นโยบายด้านวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหิดล



          เมื่อวันที่ ๑๙ ส.ค. ๕๒ สภามหาวิทยาลัยมหิดลได้ให้นโยบายเกี่ยวกับวิทยาเขต ๓ แห่ง คือกาญจนบุรี, นครสวรรค์, และอำนาจเจริญ ไว้อย่างชัดเจน ๒ ข้อ  คือ

  ให้ดำเนินการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น   ใช้ทรัพยากร จาก/ใน ท้องถิ่น   ส่งเสริมการเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อท้องถิ่น   เน้นการเป็น Wisdom of the Land ในท้องถิ่น    มหาวิทยาลัยมหิดลส่วนกลางออกทรัพยากรความรู้ด้านวิชาการและการบริหารจัดการ   ไม่ใช่งบประมาณ  
         คำว่า “มหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น” หมายความว่า ต้องไม่ใช่การจำลองแบบมหาวิทยาลัยมหิดลที่กรุงเทพไปไว้ที่ต่างจังหวัด   ต้องออกแบบใหม่ให้เหมาะสมแก่ท้องถิ่นนั้นๆ   และต้องมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรขึ้นใหม่ให้เหมาะสมต่อการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อท้องถิ่น


  ให้มีการวางแผนและดำเนินการโดยมองระบบอุดมศึกษาภาพรวมในพื้นที่   ไม่คิด/ทำ แบบโดดเดี่ยว    แต่คิด/ทำ อย่างเป็นระบบร่วมกับสถาบันอื่นๆ ในพื้นที่ 

          กรรมการสภาฯ ได้ให้ความเห็นว่า การสร้างมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดในสภาพปัจจุบัน ต้องเปลี่ยนวิธีคิด/ทำ ไปจากเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว โดยสิ้นเชิง    เพราะสภาพของระบบอุดมศึกษาของประเทศเปลี่ยนไปมาก    จากขาดแคลนเป็นล้น   แต่ต้องการเชิงคุณภาพ    การที่มหาวิทยาลัยในกรุงเทพจะไปทำงานสร้างวิทยาเขตใหม่ในพื้นที่ ต้อง de-learn กระบวนทัศน์เดิม    ใช้กระบวนทัศน์ใหม่   คือกระบวนทัศน์สถาบันอุดมศึกษาที่แนบแน่นอยู่กับท้องถิ่น

วิจารณ์ พานิช
๒๐ ส.ค. ๕๒

 

หมายเลขบันทึก: 291482เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2009 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท