ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่



          บ่ายวันที่ ๑๒ พ.ค. ๕๒ เป็นปฐมฤกษ์ของเวทีนโยบายสาธารณะของมหาวิทยาลัยมหิดล   ที่เรียกว่า ศาลายาเสวนา ครั้งที่ ๑ เรื่อง “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่”    มีวิทยากร ๗ คน ที่อยู่ในวงการ มีความรู้ที่สดใหม่ เข้าร่วมเสวนาตอบคำถามอย่างถึงลูกถึงคน


          ต่อไปนี้ เป็นบันทึกที่ผมฝึกใช้ PDA Phone บันทึกสาระสำคัญจากการประชุม

           ไม่รู้มาจากไหน  เริ่ม ๑๕ เมย. ๕๒ ที่ Southern California   ผลการตรวจยีนของเชื้อไวรัส บอกว่าเป็นไวรัสลูกผสมระหว่าง H1N1 ของ หมู นก และคน   ประวัติการเกิดจึงย้อนไปที่เมกซิโก  ซึ่งมีไข้หวัดระบาดโดยไม่รู้สาเหตุมาช่วงหนึ่งก่อนหน้านี้


           เวลานี้ที่ สรอ. พบเกือบทุกรัฐ   ระบาดเพิ่มสูงใน สรอ.  ในเมกซิโกคงที่ 


           ศึกษายีนของเชื้อ H1N1 ตัวใหม่ที่ระบาดขณะนี้   ซึ่งมีท่อนยีนสำคัญ ๘ ชิ้น พบว่าเป็นไวรัสลูกผสม ๕ ชิ้นมาจากหมู,  ๒ ชิ้นมาจากนก,  ๑ ชิ้นมาจากคน
          ติดต่อจากคนถึงคน   ระยะแพร่เชื้อ ๑ วันก่อนป่วยถึง ๗ วันหลังเริ่มอาการ  
          อาการในหมูอ่อนมาก  หมูมีโรคไข้หวัดใหญ่อยู่แล้วตามปกติ ๓ ชนิด คือ H1N1, H2N2 , H1N2  
          เชื้อไข้หวัดใหญ่จะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ระบาดตามฤดูกาล ไม่รุนแรง   ปุบปับก็ระบาดใหญ่
          ระบบเลี้ยงสัตว์ขณะนี้แน่นเกิน ไวรัสถ่ายกันง่าย เกิดสายพันธุ์ใหม่ง่าย   
          ห่วงการผสมข้ามพันธุ์กับที่มีอยู่แล้วในคน   อาจก่อโรครุนแรง  
          บทบาทของสัตว์  นก ยังตรวจไม่พบ   หวัดนกก่อโรคในหมูได้น้อย อาการก็น้อย   ประเทศไทยมีระบบ อสม. สัตว์ รายงานจากพื้นที่ได้เร็ว
          ติดหมูไปคน  คนไปหมูได้   การป้องกันโดยฆ่าหมูไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ 
          ผมติดใจที่คุณประพันธ์ ตั้งจารุวัฒนชัย นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกร จ. นครปฐม ที่เล่าประสบการณ์ของตนว่า   เวลาหวัดระบาด หมูติดหมดทั้งเล้า   ตนแก้โดยเลี้ยงหมูด้วยหยวกกล้วยได้ผล    ผมคิดว่า นี่คือโจทย์วิจัย เพื่อพิสูจน์ว่าได้ผลจริงหรือไม่  ถ้าได้ผล เกิดจากกลไกอะไร   ในหยวกกล้วยมีสารอะไรเป็นสำคัญออกฤทธิ์ 
         เวลานี้มีวอร์รูม ระดับกระทรวงสาธารณสุข ประธานเป็นรองนายก  เริ่มจากวอร์รูมระดับกรมควบคุมโรค  เมื่อ ๘ พ.ค.
         ข่าวสารที่ให้แก่สาธารณะต้องเชื่อถือได้  รวดเร็ว   ไม่ก่อความตระหนก   ไม่ปิดบัง  สำคัญที่เจ้าภาพร่วม ๓ ฝ่าย  วิชาการ  ประชาคม  รัฐ  ต้องไม่มีความขัดแย้งด้านผลประโยชน์
         อัตราตายต่ำ ไม่ถึง ๑%   เตรียมป้องกันโดยออกกำลัง รักษาสุขภาพเป็นดีที่สุด 
         บริโภคเนื้อสุกรได้ ปลอดภัย
         ยาทามิฟลูที่ประเทศไทยมีอยู่ ๕ ล้านเม็ดไม่พอถ้าระบาดกว้างขวาง   ต้องวิจัยหายาใหม่ด้วย
         ยาชนิดพ่นเข้าจมูกให้ผลเร็วกว่า 
         เป็นโอกาสส่งเสริมสุขอนามัย ล้างมือ สวมหน้ากาก  ให้ชุมชนผลิตหน้ากาก   สร้างวัฒนธรรมสวมหน้ากากเมื่อเป็นหวัดเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม   ให้คนทั่วไปรู้สึกยกย่องคนสวมหน้ากาก ไม่ใช่รังเกียจ
        วัคซีนหวัดใหญ่ผลิตโดยใช้ไข่ specific pathogen free มีเพียง ๔๐๐ ล้านโดสต่อปี  ถ้าหันไปทุ่มผลิตวัคซีนหวัด ๒๐๐๙ จะเกิดขาดแคลนวัคซีนหวัดตามฤดูกาล   ไทยต้องเตรียมพึ่งตนเองด้านผลิตวัคซีน  
          นโยบายเชิงรุก   เรามีเวลาหลายเดือนในการตั้งตัว  คิด scenario   และเตรียมรับมือในทุกด้าน   
          นโยบายเร่งผลิตวัคซีน  มีโรงงานแล้ว แต่ยังอยู่ในขั้นวิชาการ   จีนพร้อมช่วย   ผมมีคำถามเชิงนโยบาย (แต่ไม่ได้ถาม) ว่า มีประเด็นหรืออุปสรรคสำคัญอะไรบ้างที่ทำให้การผลิตวัคซีนของไทยล่าช้า   ถ้าจะให้เริ่มผลิตได้ภายใน ๖ เดือน ต้องการการสนับสนุนอย่างไรบ้าง

         ผมมองว่านี่ยังไม่ใช่ main course   เราควรใช้เป็นแบบฝึกหัดเตรียมพร้อมกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่รุนแรงกว่านี้   มีการเตรียมอย่างเป็นระบบ เป็นทีม มีการจัดการ/ประสานงานทีม ทำงานร่วมกันอย่างเป็นเครือข่ายของประเทศ   สวทช. มีส่วนประสานงาน 

   
         อย่างไรก็ตาม การระบาดครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับยกย่องมาก ว่าดำเนินการรับมือ ป้องกันการระบาดได้ฉับไว เป็นทีม มีประสิทธิผลสูง   มีความร่วมมือหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายนโยบาย นักวิชาการควบคุมโรค นักระบาดวิทยา นักวิชาการคณิตศาสตร์ทำ modeling  นักวิชาการในห้องปฏิบัติการ ฯลฯ 


          เรามีเครือข่ายความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อป้องกันหวัดนก ประสานงานโดย สวรส.   เป็นโครงการที่สนับสนุนโดย IDRC ของแคนาดา   น่าจะเป็นช่องทางความร่วมมือป้องกันหวัดสายพันธุ์ใหม่ได้อีกทางหนึ่ง  


          สรุปว่า ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เป็นไข้หวัดคนนะครับ   ไม่ใช่ไข้หวัดหมู   มันก่ออาการในคนรุนแรงกว่าในหมู   และติดจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสหรือละอองน้ำจากการไอ จาม ที่เรียกว่า droplet   ไม่ติดต่อทางอากาศหายใจ (airborne)    ดังนั้นคนที่ติดเชื้อสวมผ้าปิดจมูกและปากจะช่วยป้องกันไม่ให้ติดไปยังคนอื่น 

          ตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้จากเว็บไซต์ของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้ที่นี่
   

 

วิจารณ์ พานิช
๑๓ พ.ค. ๕๒


                            
   

   

 

หมายเลขบันทึก: 260821เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2009 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท