BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปฐมพุทธพจน์


ปฐมพุทธพจน์

อ้างถึงบันทึกเรื่อง เจาะ (เพ่ง), ความว่างเปล่า... ใคร? เป็นอย่างนี้บ้าง ... ซึ่งเป็นความรู้สึกส่วนตัวที่บรรยายออกไป...

ถามว่าคำตอบนี้ พอจะค้นหาได้ในคำสอนทางพระพุทธศาสนาหรือไม่ ? ... ผู้เขียนคิดว่า ปฐมพุทธพจน์ และ พุทธอุทาน พอจะขยายความเป็นคำตอบนี้ได้ ดังนั้น จึงจะนำปฐมพุทธพจน์มาขยายความในบันทึกครั้งนี้...

สำหรับ ปฐมพุทธพจน์ เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าตรัสครั้งแรกกับพระองค์เองหลังจากได้ตรัสรู้แล้ว มีทั้งหมด ๒ คาถากึ่ง (๕บรรทัด) โดยคาถาแรกว่าดังนี้

อะเนกชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง

คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง

ข้าพเจ้าเมื่อยังไม่พบ แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างสร้างเรือน ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารเป็นอเนกชาติ การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์

คำว่า ข้าพเจ้า ก็คือใจของเรานั่นเอง เมื่อใจของเรา ยังไม่พบสิ่งที่เรากำลังค้นหา เราก็จะแสวงหาต่อไป ....สิ่งที่เราแสวงหาคืออะไร ก็คืออะไรก็ได้ที่จะสร้างสิ่งต่างๆเพื่อตอบสนองเราได้... โดยสมมุติว่านั่น คือ นายช่างสร้างเรือน.. เมื่อนายช่างคนนี้ตอบสนองให้เราไม่ได้ เราก็ไปหานายช่างคนต่อไป และคนต่อไป ๆ ๆ เรื่อย..

 คำว่า ชาติ แปลว่า การเกิด เมื่อความคิดเกิดขึ้น นั่นเรียกว่า ชาติ ...ความคิดที่เกิดขึ้นแล้วก็จะปรุงแต่งจินตนาการไปเรื่อยๆ จนระยะหนึ่ง ก็จะหยุดเรื่องนั้น... และแล้ว ความคิดใหม่ หรือชาติใหม่ก็เกิดขึ้น เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ...

การความคิดปรุงแต่งจินตนาการไปเรื่อยๆ นั้นเรียกว่า ท่องเที่ยว ....คำว่า สงสาร ตามศัพท์แปลว่า แล่นไปพร้อม หมายถึง จินตนาการที่ผสมผสานอะไรหลายๆ อย่างเข้าไว้ด้วยกันแล้วชวนกันปรุงแต่งอยู่ภายในใจนั่นเอง...

ท่องเที่ยวไปสู่สงสารเป็นอเนกชาติ ก็หมายถึง การที่ใจของเรามีจินตนาการเกี่ยวกับเรื่องนั้น ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ ควรจะเป็นอย่างนั้นๆ (นี้คือสร้าง)... ซึ่งพอเราล้มเลิกสิ่งนั้นแล้วไปคิดสิ่งใหม่ ก็คือ การเกิดใหม่ครั้งหนึ่ง... เมื่อเป็นไปอย่างนี้หลายๆ ครั้ง ครั้งแล้วครั้งเล่าก็เรียกว่า อเนกชาติ..

อาการที่ใจจินตนาการเรื่องนี้ แล้วดับไป... ไปจินตนาการเรื่องโน้นแล้วดับไป...  กลับมาจินตนาการเรื่องนั้นแล้วดับไป...ทำนองนี้ ครั้งแล้วครั้งเล่า พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ นั่นคือ การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ (ทุกขา ชาติ ปุนับปุนัง)

....

หมายเหตุ ตามที่ขยายความนี้ เป็นเพียงในชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจอธิบายข้ามภพข้ามชาติก็ได้...และในอินเตอร์เน็ตก็มีผู้แปลและอธิบายไว้เยอะ ผู้สนใจค้นหาเพิ่มเติมได้..

อนึ่ง ส่วนที่เหลือผู้เขียนค่อยขยายความต่อไป... 

คำสำคัญ (Tags): #ปฐมพุทธพจน์
หมายเลขบันทึก: 87405เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2007 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ต่อให้มีคนมาบอกว่าทางโน้นทางนี้ไม่มีช่าง แต่อดสงสัยไม่ได้อยู่ดี ก็เลยต้องเที่ยวไปดูเอง เสียเวลา แต่ก็คงเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับคนโง่ๆ ที่คนโง่ๆแบบผมจะคิดได้ :-P

นมัสการค่ะ

เข้าใจมากขึ้น เกิดดับอยู่ที่ใจ แล้วจะเกิดทำไม เบื่อเสียเวลา แต่เบื่อท่านก็ว่าทุกข์ใช่ไหมคะ งั้นเฉยๆ ทำยาก แต่ก็ฝึกอยู่แล้วก็เผลอเหมือนกัน

Pkrutoi

 

เพ่งพินิจ ความคิดที่เกิด-ดับ และแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ... จะทำให้ตระหนักถึงสภาพใจได้ดียิ่งขึ้น....

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท