ชยสาโรภิกขุ : วิถีพุทธ วิถีแห่งสากล (๒)


แล้วทำไมโลกนี้เต็มไปด้วยการเบียดเบียน การเอารัดเอาเปรียบ ความไม่ยุติธรรม ทำไมมีสงคราม ทำไมบางคนรวยมากๆ ในขณะที่คนอีกหลายร้อยล้านแทบจะไม่มีอาหารกินเลย

ชยสาโรภิกขุ : วิถีพุทธ วิถีแห่งสากล (๒)

>>ในฐานะที่เป็นชาวตะวันตก ท่านอาจารย์เริ่มต้นการแสวงหาจนเป็นภิกษุในพุทธศาสนาได้อย่างไร?

การจะบอกจุดเริ่มต้น  คงจะยาก  แต่ว่าตอนเด็กตั้งแต่อายุขวบเศษๆ  อาตมาเป็นโรคหืดหอบ  ป่วยจนถึงอายุสักสิบสี่สิบห้าถึงเริ่มรู้สึกปกติ  เพราะฉะนั้นช่วงเด็กจะขาดโรงเรียนบ่อย  อยู่ที่บ้านคนเดียว  ก็ติดนิสัยชอบอยู่คนเดียว  ชอบอ่านหนังสือ  อาตมาอาจเป็นเด็กที่ชอบคิด  ชอบพิจารณาอะไรที่เด็กอายุแค่นั้นไม่ค่อยได้คิด  ชอบอ่านหนังสือมาก  มีหนังสือเป็นเพื่อน

พอเข้าวัยรุ่นแล้วก็เริ่มคิดว่า  เราเกิดมาเพื่ออะไร  เกิดมาทำไม  ชีวิตที่ดีงามเป็นอย่างไร  ความดีงามคืออะไร  ความดีความงามนั้นมีกฏตายตัวของธรรมชาติ  หรือว่าเป็นแค่บทสรุปของแต่ละวัฒนธรรม  ว่าอย่างนี้ดี  อย่างนี้ชั่ว  แล้วแต่ใครจะคิด  หรือว่ามีกฏอะไรที่เป็นกฎตายตัวหรือเปล่า  แล้วก็สนใจว่าทำไมทุกคนในโลกต้องการสิ่งเดียวคือความสุข  แต่แทบจะหาไม่เจอสักคนที่ยืนยันได้ว่า  ตัวเองเข้าถึงความสุขที่แท้จริงแล้ว  แล้วทำไมโลกนี้เต็มไปด้วยการเบียดเบียน  การเอารัดเอาเปรียบ  ความไม่ยุติธรรม  ทำไมมีสงคราม  ทำไมบางคนรวยมากๆ ในขณะที่คนอีกหลายร้อยล้านแทบจะไม่มีอาหารกินเลย  ก็สงสัยเรื่องราวของชีวิตคน  เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์

ที่ประเทศอังกฤษ  ทุกวันนี้  นักวิชาการเรียกว่าเป็นสังคมหลังคริสต์  ในอเมริกานี่ศาสนาคริสต์ยังมีบทบาทค่อนข้างสำคัญ  แต่ในยุโรปบทบาทค่อนข้างน้อยมาก  อาตมาเองเติบโตมาในครอบครัวที่จะว่าไม่ใช่คริสต์ก็ไม่เชิง  คือเป็นครอบครัวที่ไม่ให้ความสำคัญกับศาสนาเท่าไหร่

 

>>แต่จะพูดได้หรือไม่ว่าท่านอาจารย์เติบโตมาในครอบครัวคริสต์ศาสนิกชน

ถ้าถามโยมแม่  โยมแม่ก็คงตอบว่าเป็นคริสต์  แต่ว่าเป็นคริสต์โดยทะเบียนบ้าน  แต่โยมพ่อนั้นก็ไม่ได้ชอบศาสนา

ประเทศอังกฤษเป็นโปรเตสแตนต์  แต่ว่าทั้งยุโรปทุกวันนี้  คนส่วนมากแทบจะไม่ให้ความสำคัญกับศาสนา  อาตมาก็เติบโตกับครอบครัวที่ไม่มีศาสนา  และไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องมีศาสนา  ก็ไม่เห็นความจำเป็นอะไร  แล้วอาตมาก็เป็นเด็กที่ชอบเรียนประวัติศาสตร์  ยิ่งอ่านประวัติศาสตร์ของศาสนาประจำชาติเดิม  บทบาทในเรื่องสงครามศาสนา  ในเรื่อง Crusade  บทบาททางการเมือง  โดยเฉพาะในการแสวงหาอาณานิคมของอังกฤษ  ของฝรั่งเศษ  ก็ยิ่งไม่ศรัทธาใหญ่  อาตมาก็สรุปได้ว่าศาสนาเป็นเรื่องความเชื่อ  เป็นความเชื่อในคัมภีร์  ก็ไม่เห็นจะมีคำตอบต่อปัญหาที่ตัวเองกำลังสนใจอยู่  ก็เลยไม่สนใจเรื่องศาสนา  แต่สนใจเรื่องชีวิต  สนใจเรื่องจิตใจ  ในช่วงนั้นอายุสิบห้าสิบหก  ได้อ่านหนังสือมาก  อ่านหนังสือทางปรัชญา  หนังสือทางพุทธศาสนา  จิตวิทยา

 

อ่านย้อนหลัง

ชยสาโรภิกขุ – วิถีพุทธ วิถีแห่งสากล (๑)

 

คัดลอกจากบทสัมภาษณ์ ชยสาโรภิกขุ

วารสาร ฅ.คน

ปีที่ 3 ฉบับที่ 7 (31) พฤษภาคม พ.ศ. 2551

 

หมายเลขบันทึก: 183334เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2008 02:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ย้าฮู้..มาแล้วๆๆๆๆๆ

แหมมาเงียบๆเลยนะคะ..เอาอีกค่ะเพราะอยากทราบว่าท่านศึกษาพุทธศาสนาอย่างไร

คิดทึ้ง คิดถึง..

P  เบิร์ด

  • คิดถึงเหมือนกันครับ  ที่ต้องรีบกลับมาก็เพราะมีคนให้คิดถึงอย่างนี้แหละ อิอิ
  • ความคิดของท่านน่าสนใจมากครับ เดี๋ยวจะรีบปั่นให้นะครับ
  • อ้อ ที่ว่า "คิดทึ้ง คิดถึง.." เนี่ย  คำว่า "คิดถึง" ขอรับไว้  แต่ถึง "คิดทึ้ง" เนี่ย ไม่ขอรับได้ไหมครับ  มันรู้สึกแปลกๆ ครับ อิอิ

สวัสดีครับ


มีความสุข สดชื่น สมหวัง ดีงาม

 

P ปทุมารียา ธัมมราชิกา

สวัสดีและขอบคุณที่มาเยี่ยมกันอีกครั้งครับ

  • อย่าว่าแต่คุณเลยครับ  ผมก็หายไปบ่อยๆ
  • ก็ได้ผู้หญิงที่นั่งเท้าคางข้างบนแหละครับ  ที่กระชากลากถูให้เข้ามาบ่อยๆ  อิอิ
  • ขอบคุณสำหรับลิงก์ที่ให้ไว้นะครับ  แล้วจะเข้าไปอ่านประดับปัญญาครับ

ธรรมะสวัสดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท