UKM 15 ที่ มน. : KM for HRD



          ตกลงกันไว้ใน UKM 14 ว่า มน. เป็นเจ้าภาพ UKM 15 และจะเป็นการ ลปรร. เรื่อง HRD ของแต่ละมหาวิทยาลัย

          ผมได้แนะนำว่า แทนที่จะถือตาม HRD Competency ที่ กพร. กำหนดในตัวชี้วัด   ก็อย่าเชื่อ กพร. ไปเสียทั้งหมด    เราเป็นผู้ปฏิบัติเอง น่าจะรู้ดีกว่า กพร.   จึงน่าจะรวมตัวกันกำหนด HRD Competency ของมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก UKM    และใช้ UKM 15 เป็นที่ ลปรร. ความสำเร็จตาม HRD Competency ที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้

          จึงมีการประชุม BAR ของ UKM 15 เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 52  ใช้เครื่องมือ “ธารปัญญา” ในการกำหนด HRD Competency   และเปรียบเทียบระหว่างมหาวิทยาลัยสมาชิก   แล้วมหาวิทยาลัยที่แข็งที่ competency ไหนก็เตรียมมาเล่าเรื่องนั้น

          เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดร. ไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ แห่ง มน. โทรศัพท์มาปรึกษาเรื่องการเตรียมจัดประชุม UKM 15   ผมจึงแนะนำว่า นอกจากเดินเรื่องการประชุมด้วย River Diagram แล้ว    ควรเดินเรื่องด้วย HRD 2 แนว    คือแนว Learning กับแนว Training    วิธีการก็ง่ายๆ  แต่ละมหาวิทยาลัยประเมินตัวเองว่าใช้แนว L : T = ? : ? หากจำนวนเต็มเท่ากับ 100   และแต่ละมหาวิทยาลัยลองประเมินว่า HRD 2 แนวนี้ ให้ผลแตกต่างกันอย่างไร   เอามา ลปรร. กัน    และอาจคัดเลือกการดำเนินการ HRD แต่ละแนว ที่ให้ผลดีเป็น SS – Success Story มาเล่าเรื่อง

          เมื่อวันที่ ๒๔ ก.ค. ๕๒ พบ รศ. นพ. วรัญ ตันชัยสวัสดิ์ ผู้แทน มอ. ในเครือข่าย UKM   และ ศ. ดร. สุจินต์ จินายน อธิการบดี มน. จึงเรียนท่านทั้งสองเรื่อง การ ลปรร. ใน UKM 15 ด้วย HRD 2 แนว (แนว Learning กับแนว Training)   ท่านทั้งสองเห็นด้วย

          UKM Network ตั้งขึ้นเพื่อใช้ KM เป็นเครื่องมือพัฒนาเรื่องสำคัญๆ ในการทำหน้าที่มหาวิทยาลัย   ด้วยการ ลปรร. ระหว่างสมาชิก UKM   โดยมีการประชุมกัน ๓ เดือนครั้ง    แต่ละครั้งมีหัวข้อ (theme) ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า    การ ลปรร. มีทั้งแบบ F2F และแบบ B2B    มีการหมุนเวียนกันเป็น coordinator ของเครือข่าย    เวลานี้ มอ. เป็น coordinator โดยมีท่านรองอธิการบดี รศ. นพ. วรัญ ตันชัยสวัสดิ์ เป็นผู้รับผิดชอบ

          สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการ ลปรร. F2F เป็นส่วนใหญ่   มี B2B ที่เป็นการ ลปรร. การทำหน้าที่มหาวิทยาลัยน้อยมาก   B2B เกือบทั้งหมดใช้หนุน F2F

          ผมจึงเห็นโอกาสพัฒนา UKM Network อีกมาก   หากต้องการใช้ UKM ให้ได้คุณค่าสูงแก่มหาวิทยาลัยสมาชิก  

วิจารณ์ พานิช
๒๗ ก.ค. ๕๒

 

คำสำคัญ (Tags): #520727#ukm#ukm15
หมายเลขบันทึก: 280960เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กราบเรียน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์

  • เป็นประโยชน์มากครับ
  • เรียนให้ท่านอาจารย์ทราบ หลายสถาบัน กำลังจะถอดใจ เพราะ ผู้บริหารระดับสูง ไม่เข้าใจถ่องแท้ ของกิจกรรม F2F และ B2B ทั้งๆที่ปรากฎใน มาตรฐานที่สาม ของ ชาติ ครับ

กราบเรียน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ครับ

  • อ่านแล้วได้ประโยชน์จริงๆ ครับ
  • บันทึกนี้ช่วงย่อหน้าแรกดูเหมือนจะเขียนตกไปนิดหนึ่งครับ
  • B2B ใน UKM มีไม่มากนัก เพราะมีตัวแทนมหาวิทยาลัยหน้าใหม่หมุนเวียนกันเข้ามา
  • อย่างไรก็ตาม บันทึกนี้จะนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารที่จะแจกให้ผู้เข้าร่วมเสวนาเครือข่าย UKM ทุกท่านครับ
  • ที่มน.เป็นเจ้าภาพครั้งนี้..หลายท่านอาจสังเกตเห็น..ความจริงบางประการที่ท่านอาจารย์ JJ เขียนไว้ครับ

บรรยากาศการเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 15 ในห้องประชุม "KM in HRD ตามตัวบ่งชี้ กพร." วันแรก

ผองพันธมิตร UKM 7 สถาบัน คือ ม.มหิดล ม.สงขลานครินทร์ ม.วลัยลักษณ์ ม.มหาสารคาม ม.ราชภัฏมหาสารคาม ม.ขอนแก่น และ เจ้าภาพ ม.นเรศวร

ได้ตัวแทนจากทุกสถาบันเล่าเรื่องความสำเร็จในการทำ KM ซึ่งน่าสนใจทุกแห่ง เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่ จุดร่วมที่เห็น ก็คือ ความสำเร็จล้วนแล้วเกิดจากคน รวมถึงบรรยากาศการทำงานที่เอื้อต่อการประสานพลังทั้งสิ้น

บทละเอียดอ่านได้จาก จับภาพ UKM15 ของ อ.สมลักษณ์ beeman

มาฟังบรรยายต่อในช่วงบ่าย ก็คือ ประธาน KM ใหญ่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช คุณหมอมาปาฐกพิเศษ ในหัวข้อ "ถ้าผมเป็นรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบุคคล" ซึ่งมีหลักการตรวจสอบโดยตรวจสอบตัวเองในระยะ 8 ปีกว่าที่ผ่านมา คือ ต้องยึดถือเกณฑ์ พรบ.กพร.

อ่านหลายรอบ และทำหน้าที่ตามนั้น ตีคุณค่าตามความต้องการของเกณฑ์ ที่เราเข้าใจตรงกันหรือไม่ เพื่อตรวจสอบตัวเอง ตรวจสอบการทำงานลึกๆ บางอย่าง เถียงได้ควรจะเถียง ๆ จากบริบทการทำงาน เถียงเพื่อให้ทุกอย่างดีขึ้น

เกณฑ์กพร. อ.หมอ ถือว่าเป็นเกณฑ์กลาง ๆ ต้องนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์

เกณฑ์ทั้งหลายที่มนุษย์ตั้งขึ้น ย่อมทำได้ ทำผิดได้ เราต้องทำงาน เพื่อให้กติกาข้างหลังนี้ดีขึ้น เป็นประโยชน์ต่อสังคม

หลัก K I S S

Keep It... ทำทุกอย่างให้มันง่าย โง่ๆ หน่อย ตลกๆ อย่าทำให้มันยาก

Competency ที่ต้องการ คือ

หารือในกลุ่มผู้บริหาร

มี HRD Expert ช่วย

อย่าลืมหลัก K I S S

ทำคร่าวๆ ให้พอใช้งานได้ คิดง่ายๆ เพื่อการใช้งาน

ใช้หลักการ วิชาการ ก็ได้ โดยใช้เหตุผล

จากทั้งมหาลัย ไปยังคณะ

Learning Competency

เริ่มที่

Shared Vision

1. บอกได้

2.อธิบาย ตีความได้ บอกความสัมพันธ์กับงานของตนได้

3.เข้าร่วมกับความริเริ่ม ตาม V

4 ร่วมทีมแนะนำ ตาม V

5. ริเริ่มกิจกรรมตาม V

การประเมินต่าง ๆ เน้นประเมินเพื่อให้เขาพัฒนาตนเอง ไม่หวาดกลัว

ข้างบน ข้างล่าง ตัวเองประเมินตัวเอง

หัวหน้า ลูกน้อง เพื่อร่วมงาน

ประเมิน 360 องศา

ยกตัวอย่าง แบบประเมินชุดนี้ เฉลี่ย 3.5 ทำไป 1 ปี เป็น 4.2

ให้หน่วยงานย่อยกำหนดเอง ตามเกณฑ์เขาอาจไม่ได้อยู่ที่ 3.5 อยู่ที่ 4

หรือเกณฑ์ปีต่อไป คือ 4.5

ให้ประเมินค่าเฉลี่ยของเขา

เมื่อประเมินแล้วให้มี คำชมที่เขาได้รับคืออะไร ควรปรับปรุงอะไร

มีทั้งคำชม และ คำแนะนำ

จะได้รู้กัน ว่าจริงๆ แล้ว เราควรปรับปรุงตรงไหนมากหน่อย

เวลาจัด อบรม ในปีนี้ เราจะได้จัดตรงตามประเด็นที่ต้องการ

ในที่สุดได้

แผน Learning 1

ทุกหน่วยย่อย 5-10 คน ทำ AAR ทุกสัปดาห์

ใช้ Shared vision เป็นเป้าหมาย มีบันทึกสรุป & BP

หัวหน้าหน่วยย่อย ทำ AAR ทุกสัปดาห์ ใช้ SV มีบันทึกสรุป&BP รายงานขึ้นตามลำดับ ทำ k-base

มี ARR

แผน Learning 2

มีตลาดนัดความรู้ ด้าน... ปีละ 2 ครั้ง

รวม ....... ด้าน ปีละ ... ครั้ง

แต่ละครั้งมีการประกวดเรื่องเล่า ประกวด Best Practice

ครบ 1 ปี

ประเมินตนเอง โดยเพื่อน หัวหน้า ลูกน้อง หาค่าเฉลี่ย

หาค่าเฉลี่ยของหน่วยงาน

เปรียบเทียบกับค่าต้นปี

ทีม... (พิมพ์ช้าไม่ทัน)

เริ่มรอบใหม่

ร่วมกันปรับปรุง Competency

วัด C รอบใหม่

อย่าลืม KISS

อย่าลืมว่าหัวใจคือการพัฒนางาน คน หน่วยงาน (Happy Workplace)

เขียนรายงาน กพร. (หน่วยใด)

ลอกจาก ppt. ของ อ.หมอ วิจารณ์มาให้อ่านกันแล้วนะ พรุ่งนี้ค่อยเล่าต่อก้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท