อจิต อกรรม


คำว่า "อจิต" ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า "ไม่มีจิต" นะขอรับ

แต่หมายถึง การฝึกภาวนาอีกแบบหนึ่ง ที่ยกตัวผู้รู้ให้อยู่เหนือจิต กล่าวคือ จิตก็เกิดดับไปตามเหตุปัจจัย แต่ตัวผู้รู้ไม่ได้นำเหตุและผลแห่งจิตนั้นมามีผลต่อผู้รู้ จะเรียกได้ว่า นอกเหตุเหนือผล อย่างท่านผู้รู้เคยสอนไว้ก็เป็นได้

ในอีกมิติหนึ่งหมายถึงว่า จิตก็เกิดดับไปตามเหตุปัจจัยของกงล้อวัฏสงสาย เราจะทำอย่างไรที่จะดูจิตเฉย ๆ โดยไม่ยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต คล้าย ๆ ดังที่เราดูหนังดูละคร ที่แม้จะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับตัวละคร เราก็เป็นเพียงผู้ดู ดูเฉย ๆ ให้รู้ตามจริง

แต่สำหรับปุถุชนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ นั้น ก็จะโดนสิ่งร้อยรัดทางโลกผู้เรากับจิตเอาไว้ จิตเป็นเช่นไรเราก็เป็นเช่นนั้น

แต่ "อจิต" นั้น จิตเป็นเช่นใด ก็เป็นธรรมชาติแห่งจิตแห่งกรรม เราเป็นผู้ดู ดูเฉย ๆ ดูให้รู้ตามจริง

เอ! บางทีเราก็หาคำมาอธิบายสิ่งบางสิ่งไม่ได้ถูกต้องนักทีเดียวขอรับ

 

คำสำคัญ (Tags): #อกรรม#อจิต
หมายเลขบันทึก: 370107เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2010 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาชม

เห็นคมมุมคิดดี ๆ นะครับ

ขอบพระคุณครับ

เด็กข้างบ้านครับ การตามดูจิตไปตลอด ทำได้ยากครับ ผมทำได้เป็นช่วงๆ ไม่นานก็ฟุ้ง

สวัสดีค่ะ

มาได้ข้อคิดดีๆจากที่นี่ค่ะ

ขอบคุณนะคะที่แวะไปทักทายกัน

 

ขอบพระคุณท่าน UMI ที่กรุณาแวะมาทักทายขอรับ

 

 

สวัสดีครับ ครูหยุย

เด็กข้างบ้านครับ การตามดูจิตไปตลอด ทำได้ยากครับ ผมทำได้เป็นช่วงๆ ไม่นานก็ฟุ้ง

 

  • กระผมเองก็ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำได้บ้าง ไม่ได้บ้างขอรับ
  • ขอบพระคุณที่กรุณาแวะมาเยี่ยมขอรับ

 

สวัสดีครับ พี่ณัฐ

 

  • ไปเยี่ยมบันทึกพี่ณัฐคราใด ก็ได้ธรรมกลับมาทุกคราไปขอรับ
  • ขอบพระคุณขอรับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท