ทศวรรษที่ ๒ ของการปฏิรูปการเรียนรู้


 

          ดังได้เล่าแล้วว่า ผมไปร่วมเสวนาเรื่องการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันที่ ๑๕ ม.ค. ๕๒   ซึ่งเมื่อผู้นำเสวนา ๑๐ คนกล่าวจบ ท่านเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา รศ. ธงทอง จันทรางศุ ก็สรุปว่า   ในทศวรรษที่ ๒ จะเน้นการเรียนรู้เป็นเป้าหมายปลายทาง    ไม่ใช่การศึกษา

          ผมกลับมา AAR ต่อว่า   มองมุมหนึ่ง สังคมไทยเราหลงทาง    หลงไปเน้นการเรียนรู้แบบเอาวิชาจากภายนอกมาใส่ตัวเด็ก   ต่างจากหัวใจของการเรียนรู้ ที่ต้องเน้นการเรียนรู้แบบงอกงามจากภายใน   งอกงามจากสัมมาทิฐิเป็นฐานของการเรียนรู้จากสัมผัสหรือประสบการณ์ตรงของผู้เรียนเป็นหลัก   โดยที่มีบรรยากาศของความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์วิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ ที่ได้ผล

          ผมได้ความรู้มากจากการเข้าร่วมเสวนาครั้งนี้   ได้เห็นยุทธศาสตร์การทำงานของนักการเมือง คือรัฐมนตรี   ที่ต้องเน้นเชิงบวก ทำงานประนีประนอมกับ technocrat ทางการศึกษา   ที่คงจะยังไม่เห็นว่าระบบการศึกษาที่เดินมา ๙ ปีนั้น หลงทาง    คนที่พูดชัดคือ ศ. ดร. อุทุมพร จามรมาน ที่กล่าวว่า อย่าหลงผิดว่าเด็กเรียนรู้ส่วนใหญ่ในโรงเรียน   และอย่าคิดว่า สไตล์ การเรียนรู้ของเด็กคือฟังครูสอน   เดี๋ยวนี้เด็กเรียนจากหน้าจอเป็นหลัก   อีกท่านหนึ่งที่พูดชัดเจนคือ รศ. ดร. อุทัย บุญประเสริฐ ที่ชี้ให้เห็นจุดบกพร่องของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรกหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง   ไม่ยอมกระจายอำนาจไปให้ถึงโรงเรียน 

          ผู้ที่ระบุชัด ว่าต้องลดบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการลง เปิดโอกาสให้มีตัวละครเข้ามาสร้างสรรค์ระบบการศึกษามากขึ้น คือ ดร. นิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ, คุณยุทธชัย เฉลิมชัย, รศ. ดร. อุทัย บุญประเสริฐ และผม   ซึ่งผมไม่คิดว่าจะทำให้ลดความสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการลง    ตรงกันข้ามกระทรวงศึกษาธิการ น่าจะยิ่งสำคัญมากขึ้น   เพียงแต่ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการแสดงบทบาท    จากการเป็นเจ้าของหรือผู้จัดการระบบแบบแสดงอำนาจ   กลับแสดงบทบาทเอื้ออำนาจ และเชื่อมโยงเครือข่าย

          ผม AAR ว่า สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ การเปลี่ยน culture สำคัญกว่าการเปลี่ยน structure   และผู้บริหารของการทรวงฯ ต้องเรียนรู้ทักษะการทำงานแบบใหม่    ในแบบที่เน้นการ empowerment ครู  โรงเรียน  และพื้นที่ ที่มีผลการจัดการเรียนรู้ดีเด่น

          ทางโรงเรียนเอกชน ผอ. สุนิสา ชื่นเจริญสุข แห่งโรงเรียนรุ่งอรุณ บอกชัดเจนว่า ประสบความสำเร็จต่อการเรียนรู้ของเด็กเพราะครูมีอิสระในการออกแบบการเรียนรู้   คำที่ผมชอบมากคือ “การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นได้เพราะไม่ล้อมกรอบความคิด”   โรงเรียนกระแสทางเลือกอย่างรุ่งอรุณอยู่ได้เพราะมีกัลยาณมิตรผู้ใหญ่คอยช่วยแนะนำและให้กำลังใจ

          ผมชื่นใจที่สุดที่ได้พบ “ยอดครูเพื่อศิษย์” อีกท่านหนึ่งในงานนี้   คือ อ. ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษระดับ ๑๐ รร. เบญจมราชาลัย   ที่เป็นครูวิชาเคมี   ฟังท่านเล่าวิธีจัดการเรียนรู้แล้ว ผมเกิดความสุขใจอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสพบครูเพื่อศิษย์เช่นนี้   ผม AAR ว่า ท่านมีวิญญาณของครูเต็มเปี่ยม และมีทักษะในการเป็นครูผู้อำนวยความสนุกในการเรียนรู้อย่างสุดยอด   ผมได้แยกไปเขียนอีกบันทึกหนึ่งในเรื่อง ครูดีวันละคน

          ในเวลา ๑๐ นาที ผมพูดใน ๒ เรื่อง คือเรื่องการขับเคลื่อนระบบการศึกษา ให้เป็น Learning Systems   กับเรื่องการเรียนรู้ (ไม่ใช่การศึกษา) ของคนไทยทั้ง ๖๔ ล้านคน   โดยใช้เทคนิคจัดการความรู้   ที่ปลดปล่อยอิสรภาพและความมั่นใจของผู้คนที่จะเรียนรู้ในชีวิตจริง ในการประกอบอาชีพประจำวัน
          ต่อไปนี้ เป็นบันทึกของผม (ด้วย iPhone) ระหว่างการเสวนา

ปฏิรูปการศึกษารอบ ๒  ปฏิรูปอะไร  อย่างไร

จุรินทร์
  ไม่มีคำตอบสำเร็จรูป   ระดมความคิด   รัฐบาลเอาไปตัดสินใจ
  ต้องไปเปิดการสัมมนาที่คุรุสภา เนื่องในวันครู

  ปฏิรูปรอบแรก เริ่ม ๒๕๔๒ สมัย รบ ชวน   ปฏิรูปโครงสร้าง รวม สกศ  ทบวง  กศธ   ตั้ง สมศ
  กระจายอำนาจการจัดการ
  ปฏิรูปหลักสูตร
  ปฏิรูปครู  เพื่อยกระดับคุณภาพ กศ   เพิ่มประสิทํิภาพ กรกส.
  ปัญหาคุณภาพ   ครูไม่ทีนหลักสูตรที่ ปป  ครูไม่พร้อม  เทคโนไม่พร้อม  เน้น Hw > Sw   ผลสัมฤทธิ์ต่ำ
  สมศ รร ๓๕% พอใจ   รอบ ๒ ผ่าน  ๘๐%  อาชีวะ เท่าที่ได้ผลประเมิน ของรัฐ ไม่ผ่าน ๑๐-๑๖%  เอกชน ๒๗%
   กระจายอำนาจยังไม่ถึง รร
   อาชีวะ สมรรถนะหม่ตรงผู้ใช้  ขาดทักษะพื้นฐานทราจำเปน
  เลิกเรียนกลางคัน
  ค่านิยมปริญญา > ค
  ขาดจิตสำนึกสาธารณะ

  รอบแรกเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูป   ต้องต่อยอด  ปรับปรุง
  ความสำเร็จ ที่โครงสร้าง

  รอบ ๒  สกศ เป็นหลัก ในการกำหนดยุทธศาสตร์ุ  กำหนดไว้  ๘ ประเด็น   รอคำตอบ

   นโยรัฐบาล เน้น ๒ คุณภาพ   โอกาส

โอกาส
  เรียนฟรี ๑๕ ปี อนุบาล - ม ๖
  ฟรีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ   กยศ.
  กยศ เริ่ม รบ ชวน ๒ ช่วยเด็กยากจน  แต่ รบ ต่อมาเปิดหมด   ทำให้เด็กรวยไปเบียดเด็กจน    จะเปิดช่องทางข้าง
   ดึงคนเข้าเรียนสาขาที่ควรเรียน
   ช่วยเด็กด้อยโอกาส

คุณภาพ
  เน้นคุณภาพครู   ผู้เรียนมี ค คุณธรนมจริยธรรม  ภูมิใจในรากเหง้าความเป็นไทย

พัฒนาคุณภาพครู
   ตั้งสถาบันกำหนดมาตรฐานการผลิตครูและบุคลากรทาง กศ.   กำหนดหลักสูตร  อบรมพัฒนาครู   ทำให้เป็นหน่วยเดียว ได้มาตรฐานเดียวกัน

  จูงใจคนเก่งมาเปนครู
  ขวัญกำลังใจครู
  ระบบประเมินเพื่อวิทยฐานะ  เป็นวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
  คก คืนครูให้ นร   ไม่ใช้ทำงานธุรการ

พัฒนาเทคโนเพื่อ กศ
   เพื่อพัฒนาครู  คุณภาพผู้เรียน  กศ ตลอดชีวืต  ส เทคโนเพื่อ กศ   กองทุน

คุณธรรม จริย  สำนึกเปนไทย
  ปัญหาอยู่ที่หลักสูตรหรือ กรกส.

การมีส่วนร่วม
   ศาสนา  ชช  คค  เอกชน
  ต้องการผลิตให้ตรงตลาด   จะตั้งคณะ กก  กรอ กศ  ทำแผนร่วมกัน  ปริมาณ  คุณภาพ  สาขาวิชา    หน่วยผลิตรับโควต้าไปผลิต
   ตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ สายอาชีพ   กำหนดมาตรฐาน เปนขั้นๆ ได้ ง/ด ตามสมรรถนะ ไม่ใช่ตามปริญญา   หวังจูงใจเข้าเรียนสายอาชีพ

กศ นอกระบบ
   สื่อ  กศ ตลอดชีวิต

นิพนธ์ สุรพงษ์รักเจริญ
   structure - culture
   รอบ ๒ เปลี่ยนที่ outcome & culture
   ข้อจำกัดของระบบ
   culture - paradigm
   leadership & mgt
   HRM
   เอาใจใส่ บอร์ด   สภามหาฯ เป็น governing board ใส่ leadership

อุทุมพร
  ๕ กระทรวง
  สมศ
  สทศ - ONET ชี้ ค ของ นร
สอบ ๓ ครั้ง  คงที่ ๓๐/๑๐๐   แย่สุด คณิต & อ
  คะแนนต่ำกระทบ คุณภาพไล่ระนาดขึ้น   ต้องให้ตกได้
   ผลต่อมหา
   ผลประเมินของครูสูงเกินจริง   คิดไม่เป็น

ปฏิรูปอะไร
ครู
  แยก บ/ช ง/ด ครู  กลั่นกรองให้ดี
  โอนเงินให้ รร โดยตรงน่าจะดีกว่า
  แบบเรียนล้าหลัง  สังคม  วิท  การงานอาชีพ-เทคโน   สึขศึกษา-พละศึกษา
  อบรม เลิกอบรมเดือน สค
  นร รร อย่างไร - ผ่านจอ  สอนวิธีสังเคราะห์

ศรีลักษณ์  เบญจมราชาลัย
  ปฏิรูปการ รร
  ให้ นร ทำ QCC เพื่อพัฒนาตนเอง
  เด็กเรียนทักษะชีวิต EQ ผ่านชิ้นงาน
  ประเมินความก้าวหน้าของศิษย์
  ให้สอนเพื่อน

  พัฒนาครูด้วยระบบ คข   คืนครูสู่ นร
  ครูดีในดวงใจ ต้ งไม่มุ่งวิทยฐานะ  มุ่งศิษย์

สมหมาย ปาริจฉัตต์
   ทัศนคติเชิงบวก ต่อยอดของเก่าที่ดี
   ความเสมอภาคทาง กศ
   ติง ปฏิรูประบบ
   เน้นกระบวนการ/กลไก การขับเคลื่อน Process   จัดลำดับความสำคัญ  โฟกัส
   ลดวัฒนธรรมอำนาจ
   ชวนอ่านบทความของเสรี พงศ์พิศ ปฏิรูปกระบวนทัศน์ ในมติชนเมื่อวาน
   สนับสนุน กรอ ด้าน กศ  เน้นให้มีมิติทางสังคม

สุนิสา ชื่นเจริญสุข  ผอ รร รุ่งอรุณ
   ใช้แนวคิดของการปฏิรูปการศึกษา
   เน้นให้เกิดการ รร ที่แท้ เกิดคุณภาพภายในของคน
   ไม่ล้อมกรอบความคิด
   ระบบกัลยาณมิตร
   คข ทร่หลากหลาย
   องกรเล็กๆ ดูแลตัวเองได้
   ศัครูของการ รร คือการติดกรอบ   คส อำนาจ   ไม่ใช้ความสัมพันใจ-ใจ
   เน้นคุณภาพภายในของคน > ค   ใจกุศลสู่ปัญญา   ไม่ใช่อวิชชา

ยุทธชัย เฉลิมชัย
   พูดในฐานะพ่อ
   รอบ ๑ ไม่สำเร็จ   หลงทาง
ตองหาหลักยึด ไม่ไห้หลงทาง
 ม. ๘  ให้หลัก
  กระทรวงการเรียนรู้
  คค เปนฐานการเรียนรู้
  ชช สังคม นำ   ไม่ใช่ภาครัฐนำ   ปรับลดบทบาทภาครัฐ
  รร เทศบาลคุณภาพสูงกว่า รร สพฐ

จินตนา   ในฐานะเอกชน
   รร เอกชน ถูกจัดเข้าเขต บอกว่าไม่มีงบให้
  รร เอกชน มี ๓-๔ พัน
  สนับสนุนให้มีสอบตก

สมเกียรติ ชอบผล
  รอบ ๑ มีการวิจัยรองรับ เพื่อยกระดับคุณภาพ กศ   เชิญ ผชช เช่น Michael Fulham   แต่พฤติกรรมไม่เปลี่ยน   วัฒนธรรมจึงไม่ ปป
  รอบ ๒ ทำสิ่งที่ยังไม่เสร็จ
  ตุณภาพ ๔ ปีจจัยเกี่ยวข้อง  ๑) พฐ ผู้เรียน inclusive จากทุก สวล   ๒) ครู ที่เอาใจใส่เด๋ก  ผลการเรียนจะขึ้นไป ๓๐ percentile rank  ๓) หลักสูตร มี assessment for learning น้อย  แต่เน้น ass of learning  ๔) ความอิสระของ รร ถ้ามี ผลการ รร จะดี

รศ. ดร. อุทัย บุญประเสริฐ
   การปฏิรูปเป็นกระบวนการต่อเนื่อง
ต้องปฏิรูปที่คุณภาพครู   **สร้างคุณภาพครูอย่างไร
 School site teacher development. อย่ากระจุกที่ส่วนกลางหรือสถาบัน   **กระจายอำนาจทาง กศ   ไม่ใช่มอบอำนาจ
  เน้น community-based learning

ธงทอง
  สังเคราะห์
 - การ รร เปนเป้าหมายปลายทาง  ทำอย่างไร  ไม่ได้อยู่ใน รร เท่านั่น  **ทำให้การ รร นอกห้องเรียน เป็นส่วนหนึ่งของการ รร
 - กศธ ต้องไม่ใช่เจ้าของที่โดดเดี่ยว   หรือโดยลำพัง
 - ทศวรรษที่ ๒  ทำเรื่องโครงสร้าง น้อยลง   เรื่องคอขาดบาดตาย คุณภาพ กศ ซึ่งอยู่ที่ครูกับผู้เรียน

พิณสุดา สิริธรังศรี
   เชิญระดมความคิด

วิโรจน์ ศิริอัฐ
  พัฒนาคนให้เกิดจิตสาธารณะ เปนมนุษที่สมบูรณ์
  รร ปชต
  สู่ ชช

พระวิน้ย สิริธโร  สวนโมกข์ ตอ.  ระยอง
 

          ก่อนเริ่มเสวนา คุณนพรัตน์ รัตนพงศ์ผาสุข จากวิทยุการบิน มาทัก บอกว่ามาร่วมการเสวนานี้เพราะอ่านจาก บล็อก ของผม   บอกว่าเพิ่งเริ่มเขียน บล็อก   ได้สนทนากันเรื่องคุณประโยชน์ของการเขียน บล็อก

 

วิจารณ์ พานิช
๑๕ ม.ค. ๕๒


                    

บรรยากาศในห้องประชุมคนขวาสุดคืออ.สุนิสา ชื่นเจริญสุข ผอ.รร.รุ่งอรุณ

ผู้นำเสวนาจากซ้ายศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน, รศ. ธงทอง จันทรางศุ, ดร. สมเกียรติ ชอบผล, รศ.ดร. อุทัย บุญประเสริฐ, คุณยุทธชัย เฉลิมชัย, อ. จินตนา_ธรรมวานิช

ผู้ดำเนินรายการจากซ้าย ศ. ดร. ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ดร. พิณสุดา สิริธรังศรี

หมายเลขบันทึก: 236321เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2009 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 07:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ขอบคุณครับ อาจารย์หมอ  ที่กรุณากล่าวถึงครับ

ประทับใจมากครับ
กับความเมตตาของอาจารย์หมอที่มอบให้
ในชั่วขณะแห่งการสนทนาเรื่องบล็อก แม้จะไม่นานนัก

ได้เก็บเกี่ยวผลึกความคิดจากบุคคลระดับ "กูรู" ทางการศึกษาของประเทศ ถือเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่งน่าประทับใจ
และเป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่ง

ผมได้อัดบันทึกเสียงเป็นไฟล์ mp3 ของทั้ง 12 ท่านไว้ทั้งหมด โดยแยกเป็นไฟล์ๆ ละ 1 ท่าน หากมีผู้สนใจจะฟังผมจะลองนำไฟล์มาใส่ไว้ใน gotoknow ในโอกาสต่อไปครับ

ขอบคุณครับ อาจารย์หมอ :)

เฝ้ารอเสียงจากท่าน ณภัทร๙ ด้วยนะครับ :)

เพื่อเป็นการเสริมอรรถรส ของอาจารย์หมอ

ผมจึงขออนุญาต link ไฟล์บันทึกเสียง mp3

ไว้ให้ทุกท่านที่สนใจนะครับ

 

<บันทึกเสียงของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช>

 

สำหรับท่านอื่นๆ จะทยอยนำ link มาแจ้งในภายหลังนะครับ

 

หากต้องการเก็บไฟล์ไว้ในเครื่องให้ใช้เมาส์คลิกขวาที่ตัวลิงค์สีแดง

แล้วเลือก Save Target As... นะครับ

<ไฟล์เสียง ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน>

ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

<ไฟล์เสียง ของ อ.ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ>

ครูเชี่ยวชาญพิเศษระดับ 10 แห่งโรงเรียนเบญจมราชาลัย

ซึ่งท่านเป็นครูซี 10 หนึ่งในสองคนแรกของประเทศไทย

ขอบพระคุณมากครับ คุณ ณภัทร๙ :)...

High Technology จริง ๆ นะครับ ยุคเนี่ย :)

<ไฟล์เสียง ของ อ.สุนิสา ชื่นเจริญสุข>

ผู้อำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ

โรงเรียนที่เริ่ม "ปฏิรูปการเรียนรู้" ก่อนรัฐบาลจะ "ปฏิรูปการศึกษา"

<ไฟล์เสียง ของ คุณยุทธชัย เฉลิมชัย>

นายกสมาคมบ้านเรียนไทย (Home School)

ท่านบอกว่าพูดแสดงความเห็นในฐานะ "พ่อ" คนหนึ่ง

ที่ห่วงใยในการศึกษาของลูก

 

ความตอนหนึ่งท่านเสนอให้เปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาฯ

เป็น "กระทรวงการเรียนรู้"  ด้วยครับ

<ไฟล์เสียงของ อ.จินตนา ธรรมวานิช>

นายกสมาคมโรงเรียนอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ

<ไฟล์เสียง ของ ดร.สมเกียรติ ชอบผล>

ท่านเป็นตัวแทนของ คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
เลขาธิการคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กลับมาอีกครั้งเพื่อเติมให้ครบถ้วนครับ

 

<ไฟล์เสียงของ รศ.ดร. อุทัย บุญประเสริฐ>

ผู้อำนวยการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการศึกษา ม.ธุรกิจบัณฑิต

 

และท่านสุดท้าย

<ไฟล์เสียงของ รศ. ธงทอง จันทรางศุ>

เลขาธิการสภาการศึกษา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท