BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

โพชฌงค์ ๗ : องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้


โพชฌงค์

คำว่า โพชฌงค์ (โพชฌะ+องค์) แปลว่า องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ คือ

  • สติ
  • ธัมมวิจยะ
  • วิริยะ
  • ปิติ
  • ปัสสัทธิ
  • สมาธิ
  • อุเปกขา

สติ แปลว่า ความระลึกได้... นั่นคือ เมื่อใจของเราระลึกได้ในขณะนั้น

ธัมมวิจยะ แปลว่า สอดส่องธรรม... นั่นคือ เมื่อใจระลึกได้ ก็สอดส่อง ตรวจสอบ พิจารณาสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ในใจ หรืออารมณ์ขณะนั้น

วิริยะ แปลว่า ความเพียร... นั่นคือ เมื่อเราตรึกตรอง พิจารณาสิ่งที่มีอยู่ในใจขณะนั้นแล้ว เพียงประเดียวหนึ่ง ใจเราก็อาจจะเผลอและส่ายไปหาสิ่งอื่น... ดังนั้น เราต้องมีความเพียรเข้าไปสนับสนุนให้การสอดส่องธรรมดำเนินต่อไปได้

ปิติ แปลว่า ความอิ่มใจ... นั่นคือ เมื่อเราตรึกตรอง สอดส่องธรรมอยู่ มีความเพียรคอยประคับประคองให้อาการเช่นนี้ดำเนินไปอยู่ ความอิ่มใจก็ค่อยๆ ปรากฏขึ้นภายในใจ

ปัสสัทธิ แปลว่า ความสงบระงับ.... นั่นคือ เมื่อใจเกิดความเอิบอิ่ม แล้ว อาการสงบระงับแห่งใจก็ค่อยๆ เกิดขึ้นมา

สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่น .... นั่นคือ เมื่อใจสงบระงับแล้ว ใจก็จะกลับมาตั้งมั่นมากกว่าเดิม

อุเปกขา แปลว่า ความวางเฉย... นั่นคือ เมื่อใจมีความตั้งมั่นมากกว่าเดิม หรือสมาธิหยั่งรากลึกลงไปแล้ว ก็จะวางเฉยไม่ยินดียินร้ายต่ออารมณ์ที่มากระทบ...

....กระบวนการของธรรมเหล่านี้จะเป็นไปตามธรรมชาติ....

หมายเหตุ...

โพงฌงค์ ๗ นี้ มีอรรถลึกซึ้ง ผู้สนใจค้นหารายละเอียดได้จากตำราด้านอภิธรรม หรือผู้ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอภิธรรมได้บรรยายไว้ ซึ่งในอินเตอร์เน็ตก็มีอยู่หลายสำนวน...   

คำสำคัญ (Tags): #โพชฌงค์ 7
หมายเลขบันทึก: 88819เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2007 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
สาธุ สาธุ สาธุ ครับพระคุณเจ้า

สาธุค่ะพระคุณเจ้า

เห็นภาพโภชฌงค์ ๗ เป็นกระบวนการชัดเจนเลยค่ะ

เมื่อมีสติ สามารถระลึกได้ และหากมีความเพียร ก็จะเกิดปิติ เกิดความสงบ เกิดความตั้งมั่น และอุเบกขาในที่สุด

ขอบพระคุณมากค่ะ

ที่จริงกระผมเคยใช้วิธีการเพ่งธรรมเพื่อระงับอาการป่วยทางกาย...

 

โดยการนึกถึงความจริงความเป็นไปแห่งการป่วยไข้ โรค อาการ กับกายของเราล้วนสัมพันธ์กัน.......ก็พอบรรเทาได้ครับ

 

นึกมานานเหมือนกันว่าต้องมีกระบวนการของธรรมเหล่านี้จะเป็นไปตามธรรมชาติ...โพชฌงค์ ๗

 

 

 

 

P

วิริยะ คือ ความเพียร ตามที่ว่ามา มิใช่ความขยันทางกาย...

แต่.. เป็นความเพียรทางใจ คือ การที่ใจประคับประคองการตรวจสอบ พินิจพิจารณา สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ภายในใจให้ดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ...

ความเพียรทางใจ ทำนองนี้ เป็นเจตสิก เรียกว่า วิริยเจตสิก...

วิริยเจตสิก นี้ เป็นสัพพสาธารณเจตสิก ... จัดเป็น กลางๆ เข้าฝ่ายไหนก็ได้ คือ เข้าฝ่ายกุศลก็จัดเป็นกุศล หรือเข้าฝ่ายอกุศลก็จัดเป็นอกุศล...

อาจารย์... อาจค้นหาเพื่อศึกษาต่อไปในประเด็นเหล่านี้ได้....

โดยส่วนตัว อาตมาก็ไม่ค่อยเข้าใจลึกซึ้งนัก...

เจริญพร 

P

นั่น...เป็น บารมีธรรมของท่านเลขาฯ...

มีเรื่องเล่าว่า...เจ้าประคุณสมเด็จรูปหนึ่ง นอนอาพาธอยู่...ท่านคึกฤทธิ์เป็นศิษย์คนสนิทก็มักจะไปเยี่ยมไปเฝ้าอยู่เสมอ...

เมื่อมีเวทนากล้า เจ้าประคุณสมเด็จก็ ร้อง... โอยยยยยยย ปวดดดดดดดดดด ปวดเหลือเกินนนนนนน... ประมาณนี้

ท่านคึกฤทธิ์ ก็มักจะบอกว่า มันไม่เที่ยง ขอรับ...

เป็นไปทำนองนี้ หลายครั้ง หลายคราว...

เจ้าประคุณสมเด็จก็บอกว่า ...

เออ.... รู้แล้ว แต่มันเจ็บนี้หว่า.....

(................)

เจริญพร 

กราบนมัสการหลวงพี่ P BM.chaiwut

เคยอ่านเกี่ยวกับเรื่องเจตสิกนี้อยู่เหมือนกันค่ะ แต่ยังไม่ได้ค้นคว้าจริงจัง ถ้ามีหนังสือผ่านมาให้อ่านจึงจะได้อ่านค่ะ จำได้ว่าไม่ค่อยเข้าใจเรื่องเจตสิกบางเรื่องเหมือนกัน แต่จะไปค้นคว้าเพิ่มเติมตามที่หลวงพี่แนะนำค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

กราบขอบพระคุณครับ ท่าน BM.chaiwut
    อ่านการนำเสนอของท่าน .. มันล้วนกระชับ ชัดเจน และ ชวนติดตามเสมอ ทุกๆเรื่องครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท