kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 8 (2) : เรื่องราวเกี่ยวกับผู้สูงอายุจากหมอนน คนขยัน


              จากบันทึกเรื่อง การส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 8 (1) : ทำอะไร ใครประชุมบ้าง  เมื่อแนะนำทีมงาน และผู้เข้าประชุมแล้ว  ศุนย์อนามัยที่ 8 ก็ได้รับความอนุเคราะห์จาก หมอนนคนขยัน  มาบรรยายใน 2 หัวข้อคือปัญหาทันตสุขภาพในผู้สูงอายุ และเรื่องการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้ศุงอายุ

 

หมอนน เริ่มด้วยการพูดถึงนโยบายกระทรวงสาธารณสุข : ซึ่งเน้นในเรื่อง

  • การป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ  ... 1 ใน 10 นโยบายมุ่งเน้นพิเศษ   พร้อม 3 หลัก ... โปร่งใส – สามัคคี - มีส่วนร่วม
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  (ดูแลโดยชุมชนและบริการส่งเสริมป้องกันระดับปฐมภูมิ)
  • การบูรณาการบริการผู้สูงอายุระดับตติยภูมิ  (เชื่อมโยงระบบจากบริการส่งเสริมป้องกันระดับปฐมภูมิ สู่การรักษา ฟื้นฟูสภาพในระดับตติยภูมิ)

        การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ  เป็น  1 ใน 5 ประเด็นยุทธศาสตร์กรมอนามัย : โดยมีเป้าประสงค์ : ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ   คือ

1.  สุขภาพดีทั้งทางร่างกายจิตใจ และสังคม

  • สุขภาพกายดี คือ ไม่มีโรค หรือมีแต่ควบคุมได้ เช่นความดันไม่เกิน 140/90 มม.ปรอท หรือเบาหวานไม่เกิน 126 mm/dl
  • สุขภาพจิตดี คือ ร่วมกิจกรรมกับครอบครัว และ/หรือเพื่อนบ้านประจำ   เมื่อมีปัญหาไม่สบายใจ สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องปรึกษาเจ้าหน้าที่    ลูกหลานให้ความเคารพนับถือ หรือมาปรึกษาหารือ    ลูกหลานมาเยี่ยมหรือดูแลเอาใจใส่ 
  • สุขภาพสังคมดี คือ เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในชุมชน  ร่วมทำกิจกรรม พัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน

2.  มีฟันใช้งานได้อย่างเหมาะสม คือมากกว่า 20 ซี่ และฟันหลังสบกันอย่างน้อย 4 คู่

3.   ดัชนีมวลกาย ระหว่าง 18.5-24.9 กิโลกรัม/เมตร   และรอบเอวอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือผู้ชายไม่เกิน 80 ซ.ม. ผู้หยิงไม่เกิน 80 ซ.ม.

4.  ช่วยเหลือตนเอง และ/หรือ ผู้อื่นได้ ตามอัตภาพ ไม่ติดเตียง ถึงแม้จะติดบ้าน หรือติดสังคมก็ตาม

5.   มีการออกกำลังกายตามความเหมาะสม อย่างน้อยสับดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที

         จากสถานการณ์ที่ผู้สูงอายุมีโรคอย่างน้อย 1 โรค ร้อยละ 72.5  โดยโรคที่เป็นมากที่สุดคือความดันโลหิตสูง และเบาหวาน และเมื่อสูงอายุขึ้นต้องอาศัยคนดูแลมากขึ้น และจากสถานการณ์พบว่าผู้สูงอายุมีฟันมากกว่า 20 ซี่ ร้อยละ 54.8   และมีฟันอย่างน้อย 4 คู่สบร้อยละ 50.2  (ปี 2552) เมื่อเทียบจากวัยทำงานที่มีฟันมากกว่า 20 ซี่ร้อยละ 96.2  จะเห็นได้ว่าจำนวนการสูญเสียฟันจากวัยทำงานถึงผู้สูงอายุมีค่อนข้างมาก  ทั้งนี้อาจเนื่องมากจากผู้สูงอายุจะเป็นโรคปริทันต์ และรากฟันผุมากขขึ้น ซึ่งโรคเหล่านี้รักษาได้ยากและเป็นสาเหตุของการสูญเสียฟันในกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด

         นอกจากนั้นจากการพบว่า สุขภาพช่องปาก มีความสัมพันธ์กับโรคทางระบบ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ  และสุขภาพฟัน สัมพันธ์กับความสุข และประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร รวมทั้ง ความมั่นใจ ในการเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม  ความเจ็บปวด ไม่สบายจากฟัน มีผลต่อการพักผ่อน     นอนหลับ การทำงาน และการทำกิจกรรมตามปกติ  การสูญเสียฟันและจำนวนฟันที่เหลือ มีผลต่อการเคี้ยวอาหาร การเลือกชนิดอาหาร ส่งผลต่อภาวะโภชนาการ  ผู้สูงอายุที่มีปัญหาจากการเคี้ยวอาหาร มีโอกาสเกิด underweight เป็น 3 เท่า ของผู้ที่ไม่มีปัญหา

จากกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง”  และปัญหาหลักในกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ การสูญเสียฟันจนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้   เสี่ยงต่อการสูญเสียฟัน จากรากฟันผุ และปริทันต์  และ ศักยภาพและความใส่ใจในการดูแลอนามัยช่องปากลดลง ทำให้เกิดความคิดในการจัดทำโครงการดูแลสุขภาพในช่องปากของผู้สูงอายุ  โดยกรมอนามัยได้จัดให้มีโครงการเกี่ยวกับผู้สูงอายุดังนี้

  • ฟันเทียมพระราชทาน
  • บริการทันตกรรมป้องกัน ตามชุดสิทธิประโยชน์
  • การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดยชมรมผู้สูงอายุ
  • การสร้างกระแสฟันดี : ประกวด “10 ยอดฟันดี วัย 80 ปี

เพื่อ

  • คงสภาพช่องปากที่ดีให้นานที่สุด
  • ลดการสูญเสียฟัน
  • มีฟันเทียมทดแทนฟันที่สูญเสียไป

 

หมายเลขบันทึก: 342955เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท