มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ


เงินเหล่านี้ต้องก่อผลกระทบต่อ real sector จริงๆ มีหลักฐานยืนยัน มีระบบเก็บข้อมูลที่แม่นยำ สำหรับเป็นหลักฐานยืนยันผลต่อ real sector เราจะถือว่าโครงการนี้ล้มเหลว หากผลวัดได้แค่มหาวิทยาลัยเหล่านี้มีงานวิจัย/ผลงานวิจัย เพิ่มขึ้น

มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

เงิน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาทใน ๓ ปี ไม่ใช่เงินน้อยๆ     สำหรับเอามาขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยจริงๆ    และไม่ใช่แค่ผลสำเร็จของมหาวิทยาลัยเหล่านั้น    แต่เพื่อให้มหาวิทยาลัยเหล่านั้นเป็นหัวขบวนใช้การทำงานวิจัยเพื่อยกระดับความเข้มแข็งของอุดมศึกษา    เพื่อเป้าหมายหลักจริงๆ คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาวของประเทศ

ย้ำว่าเป้าหมายสุดท้ายคือการทำประโยชน์ให้แก่ประเทศ    ต้องวัดผลกระทบที่ประโยชน์ที่จะเกิดต่อประเทศในระยะยาว    โดยมีผลที่เป็น เป้าหมายรายทางในช่วง ๓ ปี เป็นหลักฐาน    โดยในระหว่าง ๓ ปีนี้ต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นการทำงานเพื่อประเทศไทย ไม่ใช่เพื่อรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง    ต้องวางรากฐานให้กิจกรรมเหล่านี้บูรณาการเข้าไปในงานประจำของอุดมศึกษา    ให้แม้ว่าโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติจะจบไปหลัง ๓ ปี   ก็ยังมีกิจกรรมแฝงฝังอยู่ในงานปกติของอุดมศึกษา

ผมรู้สึกอย่างนี้ หลังจากการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติ ของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๑๕ มิ.ย. ๕๒ 

ผมกลัวจริงๆ ว่าโครงการนี้จะเป็นแค่ไฟไหม้ฟาง   ผมกลัวสียชื่อในฐานะจำเลยสังคมในการผลาญเงินภาษีอากรของชาวบ้าน    ผมจึงย้ำกับ ผอ. สุจิตร รัตนมุง ผอ. สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร สกอ.    และย้ำกับ รศ. ดร. วันชัย ดีเอกนามกูล ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการนี้    ว่าเราจะต้องจัดระบบการจัดการให้มั่นใจว่า

1.      เงินเหล่านี้ก่อผลกระทบต่อ real sector จริงๆ    มีหลักฐานยืนยัน    มีระบบเก็บข้อมูลที่แม่นยำ สำหรับเป็นหลักฐานยืนยันผลต่อ real sector    เราจะถือว่าโครงการนี้ล้มเหลว หากผลวัดได้แค่มหาวิทยาลัยเหล่านี้มีงานวิจัย/ผลงานวิจัย เพิ่มขึ้น

2.      เงิน ๑๒,๐๐๐ ล้าน ไปดึงเงินจาก real sector อีก ๑๓,๐๐๐ ล้านเข้าสู่การวิจัย หรือนวัตกรรม    หรือไปดึงเงินจาก mega-project ทั้งหลายโครงการละ ๑ – ๒% เอามาทำวิจัยพัฒนาโครงการ mega-project นั้น    แล้วมีหลักฐานว่าเงินเหล่านี้เป็นเงินลงทุนที่ได้กำไรต่อโครงการ คือประหยัดได้มากกว่าเงินวิจัยที่ลงทุน    หรือได้ผลเพิ่มประสิทธิภาพ/คุณภาพของผลงาน    ซึ่งจะมีผลเปลี่ยน mindset ของสังคมไทย    จากคิดว่าเงินวิจัยเป็น cost  เปลี่ยนเป็นคิดว่าเงินวิจัยเป็น investment    

3.      มหาวิทยาลัยอื่นๆ ของไทย ที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยในโครงการ ได้รับประโยชน์ด้วย    เพราะมหาวิทยาลัยวิจัยในโครงการต้องทำงานวิจัยเชื่อมโยงกับ real sector    การเชื่อมโยงกับ real sector นอกจากเชื่อมโดยตรงแล้ว มหาวิทยาลัยวิจัยต้องเชื่อมผ่านมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นด้วย

4.      มหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยในโครงการ ได้รับประโยชน์ในการยกระดับความสามารถของอาจารย์ของตน ทั้งการยกระดับวิทยะฐานะ (เรียนปริญญาเอก) และยกระดับ research competency โดยเฉพาะงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับ real sector  

5.      การมองและวัดผลกระทบต่อสังคม ต้องมอง/วัด ในมิติที่กว้างและลึกกว่าที่พูดกันโดยทั่วไป    โดยต้องคิดตัวชี้วัดตามหลักการที่ UNESCO แนะนำดังนี้

วิจารณ์ พานิช

๑๖ มิ.ย. ๕๒     

หมายเลขบันทึก: 268614เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2009 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นเรื่องใหม่ที่น่ายินดีมากๆค่ะท่านอาจารย์ ดิฉันขอขออนุญาตเป็นลุกศษย์ปลายแถวท่านอาจารย์นะค่ะ ท่านอาจารย์เป็นบุคคลที่มีความคิดก้าวหน้าและมีคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง อยากให้บ้านเมืองมีผู้ใหญ่อย่างท่านอาจารย์เยอะๆ ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งที่ทำงานกับผู้คนในระดับรากหญ้าของสังคม อยู่กับความทุกข์ความสุขของชาวบ้าน เป็นหมออนามัยค่ะอาจารย์ อยากให้มียุทธศาสตร์ของการพัฒนานักวิจัย คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนานักวิจัยที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ ให้มองเห็นคุณค่าและความงดงามในงานที่ศึกษา ให้มองเห็นผู้คนมากกว่าที่จะเห็นเพียงแค่สถิติหรือตัวเลข กราบขออภัยท่านอาจารย์นะค่ะที่บังอาจเสนอความคิด แต่รู้สึกอย่างนั้นจริงๆค่ะ อยากให้พัฒนานักวิจัยที่สามารถเอางานชิ้นนั้นๆตอบโจทย์จริงๆในพื้นที่ได้ ไม่ใช่แค่....เอามาขึ้นหิ้งไว้แล้วอ้างกับใครต่อใครว่านี่คืองานวิจัยยอดเยี่ยมหรือดีเด่น...เป็นทุกขลาภค่ะอาจารย์แต่ดิฉันก็พลาดไปแล้วค่ะ...ส่งประกวด R2R ผลปรากฎว่าได้รางวัลยอดเยี่ยมประเภทปฐมภูมิ(เติมหัวใจให้เบาหวาน;หนองกินเพล อุบลฯค่ะ) ในตอนแรกก็ดีใจเป็นธรรมดาที่มีโอกาสได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ...และเป็นโอกาสที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ใครๆอีกหลายคนที่อยากทำงานวิจัย ได้มีกำลังใจว่าคนโนเนมก็มีโอกาสได้เรียนรู้...ถ้าอยากเรียนรู้ แต่ ณ วันนี้ชักเริ่มไม่แน่ใจว่ามาถูกทาง..ต่อไปหลายคนก็จะมาจับจ้องที่งานของเรา..ยอดเยี่ยมตรงไหน..อะไรทำนองนี้ค่ะ...ตอนนี้เหมือนมีอะไรค้ำคอเราอยู่ จริงๆแล้วเราอยากทำไปเรื่อยเงียบๆ.....แต่อยากให้สังคมสาธารณสุขของเรา มองเห็นและมีการวิจัยเป็นวิถีหนึ่งในการทำงาน ไม่ใช่มุ่งแค่ว่ามีตัวเลขเป็นตัวชี้วัด จึงได้เปิดตัวสู่สังเวียน...ซึ่งคนนอกก็มักจะมองทีมเราว่าปฏิเสธนโยบาย แต่ดิฉันกลับแย้งในใจว่า...เราไม่ได้ปฏิเสธนโยบาย แต่เรากำลังแปลงนโยบายให้เป็นปฏิบัติการต่างหากหล่ะ...ดิฉันจึงใช้เวที R2R เพื่อร่วมประกาศนโยบายของตนเอง ท้ายที่สุดนี้ดิฉันใคร่ขออนุญาตท่านอาจารย์เป็นลูกศิษย์ปลายแถวอีกครั้งหนึ่ง เพื่อรับพลังแห่งความดีงามในการร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้บ้านเรา

ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจาร์เป็นอย่างสูง....

เชาวนี คำโฮม สอ.หนองกินเพล

หากสนใจสามารถเข้าไปตรวจสอบดูเงื่อนไขและสมัครเข้าร่วมโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติได้ที่ http://www.nru.mua.go.th ครับ

ตอนนี้เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับอยู่ใน 9 แห่ง ต้องทำงานอย่างเข้มข้น

ต้องดูฝีมือของผู้บริหารแต่ละที่แล้วล่ะครับ ว่าจะกระตุ้นให้ลูกน้องทำงานให้มากน้อยแค่ไหน

ถ้าทำไม่ได้อนาคตโดนปลด คงเป็นเรื่องที่ไม่น่ายินดีนัก แต่ถ้าสำเร็จมีแต่รุ่งกับรุ่ง

เอ้าเราชาว KKU ช่วยๆกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท