สภามหาวิทยาลัย : เสรีภาพทางวิชาการ


 

          ผมโชคดี ได้มีโอกาสฟัง Prof. Philippe A. Bopp จากฝรั่งเศส บรรยายเรื่อง Academic Freedom ใน RGJ Congress IX ที่พัทยา   เมื่อวันที่ ๔ เม.ย. ๕๑
          ฟังแล้วผมรู้สึกว่าคนมหาวิทยาลัยไทยจะไม่มีวันเข้าใจคุณค่าและความหมายของเสรีภาพทางวิชาการอย่างแท้จริง    เพราะเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพด้านไหน ไม่ใช่สิ่งที่ลอยมาจากฟ้า หรือมีใครหยิบยื่นให้   เป็นสิ่งที่ต้องต่อสู้ หรือฟันฝ่า จึงจะได้มา  
          มหาวิทยาลัยในตะวันตก ต่อสู้ (ในหลายกรณีต่อสู้ด้วยมาตรการเชิงบวก) กับอำนาจรัฐ อำนาจศาสนา จนเกิดข้อตกลง หรือ Charter ให้เสรีภาพแก่มหาวิทยาลัย   ด้วยเป้าหมายหรือความเชื่อว่าเสรีภาพทางวิชาการของมหาวิทยาลัย เป็นคุณต่อสังคมในภาพรวม    เป็นรากฐานของความก้าวหน้าทางวิชาการ
          บุคคลสำคัญคือ Napoleon 1808, Humboldt (รมต. ศึกษาฯ ของปรัสเซีย 1810 : ผู้ให้หลักการว่า การสอนและวิจัยเป็นสิ่งเดียวกัน  และต้องมีเสรีภาพ   มีการตั้ง Berlin U. – Humboldtian Model เป็นรากฐานของ Research University ในโลก 
          ญี่ปุ่น Kyoto U


          ๓ model ของการจัดการมหาวิทยาลัย

  • ระบบอังกฤษ หรือ College System แบบ Ox-bridge   มีการบริหารแบบกระจายอำนาจ    การเรียนการสอนเน้น tutorial  มีปฏิสัมพันธ์ นศ. – อจ. สูง
  • ระบบฝรั่งเศส เน้นอำนาจรวมศูนย์ หรือ top-down  เป็น Ecoles system   ใช้อยู่ในฝรั่งเศส  อดีตเมืองขึ้นของฝรั่งเศส และในรัสเซีย
  • ระบบปรัสเซีย หรือเยอรมัน เป็นระบบให้เสรีภาพต่อการสอนและวิจัย หรือ bottom-up  ใช้อยู่ในเยอรมัน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน

Magna Charta Universitatum (Bologna 1988) www.magna-charta.org 
เสรีภาพมากับความรับผิดชอบ


          ฟัง ศ. Bopp เล่าข้อโต้แย้งของนักการเมืองฝรั่งเศส ต่อการเรียกร้องเสรีภาพทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ว่าถ้าต้องการเสรีภาพทางวิชาการ นักการเมืองก็มีเสรีภาพที่จะเอางบประมาณแผ่นดินไปทำอย่างอื่นเหมือนกัน   แล้วรู้สึกว่าความแตกต่างทางความคิดระหว่างนักการเมือง กับนักวิชาการที่ไหนๆ ในโลก ก็คล้ายๆ กัน

 

          บันทึกอีกหลายตอนจะเล่าความประทับใจจากการเข้าร่วมประชุม RGJ Congress IX

 

วิจารณ์ พานิช
๔ เม.ย. ๕๑

 

                                  

หมายเลขบันทึก: 175825เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2008 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท