เรียนรู้จาก ศ.นพ.ประเวศ วะสี : การปฏิรูประบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร


"ความยั่งยืนของสังคมเกษตรกรรม คือความยั่งยืนของสังคมทั้งหมด"

          เมื่อวันที่  4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "ประเทศต้องปฏิรูปอย่างไรเพื่อเกษตรกรไทยพ้นวิกฤติ"  ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมการปฏิรูประบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร ชุมชน และสังคม (สปกช.)  รายละเอียด ผอ.ธุวนันท์ พานิชโยทัย ได้บันทึกไว้แล้วที่นี่   สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง“ ประเทศต้องปฏิรูปอย่างไรเพื่อเกษตรกรไทยพ้นวิกฤต”

          สำหรับบันทึกนี้ผมขอสรุปปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การปฏิรูประบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร" โดยศาสตราจารย์ น.พ.ประเวศ  วะสี  ที่ได้แสดงในวันประชุมฯ อย่างย่อๆ ดังนี้ครับ

          เริ่มต้นด้วยการเล่าถึงคำกล่าวของเพื่อนชาวต่างชาติของ อ.หมอประเวศ วะสี ชื่อ Norman Uphoff แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล ที่กล่าวไว้ว่า

 

     "ความยั่งยืนของสังคมเกษตรกรรม  คือความยั่งยืนของสังคมทั้งหมด" 

 

          ความยั่งยืนของสังคมทั้งหมด จะเกิดขึ้นได้เมื่อ

  1. คนจำนวนมาก...มีสัมมาชีพเต็มพื้นที่   ที่ใดมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่...ที่นั่นมีความร่มเย็นเป็นสุข  และเกษตรกรรมสามารถทำสัมมาชีพได้  ส่วนอุตสาหกรรมเราก็ทราบกันอยู่แล้วว่ากำลังจะล่มสลาย

  2. มีความมั่นคงทางด้านอาหาร   ประเทศไทยเราอยู่ได้ เพราะเรามีอาหาร เงินกินไม่ได้ แต่อาหารนั้นกินได้  ในอนาคตหากมีเงินแต่ไม่มีอาหารสังคมก็อยู่ไม่ได้  ดังคำกล่าวที่ว่า  "เงินทองเป็นมายา  ข้าวปลาเป็นของจริง"  และทุกวันนี้เราเข้าใจผิดทางกันไปหมด  สมมติกันผิดๆ  เราจึงเห็น "คนที่จนกลับบอกว่ารวย  แต่คนรวย(อาหาร)กลับบอกว่าเป็นคนจน"

  3. มีความมั่นคงทางด้านสิ่งแวดล้อม  ตัวอย่างของความมั่นคงทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่นการทำการเกษตรของ ผญ.วิบูลย์  เข็มเฉลิม  การเกษตรยั่งยืน  เกษตรผสมผสาน  วนเกษตร ฯ ล้วนสร้างความมั่นคงทางด้านสิ่งแวดล้อม  เราอย่ามองที่ตัวเงิน  อย่าเอาเงินในเป็นตัวตั้งในการพัฒนา  ให้มองที่ความสำคัญของภาคการเกษตรและสิ่งแวดล้อม  อย่าเข้าใจผิดที่คนมักพูดว่า "เกษตรมีความสำคัญน้อยลง" ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง(สัมมาทิฐิ)ว้าการเกษตรมีความสำคัญ

          ทั้ง 3 ส่วนที่สรุปมานั้นล้วนเป็นที่มาของการสรุปคำกล่าว "ความยั่งยืนของสังคมเกษตรกรรม  คือความยั่งยืนของสังคมทั้งหมด" ข้างต้น

 

          ทีนี้มาดูโมเดลมรรค 8 ของการพัฒนาชุมชน  ที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาอย่างบูรณาการ ใน 8 ด้าน คือ

        มรรค 8 ของการพัฒนาชุมชน         

  • เศรษฐกิจ

  • จิตใจ

  • สังคม

  • วัฒนธรรม

  • สิ่งแวดล้อม

  • สุขภาพ

  • การศึกษา

  • และพัฒนาอย่างมีประชาธิปไตย

            และที่สำคัญการพัฒนาต้องไม่แยกส่วน ซึ่งพอจะมีข้อสรุปได้ว่า.... 

  • อะไรที่ไม่เอาชีวิตและการอยู่ร่วมกันเป็นตัวตั้ง...จะพลาดเสมอ (แม้จะเป็นเรื่องธรรม-การศึกษาฯ)

  • คุณภาพชีวิตของเกษตรกรจะดีขึ้นเมื่อพัฒนาอย่างบูรณการ โดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง

  • พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน ชุมชุมท้องถิ่นเราพัฒนามาจากข้างบน  ทำให้ไม่สำเร็จ เพราะไม่ได้เริ่มจากฐาน

  • การปฏิบัติ(พัฒนา)ต้องเริ่มจากท้องถิ่น(แนวคิดท้องถิ่น)  ท้องถิ่นต้องส่งเสริมความเข้มแข็งของเกษตรกร

  • รัฐต้องมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยหนุนความเข้มแข็งของท้องถิ่นชุมชนทั้งจังหวัด

  • ปรับการเกษตรสู่การเกษตรยั่งยืน ตัวอย่างเช่นครูบาสุทธินันท์  ที่บุรีรัมย์ที่ปรับจากพืชเชิงเดี่ยวสู่เกษตรยั่งยืน  จะส่งผลให้เกษตรกร หนี้หลุด  สุขภาพดี  สังคมดีขึ้น  กินอิ่ม  มีต้นไม้เพิ่มขึ้น

          แนวทางการทำการเกษตรยั่งยืน

  • เริ่มที่ความเข้าใจว่าเรื่องการเกษตรนั้นทำง่ายๆ ใช้เวลาไม่มาก

  • มีเทคนิควิธี เทคนิคต่างๆ  อาจรวบรวมความรู้จากที่อื่นๆ มาปรับใช้

  • มีปัจจัยต่างๆ ...เช่นเมล็ดพันธุ์ที่ดี

  • มีองค์กรของตนเอง  เพื่อออกนโยบายเอง  ทุกวันนี้เราปล่อยให้คนที่มีความรู้น้อย แต่ผลประโยชน์มากมากำหนดให้ในระดับชาติ

  • มีองค์กรสนับสนุน....มีไตรภาคีสนับสนุนซึ่งประกอบด้วย   รัฐ...วิชาการ...และเอกชน 

  • กระทรวงเกษตรอาจต้องปรับเปลี่ยน เพราะทุกวันนี้เป็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  คงต้องเป็น "กระทรวงเกษตรกรเพื่อเกษตรกร"

  • องค์กรเกษตรยั่งยืนจะต้องพลังสนับสนุนซึ่งกันและกันช่วยกัน  เชื่อมโยงกันด้วยใจ เชื่อถือไว้วางใจ ระหว่าง

       * เศรษฐกิจชุมชน

       * ผู้บริโภคในเมืองและ

        * เศรษฐกิจมหภาค                                  

          ทั้งหมดคือแนวทางการปฏิรูประบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร จากปาฐกถาพิเศษของ ศ.นพ.ประเวศ   วะสี  ที่ผมนำมาสรุปเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

 

สิงห์ป่าสัก  

25  ก.พ. 2553

หมายเลขบันทึก: 339898เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2010 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
  • สวัสดีครับ
  • ดีมากแต่ทำอย่างไรที่จะให้ตัวเกษตรกรได้มารับฟังด้วย
  • น่าหนักใจที่เกษตรกรส่วนใหญ่ฟังแต่เพลงกับรอเงินแจก ????
  • สวัสดีครับอ.สิงห์ฯ
  • เห็นกับคำกล่าวที่ว่า องค์กรเกษตรยั่งยืนจะต้องพลังสนับสนุนซึ่งกันและกันช่วยกัน  เชื่อมโยงกันด้วยใจ เชื่อถือไว้วางใจ ระหว่าง

       * เศรษฐกิจชุมชน

       * ผู้บริโภคในเมืองและ

        * เศรษฐกิจมหภาค 

  •  ขอบคุณ ที่นำแนวคิดดีๆมาแบ่งปันกันนะครับ                      

คุณวีรยุทธ ครับ ถามนอกเรื่อง หน่อยครับ  ตอนนี้เรื่องเพลี้ยกระโดด งานยุงยากมากไหมครับ (นายหัว ปวดหัวไหมครับ) คงไม่มีปัญหา มากมายนักนะครับ

สวัสดีครับ

  • พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน
  • น่าคิดถึงสังคมไทยนะครับ
  • "คนที่จนกลับบอกว่ารวย  แต่คนรวย(อาหาร)กลับบอกว่าเป็นคนจน"
  • นับถือ คนรวย แต่ไม่ได้ดูเบื้องหลัง
  • จะช่วยกันได้อย่างไรบ้าง ครับ

 

สวัสดีครับ

คุยกับนักเศรษฐศาสตร์/นักบริหารธุรกิจ ก็มีแนวคิดคล้ายกันคือ "เกษตรมีความสำคัญน้อยลง" เพราะมีมุมมองว่าทำการเกษตร "รวยช้า" จึงมีความพยายามผลักดันประเทศให้เข้าสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรม เพื่อจะได้รวยเร็วขึ้น (และจะได้ยืนอยู่แถวหน้าในเวทีโลก)

การจะเปลี่ยนกรอบความคิดให้เห็นความสำคัญของเกษตรและอาหารฯ ต้องใช้เวลาครับ เพราะคนจำนวนมากถูก "หลอม" ให้คิดไปในแนวบริโภคฯ มานาน

  • สวัสดีครับท่าน เบดูอิน
  • น่าเห็นใจสังคมเรานะครับ
  • คงกลับลำได้ยาก
  • เพราะแนวคิดที่ถูกต้องไม่ได้นำมาใช้
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

 

  • สวัสดีครับ อ.เขียวมรกต
  • แนวทางดีๆ ต้องผลักดันสู่การปฏิบัตินะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับท่าน วีระ - คมวิลาศ
  • เจ้านายสบายดีครับ
  • ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • สวัสดีครับท่านหนุ่ม ร้อยเกาะ
  • อิอิ...บางครั้งที่เราเห็นก็ไปคนละทาง
  • ไม่ได้เริ่มที่ฐาน...เริ่มในสิ่งที่ถูกที่ควร
  • ท่านสบายดีนะครับ
  • สวัสดีครับคุณพิทักษ์
  • แนวคิดการเกษตรมีความสำคัญน้อยลง
  • ส่งผลต่ออาชีพนี้มากเลยนะครับ
  • คนก็ไม่อยากมาทำ
  • เด็กก็ไม่สนใจ  ฯลฯ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
  • สนใจแนวคิดอาจารย์ประเวศ เหมือนกันคะ
  • อยากเห็นเกษตรร่วมมือกับสาธารณสุข ทำเพื่อปากท้องและสุขภาพของชาวบ้านจังเลย

 

    

  • หวัดดีค่ะ
  • สบายดีนะค่ะ
  • แวะมาทักทาย...ยามใกล้เที่ยงค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณสิงห์ป่าสัก ได้รับแจกเอกสาร การเขียนบันทึกในเว็บบล็อก Gotoknow.org เบื้องต้น ของคุณสิงห์ป่าสักจากโครงการLLEN ม.ราชภัฏกำแพงเพชร แล้วก็ได้ลองนำไฟล์ขึ้นในไฟล์อัลบั้ม ไม่เข้าใจการตัดแต่งขนาดของภาพให้ไม่เกิน450 พิกเซล ทำยังไง แต่ก็มั่วๆลดขนาดภาพด้วย PhotoScape รู้สึกว่าการจะนำภาพมาใช้ต้องเสียเวลามากกว่าบันทึกข้อความเยอะเลย ขอบคุณสำหรับเอกสารดีๆนะคะ

  • สวัสดีครับ ครูต้อย
  • ขนาดของรูปแล้วแต่ว่าเราจะใช้โปรแกรมภาพไหน
  • เพียงแต่รีไซต์แล้วเซฟไฟล์ใหม่ให้เล็กลง
  • ภาพจะได้ไม่ใหญ่เกินไป
  • หากใช้โฟโตสเคปก็ใช้ได้เลยครับ ขนาดกำลังพอดีๆ
  • ขอบพระคุณที่แวะมาทักทายครับ

สวัสดีค่ะ คุณ สิงห์ป่าสัก

สบายดีนะคะ..  ระลึกถึงค่ะ..  มีความสุขมากๆ เสมอนะคะ..    ()

  • ขอบคุณคะ
  • เป็นคนคุณภาพของกรมฯ/สังคม จริง ๆ
  • สวัสดีครับ นีนานันท์
  • สบายดีครับ
  • แต่ไม่ค่อยได้เข้ามาบันทึก
  • ..ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ ผอ.ธุวนันท์ พานิชโยทัย
  • ขอบพระคุณที่ให้โอกาสได้เข้าร่วมเรียนรู้
  • ระลึกถึงทีมงานกรมฯ ทุกคนนะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท