เรื่องเล่าจากดงหลวง 100 ขึ้นดอย ตอน ขี้ซี ขี้สูด ชิ้นส่วนของวิถีชีวิต


คนเราพึ่งพาธรรมชาติมาตลอด จนเป็นวิถีชีวิต ซึ่งจะหมายถึงวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆด้วย ขี้ซี มีส่วนสำคัญในการให้เรือไม่รั่วและใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป ขี้สูดมีบทบาทสำคัญต่อเสียงแคนที่บรรเลงชีวิตให้พี่น้องอีสานได้หลอมรวมเข้าด้วยกัน มีส่วนสำคัญที่ขับกล่อมให้อีสานเป็นท้องถิ่นที่อุดมด้วยวัฒนธรรมดีงาม “ขี้ซี” และ “ขี้สูด” ผลผลิตจากป่าที่เป็นเสี้ยวส่วนเล็กๆแต่มีบทบาทที่สำคัญเหลือเกินในมุมมองผู้บันทึกครับ

เดือนสิบเอ็ดน้ำนอง เดือนสิบสองน้ำทรง เดือนอ้ายเดือนยี่ น้ำก็รี่ไหลลง เป็นทำนองเพลงภาคกลางที่บ่งบอกถึงเวลาและการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล ภาคกลางน้ำจะท่วมเพราะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ชาวบ้านจึงทำนาข้าวฟางลอย เมื่อน้ำท่วมในเดือนดังกล่าวการไปมาหาสู่กันก็ใช้เรือเป็นหลัก   

ซึ่งมีเรือชนิดต่างๆหลายแบบ เช่น เรือบด เรือหมู เรืออีป๊าบ เรือไผ่ม้า เรือไผ่มาดเรือสำปั้น เรืออีโปงตาล ฯลฯ ทั้งนี้ลักษณะเรือเหมือนกันแต่อาจจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะถิ่น การมีเรือหลายแบบก็เพราะลักษณะเรือเหมาะแก่การใช้งานแต่ละอย่าง และเหมาะแก่การนั่งตั้งแต่คนเดียวไปจนถึงเป็น 5 คนขึ้นไป  

ก่อนฤดูน้ำเหนือหลากจะมาถึงภาคกลางนั้นชาวบ้านจะเอาเรือต่างๆที่จะใช้งานในช่วงน้ำหลาก ทำการ ขึ้นคานเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย สมบูรณ์ของเรือทุกซอกทุกมุม โดยเฉพาะรอยต่อของแผ่นไม้ต่างๆที่มาประกอบกันเป็นตัวเรือ เพราะเรือส่วนใหญ่ไม่ได้ขุดมาจากต้นไม้ทั้งต้น  แต่จะเอาแผ่นไม้มาประกอบกัน ดังนั้นย่อมมีช่องว่างระหว่างรอยต่อ นี่เองชาวบ้านจำเป็นต้องยาเรือโดยใช้ชันหรือขี้ชันมายาเรือ   

โดยมีหลายขั้นตอน คือ ทำความสะอาดเรือก่อน เอาเหล็กหนักๆที่มีปลายข้างหนึ่งตีแบนๆและมีความคมแต่งอมากกว่า 90 องศามาขูดเอาผิวเดิมๆของเรือออกให้หมด แล้วเอาแปลงทองเหลืองขัดให้สะอาดถึงเนื้อไม้จริงๆ ปล่อยให้แห้งสนิท แล้วถึงขั้นตอนลงชันตามร่องรอยต่อไม้ดังกล่าว เอาชันซึ่งเป็นผงมาผสมน้ำมันยางให้ข้นเหนียวแล้วเอาไปอุดตามรอยต่อแผ่นไม้ดังกล่าวทุกซอกทุกมุมทั้งลำเรือ เพื่อมิให้มีรูรั่วน้ำเข้าเรือเมื่อเอาไปใช้งาน  เมื่ออุดเสร็จก็เอาน้ำมันยางเหลวมาทาเนื้อไม้เรือทุกส่วนให้ทั่ว เพื่อรักษาเนื้อไม้ในการใช้งานให้คงทนตลอดไป  เมื่อเสร็จเรือจะดูใหม่เอี่ยม น่าใช้ และพร้อมใช้งานยามที่น้ำหลากมาถึงทุ่งนาก็เอาเรือลงจากคานนำไปใช้ตามประสงค์ต่อไป  

ชันหรือขี้ชันก็คือขี้ซีผู้บันทึกไปเดินป่าแล้วพบเห็นทั่วไปที่ภูสีเสียด ดงหลวงนี่เอง ขี้ซี เกิดได้อย่างไร ?  ผมถามสหายเด่น อดีตทหารพิทักษ์ลุงสยามผู้กุม พคท.สมัยก่อน  สหายเด่นตอบผมว่า ก็เป็นธรรมชาติที่หนอนในป่าจะไปเจาะลำต้นไม้จิก” “ไม้ฮังต้นไม้ก็จะขับยางชนิดนี้ออกมาปิดรู ซึ่งยางที่ออกมาจะมีมากมีน้อยก็แล้วแต่ จะสีอะไรก็แล้วแต่ธรรมชาติของการเจาะของหนอนและชนิดของต้นไม้ และธรรมชาติของน้ำยางที่เกิดขึ้น  

ในป่าทั่วไปจะมี ต้นจิก ต้นฮัง เกิดอยู่ และจะมี “ขี้ซีเกิดขึ้นตลอดทั้งปี นี่เองที่เป็นแหล่งรายได้ของชาวบ้านรอบๆป่าที่เมื่อมีเวลาว่างก็จะเอาตะกล้าหรือถุงขึ้นดอยไปเก็บขี้ซีนำมารวมสะสมกันเมื่อมากพอก็เอาไปขายในเมืองมุกดาหาร ซึ่งมีร้านเจ้าประจำที่รับซื้อของป่าประเภทนี้ การซื้อขายอยู่ในระหว่าง 12-20 บาทต่อกิโลกรัม

โดยมากผู้หญิงมีอายุแต่ยังแข็งแรง และเด็กๆจะขึ้นป่าเก็บขี้ซีกันตลอดปี ว่างเมื่อใดก็ไป ก็เป็นรายได้เสริมเล็กๆน้อยๆ ไม่ถึงกับได้เงินเป็นกอบเป็นกำ แต่ก็ดีกว่าไปวิ่งเล่น หรือนั่งดูทีวีอยู่เฉยๆในบ้าน

นอกจาก “ขี้ซีแล้วยังมีขี้สูดอีกอย่างหนึ่ง คำว่าสูดเป็นชื่อแมลงชนิดหนึ่งชอบทำรังอยู่ในโพรงไม้ หรือใต้ดิน องค์ประกอบรังของแมลงขี้สูดนี้ก็จะเอายางไม้ (น่าจะเป็นยางขี้ซี-ผู้บันทึก) มาทำรังด้วย ชาวบ้านก็จะเก็บไปไปใช้ประโยชน์คือ นำมาเคล้าคลึงให้เหนียวแล้วใช้ติดเต้าแคนและโบด  การนำไปขายเพื่อทำประโยชน์อย่างขี้ซีนั้นคนไม่นิยม และไม่มีราคาเท่าใด   

คนเราพึ่งพาธรรมชาติมาตลอด จนเป็นวิถีชีวิต ซึ่งจะหมายถึงวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆด้วย

ขี้ซี มีส่วนสำคัญในการให้เรือไม่รั่วและใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป 

ขี้สูดมีบทบาทสำคัญต่อเสียงแคนที่บรรเลงชีวิตให้พี่น้องอีสานได้หลอมรวมเข้าด้วยกัน มีส่วนสำคัญที่ขับกล่อมให้อีสานเป็นท้องถิ่นที่อุดมด้วยวัฒนธรรมดีงาม  

ขี้ซีและขี้สูดผลผลิตจากป่าที่เป็นเสี้ยวส่วนเล็กๆแต่มีบทบาทที่สำคัญเหลือเกินต่อวิถีชีวิตของท้องถิ่น ในมุมมองผู้บันทึกครับ    

คำสำคัญ (Tags): #ขี้ซี#ขี้สูด
หมายเลขบันทึก: 97094เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2007 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

ขี้ซี มีส่วนสำคัญในการให้เรือไม่รั่วและใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป 

สวัสดีค่ะ

นี้คือ ชัน ใช่ไหมคะ

สวัสดีครับ

 
sasinanda

ใช่แล้วครับ  เขาจะเอา ขี้ซีไปบดละเอียดเป็นผง ภาคกลางเราเรียกชัน สำหรับยาเรือดังกล่าว ครับ

เรียกว่า "ชันโรง" ใช่มั้ยครับ

ผมเคยคุยกับคุณครูท่านหนึ่งบอกว่า ชันโรงเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ที่ไหนมีแสดงว่าตรงนั้นอุดมสมบูรณ์ครับ

 

สวัสดีครับ น้องจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

 

พี่คิดว่าใช่นะครับ พี่เรียกเพี้ยนๆไปตามท้องถิ่น พี่ขอแก้ตามที่น้องกล่าวถึงเลยนะครับ

ขอบคุณที่เพิ่มเติมข้อมูล

ที่ท้องนา..บ้านตาที่แปดริ้วก็มีเรือทำด้วยไม้เหมือนกันครับ...เอาขึ้นคานหมดแล้วเพราะไม่มีใครซ่อม..พ่อเลยซื้อเรือไฟเบอร์ไปให้ใช้กัน...

เทคโนโลยีนะครับ...ตอนไปเรียนที่คณะวิศว NC State U. มีการแข่งทำเรือจากปูนซีเมนต์ด้วยครับ...ลอยได้เหมือนกัน...แปลกดี

โอชกร

ดีจังเลยค่ะ เรามีของดีอยู่แล้ว จะใช้ยาอุดใช้ยางสังเคราะห์ที่มีสารพิษตกค้างไปทำไมเนอะคะ

ิแบบนี้น่าจะมีนำไปศึกษา หาวิธีทำ nature mimicking ดูนะคะ (นวัตกรรมเลียนแบบธรรมชาติ) แล้วเอาไปใช้กับงานอื่นด้วย

ภาพขี้ซีมองไกลๆ เหมือน ไลเค็น เลยค่ะ เห็นแล้วอยากออก hiking มาก รออากาศให้อุ่นอีกซักพักจะไปเดินถ่ายรูปมาฝากค่ะ : )

ขอบคุณนะคะสำหรับบันทึกดีๆ 

สวัสดีครับ goahead

 

ผมจะตามไปศึกษาครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับน้อง โอชกร - ภาคสุวรรณ

ใช่แล้วครับเรือไฟเบอร์ น้องชายผมก็เป็นอาจารย์สอนสร้างเรือประเภทนี้ที่วิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง

ยุคสมัยเปลี่ยน เราก็ห่างไกลธรรมชาติมากขึ้น เมื่อห่างไกลก็ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจน้อยลง เราคงไม่ได้หยุดยั้งการเปลี่ยนแปลง แต่อยากจะคงความสัมพันธ์ที่ดีกับธรรมชาติน่ะครับ

สวัสดีครับ อ.
P

 

น่าสนใจข้อคิดเห็นประเด็นนี้  ครับมีบางรูปที่เป็นร่องรอยการเก็บขี้ซีไปแล้ว เลยดูไกลๆเหมือนไลเคน

ถ่ายรูปมาเมื่อไหร่ เอามาดูกันบ้างนะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะพี่บางทราย ลงจากดอยมาภาคกลางพูดเรื่องเรือเข้าบรรยากาศน้ำมากตอนนี้เลยค่ะ

ที่บ้านน้ำขึ้นสูงมากผิดปกติของช่วงเวลา ท่วมแปลงผักบุ้งที่เพิ่งแตกยอด และโคนกอไผ่ที่มีหน่อไม้กำลังงอกอยู่สองสามหน่อ

คนข้างกายสะสมเรือพายชาวบ้านหลายรูปแบบนับหลายสิบลำ(จะเอาไว้ใช้ในโครงการในฝันของเขาค่ะ)เลยได้มีโอกาสเห็นวิธีการซ่อมเรือแบบดั้งเดิมโดยผู้เฒ่าอายุเกินหกสิบกลุ่มเล็กๆที่มาตั้งโรงซ่อมในเขตที่ของเรา เห็นวิธีการและกระบวนการที่ต้องใจเย็นและประณีตมาก คิดว่าโชคดีที่มีโอกาสได้เห็น

เรือไม้ราคาแพงและชาวบ้านส่วนมากสมัยนี้เบื่อการซ่อมเลยไปใช้เรือไฟเบอร์กัน เรือไฟเบอร์พายยากจะตาย มันเบาทำให้หมุนไปมาง่าย เคยยืมของป้านวลพายเล่นในบริเวณบ้านตอนน้ำท่วมครั้งที่แล้ว ดีตรงที่ยังไงมันก็ไม่จม

 

สวัวดีครับ น้องคุณนาย

พี่ได้รับหนังสือแล้วนะครับ ชอบมากๆเลย อ่านแล้ววางไม่ลง

แหมอิจฉาเรื่องเรือที่เก็บสะสมจัง เขียนมาเล่าบ้างซี มันเป็นวิถีชีวิตของคนภาคกลาง เป็นภูมิปัญญาของคนไทย และกำลังจางหายไป ชีวิตริมน้ำกับเรือเป็นของคู่กัน มีเรื่องเล่ามากมาย นะว่างๆหยิบเอามาเล่าบ้างนะครับ

คนข้างกายสะสมและทำนุบำรุงน่ะดีแล้วครับ เด็กรุ่นหลังไม่มีได้ดูได้เห็นได้สัมผัสอีกแล้ว เอาไว้เป็นที่ศึกษาของคนรุ่นหลังก็มีประโยชน์มหาศาลครับ

สวัสดีค่ะ...คุณ
P

ขอสารภาพเลยค่ะว่า..กะปุ๋มเพิ่งที่จะเริ่มเข้ามาอ่านบันทึกของ...ของคุณบางทราย...อ่านแบบทยอยอ่านเลยค่ะ...

อ่านแล้วรู้สึกเสียดายอย่างมากว่าเราพลาด blog ดีดีนี้ไปได้อย่างไร....เหมือนเข้ามาอ่านหนังเรื่องเล่าสารคดีที่ดีมาก...

.....

ขอใช้เวลาในการเติมเต็ม..ทางปัญญาจาก Blog นี้ก่อนนะคะ

ขอบคุณค่ะ

กะปุ๋ม

พี่บางทรายคะ

ขี้สูด กับครั่งแดง ที่เขาใช้กับไปรษณียสมัยก่อน ต่างกันไหมคะ

สวัสดีครับ Ka-Poom

 

ขอบคุณมากๆ ที่กล่าวชมเช่นนั้น ผมพยายามเล่าในสิ่งที่เห็น ที่ปฏิบัติ ที่คิด ที่แลกเปลี่ยนกับคน กับชาวบ้าน น่ะครับ เพื่อประโยชน์ท่านที่สนใจ

 

เรื่องราวใน G2K มีมากมายเสียจนตามไปไม่ทัน ผมเองก็ไปเยี่ยมไม่กี่ blog เองครับทั้งๆที่อยากจะไปเยี่ยมหลายแห่ง  แต่เวลามีน้อยครับ ยกเว้นช่วงวันหยุด ก็พอมีมากหน่อยหากไม่มีงานด่วนอื่นๆมาแซงเอาเวลาไป เช่น คูรแม่ป่วยไข้ ก็ต้องให้เวลากับท่าน

ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยม

สวัสดีครับน้อง จันทรรัตน์

ขี้สูดกับครั่งแดงคนละอย่างกันครับ สีเหมือนกันแต่ที่มาและการใช้ประโยชน์ต่างกัน

ครั่งแดงมาจากรังของตัวครั่งที่เขามักจะเลี้ยงตามต้นจามจุรี(ก้ามปู) เมื่อแก่เต็มที่เขาก็จะขึ้นไปเอากิ่งก้ามปูลงมาเก็บเอาเฉพาะรังครั่งแล้วเอาไปหลอมทำครั่งแดงครับ  ส่วนขี้สูด เป็นแมลงเล็กๆ บินไปมาและทำรังตามโพรงต้นไม้หรือในดินครับ

  สวัสดีครับ

    ขี้สูด เกิดจากแมงน้อย ตัวคล้ายผึ้ง ตัวเล็กๆ

     เอามาบีบขยำให้เป็นก้อนกลม จะเหนียว ใช้ติดเต้าแคน และลูกโหวด

      การยาเรือบางท้องที่เรียกว่าตอกหมันเรือ

      อุปกรณ์ในการยาก็ต่างกัน แต่รู้สึกจะมียางชันผสมด้วย

                   ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

P

ใช่แล้วครับ ข้อมูลที่กล่าวถึง สมัยผมเด็กๆ ชอบช่วยพ่อ เอาชันยาเรือ ซึ่งเป็นเรือขนาดเล็ก แล้วเอาน้ำมันยางชโลมเรือให้ใหม่เอี่ยม เอาไปพายอวดกันตอนไปทำบุญที่วัด เราก็นั่งเรือที่ดูใหม่ สอาดตา เป็นวัฒนธรรมภาคกลางที่น้ำท่วมพื้นที่จึงจำเป็นต้องใช้เรือครับ

ขอบคุณมากครับ

[quote]>>>>> [url=http://www.phunchulee.com/board/index.php?topic=10.0]เห็นภาพตันไม้ ที่ยังเหลือน้อย คิดถึงตอนเป็นเด็กๆ สมัยเลี้ยงควาย  หา ขี้ซี จากต้นไม้เอาไว้ขาย  (ใครไม่รู้จัก แสดงว่า ไม่ใช่คนบ้านนอกจริง) ขี้ซี  คือยางไม้ที่ย้อยออกจากต้นไม้ครับ ผมไม่รู้ว่าสมัยนั้น เขาเอาไปทำอะไร และสมัยนี้ยังมีคนรับซื้ออยู่หรือเปล่า มันจะมีตามต้น จิก ตัน รัง  ผมใช้หนังยางสติ๊ก ยิงเอา สมัยนั้น แม่นมาก สูงแค่ไหนก็ยิงไม่พลาด[/url][/quote]    

[size=13pt]>>>>> ขอตอบเรื่อง "ขี้ซี" ตามประสบการณ์เดิม (แฟนพัน "แต่อาจจะไม่" แท้) ที่ตนเองเคยสัมผัสมาอยู่ช่วงระยะหนึ่งของชีวิต อันประดุจดังความฝันที่แสนจะเสียดายซึ่งเป็นเรื่องยากในการดึงมันกลับมาได้อีก ก็ลองมาอ่านดูนะว่ามันจะเป็นไปเช่นไร

>>>>> ขั้นแรกก็ขออธิบายถึง ต้นจิก ต้นรัง (ไม้เต็ง - รัง) ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ขี้ซี = ยางไม้ที่ย้อยออกมาตามลำต้น ตามกิ่ง" ต้นจิก ต้นรัง ต้นไม้ 2 ชนิดนี้ เกิดอยู่ตามพื้นที่ป่าดินแล้ง แต่เนื้อไม้และ "ขี้ซี" ซึ่ง ต้นจิก ต้นรังนั้นมีคุณสมบัติไม่แตกต่างกันมากนัก เป็นไม้เนื้อแข็ง 

>>>>> ประโยชน์ใช้สอยของเนื้อไม้ = ทำเป็นไม้แปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ มากมาย เช่น องค์ประกอบในการสร้างบ้านได้ทั้งหลัง, เครื่องมือทางการเกษตร (สมัยก่อน 30 กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันพื้นที่ป่าชนิดนี้มีน้อยลงมากตามสัดส่วนของจำนวนประชากรของประเทศ) เช่น ด้ามจอบ ด้ามมีดอีโต้ ด้ามเสียม คราด คันไถ สามารถใช้ทำถ่านหุงต้มได้เชื้อเพลิงเกรดดีพอสมควร และอื่นๆ อีกมากมาย หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ ไม้สารพัดประโยชน์

>>>>> ประโยชน์ใช้สอยของยางไม้ (ภาษาอีสานเรียกว่า "ขี้ซี") = ใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยการบดให้เป็นผงละเอียดแล้วใช้ประกอบกับ "พุ" (ไม้ไผ่ลวกยาวประมาณ 2 เมตร เจาะรุให้ทะลุผ่านตลอดแนว ทำเป็นเครื่องมือล่าสัตว์ของชาวบ้าน ใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นลูกดอกปลายแหลมยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้นุ่นหรือสำลีพันไว้ท้ายของลูกดอก แล้วสอดใส่ภายในรุ "พุ"

>>>>> วิธีล่าสัตว์  เมื่อเห็นสัตว์ต่างๆ เช่น นก หนู กบ เป็นต้น  อยู่ในระยะประมาณ 4 - 6 เมตร ผู้ล่าก็จะยื่นปากกระบอก "พุ" ไปทางที่สัตว์อยู่ ส่วนด้านท้ายของ "พุ" ผู้ล่าก็จะใช้ "ปาก" เป็นแรงในการพลักดันลูกดอกให้พุ่งตรงไปที่เป้าหมายคือสัตว์ หากผู้ล่ามีความแม่นยำ สัตว์นั้นก็จะตกเป็นอาหารมื้อโปรดของคนในชนบทนั่นเอง

>>>>> ที่นี้ก็มาถึงความสามารถของเจ้า "ขี้ซี" แล้วแหล่ะว่าจะนำมาประยุกต์ใช้กันอย่างไร  "ขี้ซี" ที่บดเป็นผงละเอียดดีแล้ว ก็นำมาบรรจุภายในรุของ "พุ" พอประมาณทางด้านท้าย แล้วใช้สำลีปิดกระบอกไว้เพื่อปองกันไม่ให้ "ขี้ซี" ผงไหลย้อนกลับเวลาใช้งาน ส่วนทางด้านปลายกระบอกของ "พุ" จะใช้ไม้เท่ากับไม้เสียบลูกชิ้นพันสำลีชุบด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วผูกติดกับปลายกระบอกเตรียมเอาไว้ ผู้ล่าก็จะใช้ออกล่าสัตว์ในเวลากลางคืน เมื่อเห็นนกนอนหลับอยู่ตามกิ่งไม้สูง  ประมาณ 4 - 6 เมตร จากพื้นดิน

>>>>> ผู้ล่าจะติดไฟที่ปลายกระบอก แล้วเล็ง "พุ" ไปยังนกที่กำลังหลับฝันหวานอยู่นั้น แล้วใช้ปากเป่าสำลีที่ปิดไว้ท้ายของ "พุ" เพื่อดัน "ขี้ซี" ให้พุ่งออกไปผ่านไฟ จากนั้นมันก็จะติดไฟลุกดังพรึบ พร้อมกับแสงสว่างโชติช่วงมีหลากสีสวยงามมาก ทันใดนั้นเจ้านกที่หลับอยู่ก็จะตกใจตื่นแล้วก็บินหนีไป "แต่โอ้อนิจจา" มันหารู้ไม่ว่านั่นคือ ช่องทางที่ทำให้ไฟที่ติดเชื้อจาก "ขี้ซี" ได้พวยพุ่งไปที่ลำตัวและปีกที่กางออกเพื่อที่จะบินนั้นเอง ทำให้ขนอันอ่อนนุ่มของมันถูกไฟเผาจนย่อยับไปในพริบตา

>>>>> จากนั้นน้ำหนักตัวของมันก็จะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกฉุดมันลงไปกระแทกกับพื้นอย่างแรง ซึ่งมันก็ที่ไม่รู้ว่าจะเจ็บมากน้อยสักเพียงใด หากแข่งขามันไม่หักมันก็จะวิ่งหนีกะเสือกกะสน เพื่อเอาชีวิตรอดตามประสาของสัตว์ผู้ร่วม "เกิดแก่เจ็บตาย" ลองคิดดุสิว่า ถ้าหนีรอดมันจะดำรงอยู่กันเช่นไร

>>>>> แต่ถ้ามันถูกผู้ล่าจับได้ มันก็จะส่งเสียงร้องด้วยความหวาดกลัวสุดแรงเกิดของมันเลยทีเดียว ส่วนจะงอยปากอันแหล่มคมของมันก็จะกัดหรือจิกผู้ล่า เท่าที่มันจะสามารถใช้ได้อย่างที่เราคาดไม่ถึง มันยังไม่สิ้นฤทธิ์แต่เพียงเท่านั้น กรงเล็บที่คมของมันก็ใช่ย่อยเช่นกัน ถ้ามันสามารถใช้งานได้มันก็จะพยายามตะเกียดตะกายเต็มที่ เท่าที่มันจะช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ถึงมันจะพยายามดิ้นสุดกำลังเช่นไร สุดท้ายแรงอันน้อยนิดที่มันมีก็ย่อมสู้แรงอันมหาสารของผู้ล่าไม่ได้ และแล้วมันก็จะตกเป็นเมนูเด็ดจานโปรดของใครต่อใครที่เฝ้ารออยู่ทางบ้าน เฮ้อ...!

>>>>> ตะกร้าตักน้ำได้ คนสมัยนี้คงไม่เชื่อว่ามันทำได้ แต่เจ้า "ขี้ซี" นี่แหล่ะ มันสามารถทำได้อย่างน่าทึ่งของภูมิปัญญามนุษย์ โดยการนำเอา "ขี้ซี" ที่ตำผงละเอียดมาผสมกับยางไม้ที่ได้จากการเจาะ "ต้นยาง" (ชาวบ้านเรียกต้นตราด) ที่โคนต้นให้เป็นแอ่ง โดยกว้างประมาณ 10 - 20 เซนติเมตร ไว้รองรับน้ำ ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วใช้ไฟเผาทิ้งไว้ประมาณ 10 - 20 นาที (บางคนไปทำกิจธุระอื่นๆ รอ แต่บางครั้งลืมซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของไฟป่าในสมัยนั้น) เพื่อเป็นการเปิดช่องทางให้น้ำมันไหลซึมออกมาเร็วขึ้น จากนั้นก็ดับไฟปล่อยทิ้งไว้ประมาณครึ่งวัน แล้วก็นำภาชนะมาบรรจุเอายางไปใช้ประโยชน์มากมาย เช่น นำไปผสมกับขี้เลื่อยหยาบ หรือซากไม้ผุ เพื่อทำเป็น "คบเพลิง หรือ ไต้"  ส่องแสงสว่างยามค่ำคืน ของวิถีชีวิตของคนในบนโลกนี้ในยุคหนึ่ง เอาแค่นี้แหล่ะนะ

>>>>> มาเข้าเรื่องตะกร้าตักน้ำได้กันนะ ถ้าดูตามลักษณะของตะกร้าแล้วเราก็คงเข้าใจว่ามันตักน้ำไม่แน่นอน เพราะตะกร้าทำจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นเครื่องจักสานนั่นเอง ด้วยภูมิปัญญาของคนโบราณอันล้ำเลิศจึงคิดหาวิธี เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตให้เป็นไปโดยไม่ฝืดเคืองจนเกินไปในชีวิตประจำวัน

>>>>> ขั้นตอนการทำก็มีวิธีง่ายๆ คือ 1.นำผง "ขี้ซี" ที่บดผงร่อนละเอียด 2.น้ำมันยางจากต้นตราด โดยการนำทั้ง 2 ส่วนมาผสมกันในประมาณที่พอเหมาะ ซึ่งเมื่อผสมเสร็จแล้วจะมีคุณลักษณะเหนียวนุ่นคลายๆ กับกาวชั้นดีที่มีคุณสมบัติในการเกาะติดกับผิวของตะกร้าไม้ไผ่ที่จักสานอย่างดี

>>>>> ปริมาณในการนำส่วนผสมทั้ง 2 อย่างนั้นมาโปะลงบนผิวของตะกร้าไม้ไผ่ ความหนาก็กะเอาประมาณ 1 มิลลิเมตร ทั้งด้านนอกและด้านในของตะกร้าให้ทั่วพื้นที่ใช้งานจนมองไม่เห็นเนื้อไม้ที่เป็นตะกร้าใบนั้น เสร็จแล้วก็พร้อมที่จะนำมาทำเป็นภาชนะสำหรับตักน้ำได้อย่างเหนียวแน่และคงทนพอสมควรในยุคนั้น แต่ต้องหลังจากที่ถูกตากผึงไว้ในที่ร่มแล้วประมาณ 2-3 วันเป็นอย่างน้อย (นี่แค่กรณีของตะกร้าตักน้ำเท่านั้นนะ หากใครที่เคยมีประสบการณ์ว่ามันสามารถนำไปใช้กับอะไรได้อีกก็ช่วยนำรายละเอียดมาฝากกันบ้างนะ)

>>>>> เป็นไงละขี้เกียจอ่านแล้วละสิ แต่ขออภัยนะสัพคุณของต้นไม้จิก ต้มไม้รังยังไม่หมดเพียงเท่านี้   ทนๆ อ่านต่อไปนะ ไหนๆ ก็อ่านมานานแล้ว อ่านอีกนิดหนึ่งจะเป็นไรไปละ

>>>>> มาเริ่มอีกทีที่ประโยชน์จาก "ใบตอง" ลักษณะใบตองของ "ต้นไม้จิก" รูปทรงจะเป็นวงรียาว ชาวบ้านไม่ค่อยนำประโยชน์มากนัก ส่วนใบตองของ "ต้นไม้รัง" ลักษณะจะเป็นรูปทรงวงรีกลมใหญ่พอสมควร "ใบตองสด" ชาวบ้านจะนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ห่อหก ห่อขนม ส่วน "ใบตองแห้ง" ชาวบ้านจะเอาไม้ไผ่ประกบเป็นแผงใช้มุงหลังคา กั้นผนัง เป็นต้น

>>>>> ประโยชน์จาก "ดอก" หลังจากฤดูพลัดใบประมาณเดือนธันวาคม - มกราคม ของแต่ละปีแล้ว ทิ้งระยะมาประมาณเดือน 4 - 5  คือประมาณช่วง มีนาคม - เมษายน ก็เริ่มผลิดอกออกใบบานสะพรั่ง ในยามแดดร่มลมตกของช่วงเย็นๆ หากเราได้เดินไปตามราวป่าหรือชายทุ่ง กลิ่นอันหอมอบอวนก็จะฟุ้งกระจายไปทั่ว บริเวณ ประกอบกับกลิ่นเถ้าถ่านของไฟไหม้ป่าช่วงหน้าแล้ง บรรยากาศช่างน่าหลงใหลเสียนี่กะไร

>>>>> และยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ผลพวงขณะที่นานาพันธุ์กำลังเบ่งบานอยู่นี้ ปรากฏว่าได้มีหมู่ภมรน้อยใหญ่ต่างก็เพลินเพดินในการเที่ยวเก็บน้ำหวานจะดอกไม้ ซึ่งก็ทำให้เกิดคำว่า "น้ำผึ่งเดือนห้า" ขึ้นมา เออ..! แล้วนี่จะบอกอะไรให้ คือว่า ในบรรดาน้ำผึ่งที่คนนิยมมากที่สุดก็คือช่วงนี้แหล่ะ ก็เพราะว่าน้ำในช่วงหน้าแล้งมีไม่ค่อยมาก จึงส่งผลให้น้ำจากดอกไม้หวานเป็นพิเศษ และการแสวงหาน้ำหวานของแมลงต่างๆ ก็เป็นวิธีการผสมเกสรดอกไม้ได้เป็นอย่างดีเยี่ยมเลย แต่ก็อย่างว่าแหล่ะนะ เราจะหวนคืนกาลเวลาอันน่าภิรมย์เช่นนั้นคงยากแล้ว เพราะผื้นป่าได้ถูกใช้สอยเป็นที่ทำมาหากินของชาวบ้านไปหมดแล้ว

>>>>> ประโยชน์จาก "ฝักหรือเมล็ด" หลังจากที่เบ่งบานอยู่ประมาณเดือนเศษๆ ฝักหรือเมล็ดก็จะแก่ได้ที่ ซึ่งก็พอดีกับช่วงเดือนหกที่เราๆ ก็พอจะรู้กันว่าปลายร้อนต้นฝน ฉะนั้นช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ จึงทำให้เกิดลมแล้ง หรือคนอีสานจะเรียกว่า "ลมหัวกุด" คือมันจะเกิดจากอากาศร้อนจัด จากนั้นก็จะมีลมพัดแรงๆ โดยฉับพลับ หรือเรียกอีกอย่างว่า "ลมบก" นั่นเอง

>>>>> ซึ่งลักษณะที่มันเป็นก็คือ ลมจะพัดจนเกิดการหมุดอย่างแรงมากๆ จนดูเหมือนกับ "พายุทอร์นาโด" ย่อมๆ เลยทีเดียว แต่ไม่ค่อยเป็นอันตรายมากนัก แล้วมันก็จะหมุนหอบเอาเศษหญ้า เศษใบไม้ ฝุ่นละอองที่เป็นขี้เถ้าสีดำของฟางหรือหญ้าที่ถูกไฟไหม้ป่าหน้าแล้ง ให้ลอยละล่องเป็นกลุ่มก้อนบนท้องฟ้า มองเห็นแล้วสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง สมัยเด็กๆ ชีวิตส่วนมากอยู่กับควายตามชายทุ่ง พอมองเห็นก็ชอบวิ่งเข้าไปเล่นกับเจ้า "ลมหัวกุด" นี้ บางที่ก็เอาผ้าขาวม้าหรือถอดเสื้อออกโยนใส่ เพื่อให้มันลอยขึ้นไปตามลมนั้น มีอยู่เหมือนกันที่ผ้านั้นลอยไปติดอยู่บนต้นไม้สูงๆ ปีนไปเอาได้บ้างไม่ได้บ้าง ซึ่งก็มีความสุขตามประสาของเด็ก "บ้านนอกๆ" เฮ้อ...สนุกซะเพลินเลยเรา เอาละเข้าเรื่องต่อดีกว่า

>>>>> ก็ขณะที่ลมหัวกุดหมุนนี่แหล่ะ "ฝักหรือเมล็ด" ของต้นจิก ต้นรังก็จะถูกพัดพาเอาไปพร้อมๆ กับสัพสิ่งที่เบาพอจะปลิวไปได้ ลักษณะเช่นนับว่าเป็นกระบวนการของการแพร่ขยายพันของนานาพันของแมกไม้ได้ดีนักแล ซึ่งบางครั้งเราทำกิจกรรมอยู่ตามที่ต่างๆ พอมองขึ้นไปบนท้องฟ้าก็จะเห็น เจ้า "ฝักหรือเมล็ด" ของต้นจิก ต้นรัง ร่วงล่นลงมาด้วยการหมุนอย่างสวยงามมาก ราวกับนางฟ้าโปรยดอกไม่ทิพย์ลงมาจากสวรรค์เลยแหล่ะ ไม่แน่ใจนักที่เขาว่า "สวรรค์บนดิน" มันคืออันนี้หรือเปล่า ไชโย..! มีความสุขจังเลย..! เวอร์แล้วเรา

>>>>> ประโยชน์จาก "ใบผุ" จากการสังเกตใต้โคนต้นเมื่อใบแห้งจนผุทับทมกันนานๆ พอฤดูฝนก็จะกล้ายเป็นเชื้อเห็ดชนิดหนึ่ง แต่ไม่แน่ใจว่าเขาเรียกว่าเห็ดอะไร สีเห็ดจะออกชมพูอ่อนๆ หรือชมพูเข้มจนออกสีม่วง นำมาประกอบกับแกงป่ารสชาติอร่อยมาก

>>>>> ประโยชน์จาก "กิ่งไม้จิก กิ่งไม้รัง" หลังจากที่มันตายจะด้วยสาเหตุอะไรต่างๆ มากมายก็ตาม นั่นก็คือมันเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ หรือไม่บางทีคนก็ทำให้มันตาย อันนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับคนเราที่พระพุทธองค์ท่านได้ตรัสสอนมวลมนุษย์มานานแล้ว กิ่งแห้งของมันสามารถตัดไปทำเป็นฟื้นหุงต้ม ซึ่งก็เป็นเชื้อเพลิงได้อีกรูปแบบหนึ่ง (จนกลายเป็นฉากหนึ่งของศิลปินที่จินตนาการแล้วนำเอาวิถีชีวิตของคนที่มีอาชีพเก็บฟื้นขายมาแต่งเป็นบทเพลง "คนเก็บฟื้น" แล้วร้องได้อย่างไพเราะ เป็นที่ชื่นชอบของคนที่คลั่งไคลบทเพลงแนว "เพื่อชีวิต" อยู่ในยุคหนึ่ง )

>>>>> ประโยชน์จาก "เปลือกสด" สามารถใช้ทำเป็นยาสมุนไพรได้ เปลือกไม้จิก ไม้รังสัพคุณ ไม่ต่างกันมากนัก คือ แก้อาการปวดท้อง ท้องร่วงเฉียบพลับ ท้องอืดท้องเฟ้อใช้เป็นยาระบายขับลมได้เป็นอย่าดี วิธีรับประทาน ใช้มีดถากเปลือกหรือหักเอากิ่งสดมาเคี้ยวให้ละเอียด แล้วกลื่นกินน้ำเอากากทิ้ง ปริมาณที่ใช้ 1 - 2 ข้อนิ้วมือ รสชาติจะออกเฝื่อนๆ ฝาดๆ 

>>>>> ประโยชน์จาก "เปลือกแห้ง" สามารถใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงได้ดีพอสมควร แต่อาจจะมีควันแสบตานิดหน่อย 

>>>>> ประโยชน์จาก "ขอนไม้จิก ขอนไม้รัง" หากไม่ถูกคนนำไปใช้ประโยชน์อะไร เมื่อกาลเวลาผ่านล่วงเลยไปซัก 3 - 5 ปี หลังจากที่มันตายแล้ว กระพี้ตามลำต้นจะเริ่มผุ เปลือกจะหลุดออกบ้างเล็กน้อย ทีนี้จะมีพวก "ด้วง" ชอบมาไชเพื่อวางไข่ ชาวบ้านชอบไปเจาะเอามาคั่วกินรสชาติอร่อยมันดี นอกจาก "ด้วง" แล้วยังมี "เห็ดกระด้าง" ชอบขึ้น แต่ขอนไม้ต้องมีความชุ่มชื่นพอเหมาะ ส่วนมากจะออกช่วงหน้าฝน เห็ดกระด้างสามารถนำมาประกอบหารได้หลายอย่าง เช่น ทำลาภ แกงป่า เป็นต้น[/size]

[center][URL=http://www.baanmaha.com/community/showthread.php?p=183857][IMG]http://img184.imageshack.us/img184/3689/hed1tf5.jpg[/img][/URL][/center]

[size=13pt]>>>>> ประโยชน์จาก "ตอ" ต้นจิก ต้นรัง ที่คนตัดเอาต้นไปใช้งานแล้ว โคนหรือ "ตอ" ก็จะมี "เห็ดกระด้าง" เกิดขึ้นรอบกระพี้ของ "ตอ" และตอไม้ก็สามารถขุดถอนราก แล้วนำเอาไปใช้ประดับเพื่อความสวยงามได้อีกต่างหาก เช่น ตกแต่งสวนหย่อม หรือนำมาทำเครื่องตกแต่งบ้าน เป็นต้น [/size]

[center][size=14pt]>>>>> หมดแล้วแหล่ะ <<<<<
([url=http://www.phunchulee.com]Phunchulee[/url])
29 / 02 / 51[/size][/center]

ขอบคุณ  phunchulee ครับที่เอาข้อมูลมาเพิ่มเติม

ใครมีชันโรงใต้ดิน ผมอยากนำมาอุดเบี้ยแก้

และอยากซื้อจำนวนมากเป็นกิโลเลยครับ

ใครมีบ้าง แต่ขอให้เป็นชันโรงใต้ดินแท้ๆ

ไม่ผสมยางไม้นะครับ ขอเป็นชันโรงใต้ดิน

ทราบว่ามีแถวอิสานเยอะมาก ผมขอแบ่งชื้อหน่อย

หรือใครพอทราบแหล่งซื้อขาย บอกผมหน่อยครับ

ทางเมล หรือ 086 9000 249

สวัสดีครับคุณชัย

ผมไม่รู้จักชันโรงใต้ดิน รู้จักแต่ชันโรงที่อยู่บนดินครับ

ขออภัยที่ผมไม่สามารถช่วยได้นะครับ

อย่างไรก็ตามจะลองสอบถามชาวบ้านดู

 

หากได้ความอย่างไรก็จะตอบต่อไปครับ

ขอบคุณครับ

 

ิเรียนพี่ bangsai

จิงๆแล้วก็คือชันโรงอันเดียวกันแหละครับพี่

แต่มันไปทำรังใต้ดิน แทนต้นไม้

ที่เอารังชันโรงใต้ดิน เพราะต้องการเอาเคล็ด ครับผม

แถวอีสานจะมีเยอะ ที่เขาเอาไว้อุดแคนครับพี่

ถ่าจะรับซื้อชันยาเรือไม่ทราบว่าจะหาซื้อได้ที่ไหน ต้องจำนวนมากหลายตันเลย ขอราคาปัจจุบันและสถานที่ติดต่อให้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

คุณชัยครับ จะถามชาวบ้านให้นะครับ  หากได้คำตอบอย่างไรแล้วจะบอกให้ทราบครับ

คุณ ลลดาครับ

โห ซื้อชันยาเรือหลายตันเลยหรือครับ คงเป็นเรือรบแน่เลย (อิอิ แซวเล่น) เรียนตามตรงผมไม่ทราบครับว่าจำนวนมากขนาดนั้นจะมีหรือไม่ มีที่ไหน อย่างไรก็ตาม จะพยายามสอบถามข้อมูลจากต้นทางไปสู่ปลายทางให้นะครับ

เอาเป็นตันนี่ คงต้องรวบรวมมาจากต้นไม้หลายป่า แน่เลย

ขายชันหรือขี้ชีอุดเรือจำนวนมาก 18-22 บาท โทร 087 947 0243

-----

<a href=http://www.savetubevideo.com>how to download youtube</a>

ขอทราบเบอร์โทรเจ้าของบล็อกนี้หน่อยคะ หนิงทำรายการเส้นทางเศรษฐ๊ กำลังหาข้อมูลเรื่องขึ้สูด ขี้ซีอยู่ จะขอคำปรึกษานิดหนึ่งคะ รบกวนติดต่อกลับที่เบอร์ 0814805595 นะคะ

ขอทราบ email address ครับเพราะตอนนี้ผมอยู่ลาวครับ

มีชันขายจำนวนมากครับ ติดต่อมาได้ครับ 086-3747139 วีระ

ผมมี ชัน และ ยางบง ครับ จำนวนมากด้วย เป็นตันๆ หากต้องการโทรมาคุยกันได้ครับ 085-4393909-นิ่ม    087-9608456-หนุ่ม

สวัสดีค่ะดิฉันต้องการซื้อ ซันหรือ ขี้ซี จำนวนมากสนใจโทร 0870101691

คุณวิมลครับ รายชื่อข้างบนพร้อมหมายเลขคือผู้ต้องการขายขี้ซี ลองติดต่อกันนะครับ สาวนผมเองนั้นไม่ได้อยู่ในพื้นที่นี้แล้วครับ

คุณ Aoung ลองติดต่อกันเองนะครับกับท่านที่อยู่ด้านบนๆนั้นครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท