เครือข่ายทางการศึกษา การขับเคลื่อนทิศทางการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ร่วมมือ ร่วมใจ และพัฒนา


พลังมวลชนที่ร่วมขับเคลื่อนทางการศึกษา คือ พลังที่มีค่าของสังคม

เมื่อวันก่อนผมได้เขียนบันทึกเรื่อง "ครูแนะแนว" (ตามลิงค์) วันนี้จึงอยากนำเสนอความจำเป็นเร่งด่วนอีกเรื่องที่จะทำให้เราเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ได้ คือ การสร้างเครือข่ายทางการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้...


  <p style="text-align: center;"></p> <p style="text-align: center;">ภาพจากบล๊อกอาจารย์จารุวัจน์ “การศึกษากับทุนทางสังคม(๑)”</p> <p style="text-align: justify;">     ทำไมผมจึงอยากนำเสนอเรื่องนี้มานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ลองดูนะครับว่าท่านจะเห็นด้วยกับผมรึเปล่า! เราคงเคยไ้ด้ยินว่าการแก้ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดายแดนภาคใต้ต่อสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเราต้องแก้ด้วยการสร้างมวลชนสู่ความสันติสุข และแล้วเราก็เกิดเครือข่ายภาคประชาคมมากมายในพื้นที่ในการมาร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนับว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่เราเห็นเครือข่ายภาคประชาสังคมเพิ่มมากขึ้น จนนับได้ว่าเครือข่ายเหล่านี้สามารถสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ได้มากขึ้น</p> <p style="text-align: justify;">      หากเราจะคิดต่อว่าแล้วกุญแจสำคัญที่จะร่วมแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน คือ อะไร? คำตอบของใครๆหลายๆคนคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า คือ “การศึกษา” ฉะนั้นหากคำตอบนี้ คือ คำตอบที่อยู่ในใจใครๆหลายๆคน คำถามต่อของผม คือ ทำไมเราไม่มาร่วมผลักดันการขับเคลื่อนทางการศึกษาในพื้นที่อย่างจริงจัง และพลังที่จะทำให้การขับเคลื่อนวางอยู่บนฐานรากของความเข้มแข็งได้ คือ ฐานรากของเครือข่ายภาคการศึกษาในพื้นที่ ที่ไม่แบ่งข้างแบ่งขั้วภาพความสลัวของทิศทางการขับเคลื่อนทางการศึกษาก็จะัค่อยๆเลือนลางจางหายไป เำหลือเพียงความหวังและพลังแห่งแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์</p> <p style="text-align: justify;">       ดังนั้นจุดมุ่งหมายของผมที่อยากจะนำเสนอและคิดว่าเราทุกคนสามารถร่วมเป็นแรงขับได้ด้วยความสามารถเท่าที่ทุนของทุกคนมีอยู่ นั่นก็คือ “ทุนทางปัญญา” คือ “การร่วมกันสร้างเครือข่ายทางการศึกษา” ที่เข้มแข็ง ด้วยการร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป</p> <p style="text-align: justify;">      อย่าลืมนะครับว่า…มันถึงเวลาแล้วที่จะเพียงบอกว่า “การศึกษาสำคัญที่สุดที่จะร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างยั่งยืน” แต่เราต้องทำให้ประจักษ์ชัดในคำตอบที่ว่า “ความสำคัญของการศึกษาจะร่วมแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนได้อย่างไร” และนี่ก็คงเป็นโจทย์ท้าทายต่อไปสำหรับนัการศึกษาในพื้นที่ที่ได้เริ่มก่อตัวการสร้างความร่วมมือเครือข่ายภาคประชาสังคม เครือข่ายภาคประชาชนที่เรียกว่า “เครือข่าย(ทาง)ภาคการศึกษา”</p> <p style="text-align: justify;"> </p><hr><p style="text-align: center;"></p>

หมายเลขบันทึก: 313809เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2009 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

  • "การศึกษาสำคัญที่สุดที่จะร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างยั่งยืน"
  • พี่คิมก็เชื่อเช่นนั้นค่ะ...แต่เชื่อบ้างไหมคะว่าผู้ปฏิบัติอาจทำให้ล้มเหลว
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ

ขอบคุณมากครับพี่

P

ครูคิม

  ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ... ประเด็น "หากผู้ปฏิบัติจะทำให้ล้มเหลวนั้น" ผมมองว่าอันนี้น่าคิดนะครับว่า "แล้วการศึกษาที่ผ่านมา่ช่วยอะไรเขาบ้าง" อิอิ

  • ผมขอร่วมแสดงความเห็นด้วย
  • การแก้ปัญหาทางภาคใต้สามจังหวัดน้้นหลายคนเห็นว่าควรแก้ที่การศึกษา ผมก็เห็นด้วย
  • นโยบายต่างๆ วิธีการต่างๆ ที่มาใช้ทางภาคใต้ตอนนี้มีมากมาย ทั้งทางการศึกษาและทางด้านอื่น แต่รู้ไหมผมได้พบคุยกับหลายคนทั้งชาวบ้านธรรมดา คนมีการศึกษารวมถึงคนที่เราเรียกว่าผู้หลักผู้ใหญ่ เขาว่าโครงการต่างๆเหล่านั้น เป้าหมายหลักคือเงิน
  • เวลาเราทำอะไร จะบอกอย่างไรก็ได้ แต่ในใจเราเท่านั้นที่รู้ ท่านนบีบอกว่า คนที่อพยพ(ฮิจเราะฮฺ) เพราะสตรีที่ต้องการแต่งงานด้วย การอพยพของเขาก็จะได้สิ่งนั้น
  • เราทำวิจัย.. ทำทำไม.. จะให้งบมาช่วยเราหรือว่า เราจะตะครุบงบ

 

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

ขอให้ทุกๆการงานของเราเป็นอิบาดะฮฺครับ และผมเื่ชื่อว่าพลังขับเคลื่อนทางการศึกษาที่ผมสัมผัสวันนั้นทุกคนอยากช่วยขับเคลื่อนด้วยใจครับ แต่สิ่งที่อาจารย์พูดมาก็น่าขบคิดครับสำหรับใครหลายคน อิอิ

ต้องยอมรับว่า โอกาสดีๆ ของเยาวชนในสามจังหวัดเสียไปเพราะไม่ได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเฉพาะบทบาทของครูแนะแนวที่จะต้องนำข้อมูลดีๆ มาให้นักเรียน

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

จารุวัจน์ شافعى

 ประเด็นนี้เห็นด้วยอย่างไม่มีข้อแย้งครับว่า

"โอกาสดีๆ ของเยาวชนในสามจังหวัดเสียไปเพราะไม่ได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเฉพาะบทบาทของครูแนะแนวที่จะต้องนำข้อมูลดีๆ มาให้นักเรียน"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท