สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง“ ประเทศต้องปฏิรูปอย่างไรเพื่อเกษตรกรไทยพ้นวิกฤต”(ต่อ)


ขอสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง

“ ประเทศต้องปฏิรูปอย่างไรเพื่อเกษตรกรไทยพ้นวิกฤต”(ต่อ)

จากการระดมความเห็นผู้เข้าประชุมในช่วงบ่ายของการประชุมมี 2 ประเด็นหลักคือ

(1) ปัญหาที่มีความสำคัญสูงสุดและจำเป็นต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วนเนื่องจากส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ความปลอดภัย ความมั่นคงด้านอาหาร ความยั่งยืนของภาคเกษตรกรรม ความเข้มแข็งของชุมชน และสังคมไทยโดยรวม สรุปได้ดังนี้คือ

1.เกษตรกรไม่เข้าใจเรื่องการเจรจาการค้าเสรี(FTA) และไม่มีความมั่นใจหรือศรัทธาในคุณค่าของเกษตรกรรม กระบวนทัศน์และวิธีคิดของเกษตรกรไม่ชัดเจนเน้นการเกษตรเชิงเดี่ยวและการใช้สารเคมี  ถูกครอบงำทางความคิดทำการเกษตรเพื่อการค้ามากกว่าทำการเกษตรตามภูมิปัญญา

2.ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากร/ใช้ทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพ เสื่อมโทรม เกษตรกรไม่มีที่ดินทำกิน ที่ดินเสื่อมสภาพมาก

3.ปัญหาความอ่อนแอของเกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ขาดองค์ความรุ้ในการทำเกษตรยั่งยืน

4.ปัญหาขาดการสืบทอดอาชีพเกษตรกรรม คนรุ่นใหม่ไม่นิยมการทำการเกษตร อันเนื่องมาจากระบบการศึกษาสอนให้เกษตรกรห่างไกลจากอาชีพเกษตรกรรม

5.ปัญหาการทำงานของภาครัฐที่ไม่ทันกระแสโลก ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายส่งเสริมพืชพลังงานทำให้มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร การปล่อยให้มีการโฆษณาชวนเชื่อ เจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนเป็นเครื่องมือนายทุน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปมีบทบาทต่ออาชีพเกษตรค่อนข้างน้อย นโยบายการเกษตรด้านคุณภาพชีวิตเกษตรกรไม่ชัดเจน การพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชนเช่นสร้างโรงไฟฟ้า การทำงานภาครัฐไม่ประสานงานกันเท่าที่ควร

6.ปัญหาการส่งเสริมการบริโภคสีเขียวยังไม่แพร่หลายยังอยู่ในวงแคบ บางกลุ่มเท่านั้น

7.ปัญหาการผูกขาดด้านเมล็ดพันธุ์และการตลาด ทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนเองได้ต้องซื้อทุกฤดูกาล

ทางออก

1.การบริโภคอย่างยั่งยืน ขยายวงให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการเกษตรยั่งยืนให้มากขึ้น

2.ภาครัฐให้ความสำคัญการผลิตที่ไม่เน้นการส่งออก

3.ส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้ทำเกษตรกรรม

4.ลดการใช้สารเคมีและห้ามการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องการใช้สารเคมี

5.ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันมากขึ้นเพื่อจะได้มีพลังต่อรอง

6.เน้นให้มีการใช้พันธุกรรมท้องถิ่นทั้งพืชและสัตว์มากขึ้น

(2) สปกช.ควรมีบทบาทและดำเนินยุทธศาสตร์ตลอดจนมีแผนการดำเนินงานอย่างไร ในช่วงเวลา 3 ปี สรุปได้ดังนี้คือ

1.สร้างฐานข้อมูลที่เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย มีองค์ความรู้ที่เปรียบเทียบและเข้าใจ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ให้เกษตรกรได้รับรู้ทันต่อสถานการณ์ โดยมีบุคลากรมืออาชีพเป็นผู้จัดเก็บ และทำให้น่าสนใจ

2.มียุทธศาสตร์เชิงรุกในการสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ในการปฏิรูประบบและยุทธศาสตร์ด้านการฟื้นฟูภูมิปัญญาเกษตรกรรมยั่งยืน

3.มีการทำสมัชชาทุกระดับโดยเฉพาะระดับพื้นที่ ควรทำงานโดยใช้ชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อน

4.เชื่อมโยงภาคีต่าง ๆ โดยเฉพาะเกษตรกรและเครือข่ายผู้บริโภค  สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและพัฒนาศักยภาพเกษตรกร  สนับสนุนให้มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้

5.ควรกำหนดวิสัยทัศน์ สปกช.ให้ชัดเจน

6.จัดทำข้อเสนอให้รัฐเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างกองทุนเกษตรกรรมยั่งยืนจากภาษีสารเคมี

7.สนับสนุนการสร้างทายาทในภาคการเกษตรและสร้างศักดิ์ศรีของเกษตรกรกลับคืนมา รวมทั้งสร้างสิทธิเกษตรกรในการเป็นเจ้าของพันธุกรรม

 

ผลการประเมินผู้เข้าร่วมสัมมนาพบว่า ผู้เข้าสัมมนามีความพึงพอใจต่อสถานที่จัดประชุม อาหารกลางวันและอาหารว่าง วัน/เวลาในการประชุม เนื้อหาสาระการประชุม การได้รับประโยชน์จากการประชุมในระดับมากทุกประเด็น และยินดีจะเข้าร่วมประชุมในครั้งต่อไปอีก

ธุวนันท์ พานิชโยทัย

19 ก.พ.53

หมายเลขบันทึก: 338088เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2010 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 20:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • สวัสดีครับอ.ธุวนันท์
  • เห็นด้วยกับความเห็นที่ว่าเชื่อมโยงภาคีต่าง ๆ โดยเฉพาะเกษตรกรและเครือข่ายผู้บริโภค  สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและพัฒนาศักยภาพเกษตรกร  สนับสนุนให้มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
  • สำหรับหน่วยงานและองค์กรแห่งการประสานงานจะต้องจะต้องออกแรงให้มากหน่อยนะครับครับ
  • ขอให้อาจารย์มีความสุขกับงานที่ทำนะครับ

สวัสดีค่ะ...พี่หม่า

  • ไม่เจอกันนานมาก...พี่หม่าสบายดีนะคะ
  • ขอบคุณนะคะที่เล่าเรื่องราวการทำงานดีดี...มา ลปรร.
  • น่าตกใจค่ะ...เมื่อพูดถึงการเกษตรกับน้องๆนักเรียนและเยาวชน ปัจจุบันไม่มีคนจะเรียนเกษตรกันแล้วค่ะ
  • อย่างลำพูนบ้านลำไยเมืองลำไย...น้องๆยังไม่รู้กันเลยว่าลำไยที่ปลูกพันธ์อะไร...น่าใจหายจริงๆค่ะ
  • จังหวัดลำพูนโดยท่าน ผวจ.จึงทำโครงการขับเคลื่อนภาคเกษตรเข้าสู่สถาบันการศึกษา พอดีหนูเป็นคณะวิทยากรด้วย ตอนนี้กำลังจะร่วมทำหลักสูตรแกนมัธยมกับเด็กในวิทยาลัยเกษตร สาขาลำไยครบวงจรเลยตั้งแต่การผลิตถึงการแปรรูปและการตลาด และร่วมกับการศึกษานอกโรงเรียนฯเปิดหลักสูตร ลำไยนี่แหละให้เกษตรกรชาวสวนลำไยเข้ามาศึกษาแล้วเทียบโอนหน่วยกิต...เราก้อจะได้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เค้าทำดีดี...มาเป็นองค์ความรู้เพื่อที่จะถ่ายทอดได้อีกเยอะแยะนะคะ...คงทันเปิดเทอมหน้านี้ค่ะ...เสียดายโครงการฝึกอาชีพการเกษตรในโรงเรียนของเรานะคะ...หายไปซะแล้ว
  • ขอให้พี่หม่ามีความสุขกับการทำงาน...และรักษาสุขภาพนะคะ
  • ด้วยความเคารพค่ะ
  • น้องแดง...ประหยัด หละปูนเจ้า

เรียนคุณเขียวมรกต

ขอบคุณมากเลยคะ เราต้องช่วยๆ กันนะคะ

คิดถึงเสมอคะ คงได้ร่วมงานกันอีก

สวัสดีดะน้องแดง

  • เห็นข่าวบอกว่าแดงจบดร.แล้ว ดีใจด้วยนะคะ
  • การสืบทอดอาชีพเกษตรสำคัญมาก
  • แดงได้สร้างบุญกุศลให้กับประเทศ
  • ขอบคุณคะ

                 

สวัสดีครับ...อ.ธุวนันท์

 - เช่นกันหายไปเหมือนกันครับ.

 - เพิ่งรู้ ! สปกช. คืออะไร นึกว่าเกี่ยวกับสำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแห่งชาติอะไรทำนองนั้น

 - มารู้และเข้าใจ เมื่อ 15 ก.พ. 53 กับ อ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา ผอ.สปกช. ตอนที่มา จ.น่าน กับคณะ อ.อุบลวรรณ อารยะพงศ์ "เรื่องของแหล่งเรียนรู้"

 - อ.จิตติ ได้พูดคุยแล้ว "รู้สึกขนลุกเหมือนกัน" กับวิกฤตของเกษตรกร และใจได้เกิดพลังขึ้นมาเหมือนกันในการทำงาน..

 - อ.ธุวนันท์ ไปช่วยงาน ที่ สปกช. เหมาะสมที่สุดแล้วครับ..เพราะเห็นตอนโครงเกษตรยั่งยืน (UNDP) อาจารย์มีความเข้าใจกับภาคีเป็นอย่างดี..

 - เสียดาย โครงการเกษตรยั่งยืน ไม่ได้ขับเคลื่อนอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง (หลังจบ Project) สุดท้ายความมั่นคงด้านอาหารก็สำคัญที่สุด

 - เห็นด้วยกับข้อสรุป จากการประชุมเชิงปฎิบัติการ...คงจะประยุกต์นำสู่การปฎิบัติได้

 - ขอเป็นกำลังใจให้ อ.ธุวนันท์ กับการทำงานในภาระกิจที่สำคัญ มีอะไรพอสนับสนุนได้ช่วยบอกด้วยครับ..(ร่วมด้วยช่วยกัน) อย่างน้อยน่าจะเป็นทิศทางในการส่งเสริมของกรมฯ ในบริบท ปัจจุบันและอนาคต..

                                         ..ขอบคุณครับ...

              

สวัสดีคะคุณพ.ภูดอยน่าน

  • คุยกันตั้งนานเพิ่งทราบว่าเป็นเครือข่ายตั้งแต่สมัยโครงการ UNDP พี่สนุกมากที่ได้ทำงานครั้งนั้น เครือข่ายที่ทำปัจจุบันยังคบหาสมาคมอยู่เลยคะ
  • ขอบคุณมากคะที่ให้กำลังใจและขอให้คุณพ.ภูดอยน่าน มีกำลังใจสร้างสรรค์งานให้เกษตรกรต่อไปนะคะ
  • คงได้ร่วมงานกันอีก เห็นอาจารย์จิตติเล่าให้ฟังว่าประทับใจมากที่ไปน่าน

-สวัสดีครับ -ขอร่วมอ่านสรุปผลการประชุมด้วยคนนะครับ -"ปัญหาขาดการสืบทอดอาชีพเกษตรกรรม คนรุ่นใหม่ไม่นิยมการทำการเกษตร อันเนื่องมาจากระบบการศึกษาสอนให้เกษตรกรห่างไกลจากอาชีพเกษตรกรรม" ข้อสรุปนี้เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ... -ขอบคุณครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท