ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ครั้งที่ 2/2554


ในวันที่ 9 มีนาคม 2554 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ครั้งที่ 2/2554 ณ ห้องประชุมชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

สาระการประชุมสรุปได้ตามตาราง“ทุนมนุษย์กับการพัฒนาธุรกิจไทย” นี้

 

 

Introduction

 

แผนพัฒนาทุนมนุษย์จะเน้น 3 เรื่องคือ

  1. Life-long Learning การเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. การพัฒนาสังคมฐานความรู้
  3. Aging Population ประชากรสูงอายุ

 

 

(1) Education-Architecture of Human Resource

สถานการณ์

การเปลี่ยนแปลง

ของ...

(=Where are we)

  • ปัจจุบันนี้ คุณภาพทุนมนุษย์ยังไม่ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจ

 

เป้าประสงค์

ของการพัฒนา...

(=Where do we want to go)

 

  • พัฒนานักศึกษาให้มีความชำนาญเฉพาะด้านและมีคุณสมบัติที่จะทำงานในยุคเปิดเสรีอาเซียน

 

กลยุทธ์การ

พัฒนา...

(=How to get there)

 

 

  • ให้ผู้ประกอบการมามีส่วนร่วมวางแผนและพัฒนานักศึกษา
  • มีการอบรมผู้ประกอบการ
  • พัฒนาทุนมนุษย์ให้ตรงความต้องการของภาคธุรกิจ

โครงการสำคัญ

“Winning Project”

 

  • สหกิจศึกษา
  • สถาบันการศึกษาควรทำกรณีศึกษาของทุนมนุษย์กับธุรกิจในพื้นที่

 

แนวทางการขับเคลื่อน

(=How to do it successfully)

  • ควรนำวิจัยมาปฏิบัติ
  • ดูแลบริหารครูให้ดี สร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจ
  • พัฒนาพนักงาน เจ้าของธุรกิจ
  • สร้างเสริมศักยภาพ
  • เน้นเรื่องสังคมฐานความรู้
  • มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาชุมชนที่อยู่รอบๆและสนับสนุนเรื่องความรู้
  • สถาบันการศึกษาควรทำทำข้อตกลงร่วมมือกันกับกลุ่มผู้ประกอบการ

 

(2) เป้าหมายของธุรกิจที่พึงปรารถนา

สถานการณ์

การเปลี่ยนแปลง

ของ...

(=Where are we)

  • ในการพัฒนาธุรกิจก็มักจะมองถึงกระแสความนิยมในแต่ละธุรกิจ แต่ไม่ได้มองถึงความสามารถของคนที่ทำงาน

 

เป้าประสงค์

ของการพัฒนา...

(=Where do we want to go)

 

  • พัฒนาผู้สูงอายุ
  • ประเทศไทยควรมุ่งเน้นการพัฒนา ต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตร

 

กลยุทธ์การ

พัฒนา...

(=How to get there)

 

 

  • ยุทธศาสตร์เสถียรภาพฐานความรู้
  • เน้นจุดแข็งของคนไทยเรื่องการบริการ
  • แก้ไขจุดอ่อนในเรื่องการบริหารจัดการ

โครงการสำคัญ

“Winning Project”

 

  • โครงการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ได้แก่ การบริการรักษาพยาบาล  ดูแลสุขภาพ และอาจจะมีธุรกิจอื่น ๆ ที่บริการผู้สูงอายุโดยตรง

แนวทางการขับเคลื่อน

(=How to do it successfully)

  • นำความสามารถของผู้สูงอายุไปช่วยเหลืองานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคลังสมองภูมิปัญญาผู้สูงอายุไทย โดยจัดหมวดหมู่ให้ถูกต้องและเป็นระบบ
  • มีนโยบายลดภาษีให้แก่ธุรกิจที่จ้างผู้สูงอายุ

 

 

(3) ทุนมนุษย์กับธุรกิจระหว่างประเทศ

สถานการณ์

การเปลี่ยนแปลง

ของ...

(=Where are we)

  • ในอนาคตจะมีการเปิดเสรีอาเซียนทำให้มีการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้น

 

เป้าประสงค์

ของการพัฒนา...

(=Where do we want to go)

 

  • พัฒนาคนให้ตรงตามความต้องการภาคธุรกิจและสามารถทำงานในยุคเปิดเสรีอาเซียนได้

 

 

กลยุทธ์การ

พัฒนา...

(=How to get there)

 

 

  • ใช้ผู้ประกอบการจริงมาช่วยร่างแผน

 

 

โครงการสำคัญ

“Winning Project”

 

  • ตั้งสถาบันพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจ
  • Happy Workplace ซึ่งสามารถเข้าไปถึงฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของทุกองค์กร

แนวทางการขับเคลื่อน

(=How to do it successfully)

  • ทำให้ธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
  • สถาบันพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจต้องมีความเป็นเอกภาพ ไม่ผูกติดกับการเมือง และเป็น Think tank
  • ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการตั้งสถาบัน
  • ยกร่างแผนการจัดตั้งสภาหรือสถาบันทุนมนุษย์ ตั้งที่กระทรวงพาณิชย์โดยผ่านครม. เช่น

       •Stakeholders คือใคร? บทบาทของสภาหรือสถาบันฯ จะลดช่องว่างเรื่อง

       ทุนมนุษย์กับธุรกิจอย่างไร? เช่น การทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยทำ

       อะไรบ้าง

       •แผนงานโครงการระยะสั้น กลาง ยาว

       •Input – Process – Output – Outcome – Impacts ต่อทุกภาคส่วนของ

       สังคมหรือ Stakeholders

       •มองทุกมิติ ธุรกิจ สังคม วัฒนธรรม

 

(4) อุปสรรคเรื่องวัฒนธรรมของทุนมนุษย์ ในระดับชาติและระดับองค์กร

สถานการณ์

การเปลี่ยนแปลง

ของ...

(=Where are we)

  • ปัญหาเรื่องค่านิยมแบบวัตถุนิยม
  • ปัญหาการขาด Life-long Learning

 

เป้าประสงค์

ของการพัฒนา...

(=Where do we want to go)

 

  • สร้าง Intangible Value ให้กับทุนมนุษย์

 

 

กลยุทธ์การ

พัฒนา...

(=How to get there)

 

 

  • สอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
  • พัฒนา Life-long Learning ตามกรณีศึกษาประเทศเกาหลี
  • เน้นการเรียนรู้แบบ Child Center แบบโรงเรียนสัตยาศัยที่ลพบุรี บริหารโดย ดร.อาจอง ชุมสาย

 

 

 

(5) คุณสมบัติของ “คน” ที่พึงปรารถนา

สถานการณ์

การเปลี่ยนแปลง

ของ...

(=Where are we)

  • โมเดลของทุนมนุษย์ในอนาคตโดยรวมต้องมี Head + Heart + Hand

 

 

เป้าประสงค์

ของการพัฒนา...

(=Where do we want to go)

 

  • คนไทยในอนาคตต้องคิดเป็น ทำเป็นและต้องมีคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในหัวใจ มีความสามารถในการบริหารจัดการ

 

 

(6) “สื่อ” เพื่อทุนมนุษย์ในธุรกิจ

เป้าประสงค์

ของการพัฒนา...

(=Where do we want to go)

 

  • มีการ “สื่อ” ให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ทรัพยากรมนุษย์มีความเข้าใจตรงกันในเรื่องความต้องการทรัพยากรมนุษย์ของภาคธุรกิจ

กลยุทธ์การ

พัฒนา...

(=How to get there)

 

 

  • วางกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าวให้เกิดความสนใจจากสังคม

 

 

โครงการสำคัญ

“Winning Project”

 

  • เรื่อง E-Learning
  • การเรียนทางไปรษณีย์
  • นำองค์ความรู้เหล่านี้มาทำเป็น Mass Media CD Rom เพื่อแจกจ่าย
  • “ครูตู้” และการเรียนรู้ผ่านดาวเทียม

 

 

หมายเลขบันทึก: 430396เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2011 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับชาว Blog

ในการจัดการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ของเเผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ ซึ่งผมเป็นประธานในอนุกรรมการชุดนี้ ผมได้จัดการประชุมอย่างต่อเนื่องเเบบเป็นทางการ 3 ครั้ง และ ไม่เป็นทางการ 1 ครั้ง ผมได้มีข้อสังเกตุดังนี้คือ

1. สมาชิกที่มาร่วมประชุมและมาอย่างต่อเนื่องมีจำนวนมาก

2. มีผู้ใหญ่ให้ความสนใจเเละให้คำเเนะนำเช่น ดร.ธวัชชัย ยงกิตติกุล, อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลราชมงคลธัญบุรี และอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

3. ทีมฝ่านเลขานุการที่ประกอบด้วย ผอ.มนตรี พงษ์พันธ์, คุณอภิชาติ ประเสริฐสุด และทีมงานของผมทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี

4. มีเเรงบันดาลใจจากคณะกรรมการทุกคนที่จะร่วมกันผลักดันให้เกิดสถาบันทุนมนุษย์เพื่อการพัฒนาธุรกิจขึ้นจริง

5. ประโยชน์ในครั้งนี้เพื่อให้สังคมรับทราบความมุ่งมั่นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรม

โอกาสนี้ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยรวมพลังให้เกิดความสำเร็จครับ

ร่างบันทึกการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ครั้งที่ 2/2554 (อย่างเป็นทางการ)

9 มีนาคม 2554

ณ ห้องประชุมชั้น 7 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

......................................................................................................................

ประธานในที่ประชุมย้ำว่า..

แผนพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจในครั้งนี้จะสอดคล้องกับแผน 11 ของสภาพัฒน์ฯ โดยจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่อง..

  1. Lifelong learning
  2. การพัฒนาสังคมฐานความรู้
  3. Aging Population

 

รศ.ดร.นำยุทธ

อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี

- ส่วน HR Architecture

1)            Meet & Match – Demand & Supply

-                    ผู้ประกอบการต้องมาร่วมมือกันอย่างจริงจังกับสถาบันการศึกษา จำเป็นอย่างยิ่ง

-                    สหกิจศึกษามีความสำคัญมาก

-                    การทำข้อตกลงร่วมกันกับกลุ่มผู้ประกอบการ

-                    การ “สื่อ” ให้ผู้ผลิตและผู้ใช้มีความเข้าใจตรงกัน

มล.ชาญโชติ

-                    นอกจากภาคการศึกษากับผู้ประกอบการแล้วภาครัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องควรจะเข้ามาร่วมด้วย

-                    ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและลงทุนในเรื่องคนอย่างจริงจัง โดยจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างวิธีการตอบแทนหรือสิ่งจูงใจให้ทุกฝ่ายเล็งเห็นประโยชน์ร่วมกันด้วยจึงจะเกิดความสำเร็จ

ผอ.มนตรี

-                    เราควรที่จะสำรวจจุดแข็งของธุรกิจไทยว่ามีอะไรที่โดดเด่นกว่าคนอื่น และก็ผลักดันธุรกิจเหล่านั้น ไม่ควรลอกเลียนแบบคนอื่นมากนัก เช่น ประเทศไทยมีสินค้าเกษตรเราก็ควรที่จะมุ่งเน้นการพัฒนา ต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่ม

-                    เรื่องการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ นอกจากการให้บริการรักษาพยาบาล หรือดูแลสุขภาพแล้ว อาจจะมีธุรกิจอื่น ๆ ที่บริการผู้สูงอายุโดยตรง ซึ่งเราจะต้องมองและทำอย่างมียุทธศาสตร์

-                    ในธุรกิจบางธุรกิจสามารถนำศักยภาพของผู้สูงอายุมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสังคมไทย เช่น ในวงการวิชาการนั้นผู้สูงอายุนับเป็น “คลังสมอง” ของสังคมไทย

ผู้แทนจากสภาพัฒน์

-                    เน้นเรื่องคนในแผน 8 และแผน 11 จะเน้น Life long learning โดยเรื่องของ Aging Population ก็เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่แผน 11 ให้ความสำคัญ

ทำนอง ดาศรี

-                    มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้ศักยภาพของผู้สูงอายุ หากมีหน่วยงานโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และดูแลบริหารจัดการให้ผู้สูงอายุสามารถนำภูมิปัญญามาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย

สภาหอการค้า

-                    จากหลักคิด ..... ควรเน้นการปฏิบัติมากกว่าเชิง Paper หรืองานวิจัย หรือแผนแต่ไม่เอาไปทำ

-                    มีงานวิจัยอยู่แล้วว่าการเรียนแบบสหกิจศึกษาเมื่อจบมาแล้วมีงานทำ 92%

-                    ญี่ปุ่นมีนโยบายลดภาษีให้แก่ธุรกิจที่จ้างผู้สูงอายุ

-                    เห็นด้วยกับการสร้างคลังสมองภูมิปัญญาไทย

-                    หอการค้าไทยพยายามจะขยายวงกว้างให้หลาย ๆ ฝ่ายได้มีส่วนร่วมทำให้แผนทุนมนุษย์กับธุรกิจสัมฤทธิ์ผลและนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริง

ดร.จีระ

-                    ความดีกับความเก่งของคนต้องไปด้วยกัน

-                    สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำงานครั้งนี้ คือ ทำอย่างไรสิ่งที่เราเสนอไปในแผนจะได้นำไปใช้ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

-                    งบประมาณ 100 บาทของกระทรวงศึกษา นั้น 98 บาทเป็น formal learning เหลือแค่ ๒% เป็นการเรียนรู้แบบ Informal ดังนั้น จะทำอย่างไรให้เกิด Life long learning ได้จริงในสังคมไทย

-                    จากความคิดเห็นที่ส่งเข้ามาใน Blog เสนอว่าการสร้างสถาบันที่จะ Certify ทักษะของแรงงานเป็นสิ่งที่เราจะต้องให้ความสำคัญด้วย

สภาพัฒน์

-                    ขอทราบ “สภา/สถาบันทุนมนุษย์” จะเป็นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานอิสระ? และตรงกับที่มีอยู่ในแผนของสภาพัฒน์แล้วหรือไม่?

ดร.จีระ

-                    หอการค้า สมาคมธนาคาร สภาอุตสาหกรรม คลอดโดยกระทรวงพาณิชย์ แต่กระทรวงจะต้องมอบอำนาจให้แก่กรรมการชุดหนึ่งเป็นผู้บริหารจัดการ

-                    สภาพัฒน์ควรจะใส่สภาพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจไว้ในแผนด้วย

สำนักงานพัฒนาระบบราชการ

-                    เห็นด้วยกับการให้มีสถาบันทุนมนุษย์ที่จะเป็นคลังสมองของการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อธุรกิจอย่างแท้จริง เพื่อแก้ปัญหาของการพัฒนาแล้วไม่ตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจ

-                    ควรจะมีแผนแม่บทเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา

-                    จริง ๆ สถาบันส่วนใหญ่เคยมีอยู่แล้วแต่มันไม่สำเร็จเพราะมันไม่สามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจ หากมีสถาบันทุนมนุษย์ การผลักดันให้เกิดการใช้แผนแม่บทในทิศทางเดียวกัน มีการติดตามประเมินผลให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจได้จริง

ดร.จีระ

-                    แผนทุนมนุษย์ฯ จะไม่ใช่แผนเพื่อ Identify ปัญหา แต่เราจะให้ความสำคัญเรื่องเราจะแก้อย่างไร?

-                    Bill Gates พูดว่า Finland เก่งเรื่อง Education เพราะเขาสร้างแรงจูงใจ สร้างแรงบันดาลใจ

ธนพล

-                    หากเรานำผู้ประกอบการจริงมาเป็นผู้นำแผนน่าจะเห็นความสำเร็จ

-                    Introduction ข้อ 3 - เน้นไม่โลภ ไม่เสี่ยง ไม่ล้ม

-                    สถานการณ์ปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงควรมองไปถึงอนาคตด้วย

ดร.จีระ

-                    การทำแผนวันนี้เราไม่ควรเริ่มจาก 0 แต่เราควรจะทบทวนจากข้อมูลที่มีการศึกษาไว้แล้ว

สภาอุตสาหกรรม

-                    เรื่อง Architecture of HR มีงานวิจัยที่ดีมากของจุฬาฯ ซึ่งเราอาจจะลองศึกษาดู

-                    วันนี้เราขาดรูปแบบการจัดการองค์ความรู้ของสถาบันการศึกษา ซึ่งคาดว่าสถาบันทุนมนุษย์นี้จะช่วยได้ โดยควรจะเป็นองค์กรมหาชนที่มีเอกภาพ ไม่ผูกกับการเมือง และใช้ “เงินกองทุน” เข้ามาบริหารจัดการ หากสถาบันแห่งนี้มีความสำคัญในระดับชาติ การตั้งเงินกองทุนไม่น่าจะยาก และภาคเอกชนมีความพร้อมในงานกึ่งวิชาการเพราะฉะนั้นการให้ความสนับสนุนสถาบันนี้ไม่ใช่เรื่องยาก เน้นการบริหารจัดการแบบเชิงรูปธรรม และมีการติดตามผลอย่างจริงจัง แต่วันนี้เราจะต้องทำแผนให้เห็นภาพอนาคต และการทำงานอย่างมียุทธศาสตร์เป็นขั้นเป็นตอน

-                    ใช้แผนฯ มาบ่มเพาะความคิดของราชการ และสถาบันการศึกษา

คุณพัฒนศักย์

-                    ในอดีตภาครัฐทำผิดในเรื่องของการดึงคนมาลงทุนแต่ไม่ได้มองการบริหารจัดการทั้งระบบ โดยรวม

-                    เรื่องเครื่องจักรเป็นปัจจัยสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะเราต้องเปลี่ยนระบบการผลิตเป็นอัตโนมัติเข้ามาทำงานแทนแรงงานคน เพราะต้องเน้นการผลิต 24 ชั่วโมง ตอบสนองความต้องการของตลาด ปัญหาคือธุรกิจไม่สามารถซื้อเครื่องจักรได้เพราะราคาแพงเกินความสามารถของ SMEs

-                    เรื่อง Aging – อ.โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัตน์พุดไว้ว่า..องค์ความรู้ในประเทศไทยไม่เกิดขึ้นเพราะเราไม่มีสภากาแฟ ทำอย่างไรให้ผู้มีความรู้เหล่านั้นมาร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเขียน

-                    เรื่องทุนมนุษย์กับธุรกิจระหว่างประเทศควรให้สถาบันเพิ่มผลผลิตเข้ามามีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งศศินทร์ โดยเฉพาะ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

-                    เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเป็นกุญแจสำคัญของการพัมนาทุนมนุษย์ของประเทศไทย

-                    สหกิจศึกษามีกรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยสุรนารี

-                    เรื่อง E-Learning สถาบันเพิ่มผลผลิตทำได้ดีในเรื่องของการเรียนทางไปรษณีย์ องค์ความรู้เหล่านี้ถ้าเรานำมาทำเป็น Mass Media CD Rom เพื่อแจกจ่ายให้แก่สถาบันการศึกษา

-                    “ครูตู้” และการเรียนรู้ผ่านดาวเทียมมีประโยชน์มาก

-                    เรื่อง Life long learning กรณีศึกษาที่ดีมากของประเทศเกาหลี

-                    มูลนิธิโรงเรียนพระดาบส เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการวางแผนเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุที่ไม่เก่ง

-                    โรงเรียนสัตยาศัยที่ลพบุรี (บริหารโดย ดร.อาจอง ชุมสาย) เน้นการเรียนรู้แบบ Child Center เป็นตัวอย่างที่ดี

อธิการฯ สมบัติ

-                    ควรเน้นภาคประชาชนและภาคส่วนธุรกิจอย่างชัดเจน

-                    สถาบันการศึกษาวันนี้เรามีการนำมาปฏิบัติในทุกระดับแล้ว แต่ไม่แน่ในว่าในส่วนของธุรกิจได้นำไปใช้มากน้อยเพียงไร ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน

-                    การตั้งสถาบันฯ ควรจะต้องอยู่ในแผนฯ เพราะฉะนั้นทำแผนไปแล้วจะไม่มีคนทำ

ดร.สะอาด บรรเจิดฤทธิ์

คณบดีคณะวิทยาการจัดการนวัตกรรม

-                    บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการพัฒนาชุมชนโดยเฉพาะในระแวกใกล้เคียงนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และควรจะมีบทบาทเป็นจุดเชื่อมโยงให้การสนับสนุนเรื่องความรู้ให้แก่ชุมชนรวมทั้งธุรกิจในชุมชนด้วย

ดร.จีระ

-                    การเชิญสถาบันการศึกษาเข้ามาร่วมในการทำแผนฯ ในครั้งนี้ อยากให้มีการกระจายข้อมูลออกไปยังนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ และขยายวงกว้างออกไปสู่สาธารณชนด้วย และหากสถาบันการศึกษาฯ จะทำ Case Study ของทุนมนุษย์กับธุรกิจในพื้นที่ของท่านด้วยก็จะเป็นประโยชน์มาก เช่น ที่ซิลิคอนวัลเล่ย์หรือที่บังกะลอ

-                    การทำงานร่วมกันในครั้งนี้จะสำเร็จได้ต้องเกิดจาก Passion+Energy+Value ที่จะให้แก่สังคม

คุณสุนันทา ผู้แทนจาก สสว.

-                    การให้นักธุรกิจเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นกรรมการสภาของมหาวิทยาลัยจะช่วยให้ Supply กับ Demand เจอกันมากขึ้น

คุณวีรชัย

-                    ควรยกร่างแผนการจัดตั้งสภาหรือสถาบันทุนมนุษย์ ตั้งที่กรวงพาณิชย์โดยผ่านครม. เช่น

  • Stakeholders คือใคร? บทบาทของสภาหรือสถาบันฯ จะลดช่องว่างเรื่องทุนมนุษย์กับธุรกิจอย่างไร? เช่น การทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยทำอะไรบ้าง
  • แผนงานโครงการระยะสั้น กลาง ยาว
  • Input – Process – Output – Outcome – Impacts ต่อทุกภาคส่วนของสังคมหรือ Stakeholders
  • มองทุกมิติ ธุรกิจ สังคม วัฒนธรรม

อ.ศิริลักษณ์

-                    สภาหรือสถาบันทุนมนุษย์ควรจะเป็น Think tank

-                    โมเดลของทุนมนุษย์ในอนาคตจะเป็นอย่างไรทั้งในภาคธุรกิจ และในสังคมโดยรวม Head + Heart + Hand คนไทยในอนาคตต้องคิดเป็น ทำเป็นและต้องมีคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในหัวใจ

-                    เศรษฐกิจพอเพียงยังเข้าไม่ถึงธุรกิจอย่างแท้จริง

คุณอุมาพร

-                    จากร่างบทที่ 2 เป้าหมายธุรกิจกับเป้าหมายทุนมนุษย์

  • ใช้เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบของธุรกิจ
  • กรอบของทุนมนุษย์ตามแนวทางของ Life long learning

-                    ก่อนจะเกิดสภาหรือสถาบันอีก 2-4 ปีข้างหน้า เราจะทำอะไร

-                    การกำหนดเป้าประสงค์ระยะ 5 ปี กับ 20 ปี

-                    เป้าประสงค์แบบไม่มีกรอบ

-                    งานของอนุฯ ชุดอื่น ๆ น่าจะนำมารวมไว้ในนี้ด้วย

-                    อยากจะขอเข้าไป Observe การประชุมของอนุชุดอื่นด้วย

ดร.จีระ

-                    บทที่ 2 นอกจากเรื่องความยั่งยืนแล้ว ต้องเน้น Sectoral ที่มัน Emerging ในอีก 5 ปีข้างหน้าด้วย

-                    ความสุขกับความยั่งยืน

-                    เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นแกนหลักของแผนนี้ด้วย

-                    อุปสรรคในเรื่องค่านิยมต่าง ๆ เช่น ค่านิยมเรื่องวัตถุ เราจะสร้าง Intangible Value ให้แก่ทุนมนุษย์ได้อย่างไร?

อภิชาติ

บทที่ 2 เราจะศึกษาจาก 4 ส่วน

  1. จากการระดมสมองครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม
  2. มุมมองของอาจารย์จีระ
  3. กลุ่มธุรกิจที่เลือกทั้ง 8 อนุฯ
  4. จากสภาหอการค้า

อาจารย์จีระ

- John Wooden พูดไว้ว่า..Everyday is a master piece day

- Lee Kuan Yue พูดไว้ว่า..Everyday is a bonus day

มล.ชาญโชติ

-                    แนะนำให้ใช้เทมเพลทเพื่อให้ร่างแผนการจัดตั้งสถาบันฯ

-                    คนไทยมีจุดแข็งเรื่องการบริการ และจุดอ่อนในเรื่องการบริหารจัดการ เพราะฉะนั้นเราจะหาโอกาสและใช้จุดแข็งของเราอย่างไร และเราจะลดจุดอ่อนของเราอย่างไร?

-                    สร้างทุนมนุษย์ให้มีความสามารถในการบริหารจัดการและมีทุนทางจริยธรรม

อธิการฯ ดร.สมบัติ

-                    เน้นการร่วมมือกับภาคธุรกิจ ในลักษณะคล้าย ๆ สหกิจศึกษา และมองไปถึงการสร้างแรงจูงใจให้เขาเห็นประโยชน์ของการร่วมมือดังกล่าวด้วย

สภาอุตสาหกรรมฯ

-                    เราต้องวางกลยุทธ์ในการนำเสนอข่าวให้เกิดความสนใจจากสังคม

-                    การสร้างการมีส่วนรวมจากทุกภาคส่วนของสังคมเพื่อความสำเร็จ

-                    การมีบทบาทในงานที่เกี่ยวกับนโยบายและกฎหมายต่าง ๆ

-                    คนที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารแผนฯ ของเราเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

อ.ศิริลักษณ์

-                    ตัวอย่างที่ดีขององค์กรในลักษณะนี้ คือ สสส. เช่น เรื่อง Happy Workplace ซึ่งสามารถเข้าไปถึง HR ของทุกองค์กร ดังนั้น หากสภาหรือสถาบันของเราสามารถเข้าถึงประชาชนได้จริง ๆ ก็จะเกิด Impacts ต่อสังคม

สภาพัฒน์

-                    หากจะบรรจุในแผนของสภาพัฒน์ข้อเสนอต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องการจัดตั้งสถาบันฯจะต้องเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2554

-                    ตัวละครที่แผนฯ 11 สนใจ คือ

  • Education
  • Employee /เจ้าของธุรกิจ
  • Capacity Building
  • Knowledge Base Economy
  • Life long learning
  • Aging Population

-                    การจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพมีอยู่ในแผน ๑๑ แล้ว (ภายใต้สำนักนายกฯ) การพัฒนาคนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาแต่มีความสามารถ

สภาอุตสาหกรรม

-                    สภาพัฒนาทุนมนุษย์แห่งชาติเพื่อธุรกิจควรจะเป็นมติของที่ประชุมอนุฯ ในครั้งนี้เพื่อนำเสนอต่อสภาพัฒน์และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดจริง

อภิชาติ

-                    ปัญหาและอุปสรรค คือ ตามหลักแล้วจะต้องรอให้แผนใหญ่เสร็จ ข้อเสนอของคณะอนุ HR จึงจะเสนอได้ซึ่งอาจจะไม่ทันเวลา

-                    ทางออกที่ 1 คือ การที่อนุ HR เข้าไปร่วมประชุมจัดทำแผนร่วมกับสภาพัฒน์

-                    ทางออกที่ 2 คือ การเสนอผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี

ผอ.มนตรี

-                    ฝากให้ผู้แทนสภาพัฒน์ฯ นำแนวความคิด และข้อเสนอของอนุ HR ชุดนี้เข้าไปนำเสนอในการเดินสายระดมสมองจัดทำแผนด้วย และหากมีกิจกรรมดังกล่าวที่กรุงเทพฯ อนุ HR ก็ขอเข้าร่วมประชุมด้วย

ดร.จีระ

วันนี้เรื่องที่สำคัญก่อนจบการประชุม

  1. โครงร่างของแผนฯ วันนี้เริ่มชัดเจนมากขึ้น และหากคณะอนุฯ จะมีมุมมองเพิ่มเติมก็ขอให้ส่งมาที่ฝ่ายเลขาฯ ด้วย
  2. เรื่อง “สื่อ” อาจจะต้องมีการวางแผนใช้สื่อเพิ่มมากขึ้นด้วย เช่น อาจจะเชิญนักข่าวร่วมรับประทานอาหารและพุดคุยให้ฟังในเรื่องสิ่งที่เรากำลังผลักดันให้เกิด

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของการประชุมทุกครั้งและความคิดเห็นต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ได้ที่ http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/428004

วันนี้ผมได้รับ e-mail จากคุณพิมลพรรณ เจ้าของธุรกิจท่องเที่ยว แจ้งให้ทราบถึงการเข้าร่วมอบรมโครงการของ สสว และมีข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับคณะอนุกรรมการ จึงขออนุญาตินำมาเผยแพร่ ตามนี้ครับ

From: Kimeng [mailto:[email protected]]
Sent: Friday, March 11, 2011 8:40 PM
To: chanchot jombunud; Chayan Sukhumdecha; chaophraya TO; Chulaluck TO; Chaiyan TO; Pisit; Dome TO; Thannapat TO; Hui TO; Narumol TO; Parichart TO; Guide A
Subject: Re: Update อบรม Tour Operation ล่าสุด

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์และเพื่อนๆ

ขอบคูณค่ะอาจารย์ทียังนึกถึงพวกเรา ยังระลึกถึงอาจารย์เสมอค่ะ

พอดีมีโอกาศได้ไปสัมมนาเรื่อง medical tourism ของสสว ค่ะก็น่าสนใจดีค่ะ เขาหาผู้ประกอบการที่ต้องการ ทำเรื่อง medical tourism เพราะคาดว่าน่าจะมี ความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น เพราะมีคนแก่เยอะ คนอยู่นาน Wellness, check up, Medical treatment เป็นสิ่งจำเป็น ค่ะ และลูกค้าอาจ combine service พวกนี้เข้าไปในการท่องเทียวค่ะ

จุดประสงค์ของการประชุมคือ เขียน  ฺBusiness plan ก็มี format คลายๆกับของอาจารย์ค่ะ แต่เขาไม่ได้ให้ความรู้ เรื่อง กลยทธ์ มีการแบ่ง segment ให้เราได้เข้าใจ เบื้องต้น งานนี้ สสว มี consult ให้ด้วยค่ะ ถ้าใครเขียนแผนและส่งงานตาม step

ไม่แน่ใจว่าจะสามารถผลักดันผู้ประกอบการได้กี่รายน่ะค่ะ ส่วนของหนู คิดว่าน่าจะทำงานกับ partner อีก 2 ท่าน เรานัดประชุมเสาร์นี้ะค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดู ความคุ้มทุนก่อน เพราะ พวกโรงพยาลให้ค่า commission น้อย ขณะที่ wellness service จ่ายสูงกว่าค่ะ

จริงอย่างอาจารย์ว่าทุกประการ โครงการของรัฐ ที่ต้องการส่งเสริม มีมากแต่ในขั้นปฏิบัติ เหลือน้อยเต็มทน ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่สละเวลาเขียน email ถึงทุกคนนะ่ค่ะ ขอให้อาจารย์มีความสุขและสุขภาพแข็งแรงค่ะ

พิมลพรรณ

สวัสดีครับคุณพิมลพรรณ และทุกๆท่าน

แสดงว่าได้รับเอกสารแนบที่ส่งไปแล้วใช่ไหมครับ  เรื่อง Medical Tourism มีอนาคตครับ ควรจะเข้าร่วมโครงการของเขาเข้าใจว่าฟรี แต่ถ้าเสียเงินก็คงต้องพิจารณาดูให้รอบครอบว่าเราสามารถและสนใจจะทำทัวร์ทางนี้หรือไม่ เพราะถ้าเสียเงินแต่นำมาใช้อะไรไม่ได้ก็เสียทั้งเงินและเวลา แต่ถ้าฟรีก็ควรจะเข้าไปร่วมในโครงการ ดีใจครับที่มีการรวมตัวกันได้ ขอให้โชคดีครับ ติดขัดอะไรหรือต้องการคำปรึกษาเรื่องใด ขอให้ติดต่อมาได้ตลอดเวลาครับ

รักและคิดถึง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

เรียนอาจารย์
ไม่ได้เสียเงินค่ะ สสว ต้องการให้เกิด การปฏิบัติการจริง เขาพยายามจะเชื่อมต่อคนที่มี potential ที่สามารถ เริ่มต้นได้ โดยเฉพาะบริษัททัวร์ และ โรงแรม แต่ บริษัททัวร์ ถึงจะมีฐานลูกค้าแต่ก็ขาดความเข้าใจเรื่อง product และ service ยังมีอีกหลายเรื่องที่ไม่รู้จักเลยไม่ว่า จะเป็นเรื่อง process , Check supplier, liability , mixed tour service กับการรักษา ความเข้าใจของลูกค้า และสำคัญที่สุด เรื่องการแผนกาตลาดพูดกันน้อยมาก
หนูแค่นึกเล่นๆ ว่าส่วนที่เขาขาด  อาจารย์ ก็สอนไปเยอะ  วิทยากรเป็น นักวิชาการ ไม่เคยทำธุรกิจ แน่นอน เลยค่ะ รวมทั้ง consultant ของ สสว ไม่เข้าใจธุรกิจทัวร์เลย เหมือนที่อาจารย์ว่า เขาไม่เข้าใจองค์รวมของธุรกิจบริการ หากสสว มีวิทยากรอย่างอาจารย์ หรือ consult อย่างอาจารย์ หนูว่าภาคธุรกิจไทย โดยเฉพาะท่องเที่ยวคงได้ประโยชน์เยอะค่ะ อันนี้ไม่ได้ยกยอกันเองน่ะค่ะ หรือ ว่าคนที่เป็น consult ที่เราเห็น  ดูแล้ว หากเป็นอย่างนี้โครงการ หลายๆโครงการก็เป็นแบบตำน้ำ้ พริกละลายแม่น้ำค่ะ  หน่วยงานราชการไทย ไม่สามารถ qualify consult ได้ค่ะ  เราภาคเอกชนจึงต้องทำตัวเองให้พึ่งตัวเองได้ จะว่าไปแล้วก็ดีเมือนกัน น่ะค่ะ

คือพอดีข้อมูลเรื่องการประชุมหนูมีแต่ hard copy ค่ะ ใครอยากได้ก็บอกน่ะค่ะ จะ copy ส่งไปให้ค่ะ

ส่วนเรื่องของบรฺษัทตัวเอง  ก็พยายามเขียนแผนขึ้นมาใหม่ แต่ทำได้ช้ามากค่ะ  พอดีได้เข้าไปดูข้อมูลสถิติ ของการท่องเที่ยวค่ะ ตอนนี้มีตัวเลขถึงปี  2010 แล้วค่ะ เพื่อน ๆลองไป ดู ตัวเลข และ plot grap ใน excel ดูซิค่ะ

http://www.tourism.go.th/2010/th/statistic/tourism.php

มันก็ทำให้เห็นไร อยู่น่ะ ก่อน focus ตลาดที่เราต้องการค่ะ

วันนี้แค่นี้ก่อนน่ะค่ะ
พิมลพรรณ

 

ทุนมนุษย์ กับ การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว

เรียบเรียงจาก

โครงการวิเคราะห์และเตือนภัย SMEs รายสาขา

 

Introduction

 

ธุรกิจบริการการท่องเที่ยวเป็นสาขาการบริการที่มีความสำคัญมาก มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจของนานาประเทศ องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourist Organization: WTO) มีการคาดคะเนว่าภายในปี 2563 จะมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกถึง 1,600 ล้านคน โดยนักท่องเที่ยวระยะไกลจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น แต่นักท่องเที่ยวจะใช้เวลาท่องเที่ยวในแต่ละสถานที่ลดน้อยลง โดยคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวของชาติที่มีการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุด ได้แก่ ประเทศเยอรมัน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ส่วนนักท่องเที่ยวชาติใหม่ๆ ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศในระดับสูง ได้แก ประเทศจีน และรัสเซีย

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทยมีอยู่เป็นจำนวนมากและครอบคลุมแทบทุก ประเภท ทั้งที่เป็นธรรมชาติเฉพาะอุทยานธรรมชาติ มีทั้งสิ้น 71 แห่ง (ภาคเหนือ 29 แห่ง ภาคกลาง 13 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22 แห่ง และภาคใต้ 7 แห่ง) 1 และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเฉพาะวัด อย่างเดียวมีจำนวนถึง 33,902 แห่ง สำหรับ วัง พระราชวัง และพระตำหนัก มีไม่น้อยกว่า 46 แห่ง พิพิธภัณฑ์ไม่น้อยกว่า 273 แห่ง น้ำตกไม่น้อยกว่า 764 แห่ง เป็นต้น ซึ่งปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของแหล่ง ท่องเที่ยวของไทย โดยเฉพาะที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติมักมีปัญหาเสื่อมโทรม ขาดการดูแลรักษา โดยน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่แหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินกลางที่ใครๆก็สามารถเข้ามาใช้ได้ มีการบุกรุกเข้าไปก่อสร้างและพัฒนาอย่างไม่มีการวางแผน ผิดประเภท และไม่ให้ความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมทำให้ทรุดโทรม เกิดมลภาวะทางภูมิทัศน์ ขาดความปลอดภัย นอกจากนี้ยังขาดการควบคุมปริมาณนักท่องเที่ยวให้เกินกว่าความสามารถของทรัพยากรในการฟื้นคืนสภาพ ซึ่งเป็นการทอนขีดความสามารถในการแข่งขันและทำให้สูญเสียนักท่องเที่ยวในที่สุด     

 ด้วยบุคลิกของคนไทยที่ยิ้มแย้มแจ่มใสมีอัธยาศัยไมตรีอันดีต่อผู้อื่นได้รับการขนาน นามว่า “สยามเมืองยิ้ม” จึงน่าจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการประกอบธุรกิจด้านบริการโดยเฉพาะธุรกิจ การเดินทางและท่องเที่ยว ที่ต้องมีการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่แขก ผู้มาเยือนท้องถิ่นของตนหรือแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้ประกอบการเปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

นอกจากนี้วัฒนธรรมประเพณีความเป็นอยู่ตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิต ค่านิยมของคนในแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ก็สามารถก่อให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขึ้นได้ แต่ในทางกลับกันการนำประเพณีวัฒนธรรมมาเป็นจุดดึงดูดด้านการท่องเที่ยว ก็อาจนำไปสู่ความเสื่อมถอยทางวัฒนธรรมประเพณีหากมีการปรับรูปแบบวัฒนธรรมประเพณีนั้นให้สอดคล้องกับธุรกิจการท่องเที่ยว แทนที่จะเป็นการท่องเที่ยวเพื่อเข้าไปเรียนรู้รากเหง้าแห่งภูมิปัญญาหรือที่มาของการก่อเกิดวัฒนธรรมที่ดีงามเหล่านั้น ประเพณีวัฒนธรรมที่ถูกปรับเปลี่ยนก็จะมีค่าเพียงการแสดงที่ถูกจัดฉากขึ้นมิใช่เป็นการดำเนินชีวิตหรือการสานต่อทางวัฒนธรรมประเพณีตามค่านิยมหรือความเชื่อที่มีสืบต่อกันมา

 ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจึงอาจจะเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบไปเพื่อเป็นความภาคภูมิใจแก่ชนรุ่นหลังและเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวเพื่อนำรายได้มาสู่ชุมชนหรือประเทศอย่างยั้งยืนต่อไป แต่หากไม่มีการจัดการด้วยความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงก็อาจกลายเป็นการทำลายวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม หรือลดคุณค่าแห่งวัฒนธรรมประเพณีนั้นให้เป็นเพียงการจัดฉากเพื่อแสดงให้นักท่องเที่ยวชมโดยขาด จิตวิญญาณทางวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นทะเล น้ำตก ภูเขา แม่น้ำ ล้วนเป็นการเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นสมบัติส่วนกลางที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ อย่างแท้จริง หากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือนักท่องเที่ยว ต่างก็เข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยผลักภาระหน้าที่ในการดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเหล่านี้ให้เป็นของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวภายใต้งบประมาณที่มีอย่างจำกัด สุดท้ายย่อมจะนำความเสื่อมโทรมมาสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเหล่านั้น และส่งผลให้เสียโอกาสในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวในที่สุด อีกทั้งผู้ที่ต้องแบกรับผลเสียที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมโทรมของธรรมชาติโดยตรงก็คงจะ หนีไม่พ้นประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นนั้นโดยที่อาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวมากเท่าผู้ประกอบการรายใหญ่หรือผู้ประกอบการที่มาจากถิ่นอื่น

สำหรับความเสื่อมโทรมหรือการทำลายแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอาจเกิดจาก สาเหตุอื่น ๆ เช่น การขยายตัวของเมืองโดยไม่มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ การขยายตัวของโรงงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้เปลี่ยนแปลงไป ดังจะเห็นได้จากการเกิดภาวะน้ำท่วมหนักและโคลนถล่มในภาคเหนือ หรือการเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงจนเกิดความแห้งแล้งอย่างหนักในบางพื้นที่จนส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยว จึงควรมีการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่อไป   

 ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจะประกอบด้วยธุรกิจหลักใน 3 ส่วนคือ 1) ธุรกิจบริการที่พัก   2) ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม และ 3) ธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์โดยธุรกิจเหล่านี้จะมีลักษณะเป็นการให้บริการที่ประกอบกัน (complementary services) และเกี่ยวโยง กับแหล่งท่องเที่ยว หากโรงแรมหรือที่พักได้รับการออกแบบมาอย่างดีสอดคล้องเหมาะสมกับสถานที่ท่องเที่ยวก็จะช่วยส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมกับบรรยากาศและทิวทัศน์ของสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ อีกทั้งโรงแรมหรือที่พักยังมีความจำเป็นในฐานะเป็นที่พักผ่อนและค้างแรมหลังจากนักท่องเที่ยวได้เดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมาตลอดทั้งวัน ส่วนธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มก็มีส่วนช่วยเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวเช่นเดียวกับธุรกิจบริการที่พัก เพราะอาหารและเครื่องดื่มที่อร่อยและสะอาดย่อมมีส่วนช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่นักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น สำหรับธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์จะช่วยเชื่อมโยงและสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจแก่นักท่องเที่ยวต่อแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเลือกมาหาประสบการณ์ใหม่ๆ เนื่องจากจะมีส่วนในการแนะนำหรือคัดสรรบริการหรือแหล่งท่องเที่ยวให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวหรือช่วยเผยแพร่จุดเด่นที่น่าประทับใจของแหล่งท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวขยายระยะเวลาการท่องเที่ยวหรือมีความประทับใจจนต้องกลับมาเที่ยวซ้ำและอาจแนะนำนักท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้มารู้จักกับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่น่าประทับใจดังเช่นที่ตนเองเคยได้รับ

ธุรกิจบริการที่พักมีด้วยกันหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ได้แก่โรงแรม คอนโดเทล เกสท์เฮาส์ บังกะโล บ้านพักตากอากาศ บ้านพักเชิงนิเวศ พื้นที่ให้เช่าสำหรับกางเต็นท์เป็นต้น สำหรับในธุรกิจบริการที่พักที่ SMEs น่าจะสามารถเข้ามา ประกอบกิจการได้คงจะเป็นเกสท์เฮาส์ บังกะโล บ้านพักเชิงนิเวศขนาดเล็ก หรือพื้นที่ให้เช่าสำหรับ กางเต็นท์

ทั้งนี้จากข้อมูลของศูนย์สารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พบว่าจำนวนวิสาหกิจที่ประกอบธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราวในปี 2547 มีจำนวนทั้งหมด 16,950 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 16,751 ราย และในปี 2548 มีจำนวน ผู้ประกอบการทั้งหมด 17,853 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 17,650 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 5.33 และ 5.37 ตามลำดับ ทั้งนี้หากพิจารณาตามขนาดของวิสาหกิจจะพบว่าผู้ประกอบการกว่า ร้อยละ 99 เป็นผู้ประกอบการ SMEs  สำหรับด้านการจ้างงานในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและ ที่พักชั่วคราว  พบว่าในปี 2547 มีจำนวนการ จ้างงานในธุรกิจโรงแรม ค่ายพัก และที่พักชั่วคราวทั้งหมด 232,916 คน เป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 156,554 คน คิดเป็นร้อยละ 67.21 ของการจ้างงานทั้งหมดในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราว ส่วนในปี 2548 การจ้างงานในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราวทั้งหมดเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปี 2547 คิดเป็น ร้อยละ 0.03 หรือมีจำนวนเท่ากับ 232,988 คน เป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 156,626 คน คิดเป็นร้อยละ 67.22 ของการจ้างงานทั้งหมดในธุรกิจโรงแรม ค่ายพักและที่พักชั่วคราวใน ปี 2548

 ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม อาจให้บริการในหลายลักษณะด้วยกัน เช่น ภัตตาคาร บริการจัดเลี้ยง ร้านอาหารทั่วไปไปหรือร้านอาหารริมทาง ร้านอาหารรถเข็นหรือเรือ หาบเร่ ตลาดน้ำ ร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ ร้านโชวห่วย เพิงขายผลไม้และเครื่องดื่มริมทาง เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่ SMEs สามารถเข้าไปประกอบการได้ยกเว้นภัตตาคาร หรือบริการจัดเลี้ยงขนาดใหญ่เท่านั้น หากพิจารณาด้านจำนวนวิสาหกิจและการจ้างงานในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขาย อาหารและบาร์จะพบว่าผู้ประกอบการในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์กว่า ร้อยละ 99 เป็น ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งนั้นในปี 2547 มีจำนวนวิสาหกิจที่ประกอบธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและ บาร์ทั้งหมดจำนวน 138,488 รายเป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 138,476 ราย และในปี 2548 มีจำนวนวิสาหกิจที่ประกอบธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์เพิ่มขึ้นเป็น 139,130 ราย เป็น ผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 139,118 ราย คิดเป็นสัดส่วนการเพิ่มของจำนวนวิสาหกิจจากปี 2547 เท่ากับร้อยละ 0.46 และ 0.46 ตามลำดับ ส่วนการจ้างงานของธุรกิจภัตตาคาร ร้านขาย อาหารและบาร์จะเห็นว่าในปี 2547 มีการจ้างงานในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์ทั้งหมด เท่ากับ 402,332 คน เป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 380,453 คน คิดเป็นร้อยละ 94.56 ของการจ้างงานทั้งหมดในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์และในปี 2548 มีการจ้างงาน ในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์ทั้งหมดเท่ากับ 403,860 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากปีก่อน เป็น การจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 381,981 คน คิดเป็นร้อยละ 94.58 ของการจ้างงาน ทั้งหมดในธุรกิจภัตตาคาร ร้านขายอาหารและบาร์

ธุรกิจบริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เป็นการให้บริการเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวหรือบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันและช่วยประสานงานในเรื่อง ต่าง ๆ ได้แก่การสำรองและจัดหาพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง การสำรองที่พักและอาหาร การจัดโปรแกรม การเดินทาง เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นธุรกิจที่ SMEs น่าจะสามารถเข้ามาประกอบการได้ในเกือบทุกส่วน เพราะเป็นการให้บริการในลักษณะประสานงานเพื่อเชื่อมโยงนักท่องเที่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง จากข้อมูลของศูนย์สารสนเทศ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม เกี่ยวกับจำนวนวิสาหกิจและการจ้างงานตาม ISIC 6304 ซึ่งเป็นธุรกิจตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมทั้งการบริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น จะเห็นว่า จำนวนวิสาหกิจกว่าร้อยละ 99 เป็น SMEs โดยในปี 2547 มีจำนวนวิสาหกิจที่เป็นตัวแทนธุรกิจการ ท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมทั้งการบริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นทั้งหมดจำนวน 4,563 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 4,556 ราย และในปี 2548 มีจำนวนวิสาหกิจที่เป็นตัวแทน ธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมท้ังการบริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นทั้งหมด 5,616 ราย เป็นผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 5,609 ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 23.08 และ

23.11 ตามลำดับ  ด้านการจ้างงานของตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยว รวมทั้งการ บริการนักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นเป็นการจ้างงานของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งหมด โดยในปี 2547 มีการจ้างงานของตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้จัดนำเที่ยวรวมทั้งการบริการ นักท่องเที่ยวซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นทั้งหมด 13,431 คน และในปี 2548 มีการจ้างงานทั้งหมด 14,209 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.79 

จากการศึกษาของศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกี่ยวกับภาคบริการการท่องเที่ยว (มีนาคม 2549) พบว่าแรงงานในธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวยังขาดคุณภาพ ความรู้และทักษะในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ รวมทั้งขาดทักษะและความสามารถด้านภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ปัจจุบันประเทศไทยมีบุคลากรด้านมัคคุเทศก์จำนวนมากเกินกว่าความต้องการของธุรกิจ แต่ยังขาดมัคคุเทศก์ทีมีคุณภาพ เช่น ที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษารวมทั้งจรรยาบรรณของการให้บริการ ส่วนหนึ่งคงมาจากการขาดนโยบายสนับสนุนอย่างเป็นระบบจากภาครัฐ รวมทั้งปัญหาความจำกัดของกําลังคนและงบประมาณในการควบคุมคุณภาพมัคคุเทศก์

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เคยทำการสำรวจแรงงานในสาขาบริการการท่องเที่ยวในปี 2543 พบว่าแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังมีระดับการศึกษาที่ต่ำเกินไป แรงงานเกินกว่าร้อยละ 50 จบการศึกษาเพียงระดับมัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า และมีไม่ถึงร้อยละ 10 ที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, โครงการสำรวจ แรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวปี 2543)

ทั้งนี้ยกเว้นธุรกิจการนำเที่ยวที่แรงงานมีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าถึงร้อยละ 49 การที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะทางรัฐบาลมีข้อกําหนดบังคับให้ผู้ที่ขอใบอนุญาตมัคคุเทศก์ต้องมีระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและความจำเป็นในการใช้ภาษาสื่อสารกับนักท่องเที่ยวนั้นมีมากกว่าสาขาอื่นๆ

 

การที่แรงงานในสาขาบริการการท่องเที่ยวมีการศึกษาที่ไม่สูงเพียงพอ มีสาเหตุมาจาก การที่แรงงานส่วนใหญ่มักเป็นแรงงานชั่วคราวซึ่งปกติประกอบอาชีพอื่นเป็นหลัก แต่ย้ายเข้ามาทำงานในสาขานี้ในช่วงฤดูการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลของงานหลักของตน เช่น ชาวประมงที่หันมาให้บริการรับส่งนักท่องเที่ยวทางเรือระหว่างที่ไม่ใช่ฤดูจับปลา ชาวนาที่นำรถอีแต๋นมาขนส่งนักท่องเที่ยวช่วงนอกฤดูเพาะปลูก เป็นต้น การจ้างงานในลักษณะชั่วคราวนี้ทำให้แรงงานไม่เกิดการฝึกฝนทักษะเฉพาะด้านในการให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ปัญหาอีกส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะแรงงานเองก็ยังมองไม่เห็นเส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพ (career path) ที่ชัดเจน เมื่ออุตส่าห์ลงทุน เพิ่มพูนทักษะด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองแล้วจะคุ้มค่าหรือไม่ด้านผู้ประกอบการเองก็ยังไม่มีแรงจูงใจที่จะส่งเสริมให้พนักงานของตนมีการอบรมหรือฝึกทักษะที่สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นัก เพราะไม่แน่ใจว่าพนักงานที่มีทักษะสูงขึ้นจากการลงทุนของตนจะอยู่ทำงานด้วยนานเพียงพอที่จะคุ้มค่าหรือไม่  ระบบการศึกษาด้านการท่องเที่ยวเองก็ยังไม่สามารถผลิตบุคคลากรที่สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมได้เท่าที่ควร ทั้งนี้เป็นเพราะหลักสูตรการศึกษาด้านการ ท่องเที่ยวในปัจจุบันยังไม่มีการคำนึงถึงความต้องการของสาขาบริการนี้โดยมักสอนด้วยการเน้นการให้ความรู้แต่ไม่ได้มีการฝึกทักษะที่จำเป็นแก่ผู้ศึกษาอย่างเพียงพอ โดยมักจะเน้นการปูความรู้ที่การเตรียมให้ผู้จบการศึกษาไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป ขาดการเน้นการสอนเพื่อการออกไปทำงานจริง ผู้สำเร็จการศึกษาจึงได้ใบประกาศนียบัตรแต่ขาดทักษะในการปฏิบัติงานที่แท้จริง หลักสูตรการอบรมส่วนใหญ่ก็ยังมีสัดส่วนจำนวนชั่วโมงในการฝึกปฏิบัติที่น้อยมาก คือมีเพียง ร้อยละ 3 ในหลักสูตรปริญญาตรีของรัฐบาล และเพียงร้อยละ 11 ในหลักสูตรปริญญาตรีและอาชีวศึกษาของเอกชน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากข้อจำกัดของกระทรวงศึกษาธิการที่กําหนดให้มีการฝึกภาคปฏิบัติเพียง 1 ภาคการศึกษาจากการอบรม 8 ภาคการศึกษา      ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก และเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี 2540 ประเทศไทยมีรายได้จากธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวถึง 401.14 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.48 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 2547 รายได้จากธุรกิจการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้นถึง 701.58 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 11 ของ GDP  หากพิจารณาสถิติอื่น ๆ เกี่ยวกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวจะพบว่าสัดส่วน รายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมากกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยจะน้อยกว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศก็ตาม โดยในปี 2540 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าท่องเที่ยวจำนวน 7.22 ล้าน คน สร้างรายได้ให้ประเทศไทยจำนวน 220.75 พันล้านบาท สำหรับในปี 2549 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณ 15.12 ล้านคน คิดเป็นรายได้ประมาณ 533 พันล้านบาท  การที่ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวของไทยมีรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย เนื่องมาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมีระยะเวลาการพักค้างแรมเฉลี่ยและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันสูงกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย โดยในช่วงปี 2540 – 2549 นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมีระยะเวลาพักค้างแรมเฉลี่ย 7.77 – 8.40 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อคนประมาณ 3,671.87 – 4,300 บาทต่อคนต่อวัน ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยจะมีระยะเวลาพักค้างแรม เฉลี่ย 2.31 – 2.67 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันต่อคนประมาณ 1,466 – 2,050 บาทต่อคนต่อวัน เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในปี 2547 พบว่าจากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันจำนวน 4,057.85 บาท ต่อคนต่อวัน ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะใช้ไปเพื่อการซื้อสินค้าและของที่ระลึกเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.32 รองลงมาจะใช้เป็นค่าที่พัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.31 และค่าอาหารและเครื่องดื่ม คิดเป็นร้อยละ 16.84 ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง คิดเป็นร้อยละ 12.40 ค่าพาหนะเดินทางในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 7.77 ค่าบริการท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 5.44 ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด คิดเป็นร้อยละ 2.92  จากรายละเอียดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวดังกล่าว เห็นได้ว่าการใช้จ่ายเพื่อการเดินทางและท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวได้ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวกับธุรกิจในภาคบริการและภาคการผลิตอื่นๆทั้งในลักษณะการเชื่อมโยงไปข้างหน้า(forward linkage) และการเชื่อมโยงไปข้างหลัง (backward linkage) โดยธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยววจะเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการผลิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27 ซึ่งน่าจะเป็นการเชื่อมโยงกับการผลิตสินค้าและของที่ระลุกที่มีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวสูงสุด ส่วนที่มีความเชื่อมโยงรองลงมาคือ บริการธุรกิจและสังคม คิดเป็นร้อยละ 17 และร้านอาหาร คิดเป็นร้อยละ 16  

จากการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและวิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่อง ผลกระทบจากการใช้จ่ายของ นักท่องเที่ยวต่อรายได้และการจ้างงานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีศึกษาโดยใช้แบบจำลองปัจจัย การผลิต – ผลผลิตภาค โดยภาคภูมิ สินนุธก พบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวมีผลกระทบต่อเนื่องต่อ ระบบเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า ผลกระทบตัวคูณ (multiplier effect) ถึง 1.98 เท่า แสดงว่าทุก 1 บาทที่นักท่องเที่ยวใช้จ่าย จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตเป็นลูกโซ่ประมาณ 1.98 บาท ความเชื่อมโยงของธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวนอกจากจะพิจารณาจากสัดส่วน ผลกระทบของรายได้จากการท่องเที่ยวต่อภาคการผลิตและบริการซึ่งเชื่อมโยงในลักษณะ forward linkage และในลักษณะ backward linkage แล้ว ยังสามารถพิจารณาความเชื่อมโยงในลักษณะของ เครือข่ายธุรกิจ (cluster) ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักของธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจโรงแรม ภัตตาคาร และบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ โดยธุรกิจที่เชื่อมโยงโดยตรงจะประกอบด้วย การจัดจำหน่าย, กิจกรรมนันทนาการ วัฒนธรรมและกีฬา, การศึกษา, กิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ และ บริการอื่น ๆ ส่วนธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าที่เข้ามาเชื่อมโยงเป็น cluster กับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว ได้แก่สินค้าที่เป็นของที่ระลึก, สินค้า OTOP, ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหาร และเสื้อผ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงเป็น cluster กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ได้แก่การขนส่ง เทคโนโลยี สารสนเทศ การก่อสร้าง และการเงิน เป็นต้น ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะcluster                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                              รัฐบาลทุกยุคต่างก็ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนเกี่ยวกับธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากมีการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นเมื่อปี 2545 เพื่อจะได้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบและผลักดันยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ในปี 2549 หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น ได้มีการร่วมกันจัดทำแผนด้านการท่องเที่ยวในช่วง 5 ปีคือ ปี 2550 – 2554 โดยมีแผนปฏิบัติการ (action plan) ที่ตั้งเป้าว่าในปี 2550 จะ สร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (ตลาดต่างประเทศ) ให้เติบโตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15 หรือคิด เป็นมูลค่ารายได้ 5.4 แสนล้านบาท และจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประมาณ 15 ล้านคน ส่วน ตลาดนักท่องเที่ยวชาวไทย (ตลาดในประเทศ) คาดว่าจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 คิดเป็นมูลค่า รายได้ 3.8 แสนล้านบาท หรือประมาณ 81.99 ล้านคน/ครั้ง

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท 15 มีนาคม 2554

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท