ผลงานวิชาการตีพิมพ์ของประเทศไทยในปี ๒๕๕๒ จำแนกตามสาขาวิชา


 

 

          รศ. ดร. มงคล รายะนาคร ได้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับผลงานวิจัยจากสถาบันและหน่วยงานต่างๆในประเทศไทย ใน ๑๙๐ สาขาวิชา ที่ตีพิมพ์ในช่วง ๑ ม.ค. - ๓๑ ธ.ค. ๒๕๕๒ ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล ISI ทั้ง ๓ ฐาน สำหรับปี ค.ศ. ๒๐๐๙ได้ข้อมูลที่สะท้อนจุดแข็ง-จุดอ่อนของสถาบันต่างๆของไทย รวมถึงแนวโน้มศักยภาพรวมของประเทศเราที่น่าสนใจ ดังปรากฏในไฟล์นี้

 

          ท่านส่งให้กรรมการสภา มช. ผมจึงนำมาเผยแพร่ต่อ

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๓ ก.พ. ๕๓

 

       

       

หมายเลขบันทึก: 339915เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมขอขอบคุณท่านอาจารย์หมอวิจารณ์เป็นอย่างมากครับ ที่นำข้อมูลผลงานวิจัยจากสถาบันและหน่วยงานต่างๆในประเทศไทย ใน 190 สาขาวิชา ที่ตีพิมพ์ในช่วง 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 2553 ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล ISI เผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบ และเพื่อเป็นการขยายความในวิธีการที่ผมได้สืบค้นมาและนำเสนอให้กระจ่างขึ้น จึงขออนุญาตอธิบายความหมายในตาราง RESEARCH PUBLICATIONS BY INSTITUTIONS IN THAILAND ในไฟล์ที่ท่านอาจารย์หมอได้นำลงไว้ในบล็อกสภามหาวิทยาลัย เพิ่มเติมดังนี้

Major Contributing Institutions (>2 Record Counts) หมายถึงรายชื่อสถาบันในประเทศไทยที่เป็นหน่วยงานหลักที่มีผลงานตีพิมพ์ในสาขาวิชานั้น 5 ลำดับแรก แต่เมื่อเรียงลำดับแล้ว หากลำดับใดมีผลงานไม่เกิน 2 ชิ้นงาน ก็ตัดออก ยกตัวอย่างกรณีสาขา Computer Science, Artificial Intelligence (วิทยาการคอมพิวเตอร์ ปัญญาประดิษฐ์) ประเทศไทยมีผลงานตีพิมพ์เท่ากับ 21 ชิ้นงานในปี ค.ศ. 2009 เรียงลำดับจากจำนวนมากไปหาจำนวนน้อยได้เพียง 3 ลำดับ คือ CU(6), KMITL(4), AIT(3) เนื่องจากลำดับถัดไปคือ KU, MU, N Chiang Mai, KMUTNB… มีผลงานเหมือนกัน แต่น้อยกว่า 3 ชิ้น

อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น สาขา Biotechnology & Applied Microbiology (เทคโนโลยีชีวภาพ & จุลชีววิทยาประยุกต์) ประเทศไทยมีผลงานตีพิมพ์เท่ากับ 215 ชิ้นงานในปี ค.ศ. 2009 เรียงลำดับจากจำนวนมากไปหาจำนวนน้อยได้ 5 ลำดับ คือ MU(52), CU(35), KU(32), PSU(22), CMU(14) แต่ในความเป็นจริงยังมีสถาบันอื่นๆอีกหลายแห่งที่มีผลงานในสาขานี้เหมือนกัน ได้แก่ KMUTT, KKU, SWU, TU, AIT, …แต่จำนวนผลงานไม่อยู่ในลำดับที่ 1-5 จึงไม่ปรากฏในตารางที่แสดง ซึ่งการใช้ลำดับที่ 1-5 เพื่อบ่งบอกศักยภาพความเป็นสถาบันหลักในสาขาต่างๆ ได้รับเสียงสะท้อนมาว่ารับได้ (ดีกว่าการจัดเพียงลำดับ 1-3) เนื่องจากแต่ละสาขาวิชา มีวารสารหลักที่ผู้อยู่ในสาขาวิชาเดียวกันรู้จักและยอมรับ

สำหรับท่านผู้สนใจทั้งหลาย หากมีข้อคิดเห็นในเรื่องนี้เพิ่มเติม โปรดใช้บล็อกสภามหาวิทยาลัยของ KMI ตรงนี้ เป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในวงกว้างมากกว่าการติดต่อถึงผมทางอีเมล์โดยตรงนะครับ (แต่อะไรที่เป็นประเด็นเฉพาะตัว ผมก็ยินดีที่จะรับและตอบทางอีเมล์อยู่ครับ)

เรียน อ.มงคล ที่นับถือ

หนูชื่อ ศศิธร คงทอง เป็นเจ้าหน้าที่สำนักวิจัยและพัฒนา ม.อ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ค่ะ

หนูมีหน้าที่ส่วนหนึ่งคือ search ข้อมูลผลงานตีพิมพ์ในฐานฯ ต่างๆ คล้ายไฟล์แนบเพื่อรายงานผู้บริหาร

หนูรบกวนสอบถาม อ. ดังนี้

1. อ. search ข้อมูลตามไฟล์แนบนี้ โดยใช้ Analyze Results หรือเปล่าคะ

2. ผลการ search ที่ได้นี้ อ.ทำเป็นบทความประเภทใดประเภทหนึ่งหรือไม่คะ หรือเป็นแค่ข้อมูลประกอบการนำเสนอเฉยๆ

3. มหาวิทยาลัยที่ อ. สังกัด มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงาน search ข้อมูลจากฐานฯ inter หรือ national เหมือนที่ อ. search มาหรือไม่คะ

นับถือ

ศศิธร คงทอง

-----------------------------------

สำนักวิจัยและพัฒนา (RDO) ม.อ.

อาคารสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร (LRC) ชั้น 11

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112

มือถือ 0866943379

โทรสาร 0-7421-2839

http://rdo.psu.ac.th

ผมขอตอบคุณศศิธร คงทอง จาก ม. สงขลานครินทร์ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร) เรื่องจำนวนผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลทั้ง 3 ฐาน ของ ISI เผื่อจะมีท่านอื่นมาร่วม ลปรร และเสนอแนะหรือให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้

1. การสืบค้นเมื่อเข้าหน้าแรกของ ISI Web of Knowledge หลังจากที่เลือก Address เป็น Thailand และ Timespan เป็น 2009-2009 แล้ว เลือกคลิก Analyze Results ที่มุมขวาบนของหน้า ได้ผลหน้าถัดไป ในกรณีนี้ เลือกคลิก Rank the records เป็น Subject Area ก็จะได้ชื่อสาขาวิชาต่างๆที่เรียงลำดับจากมากมาหาน้อย ซึ่งถ้าต้องการทราบว่าแต่ละสาขา มีผลงานตีพิมพ์โดยสถาบันต่างๆเป็นจำนวนเท่าใดก็เลือกคลิก View Records ตรงชื่อสาขาวิชานั้นๆ แล้วเข้าสู่ส่วนของ Analyze Results โดยเลือกคลิก Rank the records เป็น Institutions ก็จะได้ผลตามที่ต้องการ

2. ผลการสืบค้นของผมที่ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ได้กรุณานำลงในบล็อกนี้ มิได้เป็นบทความหรืองานวิจัย แต่เป็นการจัดการกับข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการพิจารณา ซึ่งผมหวังว่าผู้ที่มีโอกาสกำหนดนโยบายหรือบริหารงานในสถาบันการศึกษาต่างๆ จะพิจารณานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างมากขึ้น เช่นการระดมทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพในสาขาวิชาเดียวกันแต่ต่างสถาบันกัน มาร่วมกันทำงาน เพื่อให้ประเทศไทยก้าวกระโดดในสาขาวิชานั้นๆได้ เป็นต้น

3. ผมไม่ทราบว่ามหาวิทยาลัยที่ผมเคยสังกัดอยู่ ได้มอบหมายให้ผู้ใดหรือส่วนงานใดรับผิดชอบในงานสืบค้นข้อมูลที่ถามมา แต่คาดว่าน่าจะเป็นสำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำนักหอสมุด หรือศูนย์บริหารงานวิจัย หรืออาจจะเป็นทั้ง 3 ส่วนงานนี้ก็ได้

เนื่องจากลิงค์ที่ให้ไว้ในเรื่องผลงานวิชาการตีพิมพ์ของประเทศไทยในปี ๒๕๕๒ จำแนกตามสาขาวิชา ไปไม่ถึงไฟล์ข้อมูลเดิม เพื่อให้เรื่องนี้ยังจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ยังสนใจอยู่ ผมจึงนำไฟล์เดิมมาใส่ไว้ให้อีกที่นี่Thailand-publications_2009ISI-190areas.pdf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท