kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 8 (3) : ทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุจากหมอนน คนขยัน


         จากบันทึก การส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 8 (2) : เรื่องราวเกี่ยวกับผู้สูงอายุจากหมอนน คนขยัน  หลังจากนั้น หมอน ให้ผู้เข้าร่วมประชุมจับคู่กันเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ผ่านมา เขียนในแผ่นกระดาษ โดยผู้ฟันเป็นคนบันทึก ซึ่งเรื่องราวต่าง ๆ  หมอนนคงจะนำมาเล่าให้ฟังโดยละเอียดแล้วนะครับ

        หลังจากมีการนำเสนอบางส่วน เพื่อทราบว่าแต่ละคนทำงานเป็นอย่างไรมาแล้วบ้าง  หมอนน ก็บรรยายในหัวข้อที่ 2 ทันทีเลย

การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก โดย ชมรมผู้สูงอายุ

      เพื่อสนับสนุนชมรมผู้สูงอายุ ให้สามารถจัดกิจกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง

  • เป้าหมายปี 2553 – 1 จังหวัด อย่างน้อย 1 ชมรมผู้สูงอายุ
  • เป้าหมายปี 2554 – 1 อำเภอ อย่างน้อย 1 ชมรมผู้สูงอายุ
  • งบประมาณ – งบฯ จังหวัด / P&P area-based กองทุนสุขภาพตำบล
  • การรายงาน – ผ่านศูนย์อนามัย    ครั้งที่ 1 ภายใน 31 มีค.53 (6 เดือน)  ครั้งที่ 2 ภายใน 31 พค.53 (9 เดือน)  ครั้งที่ 3 ภายใน 30 กย.53 (12 ดือน) หรือ ทุกเดือน

การดำเนินงานที่ผ่านมา

  • เริ่มต้น หลังโครงการฟันเทียมพระราชทาน (ปี 2548)
  • ปี 2549-2500 – ช่วงของการพัฒนารูปแบบฯ
    พื้นที่ดำเนินการ : ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ลำปาง และเชียงใหม่
  • ปี 2551-2552 – ช่วงของการสร้างเครือข่ายการจัดกิจกรรมฯ โดยผ่านการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมกับพัฒนาชมรมผู้สูงอายุฯ ภาคใต้
    เครือข่ายชมรมผู้สูงอายุจัดกิจกรรมฯ 54 จังหวัด 240 ชมรม
  • ปี 2553-2554 – ขยายการดำเนินงานทุกพื้นที่ (75 จังหวัด)

          ความเป็นไปได้ในการดำเนินงานจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยชมรมผู้สูงอายุ 3 รูปแบบ

  1. ชมรมผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม กับหน่วยงานสาธารณสุข
  2. หน่วยงานสาธารณสุขสนับสนุนกิจกรรม ของชมรมผู้สูงอายุ
  3. ชมรมผู้สูงอายุจัดกิจกรรมเอง

สำหรับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในชมรมผู้สูงอายุ  เช่น

จัดกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง

  • จัดให้มีการแปรงฟัน ในวันที่มีการทำบุญที่วัด
  • การแปรงฟันแท้ในผู้สูงอายุยังไม่มีฟัน
  • การแปรงฟันเทียม สำหรับผู้ที่ใส่ฟันเทียม
  • จัดให้มีการรับประทานอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
  • การบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า

สร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

  • จัดทำไม้คนทา เป็นอุปกรณ์เสริมการทำความสะอาดช่องปาก
  • จัดทำกระเป๋าถือ สำหรับใส่ยาสีฟัน และแปรงสีฟัน
  • ใช้เพลงพื้นบ้านกระตุ้นการดูแลสุขภาพช่องปากตัวเอง

เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในชุมชน

  • ประกวดผู้สูงวัยฟันดี
  • ตั้งกองทุนแปรงสีฟัน / ยาสีฟัน
  • จัดทำข้อตกลงเพื่อประชาชนสุขภาพช่องปากดี
  • จัดมุมความรู้เรื่องสุขภาพช่องปาก

แนะนำ และฝึกสอนการแปรงฟันในชมรม

  • ด้วยโมเดล
  • ด้วยการย้อมสีฟัน
  • ด้วยการสาธิต

แกนนำตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

  • แนะนำการแปรงฟันให้พระ และประชาชนในชุมชน
  • ตรวจช่องปากให้สมาชิกในชมรม ผู้ป่วย เมื่อออกเยี่ยมบ้าน
  • ตรวจฟันให้ลูกหลานที่บ้าน
  • บันทึกผลการตรวจ และส่งต่อเพื่อรับการรักษาในโรงพยาบาล

 

การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

  • คิดบนพื้นฐานของประสบการณ์จริง จาก รพ.ดำเนินสะดวก รพ.บ้านเขว้า รพ.คอนสวรรค์ รพ.ลำปลายมาศ รพ.แจ้ห่ม รพ.เกาะคา รพ.แม่ทะ และเครือข่ายต่างๆ
  • อาจารย์ที่ปรึกษา อ.มัทนา (พฤกษาพงศ์) เกษตระทัต คณะทันตแพทยศาสตร์ มธ.

      เพื่อให้เกิดเกณฑ์กลางเพื่อใช้ในการจัดระดับชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก  จึงจัดให้มี มาตรฐานชมรมผู้สูงอายุด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก   กรมอนามัย  มี 4  ด้าน คือ

ด้านโครงสร้างชมรมผู้สูงอายุ

  • มีกรรมการชมรมฯ ครบองค์ประกอบ
  • มีหน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลให้การสนับสนุน

ด้านการบริหารจัดการ

  • มีการมอบหมายบุคคลจัดกิจกรรม
  • การพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุฯ ในรูปแบบต่างๆ
  • สมาชิกชมรมผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมฯ
  • ความครอบคลุมผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม
  • การประเมินผลการจัดกิจกรรม
  • มีข้อมูลด้านสุขภาพช่องปากของสมาชิกที่ทันสมัย

ด้านกิจกรรมที่เกิด

  • กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เช่น การให้ความรู้ การฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปาก การแปรงฟันฯ การตรวจสุขภาพช่องปากโดยสมาชิกชมรม
  • กิจกรรมการสร้างบรรยากาศฯ เช่น มุมความรู้ สถานที่จัดกิจกรรมฯ มีแหล่งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ดูแลสุขภาพช่องปาก มีพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาเรื่องกิจกรรม มีกิจกรรมสร้างกระแสต่างๆ

ด้านการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ

  • โดยการดูงาน ทำประชาคม
  • มีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมในชมรมฯ
  • มีการเรียนรู้กับที่อื่นๆ หรือเป็นที่ศึกษาดูงาน
  • มีการเรียนรู้กันเองในชมรม

       จากนั้นหมอนน ได้ยกตัวอย่างกิจกรรมการดำเนินงานในชมรมผู้สูงอายุ ทั่วประเทศที่หมอนนไปเยี่ยมมา ซึ่งติดตามได้ที่ http://gotoknow.org/blog/km-dental-nonta  ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ขอบคุณหมอนนครับ

หมายเลขบันทึก: 342957เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท