บทบาทครู : บทบาทผู้รู้ในพื้นที่จินตนาการ


          วันพุธที่ ๒๐ มกราคมที่จะถึงนี้นี้ ผู้เขียนได้รับการทาบทามให้ไปบรรยายให้แก่ครู สช. ที่บรรจุใหม่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้งใจเรียบเรียงเอกสารประกอบเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบรรดาคุณครูผู้มีความมุ่งมั่นควรได้รับการยกย่องทุกคนสำหรับการปฏิบัติหน้าที่บนพื้นที่แห่งสารพันเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้น โดยที่มิมีใครสามารถบอกได้ว่ามันจะสิ้นสุดเมื่อใด จึงอยากนำบทความสั้นดังกล่าวนี้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้เขียนได้มีโอกาสนำไปแลกเปลี่ยนกับบรรดาคุณครูผู้น่ารักในพื้นที่ต่อไปครับ


 

บทบาทครู : บทบาทผู้รู้ในพื้นที่จินตนาการ[1]

                                                  เรียบเรียง : สุรชัย(ฟูอ๊าด)  ไวยวรรณจิตร[2]

ครู สช. : ครูสร้างชาติ 

                การศึกษามีบทบาทอย่างยิ่งต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมอาณาประเทศแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสื่อสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีข้อจำกัดอยู่มากมายหลายด้านในการพัฒนาการศึกษาให้เดินไปตามเป้าประสงค์การกำหนดทิศทางที่ควรจะเป็นจนเสมือนเนื้อร้ายที่หากไม่หาทางป้องกันแก้ไขอย่างเร่งด่วนการพัฒนาก็จะยิ่งหาทิศทางการพัฒนาได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดูจะเหมือนไร้กรอบทิศทางในการแก้ไขหรือผลักดันการก่อเกิดองค์ความรู้ที่ควรจะเป็นให้แก่นักเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณภาพด้านการศึกษา

                จากรายงานค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 4 (ม.6) ปีการศึกษา 2551 จำแนกตามจังหวัดของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) (2551) พบว่า การศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีคุณภาพที่ต่ำเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นของประเทศไทย

เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในการจัดการศึกษาในพื้นที่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการพัฒนาที่ถูกทิศทางสามารถปฏิรูปการศึกษาที่สอดคล้องกับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลเชิงประจักษ์[3]

             สำหรับผู้เขียนแล้วการเป็นครู สช. มิใช่เป็นเพียงแต่เป็นครูที่สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนแต่หมายถึง ครูสร้างชาติอย่างที่ควรจะเป็น บทบาทที่ควรตระหนักภารกิจที่ต้องทบทวนล้วนเป็นสิ่งที่ต้องใคร่ครวญครุ่นคิดเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะพื้นที่แห่งนี้พื้นที่ที่ผู้เขียนเองมองว่ายังคงเป็นพื้นที่แห่งจินตนาการที่เราทุกคนทุกภาคส่วนต้องร่วมวาดฝันไปเรื่อยๆเพื่อสร้างสังคมแห่งสันติสุขภายใต้กระแสการต้านทานที่หนักหน่วงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้

การให้การศึกษาด้วยแบบอย่าง[4]

            แบบ อย่างในเรื่องการให้การศึกษาหรือการอบรมสั่งสอนนับว่าเป็นวิธีการที่มี อิทธิพลมากสำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ที่อยู่ภายใต้การอบรม โดยเฉพาะการอบรมในด้านกริยามารยาทแก่บุตรหลาน การสร้างสภาพจิตใจที่ดีและพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม เพราะผู้อบรม-จะเป็นบิดามารดาหรือครูบาอาจารย์-นับว่าเป็นแบบอย่างที่สูงสุด แก่เด็กๆ แบบอย่างที่ดีจะอยู่ในสายตาของเด็ก เด็กจะเลียนแบบตามที่เขาได้มองเห็น  กระทำตามทั้งที่ผู้กระทำ นั้นจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ภาพที่เด็กมองเห็น คำพูดที่เขาได้ยิน ความรู้สึกที่เขาได้พบ จะบันทึกลงในความจดจำของเขาทั้งที่รู้ตัวเขาตั้งใจที่จะจดจำ และไม่รู้ตัวได้ซึมซับเข้าไปในความทรงจำ 

           ดังนั้น แบบอย่างนับเป็นการกระทำที่นับว่าสำคัญมากที่ทำให้เด็กคนหนึ่ง(หรือหลายคน)เป็น คนดีหรือคนเลวได้ ถ้าบิดามารดาหรือครูที่ดี ซื่อสัตย์ รักยุติธรรม เป็นคนมีเกียรติ กล้าหาญและไม่กระทำผิด .. เด็กที่อยู่ใกล้เขาก็จะเป็นเด็กดี ซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีเกียรติ กล้าหารและจะไม่กระทำผิดด้วย.. ในทางตรงกันข้ามถ้าพ่อแม่หรือครูที่อบรมเลี้ยงดูเด็กเป็นคนที่ชอบพูดโกหก ชอบทำลายล้าง ไว้ใจไม่ได้ เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวและอื่นๆ เด็กที่เขาเลี้ยงดูก็จะเป็นเด็กที่ชอบพูดโกหก ชอบทำลายล้าง ไว้ใจไม่ได้ เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว และอื่นๆเหมือนบิดามารดาหรือครูที่สอนเขาเช่นกัน    

              เด็ก แม้จะมีการเตรียมการที่ดีเพื่อให้เป็นเด็กดีหรือคนดีในอนาคตอย่างดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพื้นฐานของชีวิตจะบริสุทธิ์และปลอดภัย ก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าพร้อมที่จะตอบรับพื้นฐานที่ดี ตราบใดที่เขาไม่ได้รับการศึกษาที่ดีด้วยการมองภาพของบิดามารดาหรือครูที่มี เพียบพร้อมด้วยมารยาทที่ดี มีคุณค่าที่สูงสุดและเป็นแบบอย่างที่สูงส่ง  เป็น เรื่องง่ายมากสำหรับครูหรือบิดามารดาที่จะสอนลูกหลานให้เป็นไปตามหลักสูตร หรือตำราการอบรมลูก แต่เป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้เด็กกระทำตามที่ได้สอนไว้ตราบใดที่ผู้สอนไม่ ได้ปฏิบัติตามที่เขาสอน   

         กวีอาหรับท่านหนึ่งได้ร่ายถึงครูคนหนึ่งที่พฤติกรรมผิดจากที่เขาได้สอนเด็กว่า…

 โอ้ครูที่สอนคนอื่น

เจ้าได้สอนตัวเจ้าแล้วหรือยัง 

เจ้าบอกยาแก่คนป่วยและคนอ่อนแอ 

เพื่อให้เขาหายป่วย ทั้งที่เจ้าเองยังป่วยยังอ่อนแออยู่
เริ่มต้นที่ตัวเจ้าและหันห่างจากการหลงทาง

ถ้าทำสิ่งนั้นได้แล้ว เจ้าก็จะเป็นคนยอดเยี่ยม               
เมื่อนั้นคำตักเตือนของเจ้าจะเป็นที่ยอมรับและได้รับการนำไปปฏิบัติ          
ความรู้มาจากเจ้า การสอนของเจ้าก็จะมีประโยชน์”

บทบาทคนเฝ้าสวน 

                หลายคนมักเปรียบครูเป็นดั่งเรือจ้างที่คอยส่งผู้คนให้ถึงฝั่งฝันแต่สำหรับผู้เขียนแล้วอยากจะเปรียบครูเสมือนคนเฝ้าสวนที่ทำงานมากกว่าการหวังผลตอบแทนเพียงเพื่อพาคนไปให้ถึงฝั่งเท่านั้น เพราะผู้เขียนคิดว่าคนเฝ้าสวน คือ คนที่คอยดูแลต้นไม้หลากหลายพันธุ์ที่คอยเติมฝันให้ทุกคนได้เชยชมความสวยงามปิติยินดีแม้ในวันหนึ่งวันใดต้นไม้เหล่านั้นจะไปเจริญเติบโตต่อไป ณ ที่หนึ่งที่ใดก็ตามคนเฝ้าสวนก็น่าจะชื่นชมยืนดีและมีความสุขกับต้นไม้ที่เคยดูแล ดั่งบทความเรื่องหนึ่งที่ว่า...

       ... นาน มาแล้วมีผู้ชายคนหนึ่งมีอาชีพเป็นคนเฝ้าสวน เขารักต้นไม้มาก วันๆของเขาจึงหมดไปกับการดูแลต้นไม้ ณ สวนแห่งหนึ่งที่มีต้นไม้หลากพันธุ์เค้ารดน้ำพรวนดินทุกวันด้วยหวังจะเห็นมัน เจริญเติบโต แล้ววันหนึ่งคนเฝ้าสวนก็พบว่าต้นไม้จำนวนหนึ่งในสวนข้างๆกำลังเหี่ยวเฉา กำลังใกล้ตายเต็มที ด้วย ความเป็นห่วงเขาจึงเข้าไปช่วยดูแล รดน้ำพรวนดินทุกเช้าเย็นจนกระทั่งมันดีขึ้น มันกลับมาชูช่อกิ่งใบได้ดีดังเดิม ไม่นานต้นไม้เหล่านั้นก็ออกผล แล้วเจ้าของสวนก็กลับมาเก็บเกี่ยวผลเหล่านั้นออกสู่ตลาด โดยไม่ได้ให้ผลเหล่านั้นแก่คนเฝ้าสวนเลยแม้แต่ผลเดียว แต่คนเฝ้าสวนก็ภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ของเขาอย่างเต็มที่ เพราะความสุขของเขาคือการได้เห็นต้นไม้เจริญเติบโตและสามารถออกผลสู่ตลาด หล่อเลี้ยงชุมชนสังคมตลอดไป วัน หนึ่งขณะที่เขากำลังพรวนดินอยู่นั้น มีเจ้าของโรงงานแห่ง หนึ่งเดินผ่านมา จึงแวะทักทายและชักชวนไปทำงานที่โรงงานแห่งนั้น ซึ่งดีกว่าสวนแห่งนี้มาก นอกจากจะได้ทำงานในที่ร่มแล้วยังได้ค่าตอบแทนสูงอีกด้วย แต่กลับถูกคนเฝ้าสวนปฏิเสธ พร้อมบอกเหตุผลว่าเขามีความชำนาญใน การดูแลต้นไม้มากกว่า เขาไม่เคยรำคาญหรือเกียจคร้านเลยสักวัน เพราะเขามีใจรักมันนั่นเอง แม้เจ้าของโรงงานจะเสนอค่าจ้างที่สูงเท่าไรก็ตามแต่เขาก็ไม่เคยคิดที่จะละ จากงานนี้ เพราะเขารู้ดีว่าต้นไม้อีกมากมายที่รอคอยการดูแลจากเขาและเพราะต้นไม้มีค่า มากกว่าเศษตังค์เหล่านั้น และเขายังคิดอีกว่าหากวันนึงไม่มีเขาต้นไม้เหล่านี้คงหมดสวนภัยอันตรายยิ่ง ใหญ่จะเกิดขึ้น ผู้คนจะเดือดร้อนดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะเป็นคนเฝ้าสวนต่อไป...[5]

 

ตัวอย่างโครงการ : คืองานที่อยากให้ก่อเกิด

ครูเพื่อศิษย์ : โครงการที่อยากให้ส่งเสริมและต่อเติมความเป็นจริง

              ความสุขของคุณครูคนหนึ่งคงไม่ได้เพียงเพราะรางวัล แต่เพราะปัจจุบันชีวิตของนักเรียนและชุมชนเริ่มเปลี่ยนไป กระแสค่านิยมต่างๆจากตะวันตกได้คืบคลานเข้ามาอย่างที่คิดว่าไม่เป็นไรคงอีกยาวไกลกว่าภัยเหล่านี้จะถึงตัวลูกหลานของเรา ฉะนั้นการก่อเกิดโครงการ “ครูเพื่อศิษย์” อย่างที่มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ได้ดำเนินโครงการผู้เขียนมองว่าเป็นเรื่องที่ควรสันบสนุนเป็นอย่างยิ่ง หากแต่ว่าภายใต้เงื่อนไขการก่อเกิดขึ้นโครงการดังกล่าวนี้ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้แห่งนี้จะก่อเกิดในรูปแบบใดนั้นผู้เขียนเชื่อว่าทุกคนที่พร้อมจะทำหน้าที่ในพื้นที่จินตนาการแห่งนี้คงมองภาพวาดฝันที่สวยงามของเราได้ไม่ยากด้วยความเชื่อที่ว่า “หากทุกคนไม่เลือกที่จะมาร่วมกันสร้างสรรค์พื้นที่แห่งนี้ก็คงไม่เลือกที่จะมานั่งทำหน้าที่ถึงทุกวันนี้”

คืนครูให้นักเรียน : โครงการที่พากเพียรอยากให้เป็นจริง

                ผู้เขียนอยากจะเรียกร้องเชิญชวนหากแต่ยังคงเชื่อมั่นว่าคงไม่ใช่เฉพาะผู้เขียนเท่านั้นที่อยากจะเรียกร้องเชิญชวนโครงการดั่งกล่าวทุกคนทั้งประเทศก็คงจะฝากความหวังไว้กับคุณครูทุกคนบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า “ลูกใครไม่สำคัญศิษย์ของฉันนั้นคือลูก...” แม้สถานการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรแม้ความไหวหวั่นของจิตใจจะหวั่นไหวอีกสักเท่าไหร่อีกนับจากนี้ขอให้เราทุกคนได้ทำหน้าที่ด้วยความอิคลาส(บริสุทธิ์) โดยเชื่อมั่นว่าบททดสอบที่เกิดขึ้น คือ เกราะอันแข็งแกร่งในการก่อเกิดซึ่งความรักในบทบาทหน้าที่มากยิ่งขึ้นเพื่อหวังผลจากพระเจ้าในโลกหน้าอันสถาพร…ฯลฯ

บทส่งท้าย : ครู คือ ผู้ให้ ผู้เติมเต็ม และผู้เมตตา[6]

          ครู คือผู้ให้  ผู้เติมเต็ม  และผู้มีเมตตา  ดังนั้นอาชีพครูจึงเป็นอาชีพที่มีเกียรติ  ท่านนบี (ศ็อลฯ) นั้นให้เกียรติผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครู แม้ว่าจะเป็นคนต่างศาสนิก หรือศัตรู ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ท่านได้ไถ่ตัวเชลยศึกในสงครามบะดัร ซึ่งเป็นมุชริกีน ชาวมักกะฮฺ โดยให้เป็นครูสอนเด็กมุสลิมชาวนครมะดีนะฮฺจำนวนสิบคน  แบบอย่างของท่านนบีนี้เป็นแบบอย่างที่งดงามที่มุสลิมทุกคนควรตระหนัก หากมุสลิมได้ตระหนักแล้ว กรณีการฆ่าครู หรือทำร้ายครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้คงจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน

ขออัลลอฮฺ(สุบหาฯ)ได้ทรงชี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงด้วยเถิด...อามีน 

 


 

เอกสารอ้างอิง

ฟูอ๊าด ไวยวรรณจิตร.2552.บันทึกเรื่องเล่าจากคนต่างถิ่น.งานเขียนรวมเล่ม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน).2551.รายงานค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 4 (ม.6) ปีการศึกษา 2551 จำแนกตามจังหวัด(ออนไลน์).สืบค้นจาก http://www.niets.or.th. [17 /1/ 2553].

สุรชัย ไวยวรรณจิตร.2552.ส่วนหนึ่งของรายงานวิจัยเรื่อง: การศึกษาสาเหตุที่ทำให้คะแนนโอเน็ตต่ำฯ.ทุนวิจัยสนับสนุนจาก สทศ.

อับดุลเลาะฮฺ  หนุ่มสุข.2553.ครูคือผู้ให้ ผู้เติมเต็ม ผู้เมตตา (ออนไลน์).สืบค้นจาก http://www.islammore.com [ 17 /1/ 2553].

อิบรอเฮม หะยีสะอิ.2553.คำนำการให้การศึกษาด้วยแบบอย่าง (ออนไลน์).สืบค้นจาก http://www.almustofa.com [17 /1/ 2553].

 


[1] เอกสารประกอบการบรรยาย “บทบาทความเป็นครูหน้าที่และการสร้างเครือข่ายของครู สช.”

[2] อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา.

[3] สุรชัย ไวยวรรณจิตร.2552.ส่วนหนึ่งของรายงานวิจัยเรื่อง: การศึกษาสาเหตุที่ทำให้คะแนนโอเน็ตต่ำฯ.ทุนวิจัยสนับสนุนจาก สทศ.

[4] อิบรอเฮม หะยีสะอิ.2553.คำนำการให้การศึกษาด้วยแบบอย่าง (ออนไลน์).สืบค้นจาก http://www.almustofa.com [ 17 /1/ 2553].

[5] ฟูอ๊าด ไวยวรรณจิตร.2552.บันทึกเรื่องเล่าจากคนต่างถิ่น.งานเขียนรวมเล่ม.

[6] อับดุลเลาะฮฺ  หนุ่มสุข.2553.ครูคือผู้ให้ ผู้เติมเต็ม ผู้เมตตา (ออนไลน์).สืบค้นจาก http://www.islammore.com [ 17 /1/ 2553].

หมายเลขบันทึก: 328668เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2010 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

        บทบาท "ความเป็นครู" เป็นบทบาทที่มีความเสียสละสูงอยู่แล้ว เพราะครูต้องทำหน้าที่เหล่านี้ตลอดเวลา ไม่ว่าที่ไหนเมื่อไหร่เมื่อศิษย์หรือแม้แต่คนในชุมชมเองเมื่อเจอครูก็ต้องเรียกครูว่า "ครู" เสมอ...

        ยิ่งบทบาทครูในพื้นที่ที่มีความแตกต่างและหลากหลายและมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายด้วยแล้ว บทบาทครูจึงต้องมีความเสียสละเพิ่มมากขึ้นอีกเป็นหลายเท่า แต่เพราะที่ไหนที่มีเด็กและเยาวชนที่นั่นต้องมีครูนะครับ...

        สำหรับผมแล้วผมมองว่าในพื้นที่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง พลังของเด็กและเยาวชนเป็นพลังบริสุทธิ์และมีความเข้มแข็งมากนะครับ เพราะฉะนั้นการที่เด็กและเยาวชนเหล่านั้นจะเป็นพลังที่เข็มแข็งได้คงต้องอาศัยการเรียนรู้และชี้แนะแนวทางนะครับ...

        ซึ่งหน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่หลักหน้าที่หนึ่งของครูนะครับ แต่ถึงอย่างไรครูก็คงจะทำหน้าที่เหล่านี้ได้ไม่เต็มที่หากไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน ยิ่งเฉพาะครูที่บรรจุใหม่ด้วยแล้ว คงต้องใช้ความพยายามมากนะครับในการปรับตัวและอยู่ร่วมกับชุมชน...

        ผมขอเป็นกำลังใจให้ครูบรรจุใหม่ทุก ๆ ท่านนะครับ ในการลงไปปฏิบัติหน้าที่ ๆ สำคัญเพื่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่รอความหวังและโอกาสในการเรียนรู้และความหวังเพื่อการเปลี่ยนแปลงดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตครับผม...

 

ขอบคุณมากครับบัง

P

Mr.Direct

น่าจะเชิญมาเป็นวิทยากรร่วมจังเลย อิอิ...สะท้อนมุมคิดที่ดีมากครับ

ขอเป็นกำลังใจให้ในการทำหน้าที่ว่าที่ ดร. นะครับ สู้ๆครับ (ปลอบใจตัวเองด้วยครับ)

มาช่วงวันครูพอดีเลยนะครับ  ครูเป็นอาชีพที่ยิ่งใหญ่ เพราะ

   ครู คือผู้ให้  ผู้เติมเต็ม  และผู้มีเมตตา

  ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง บอกว่า  งานของครู เป็นงานที่มีผลบุญที่ยิ่งใหญ่เลยนะครับ เพราะเป็นงานสร้างคน

                  ขอบคุณบันทึกดีๆเพื่อครู ครับ

สลามครับนอง ฟูอ๊าด มาฟัง การบรรยาย บทบาทของบัณทิตอาสา ศอ. บต. กับงานข้อมูลในพื้นที่ เพื่อยกระดับรายได้

โดยดร. สุธีระประเสริฐสรรพ์ คณะวิศกรรมมอ.

ไห้รู้การยกระดับมูลค่า และคุณค่า

ขอบคุณมากครับอาจารย์

 

P

small man

ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่มอบให้แด่คุณครูเช่นกันครับ

ขอบคุณมากครับบัง...

P

วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

ที่นำเอาข่าวคราวมาบอกครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบังจะเป็นคนหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นการก่อเกิดการยกระดับอย่างที่ควรเป็นกับการทำงานกับ ศอ.บต. นะครับ

โห... เล่นอ้างอิงบทความของผมยังงี้ ผมคงต้องไปเคาะความขี้เกียจออกแล้วไปสานต่อเรื่องนั้นให้จบ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

ครับเห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับว่าอาจารย์ควรต้องสานต่อครับเพราะผมคิดว่าการมองการศึกษาในพื้นที่ด้วยวิถีคิดกับอิสลามน้อยคนครับที่ทำได้ ณ ตอนนี้เพราะฉะนั้นอาจารย์ควรนำร่องเลยครับ สนับสนุนเต็มที่ครับ

   แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างนี้ครับ...เรื่องบางเรื่อง ข้อความบางข้อความเราเองอาจมองว่ามันจะมีประโยชน์กับใครหรือเปล่า เชื่อเถอะครับว่า บางครั้งในมุมเล็กๆข้อความสั้นๆมันอาจสร้างพลังในการก่อเกิดแรงขับเคลื่อนในพื้นที่แห่งนี้ครับ ยิ่งด้วยกับการศึกษาด้วยแล้วยิ่งเห็นชัดครับ (วัลลอฮฺอะลัม)

    ขอสนับสนุนให้อาจารย์สานต่อนะครับ...

     ดูแลสุขภาพด้วยครับ

สวัสดีค่ะ น้องชาย

  • ปลื้มใจจริงๆๆ กับบทบาทความเป็นครู ที่มีแต่ให้
  • หนทางยังอีกยาวไกล  สำหรับน้องชาย  แต่สำหรับครูอ้อย มีแต่จะอ่อนแรงลง
  • คงจะต้องฝาก  เท่าที่ฝากได้  ณ ที่แดนไกล  จงรู้ไว้ว่า  มีแรงแสงเทียนเล่มหนึ่ง  ที่ยังส่องสว่าง และส่งกำลังใจไปให้แดนไกลเสมอค่ะ

ขอบคุณน้องชาย มีกำลังใจเสมอๆๆนะคะ

ขอบคุณมากครับ

P

ครูอ้อย แซ่เฮ

แสงเทียนแห่งกำลังใจยิ่งผ่านกาลเวลามากเพียงใดยิ่งสร้างพลังทางใจมากขึ้นเท้านั้นครับ

ขอบคุณทุกก้าวย่างของกำลังใจครับพี่ครูอ้อย

ดูแลสุขภาพด้วยครับ

สวัสดีครับ

  • ขอบคุณที่แวะไปร่วมห่วงใยเด็กๆวัยรุ่นยุค สื่ออันตราย
  • โชคดีมีสุขนะครับ

ขอบคุณมากค่ะที่นำมา ลปรร.เพื่อคุณครูไทยค่ะ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

rinda

เรื่องราวดีๆมีไว้แบ่งปันครับ

ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูทุกคนครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • เป็นเรื่องที่น่าคิดและน่ากระทำค่ะ
  • เริ่มที่ตัวตนของครูก่อน  สอนตน  สอนคน  และสอนงาน
  • หน้าที่ของเราค่ะ  หนักเสียด้วย  แต่ก็ต้องพยายาม 
  • รวมทั้งใส่ความจริงใจลงไปในงานด้วยความบริสุทธิ์และ...และเราก็จะทำงานด้วยใจที่เป็นสุข
  • สุขสวัสดีค่ะ

 

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

Lioness_ann

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับทุกการงาน คือ การทำด้วยความอิคลาส(บริสุทธิ์ใจ) ครับ

สุขสวัสเช่นกันครับ

แวะมาทักมายและขอบคุณสำหรับข้อแนะนำดีๆที่ทิ้งไว้ให้ที่บล็อกค่ะ แวะไปเยี่ยมเยียนติชมกันได้อีกนะค่ะคุณครู

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

aungor

ข้อคิดดีๆมีไว้แบ่งปันครับ...เช่นกันครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณมากที่ได้กรุณาไปนำพี่แจ๋วมาพบบันทึกดี ๆ บันทึกนี้
  • ขอบคุณความเอาใจใส่คนเป็นครูแทนคุณครูทุกท่านค่ะ
  • บทบาทของครูยิ่งใหญ่นัก
  • อยู่ที่ว่าครูจะรู้ตัวหรือเปล่า....
  • ขอบูชาพระคุณครูทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
  • ขอบคุณอีกครั้ง

...สลาม..อาจารย์ฟูอ๊าต.ขอมอบให้เพื่อเป็นกำลังใจนะ..

...ครูคือช่างที่ชาติเขาวาดหวัง...เด็กจะยั่งรากดีที่นี่หนอ..เป็นช่างที่ให้ความรักช่วยทักทอ..ช่างเติมต่อชีวิตและจิตใจ..สร้างคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์..ช่วยเพิ่มพูมปัญญาน่าเลื่อมใส..เป็นช่างที่อดทนกว่าใครใคร..กว่าจะได้ปฎิมากรรมล้ำค่าเอย..

  • ครูยังสำคัญในสังคมไม่จริงครับ จึงทำให้การศึกษาไม่สำคัญจริงๆไปด้วย ที่ว่าสำคัญ เป็นแค่คำพูดครับ..ยิ่งลมปากของนักการเมืองด้วยแล้ว เฮ้อ!
  • ขอบคุณบทความเกี่ยวกับครูดีๆนี้ครับ

ขอบคุณมากครับคุณครู

P

คุณครู วรางค์ภรณ์ เนื่องจากอวน

ยังคงระลึกถึงพี่แจ๋วเสมอครับ...ดีใจที่กลับมาเยี่ยมเยียนครับ

หน้าที่ครูยิ่งใหญ่มากครับควรยกย่อง

ขอบคุณมากครับ

P

สายลมที่หวังดี

บทกลอนไพเราะมากครับเนื้อหาลุ่มลึกครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานครับ...เป็นกำลังใจในการทำหน้าที่ครับ

ขอขอบคุณที่ให้กำลังใจยินดีที่ได้รู้จัก

ได้มาอ่านบทความดีๆ กลอนที่ไพเราะ

จะแวะมาเยี่ยมอีกค่ะ

ขอบคุณมากครับ

30

plumaria

ด้วยความยินดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท