(๑) มหาวิทยาลัยเล็กๆกับความประทับใจในการเข้าร่วมโครงการวิจัยของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (SAC)


      ด้วยความวุ่นๆมาตลอดเลยหายหน้าหายตาไปนานครับ....ตั้งใจจะเขียนบันทึกนี้ให้เสร็จหลังจากเดินทางกลับมาจาก กทม. เมื่อวานเพราะกลัวลืมที่จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประสาเสียงเล็กๆแต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ไหวครับเพราะเพลียและเหนื่อยเหลือเกิน จนวันนี้ต้องบังคับตนเองให้เขียนให้แล้วเสร็จอันเนื่องจากมีอีกบันทึกหนึ่งที่อยากจะบอกเล่าเรื่องราวความประทับใจของคนโกทูโนว์ที่เดินทางมาเยี่ยมเมื่อาทิตย์ที่แล้วพร้อมกับมาสำรวจพื้นที่ก่อนจะพกพาความเป็น ดร. จาก ม.มหิดลมาเป็นอาจารย์ที่ ม.อ.ปัตตานี ในอนาคตอันใกล้นี้ (อินชาอัลลอฮฺ) ขอให้อาจารย์ท่านประสบความสำเร็จตามที่หวังไว้ขาดตกบกพร่องยังไงผมเองก็ต้องขออภัยด้วยนะครับที่เทคแคร์ดูแลอาจจะไม่ทั่วถึงอันเนื่องจากต้องเดินทางไปประชุมโครงการวิจัยต่อที่ กทม. ขอเก็บเรื่องราวความประทับใจนี้ไว้ก๋นอนะครับเพราะมันมากเหลือเกินแล้วจะนำมาเขียนบันทึกอีกครั้ง แต่ความจริงอาจารย์ท่่นก็ได้ถ่ายทอดบันทึกเรื่องราวความประทับใจส่วนหนึ่งไว้ในบันทึกนี้ของอาจารย์ท่านแล้วครับ อิอิ อยากรู้เป็นใครลองอ่านดูครับ "คุณค่า" แห่ง "มิตรภาพ"

      ขอเข้าเรื่องสำหรับบันทึกนี้ครับเดี๊ยวจะยาวแล้วจบไม่ลง... หากมองย้อนดูจะเป็นแบรนเนอร์ด้านบนที่พูดถึงการเดินทางไปร่วมประชุมวิจัยของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรกับบันทึกในครั้งนี้ครับ การเิปิดรับโครงการวิจัยเรื่องวัฒนธรรมและสิทธิในประเทศของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรได้เปิดรับมาหลายเดือนครับ ตอนแรกผมก็เปิดดูผ่านๆครับทางเว็บของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อันนเืนื่องจากว่าได้เคยให้ไปคอมเม้นท์งานชิ้นนึงของอาจารย์ของศูนยืฯ ท่านนึงที่ทำงานในพื้นที่สามจังหวัดฯ พอเจอประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยสิทธิทางวัฒนธรรมในประเทศไทยก็ไม่ได้สนใจอะไรจนได้เข้าไปที่คณะศิลปศาสตร์ฯ แล้วมีเพื่อนอาจารย์พูดคุยถึงเรื่องนี้พร้อมบอกว่า "อาจารย์ไม่ทำหรือแต่มันเป็นภาษาอังกฤษนะว่าจะเอาร่วมด้วยก็เกรงว่าจะไม่ถนัด...?" เมื่อพูดท้าทายแบบนี้ยิ่งทำให้ผมอยากลองครับไม่ได้มองเป็นการดูถูก อัลฮัมดุลิลละฮฺครับสุดท้ายมีนักวิจัยอิสระท่านหนึ่งจาก USM  สนใจที่จะทำงานชิ้นนี้เลยพูดคุยกัน (ไม่ใ่ช่ใครที่ไหนครับความจริงอาจารย์ท่านนี้เป็นเพื่อนผมเองครับทั้งมัธยม และ ป.ตรี มาแยกย้ายกันตอน ป.โท อิอิ)

        ลองส่งโครงการไปครับเป็นภาคภาษาอังกฤษก็อัลฮัมดุลิลละฮฺเขาก็ประกาศผลออกมาครับว่าโครงการของทางเราที่ส่งไปได้รับการคัดเลือกเป็น ๑ ใน ๘ โครงการจากนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการวิจัยในครั้งนี้และที่สำคัญทางคณะผู้อำนวยการโครงการคุณ Dr. Alexandra Denes, Project Director ได้แจ้งว่าโครงการวิจัยมีบางโครงการเป็นโครงการวิจัยยอดเยี่ยมจาก ๑ ใน ๘ และหนึ่งในนั้นก็เป็นโครงการของทางเรา

     โดยทั้ง ๘ โครงการประกอบด้วยโครงการวิจัยจาก ม.มหิดล ๔ โครงการ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ๑ โครงการ  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร+มหาวิทยาลัยฯเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ๑ โครงการ จากต่างประเทศ (จำไม่ได้จากประเทศอะไร อิอิ) ๑ โครงการ และ นักวิจัยอิสระ(USM)+มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ๑ โครงการ แต่ตอนวันไปเวิร์กชอบทำความเข้าใจโครงการและทฤษฎีที่ต้องเรียนรู้ตลอดจนการไปดูพื้นที่ชุมชนพม่าที่สมุทรสาคร และ พื้นที่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของชุมชนเมืองกับทาง กทม. ที่ป้อมมหากาฬ ก็มีโครงการจากทางศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรเพิ่มมาอีก ๑ โครงการ รวมทั้งสิ้น ๙ โครงการในที่สุด โดยมีผู็ทรงคุณวุฒิในการเข้าร่วมโครงการในครั้งทั้งในและต่างประเทศประกอบด้วย

         Dr. Coeli Barry, Senior Advisor

(ผู้บุเบิกศูนย์สิทธิมนุษยชนยุคแรกของ ม.มหิดล)
         Dr. Alexandra Denes, Project Director

(ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร+ที่ปรึกษายูเอ็นประจำประเทศไทย) 

        ศ.ดร.อนันต์  กาญจนพันธ์  (ม.เชียงใหม่)

        ดร.ธเนศ   อาภรณ์สุวรรณ  (ม.ธรรมศาสตร์)

       Dr. Varaporn Chamsanit  (ม.มหิดล)

       Dr. Kimberly A. Christen 

       Dr. Tyrell Haberkorn (มหาวิทยาลัยนานาชาติออสเตรีเลีย)

       Dr. William Logan  (มหาวิทยาลัยออสเตรเลีย)

       Dr.Rustom Bharucha  (นักวิจัยอิสระจากประเทศอินเดีย)

       Dr. Frank Munger

       Tiamsoon Sirisrisak 

(ผู้มากประสบการณ์จากลาดกระบังซึ่งทำวิจัยกับทางประเทศญี่ปุ่น)

        Dr. Peter Vail  (มหาวิทยาลัยนานาชาติสิงคโปร์)

       

                          

         

                     

        

              ภาพประกอบการพบปะกันครั้งแรกของชุดโครงการวิจัยในครั้งนี้ครับ

      อยากบอกว่าอบอุ่นมากครับสำหรับการต้อนรับจากทางศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร จากทุกๆฝ่ายของทางศูนย์ที่ประสานงานเข้ามาอย่างต่อเนื่องก่อนเดินทางตลอดจนการพำนักในที่พักที่เตรียมไว้ให้ตลอดระยะเวลา ๑ สัปดาห์ที่ผ่านมา (๒๑-๒๗  มิ.ย.) และประทับใจมากๆครับกับ ผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ดร.ปริตตา ที่มาร่วมนั่งทานข้าวกับพวกผมสามคนในดต๊ะอาหารที่ทางโครงการตั้งป้ายให้เราว่า "อาหารฮาลาล"  ทุกคนที่รู้ว่าทางเรามาจาก ม.อิสลามยะลา ก็ได้ฝากความคิดถึงถึงท่านคณบดีศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ของผม (อ.สุกรี หลังปูเต๊ะ) แทบทุกคนครับ ยอมรับเลยครับว่าท่านนี้กว้างขวางจริงๆๆ อิอิ


        วันนี้ขอจบบันทึกไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับแล้วบันทึกหน้า(อินชาอัลลอฮฺ)จะมาเล่าเรื่องราวของการสัมมนาในครั้งนี้ในแต่ละวันกับประสบการณ์ที่ได้รับโดยเฉพาะการลงพื้นที่ต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้นและการนำเสนอโครงการวิจัยต่อหน้าผู้ทรงคุณวุฒิระดับแนวหน้า อยากบอกว่ามหาวิทยาลัยเล็กๆอย่างมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ได้รับคำชมจากหลายท่าน ในขณะทีี่บางโครงการแทบต้องพับโครงการครับ แต่สุดท้ายช่วยกันปรับจนผ่านพ้นไปครับ ที่สำคัญหลังการนำเสนอมีหลายท่านเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนตลอดระยะเวลาสัมมนาในครั้งนี้ ที่ประทับใจสุดๆๆ คือ ทุกคนไม่แบ่งแยกความต่างแตก และไม่ได้มานั่งคำนึงถึงความเป็น ดร. อะไรทั้งนั้น แต่ทุกคนยอมรับกันว่าทุกคนเป็นนักวิจัยโครงการในครั้งนี้  อบอุ่นมากๆครับจนวันสุดท้ายที่เดินทางกลับกับการอำลาก่อนขึ้นเครื่องกลับสู่มาตุภูมิสนามบินหาดใหญ่

         งานท้าทายก็ คือ ว่าตลอดระยะเวลา ๑ ปีจะต้องพบปะกันเป็นระยะด้วยภาคภาษาอังกฤษ (ตรงนี้แหละที่ท้าทายสำหรับผม ฮ่าๆๆ) และท้ายที่สุด คือ นำเสนอในเวทีระดับนานาชาติทุกโครงการ(ขอให้ทุกอย่างผ่านพ้นด้วยดีครับ)

     แล้วพบกันในบันทึกต่อไปครับกับความประทับใจอื่นๆในการเข้าร่วมโครงการวิจัยนี้...


หมายเลขบันทึก: 370113เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2010 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเป็นกำลังใจให้คนทำงานด้วยช่อดอกไม้สวย ๆ ค่ะ
  • ขอบคุณนะค่ะที่แวะไปทักทายกันค่ะ

                     

ไม่ธรรมดานะครับ Go Inter ซะด้วย...

ถือว่าเป็นอีกก้าวที่ท้าทายนะครับ...

เป็นกำลังใจให้ครับผม...

น่ายินดีจริงๆ ครับ คนคุณภาพ งานคุณภาพ

อัลฮัมดุลิลละฮฺ...ขอบคุณมากครับบังว่าที่ ดร.

P

Mr.Direct

เป็นก้าวที่ท้าทายจริงๆครับ แต่ถึงอย่างไรก็ขอขอบคุณบังที่ให้กำลังใจและมุมมองของความรู้สึกดีๆที่ผ่านมาครับ

 

อัลฮัมดุลิลละฮฺ...ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

จารุวัจน์ شافعى

ไม่เคยลืมครับกับโอกาส  ประสบการณ์และกำลังใจ ตลอดจนความรู้สึกดีๆที่มีให้ผมตลอดเรื่อยมาครับอาจารย์

ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนคุณความดี

ดูแลสุขภาพด้วยครับ

ได้อ่านบันทึกอาจารย์แล้วต้องขอบอกว่าสุดยอดจริงๆครับ

อัลฮัมดุลิลละฮฺ...ขอบขุณมากครับแบ

30

ซุลกอรนัยน์

มันเป็นเพียงแค่การเริ่มต้นของงานชิ้นนี้ครัับความท้าทายยังรออยู่ข้างหน้าครับ ขอดุอาอฺให้การงานครั้งนี้ผ่านพ้นด้วยดีครับ ดูแลสุขภาพด้วยครับ

P
เสียงเล็กๆ فؤاد
ลูกจ้าง
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
      ดูแล้วน่าชื่นชมมากสําหรับผลงานต่างๆที่บังทํา ยังไงขอดุอาอฺตอพระองค์ให้ประสบผลสําเร็จในเส้นทางเดินที่บังปราถนา ขอพระองค์ทรงรับ

ขอบใจมากน้อง

P

สายเชือกวัว

ขอเป็นกำลังใจให้เราเช่นกันในการทำงานเพื่ออิสลามในพื้นที่อีสานที่เรากำลังจะร่วมผลักดันความเข้าใจในวิถีอิสลามให้ผู้คนมากขึ้น

  เป็นกำลังใจให้เสมอครับ

search หา อ.ปีเตอร์ มาเจอเพจนี้โดยบังเอิญ ไม่ทราบจำกันได้มั้ย เราที่เสนองานวิจัยเรื่อง anthropological archive อ่ะค่ะ

ภาษาอังกฤษเป็นปัญหาใหญ่ของเราเหมือนกัน แต่ไม่เป็นไร สู้ๆกันต่อไปค่ะ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

30

Thanwadee

จำได้ครับ...ดีใจครับที่เข้ามาแวะเวียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบเจอกันในเพจนี้

เป็นกำลังใจให้เช่นกันครับ

สู้ๆๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท