เรื่องเล่าจากดงหลวง 35 ไสยศาสตร์กับคนทำงานพัฒนา 2


ถึงท่านหมอ..คนที่แล้วตายไปแล้ว ขอให้ท่านหมอทำอีกคน พร้อมกันนี้ส่งวันเดือนปีเกิดมาให้ด้วยแล้ว นายคนนี้ชื่อ....

เมื่อผู้เขียนเผชิญไสยศาสตร์: สมัยทำงานที่ อ.สะเมิง เชียงใหม่ เราร่วมงานกับสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย ขอเรียกว่า GGAT เชิญเยาวสตรีที่เป็นลูกสาวชาวบ้านมาเข้าร่วมงานค่าย ตามระเบียบทั่วไปก็ต้องทำหนังสือเชิญต่อพ่อแม่ของเยาวชนคนนั้น โดย GGAT จะใช้ซองจดหมายราชการที่มีชื่อที่อยู่หน่วยงานปรากฏบนซองทางซ้ายมือด้านบน.. 

หลังจากค่ายเยาวสตรีต้องปิดกลางคัน เพราะเกิดวิญญาณเจ้าพ่อมาสำแดงอิทธิฤทธิ จนค่ายแตก ต่างคนต่างกลับบ้านไป ไม่นานนักเราก็เผชิญความประหลาดหวาดเสียวอีกครั้ง วันหนึ่งเพื่อนที่อยู่ GGAT โทรศัพท์หาเราเสียงดังลั่นและตกอกตกใจมาก..เราออกมาอยู่ในเมืองเชียงใหม่พอดีก็ขับมอเตอร์ไซด์คู่ชีพไปหาเพื่อน เขายื่นซองจดหมายให้ดูแล้วก็ว่า..เอ้า... อ่านเอาเองนะ.. ผู้เขียนเปิดอ่านดูแล้วก็ตกใจ ฉงน ไม่เชื่อ.. ไม่จริง..ไม่ใช่..  

สาระจดหมายกล่าวว่า.. ถึงท่านหมอ..คนที่แล้วตายไปแล้ว ขอให้ท่านหมอทำอีกคน พร้อมกันนี้ส่งวันเดือนปีเกิดมาให้ด้วยแล้ว นายคนนี้ชื่อ....  

ชื่อที่ถูกระบุนั้นเป็นชื่อผู้นำชาวบ้านที่เราจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานที่หมู่บ้านหนึ่ง ผู้ที่ส่งจดหมายไปให้ก็คือผู้ใหญ่บ้านของบ้านที่ผู้นำของเราคนนั้นพักอาศัยนั่นเอง มันเป็นจดหมายที่ส่งโดยผู้ใหญ่บ้านถึงหมอไสยศาสตร์อีกอำเภอหนึ่งระบุให้ทำพิธีไสยศาสตร์ให้คนนี้ตายลงไป และยังรายงานอีกว่าคนที่แล้วที่ให้ทำพิธีไสยศาสตร์ให้ตายนั้นได้ตายไปแล้ว...  

ท่านคงสงสัยละว่าจดหมายฉบับนี้มันมาอยู่ในมือเพื่อนได้อย่างไร..เป็นความผิดพลาดของผู้ส่งครับ เข้าใจว่าเขาเอาซองจดหมายที่ GGAT ส่งไปขออนุญาตผู้ใหญ่บ้านเพื่อจะเอาลูกหลานในหมู่บ้านไปเข้าค่ายนั้น มาใช้เป็นซองจดหมายส่งถึงหมอไสยศาสตร์ อาจเป็นเพราะชนบทไม่ค่อยมีซองจดหมายนั่นเอง และข้อผิดพลาดอีกประการคืออาจจะระบุที่อยู่ของหมอไสยศาสตร์ผิดจดหมายเลยตีกลับ  แต่ไม่ระบุผู้ส่ง ไปรษณีย์จึงมาส่งคืนที่ GGAT ซึ่งมีโลโกติดอยู่บนหน้าซองนั่นเอง...   

แล้วทำไงดี..เราตัดสินใจ หนึ่ง..ไปแจ้งความไว้ที่โรงพักอำเภอสะเมิงว่าเราพบจดหมายนี้และป้องกันไว้ก่อนว่าหากมีการตายขึ้นจริงในหมู่บ้านนั้นคนนั้นที่มีชื่อระบุในจดหมายก็ให้ตั้งสมมติฐานว่าผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ต้องสงสัยได้เลย..ตำรวจบันทึกประจำวันไว้..แล้ว สอง..เราเดินทางไปหมู่บ้านนั้นที่ผู้นำชาวบ้านเราอยู่สอบถามว่ามีชาวบ้านตายลงไปเมื่อเร็วๆนี้หรือไม่  พบว่ามีจริงๆ !!!???  และหมอก็ไม่ทราบสาเหตุการตายอย่างแน่ชัด.. 

เอาละซี..คุณครับ..ผู้เขียน งี้..เสียวสันหลังวาบๆ นึกในใจ “เราจะโดนบ้างหรือเปล่าวะเนี่ย..ต่อไปเราจะไม่ให้วันเดือนปีเกิดกับใครแล้ว..กลัว.. 

พวกเราตัดสินใจบอกเรื่องทั้งหมดให้แก่ผู้นำเราแล้วให้เขาทำพิธีสะเดาะเคราะห์ตามประเพณีเมืองเหนือ...เขารอดตายครับจนถึงปัจจุบันนี้..  และที่ดงหลวงผู้เขียนก็ทราบว่ายังมีคนเล่นเรื่องเหล่านี้อยู่....ว๊าว....เสียว... 

คำสำคัญ (Tags): #ไสยศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 81472เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2007 00:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • น่ากลัวจังครับ
  • คงต้องสวดมนต์อุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่คิดร้ายต่อเรา

กลุ่มไทลาวเชื่อว่าโซ่เล่นของเหมือนพวกเขมรครับ  ส่วนหนึ่งเนื่องจากภาษาพูดเป็นกลุ่มเขมรและเมื่อก่อนคนไทลาวมักมองโซ่เป็นพลเมืองระดับรองลงไปจึงได้เชื่อเช่นนั้นและพยายามทำให้โซ่แปลกแยกไป

ความแปลกแยกอาจจะพยายามทำให้กลุ่มของตนเองมีสิ่งปกป้องตัวเอง ส่วนหนึ่งคือไสยศาสตร์ ก็น่าจะเป็นไปได้

คุณ  

 
Aj Kae    ครับ 
  •  เราคิดเสมอว่าเรามาทำดีกับชุมชน ไม่น่าที่จะมีใครคิดร้ายเรา เรามาทำประโยชน์ให้กับพี่น้อง
  • แต่ก็ระแวดระวังบ้างเท่านั้น
  • ขอบคุณครับ

คุณออตครับ

  • น่าสนใจประเด็น ลาวมักมองโซ่เป็นพลเมืองระดับรองลงไป  
  • เพราะแต่ก่อนที่ผมทำงานกับเขมรชายแดนไทยสุรินทร์มักมีคำพูดว่า ไทย(ภาคกลาง) ดูถูกลาว ลาวดูถูกเขมร เขมรดูถูกส่วย ผมไม่แน่ในว่าเป็นอย่างนั้นแค่ไหนมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างไร แต่พอจะสังเกตุได้บ้าง
  • กรณีโซ่ เห็นชัดเจนเวลาพาเขาออกงานประชุม สัมมนา เขาจะทำตัวลีบ พูดน้อยมาก มาก และไม่สังสรรค์กับใคร โดยรวมนะครับ (ยกเว้นบางคนที่จ้อเหมือนกัน) ผมสังเกตหลายครั้งแล้ว แต่เมื่ออยู่ในกลุ่มเขาแล้วนี่ โอย...พูดกันแรงมาก วิจารย์กัยตรงๆ แรงๆเลยทีเดียว
  • อาจเป็นเพราะอดีตเขาต้องเอาของป่าออกไปแลกข้าว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ชาวลาวทั่วไปดูถูกเขา หน้าตาเขาก็ซื่อๆ ตรงๆ แลกเท่าใดก็เท่านั้น
  • วัฒนธรรมการแลกของป่ากับข้าวเพื่อเอาไปบริโภคนี้มีเรื่องเล่าเยอะเหมือนกัน เช่น แถบนาแก ที่โซ่ดงหลวงมักจะลงไปแลกข้าวแถบนั้นมาก หลายคนก็เป็นเพื่อนสนิทกันไป "เป็นเสี่ยว" ถึงกับสั่งหาของ หาสัตว์ป่าไปให้ เช่นอยากกินหมูป่าก็สั่งแล้วเอาข้าวแลก
  • ผมเคยไปคุยกับชายตาพิการที่มีอาชีพหมอนวดพื้นบ้านที่มุกดาหาร คุยกัน เขาบอกว่ามาจากคำชะอี และหมู่บ้านก็ติดตีนเขารอยต่อดงหลวง พบบ่อยมากที่โซ่ดงหลวงลงไปเอาของป่าแลกข้าว ซึ่งเขาเล่าว่าแต่ก่อนคนในที่ลุ่มถึงกับขอนอนกับสาวโซ่ที่มาแลกข้าวนั้น เมื่อนอนแล้วก็เอาข้าวให้ไป ผมไม่เชื่อเรื่องนี้  ผมพยายามสืบถามพี่น้องโซ่เรื่องดังกล่าวก็ไม่พบว่าใครเคยได้ยินเรื่องนี้ครับ
  • ตามหนังสือ "สมรภูมิภูพาน" ของสหายใหญ่ พคท.เขียนเรื่องโซ่ว่า สมัยก่อนเจ้าโคตรจะมีอำนาจเหนือชุมชน สาวบริสุทธิ์ทุกคนก่อนแต่งงานจะต้องนอนกับเจ้าโคตรก่อน เท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ พยายามสอบถามก็ไม่พบเรื่องนี้ครับ
  • ประเด็นของคุณออตน่าสนใจ และเห็นด้วยครับ

ขอบพระคุณมากครับ

  • เนื้อหาที่เอามาลงเพิ่มนี้เป็นเรื่องเล่าที่ดีมากครับ ได้เห็นพัฒนาของเรื่องเล่าเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโซ่กับกลุ่มชาติพันธุอื่นในพื้นที่ที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย
  • ครูบาอาจารย์ที่ทำงานในพื้นที่โซ่ เล่าให้ฟังว่าความจริง โซ่ เป็นที่กลุ่มชาติพันธุ์โซ่ใช้เรียกตัวเอง
  • แต่กลุ่มคนลาวเรียกกลุ่มคนนี้ว่า พวกข่า (มาจากคำว่า ขี้ข้า)คือเป็นพวกขี้ข้าของคนลาวมาก่อนสมัยก่อนย้ายข้ามโขงมา
  • ดังนั้นโซ่จึงไม่ชอบคนไทลาว แต่จะชอบคบค้ากับผู้ไทมากกว่าซึ่งทั้งสองกลุ่มชอบอยู่ใกล้ภูเขาและมีวิถีคนบนเขาใกล้เคียงกัน
  • อยากที่เล่าไปแล้วผมสนใจมากโดยเฉพาะความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในอีสานและวัฒนธรรมอันงดงาม
  • เคยเสนอขอทุนงานวิจัยไ ปในเรื่องเหล่านี้ แต่ไม่ยักมีคนสนใจด้วยกับผม
  • แต่ได้อ่านเรื่องเล่าจากดงหลวงก็เหมือนอ่านงานวิจัยดีดีเล่มหนึ่ง
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับคุณออต

  • ผมเคยตามหาท่านอาจารย์อุดม เพื่อของานวิจัยท่านมาศึกษา เรื่องระบบเจ้าโคตรในสังคมอีสาน ซึ่งดงหลวงเป็นพื้นที่หนึ่งที่ท่านศึกษา  ยังมีระบบนี้อยู่ครับ แต่ความศักดิ์สิทธิ์อาจจะลดลงบ้าง แต่ยังสังเกตได้ในงานพิธีกรรมของชุมชนที่บรรดาเจ้าโคตรทั้งหลายจะต้องมาปรากฏตัวในงานนั้นๆ
  • ผมจึงลองศึกษาโดยเชิยเจ้าโคตร หรือผู้เฒ่าในสายตระถูลต่างๆของชุมชนมาคุยกันแบบสภากาแฟ เพื่อตั้งประเด็นให้ท่านได้ถกเถียง โดยเราจะได้เรียนรู้วิธีคิด วิธีวิเคราะห์ วิธีแก้ปัญหาของท่านเหลาสนั้นมากกว่าที่เราจะคิดแบบคนนอกเองทั้งหมดตามหลักการหรือทฤษฎีพัฒนาสังคม  ซึ่งไม่ใช่ต้องฟังท่านเหล่านั้นก่อน
  • เสีนดายที่ผมทำงานหลายหน้า  จึงไม่ค่อยต่อเนื่องเท่าใดนัก
  • ขอบคุณครับที่เห็นคุณค่า

น่ากลัวนะครับเรื่องแบบนนี้ผมเชื่อมีจริงแท้แน่นอนวิทยาศาสตร์ไม่เกี่ยวเลย

เป็นเรื่องที่ต้องใช้สติและความเมตตา จริงใจ ปรารถนาดี แสดงให้เห็นแก่เขาอย่างชัดเจนก็จะไม่มีใครทำอะไรเราได้

ที่ดงหลวงผมทราบมาว่า มีปอบเยอะ แต่ปอบจะไม่ทำคนที่สูงกว่า โโยเฉพาะพวกเราที่เข้าไปทำงานด้วยนั้น สูงกว่าเขา ชาวบ้านคนที่เชื่อเรื่องนี้กล่าวเช่นนั้นครับ

เลื่อดดงหลวงแท้โซ่ตัวจริง

คนที่มาอยู่ดงหลวงมีแต่มาเอาเปรียบเราคนโซ่โง่แทนที่จะมาพัฒนากลับมาเหยียบให้จมดิน ข้าราชการ

ที่มาอยู่ดงหลวงก็ไม่เคยที่จะไปคลุกคลีกะคนในท้งถิ่น เด็กที่จบมาก็ไม่มีงานทำต้องไปออกทำงานต่างเมือง

คนที่พอมีฐานะก็จะเปิดกิจการของตัวเอง คนโซ่แท้ทำงานดีสุดก็เป็นลูกจ้างช้่วคราว หรือก็ นักการภารโรง

ขนาดลูกจ้างชั่วคราวก็ยังเข้าทำงานอยากเลยต้องมีเส้นและเงิน ลูกจ้างชั่วคราวก็มีแค่ 1-2 คนเท่านันนอกคนจากที่อืนหมดเลย นอกนั้น ญาติของข้าราชการคนอืนหมดเลย หรือไม่ก็เด็กเส้นจากทื่อืน เหมือนเราเป็นสุนักอะ เจ้าของกินเนื้อ คนโซ่เป็นสุนักมันได้กินกระดูกมันก็ดีใจตายแล้ว (ความรู้สึกที่มันออกมาจากข้างใน) คนที่จะเข้ามาพัฒนาเรา

ควรที่จะช้วยกันคิดกันทำกับเราไม่ใช้หรือ  หรือว่ามีความคิดให้คนโซ่โง่นะดีแล้ว เราจะได้ตักตวงผลประโยนช์

ใช้ให้มันไปตัดไม้พะยุง ให้ข้าราชการในท้องถิ่น หรือไม่ก็ให้มาเป็นลูกน้องขายยาบ้าให้วัยรุ้นในหมู่บ้าน

เราที่เป็นคนในพื่นที่ ยืนมองดงหลวงเปรียนแปลงไปในทางที่ลบด้วยใจที่เจ็บปวด เราคนเดียว

ไม่สามรถแก้ไขอะไรได้ เพื่อนที่มีความคิดแบบเดียวกันพอไปทำงานที่เทศบาล ก็เปลียนไปเราก้ เข้าใจนะว่า

เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ถ้าค้านมากๆๆ อาจจะตกงาน เพื่อนอีกสามารถขึ้นมายืนบนแถวหน้าได้

มีจิตสำนึกรักดงหลวง แต่ก็เปลียนดงหลวงไม่ได้แถมโดนสารพัด ต้องออกจากงาน แล้วไปสอบเป็นครู

 แล้วก็ต้องหันหลังกับจิตสำนึกที่ตั้งไวว่าเรียนจบจะมาพัฒนา ดงหลวง ให้จริญขึ้นเธอบอกว่าคนดงหลวงไม่กล้าคิดเองและไม่เข้าใจว่า เนื้อนั้นกินอร่อยกว่ากระดูก ที่คนต่างถิ่นหยิบยื่นให้กลัวว่าขัดใจแล้วอาจจะอดได้กินกระดูก

มีแต่รับแนวความคิดที่คนต่างถิ่นคิดว่าถูกว่าควรและเป็นประโยนช์ต่อคนต่างถิ่น คนในหมู่บ้านที่เคยไปอยู่ที่อืน

มีความคิดที่แตกต่างก็ห้าม (เวรกรรมของดงหลวงแท้เลย) ข้าราชการแต่ละคนเคยเห้นมีไครมั่ง    ที่คลุกคลีกะ

คนดงหลวงมัง มีแต่มาประจำการตามหน้าที่อยู่ไครอยู่มันแล้วก็หาช่องทางย้ายกลับ หรือมัยก็ตั้งรกรากที่ดงหลวง

หาผลประโยนช์กับชาวดงหลวง คนโง่หลอกใช้ง่ายหลอกให้ทำอะไรก็ทำ แต่โดยลึกๆๆแล้วคนดงหลวงไม่ได้โง่นะทุกสังคมต้องมีคนโง่และคนฉลาดปะปนกันไป นิสัยของคนโซ่ คือจะให้เกียจกับเพื่อนต่างถิ่นเสมอ จริงใจและเปิดใจ

มีความเป็นกันเองกับเพื่อนต่างถิ่นจนลืมคิดไปว่าคนที่เราคิดว่าเพื่อนนะจริงใจเหรือนเราหรือเปล่า  มีบางคนบอกว่า

ลงไปคลุกคลีกะคนโซ๋ เห็นแต่ความเห็นแก่ตัว และเห็นแก่ได้แก่กิน มีแต่จะให้ซื้อเหล้าเลี้ยง  ก็ให็คุณซื้อเหล้าเลี้ยงละ ไปเป็นหมู ให้หาม ก็หามสิ การลงไปคือต้องลงไปคลุกคลีชีนำแนวความคิดที่ดี่ การพึ่งตนเอง สร้างเสริมรายได้

ให้กับคนในท้องถิ่น ชวนกันทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ จุดหมุ่งหมายที่คนในท้องถิ่นต้องการคือการมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เราเคยหวังว่าข้าราชการที่ย้ายมาประจำที่บ้านเราคือคนที่จะมาช้วยเรามาสอนให้เราฉลาดขึ้นมาทำงานเพื่อพวกเราทุกคนแต่แล้วก็ต้องผิดหวัง ครูสอนเด็กปฐม ก็มัยยอมสอนเด็กพากันตั้งวง กินเหล้า วงไฟ  จนเด็กไปบอกพ่อแม่ จนต้องมีการประท้วงเมือ 10 ปีที่แล้ว บางคนบอกว่าคุยกันไม่รู้เรื่องพูดกันคนละภาษา  ปอบก็เยอะ

จะบอกเลยนะว่าคนดงหลวงพูดและฟังภาษาไทยได้ทุกคนและบางคนดีด้วย ถ้าดงหลวงมีปอบที่อืนก็มีเช่นกันถ้าปอบมันเก่งจริงมันคงไปกินพวกที่กินบ้านกินเมืองไปนานแล้ว สุดทายนี้เราหวังว่าคงมีไครสักคนใจดีและจริงใจที่จะมาพัมนาบ้านเรา ถึงจะนานเราไรเราก็จะรอ

ถึง "เลือดดงหลวงแท้ โซ่ตัวจริง"  ผมยินดีต้อนรับครับ เคารพในความเห็นท่านครับ  แนะนำตัวหน่อยครับว่าเป็น "วงศ์กะโซ่" หรือ "เชื้อคำฮด" อยู่ตำบลพังแดง หรือหนองแคน หรือดงหลวง อยู่บ้านเลื่อนเจริญหรือครับ อยากพบตัวเป็นๆกันจังเลยครับจะได้แลกเปลี่ยนกันเต็มที่หน่อยครับ  ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท