป็น 5 คณะย่อย ดังนี้

(1) หลักสูตร             ให้เป็นไปอย่างมีระบบ (Roadmap)

(2) ตำรา                  พัฒนาตำรา ให้ผ่านการกลั่นกรองเป็นระบบ (มี editor/reader)

(3) ครู                              Retrain ครูให้มีคุณภาพ และยกระดับรายได้เพื่อดึงดูดคนมีคุณภาพ

(4) ระบบบริหาร                   การกระจายรายได้จะทำอย่างไร

(5) การเงิน               ให้เอกชนมีบทบาทในการบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

มล. ชาญโชติ ชมพูนุท

          ควรเน้นการสร้าง Capacity Building ในภาคธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีแผนการพัฒนาคนอย่างเป็นรูปธรรม เพราะยังไม่เห็นประโยชน์ และส่วนใหญ่ธุรกิจ SME เป็นลักษณะครอบครัว จึงไม่ได้เน้นการลงทุนกับบุคลากรภายนอกมากนัก

นายธนพล ก่อฐานะ

          ธุรกิจในปัจจุบันต้องเตรียมตัวเพื่อการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเราต้องส่งเสริมให้เป็น CEO for International Business โดยการทำ Coaching และเห็นว่าธุรกิจดาวรุ่งของไทยในอนาคต คือ ธุรกิจ Software Application และเห็นควรให้มีการพิจารณาถึงธุรกิจดาวรุ่งของไทยว่าเป็นธุรกิจใด ซึ่งควรเป็นธุรกิจที่ใช้ภูมิปัญญา มากกว่าธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

นายทำนอง ดาศรี

          HR ในอนาคตต้องเป็น HR Responsibility คือ ดูแลความเก่ง ความดี และเรื่องการแข่งขัน โดยเน้น Performance, Teamwork, และ Innovations

นายพงษ์ศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ  ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

          ประเทศไทยควรมีการ (1) ปรับกระบวนทัศน์ของราชการไทย (2) ปฏิรูปการศึกษา โดยเน้นการพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น ยึดหลัก Revise Renovate Reengineering Reconstruction Rebuilding Revolution และควรต่อยอดเรื่อง Creative Economy ประเทศไทยอาจจะเป็น Thailand Media Center ในอนาคต

นายอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

          ทำอย่างไรที่จะเตรียมตัวให้ธุรกิจครอบครัวแข็งแรง โดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนา Skilled labor และสิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจครอบครัว คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ที่สามารถ Share vision ร่วมกันได้

ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

          ควรให้ความสำคัญกับแรงงานรายวัน กับคุณภาพ/เป้าหมายชีวิต และการพัฒนาลูกหลานของแรงงานให้มีอนาคตที่ดี

นายประกาย ชลหาญ

            ควรสร้าง Model ว่าคนที่เราต้องการ ควรมีลักษณะแบบใด โดยพิจารณาถึงหลัก Supply- Demand ในตลาด

นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

          คณะกรรมการควรกระตุ้นให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 สามารถสร้าง Outcome ให้แก่สังคมไทยได้อย่างแท้จริง และควรสร้างการศึกษาที่เริ่มจากครอบครัว และไม่ได้อยู่ในโรงเรียนอย่างเดียว และควรให้ความสำคัญกับปัญหาสมองไหลด้วย

ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ในแผนฯ 11 มีการระบุเรื่องคน คือ การพัฒนาคนสู่สังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เริ่มตั้งแต่ในครรภ์

นางสาวพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

          ควรมีการจัดตั้งสภาทุนมนุษย์ โดยภาครัฐจะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนทุกระดับ ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตชุมชน เป็นต้น

นายมนตรี พงษ์พันธุ์  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

          เราควรให้ความสำคัญเรื่องการบริหารจัดการความสามารถของผู้สูงอายุ ในผู้สูงอายุที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้  จะเป็นประโยชน์มาก ในส่วนของการรวมกลุ่มของสมาคมการค้าในลักษณะ Cluster มีความจำเป็นมาก ซึ่งปัจจุบันยังกระจัดกระจาย

นายอภิชาติ ประเสริฐสุด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

          รายงานแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

(1) คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง

(2) คณะอนุกรรมการทุกคณะ ประชุมเดือนละ 2-3 ครั้ง

(3) ปลายเดือนเมษายน 2554 จัดงานประชุมระดมสมองรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

(4) พฤษภาคม 2554 ประมวลข้อมูลและความคิดเห็น เพื่อยกร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ของแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ

 

 

 

ประธาน

1. คณะทำงาน

      ควรแบ่งประเด็นการพิจารณาออกเป็น 6 ประเด็น โดยให้อนุกรรมการพิจารณาเลือกว่าจะร่วมคณะใด ดังนี้

(1) เป้าหมายในอีก 5 ปีข้างหน้า (Future Scenario)

(1.1) เป้าหมายของธุรกิจ

(1.2) เป้าหมายของทุนมนุษย์

(2) การศึกษา

(3) ทุนมนุษย์กับธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

(4) อุปสรรคในวัฒนธรรมของการพัฒนาทุนมนุษย์

 (4.1) ระดับชาติ

 (4.2) ระดับองค์กร

(5) คุณสมบัติของคนไทยที่พึงปรารถนา และจะพัฒนาอย่างไร (Roadmap)

(6) การใช้สื่อกับการพัฒนาทุนมนุษย์

2. การประชุมครั้งต่อไป

วันพุธที่ 2 , 9 , 16 มีนาคม 2554

เลิกประชุม      เวลา 13.30 น.

                            

ผู้จดรายงานการประชุม

 

(นางกุลพัทธ์ แจ้งกมลกุลชัย)

นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ

อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

 

(นายมนตรี พงษ์พันธุ์)

หัวหน้ากลุ่มวิชาการ

อนุกรรมการและเลขานุการ

รายงานการประชุม

คณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์

ครั้งที่ 1/2554

วันพุธที่ 2 มีนาคม 2554

เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

กรรมการผู้มาประชุม

1. ดร. ธวัชชัย ยงกิตติคุณ                            ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการ                           

2. ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์                         ประธานอนุกรรมการ

3. รศ. ดร. สมบัติ คชสิทธ์

4. ดร. อภิเทพ แซ่โค้ว (ผู้แทนดร. บุญมาก ศิรินวกุล)

5. นายอรรถการ ตฤษณารังสี                        อนุกรรมการ

6. นายธัญญา ผลอนันต์                              อนุกรรมการ

7. นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล                     อนุกรรมการ

8. นายอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์                         อนุกรรมการ

9. นายประกาย ชลหาญ                              อนุกรรมการ

10. นางสาวพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ                      อนุกรรมการ

11. นายทำนอง ดาศรี                                อนุกรรมการ

12. นายวีรชัย กู้ประเสริฐ                             อนุกรรมการ

13. มล. ชาญโชติ ชมพูนุท                           อนุกรรมการ

14. ดร. เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค                   อนุกรรมการ

15. นางสาวอุมาพร ชัยยะเพกะ                      อนุกรรมการ

16. นายธนพล ก่อฐานะ                              อนุกรรมการ

17. นางเก็จวลี ลิตินุรักษ์                                       อนุกรรมการ

18. นางกาญจนา โชคดารา                           อนุกรรมการ

19. นางวราพร ชูภักดี                                อนุกรรมการ

20. นางสาวจงกลกร สิงห์โต                         อนุกรรมการ

21. นางสาวจิตรลดา ลียากาศ                        อนุกรรมการ

22. นายมนตรี พงษ์พันธุ์                             อนุกรรมการและเลขานุการ

23. นายอภิชาติ ประเสริฐสุด                         อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

24. นางกุลพัทธ์ แจ้งกมลกุลชัย                     อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

 

 

ผู้เข้าร่วมประชุม

1. นางสาววรลักษณ์ ทองรมย์

2. นายณฐพนธ์ คงศิลา

3. นางสาวปิยพรรษา มณีแสง

4. นางสาวศิริกาญจน์ รัศมีโรจน์

5. นายไพบูลย์ ไสยาวงศ์

6. นายปกิติศักดิ์ ลิมปิฐากรณ์

7. นางสุวรรณี ทองเต็ม

8. นางสาวถนอมศรี รวงคำ

9. นางปิยาภรณ์ อุณหบัณฑิต

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น.

วาระที่ 1         เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

วาระที่ 1.1      แผนพัฒนาทุนมนุษย์

แผนพัฒนาทุนมนุษย์จะประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่

(1) Where are we now?

(2) Where are we going?

(3) How do we get there?

(4) How to do it successfully?

วาระที่ 1.2      การเข้าเยี่ยมสถาบันการศึกษา

สถาบัน AIT: คณะสิ่งแวดล้อม และบริหารธุรกิจ

วันที่ 10 มีนาคม 2554 เวลา 14.00 น.

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 17 มีนาคม 2554 แจ้งเวลาภายหลัง

มติที่ประชุม     รับทราบ

 

 

 

 

 

 

 

 

วาระที่ 2         เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมที่ผ่านมา

วาระที่ 2.1      การกำหนดแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาทุนมนุษย์ ภายใต้คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ

นายธัญญา ผลอนันต์

ได้ให้ความเห็นว่าการพัฒนาทุนมนุษย์นั้น (How to get there?) จะต้องเป็นการเตรียมความพร้อมของเด็กนักเรียนในระยะยาว ไม่ใช่รอใกล้จบมหาวิทยาลัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ

นายทำนอง ดาศรี

ในต่างประเทศ การศึกษาภาคท้องถิ่นที่มีผลปฏิบัติชัด คือ Farmer University ซึ่งเป็นการเรียนของเกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งนำสู่การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ และการจดสิทธิบัตร ในการนี้อาจร่วมมือกับ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล   ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะได้ประโยชน์ 3 ด้าน ได้แก่

(1) รายได้จากสิทธิบัตร

(2) การ Train the Trainer (ครูพัฒนาครู)

(3) พัฒนาทุนมนุษย์ท้องถิ่น

นายธนพล ก่อฐานะ

ในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับการค้าระหว่างประเทศนั้น ควรให้บุคลากรมีความเข้าใจต่อภาคธุรกิจระดับสากล เช่น AEC หรือ ตลาดแอฟริกา และสอนให้รู้จักว่าธุรกิจที่ดีต้องทำอย่างไร สร้างความพร้อมในการเป็น CEO of International Business

นอกจากการมีแผนพัฒนาทุนมนุษย์แล้ว เห็นควรให้มีหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่ผลักดันโดยตรง และเห็นด้วยกับการจัดตั้งสถาบันเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ภาคธุรกิจอย่างจริงจัง และเชื่อมโยงงานของหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน แต่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และโดยเฉพาะการทำงานอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับแผนของสภาพัฒน์ฯ และ 6 เรื่องที่เราให้ความสำคัญในเบื้องต้นสำหรับแผนนี้ หากแต่การตั้งในรูปแบบของสภา อาจจะมีความยุ่งยาก ซับซ้อน

นายอรรถการ ตฤษณารังสี

ในเรื่องของธุรกิจดาวเด่น (Sun Rise) มีความเห็นว่าอาจเป็นประเภทธุรกิจสีเขียวและดูแลชุมชน –EcoThai

และในส่วนของทุนมนุษย์ที่พึงปรารถนานั้น ควรให้เป็นบุคลากรที่มีจริยธรรมทางการค้า และการทำงานควรเน้น (1) หลักคิด (2) หลักวิชา (3) หลักปฏิบัติ

รศ. ดร. สมบัติ คชสิทธ์

ระบบการศึกษาปัจจุบันของไทยโดยส่วนใหญ่ เป็นการเตรียมคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่ยังขาดการเตรียมคนให้มีความพร้อมต่อนโยบายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เห็นด้วยกับการที่จะมีสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับการทำงานอย่างต่อเนื่องในอนาคต และในเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เช่น ในธุรกิจสุขภาพ ล้วนเป็นธุรกิจที่เรามีโอกาส และมีต้นทุนสูง

นายณฐพนธ์ คงศิลา

สนับสนุนการมีสถาบันฯ ที่เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทุกด้านของทรัพยามนุษย์ระดับชาติ ในส่วนของทุนมนุษย์ที่พึงปรารถนา เห็นควรให้เน้นในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมของมนุษย์ และโดยส่วนใหญ่การพัฒนาทุนมนุษย์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไร้ทิศทาง

นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล

เห้นด้วยในเรื่องของ Life Long Learning และนอกจากการพัฒนาทุนมนุษย์ในภาคธุรกิจแล้ว ควรมองไปถึงทุนมนุษย์ของสังคม การเปิดเสรีทางการค้าทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีจุดอ่อน 2 ประเด็นที่สำคัญ คือ (1) การรับรู้สิ่งใหม่ๆ (2) การเป็นสากล ซึ่งต่อจากนี้ ภาคธุรกิจจะต้องเน้นทั้ง กำไร ความยั่งยืน และการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน

นายปกิติศักดิ์ ลิมปิฐากรณ์

เสนอให้มีการพัฒนาคนให้เหมาะกับท้องถิ่น เพื่อลดการเข้าเมือง และเพิ่มการกระจายแรงงานสู่ภูมิภาค ส่วนทุนมนุษย์ที่พึงปรารถนานั้น ควรให้เป็นคนที่มีความสามารถ และมีจริยธรรมควบคู่กัน

นางสาวอุมาพร ชัยยะเพกะ

มีความสนใจในเป้าหมายของธุรกิจที่พึงปรารถนา และสามารถนำกรอบความคิดดีๆ เข้ามาจับ เช่น เศรษฐกิจพอเพียง โดยเห็นควรให้มุ่งเน้นการพัฒนาคนตัวเล็กในสังคม และข้อ 5 (คุณสมบัติของคนที่พึงปรารถนา) น่าจะเชื่อมโยงกับข้อ 2 (เป้าหมายของธุรกิจที่พึงปรารถนา)

นายประกาย ชลหาญ

เสนอให้มุ่งเน้นในส่วนของ How to get there ให้มากขึ้น ในเรื่องของ execution/action plan ทั้งแผนระยะยาว 5 ปี และ 1 ปี ในส่วนของทุนมนุษย์ที่พึงปรารถนา อาจจำแนกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) Generic Competency (2) Sectoral Competency

ดร. อภิเทพ แซ่โค้ว (ผู้แทนดร. บุญมาก ศิรินวกุล)

ควรอธิบายให้ชัดเจนว่าทุนมนุษย์ที่เราพูดถึงคือใคร เราควรมี Life Long Planning ระยะยาวเป็นอย่างไร ได้ประโยชน์จริงหรือไม่

ดร. เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

ควรเริ่มจากวิสัยทัศน์ของประเทศไทยคืออะไร แล้วเราจึงสะท้อนสู่วิสัยทัศน์ในเรื่องของธุรกิจ และทุนมนุษย์ และการทำแผนพัฒนาทุนมนุษย์ให้สำเร็จ ไม่ใช่แบบ One size fits all และเราควรจะเน้นการสร้างนวัตกรรม ภูมิปัญญาไทย เราควรพิจารณาขั้นตอน ดังนี้ (1) เป้าหมายของการพัฒนาทุนมนุษย์ (2) ผู้ที่เกี่ยวข้องคือใคร (3) กระบวนการพัฒนา (4) เครื่องมือในการพัฒนา

 

 

มล. ชาญโชติ ชมพูนุท

แผนพัฒนาของสภาพัฒน์ในอดีตเน้นพัมนาเศรษฐกิจนำสังคม แต่แผน 8-11 มุ่งเน้นการพัฒนาสังคมนำธุรกิจ สำหรับคำถามที่ว่า Who ในแผนของสภาพัฒน์ นั้น ได้แยกเป็น 4 กลุ่มชัดเจนคือ

(1) สังคม เน้นเรื่องการบริหารคน

(2) ธุรกิจ เน้นที่ SMEs

(3) องค์กร มูลนิธิ สถาบันที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา

(4) สภาชุมชน

ซึ่งเราสามารถกำหนดประเภททุนมนุษย์ ตามสภาพัฒน์ได้

ดร. ธวัชชัย ยงกิตติคุณ

บทเรียนของ Globalization สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ เมื่อต่างชาติเข้ามา เราต้องมีความสามารถเรื่องภาษาอังกฤษ

การพัฒนาทุนมนุษย์วันนี้ ต้องมีความสมดุล 2 ส่วน คือ (1) สมอง และ (2) ใจ ดังนั้น ระบบการศึกษา ระบบการพัฒนาทุนมนุษย์ของสังคมไทยจะต้องให้ความสำคัญทั้ง 2 เรื่อง อยากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคการศึกษาทำกรณีศึกษา (Case Studies) ความสำเร็จและความล้มเหลวของธุรกิจมีอะไรบ้างที่เป็นบทเรียน

นายอนุรัตน์ ก้องธรนินทร์

การสร้างหลักคิด และเติม Inspiration ให้กับหัวหน้าครอบครัว และสร้างให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่น่าจะช่วยได้ หากธุรกิจครอบครัวจะอยู่อย่างยั่งยืนต้องมีการวางแผนที่ดี ต้องให้ความสำคัญกับ Stakeholders ซึ่งประเทศไทยเพิ่งให้ความสนใจกับธุรกิจครอบครัวเมื่อไม่นานมานี้เอง ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ให้ความสำคัญกับเรื่องธุรกิจครอบครัวมานานแล้ว เช่น ญี่ปุ่น

นายวีรชัย กู้ประเสริฐ

การจัดการความรู้เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งประเทศไทยยังขาดระบบในการจัดเก็บความรู้ ควรให้มีการพัฒนาความรู้ ควบคู่กับการพัฒนาทุนมนุษย์ ควรมีการจัดระบบความรู้ลักษณะ Taxonomy ควรมี Brain Bank ในนามของสถาบันเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของ AEC หรือ Globalisation

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ในฐานะที่มองแบบ “สื่อ” คิดว่าการจัดตั้งสภาฯ หรือสถาบันฯ เป็นสิ่งที่จำเป็น สภาฯ สามารถจุดความสนใจ และสามารถสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมได้ แต่คำว่า “สถาบัน” อาจจะเกิดข้อกังขาจากสถาบันอื่น ๆ หรือไม่? เว็บไซต์น่าจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้แผนของเรากระจายไปสู่สังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานสำคัญต่าง ๆ ของประเทศ

กองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อกิจการสาธารณะ เป็นแหล่งเงินทุนที่น่าสนใจที่ทางกระทรวงพาณิชย์อาจจะนำไปพิจารณาเรื่องการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องสำหรับแผนของเรา

 

คุณธนพล ก่อฐานะ

แนะนำการใช้ Blog เป็นช่องทางในการระดมความคิด และคลังข้อมูลสำหรับทุกท่านซึ่งเป็นประโยชน์มาก (เข้าที่ www.chiraacademy.com)

เลิกประชุม      เวลา 13.20 น.

นางกุลพัทธ์ แจ้งกมลกุลชัย

นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ

ผู้บันทึกการประชุม

xxxxxxxx

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

นายมนตรี พงษ์พันธุ์

กรรมการและเลขานุการ

ผู้ตรวจรายงานการประชุม

ติดตามบรรยากาศและบันทึกการประชุม ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันพุูธที่ 9 มีนาคม 2554 ได้ที่ http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/430396?refresh_cache=true

เรียน ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ที่เคารพอย่างสูง

       ในฐานะที่อยู่ในแวดวงการศึกษารู้สึกดีใจ ที่นักวิชาการระดับสูงของประเทศได้ให้ความสำคัญกับเรื่อง "การพัฒนาทุนมนุษย์" โดยมีการประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาทุนมนุษย์ ภายใต้คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติเรื่องเศรษฐกิจฐานความรู้

       จากที่ดิฉันได้ศึกษาแผนฯ 11 (เพียงบางส่วน) อยากให้หน่วยงานโดยเฉพาะสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ให้ความสำคัญกับสาระสำคัญของแผนฯ 11 ให้มาก ๆ (เศรษฐกิจฐานความรู้ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การนำทุนมนุษย์มาพัฒนาธุรกิจสู่สากล) และที่สำคัญจะต้องนำแผนฯ 11 ลงสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ของหน่วยงานตนเองให้ได้เพื่อช่วยให้การขับเคลื่อนเรื่องนี้บรรลุตามเป้าหมาย

       สถาบันการศึกษาเป็นหน่วยงานที่สร้าง Intellectual Capital ให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้มีทุนพื้นฐานสู่การสร้างอาชีพ และเป็นกำลังหลักของประเทศได้...แต่..

       - ครูผู้สอนก็ต้องได้รับการพัฒนา (เป็นครูมืออาชีพ มิใช่ อาศัยอาชีพครูแสวงหาประโยชน์)

       - กระบวนการเรียนการสอนจะต้องปรับรูปแบบเพื่อให้ผู้เรียนค้นพบตนเอง และอยู่ในสังคมแห่งอนาคตได้ (มิใช่แค่ท่องจำเพื่อสอบเท่านั้น)

       - นโยบายรัฐต้องจริงจัง จริงใจในการกำกับ ติดตามอย่างกัลยาณมิตร

       - ให้ความสำคัญกับความแตกต่างกันทางภูมิศาสตร์ด้วย และต้องนำภูมิปัญญามาบูรณาการในการจัดการศึกษาอย่างแท้จริง

       อยากให้ทุกหน่วยงาน ทุกระดับ และทุกคนช่วยกันนะคะ เพราะ "คน" คือหัวใจสำคัญในการทำให้เกิดการพัฒนาในทุก ๆ เรื่อง

      ขอแสดงความคิดเห็นเพียงแค่นี้ก่อนนะคะ หากมีสาระที่ค้นพบเพิ่มเติมจะขอ share idea อีกนะคะ ..และขอเป็นกำลังใจให้แก่คณะกรรมการฯ ทุกท่านค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

พิสมัย  ประชานันท์

 

       

 

ทุนมนุษย์ กับ การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว

เรียบเรียงจาก

โครงการวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs รายสาขา

 

Introduction

 

ธุรกิจบริการการท่องเที่ยวเป็นสาขาการบริการที่มีความสำคัญมาก มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจของนานาประเทศ องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourist Organization: WTO) มีการคาดคะเนว่าภายในปี 2563 จะมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกถึง 1,600 ล้านคน โดยนักท่องเที่ยวระยะไกลจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น แต่นักท่องเที่ยวจะใช้เวลาท่องเที่ยวในแต่ละสถานที่ลดน้อยลง โดยคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวของชาติที่มีการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุด ได้แก่ ประเทศเยอรมัน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ส่วนนักท่องเที่ยวชาติใหม่ๆ ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศในระดับสูง ได้แก ประเทศจีน และรัสเซีย

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมากและครอบคลุมแทบทุก ประเภท ทั้งที่เป็นธรรมชาติเฉพาะอุทยานธรรมชาติ มีทั้งสิ้น 71 แห่ง (ภาคเหนือ 29 แห่ง ภาคกลาง 13 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22 แห่ง และภาคใต้ 7 แห่ง) 1 และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเฉพาะวัด อย่างเดียวมีจำนวนถึง 33,902 แห่ง สำหรับ วัง พระราชวัง และพระตำหนัก มีไม่น้อยกว่า 46 แห่ง พิพิธภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 273 แห่ง น้ำตกไม่น้อยกว่า 764 แห่ง เป็นต้น ซึ่งปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของแหล่ง ท่องเที่ยวของไทย โดยเฉพาะที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติมักมีปัญหาเสื่อมโทรม ขาดการดูแลรักษา โดยน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินกลางที่ใครๆก็สามารถเข้ามาใช้ได้ มีการบุกรุกเข้าไปก่อสร้างและพัฒนาอย่างไม่มีการวางแผน ผิดประเภท และไม่ให้ความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมทำให้ทรุดโทรม เกิดมลภาวะทางภูมิทัศน์ ขาดความปลอดภัย นอกจากนี้ยังขาดการควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยวให้เกินกว่าความสามารถของทรัพยากรในการฟื้นคืนสภาพ ซึ่งเป็นการทอนขีดความสามารถในการแข่งขันและทำให้สูญเสียนักท่องเที่ยวในที่สุด     

 ด้วยบุคลิกของคนไทยที่ยิ้มแย้มแจ่มใสมีอัธยาศัยไมตรีอันดีต่อผู้อื่นได้รับการขนาน นามว่า “สยามเมืองยิ้ม” จึงน่าจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการประกอบธุรกิจด้านบริการโดยเฉพาะธุรกิจ การเดินทางและท่องเที่ยว ที่ต้องมีการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่แขก ผู้มาเยือนท้องถิ่นของตนหรือแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้ประกอบการเปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

นอกจากนี้วัฒนธรรมประเพณีความเป็นอยู่ตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิต ค่านิยมของคนในแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ก็สามารถก่อให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขึ้นได้ แต่ในทางกลับกันการนำประเพณีวัฒนธรรมมาเป็นจุดดึงดูดด้านการท่องเที่ยว ก็อาจนำไปสู่ความเสื่อมถอยทางวัฒนธรรมประเพณีหากมีการปรับรูปแบบวัฒนธรรมประเพณีนั้นให้สอดคล้องกับธุรกิจการท่องเที่ยว แทนที่จะเป็นการท่องเที่ยวเพื่อเข้าไปเรียนรู้รากเหง้าแห่งภูมิปัญญาหรือที่มาของการก่อเกิดวัฒนธรรมที่ดีงามเหล่านั้น ประเพณีวัฒนธรรมที่ถูกปรับเปลี่ยนก็จะมีค่าเพียงการแสดงที่ถูกจัดฉากขึ้นมิใช่เป็นการดำเนินชีวิตหรือการสานต่อทางวัฒนธรรมประเพณีตามค่านิยมหรือความเชื่อที่มีสืบต่อกันมา

 ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจึงอาจจะเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบไปเพื่อเป็นความภาคภูมิใจแก่ชนรุ่นหลังและเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวเพื่อนำรายได้มาสู่ชุมชนหรือประเทศอย่างยั้งยืนต่อไป แต่หากไม่มีการจัดการด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงก็อาจกลายเป็นการทำลายวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม หรือลดคุณค่าแห่งวัฒนธรรมประเพณีนั้นให้เป็นเพียงการจัดฉากเพื่อแสดงให้นักท่องเที่ยวชมโดยขาด จิตวิญญาณทางวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นทะเล น้ำตก ภูเขา แม่น้ำ ล้วนเป็นการเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสมบัติส่วนกลางที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ อย่างแท้จริง หากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือนักท่องเที่ยว ต่างก็เข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยผลักภาระหน้าที่ในการดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเหล่านี้ให้เป็นของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวภายใต้งบประมาณที่มีอย่างจำกัด สุดท้ายย่อมจะนำความเสื่อมโทรมมาสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเหล่านั้น และส่งผลให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในที่สุด อีกทั้งผู้ที่ต้องแบกรับผลเสียที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมโทรมของธรรมชาติโดยตรงก็คงจะ หนีไม่พ้นประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นนั้นโดยที่อาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวมากเท่าผู้ประกอบการรายใหญ่หรือผู้ประกอบการที่มาจากถิ่นอื่น

สำหรับความเสื่อมโทรมหรือการทำลายแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอาจเกิดจาก สาเหตุอื่น ๆ เช่น การขยายตัวของเมืองโดยไม่มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ การขยายตัวของโรงงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้เปลี่ยนแปลงไป ดังจะเห็นได้จากการเกิดภาวะน้ำท่วมหนักและโคลนถล่มในภาคเหนือ หรือการเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงจนเกิดความแห้งแล้งอย่างหนักในบางพื้นที่จนส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว จึงควรมีการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่อไป   

 ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจะประกอบด้วยธุรกิจหลักใน 3 ส่วนคือ 1) ธุรกิจบริการที่พัก   2) ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม และ 3) ธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์โดยธุรกิจเหล่านี้จะมีลักษณะเป็นการให้บริการที่ประกอบกัน (complementary services) และเกี่ยวโยง กับแหล่งท่องเที่ยว หากโรงแรมหรือที่พักได้รับการออกแบบมาอย่างดีสอดคล้องเหมาะสมกับสถานที่ท่องเที่ยวก็จะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมกับบรรยากาศและทิวทัศน์ของสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ อีกทั้งโรงแรมหรือที่พักยังมีความจำเป็นในฐานะเป็นที่พักผ่อนและค้างแรมหลังจากนักท่องเที่ยวได้เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมาตลอดทั้งวัน ส่วนธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มก็มีส่วนช่วยเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวเช่นเดียวกับธุรกิจบริการที่พัก เพราะอาหารและเครื่องดื่มที่อร่อยและสะอาดย่อมมีส่วนช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่นักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น สำหรับธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์จะช่วยเชื่อมโยงและสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจแก่นักท่องเที่ยวต่อแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเลือกมาหาประสบการณ์ใหม่ๆ เนื่องจากจะมีส่วนในการแนะนำหรือคัดสรรบริการหรือแหล่งท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวหรือช่วยเผยแพร่จุดเด่นที่น่าประทับใจของแหล่งท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวขยายระยะเวลาการท่องเที่ยวหรือมีความประทับใจจนต้องกลับมาเที่ยวซ้ำและอาจแนะนำนักท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้มารู้จักกับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่น่าประทับใจดังเช่นที่ตนเองเคยได้รับ

ธุรกิจบริการที่พักมีด้วยกันหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ได้แก่โรงแรม คอนโดเทล เกสท์เฮาส์ บังกะโล บ้านพักตากอากาศ บ้านพักเชิงนิเวศ พื้นที่ให้เช่าสำหรับกางเต็นท์เป็นต้น สำหรับในธุรกิจบริการที่พักที่ SMEs น่าจะสามารถเข้ามา ประกอบกิจการได้คงจะเป็นเกสท์เฮาส์ บังกะโล บ้านพักเชิงนิเวศขนาดเล็ก หรือพื้นที่ให้เช่าสำหรับ กางเต็นท์

ทั้งนี้จากข้อมูลของศูนย์สารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พบว่าจำนวนวิสาหกิจที่ประกอบธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราวในปี 2547 มีจำนวนทั้งหมด 16,950 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 16,751 ราย และในปี 2548 มีจำนวน ผู้ประกอบการทั้งหมด 17,853 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 17,650 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 5.33 และ 5.37 ตามลำดับ ทั้งนี้หากพิจารณาตามขนาดของวิสาหกิจจะพบว่าผู้ประกอบการกว่า ร้อยละ 99 เป็นผู้ประกอบการ SMEs  สำหรับด้านการจ้างงานในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและ ที่พักชั่วคราว  พบว่าในปี 2547 มีจำนวนการ จ้างงานในธุรกิจโรงแรม ค่ายพัก และที่พักชั่วคราวทั้งหมด 232,916 คน เป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 156,554 คน คิดเป็นร้อยละ 67.21 ของการจ้างงานทั้งหมดในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราว ส่วนในปี 2548 การจ้างงานในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราวทั้งหมดเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปี 2547 คิดเป็น ร้อยละ 0.03 หรือมีจำนวนเท่ากับ 232,988 คน เป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 156,626 คน คิดเป็นร้อยละ 67.22 ของการจ้างงานทั้งหมดในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราวใน ปี 2548

 ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม อาจให้บริการในหลายลักษณะด้วยกัน เช่น ภัตตาคาร บริการจัดเลี้ยง ร้านอาหารทั่วไปไปหรือร้านอาหารริมทาง ร้านอาหารรถเข็นหรือเรือ หาบเร่ ตลาดน้ำ ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ ร้านโชวห่วย เพิงขายผลไม้และเครื่องดื่มริมทาง เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่ SMEs สามารถเข้าไปประกอบการได้ยกเว้นภัตตาคาร หรือบริการจัดเลี้ยงขนาดใหญ่เท่านั้น หากพิจารณาด้านจำนวนวิสาหกิจและการจ้างงานในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขาย อาหารและบาร์จะพบว่าผู้ประกอบการในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์กว่า ร้อยละ 99 เป็น ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งนั้นในปี 2547 มีจำนวนวิสาหกิจที่ประกอบธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและ บาร์ทั้งหมดจำนวน 138,488 รายเป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 138,476 ราย และในปี 2548 มีจำนวนวิสาหกิจที่ประกอบธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์เพิ่มขึ้นเป็น 139,130 ราย เป็น ผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 139,118 ราย คิดเป็นสัดส่วนการเพิ่มของจำนวนวิสาหกิจจากปี 2547 เท่ากับร้อยละ 0.46 และ 0.46 ตามลำดับ ส่วนการจ้างงานของธุรกิจภัตตาคาร ร้านขาย อาหารและบาร์จะเห็นว่าในปี 2547 มีการจ้างงานในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์ทั้งหมด เท่ากับ 402,332 คน เป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 380,453 คน คิดเป็นร้อยละ 94.56 ของการจ้างงานทั้งหมดในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์และในปี 2548 มีการจ้างงาน ในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์ทั้งหมดเท่ากับ 403,860 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากปีก่อน เป็น การจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 381,981 คน คิดเป็นร้อยละ 94.58 ของการจ้างงาน ทั้งหมดในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์

ธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เป็นการให้บริการเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวหรือบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันและช่วยประสานงานในเรื่อง ต่าง ๆ ได้แก่การสำรองและจัดหาพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง การสำรองที่พักและอาหาร การจัดโปรแกรม การเดินทาง เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นธุรกิจที่ SMEs น่าจะสามารถเข้ามาประกอบการได้ในเกือบทุกส่วน เพราะเป็นการให้บริการในลักษณะประสานงานเพื่อเชื่อมโยงนักท่องเที่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง จากข้อมูลของศูนย์สารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม เกี่ยวกับจำนวนวิสาหกิจและการจ้างงานตาม ISIC 6304 ซึ่งเป็นธุรกิจตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมทั้งการบริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น จะเห็นว่า จำนวนวิสาหกิจกว่าร้อยละ 99 เป็น SMEs โดยในปี 2547 มีจำนวนวิสาหกิจที่เป็นตัวแทนธุรกิจการ ท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมทั้งการบริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นทั้งหมดจำนวน 4,563 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 4,556 ราย และในปี 2548 มีจำนวนวิสาหกิจที่เป็นตัวแทน ธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมท้ังการบริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นทั้งหมด 5,616 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 5,609 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 23.08 และ

23.11 ตามลำดับ  ด้านการจ้างงานของตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมทั้งการ บริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นเป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งหมด โดยในปี 2547 มีการจ้างงานของตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยวรวมทั้งการบริการ นักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นทั้งหมด 13,431 คน และในปี 2548 มีการจ้างงานทั้งหมด 14,209 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.79 

จากการศึกษาของศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกี่ยวกับภาคบริการการท่องเที่ยว (มีนาคม 2549) พบว่าแรงงานในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวยังขาดคุณภาพ ความรู้และทักษะในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ รวมทั้งขาดทักษะและความสามารถด้านภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ปัจจุบันประเทศไทยมีบุคลากรด้านมัคคุเทศก์จำนวนมากเกินกว่าความต้องการของธุรกิจ แต่ยังขาดมัคคุเทศก์ทีมีคุณภาพ เช่น ที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษารวมทั้งจรรยาบรรณของการให้บริการ ส่วนหนึ่งคงมาจากการขาดนโยบายสนับสนุนอย่างเป็นระบบจากภาครัฐ รวมทั้งปัญหาความจำกัดของกําลังคนและงบประมาณในการควบคุมคุณภาพมัคคุเทศก์

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เคยทำการสำรวจแรงงานในสาขาบริการการท่องเที่ยวในปี 2543 พบว่าแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังมีระดับการศึกษาที่ต่ำเกินไป แรงงานเกินกว่าร้อยละ 50 จบการศึกษาเพียงระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า และมีไม่ถึงร้อยละ 10 ที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, โครงการสำรวจ แรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปี 2543)

ทั้งนี้ยกเว้นธุรกิจการนำเที่ยวที่แรงงานมีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าถึงร้อยละ 49 การที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะทางรัฐบาลมีข้อกําหนดบังคับให้ผู้ที่ขอใบอนุญาตมัคคุเทศก์ต้องมีระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและความจำเป็นในการใช้ภาษาสื่อสารกับนักท่องเที่ยวนั้นมีมากกว่าสาขาอื่นๆ

 

การที่แรงงานในสาขาบริการการท่องเที่ยวมีการศึกษาที่ไม่สูงเพียงพอ มีสาเหตุมาจาก การที่แรงงานส่วนใหญ่มักเป็นแรงงานชั่วคราวซึ่งปกติประกอบอาชีพอื่นเป็นหลัก แต่ย้ายเข้ามาทำงานในสาขานี้ในช่วงฤดูการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลของงานหลักของตน เช่น ชาวประมงที่หันมาให้บริการรับส่งนักท่องเที่ยวทางเรือระหว่างที่ไม่ใช่ฤดูจับปลา ชาวนาที่นำรถอีแต๋นมาขนส่งนักท่องเที่ยวช่วงนอกฤดูเพาะปลูก เป็นต้น การจ้างงานในลักษณะชั่วคราวนี้ทำให้แรงงานไม่เกิดการฝึกฝนทักษะเฉพาะด้านในการให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ปัญหาอีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะแรงงานเองก็ยังมองไม่เห็นเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพ (career path) ที่ชัดเจน เมื่ออุตส่าห์ลงทุน เพิ่มพูนทักษะด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองแล้วจะคุ้มค่าหรือไม่ด้านผู้ประกอบการเองก็ยังไม่มีแรงจูงใจที่จะส่งเสริมให้พนักงานของตนมีการอบรมหรือฝึกทักษะที่สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นัก เพราะไม่แน่ใจว่าพนักงานที่มีทักษะสูงขึ้นจากการลงทุนของตนจะอยู่ทำงานด้วยนานเพียงพอที่จะคุ้มค่าหรือไม่  ระบบการศึกษาด้านการท่องเที่ยวเองก็ยังไม่สามารถผลิตบุคคลากรที่สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมได้เท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะหลักสูตรการศึกษาด้านการ ท่องเที่ยวในปัจจุบันยังไม่มีการคำนึงถึงความต้องการของสาขาบริการนี้โดยมักสอนด้วยการเน้นการให้ความรู้แต่ไม่ได้มีการฝึกทักษะที่จำเป็นแก่ผู้ศึกษาอย่างเพียงพอ โดยมักจะเน้นการปูความรู้ที่การเตรียมให้ผู้จบการศึกษาไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป ขาดการเน้นการสอนเพื่อการออกไปทำงานจริง ผู้สำเร็จการศึกษาจึงได้ใบประกาศนียบัตรแต่ขาดทักษะในการปฏิบัติงานที่แท้จริง หลักสูตรการอบรมส่วนใหญ่ก็ยังมีสัดส่วนจำนวนชั่วโมงในการฝึกปฏิบัติที่น้อยมาก คือมีเพียง ร้อยละ 3 ในหลักสูตรปริญญาตรีของรัฐบาล และเพียงร้อยละ 11 ในหลักสูตรปริญญาตรีและอาชีวศึกษาของเอกชน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากข้อจำกัดของกระทรวงศึกษาธิการที่กําหนดให้มีการฝึกภาคปฏิบัติเพียง 1 ภาคการศึกษาจากการอบรม 8 ภาคการศึกษา      ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก และเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี 2540 ประเทศไทยมีรายได้จากธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวถึง 401.14 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.48 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 2547 รายได้จากธุรกิจการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นถึง 701.58 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 11 ของ GDP  หากพิจารณาสถิติอื่น ๆ เกี่ยวกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจะพบว่าสัดส่วน รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมากกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยจะน้อยกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศก็ตาม โดยในปี 2540 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าท่องเที่ยวจำนวน 7.22 ล้าน คน สร้างรายได้ให้ประเทศไทยจำนวน 220.75 พันล้านบาท สำหรับในปี 2549 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณ 15.12 ล้านคน คิดเป็นรายได้ประมาณ 533 พันล้านบาท  การที่ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวของไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย เนื่องมาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมีระยะเวลาการพักค้างแรมเฉลี่ยและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันสูงกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย โดยในช่วงปี 2540 – 2549 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมีระยะเวลาพักค้างแรมเฉลี่ย 7.77 – 8.40 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อคนประมาณ 3,671.87 – 4,300 บาทต่อคนต่อวัน ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยจะมีระยะเวลาพักค้างแรม เฉลี่ย 2.31 – 2.67 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อคนประมาณ 1,466 – 2,050 บาทต่อคนต่อวัน เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในปี 2547 พบว่าจากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันจำนวน 4,057.85 บาท ต่อคนต่อวัน ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะใช้ไปเพื่อการซื้อสินค้าและของที่ระลึกเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.32 รองลงมาจะใช้เป็นค่าที่พัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.31 และค่าอาหารและเครื่องดื่ม คิดเป็นร้อยละ 16.84 ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง คิดเป็นร้อยละ 12.40 ค่าพาหนะเดินทางในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 7.77 ค่าบริการท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 5.44 ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด คิดเป็นร้อยละ 2.92  จากรายละเอียดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวดังกล่าว เห็นได้ว่าการใช้จ่ายเพื่อการเดินทางและท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวได้ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวกับธุรกิจในภาคบริการและภาคการผลิตอื่นๆทั้งในลักษณะการเชื่อมโยงไปข้างหน้า(forward linkage) และการเชื่อมโยงไปข้างหลัง (backward linkage) โดยธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยววจะเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27 ซึ่งน่าจะเป็นการเชื่อมโยงกับการผลิตสินค้าและของที่ระลุกที่มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวสูงสุด ส่วนที่มีความเชื่อมโยงรองลงมาคือ บริการธุรกิจและสังคม คิดเป็นร้อยละ 17 และร้านอาหาร คิดเป็นร้อยละ 16  

จากการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและวิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่อง ผลกระทบจากการใช้จ่ายของ นักท่องเที่ยวต่อรายได้และการจ้างงานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาโดยใช้แบบจำลองปัจจัย การผลิต – ผลผลิตภาค โดยภาคภูมิ สินนุธก พบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวมีผลกระทบต่อเนื่องต่อ ระบบเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า ผลกระทบตัวคูณ (multiplier effect) ถึง 1.98 เท่า แสดงว่าทุก 1 บาทที่นักท่องเที่ยวใช้จ่าย จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตเป็นลูกโซ่ประมาณ 1.98 บาท ความเชื่อมโยงของธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวนอกจากจะพิจารณาจากสัดส่วน ผลกระทบของรายได้จากการท่องเที่ยวต่อภาคการผลิตและบริการซึ่งเชื่อมโยงในลักษณะ forward linkage และในลักษณะ backward linkage แล้ว ยังสามารถพิจารณาความเชื่อมโยงในลักษณะของ เครือข่ายธุรกิจ (cluster) ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักของธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร และบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ โดยธุรกิจที่เชื่อมโยงโดยตรงจะประกอบด้วย การจัดจำหน่าย, กิจกรรมนันทนาการ วัฒนธรรมและกีฬา, การศึกษา, กิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ และ บริการอื่น ๆ ส่วนธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าที่เข้ามาเชื่อมโยงเป็น cluster กับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว ได้แก่สินค้าที่เป็นของที่ระลึก, สินค้า OTOP, ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหาร และเสื้อผ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงเป็น cluster กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ได้แก่การขนส่ง เทคโนโลยี สารสนเทศ การก่อสร้าง และการเงิน เป็นต้น ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะcluster                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                              รัฐบาลทุกยุคต่างก็ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากมีการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นเมื่อปี 2545 เพื่อจะได้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบและผลักดันยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ในปี 2549 หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น ได้มีการร่วมกันจัดทำแผนด้านการท่องเที่ยวในช่วง 5 ปีคือ ปี 2550 – 2554 โดยมีแผนปฏิบัติการ (action plan) ที่ตั้งเป้าว่าในปี 2550 จะ สร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (ตลาดต่างประเทศ) ให้เติบโตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15 หรือคิด เป็นมูลค่ารายได้ 5.4 แสนล้านบาท และจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประมาณ 15 ล้านคน ส่วน ตลาดนักท่องเที่ยวชาวไทย (ตลาดในประเทศ) คาดว่าจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 คิดเป็นมูลค่า รายได้ 3.8 แสนล้านบาท หรือประมาณ 81.99 ล้านคน/ครั้ง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท 15 มีนาคม 2554

 

 

 

ทุนมนุษย์ กับการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว

Education-Architecture of Human Resource

บทที่ 1 สถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจท่องเที่ยวไทยเรื่องทุนมนุษย์

ธุรกิจหลักของธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวของไทย ได้แก่ ธุรกิจบริการที่พัก ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ผู้ประกอบการธุรกิจเหล่านี้กว่าร้อยละ ๙๙ เป็นผู้ประกอบการ SMEs และ MSEs  รูปแบบของการประกอบธุรกิจจะมีลักษณะเป็นกิจการในครอบครัวไม่ได้มีระบบการบริหารจัดการตามระบบทางธุรกิจอย่างเป็นระบบ การดำกิจการจะเป็นรูปแบบง่ายๆไม่ซับซ้อน เนื่องจากจะใช้แรงงานของสมาชิกในครอบครัวเป็นหลัก แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการบริหารงานกันตามความสมัครใจหรือความสามารถของสมาชิกในครอบครัวกันอย่างง่ายๆหรืออาจจะเป็นการให้ความช่วยเหลือกันระหว่างเพื่อนบ้านใกล้เคียงหรือคนในท้องถิ่นนั้นๆ โครงสร้างองค์กรหรือ Organization Chart จะมีลักษณะที่ค่อนข้างราบไม่ได้มีการแบ่งแยกเป็นสายงานหรือสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจนหรือยุ่งยากซับซ้อนดังเช่นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หากงานในส่วนไหนยังขาดคนรับผิดชอบก็สามารถเข้าไปทำแทนกันหรือแรงงานหนึ่งคนสามารถรับผิดชอบในหลายหน้าที่ในเวลาเดียวกันได้เนื่องจากไม่ได้แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบกันอย่างเด็ดขาดชัดเจนนัก ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการ SMEs บางรายจะมีการจ้างแรงงานเพิ่มเติมจากการใช้แรงงานในครอบครัวก็จะเป็นการจ้างงานเพียงชั่วคราวในฤดูกาลท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการมาก ไม่ได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับการขยายการบริหารงานหรือการบริการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ไม่มีการกำหนดตำแหน่งงานหรือการปรับระดับและอัตราเงินเดือนตามโครงสร้างองค์กรหรือหลักเกณฑ์ในการบริหารงานขององค์กรธุรกิจทั่วไป รวมทั้งอาจไม่ได้มีการทำสัญญาจ้างงานและให้สวัสดิการต่าง ๆ ตามกฎหมายแรงงาน โดยอาจจะเป็นการเจรจาตกลงราคาค่าจ้างและขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบกันง่าย ๆ เท่านั้น หากทั้งผู้จ้างและผู้รับจ้างตกลงกันได้ก็เข้ามาร่วมงานกัน ไม่ใช่เป็นการหาแรงงานมาบรรจุตามตำแหน่งที่ว่างตามโครงสร้างองค์กร หากต้องการขยายงานหรือขยายการประกอบธุรกิจในส่วนไหนก็จะทำตามที่เจ้าของกิจการต้องการโดย ไม่ได้มีการวางแผนงานไว้ล่วงหน้า

 

สำหรับปัญหาหลักในการบริหารจัดการของผู้ประกอบการSMEในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวที่สำคัญน่าจะมีอยู่สองประเด็นด้วยกัน คือ ผู้ประกอบการมักขาดความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ และผู้ประกอบการ SMEs ยังไม่มีการนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจมากนัก การขาดความรู้ทางด้านการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจ การเดินทางและท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นการขาดความรู้และทักษะในด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้ประกอบการSMEsส่วนใหญ่เห็นว่าการบริหารงานเป็นการอาศัยแรงงานภายในครอบครัวเป็นหลักจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยหลักการบริหารจัดการตามหลักวิชาการหรือกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการให้ยุ่งยาก เพราะบุคลากรก็มีจำกัดและสามารถผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปรับผิดชอบหรือปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆทดแทนกันได้ตลอดเวลา อีกทั้งในแต่ละวันก็มีการปรึกษาหารือหรือพูดคุยเกี่ยวกับการบริหารงานและการปฏิบัติงานตลอดเวลาหรือหากจะต้องมีการประสานงานก็เป็นลักษณะอาศัยความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการเป็นส่วนใหญ่โดยจะเน้นความช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งระหว่างเครือญาติและคนในท้องถิ่น อีกทั้งจากการที่ไม่ได้มีการรวบรวมข้อมูลหรือสถิติสำคัญเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของตนเอง อย่างเป็นระบบ ผู้ประกอบการ SMEs จึงไม่เห็น ความสำคัญของการที่จะต้องมีการจัดทำแผนงานหรือวางแผนเกี่ยวกับการดำเนินกิจการรวมทั้งการขยายกิจการในอนาคต ดังนั้น จึงควรมีการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวหันมาให้ความสนใจที่จะศึกษาและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการสมัยใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการประกอบธุรกิจ ประเด็นเกี่ยวกับผู้ประกอบการ SMEs ไม่เห็นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ อาจเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็กและใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ขณะที่การจะนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานจะต้องลงทุนเพิ่มอีกเป็นจำนวนมาก จึงอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุนอีกทั้งผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่จึงเห็นว่าการลงทุนใน ด้านระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศไม่น่าจะคุ้มค่าและอาจจะไม่เหมาะสมกับกิจการขนาดเล็ก อีกทั้งรูปแบบของการบริหารจัดการก็ไม่ได้มีความซับซ้อนจนต้องนำระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ แต่หากหน่วยงานภาครัฐจะมีการจัดทำระบบงานหรือพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ราคาไม่แพงรวมทั้งมีฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับใช้ในการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวก็น่าจะช่วยลดปัญหาในด้านนี้ลงได้

การจัดการด้านการตลาดของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เรียบง่ายไม่ได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการนัก โดยอาจอาศัยการบอกต่อโดยนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการแล้วเกิดความประทับใจจึงแนะนำให้บุคคลใกล้ชิดหรือนักท่องเที่ยวรายอื่น หรือผู้ประกอบการ SMEs อาจจัดทำเป็นใบปลิวหรือแผ่นพับที่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์หรือถ่ายเอกสารแล้วนำไปแจกจ่ายแก่นักท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวหรือติดไว้ตามสถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนั้นผู้ประกอบการ SMEs มักไม่ได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดอย่างเฉพาะเจาะจง ดังเช่นผู้ประกอบการขนาดใหญ่และหากจะดำเนินกลยุทธ์ด้านการตลาดโดยใช้ราคาเป็นปัจจัยดึงดูดลูกค้าก็อาจทำได้ยากเนื่องจากมีเงินลงทุนไม่มากนัก หรือหากจะปรับตัวให้สอดคล้องกับแคมเปญที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยใช้โปรโมทการท่องเที่ยวของไทยในแต่ละปีก็น่าจะทำได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดด้านเงินลงทุนอีกเช่นกัน ดังนั้นการจัดการด้านการตลาดของผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจึงทำได้อย่างจำกัด อาจจะต้องมีการรวมกลุ่มกันในชุมชนหรือท้องถิ่นแล้วร่วมกันทำหรือขอความสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว

 

สำหรับด้านทรัพยากรมนุษย์จะเน้นบริหารจัดการจากกําลังแรงงานที่มีอยู่ในครอบครัวก่อน อาจจะมีการจ้างแรงงานเพิ่มแต่ก็อาจไม่มากนัก เนื่องจากเป็นกิจการขนาดเล็กหากมีการ จ้างงานเพิ่มอาจเป็นการสร้างภาระด้านต้นทุนแก่ผู้ประกอบการ SMEs มากเกินไป ดังนั้น แรงงานในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวที่มีผู้ประกอบการเป็น SMEs ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นแรงงานชั่วคราว ที่มีอาชีพหลักอย่างอื่นอยู่แล้ว และเข้ามาประกอบอาชีพในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวเฉพาะในช่วงที่เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวเท่านั้น เมื่อหมดฤดูกาลท่องเที่ยวก็กลับไปประกอบอาชีพหลักของตนตามเดิม   ดังนั้น แรงงานส่วนใหญ่จึงมักขาด ความรู้และทักษะในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ ได้แก่ความรู้ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เป็นต้น การที่แรงงานส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแรงงานชั่วคราว จึงทำให้ขาดแรงจูงใจที่จะฝึกฝนหรือพัฒนาทักษะเพิ่มเติมโดยเฉพาะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากแรงงานในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวมองไม่เห็นความก้าวหน้าทางอาชีพ (career path) ของตนเองอย่างชัดเจนในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว จึงอาจเห็นว่าไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวโดยเสียค่าใช้จ่ายเอง ขณะที่ผู้ประกอบการ SMEs ก็ไม่อยากเพิ่มต้นทุนในการประกอบการโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวให้แก่แรงงาน ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ไม่มีแรงจูงใจที่จะส่งเสริมหรือลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะการให้บริการที่สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่แก่แรงงาน เพราะ ไม่มั่นใจว่าแรงงานที่ได้รับการพัฒนาให้มีทักษะการให้บริการที่สูงขึ้นจะทำงานอยู่นานเพียงพอที่จะ คุ้มค่ากับการลงทุนพัฒนา

 

(เรียบเรียงจากโครงการศึกษาวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs สาขาธุรกิจบริการการท่องเที่ยว ของ สสว)

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

15 มีนาคม 2554

 

 

เรียนท่านศาสตราจารย์จีระ ที่นับถือ

ผมอยากชมรายการที่ท่านได้พูดในรายการคุยนอกทำเนียบ เรื่อง เดินหน้า..แผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ กับคุณอลงกรณ์ พลบุตร ในวันที่ 2 มีนาคม 2554 โดยมีคุณวีระ ธีรภัทร เป็นผู้ดำเนินรายการ แต่ไม่สามารถเปิดดูรายการย้อนหลังของช่อง NBT ในวันดังกล่าวได้ เนื่องจากถูกล็อคให้ดูย้อนหลังได้เพียง 3 เดือน อยากทราบว่าจะหารับชมและฟังด้วยวิธีการใดบ้างครับ...ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท