บูรณาการระบบวิจัยของประเทศ




          สวทน. เป็นผู้ริเริ่มการประชุมบูรณาการระบบวิจัยของประเทศ โดยเชิญประชุมกันครั้งแรกที่โรงแรมสยาม ซิตี เมื่อ ๒ เดือนที่แล้ว   เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยมาคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นกัน   คนที่มาร่วมบอกว่าดี และนัดกันว่าประชุมครั้งที่ ๒ ที่ สวทช. วันที่ ๕ ก.พ. ๕๓   ทำให้เห็นความหวังในการเชื่อมโยงหน่วยงานด้านการวิจัยเข้าด้วยกัน   ผมมองเป้าหมายที่ผลกระทบต่อบ้านเมือง   ว่าหากเงินลงทุนภาครัฐด้านวิจัยปีละ ๑.๒ หมื่นล้าน ได้ผล x  การมีเครือข่ายนี้จะทำให้ได้ผลเพิ่มเป็น ๑.๒ x ภายในเวลา ๒ – ๓ ปี 

          เริ่มด้วย สวทช. ฉายวิดีโอแนะนำองค์กร  และนำชมกิจการและผลงานอย่างย่อๆ    เพราะถ้าจะชมละเอียดก็จะต้องใช้เวลาหลายวัน  ได้เห็นผลงานที่น่าชื่นใจ  แล้วนั่งรถทัวร์บริเวณ   พบว่าพื้นที่ ๒๐๐ ไร่เต็มแล้ว    เราพูดกันว่าน่าจะซื้อที่ขยายออกไปอีกสัก ๒๐๐ ไร่    หรือมิฉนั้นก็ไปเซ้ง เอไอที เอามาเป็นของไทยเสียเลย 

          สวทช. มี ๔ ศูนย์ และหน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยี  หน่วยบ่มเพาะเทคโนร่วมกับเอกชน  (เวลานี้มี ๖๕ บริษัท และจะเพิ่มเป็น ๒๐๐)  และบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร บ่มเพาะคน   เห็นเด็กนักเรียนมาทำกิจกรรม  มีที่นอน ๒๐๐ คน  และมีโครงสร้างการจัดการแนวนอนเพื่อพุ่งเป้าสู่การใช้ประโยชน์ เรียกว่า cluster

          ในการเยี่ยมชมสถานทึ่และฟังการบรรยายสรุปของผลงานคัดสรร   ผมมองว่า การประชุมแบบนี้ทำให้คนในหน้าที่บริหารจาก วช.  สกอ.  และอื่นๆ ที่ไม่คุ้นกับงานวิจัยทาง ว&ท ได้เห็นสภาพการทำงานวิจัยในสภาพจริง   มีคนพูดว่า ยังกับมาเดินอยู่ในหน่วยวิจัยในต่างประเทศ

          เราได้ฟัง ศ. ดร. มรกต ตันตเจริญ เล่าเรื่อง คลัสเตอร์อาหารและการเกษตร

          ผมชื่นใจ ว่าทักษะในการจัดการงานวิจัยของประเทศไทย ก้าวหน้าไปไกล   จนผมตามไม่ทันเสียแล้ว  แต่ระดับความซับซ้อน (sophistication) ของการจัดการงานวิจัยแตกต่างกันในแต่ละองค์กร

          ดร. นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์  ผอ. สวก. ช่วยให้ผมรู้จัก สกว ว่าเน้นสนับสนุนการวิจัยการเกษตรเชิงพาณิชย์  สร้างคน  และพัฒนาระบบข้อมูล

          ผลงานเด่นคือการผลิตผงไหมเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งบริษัทแก้วหลวงจำกัดนำไปผลิตจำหน่ายในและต่างประเทศ

          รวมเวลา ๗ ปี ใช้เงินไปแล้ว พันล้านบาทเศษ   เป็นงบวิจัยกับเงินพัฒนานักวิจัยครึ่งต่อครึ่ง

          สกว. นำเสนอโครงการ คปก. โดย ศ. ดร. นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย

          สวทน. เสนอเรื่องการบูรณาการงานวิจัย ต่อจากที่ประชุมเมื่อครั้งแรก โดย ดร. พิเชฐ   ได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยในช่วงปี ๕๒ - ๕๓ ที่ได้จาก สวทช. และ สกว.  เฉพาะด้านอาหารและเกษตร  mapping ตามผลิตภัณฑ์  ผู้รับทุน  สาขาวิจัยและผลิตภัณฑ์  พื้นที่วิจัย  ม. ที่รับทุน  และได้เสนอแนวทางบูรณาการงานวิจัย ๓ แนวทาง คือ (๑) การจัดลำดับความสำคัญ  (๒) เป้าหมาย  (๓) บูรณาการตลอดห่วงโซ่มูลค่า

          วช. เสนอยุทธศาสตร์ปฏิรูประบบวิจัย   และการพัฒาระบบฐานข้อมูลการจัดการงานวิจัย

          คุณค่าเพิ่มของวงนี่ คือเชื่อมไซโล ให้เป็น value chain  เกิด synergy   ช่วยการ do the things right ของแต่ละหน่วยงาน

          ผมได้ให้ความเห็น ๒ ข้อ

๑.   คุณค่าของการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายหลวมๆ พบกันเป็นช่วงๆ   เพื่อประโยชน์
      -  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้น ลปรร. จาก SS – Success Story
      -  รู้เขา รู้เรา
      -  หาทางร่วมมือกัน เพื่อเชื่อม silo   สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศ
      -  ช่วยให้แต่ละหน่วยงาน โฟกัสกิจกรรมของตนได้อย่างมียุทธศาสตร์มากขึ้น


๒. แนวทางดำเนินการของเครือข่าย
      -  สวทน. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพรวมของระบบวิจัยของประเทศ   สำหรับนำมาใช้ขับเคลื่อนความร่วมมือ   และการทำงานของแต่ละองค์กร
      -  ต่อยอดความสำเร็จ ขยายผล
      -  ใช้หลักการเครือข่าย คือความสัมพันธ์แนวราบ เป็นอิสระต่อกัน ในลักษณะ independent but interdependent เพื่อทำงานให้แก่ประเทศ  
      -  ความร่วมมืออาจเป็น bilateral หรือ multilateral ก็ได้   แล้วแต่ความเหมาะสม   โดยไม่จำเป็นต้องเอาโครงการความร่วมมือมาขอความเห็นชอบจากที่ประชุมเครือข่ายก่อน   ยุทธศาสตร์ความร่วมมือที่สำคัญคือ ร่วมที่ความสำเร็จของบางองค์กร ร่วมมือกันเพื่อขยายความสำเร็จนั้นให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศยิ่งขึ้น 

          ผมไม่ได้สรุปแบบยึดความครบถ้วน   แต่เขียนบันทึกไว้ใช้เตือนความจำของตนเอง 

 

 

วิจารณ์ พานิช
๙ ก.พ. ๕๓

                               

 
หมายเลขบันทึก: 341054เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2010 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 12:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท