ใครๆก็พูดถึงไทยแท้ แต่ใครรู้บ้าง ไทยแท้ๆเป็นอย่างไร....“พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” (National Discovery Museum Institute : NDMI)กำเนิดใหม่ สมิทโซเนียนเมืองไทย(ตอนที่หนึ่ง)


ค้นพบ ปริศนาหลายหมื่นหลายพันปีของ สุวรรณภูมิ มูลเหตุสู่ยุคทองของสยามประเทศ และเงื่อนปมก่อนจะมาเป็นประเทศไทยอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพิ่อค้นหาคำตอบว่า เราคือ ใคร และความเป็นไทยหมายความว่าอะไร

พิพิธภัณฑ์ที่ทันสมัยน่าตื่นตาตื่นใจแห่งนี้   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิด พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550   แต่ยังไม่ได้เปิด ให้ประชาชนเข้าชมกันทั่วไป   เนื่องจาก การตกแต่ง ยังไม่เสร็จเรียบร้อยดี  คาดว่า จะเปิดให้ชมทั่วไปได้ ประมาณเดือนเมษายน 2551 นี้ 

ส่วนดิฉันเอง ไปชมมาแล้วค่ะ เมื่อวันที่ 15 มกราคม ศกนี้ เพราะติดต่อขอเข้าไปกับเด็กๆโรงเรียนราชินี ซึ่งเป็นเด็กกลุ่มแรกที่มีโอกาสเข้าไปชม   และมี ผศ.พัชรี ชินธรรมมิตร อดีตอาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เข้ามารับตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มากล่าวต้อนรับด้วย 

   แต่เนื่องจากมึนงงกับรายละเอียดที่มากมายเหลือเกิน    จึงตัดสินใจไม่ถูกค่ะ ว่าจะเขียนอย่างไร ไม่ให้ยาวเกินไป

ดังนั้น จึงคิดว่า ในภาคแรกนี้ ดิฉันจะเขียนเล่า ในภาพรวมก่อนค่ะ ส่วนรายละเอียด  ดิฉันค่อยตัดตอนเล่า เป็นตอนที่หนึ่งก่อนค่ะ

ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช        ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ที่เข้ามารับตำแหน่งประธานกรรมการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ    กล่าวในงานนำร่อง เปิดตัว  ให้ได้รับทราบถึงแนวความคิดเบื้องต้น ในวันที่ 19 ม.ค.2548 ว่า

 ในอีก 2 ปี ((2550-51)  ข้างหน้าภาพเก่าๆของ พิพิธภัณฑ์    จะหมดไปพร้อมกับการเกิดขึ้นของพิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์แห้งๆ เหมือนที่เป็นมาในอดีต นั่นก็คือ  พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” (National Discovery Museum Institute : NDMI)         พิพิธภัณฑ์ที่จะทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ทีละน้อย โดยจะเกิดขึ้นเป็นแห่งแรกบนพื้นที่ของกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถนนสนามไชย    ในอนาคตเราจะเป็นสมาชิกของ ICOM (International Council of Museum) เป็นที่ยืนที่ทำให้โลกรู้จักเราด้วย

ศ.ดร.ชัยอนันต์อธิบายให้ฟังว่า พิพิธภัณฑ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ถือเป็นแหล่งเรียนรู้สู่สาธารณชน ที่จะบอกเรื่องราวความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของผู้คน พื้นแผ่นดินไทย และดินแดนอุษาคเนย์    รวมถึงภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมธรรมชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์รื่นรมย์ เกิดความสำนึกรักผู้คน บ้านเมือง รวมกระทั่งถึงสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติกับประเทศเพื่อนบ้าน อันนำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคอีกด้วย

ทั้งนี้เหตุที่ต้องมีพิพิธภัณฑ์ในลักษณะนี้   สืบเนื่องมาจากระบบการศึกษาของไทยซึ่งมีปัญหามาก หากจะแก้ที่ระบบเพื่อปรับกระบวนการเรียนรู้   ถือเป็นสิ่งที่ยาก ปรับครูก็ยาก ปรับหลักสูตรก็ยาก เพราะเมื่อได้เรียนรู้วิธีการเก่าๆ มานานก็เลยแก้ยาก การปฏิรูปการศึกษาจึงยังไม่สำเร็จ


        ดังนั้น วิธีที่เร็วและสามารถมีผลสะเทือนมากก็คือการทำสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น และให้สิ่งใหม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งเก่า โดยจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตเหมือนที่มีอยู่มากมายในต่างประเทศ เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างเช่น สมิทโซเนียนของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

เมื่อเข้าไปชมนิทรรศการถาวรนี้  จึงเห็นด้วยตาตัวเองว่า  เป็นรูปแบบใหม่ในการเรียนรู้จริงๆ เน้นกระตุ้นต่อมคิด  จุดประกายความอยากรู้ สู่การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ด้วยตนเอง อย่างไม่รู้ตัวค่ะ

ทำให้  ดิฉันได้ค้นพบ ปริศนาหลายหมื่นหลายพันปีของ สุวรรณภูมิ  มูลเหตุสู่ยุคทองของสยามประเทศ  และเงื่อนปมก่อนจะมาเป็นประเทศไทยอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน  เพิ่อค้นหาคำตอบว่า เราคือ ใคร และความเป็นไทยหมายความว่าอะไร

ในด้านการดำเนินงาน ได้จ้างบริษัทมืออาชีพ  Lord Cultural Resources and Planning and Management Inc.   ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษา จัดทำแผนแม่บททั้งหมดเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์  โดยแผนแม่บทของพิพิธภัณฑ์นั้น ได้มีการวางกรอบกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในบั้นปลายคือ .........

ความต้องการให้เป็นแหล่งเรียนรู้แบบใหม่สำหรับเด็ก ไม่ใช่แค่ให้ครูพาเด็กมาดูเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงระบบการศึกษาไทยที่มีปัญหา ทำให้เด็กไม่ชอบเรียนประวัติศาสตร์ ไม่เข้าใจ และไม่สนใจที่จะต่อยอด ดังนั้น จึงต้องวางกลยุทธ์ โดยการจัดกิจกรรมภายในพิพิธภัณฑ์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้ได้

%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2

อาคารแห่งนี้ คือกระทรวงพาณิชย์เดิม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นรูปแบบนีโอคลาสสิก มีตราสัญญลักษณ์ ของพิพิธภัณฑ์ เป็นรูปกบ  ที่เห็นในภาพ ร้อยเป็นพวงสีแดงสดค่ะ

เพราะกบเรียกร้องความอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ มีให้เห็นเป็นลวดลายบนกลองมโหระทึก ของอุษาคเณย์ ใช้ประโคม ในพิธี ขอฝน

ที่นี่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์แบบแยกส่วน    องค์ประกอบทุกส่วนเดินทางไปด้วยกัน และ จะต้องมีระบบการจัดการโดยให้รัฐบาล เอกชน และประชาชน คนทั่วไป เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างพิพิธภัณฑ์ด้วย

ดิฉันชอบวิธีการเล่าเรื่อง  (Story telling)  โดยนำเรื่องราวต่างๆ ผูกโยงเสนอเรื่องราวความเป็นมา มีทั้งการจัดแสดงแบบถาวรและแบบหมุนเวียนเพื่อสร้างความมีชีวิต

โดยแกนหลัก  เป็นการนำเสนอ ความเป็นมาของผู้คนและดินแดนในประเทศไทย เป็นเรื่องราวของคน ดินแดน ความหลากหลายทางชีวภาพ ในลักษณะของ คอมเพล็กซ์ มิว เซียม ซึ่งประกอบด้วย 4 พิพิธภัณฑ์ที่จะจัดแสดงอยู่ในอาคารกระทรวงพาณิชย์เดิม ได้แก่  

1.พิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติของอุษาคเนย์ แสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนพื้นพิภพ

 

      2.พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ผู้คนและดินแดน ในอุษาคเนย์เพื่อให้คนในละแวกนี้ด้วยกันรู้ถึงรากเหง้า ความเป็นมาของความเป็นพี่น้องเพื่อเกิดความสมานฉันท์ในอุษาคเนย์แห่งนี้ โดยเฉพาะความต้องการให้เด็กไทยสำนึกรักประเทศ รู้จักเอกลักษณ์ของตัวเอง


        
       3.พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่จะบ่งบอกชาติพันธุ์ในประเทศไทย ศิลปะและวัฒนธรรมไทย และระบบความเชื่อกับคนไทย


         4.พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสังคมไทยและความเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์ในความหมายสมัยใหม่แต่เป็นภูมิปัญญาไทยและการพัฒนาเทคโนโลยีของภูมิปัญญาไทย    การตั้งหลักแหล่ง การพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รู้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ    

ช่วงระยะเวลาในการดำเนินการตามแผนคือ 5 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547-2551

ในปี 2550  มีการเปิดตัวพิพิธภัณฑ์พร้อมที่จะให้เข้าชม พัฒนาสู่พิพิธภัณฑ์ชั้นนำในภูมิภาค พรั่งพร้อมด้วยบุคลากรที่มีความสามารถ และมีการจัดแสดงนิทรรศการอย่างมืออาชีพ

เมื่อย่างเข้าสู่ปีที่ 4 ประเทศก็พร้อมจะย่างเข้าสู่ความสามารถในการจัดแสดงระดับโลก ไม่เพียงมีบุคคลที่มีความสามารถแต่จะเชี่ยวชาญ มีการร่วมมืออย่างดีเยี่ยมกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและพิพิธภัณฑ์ระดับโลก พร้อมๆ กับการมีฐานการเงินที่เพียงพอและเข้มแข็งด้วย

       ตัวอย่าง การนำเสนอที่ไปชมมานะคะ..            .รากเหง้าแห่งชาติพันธุ์ไทยอยู่ที่ตรงไหน

เรื่องย่อ::   ดินแดนสุวรรณภูมิ ราวพุทธศตวรรษที่ 17 สยามประเทศได้ก่อกำเนิดขึ้น

เริ่มต้นแสดงความเป็นมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์  มีหลักฐานชี้ชัดว่า มีมนุษย์ดึกดำบรรพ์ 500,000ปีที่แล้ว เคยอยู่ที่พื้นที่ประเทศไทยมาแล้ว คือ มนุษย์ ลำปาง 

บางทฤษฏีบอกว่า น่าจะมีชนชาติไท อยู่อาศัยในแผ่นดิน ตรงที่เป็นประเทศไทยมา 4000 ปีแล้ว แต่ ยังไม่ปรากฏแน่ชัดจริงๆว่า บรรพบุรุษ ของชาวสุวรรณภูมิจริงๆ อาจจะเป็น ชนกลุ่มมองโกลลอยด์ ที่อพยพมาจากแผ่นดินจีน เมื่อ 3000 ปีก่อน มาแทนที่ ชนดั้งเดิมหรือไม่ ยังเป็นปริศนา ให้คนรุ่นใหม่ ต้องศึกษาต่อค่ะ

จนกระทั่งถึงมีการตั้งหมู่บ้านถาวรขึ้น และเริ่มทำการเกษตรกรรมมีพัฒนาการด้านโลหะกรรมขึ้น ซึ่งพบที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมา มีหลักฐานชัดเจนว่า มีการติดต่อค้าขายระหว่างประชากรต่างภูมิภาค และต่างวัฒนธรรรมด้วย 

และเริ่มมีพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมขึ้น เป็นบ้านเมืองรุ่นแรกๆเมื่อ 2500ปีมาแล้ว    เป็นบ้านเมืองและรัฐ ทั้งในบริเวณคาบสมุทร ลุ่มน้ำลำคลองที่อยู่ใกล้ทะเลและพื้นที่ภายในที่เป็นที่ราบสูงและหุบเขา

 

แต่บริเวณที่มีพัฒนาการของเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางของสยามประเทศที่สำคัญคือ บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง  เรียกว่าเป็นวัฒนธรรมทวาราวดี เป็นอาณาจักรสมัยแรกของเราก่อนที่จะถึงอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา

เป็นพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เพราะนอกจากเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ในด้านพืชพันธุ์ธัญญาหารและน้ำท่าแล้ว ยังอยู่ใกล้ทะเลที่ติดต่อกับภายนอกได้สะดวกสบาย เหตุนี้ จึงเกิดเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่ที่เป็นที่ตั้งเมืองท่าและเมืองสำคัญในหลายตำแหน่งแห่งที่ เช่น เมืองอู่ทอง เมืองนครปฐม เมืองคูบัวและเมืองศรีมโหสถ เป็นอาทิ

เมืองอู่ทอง หรื อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ในปัจจุบันนั้นมีประวัติว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณกาลเลยทีเดียว หากไปอ่านจากพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาจะเล่าไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๐ เมืองอู่ทองเกิดกันดารน้ำ และมีโรคห่าระบาด "พระเจ้าอู่ทอง" จึงอพยพผู้คนหนีโรคห่าไปตั้งมั่นอยู่ที่ตำบลเวียงเล็ก จนถึงปี พ.ศ.๑๘๙๓ จึงได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นมาเป็นราชธานี    (แล้วมาสิ้นสุดลงที่พระเจ้าเอกทัศ หรือ สมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ซึ่งเป็นกษัตริย์ องค์ที่ 34 หรือองค์สุดท้ายของสมัยอยุธยา ในปี พ.ศ.2310)     อยุธยา" เป็นเมืองหลวงของสยามประเทศนานถึง 417 ปี


นครปฐม เป็นจังหวัดในภาคกลาง (บ้างก็จัดไว้เป็นภาคตะวันตก) เป็นพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานคร มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก

เมืองคูบัว เป็นเมืองโบราณในอารยธรรมทวารวดีตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ในเขตตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรีเป็น ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการตั้งถิ่นฐานรวมกันและพัฒนาขึ้นเป็นเมืองขนาดใหญ่

จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีทำให้สันนิษฐานได้ว่าเมืองคูบัวเจริญขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑๑๖ ในวัฒนธรรม ทวารวดี

เมืองศรีมโหสถอยู่ในเขตตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีที่ตั้งอยู่ในบริเวณ 3 หมู่บ้านด้วยกัน ได้แก่ บ้านสระมะเขือ บ้านโคกวัด และบ้านหนองสะแก  เมืองนี้มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกว่า เมืองพระรถ หรือ เมืองอวัธยะปุระ



       อยุธยาถือเป็นศูนย์กลางของสยามประเทศ เนื่องด้วยภูมินิเวศที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ก่อเกิดอาชีพทำมาหากิน มีการขุดคูคลองค้าขายเจริญรุ่งเรือง พร้อมทั้งเกาะแก่ง เล็กใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติหลายๆ เกาะด้วยกัน

กรุงศรีอยุธยา เติบโตและยิ่งใหญ่ เพราะมีชัยภูมิที่ได้เปรียบ ทั้งทางเศรษฐศาสตร์และยุทธศาสตร์ เป็นจุดรวมแม่น้ำ  ถึง 3 สายคือ แม่น้าเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำลพบุรีทำให้สามารถควบคุมการค้า ทั้งทางบกและทางเรือ จากทางตอนเหนือได้ทั้งหมด แม้แต่ในกรุงศรีฯก็อุดมสมบูรณ์ เพาะปลูกได้ดี      ส่วนทางทะเล ก็เป็นจุดนัดพบของทางซีกโลกตะวันออกและตะวันตก ทำให้เรือสินค้า จากนานาชาติ ใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นที่เปลี่ยนถ่ายซื้อขายสินค้า

 

ตัวอย่าง ของยุค ที่ต่อจาก อยุธยาอันรุ่งเรือง      ยังจะไม่กล่าวถึงนักในที่นี้ เพราะ บันทึกจะยาวมากค่ะ

ฉายแค่หนังตัวอย่างค่ะ     เช่น  จากบางเกาะเป็นบางกอก   หนึ่งในรากเหง้าแห่งชาติพันธุ์  : พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของคนสยามในลุ่มน้ำลำคลอง”      ชื่อบางกอกจึงเป็นที่สนใจใคร่รู้ว่ามาจากอะไร
จากการรวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์สามารถสรุปได้ 2 อย่าง อย่างแรกเชื่อว่าบางกอก หมายถึงย่านที่มีต้นมะกอกอยู่หนาแน่น เช่นเดียวกับคำว่า บางลำพูเพราะมีต้นลำพูขึ้นอยู่มากมาย

 แต่อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า เป็นคำที่เพี้ยนทางจากคำว่าบางเกาะ เพราะมีลักษณะเป็นเกาะ อีกทั้งเอกสารฝรั่งที่บันทึกไว้สมัยอยุธยาก็มีคำเรียก บางเกาะ

ทำไมจึงเรียกชาวตะวันตกว่า ฝรั่ง” 

       ทำไมอักษรไทยที่เดิมโบราณมี 38 ตัวจึงได้กลายเป็น 44 ตัวในปัจจุบัน?
       
       
ทำไม คนไทยถึงถูกเรียกว่า ชาวสยาม”?และเคยรู้บ้างหรือไม่ว่า เพลงชาติไทยนั้นมีถึง 7 เพลงเลยทีเดียว


        เท่าที่นำเสนอมานี้ เป็นส่วนน้อยมาก  เพราะพิพิธภัณฑ์ มี 3 ชั้นๆละหลายๆห้อง เดินดูกัน จนเมื่อยแล้ว เมื่อยอีก แต่ ขอรับประกันว่า การนำเสนอนั้น ดีมาก ยังไม่มีที่ไหน ในประเทศไทย ทำในรูปแบบนี้มาก่อนค่ะ

ขอเชิญชวนให้ทุกท่านไปชมให้ได้นะคะ แล้วเราจะรู้ค่ะ ว่า เราคือใครกันแน่ รากเหง้าแห่งชาติพันธุ์เราเป็นใครกัน

หมายเหตุ::   ข้อมูลทุกประการ ได้มาจากที่แสดงไว้ที่ นิทรรศการที่ไปชม และหนังสือที่ได้รับแจกค่ะ(โชคดีมาก ที่ได้หนังสือมา เพราะ มีจำกัด  และแจกเฉพาะสื่อสารมวลชนก่อน)

              ::ขออภัย ที่รูปบางรูป ดูไม่ค่อยสวย เพราะรีบถ่ายภาพมาก กลัวเดินไม่ทันเด็ก คิดว่า เป็นรูปเล่าเรื่องนะคะ 

        

 

 



ความเห็น (158)
  •  สวัสดีครับคุณsasinanda
    พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ  เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สวยงามมากเลยครับ  ถ้าได้ไปชมด้วยตัวเองคงจะงดงามตื่นตาตื่นใจมากกว่านี้  คงต้องหาโอกาสนำนักเรียนไปศึกษาเรียนรู้แล้วล่ะครับ  ขอบคุณที่นำข่าวมาแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ทราบนะครับ
     
                                         ขอบพระคุณมากครับ
 นี่คือเรียงความเรื่องประเทศไทยจริงๆค่ะ มีความเป็นมา ช้านานมากๆๆ  ที่สุวรรณภูมินี้ มีผู้คนอยู่กันมานานมากแล้ว เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์จริงๆ

   พิพิธภัณฑ์นี้   ฉีกภาพลักษณ์เดิมๆ ให้หมดไปและใส่ความมีชีวิตชีวา       เพื่อทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
    

ได้ยินมาหลายเสียงจากผู้ที่ไปร่วมงานเปิด รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ต้องไปให้ได้ครับ ขอบคุณพี่ศศินันท์มากๆ เลยครับ ขนาดดู demo ยังอยากไปทันทีเลยนะครับ

เว็บของเขาคือ www.ndmi.or.th แต่ในขณะนี้ ผมเข้าไม่ได้ คงเพราะยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการ หรือไม่ก็ประหยัดไฟ อย่างไรก็ตาม Google เคยมองเห็นครับ คำอธิบาย NDMI ที่ Google มองเห็นจากเว็บไซต์และเก็บไว้

 พื้นที่ทางกายภาพของพิพิธภัณฑ์จะมีลักษณะของคอมเพลกซ์

 ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มพิพิธภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อการใช้งานและการจัดการแสดงที่มีความหลากหลาย
โดยพื้นที่แรกที่เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คือ กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถนนสนามไชย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกันได้กับสถานที่สำคัญอีกหลายแห่งที่มีความสำคัญต่อจิตใจ
 ทั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)
พระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) รวมทั้งภาพชุมชนโดยรอบซึ่งเป็นภาพชีวิต ที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา

ภาพข้างล่างนี้ แสดงถึง ความเป็น ชุมชนสหชาติพันธุ์ ของคนไทยค่ะ

 สวัสดีค่ะคุณ . บัวชูฝัก

วันที่ไปชม ไปกับกลุ่มนักรียนค่ะ ถึงจะมีวิทยากรนำชม ตั้ง 3 คน แบ่งเป็นกลุ่มๆ

มีหลายห้องมากค่ะ ตึกกระทรวงพาณิขย์เก่า ทั้ง 3 ชั้นเลยค่ะ เขาบูรณะตึกใหม่สวยงามดีค่ะ สู้ วังบางขุนพรหมไม่ได้ เพราะ เจตนา จะสร้างให้เป็นอาคารที่ทำงานค่ะ แต่ก็สวย

คงต้องติดต่อเข้าไปก่อนค่ะ 02 2252774/  02 3573999 /023574000

 

สวัสดีค่ะคุณConductor 

ตอนนี้ ดูว่า  ผู้คนในสังคมเกิดการตื่นตัวในเรื่อง การเรียนรู้ นอกโรงเรียน ขึ้นมามากนะคะ
ดังนั้นเป้าหมายของ พิพิธภัณฑ์ ที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์ รูปแบบใหม่  และเป็นชั้นนำที่ทันสมัย เป็นจริงขึ้นมา

        
   ผศ.พัชรี ชั้นธรรมมิตร  กล่าวว่า....    “ด้านการเชื่อมโยงกับต่างประเทศนั้น เรามีตัวแทนอยู่ที่อังกฤษและฝรั่งเศส   ซึ่งทำงานด้านวิชาการสำรวจการทำงานของพิพิธภัณฑ์
เราจะเรียนรู้ได้จากพิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่ โดยเฉพาะทั้ง
2 ประเทศนี้มีพิพิธภัณฑ์เก่าแก่นานนับ 100 ปี

และมีความหลากหลายรูปแบบ ทั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและเมือง รวมทั้งที่ฝรั่งเศสจะมีการจัดทำเว็บเครือข่ายติดต่อเชื่อมโยงกับพิพิธภัณฑ์ของเรา ซึ่งในอนาคตเราจะเป็นสมาชิกของ
ICOM (International Council of Museum) เป็นที่ยืนที่ทำให้โลกรู้จักเรา

ที่สำคัญคือ เนื้อหาที่จัดแสดง ดีค่ะ น่าประทับใจ มีข้อมูลอีกมากมาย เขียนบันทึกเดียว ไม่มีทางหมดเลยค่ะ

 สวัสดีครับ คุณพี่ ศศินันท์  
                             ขอขอบคุณครับสำหรับแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ที่มีคุณค่ามหาศาล
                                                เปิดเมื่อไร ผมไปแน่ครับ
 พี่ศศินันท์ครับ
  • ขอบคุณพี่มากครับ ตื่นตา ตื่นใจ ตื่นเต้นมากเลยครับ ที่เราจะมีสถานที่ดีๆแบบนี้ อิจฉาคนกรุงเทพฯจังครับ

 ตอนที่เดินชม ก็ได้ความรู้ว่า ดินแดนที่เป็นสุวรรณภูมินี้ เมื่อล้านปีก่อน ก็มีมนุษย์อาศัยอยู่แล้วนะคะ

ที่น่าสนใจคือเมื่อ 500,000ปีก่อน มีมนุษย์ลำปางอยู่ด้วยค่ะ

หาดปู่ด้าย หมู่ที่ 1 ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 

ในความเป็นมาในการค้าพบโบราณวัตถุสำคัญ

     โดยเฉพาะฟอสซิลโฮโมอิเร็คตัสอายุประมาณ 5 แสนปี นับเป็นครั้งแรกของโลกที่พบฟอสซิล มนุษย์โบราณ โดยคนพื้นเมืองเจ้าของประเทศ
และเป็นการเปิดเผยโฉมหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับวิวัฒนาการ การเกิดขึ้นเป็นมนุษย์ในแผ่นดินไทยและในทวีปเอเชีย

     โฮโม อิเร็คตัส ที่ค้นพบได้จากจังหวัดลำปาง น่าจะได้รับการขนานนามว่า
  “ มนุษย์สยาม “ (Siam Man) “ มนุษย์ลำปาง ” ( Lampang Man ) หรือ 
“ มนุษย์เกาะคา ”  (KO-KHA Man) ตามแหล่งที่ค้นพบ

     ที่ตั้งของแหล่งที่ทำการสำรวจและขุดค้นอยู่ที่บริเวณเขาป่าหนามใกล้บ้าน
หาดปู่ด้าย ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ลักษณะ ที่ตั้งเป็นซอกหลืบหินปูน หรือโพลงถ้ำที่บริเวณเพดานพังลงมาทีหลังในภูมิประเทศแบบคาสต์ (relative open rockshelter, kast cave in filling) ใกล้แม่น้ำวัง แหล่งซากดึกดำบรรพ์เขาป่าหนามนี้ มีสภาพพิเศษที่เอื้ออำนวยให้ซากดึกดำบรรพ์ถูกเก็บรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดีพอสมควร โดยสารฟอสเฟตซึ่งเกิดจากมูลค้างคาวสลายตัวและห่อหุ้มซากกระดูกทั้งหลายเอาไว้ภายในหลืบ – ซอกของพื้นถ้ำ ทั้งนี้ เนื่องจากสารฟอสเฟต เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำผิวดินหรือใต้ดิน

     โฮโม อิเร็คตัส (Homo erectus) เป็นสายพันธ์มนุษย์ (Huminoid) มีวิวัฒนาการเมื่อประมาณ 1ล้านถึง 5 แสนปีมาแล้วของสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) 

มีลักษณกะโหลกค่อนข้างหนาเทอะทะและมีหน้าผากลาด มีสันเหนือกระบอกตา  (Supra-Orbital Ridge) เป็นสันนูนหนา แต่ขนาดความหนาย้อยกว่ามนุษย์นีแอนเดอธัลเล็กน้อยมีความจุขนาดสมองปริมาตร 800 – 1,200 ซีซี
 

ที่มา   แผ่นพับแนะนำแหล่งท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

 สวัสดีครับ

ยินดีกับประเทศไทยที่จะมีสถานที่ ที่ให้ความรู้ดีๆเพิ่มขึ้นอีกแห่ง ... นอกเหนือจากการไปห้างสรรพสินค้านะครับ...ตอนเรียนอยู่อเมริกาได้ไป museum ที่ DC เดินกันสามวันยังไม่ทั่วเลยครับ...อยากให้ประเทศเรามีโครงการแบบนี้เพื่อกระตุ้นความคิด ต่อยอดความรู้ของชาตินะครับ

อาคารนี้อยู่ตรงถนนเพชรบุรีใช้ไหมครับ...ขับผ่านทีไรก็เหลือบมองทุกที...เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสง่างามมากครับ...

โอชกร

 สวัสดีค่ะอ.จ. นาย เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี

ทีนี้ พอมีพิพิธภัณฑ์  เรื่อง บุคลากรเป็นเรื่องที่จะต้องมีการจัดเตรียมพิเศษ

ผศ.พัชรี ท่านกล่าว ว่า......

เพราะลักษณะของ
ภัณฑรักษ์ ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์จะต่างจากพิพิธภัณฑ์แบบเดิมๆ เพราะจะต้องเข้าใจถึงบทบาทของงานในแต่ละด้านว่า จะมีงานด้านใดที่แยกจากกันบ้าง

ขณะที่ปัจจุบันภัณฑรักษ์มีหน้าที่แบบรวมกัน ซึ่งภัณฑรักษ์ในพิพิธภัณฑ์แบบใหม่จะต้องเป็นผู้มีความสามารถในการค้นข้อมูลทางวิชาการ ถ่ายโอนข้อมูล เขียนสคริปต์และเขียนนิทรรศการได้ ซึ่งต้องเกิดจากการฝึกอบรม ดังนั้น สถาบันฯจะเป็นหน่วยที่ฝึกอบรมคนกลุ่มนี้ขึ้นมาเพื่อรองรับพิพิธภัณฑ์แบบใหม่

       
       ผศ.พัชรี กล่าวถึงการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ด้วยว่า ในระยะแรกสถาบันฯ จะเป็นเสมือนหน่วยงานที่สนับสนุน ดูแลกำกับเตรียมความพร้อมเพื่อให้เกิดการจัดตั้งทำให้เกิดพิพิธภัณฑ์ขึ้น
 ซึ่งในอนาคตเมื่อมีพิพิธภัณฑ์ในกำกับ หลายๆ แห่ง  ต้องมีการสรรหาผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์และมีสถานที่ทำงานของแต่ละแห่งด้วย
เรียกว่า....ยังมีงานอีกมาก รออยู่เลยค่ะ
การจะทำโครงการใหญ่ๆขึ้นมาแต่ละอย่างนี่ ไม่ง่ายนะคะ
มีรายละเอียดมากทีเดียวค่ะ
ต่อไป จะมีการขยาย ไปทุกจังหวัดค่ะ
เห็นมีการอบรมเจ้าหน้าที่ และเตรียมงานกันแล้วค่ะ

ข้อมูลจาก ทำเนียบเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้  สถาบันการเรียนรู้แห่งชาติค่ะ
ได้รับแจกหนังสือนี้ ในวันเข้าชมค่ะ
        
       ทั้งนี้ ภาครัฐจะให้งบประมาณทั้งสิ้นรวม 3,700 ล้านบาท โดยในปีแรกได้รับ 800 ล้าน เพื่อใช้ในการบูรณะซ่อมแซมอาคารต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็มีอนุกรรมการจัดหาทุนร่วมมือกับบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจหลายแห่งให้ความสนใจ
และปัจจุบันได้รับเงินสนับสนุนจากการบินไทยปีละ
20 ล้านบาทเป็นเวลา 3 ปี แบ่งเป็นตั๋วเครื่องบินปีละ 10 ล้าน ส่วนที่เหลือเป็นทุนสนับสนุนทุนหมุนเวียนและการจัดนิทรรศการ
สิ่งดีๆแบบนี้ หาทุนสนับสนุน ไม่ยากค่ะ

  สวัสดีค่ะคุณ  small man


ใช่ค่ะ ที่นี่เป็น แหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ที่มีคุณค่ามหาศาลค่ะ ดิฉันเข้าไปชมในวันแรกเลย เหมือนเขากำลังซ้อมๆอยู่น่ะค่ะ แต่ก็ประทับใจค่ะ

ต้องพาเด็กๆไปดูให้ได้ค่ะ


       อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่า พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ไม่ได้มีเพียงแค่แห่งเดียวเท่านั้น การเกิดขึ้นที่อาคารของกระทรวงพาณิชย์(เดิม) เป็นเพียงต้นแบบของพิพิธภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตบริเวณ เกาะรัตนโกสินทร์
ตั้งแต่ศาลฎีกา กระทรวงกลาโหม กรมแผนที่ทหารและกรมรักษาดินแดน รวมทั้งหมดประมาณ 3 แห่งด้วยกันค่ะ ที่กรุงเทพฯ

ศ.ดร.ชัยอนันต์ฯ ให้สัมภาษณ์เองค่ะ เมื่อ 19 ม.ค.2551 นี้ค่ะ

เป้าหมาย จะ พัฒนาสู่พิพิธภัณฑ์ชั้นนำในภูมิภาค พรั่งพร้อมด้วยบุคลากรที่มีความสามารถ และมีการจัดแสดงนิทรรศการอย่างมืออาชีพ
สวัสดีค่ะ คุณ โอชกร - ภาคสุวรรณ

พิพิธภัณฑ์นี้ อยู่ที่  กระทรวงพาณิชย์ (เดิม) ถนนสนามไชย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกันได้กับสถานที่สำคัญอีกหลายแห่งที่มีความสำคัญต่อจิตใจ
 ทั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)
พระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) ค่ะ

สำหรับการเข้าชมขณะ เข้าใจว่า  ในวันธรรมดาคงเป็นโรงเรียน ซึ่งจะมีคู่มือให้ครูประสานกับบทเรียน พร้อมจัดตารางเวลา เพื่อไม่ให้คนแออัดมากนัก
และเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง มีเวลาสัมผัสกับสิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆ
ส่วนเสาร์อาทิตย์คาดหวังว่าผู้ปกครองจะมากับลูก รวมทั้งคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว นักทัศนาจรชาวต่างชาติแวะเข้ามาชมด้วย

งานที่ดูจะหนักและเหนื่อยที่สุด   คงเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนสนใจพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
ทางหน่วยงานนี้   จะให้เยาวชนทั้ง
76 จังหวัด ได้เข้ามามีส่วนร่วมคิดและสร้างสรรค์พิพิธภัณฑ์เรียนรู้แห่งชาติและนำประสบการณ์ที่ได้รับขยายผลเป็นเครือข่ายต่อไปในอนาคต

เช่น เผยแพร่ความคิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในบ้านเกิดของตัวเอง
นอกจากนักเรียนแล้วครูสังคมศึกษาทั่วประเทศประมาณ
8,000 คน ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการระดมความคิดว่าต้องการพิพิธภัณฑ์แบบไหน ให้เกิดขึ้นเป็นคู่ขนานไปกับการเรียนในห้องเรียนหรือหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกันไปด้วย
 
ขณะเดียวกันก็คง จะต้องให้การอบรมครูในการนำนักเรียนมาเที่ยวชมนิทรรศการเพื่อเป็นการเสริมยอดให้กับการเรียนประการหนึ่ง
อีกทั้งยังสร้างโอกาสให้เด็กที่พัฒนาการความรู้ที่แตกต่างกันเข้ามาฝึกทดลองเลิร์นนิ่งแล็บ ในพิพิธภัณฑ์ ตามสไตล์การเรียนของตัวเองอีกด้วย

ที่นี่ มีการเตรียมการเป็นระบบดีค่ะ
น่าพาลูกหลานไป แต่ จะเมื่อยหน่อยนะคะ มีหลายห้องมากค่ะ

        สวัสดีครับ
                     นี่คือสิ่งที่ประเทศไทยเรารอมานานหรือเปล่าครับ  ดีใจครับ  ๆ   ผมจะต้องหาโอกาสเข้าเมืองหลวงไปดูความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ และก็ไปดูเรื่องราวเก่า ๆ อย่างที่นี่เป็นต้นครับ
                 ขอบคุณที่นำมาให้ชมครับ
 
ในช่วงที่เริ่มมีผู้คนเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ เชื่อไหมคะ กรุงเทพฯยังไม่เกิดค่ะ

เพราะ เวลานั้น กรุงเทพฯ ยังอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
เมื่อ5,000 ปีก่อน ขอบอ่าวไทย กินพื้นที่ลึกเข้าไป  ไกลกว่าจุดตั้งต้นกรุงเทพฯราว 100 ก.ม. ต่อมาตะกอนดินจากแม่น้ำ ได้ทับถม ทำให้กรุงเทพนกลายเป็นแผ่นดินขึ้น เมื่อ 1000ปีกว่านี้เอง
ด้วยเหตุนี้ เมืองในยุคสุวรรณภูมิ นอกจากเมืองชายฝั่งทะเล ภาคใต้แล้ว
ยังมีเมืองที่อยู่ลึกเข้าไปถึงสุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม เมืองเหล่านี้ คือเมือง ชายทะเล ในยุคสุวรรณภูมินั่นเอง

ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
จะไปต้องแต่งตัวเรียบร้อยมากหรือเปล่าครับ? ใส่กางเกงยีนเข้าได้เปล่าครับ?
 สวัสดีค่ะคุณ สุมิตรชัย
ดีใจนะคะ ที่มาเยี่ยม
 

 ค่ะ นี่คือสิ่งที่ เป็นที่น่าดีใจ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ค่ะ

เพราะเป็นการเรียนรู้  ประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่กำลังจะมารวมตัวในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติแห่งนี้
และคงจะเปลี่ยนสภาพการรับรู้ของคนไทยให้ตื่นขึ้นมาจากประวัติศาสตร์ยุคเก่าได้เป็นอย่างดี

เดิมที สังคมไทย ไม่ค่อยให้ความสนใจกับคุณค่า ของพิพิฑธภัณฑ์สถานนัก  เพราะ พิพิธภัณฑ์แบบเก่า พัวพัน แต่เรื่องศาสตร์ๆ ศิลป์ๆ ที่อยู่ไกลตัวกว่า วิถีชีวิต ของผู้คนเกินไป

มักจะเป็นเรื่อง ของนักวิชาการหรือผู้มีอำนาจมากำหนด  คนท้องถิ่นจึงไม่ค่อยสนใจ
และสังคมไทยเอง ก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ในเรื่องวิชาการนัก พวกหนังสือพิมพ์ สื่อต่างๆ เน้น ความบันเทิงเป็นหลัก

ดังนั้น พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้ จึงพยายามใช้เทคนิคการนำเสนอแบบใหม่ให้น่าสนใจขึ้น มีชีวิต ชีวา มีระบบการจัดให้มีองค์ประกอบ ที่ไปด้วยกันได้ อย่างลื่นไหล ทำให้ผู้ชม ไม่เบื่อ และทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วม ในการนำเสนอ นั้นด้วยค่ะ

สวัสดีครับ...ยินดีที่มีบันทึกข่าวดีอย่างนี้มาให้รู้กัน.ควรจะเป็นข่าวให้กว้างขวางกันทั้งประเทศคนไทย...มักมีเชื้อชาติไทยสัญชาติไทย..กันแต่ในทะเบียนบ้านและมักไม่ใคร่สนใจชาติตนไม่รู้เรื่องแล้วจะสอนบอกกล่าวคนรุ่นต่อไปกันอย่างไร?ความรู้ไม่สมบูรณ์. โชคยังดีที่ ชาติ ยังมีคนที่มีวิญญาณเป็นไทอยู่บ้างจึงยังประคองคนส่วนใหญ่ไว้ได้(พูดแบบไม่หวาน   คนส่วนใหญ๋ไม่ได้เรื่องหลอกครับ) เรื่องนี้สำคัญจะมีผลมากต่อไปเพราะยังไม่มีองค์กรระดับชาติออกมาพูด(ด้วยวิธีการใดก็ได้)เสียที่ทำให้เกิดการวุ่นวายจะเอาตามฝรั่งที่เขียนไว้มันทำให้ขัดแย้งเป็นสงครามได้ เราเขียนประวัติชาติพันธุ์ของเราเสียที่     ขอให้...   คนไทใจหนักแน่นมีชีวิตอย่างกว้างขวางและพอเพียง กราบขอบพระคุณ sas"da มากครับที่เก็บเรื่องสำคัญนี้มาฝาก

  •  สวัสดีครับคุณพี่ศศินันท์
  • เรื่องราวสดใหม่ สีสันน่าสนใจ ข้อมูลแน่น ตามเคยนะครับ
  • อยากพาเด็กไป  แต่คงไกลเกินฝันสำหรับโคกเพชร
  • ขอเลียบๆเคียงๆแอบๆเก็บเรื่องราวและข้อมูลภาพรวม  จากบันทึกนี้ของคุณพี่ก็แล้วกัน
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะคุณ วี वीर
เวลาจะไป ตอนเขาเปิดแล้ว ใส่กางเกงยีนส์ ไม่น่ามีปัญหา แต่เสื้อสีเรียบร้อยหน่อยก็ดีนะคะ

เมื่อ 4000 ปีก่อน พอผู้คนเริ่ม ตั้งถิ่นฐาน ก็หันมาทำกรเกษตรแล้วค่ะ
ครั้งแรกสุด กินข้าวป่า ตอนนี้รู้จักปลูกข้าวกินเอง และคนกินข้าวเหนียวก่อนข้าวเจ้าอีกนะคะ พบหลักฐานแถวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทั้วเคียว เมล็ดข้าวเหนียว  ใบมีด และกระดูกข้อเท้าควายค่ะ

%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%b4

เว็บไซดิ์ ของพิพิธภัณฑ์นี้ก็มี คือ  www.ndmi.or.th

แต่ในขณะนี้ เข้าไม่ได้ คงเพราะอาจจะยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการค่ะ

คุณ Conductor  ช่วยไปค้นมาให้ เผื่อบางท่านอยากอ่านเป็นภาษาอังกฤษค่ะ

Google เคยมองเห็นครับ คำอธิบาย NDMI ที่ Google มองเห็นจากเว็บไซต์และเก็บไว้

 Provide a general introduction to Thailand and Thai culture, which will be more specifically presented in the larger specialized museums to be developed in the future

What does it mean to be Thai? The demonstration project invites visitors to explore that question together

  • Use a multidisciplinary approach to develop content – in other words using a variety of disciplines (e.g. history, archaeology, anthropology, science) to present ideas and subject matter.
  • This allows for multiple perspectives and more inclusive understanding of the complex world we live in. Future museums will be more specialized focusing on one or two disciplines (e.g. Museum of Science).
  • Provide opportunities for training staff that will be deployed to other future specialized museums as well as offer courses for  the general public, teachers and interns from Bangkok and throughout the country.
  • Be relevant to people’s lives today, by connecting current issues and culture to those of the past.
  • สวัสดีครับคุณ Sasinanda

                    ตื่นตาตื่นใจมากครับ...รู้สึกอิ่มที่ได้แลเห็นความเปลี่ยนแปลงของพิพิธภัณฑ์แบบนี้ที่ประเทศไทย...เปิดแล้วจะต้องเข้าไปขอชมให้ได้ครับ

                                                      ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ

    Sasinanda: ขอบคุณมากครับ ว่าแล้วก็อยากกินข้าวเหนียวครับ. น่าไปมากครับ มีเครื่องนุ่งห่มพร้อมแล้วก็เหลือแต่ว่า จะวางแผนการเดินทางอย่างไรเท่านั้นเอง

    สวัดดีค่ะ 

            ตื่นตา ตื่นใจมากค่ะ เป็นครั้งแรกที่เรามีพิพิธภัณฑ์แบบนี้
    เล่าเรื่องมาถึงอยุธยา เท่าที่ทราบมา อยุธยามียุทธศาสตร์เมืองน้ำ คืออะไรคะ ไม่เข้าใจค่ะ

     สวัสดีครับ

             ผมเป็นคนชอบแต่งกลอน และผมว่า กวีเอกๆ มาจากกรุงศรีอยุธยาทั้งนั้นเลยนะครับชอบจังครับ เรื่องประวัติศาสตร์ ถ้าเปิดเมื่อไร จะไปชมให้ได้ แล้วจะขยายไปต่างจังหวัดไหมครับ

    สวัสดีครับอาจารย์

    ผมจะรอรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอน/เงื่อนไขการเข้าชมเพื่อนำเด็กและเยาวชน(ด้อยดอกาส)ที่ปายเข้าชมครับ

    ขอคุณครับ / นายกระท้อน

     สวัสดีค่ะคุณ เดโชชัย

    คุณบอกว่า.....ยินดีที่มีบันทึกข่าวดีอย่างนี้มาให้รู้กัน.ควรจะเป็นข่าวให้กว้างขวางกันทั้งประเทศคนไทย   เราเขียนประวัติชาติพันธุ์ของเราเสียที่     ขอให้...   คนไทใจหนักแน่นมีชีวิตอย่างกว้างขวางและพอเพียง

    ค่ะ ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    และขอบคุณที่ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” (National Discovery Museum Institute : NDMI)         จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จะทำให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ทีละน้อย

    โดยครั้งแรกสุด ให้เรียนรู้รากเหง้าของพวกเรา ก่อนอย่างอื่นเลยค่ะ

    %e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b9%86

    สวัสดีค่ะครูวุฒิ

    ดีใจที่ครูวุฒิ ครูในดวงใจของนักเรียนทั้งหลายมาเยี่ยมค่ะ

    จริงๆ เขาก็ยังไม่เปิด แค่ซ้อมๆ เวลาเปิดจริง จะมีเนื้อหา และมี แสง สี เสียง ประกอบมากกว่านี้แน่นอน วันที่ไป ช่างยังมาทำงานอยู่เลย พอดีโดยสารไปกับเด็กมัธยม ก็เลยได้ชมกับเขาด้วย ดีมากๆค่ะ แอร์เย็น จัดห้องแสดงก็ดี วิทยากรพาชมและอธิบายได้ดีค่ะ

    ภาระกิจของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มีหลายอย่าง แต่ที่สำคัญอีกอย่างคือ การสร้างและพัฒนาเครือข่ายพิพิธภัณฑ์

    และสนับสนุนให้พิพิธภัณฑ์ทุกแห่งในประเทศ มีอัตลักษณ์ของตัวเอง เป็นเสน่ห์ที่หลากหลาย มีทั้งเผ็ด มัน ร้อน เครื่องปรุงก็ต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับ สถานที่และแนวคิดของแต่ละแห่ง

    แต่ มีเป้าหมายว่า พิพิธภัณฑ์ จะต้องเป็นแหล่งเรียนรู้นอกระบบ ที่ให้บริการกับประชาชนและสังคม

    ต่อไปคนจะเลิกถามคำถามว่า.....ทำไม คนไม่เข้าพิพิธภัณฑ์ ...แต่เป็น

    ทำไม คนต้องเข้าพิพิธภัณฑ์ค่ะ

    เป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจมากครับ ดีใจจริงๆ ที่ประเทศไทยเราเริ่มให้ความสำคัญกับการสร้างพิพิธภัณฑ์เป็นที่เรียนรู้ของคนไทยอย่างนี้ครับ

    "พิพิธเพลิน" นี้ผมต้องหาโอกาสไปให้ได้ทีเดียวครับ 

    551000000809502 

    สวัสดีค่ะ คุณพี่ Sasinanda

    มาชวนคุณพี่ไปทานอาหารกลางวันด้วยกันค่ะ โอ โฮ้ เยอะมากๆๆๆขนาดนี้สงสัยต้องชวนท่านอื่นมาช่วยกันทานค่ะ เดี๋ยวอ๋อจะอ้วนไม่ยอมลง อิ อิ

    ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ดีจังเลยค่ะ ขนาดแค่เห็นภาพยังตื่นตาตื่นใจขนาดนี้เลยค่ะ

    การไปเยี่ยมชมและเรียนรู้เรื่องราวของชาติทำให้มีรากแก้วที่แน่นและรักชาติมากขึ้นจริงๆค่ะ 

    หากคนไทยทุกคนพาลูกจูงหลานไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์แทนไปเดินห้างสรรพสินค้า ประเทศไทยเรานอกจากจะพัฒนายิ่งขึ้นแล้ววัฒนธรรมของชาติก็ไม่สูญหายแถมยังอาจทำเงินเข้าประเทศได้อีกต่างหากค่ะ

    ขอบพระคุณคุณพี่ศศินันท์ค่ะ  ที่อ๋อแปะภาพเก่งขึ้นก็เพราะมีครูดีกรุณาสอนไงคะ


    อ๋อค่ะ

    • สวัสดีค่ะพี่ศศศินันท์
    • อุ๊บ แอบชิมอาหารกลางวันก่อนเดินชมพิพิธเพลิน
    • สวยงามทั้งพื้นที่โดยรอบ
    • และหมวดหมู่การจัดแสดงก็น่าสนใจ
    • จำไม่ได้ว่าดูรายการอะไร เขาสัมภาษณ์ คนจัด
    • ดีใจได้มาเห็นในบันทึกพี่ว่าเสร็จไปหลายส่วนแล้ว
    • หลังจากเปิดอย่างเป็นทางการจะหาโอกาสไปเยี่ยมชมบ้างนะคะ
    •  ต้องขอบคุณกูเกิ้ลและหนุ่มไปรษณีย์ค่ะ ที่ทำให้ดอกทานตะวันเดินทางไปถึงพี่ได้ อิอิ

    สวัสดีค่ะ นายช่างใหญ่

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    ในการทำงานของสถาบันนี้ พวกเราอาจไม่ค่อยทราบกัน แต่ได้มีหนังสือเผยแพร่ออกมา ชื่อ ทำเนียบเครือข่าย พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ค่ะ

    คือเป็นการร่วมมือกันหมด ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนชุมชนและท้องถิ่น ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อจะต้องพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ให้เป็นศูนยืกลางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ ค้นคว้าข้อมูล ตามอัธยาศัย สำหรับประชาชนค่ะ

    มีการจัดสัมนาเครือข่ายทั่วประเทศเลยค่ะ

    ขอสรุปแนวทางของพิพิธภัณฑ์ใหม่กว้างๆ ตามที่ท่าน ผศ.พัชรี ชินธรรมมิตร กล่าว และตามความเข้าใจนะคะ

    คือ กำเนิดพิพิธภัณฑ์ในยุคแรก เป็นเรื่องของชนชั้นกลางถึงชั้นสูง ที่ต้องการแสวงหาความรู้  และชื่นชมกับศิลปะที่หลากหลาย

    แต่บัดนี้ จุดประสงค์ของพิพิธภัณฑ์ ได้เปลี่ยนไป  แต่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย หรือ แหล่งเรียนรู้ นอกห้องเรียน เพื่อให้สังคม นั้นๆ เป็นสังคมเรียนรู้อย่างไม่จบสิ้น

    เป็นสังคม ที่หลากหลายประสบการณ์ สังคมที่รู้จักตนเองและผู้อื่น สังคม ที่เข้าใจคุณค่า ของความหลากหลาย เป็นต้น

    เข้ามาชื่นชมพิพิธภัณฑ์ใหม่เอี่ยมยังไม่ได้แกะกล่องครับ

    อ่านแล้วยิ่งทำให้รู้สึกอยากเรียนรู้มากๆครับ โดยเฉพาะกับคำถาม "ทำไม" 

    อ่านๆดูๆแล้วคงต้องใช้เวลาหลายวันจึงจะชมนิทรรศการทั่วถึงหรือเปล่าครับ

    ในอนาคตคงจะดีนะครับ ถ้ามีพิพิธภัณฑ์ลักษณะแบบนี้ของแต่ละท้องถิ่น แล้วมาแลกเปลี่ยนจัดแสดงคงจะทำให้รู้จักไทยแต้ๆกันทั้งประเทศครับ

    वीर 


     เปิดแล้วมาเลย นักศึกษาเก่งๆอย่างคุณไม่พลาดอยู่แล้วค่ะ

     จากพระราชนิพนธ์ที่ขออัญเชิญ คือ พระราชนิพนธ์ ของ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 
     ที่ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาย่อมจะต้องแสวงหาความรู้หรือการศึกษาทุกรูปแบบ เพื่อให้ได้มาซึ่ง "ปัญญาปัญญาจะเกิดขึ้นได้อย่างไรและโดยวิธีใด การแสวงหา "ความรู้" หรือ "การศึกษา" คงเป็นคำตอบที่ทุกคนคงกล่าวได้ตรงกัน แต่การศึกษาโดยทั่วไป มิได้มีความหมายถึงเฉพาะการไปโรงเรียน ฟังคำสั่งสอนของครู อ่านหนังสือ หรือทำการบ้านเท่านั้น
     แต่ "การศึกษา" ในที่นี้หมายถึง การที่จะได้มาซึ่งความรู้ทุกรูปแบบ ทั้งการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยด้วย ซึ่งรวมเรียกว่า การศึกษาตลอดชีวิต และควรต้องแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องจนมีบางคนกล่าวว่า ......
    "ชีวิต คือ การศึกษา และการศึกษาก็คือชีวิต" ทั้งนี้ เนื่องจากวิชาการต่างๆ ในสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าตลอดเวลา หากผู้ใดไม่แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องจะกลายเป็นผู้ด้อยการศึกษา ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงพระราชทานเนื่องในโอกาสวันไหว้ครู ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2526 ว่า               
         " วิชาการต่าง ๆ ในสังคมทุกวันนี้ มิได้อยู่นิ่งกับที่ แต่เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาคนที่เรียน จบสูง ๆถ้าอยากจะอยู่อย่างก้าวหน้า ควรทำการค้นคว้าศึกษาเล่าเรียนต่อไป แม้จะมิใช่ การศึกษาเล่าเรียนในระบบ เช่น อาจเข้ารับการอบรมสัมมนา ฟังการอภิปราย หรือชมนิทรรศการว่ามีอะไรใหม่ ๆ การฟังข่าวสารจากวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ก็จำเป็น

    ทำให้เรารู้ว่าวิทยาการ ก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว สิ่งแวดล้อมรอบตัว เรามันไม่อยู่กับที่ เช่น เทคโนโลยีสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา "

    ดีใจที่พิพิธภัณฑ์-พิพิธเพลินนี้ใกล้จะเสร็จเปิดให้ชมได้ในอีกไม่นานนี้นะคะ

    เป็นแหล่งเรียนรู้ที่คนไทยทุกวัย ทุกอาชีพควรได้ไปเรียนรู้ โดยเฉพาะไปเรียนรู้จากการตั้งคำถามให้คิด ไปกันได้บ่อยๆ ค่อยๆชม ค่อยๆย่อย นึกถึงพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ค่ะ เขามีการให้สมัคร Friends of the Louvre เสียเงินจำนวนหนึ่ง แล้วมีบัตรที่ใช้เข้าชมได้ในหนึ่งปี จะเข้าชมกี่ครั้งก็ได้ เงินค่าสมาชิกนี้ ก็นำไปทำกิจกรรมต่างๆได้มากมาย ของเราอาจใช้ค่าสมาชิกนี้ไปช่วยให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลรายได้น้อย ได้มีโอกาสเดินทางมาชม คนไทยทุกคนควรได้มีโอกาสเข้าชมนะคะ

    เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้ยินในช่วงนี้ค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณกฤษณา

    แฟนประจำ ณ ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สงสัยเรื่อง อยุธยามียุทธศาสตร์เป็นเมืองน้ำ

    ตามที่ไปดูและศึกษามาจากที่พิพิธภัณฑ์นี้นะคะ

    ชัยภูมิ ของกรุ.ศรีอยุธยา เป็นเกาะ มีแม่น้ำ ล้อมรอบ 3 สาย เป็นข้อได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ และรัฐศาสตร์

    สามารถ ควบคุม เส้นทางคมนาคม และแหล่ง ทรัพยากรสำคัญบริเวณลุ่มแม่น้าเจ้าพระยา โดยมีอยุธยา เป็นศูนย์กลาง

    เกาะเมือง ยังทำหน้าที่เป็นปราการป้องกันการโจมตีพระนคร จากศัตรูภายนอก และอยุธยา ยังอาศัยข้อได้เปรียบที่น้ำท่วมถึง เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมพื้นที่นอกกรุง จนข้าศึกต้องถอยกลับไป

    แต่สุดท้ายกลศึกนี้ ถูกข้าศึกแก้ได้ จนกรุงศรีอยุธยา ต้องเสียกรุงค่ะ

    น่าสนใจมากครับ...

    และที่สำคัญได้ชมก่อนที่พิพิธภันฑ์จะเปิดซะอีก...

    น่าดีใจนะครับที่จะมีพิพิธภันฑ์ลักษณะนี้ ที่จะถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน...

    เพื่อที่เราคนไทยทุกคนจะได้พูดเต็มปากซะที่ว่าเราเป็นคนไทยแท้ครับ...

    ขอบคุณมากครับ...

    สวัสดีค่ะคุณ พิเชษฎ์ คุณบอกว่า.....กวีเอกๆ มาจากกรุงศรีอยุธยาทั้งนั้นเลยนะครับชอบจังครับ
     กรุงศรีอยุธยาได้ชื่อว่าเป็น.....กรุงศรี กรุงศิลป์ --Art and Culture

    สมเด็จพระรามาธิบดีที่1(พระเจ้าอู่ทอง)เป็นผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่เดิมพระเจ้าอู่ทองประทับที่เมืองอโยธยา ต่อมาก็พาคนอพยพมาสร้างเมืองใหม่ที่หนองโสน แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พ.ศ.1893

     

     ภูมิศาสตร์กรุงศรีฯ ที่มาแห่งอำนาจ ความมั่งคั่งและศิลปวิทยาการราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เติบโตและยิ่งใหญ่ เพราะมีชัยภูมิที่ได้เปรียบ ทั้งทางเศรษฐศาสตร์และยุทธศาสตร์ เป็นจุดรวมแม่น้า ถึง 3 สายคือ แม่น้าเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำลพบุรีทำให้สามารถควบคุมการค้า ทั้งทางบกและทางเรือ จากทางตอนเหนือได้ทั้งหมด แม้แต่ในกรุงศรีฯก็อุดมสมบูรณ์ เพาะปลูกได้ดีส่วนทางทะเล ก็เป็นจุดนัดพบของทางซีกโลกตะวันออกและตะวันตก ทำให้เรือสินค้า จากนานาชาติ ใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นที่เปลี่ยนถ่ายซื้อขายสินค้านอกจากนี้
    ยังมีชัยภูมิที่เหมาะทางการศึกสงคราม มีแม่น้ำ เป็นปราการรอบด้าน ยากแก่การเอาชนะ ด้วยศึกสามัญการเป็นจุดศูนย์กลางนี้เอง ทำให้ ความมั่งคั่ง อำนาจและศิลปวิทยาการ ไหลบ่ามาสู่ดินแดนแห่งนี้

    ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๑๑๒

     แต่อีก ๑๕ ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงสามารถ กอบกู้เอกราชกลับมาได้ โดยทรงประกาศอิสสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๗ พระองค์ได้ทรงทำสงคราม เพื่อความเป็นปึกแผ่นของแผ่นดินไทย ตลอดพระชนมายุของพระองค์ ทำให้อาณาจักรอยุธยาแผ่ไปอย่างกว้างขวาง เป็นหนึ่งในสุวรรณภูมิ
    ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐กรุงศรีอยุธยาดำรงความเป็นราชธานีไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองจนล่วงมาถึง สมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เป็นระยะเวลา ๔๑๗ ปี นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๑๘๙๔ ถึง ปี พ.ศ.๒๓๑๐

    การที่ล่มสลายอย่างย่อยยับ   ด้วยความอ่อนแอ ของคนไทยเราเอง

    เพื่อให้เห็นภาพลักษณ์ดังกล่าว จึงขอยกเอาคำรำพึงของมหากวีเอกของไทยคือสุนทรภู่ ที่ได้บรรยายไว้ในนิราศพระบาทถึงสภาพของ กรุงศรีอยุธยาไว้บางตอนดังนี้


    ........... ดูปราสาทราชวังเป็นรังกา ดังป่าช้าพงชัฏสงัดคน
    อนิจจาธานินสิ้นกษัตริย์ เหงาสงัดเงียบไปดังไพรสณฑ์
    แม้กรุงยังพรั่งพร้อมประชาชน จะสับสนแซ่เสียงทั้งเวียงวัง
    .................................
    ........... ดูพาราน่าคิดอนิจจัง ยังได้ฟังแต่เสียงสกุณา

     ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีวรรณคดีชั้นเยี่ยมหลายเรื่อง ......
    เช่น ลิลิตพระลอ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง   ลิลิตยวนพ่าย  สมุทรโฆษคำฉันท์    อนิรุทธคำฉันท์แต่งโดยศรีปราชญ์
    ส่วนสมัยศรีอยุธยาตอนปลาย ก็มีอีกหลายท่าน เช่น เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ ค่ะ 

    สวัสดีค่ะคุณพี่ Sasinanda

    ต่อไปอ๋อเลิกเสียตังค์ ซื้อ นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรมทุกเดือนๆแล้วค่ะ

    มาอ่านหาความรู้ด้วยศิลปวัฒนธรรมฟรี กับคุณพี่ Sasinanda  ดีกว่าค่ะ

    อยากเก่งๆมีความรู้เยอะๆทั้งทางโลก ทางธรรม แบบคุณพี่ บ้างจังเลยค่ะ

    คิดถึงจังค่ะ

    อ๋อค่ะ 

    %e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a9%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b8%b4%e0%b8%87

    ตัวอย่างงานศิลปะ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

    สวัสดีค่ะ Mr. Kraton Pai

    ดีจริง ที่คุณกระท้อนวางแผนจะพาเด็กเข้าชมแล้ว เด็กๆคงดีใจกันมากค่ะ

    คราวนี้ จะตอบคำถามเด็กๆได้เสียทีว่า.........ทำไมจึงเรียกชาวตะวันตกว่า ฝรั่ง” ?

    ทำไมอักษรไทยที่เดิมโบราณมี 38 ตัวจึงได้กลายเป็น 44 ตัวในปัจจุบัน?

    ทำไม คนไทยถึงถูกเรียกว่าชาวสยาม”?และเคยรู้บ้างหรือไม่ว่า เพลงชาติไทยนั้นมีถึง 7 เพลงเลยทีเดียว

    ที่นี่ดีค่ะ  เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตชีวา


    ศ.ดร.ชัยอนันต์ฯ ท่านเคยยกตัวอย่าง  พิพิธภัณฑ์แบบนี้    เช่น พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์ของอเมริกา เด็กๆ สามารถขึ้นไปบนรถม้าที่นำส่งถุงเมล์ได้

    หรือในอังกฤษมีการทำเสื้อผ้าสมัยวิกตอเรียนให้เด็กลองสวมใส่ได้

    ขณะที่ในนิวซีแลนด์มีแผนที่พร้อมคำถามให้เด็กๆ ตอบ ในการเดินผ่านที่จำลองภูมิประเทศ สัตว์ทะเล พรรณไม้ เป็นต้น
    ศ.ดร.ชัยอนันต์ ได้กล่าวตอนหนึ่งในงานเขียนเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ว่า

    ไทยเรามีของดีๆ มากมาย บ้านเมืองของเราเต็มไปด้วยสถานที่ และชุมชน

    ที่ในตัวของมันเองก็มีลักษณะเป็นแหล่งเรียนรู้อยู่แล้ว เช่น ชุมชนมอญ ชุมชนคนจีน เป็นต้น

    ผมคิดว่าพิพิธภัณฑ์ไม่จำเป็นจะต้องเป็นอาคารใหญ่ๆ เราสามารถส่งเสริมให้ชุมชนจัดทำพิพิธภัณฑ์ไว้ในชุมชนนั้นเองได้ โดยเฉพาะถิ่นเยาวราช น่าจะมีพิพิธภัณฑ์แสดงความเป็นมาของชุมชนชาวจีนไว้ที่เยาวราช เวลามีคนไปเยาวราชก็แวะดูพิพิธภัณฑ์ เดินออกมาก็สัมผัสกับชีวิตจริง
    สวัสดีครับ 
            ที่บอกว่า.....พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ไม่ได้มีเพียงแค่แห่งเดียวเท่านั้น การเกิดขึ้นที่อาคารของกระทรวงพาณิชย์(เดิม) เป็นเพียงต้นแบบของพิพิธภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตบริเวณ “เกาะรัตนโกสินทร์” ตั้งแต่ศาลฎีกา กระทรวงกลาโหม กรมแผนที่ทหารและกรมรักษาดินแดน รวมทั้งหมดประมาณ 3 แห่งด้วยกัน
    ทราบไหมครับว่า จะเปิดเมื่อไร

    สวัสดีค่ะ 

                อยากให้เล่าย่อๆถึง ประวัติศาสตร์ตอนนี้ค่ะ   จากบางเกาะเป็นบางกอก : พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของคนสยามในลุ่มน้ำลำคลอง 

    สวัสดีค่ะ  ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์

    อย่างที่อาจารย์ เคยพูดถึงในบันทึกของอาจารย์เองว่า

    ข่าวดีรับปีใหม่ของชาวอเมริกัน คือ ในปีที่ผ่านมาคนอเมริกันกว่า 53 เปอร์เซ็นต์ได้ใช้งานห้องสมุด นั่นคือประชากรกว่า 150 ล้านคนเชียวนะครับ

    ไม่แปลกใจที่เห็นสังคมอุดมปัญญาของอเมริกาครับ

    ที่น่าสนใจคือ คนยุคใหม่ (Generation Y) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากและเติบโตมากกับเทคโนโลยีต่างๆ กลับเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานห้องสมุดมากที่สุด

    กลุ่มนี้เป็นกลุ่ม "ผู้หิวสารสนเทศ" (information hunger) ซึ่งเป็นความหิวที่ดีครับ ยิ่งหิวมากก็ยิ่งรู้มาก มีความรู้มากก็ย่อมไม่ตกเป็นเหยื่อทางสังคม

    บันทึกนี้ ของพี่ คงเป็นข่าวดี ที่ฟังแล้ว สบายใจขึ้นนะคะ

    และจากกรุงเทพฯ ก็จะมีการขยายเครือข่าย ไปทุกจังหวัด ตามความเหมาะสมค่ะ ซึ่งสงขลา หาดใหญ่ น่าจะเป็น จังหวัดแรกๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง ในด้านพิพิธภัณฑ์ เกิดขึ้นค่ะ

    ถ้า มากรุงเทพฯ ตอนที่เขาเปิดเป็นทางการแล้ว น่ามาเที่ยวชม นะคะ

    • สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์
    • อยากให้มีพิพิธภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบที่สามารถให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย   แบบนี้มานานแล้ว 
    • จะพยามหาโอกาสพาเด็ก ๆ ไปศึกษาค้นคว้าบ้าง
    • ขอบคุณมาก ๆ ค่ะสำหรับข้อมูลที่นำเสนอ

    สวัสดีค่ะคุณหมอnithimar

    ขอบคุณอาหารกลางวัน ที่น่าทานมากๆค่ะ จะเหลือหรือนี่......อิๆๆๆ

    ที่นี่ไม่ได้ทำพิพิธภัณฑ์แบบแยกส่วน ที่พอใจแค่คนมาดู

    แต่เขาต้องดำเนินกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์ เช่นปาฐกถา สัมมนา กิจกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่นำเสนอ

     และไม่ใช่การเสนอนิทรรศการแบบไฮเทคที่แค่ให้คนมากดปุ่มได้ มีเสียง มีภาพ แต่องค์ประกอบทุกส่วนต้องเดินทางไปด้วยกัน ดีทีเดียวค่ะ รูปแบบใหม่นี้

    นำภาพขุนศึก ของกรุงศรีอยุธยามาฝากค่ะ ดูขึงขังดี มีหุ่นจำลองการชนช้างด้วยนะคะ

    สวัสดีค่ะ คุณnaree suwan

    คุณอ๊อด น่ารักจัง ทำความประหลาดใจให้พี่มากค่ะ แต่addressใม่ให้ไปแล้วนะคะ

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    เดิม กิจกรรมพิพิธภัณฑ์สถานอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร เพียงหน่วยงานเดียว และสาระที่นำเสนอ จะเป็นเรื่องของศิลปกรรมในประเทศไทย คือ ทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ แต่ต่อมา ได้มีความตระหนัก ในเรื่องเนื้อหา ที่หลากหลายมากขึ้น เช่นเรื่อง ชาติพันธุ์ ชีวิตชนบท ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นต้น

    ในช่วง 20-30 ปีนี้ เกิดกระแส การทำพิพิธภัณฑ์ โดยเอกชนมากยิ่งขึ้นค่ะ เช่น พิพิธภัณฑ์ผ้า พิพิธภัณฑ์แมลง พิพิธภัณฑ์หยก พิพิธภัณฑ์เครื่องถม พิพิธภัณฑ์กลุ่มชนต่างๆเช่น มอญ กะเหรี่ยง และตลาดเก่า บางแห่ง กลายเป็น ชุมชนพิพิธภัณฑ์ เช่น ตลาดสามชุก เป็นต้นค่ะ

    ไม่ทราบคุณอ๊อด จะแนะนำพิพิธภัณฑ์ ที่ต่างจังหวัดที่คุ้นเคย ไหมคะ

    นำภาพ ความรุ่งเรืองสมัยยุคทองของกรุงศรีอยุธยามาฝากค่ะ และเป็นช่วงนานถึง 400กว่าปีค่ะ

    สวัสดีค่ะ ว่าที่ ร.ต. วุฒิชัย สังข์พงษ์

     อ่านแล้วยิ่งทำให้รู้สึกอยากเรียนรู้มากๆครับ โดยเฉพาะกับคำถาม "ทำไม"

     คนไทย โดยทั่วไป มักไม่ชอบคำถามว่า ทำไม บางที ก็ตอบ ไม่ตรงคำถาม ซึ่งอาจจะเป็น ส่วนหนึ่งของแบบแผนความสัมพันธ์ทางสังคมที่สอดคล้องกับแบบแผนความสัมพันธ์ในรูปอื่นๆ ของคนไทยด้วย

     เพราะการตอบให้ ตรงคำถาม คือการประกาศจุดยืน หรือ ไม่แน่ใจว่าจะตอบอย่างไรดี นั่นเอง

     ในประเด็นที่เรากำลังพูดถึงนี้ คือความชัดเจน (คนไทย = คนเชื้อชาติไทย) หรือสับสนลังเล (คนไทย = คนสัญชาติไทยหรือเชื้อชาติไทยกันแน่)

    เราจึงต้อง มาทำความรูจัก ความเข้าใจ กับความเป็นมา ของพวกเรา ตั้งแต่ สมัยหิน เราต้องเรียนรู้เรื่องของเราเองก่อน ที่จะไปเรียนเรื่องของคนอื่น เช่น น่านเจ้า

    เราต้องรู้รื่อง ประวัติของเชื้อชาติของเรา(history of the Thai race) ให้ดีก่อนจะไปรู้เรื่องของคนอื่นเขาค่ะ ที่นี่ ให้คำตอบกับเราได้ค่ะ เพราะสืบสาวราวเรื่อง มาตั้งแต่ 500,000ปีที่แล้ว คือ....

    โฮโม อิเร็คตัส ที่ค้นพบได้จากจังหวัดลำปาง น่าจะได้รับการขนานนามว่า “ มนุษย์สยาม “ (Siam Man) “ มนุษย์ลำปาง ” ( Lampang Man ) หรือ “ มนุษย์เกาะคา ” (KO-KHA Man) ตามแหล่งที่ค้นพบ

    สวัสดีครับพี่ศศินันท์

    วันนี้ดีใจมากครับที่เข้า gotoknow ได้เป็นปกติ และสามารถขีดเขียน ทักทายบุคคลที่ผมระลึกถึงได้ตามที่ต้องการ 

    พิพิธเพลิน...น่าสนใจมากๆครับ คงต้องหาโอกาสไปชมให้ได้ และที่สำคัญต้องช่วยกันบอกต่อ

    หากถามผมในอดีตว่า ทำไม...ไม่ชอบเรียนประวัติศาสตร์ ผมจะตอบว่าเป็นวิชาที่น่าเบื่อ ทำไมต้องมาี่จำ แล้วก็จำแต่เรื่องเก่าๆ พอไปทัศนศึกษาก็ต้องจดแล้วก็จดเอามาทำรายงาน เป็นความทรงจำที่ไม่สนุกเลยสำหรับเด็กๆ

    แต่ถ้าเราเข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กๆ มีกระบวนการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางน่าจะ
    ทำให้เด็กไทยใช้ประโยชน์จากวิชาประวัติศาสตร์ได้มากกว่าในอดีต

    ขอบคุณมากครับ 

    น่าไปดูมากค่ะ ทราบข่าวมานาน ถ้าเปิดเป็นทางการเมื่อไหร่ต้องพาหลานไปชัวร์ อันที่จริงแล้วเคยพาหลานไปที่นี่นะคะ น้องชายพาหลานไปเข้ากลุ่มทำกิจกรรมขุดค้นทางโบราณคดีสำหรับเด็กเมื่อปีที่แล้ว ตอนนั้นเขายังอายุไม่ถึงแต่ก็ได้ไปขุดๆ แซะๆ เล่นตามพี่โตทั้งหลายเพราะว่าเพื่อนน้องทำการขุดค้นอยู่ที่นั่นค่ะ ^ ^ เลยอนุโลมให้ แต่ก็ไม่รู้เรื่องเท่าไหร่ ได้แต่ความประทับใจกลับมา แต่ก็แปลกเขาบอกว่าเขาไม่อยากเป็นนักโบราณคดี เขาอยากเป็นนักธรณีวิทยา เออแฮะ - - "

    ปล. ที่นั่นเป็นวังเก่าตั้งแต่สมัยร.1 แล้วปลูกทับกันประมาณสามสมัย เลยมีการทำสำรวจขุดค้นค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณนายดอกเตอร์

    อาจารย์บอกว่า.....เป็นแหล่งเรียนรู้ที่คนไทยทุกวัย ทุกอาชีพควรได้ไปเรียนรู้ โดยเฉพาะไปเรียนรู้จากการตั้งคำถามให้คิด ไปกันได้บ่อยๆ ค่อยๆชม ค่อยๆย่อย

    พี่เคยอ่านบทความอยู่ชิ้นหนึ่ง เขามีการสำรวจ คนหนุ่มสาวปัจจุบันสำหรับผู้ที่ยืนยันว่าตนเป็นไทย และอยากเป็นไทยสืบไปเบื้องหน้า- หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือผู้ที่กระจ่างชัด เรื่องเอกลักษณ์แห่งชาติ (national identity) ของตัว เขาเขียนว่า......

    หลักหมาย "ความเป็นไทย" ที่พวกหนุม่สาวกลุ่มที่ ถูกสัมภาษณ์  ยึดมั่น ความเป็นไทย และเชื่อมโยงเข้ากับตัวเองมี 2 ประการ คือ

    1) พระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน

    และ 2) ระบอบการปกครองเสรีประชาธิปไตย

    บางคน มีท่านพุทธทาส เป็นหลัก ที่เขาเชื่อมโยงเป็นหลักยึดในชีวิตด้วย

    และอีกเรื่องหนึ่งคือ  เรื่องความเป็นไทย มีการสอบถามความเห็น.......และมีผู้ตอบว่า.....

    คน ที่ 1 ตอบว่า: "ตามความคิดของข้าพเจ้าแล้วคิดว่าตนเองเป็นคนไทย ตามความหมายของเชื้อชาติและชาติพันธุ์เพราะบรรพบุรุษของต้นตระกูลทุกคนเป็นไทยแท้หมด ไม่มีใครมีเชื้อสายอย่างอื่น"

    คนที่ 2  ก็ลังเลว่า: "เป็นคำถามที่หาคำตอบได้ยากเพราะไม่ปรากฏคำนิยามที่แน่นอนว่าคนไทยมีลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างไร โดยส่วนตัวถ้าเอาในแง่เชื้อชาติก็ไม่ใช่คนไทยแล้ว (เพราะมีเชื้อชาติจีนผสมอยู่ด้วย 25%)..."

    คนที่ 3 ตอบว่า : "เขาคิดว่าตนเองเป็นคนไทยเพราะเกิดบนแผ่นดินไทย พูดภาษาไทย พ่อกับแม่ก็เป็นคนไทย ถึงแม้ว่าในสายเลือดจะไม่ใช่ไทย 100% ก็ตาม..."

    นี่คือความไม่ชัดเจน เรื่อง นิยามความเป็นไทย ของเราเองค่ะ

    แต่ จากที่นี่ พี่ว่าเราจะชัดเจนขึ้น เพราะเขามีการ ศึกษาและมีหลักฐานค่ะ ต้องไปดู และเราเอากลับมาคิดดูเองด้วย

    แต่อย่างไรก็ตาม ความรักในความเป็นเพื่อนมนุษย์ ร่วมแผ่นดินเกิด มีภาษาพูดอย่างเดียวกัน มีวัฒนธรรม ประเพณีหลักๆ อย่างเดียวกัน  ก็จะเป็นหลักยึด ที่แข็งแกร่ง อีกอย่างหนึ่งแน่นอน

    ที่พูดถึงหลักหมาย  เรื่องความเป็นไทย 

    คิดว่า คนไทยก็อยู่ในระดับยอดเยี่ยมนะคะ

    เพราะ ในเรื่อง อิสระสเรีภาพ  ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นอิสระเสรีสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

    และเรื่อง ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน

    กับการยอมรับเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

    ก็ดีค่ะ ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆหลายประเทศ

    ดิฉัน มีเชื้อจีน แต่มีความเป็นคนไทย 100%ค่ะ รักประเทศไทยค่ะ

    ตามเข้ามาติดๆ เพื่อนกันค่ะ

    ดิฉันกำลังเรียนหนังสือว่า......

    ประเทศไทยเริ่มแปลงโฉมครั้งใหญ่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สี่ เพื่อให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคม

    และก้าวสู่ความเป็นแบบตะวันตก  แต่ยังคงเอกลักษณ์ของตนไว้ การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติหรือสิ่งที่เรียกว่า "ความเป็นไทย" ดำเนินไปพร้อมกับการปฏิรูปประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม 

    ดิฉันเรียนไป ภูมิใจไปค่ะ ประเทศเรา อยู่รอดปลอดภัยมาจนทุกวันนี้ เป็น ความโชคดีอย่างมหาศาล และเราเป็นหนี้บุญคุณบรรพบุรุษ อย่างเป็นที่สุดค่ะ

    ดิฉัน รักความเป็นคนไทยมากที่สุดค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ Mr.Direct

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    ที่พิพิธภัณฑ์ นี้ แสดงรายละเอียดให้เราชม แบบแผนของการดำรงชีพและสังคม ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาเลยค่ะ

    ซึ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็จะแยกดังนี้ค่ะ

    1.สมัยชุมชนล่าสัตว์ หาของป่า มีการพบแหล่งโบราณคดีอยู่หลายแหล่งค่ะ เช่น ที่แม่ทะ จ.ลำปาง ที่นี่มี การพบ โครงกระดูกมนุษย์ลำปาง มีอายุตั้ง500000 ปีมาแล้ว และพบเครื่องมือสมัยหินที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย  ที อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน และที่ อ.เมือง จ.กระบี่ ก็มีค่ะ

    2.สมัยหมู่บ้านเกษตรกรรม

    3.สมัยสังคมเมือง

    วันนี้มีรูป ที่อยากมาฝากมากค่ะ คือ สมัยอยุธยานั้น มีการเก็บอากรค่าน้ำกันด้วยนะคะ

    อาหารหลักของชาวกรุงศรีฯคือข้าว กับ ปลา ทุกบ้าน มีเครื่องมือจับปลา

    ราชการจึงหาช่องทาง หารายได้เข้ารัฐ โดยเปิดประมูลค่าน้ำเป็นรายปี ผู้ประมูลได้ จะรั้ง ตำแหน่ง นายอากร ค่าน้ำ มีหน้าที่เรียกเก็บค่า ธรรมเนียม เครื่องมือจับสัตว์น้ำกับราษฏร ตามอัตราที่รัฐกำหนดค่ะ

    • กราบสวัสดีครับ.พี่ Sasinanda แวะเข้ามาเยี่ยมแสดงความคาราวะและยินดีอีกวาระครับ. บันทึกนี้ได้รับการตอบรับจากคนไทยในสังคมG2Kดีมากใน ทัศนะของกระผม คงเพราะผู้บันทึกแสดงชัดถึงความตั้งใจ(เป็นตัวอย่าง)และเป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้สึกของคนไทยที่เป็นคนไททั้งหลาย หากไม่เรียนรู้รากเหง้าของตนเป็นเบื้องต้น ยากนักที่จะสำเร็จในเบื้องปลาย..........คนที่ 4 ตอบว่าแม้ว่าคนรุ่นปู่ทวด รุ่นทวดและรุ่นปู่ตา จะมิใช้ไทยอยุธยาสุโขทัยไทยทวาราวดีศรีวิชัยหรือขอมไท แต่แผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินของผู้ที่ไม่ยอมตกเป็นทาศร่วมกันสร้างมา  หากเจ้ามีวิญญาณที่เป็นไทแล้วเจ้าย่อมเป็นคนไทย...ไม่ว่ามีเชื้อชาติศาสนาใดหากมีวิญญาณที่รักในอิสระและศานติเจ้าเป็นคนไทย. กระผมมั่นใจว่าพี่ Sasinanda เป็นคนไทแน่ๆ ครับ ( ท้ายนี้กราบฝากให้พี่กรุณาพิจารณา หากเราไม่ทำความเข้าใจคำว่า"ไท"นี้ให้ดีแม้จะมีชาติเชื้อสืบไปก็ไร้ความหมาย.  ไทเป็นกันที่วิญญาณไม่ใช้เปลือก)

    สวัสดีครับคุณพี่ศศศินันท์

    ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆ แบบละเอียดของพิพิธพัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาตินะครับ ผมชอบที่เขาใช้วิธีการเล่าเรื่องเหมือนที่คุณพี่ชอบนะครับ ผมม้นช่วยให้จดจำได้ และสนุกด้วย อ่านบันทึกและดูรูปไปพร้อมๆ กันก็รู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ถ้าเปิดจริงต้องไปดูให้ได้เลยครับ

    ผมสงสัยว่าทางพิพิธพัณฑ์เขาสรุปไหมว่า "ไทย" หรือ "ไท" คืออะไร เริ่มนับว่าเป็นไทยตอนไหน เพราะผมเข้าใจว่าเราเองก็มีวัฒนธรรมผสมผสานกับจีน อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้านมากมาย ไม่ว่าจะด้านภาษาและคติความเชื่อ ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะมันมีการเดินทางติดต่อ เชื่อมโยงกันอยู่ วัฒนธรรมที่มันไม่ตาย มันก็เปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ

    ผมเองเริ่มถามตัวเองว่าคนไทย คือใคร ก็เมื่อต้องมาอยู่ในดินแดนที่มีหลากหลายชาติพันธุ์นี่ละครับ ตอนอยู่เมืองไทยไม่ค่อยจะสนใจ คงเพราะผมโตในเมืองด้วย วัฒนธรรมต่างๆ ก็ไม่ค่อยได้ใกล้ชิด พอได้มาอยู่ต่างที่ มันเหมือนเป็นการเรียนแบบถอยหลังครับ คือรู้จักตัวเอง เพราะเห็นว่าเราต่างกับคนอื่นอย่างไร มันชัดเจนมากขึ้นว่าเราใช้ชีวิตไม่เหมือนเขา เรามองสิ่งต่างๆ ให้คุณค่ากับสิ่งรอบตัวต่างกับเขา

    ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีค่ะคุณหมอ  nithimar

    อ่านที่ชมแล้ว เขินค่ะ พี่ไม่ได้ มีความรู้อะไร มากมายหรอกที่จริง

    แต่เป็นคนชอบ ถาม ทำไมๆๆๆ กับทุกเรื่อง มาตั้งแต่เด็ก ถ้าผู้ใหญ่ตอบไม่ได้ หรือ เรายังไม่อิ่มในคำตอบ เราก็หา คำตอบเอง บางที ก็หานานเหมือนกัน สนุก ในการค้นหา สนุกในการคิด ค่ะ ไม่เบื่อเลยนะคะ เกิดมาไม่รู้จักคำว่า เหงา เพราะมีอะไรทำอยู่ตลอดเวลา ชีวิตไม่เคยว่าง

    ถ้าจะใช้คำว่า ว่าง กับการศึกษาธรรมะ ก็ไม่ใช่อีก เพราะ เรากำลังศึกษาจิตและศึกษาตัวเอง จะเรียกว่า ว่างไม่ได้อีก จริงไหมคะ

    คำว่า จิตว่าง คือ คำที่แสดงว่า จิตเราสงบ หลุดพ้นจากฝุ่นละอองที่มาเกาะ มาทำจิตเราเปื้อนและทำให้จิตมัวหมอง แม้จะชั่วคราวก็ยังดี  ถ้าจะให้เกิดปัญญา ต้องทำ จิตให้ว่าง แน่นอน แบบที่ครูบาอาจารย์ สอนกันมาค่ะ

     

    จากที่ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์นี้มา มีอีกสิ่งหนึ่ง ที่สำคัญ คือเรื่องพุทธศาสนา

    คนที่สุวรรณภูมิ นับถือศาสนาอื่นมาก่อน ที่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่ศาสนาพุทะ เป้นศาสนา ที่ได้มีการนำเข้ามา ริเริ่ม ส่งเสริมและอุปถัมภ์ โดยผู้มีอำนาจในแผ่นดินสมัยนั้น

    ใจบ้าน ใจเมือง เป็นคติความเชื่อ อย่างหนึ่ง ที่กลุ่มชนชาติพันธุ์หลากหลาย ในแหลมทองมีอยู่ร่วมกัน เช่นกลุ่ม มอญ เขมร กลุ่มไท เป็นต้น

    มีเรื่องของ คติ การปลูก เสาเมือง ซึ่งมีกำเนิดมาจาก อัสสัม ยูนนาน และเวียตนาม มีมาก่อนกำเนิดรัฐไท ในพื้นที่ ตอนล่าง คือ สุโขทัยและอยุธยาค่ะ

    แม้แต่ ศาลหลักเมือง ที่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ก็เป็นวัฒนธรรมที่ส่งต่อๆกันมาค่ะ

    วันนี้ นำรูปมาฝากค่ะ เป็นรูปแผนที่ แสดงถึงดินแดนสุวรรณ(พรรรภูมิเ)ดิม จนมาถึงอยุธยาค่ะ

    ที่น่าสนใจ คือเรื่อง พระเจ้าอู่ทอง ผู้สถาปนา กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี

    มีทั้งตำนาน ทั้งหลักฐาน ทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์มากมายค่ะ น่าสนใจ น่าไปเรียนรู้ค่ะ

     อ่านดูตาม ลิงค์ นี้ก็ได้ค่ะ กรุงศรีอยุธยาคงมีพัฒนาการทางสังคมความเจริญถึงระดับความเป็นเมืองก่อนปี พ.ศ. ๑๘๙๓ แน่นอน และเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้อิทธพลทางการเมืองของเมืองลพบุรีด้วย ในช่วงแรกสันนิษฐานว่าศูนย์กลางเมืองอาจอยู่บริเวณวัดพนัญเชิง หรือพุทไธสวรรค์ แล้วต่อมาในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ คงเป็นเพียงปีที่พระเจ้าอู่ทองย้ายศูนย์กลางของเมืองหรือย้ายพระราชวัง เท่านั้น

    สวัสดีค่ะคุณ  เค

    คุณเค ถามว่า

    การเกิดขึ้นที่อาคารของกระทรวงพาณิชย์(เดิม) เป็นเพียงต้นแบบของพิพิธภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตบริเวณ เกาะรัตนโกสินทร์ตั้งแต่ศาลฎีกา กระทรวงกลาโหม กรมแผนที่ทหารและกรมรักษาดินแดน รวมทั้งหมดประมาณ 3 แห่งด้วยกัน
    ทราบไหมครับว่า จะเปิดเมื่อไร

    คงอยู่ในระหว่าง ดำเนิการ ดิฉันก้ไม่ทราบค่ะ แต่จะไปหาข้อมูลมาให้ค่ะ

    สวัสดีค่ะ พี่ P

     

    ขอบพระคุณพี่มากๆ เลยค่ะ ที่ชวนมาเที่ยว และเปิดหู เปิดตา ไม่งั้นคงไม่มีโอกาสรู้อะไรดีๆ ก่อนคนอื่น

    พิพิธภัณฑ์นี้น่าสนใจมากนะคะ คงทำให้เราเข้าใจความเป็นคนไทย มากขึ้น  เพราะจะไ้ด้ข้อมูลย้อนหลังไปลึกมากทีเีดียว

    คำว่า สุวรรณภูมิ ที่เราใช้แทนแหลมทองของไทยทุกวันนี้ ก็คงมาจาก สุพรรณภูมิ นี่เองนะคะ 

    สวัสดีค่ะ คุณพี่ Sasinanda

    ช่วงเวลาที่เราได้ทำอะไรแล้วเราสบายใจ มีความสุข เป็นตัวเองจะรู้สึกดีที่สุดเลยนะคะ  บ่ายนี้ทานบัวลอยไข่หวาน ขนมไทยๆด้วยกันนะคะ

    อ๋อค่ะ

    Image23

    สวัสดีค่ะคุณยุ้ย

    เรื่อง บางเกาะ มากลายเป็นบางกอก ขอเล่า ตอนหน้านะคะ ตอนนี้เล่าตามที่ไปดูมาแค่ ยุคอยุธยาก่อนค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณRAK-NA

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ พิพิธภํณฑ์นี้จะเปิด เม.ย.นี้ น่าพาเด็กๆไปดูค่ะ ติดต่อเข้าไปก่อนนะคะ

    "อยุธยา" เป็นเมืองหลวงของสยามประเทศนานถึง 417 ปี

    จนถึงปี 2551 นี้อยุธยาก็ยังเป็นเมืองสำคัญของประเทศ ที่ต้องรับรองนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปี เพราะเรื่องราวความเป็นมาในหน้าประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตของผู้คนที่ยังคงฉายผ่านร่องรอยที่แม้ปัจจุบันจะเห็นเป็นเพียงซากโบราณสถานก็ตามที

    อยุธยาเป็นเมืองเก่าแก่ และมีของดีมากมายค่ะ

    ด้วยเหตุนี้เองที่องค์การยูเนสโกรับเอานครประวัติศาสตร์แห่งนี้เข้าไปอยู่ในรายชื่อเมืองมรดกโลกตั้งแต่ 15 ปีก่อน   เป็นมรดก ทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์

    โดยได้รับการพิจารณาตัดสิน  จากคณะกรรมการมรดกโลกแห่งองค์การสหประชาชาติ (องค์การยูเนสโก) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534

    นับว่าเป็นเกียรติภูมิอย่างยิ่งของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่จะต้องจัดให้มีงานประเพณีเฉลิมฉลองขึ้นเป็นประจำทุกๆปี ซึ่งในแต่ละปีได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

    วันนี้นำรูป เรือสำเภาราชฑุตฝรั่งเศส ชื่อเรือลัวโซ   นำคณะราชฑุตฝรั่งเศสมา ทำสัญญาทางพระราชไมตรี ด้านศาสนาและการค้า ในสมัยพระนารายรณ์ พ.ศ. 2228 มาให้ชมค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ  ข้ามสีทันดร


     ดีใจจังที่เข้า g2kได้แล้ว พี่ก็แวะไปที่บล็อกคุณบ่อยๆค่ะ

    วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ออกน่าเบื่อจริงๆค่ะ เด็กๆได้แต่จดๆ  ท่องจำ และทำรายงาน มันไม่สนุกเลย

    แต่การเรียนรู้แบบใหม่นี่ เขาจะพยายามทำไห้การเรียนประวัติศาสตร์ ไม่น่าเบื่ออีกต่อไปค่ะอย่าลืมไปชมให้ได้นะคะ และเอามาบอกเล่าต่อๆกันด้วยค่ะ

    มีเรื่องที่น่าสนใจสำหรับคุณด้วย คือเรื่องศาสนาค่ะ.....

    รากเหง้าแห่งความเชื่อ ของคนไทย คือ ผี พุทธ พราหมณ์นะคะ

    ผี เป็น เรื่องของพิธีกรรมเพื่อชีวิต ผี เป็นความเชื่อดั้งเดิมจริงๆ ของชนชาติในสุวรรณภูมินี้ค่ะ

    เช่นผีฟ้า ผีดิน ผีบ้าน ผีป่า ผีเมือง  คือ Animism ---The religion of Suvarnabhumi

    ต่อมาเป็นพราหมณ์ ผู้สร้างสถาบันกษัตริย์--Brahmins and

    Royalty

    ต่อมาเป็นพุทธศาสนา--Budhism---The great Unifier--

     เข้ามาครั้งแรก บริเวณเมืองอู่ทอง แถวๆ แม่น้ำแม่กลองและท่าจีน

    ถือว่า กษัตริย์ เป็นสมมุติราช เป็นผู้มีบุญบารมีมาแต่ปางก่อน มาเพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาปกครองประชาชน ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข

    ถ้าอยากทราบอย่างละเอียด ต้องไปชมเองค่ะ

    สวัสดีค่ะน้อง  Little Jazz \(^o^)/

    เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ พี่ชอบค่ะ แต่ไปไม่ถึงพวกโบราณคดีอะไรค่ะ ต้องเป็นspecialistลงลึกไปในด้านนี้ จริงๆ

    อ่านมาพอควร แต่ยังไม่มาก ถ้าเทียบกับน้องซูซานค่ะ มีอะไรที่น่าจะเพิ่มเติม ช่วยเพิ่มด้วยค่ะ

    จริงๆ แค่เล่าย่อๆ จริงๆ ต้องไปดูกันเองค่ะ

    วันนี้ขอนำรูป นางสาวสยาม มาฝากค่ะ นานมากๆ ตั้งแต่ พวกเรายังไม่เกิด แต่ดูแล้ว สวยมากนะคะ

    พี่จะนำไปเล่าต่อตอนหน้าค่ะ นี่ แค่ น้ำจิ้ม

    มีเรื่องเก่าๆจากพิพิธภัณฑ์ เยอะเลย ย้อนยุค ทั้งนั้น น่าไปดูจริงๆค่ะ........

    ประกวดในปี2580 นั้น มีอดีตนางสาวสยามถึง 2 พ.ศ. กลับมาร่วมประกวดด้วยอีกครั้ง คือ คุณวณี เลาหเกียรติ์ นางสาวสยาม 2478 และคุณวงเดือน ภูมิรัตน์ นางสาวสยาม 2479 ในขณะที่สาวงามอีกคน คือ คุณพิศมัย โชติวุฒิ ผู้ซึ่งอนาคตคือนางสาวสยาม 2481 ก็เข้าร่วมประกวดในปีนั้นด้วย รวมทั้งผู้เข้าประกวดที่เป็นเจ้าของมงกุฎนางสาวสยาม 2480 นั่นคือ คุณมยุรี วิชัยวัฒนะ

    นับเป็นการประกวดปีที่รวมเอานางสาวไทยไว้บนเวทีเดียวกันได้มากที่สุดถึง 4 คน ทั้งอดีตนางสาวไทย นางสาวไทยปีปัจจุบัน และว่าที่นางสาวไทยในอนาคต

    ในรูป ที่เห็นสวยที่สุด คือคุณวงเดือน ภูมิรัตน์

     

     

    สวัสดีครับพี่P

    65. Sasinanda 
     เข้ามารับความรู้เพิ่มเติมครับ ขอบคุณครับ

    สวัสดีค่ะคุณ พรรณี

     ขอบคุณที่สนใจและมาอ่านค่ะ

    คุณบอกว่า.....

    เรื่องความเป็นไทย 

    คิดว่า คนไทยก็อยู่ในระดับยอดเยี่ยมนะคะ

    เพราะ ในเรื่อง อิสระสเรีภาพ  ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นอิสระเสรีสูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

    และเรื่อง ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน

    กับการยอมรับเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

    ก็ดีค่ะ ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆหลายประเทศ

    ค่ะ เห็นด้วย

    ประเทศเรา ตอนนี้ ก็ย้ำเตือนกันเรื่องความเป็นไทย เพื่อ ให้ เกิดความสามัคคี มีสมานฉันท์ ...โดยมีเอกลักษณ์ของชาติ มีหลักยึดร่วมกันหลักๆ คือ ระบบกษัตริย์ ความเป็นประชาธิปไตย และหลักยึดอย่างอื่น รองๆลงมา

     ดิฉันเองเห็นว่า.... สังคมหลายเชื้อชาติเป็นเรื่องธรรมดา หากยังเป็นที่ภาคภูมิใจ สำแดงเกียรติยศศักดิ์ศรีได้เต็มที่ เพราะพระมหากษัตริย์ ผู้ครองแผ่นดิน ก็ ทรงต้อนรับ ชนนานาชาติหนีร้อนมาพึ่งพาอาศัยร่มพระบรมโพธิสมภารปกเกล้าคุ้มกระหม่อมด้วยซ้ำไป

    รวมทั้ง คนในชาติที่อยู่เก่า ก็มิได้ตั้งแง่รังเกียจเดียดฉันท์

     แต่มีการสมาคมกัน กระทั่งแต่งงานอยู่กินสืบเชื้อสายกับชนต่างชาติเหล่านั้นเป็นปกติธรรมดามากๆค่ะ และทุกคนก็เป็น คนไทยเหมือนๆกันค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณจิรายุ

    คุณบอกว่า กำลังเรียนพอดี จึงเข้ามาให้ความรู้เพิ่มเติมว่า......

    ประเทศไทยเริ่มแปลงโฉมครั้งใหญ่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สี่ เพื่อให้รอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคม

    และก้าวสู่ความเป็นแบบตะวันตก  แต่ยังคงเอกลักษณ์ของตนไว้ การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติหรือสิ่งที่เรียกว่า "ความเป็นไทย" ดำเนินไปพร้อมกับการปฏิรูปประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม 

     

    ค่ะ เห็นด้วย

    ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการทำสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงนำนโยบาย "ผ่อนสั้น ผ่อนยาว" มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็นพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ อันทำให้ไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ 

    ทรงโปรดเกล้าให้ชาวต่างประเทศรับราชการเป็นกงสุลไทย

     เช่นเซอร์ จอห์น เบาริง อัครราชทูตของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย แห่งประเทศอังกฤษ เข้ามาทำสนธิสัญญากับประเทศไทยเป็นชาติแรก เมื่อ พ.ศ. 2398 ได้ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ" เป็นกงสุลไทยประจำกรุงลอนดอน

    สวัสดีอีกทีค่ะคุณ เดโชชัย

    ดีใจจัง ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนอีกนะคะ

    และให้ความเห็นอย่าง คมคายมากๆว่า

    หากเราไม่ทำความเข้าใจคำว่า"ไท"นี้ให้ดีแม้จะมีชาติเชื้อสืบไปก็ไร้ความหมาย.  ไทเป็นกันที่วิญญาณไม่ใช้เปลือก

    พิพิธภัณฑ์ฯนี้    ถูกใจคนมากมายค่ะ เพราะ สิ่งที่พยายามจะบอกนั้น เป็นเรื่องจริง

    ความหลากเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม-ความเป็นสหชาติพันธุ์   เป็นธรรมชาติธรรมดาของสังคมประเทศนี้ค่ะ

    ดิฉันเห็นว่า เราไม่ควร จะไปขีดเส้นพรมแดนจำกัดพื้นที่ ให้นิยามความเป็นไทยให้หดแคบลง

    ทุกคนมี หุ้นส่วนที่ ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้ร่วมเป็นเจ้าของแผ่นดินโดยชอบค่ะ

     

    สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์

    มาเยี่ยมชมช้าไปหน่อย แต่ก็มีรายละเอียดน่าสนใจให้อ่านเยอะมาก  ดีจังเลยค่ะ

    ประเทศไทยควรจะมีพิพิธภัณฑ์เช่นนี้นานแล้ว พิพิธภัณฑ์จะได้เป็นที่เราสามารถไปพักผ่อนและหาความรู้ไปได้ในตัว  

    การได้เห็นอะไรที่น่าสนใจ จะมีส่วนกระตุ้นให้เด็กๆ คิดเพิ่ม และเมื่อมีแหล่งให้เขา เขาก็จะค้นคว้าเพิ่มได้อีก มีหนึ่ง ได้สอง ได้สาม หลายเท่าทวีคูณเลยค่ะ

    ขอบคุณสำหรับความรู้และแหล่งความรู้ดีๆ เช่นนี้นะคะ ^ ^ 

     

    สวัสดีค่ะ คุณคุณแว้บ

    ผมสงสัยว่าทางพิพิธพัณฑ์เขาสรุปไหมว่า "ไทย" หรือ "ไท" คืออะไร เริ่มนับว่าเป็นไทยตอนไหน เพราะผมเข้าใจว่าเราเองก็มีวัฒนธรรมผสมผสานกับจีน อินเดีย และประเทศเพื่อนบ้านมากมาย ไม่ว่าจะด้านภาษาและคติความเชื่อ ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะมันมีการเดินทางติดต่อ เชื่อมโยงกันอยู่ วัฒนธรรมที่มันไม่ตาย มันก็เปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ

    ดีใจจริงๆที่เข้ามาแลกเปลี่ยน พร้อมคำถามที่ตอบตรงๆยากส์ค่ะ

    ทางพิพิธภัณฑ์ พยามย้ำๆ ว่า คนที่อยู่ในประเทศไทยนี้ มีความหลากหลายเชื้อชาติหลายวัฒนธรรม เรียกว่า เป็นสหชาติพันธุ์ ไล่ขึ้นไป จนถึงก่อนยุคสุวรรณภูมิ

    เราต้องมองกว้าง ไกลๆค่ะ จึงจะได้คำตอบค่ะ คิดว่า ที่เขียนเล่ามา น่า จะเป็นคำตอบได้บ้างแล้วนะคะ

    สังคมหลายเชื้อชาติเป็นเรื่องธรรมดา ยังมีหลักฐานอีกนะคะว่า....

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    เคยมีพระราชดำรัสว่าเจ้าสาวของปู่ทวดของพระองค์ เป็นลูกสาวคนสวยของครอบครัวคนจีนที่ร่ำรวยที่สุดครอบครัวหนึ่งในอยุธยา

    , พระมารดาของพระองค์ก็ทรงเป็นธิดาของพระขนิษฐาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกับเศรษฐีจีน,

     สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชมารดาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระธิดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระสนมที่เป็น "จีนแท้" เป็นต้น (อ้างจาก เบเนดิคท์ อาร์, โอ จี. แอนเดอร์สัน, "ศึกษารัฐไทย : วิพากษ์ไทยศึกษา", ฟ้าเดียวกัน, 1:3 (ก.ค.-ก.ย.2546), หน้า 122 เชิงอรรถ 34)

    เห็นไหมคะ ว่าจะแยกออกไหมเนี่ย ว่า ไทยแท้บริสุทธิ์ จะแยกออกมาได้อย่างไรกัน

     ตั้งแต่เก่าแก่ สมัยสุวรรณภูมิเป็นต้นมา เราก็มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาก โดยเฉพาะจีน   ทำให้มีการแต่งงานข้ามชาติพันธ์มาก   ทำให้ มีหน้าตา คล้าย จีน ลาว ญวน เขมร แขก ฝรั่ง

    ทางใต้ก็เช่นเดียวกันเป็นชุมทางการค้าขายมาแต่โบราณ จึงมีการติดต่อ ทั้งแขก จีน มาเลย์  จึงเกิดการผสมผสานทางชาติพันธุ์ขึ้น

    และรู้สึกว่า  ยุคหนึ่ง  ก็เคยมีชาวจีนในประเทศ   ลงไปอยู่ภาคใต้   อาจจะเป็นจังหวัด ภูเก็ต

    อย่างนี้ ต้องไปดู และศึกษาเองค่ะ จะละเอียดมากค่ะ

    สวัสดีครับพี่ใหญ่

     บอกได้คำเดียวว่าจะต้องหาทางไปชมให้ได้ครับ  เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนจะต้องไปชม โดยเฉพาะเด็กยุคใหม่ที่ห่างไกลรากเหง้าความเป็นไทย  ของดีดีมีคุณค่าเช่นนี้ พลาดไม่ได้

    ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช  ท่านอาจารย์เป็นรุ่นน้องคุณอาผมที่ รัฐศาสตร์จุฬาฯ ผมเองเคยใกล้ชิดท่าน และชื่นชมท่านมากครับ ผมยังติดตามผลงานของท่านมาตลอดครับ

    ขอบพระคุณครับ ที่นำสิ่งที่ดีที่สำคัญที่สุดมาให้ครับ

    .สวัสดีค่คุณ  ภูคา

    ดีใจจังที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ คุณเคยไปเที่ยวหลักเมือง ที่กรุงเทพฯไหมคะเป็นที่พึ่งทางใจ และเป็นอาหารตา ของนักท่องเที่ยวนะคะ และยังเป็นอาหารสมอง ของนักวิชาการด้วย

    เพราะนักวิชาการต่างประเทศ  พยายามค้นคว้าศึกษาเรื่องหลักเมืองกันมาก และก็มีข้อถกเถียง ที่ไม่ค่อยจะยุติกันด้วยค่ะ

    หลักเมือง ที่กรุงเทพฯมี 2 หลัก ที่ตราดมี 2หลัก ที่ลำปาง มี 3หลักค่ะ ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีหลักเมืองจำลองให้ชมอยู่ค่ะ

    นำภาพ ไคล์แม็กซของการจัดนิทรรศการถาวรนี้ มาให้ชมอีกทีค่ะ

    %e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%81%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b9%86

    • กราบสวัสดี.พี่sasinanda  อีกครั้งนะครับตามทัศนะของกระผมเชื่อว่าบันทึกนี้ของพี่เป็นบันทึกที่สำคัญเพราะนำไปสู่คำถามมากมาย ใคร?ทำไม?ที่ไหน?อย่างไร?เพราะอะไร?ฯ เรื่องตัวเรานี้หากศึกษาด้วยความไม่เชื่อแต่ปราศจากอคติไปเรื่อยๆก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้เป็นธรรมเพราะโลกเป็นเช่นนั้นเอง   อย่างน้อยสถานที่เรียนรู้เรื่องชาติพันธุ์ฯลฯนี้จะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่เยาวชนและชาวไทยทั้งมวล (ทุกเชื้อชาติศาสนาและความเชื่อ) ที่ต้องการเรียนรู้ ผมเป็นคนหนึ่งที่รอให้ประเทศของเรามีองค์กรอย่างนี้มานาน ทั้งหมดเกี่ยวข้องในกระบวนการวิวัฒนาการมาเป็นปัจจุบันและอนาคต  "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม"มีแต่กษัตริย์ชาวไทเท่านั้นที่ตรัสอย่างนี้ในโลก หากเราไม่ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในรากเหง้าของเราเอง เราจะ "รู้ รัก สามัคคี "ได้อย่างไร( เราทั้งมวลล้วนพี่น้องกัน) ดูให้เห็นๆให้รู้ๆให้เข้าใจ เมื่อรู้แล้วจะภาคภมูใจที่เกิดมาเป็นคนไทร่วมกัน  สุดท้ายนี้สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้อดีตจงลืมปัจจุบันแต่อย่าลืมสติ"ไม่รู้อตดีตก็ไม่รู้อนาคต"กราบขอบพระคุณพี่sasinanda ครับ
    • น่าไปเที่ยวชะมัดเลยครับ
    • ขอบคุณครับพี่ น่าสนใจมั๊กๆๆ
    • อิอิ
    สวัสดีค่ะ            พอดี ผ่านมาอ่านพบ เรื่องหลักเมือง ดิฉันเคยอ่านพบมาว่า มาจากความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา ใช่ไหมคะ หรือมาจากแหล่งใด
     ครับ   บันทึกยาว แต่มีเนื้อเรื่องมากครับ น่าอ่าน และผมไปดูพิพิธภัณฑ์แน่นอนครับ 
    อ่านๆดูแล้ว ประเทศเราเป็นแบบ วัฒนธรรมลูกผสมนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณหมอ nithimar

    ขนมอร่อยมากค่ะ ทานเสียหมดชามแล้วค่ะ

    อยากคุยกับคุณหมอนิดนึง ต่อจากที่คุยเรื่อง รากเหง้าแห่งความเชื่อ ของคนไทย คือ ผี พุทธ พราหมณ์   ที่คุยกับคุณ ข้ามสีทันดร

    เพราะน่าสนใจค่ะ

    ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีหลักฐานจารึก โบราณสถาน วัตถุต่างๆ รวมทั้งวรรณคดี บ่งชัดว่า คติ ความเชื่อเรื่องหลักเมือง เป้นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดอย่างหนึ่ง ของสังคมไทย เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งเลยค่ะ 

     สมเด็จกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ เคยทรงมีพระมติว่า หลักเมืองที่เก่าแก่ที่สุด ในสยามประเทศ คือ หลักเมืองที่ ศรีเทพ ที่เพชรบูรณ์ค่ะ

    คุณหมอเคยได้ยินไหมคะ  สมเด็จกรมพระยาฯ มีพระมติว่า หลักเมือง มีมาแต่อินเดีย  เป็นธรรมเนียมพราหมณ์

    ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ก็มีอธิบาย ไว้มากเหมือนกันค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

    ดีใจมากที่เข้ามาเยี่ยมและบอกว่า....

    บอกได้คำเดียวว่าจะต้องหาทางไปชมให้ได้ครับ  เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนจะต้องไปชม โดยเฉพาะเด็กยุคใหม่ที่ห่างไกลรากเหง้าความเป็นไทย  ของดีดีมีคุณค่าเช่นนี้ พลาดไม่ได้

    จริงๆอย่างที่คุณไพศาลบอกค่ะ เชิญชวน และขอให้บอกต่อๆไปด้วยนะคะ และนอกจากจะได้ความรู้ อย่างเต็มอิ่มที่พิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์แห้งๆ เหมือนที่เป็นมาในอดีต แล้ว ยังได้ชมรูปแบบสถาปัตยกรรมแบเก่าๆ  ของตึกกระทรวงพาณิชย์เก่า ที่เป็นสถานที่จัดแสดงด้วยค่ะ

    สวัสดีค่ะอาจารย์ กมลวัลย์

    อาจารย์บอกว่า.....

    ประเทศไทยควรจะมีพิพิธภัณฑ์เช่นนี้นานแล้ว พิพิธภัณฑ์จะได้เป็นที่เราสามารถไปพักผ่อนและหาความรู้ไปได้ในตัว  

    การได้เห็นอะไรที่น่าสนใจ จะมีส่วนกระตุ้นให้เด็กๆ คิดเพิ่ม และเมื่อมีแหล่งให้เขา เขาก็จะค้นคว้าเพิ่มได้อีก มีหนึ่ง ได้สอง ได้สาม หลายเท่าทวีคูณเลยค่ะ

    ความคิดเป็นอาการของจิต จิตคือตัวรู้ 

    เมื่อเด็กหรือผู้ที่ไปชม ได้เห็นรูปแบบใหม่ ของการจัดแสดง ซึ่งกระตุ้น ให้เกิด ความคิด และคำถาม ไม่ใช่แต่ จะไปเดินดูอย่างเดียว ก็จะเกิด ความอยากรู้ และต้องการ คำตอบ ที่ขยายกว้างออกไปด้วยค่ะ เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ ของเด็ก ได้ดีค่ะ

    เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดีค่ะ

    พี่ก็ไม่ค่อยทราบอะไรที่เกี่ยวกับโบราณคดีนัก แต่พอไปดูที่พิพิธภัณฑ์นี้ จึงได้ทราบว่า...

    ในประเทศเรานี้ มีผู้คนอยู่อาศัยมานานมากๆแล้ว

    ตั้งแต่ 500,000ปีที่แล้วก็มี คือ มนุษย์ลำปาง ต่อมาเขาก็ขุดพบกันอีก แทบจะทั่วประเทศค่ะ

    ส่วนใหญ่ จะเป็นก่อนสมัยประวัติศาสตร์ระยะที่3  สมัยเหล็กช่วงต้น

    ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบมากกว่า ภาคเหนือและภาคใต้ เช่น...แหล่งโบราณคดี บ้านเชียง อ.หนองหาน จังหวัดอุดรธานี และแถวโนนนกทา อ.ภุเวียง จ.ขอนแก่น ที่ ท่าแค จ.ลพบุรี  และที่พี่รู้จักดี คือที่ บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรีเป็นต้น

    นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร เคยให้ข้อสรุปไว้ว่า...(อ้างถึง จากหนังสือ คนไท(เดิม)ไม่ได้อยู่ที่นี่  โดย บี.เจ.เทอร์วีล แอนโทนี ดิลเล่อร์ ชลธิรา สัตยาวัฒนา)

    ผลการค้นพบจนถึงปัจจุบัน ดูเหมือนจะชี้ให้เห็นว่า" ดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน เคยเป็นถิ่นที่อยู่ ของชนชาติ ที่มีลักษณะไม่ต่างจาก คนไทยปัจจุบันนัก"

    และที่บ้านเชียงเอง นายแพทย์ สุดฯ ก็ระบุว่า โครงกระดูก ที่พบที่ บ้านเชียง กับโครงกระดูก คนไทยปัจจุบัน คล้ายคลึงกันมาก

    แสดงว่า น่าจะมีชนชาติไท ได้อาศัย อยู่ในแผ่นดินที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน มาเป็นเวลา 4,000 ปีแล้ว

    ดังนั้น  ทฤษฏีนี้ จึง ค่อนข้าง เป็นที่แน่นอนว่า

    วัฒนธรรม ของชนชาติไท ที่ปรากฏอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์   เป็นสิ่งที่ ดูจะน่าเชื่อถือมากที่สุด

    แต่จริงๆแล้ว อาจารย์คะ ก็ยังไม่มีใครกล้าฟันธงไปได้แน่นอนว่า....

    จริงๆ ว่า บรรพบุรุษ ของชาวสุวรรณภูมิจริงๆๆ อาจจะเป็นชนกลุ่มมงโกลลอยด์ ที่อพยพมาจากแผ่นดินจีน เมือ่ 3000 ปีก่อน และเข้าแทนที่ ประชากรดั้งเดิม ที่อยู่ที่นี่มาก่อนไหม ยังเป็นปริศนาอยู่ค่ะ

    • ขอบคุณ สำหรับสาระ และประโยชน์ที่นำมาให้อย่างมหาศาลจริงๆครับ

    สวัสดีอีกทีค่ะคุณ  เดโชชัย

    ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ  เห็นด้วยอย่างที่คุณกล่าวว่า....

    อย่างน้อยสถานที่เรียนรู้เรื่องชาติพันธุ์ฯลฯนี้จะเป็นประโยชน์ยิ่งแก่เยาวชนและชาวไทยทั้งมวล (ทุกเชื้อชาติศาสนาและความเชื่อ) ที่ต้องการเรียนรู้

    หากเราไม่ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในรากเหง้าของเราเอง เราจะ "รู้ รัก สามัคคี "ได้อย่างไร( เราทั้งมวลล้วนพี่น้องกัน) ดูให้เห็นๆให้รู้ๆให้เข้าใจ เมื่อรู้แล้วจะภาคภมูใจที่เกิดมาเป็นคนไทร่วมกัน 

    ดิฉันคิดว่า ....

    การสร้างความสามัคคีในชาติ เราไม่ควรแทรกแซงทางด้านรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนที่เขาคุ้นเคยอยู่มาเป็นช้านาน

    มิฉะนั้น อาจเกิดการต่อต้านได้ และอาจแสดงออกโดยการเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นไทย  และรู้สึกตนเองไม่ใช่เกี่ยวกับการสร้างชาติและเอกลักษณ์ของชาติ

    จริงๆทุกคนรักแผ่นดินไทย  อยากเป็นคนไทย  แม้อาจจะมีวัฒนธรรมที่แตกต่างไปบ้าง

    เพราะประเทศไทยสบายกว่าที่ไหนๆ  ผู้คนก็ใจดี มีความอารีอารอบ ไม่ถือเขาถือเรา ไม่แบ่งแยก ทำตัวกลมกลืนไปกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างสูงมากๆค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    อ่านแล้วน่าติดตาม ได้รับความรู้และสาระมากค่ะ.. เยี่ยมมาก

    สวัสดีค่ะคุณดาวเรือง

    คุณปรารภว่า....

     เรื่องหลักเมือง ดิฉันเคยอ่านพบมาว่า มาจากความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา ใช่ไหมคะ หรือมาจากแหล่งใด

    ค่ะ จริงๆแล้ว ความเชื่อเรื่องวิญาณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตอยู่กับธรรมชาติ เป็น ความเชื่อของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาค่ะ เรียกว่า ความเชื่อดั้งเดิม Animism

    จากผู้ที่ศึกษาเรื่องหลักเมือง ท.กล้วยไม้ ณ อยุธยา เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับมากค่ะ ซึ่ง ได้มีข้อสรุปดังนี้(ค้านกับ ข้อสรุปของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ ว่า หลักเมือง มาจาก พราหมณ์) คือ...

    หลักเมืองมีที่มาจากการนับถือผีสางเทวดา ก่อนที่จะก้าว ไปสู่การนับถือศาสนาที่ละเอียด

    กรณีสังคมไทย ก็วิวัฒนาการมาจาก คติผีบรรพบุรุษ หอผีประจำหมู่บ้าน ผีเรือนบนหิ้งเสาเอกค่ะ

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยทรงสันนิษฐานถึงแท่งหินดำที่วัดมหาธาตุ ใจกลางเมืองสุโขทัย ที่เรียกกันว่า ขอมดำดิน นั้น

    ที่แท้ก็คือเสาหลักเมืองเดิม แสดงว่า กรุงสุโขทัย ก็เคยมีประเพณี ตั้งเสาหลักเมืองด้วยค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ suksom

    ประเทศไทย จะว่าไป ก็โชคดี

     เพราะความหลากหลายแตกต่างทางวัฒนธรรมช่วงนี้ เอื้อกับการท่องเที่ยวมากค่ะ

     หรืออาจจะว่า  การท่องเที่ยวนั่นแหละที่ไปดึงเอาความหลากหลายทางวัฒนธรรมนี้ ให้ปรากฏเด่นชัดออกมานะคะ

    สวัสดีค่ะ คุณพี่ Sasinanda

    มาแล้วค่ะ มาแล้ว  บัวลอยงาดำน้ำขิง  ทานถ้วยนี้หมดอิ่มแน่น ไม่ต้องทานข้าวกันเลยเชียวค่ะ

    ช่วงนี้อ๋อยุ่งๆค่ะ เริ่มมีต้นฉบับจากทั่วประเทศส่งมาให้อ๋ออ่านกันแล้ว จึงมีงานวารสารวุ่นวายอยู่ค่ะ  คิดถึงคุณพี่ค่ะ

    ขอบพระคุณมากค่ะ

    อ๋อค่ะ

    Imagee

    • ขอบพระคุณมากค่ะ สำหรับความรู้ที่คัดกรองมาให้อย่างเต็มอิ่มค่ะ
    • อยากให้มีคนไทยคุณภาพแบบนี้เยอะๆ ค่ะ จะพาชาติเรารุ่งเรื่องค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ  อิทธิพล
     บันทึกนี้ พยายามตัดให้สั้นๆแล้วนะคะ เนื้อหาที่ไปดู พิพิธภัณฑ์มา มีมากมายค่ะ อยากจะเล่าที่น่าสนใจให้ฟังกันก่อนที่จะไปชมจริงๆ

    อย่างไรก็ตาม ก็สู้ไปชมจริงไม่ได้ค่ะ

    ขอเล่าเรื่องหลักเมืองต่อนะคะ เรื่องนี้ น่าสนใจค่ะ

    จากข้อมูล เที่ยวเมืองพระร่วง  ของท.กล้วยไม้ ณ อยุธยา 2525:10

    ยืนยันว่า มีประเพณีการตั้งหลักเมืองมาแต่โบราณ ในพื้นที่ประเทศไทย ปัจจุบัน โดยมีแนวคิดว่า..

    หลักเมืองอยู่ใจกลางเมือง มีสัญญลักษณ์ เป็นหินหรือ ต้นไม้ก็ได้

    ที่หริภุญญไชย (ลำพูน ) นครเขลางค์ (ลำปาง)  และสุโขทัย เป็นหิน

    ส่วนที่โยนกเชียงแสน และเชียงลาว  เป็นต้นไม้ รวมทั้งที่กรุงศรีอยุธยา เป็นต้นหมัน ส่วนที่กรุงรัตนโกสินทร์  ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์

    แต่ในที่สุดแล้วนะคะ   ก็ยังไม่เป็นที่ยืนยันอีกค่ะว่า...

    คติความเชื่อเรื่อง ผีบ้าน ผีเมือง จะเป็นเรื่องเดียวกับ หลักเมือง ที่อยู่ใจกลางเมือง หรือไม่

    เพราะมีนักวิชาการบางท่าน ค้านโดยมีเหตุผลที่น่าฟัง

    แต่ความเชื่อกันคนละทางสองทางนี้ ก็มีการผสมผสานกันต่อมาในภายหลังค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ. จอย

    คุณให้ข้อคิดเห็นว่า.....อ่านๆดูแล้ว ประเทศเราเป็นแบบ วัฒนธรรมลูกผสมนะคะ

    ค่ะ    ปัจจุบันนี้ มีนักวิชาการเป็นจำนวนมาก ที่พยายาม ผลักดัน ให้เกิด"สำนึก" ใหม่ในสังคมไทย นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญมาก

    เพราะเรา จะเริ่มเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคม อันมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างผสมกลมกลืน และอย่างเต็มใจค่ะ

    ตามมาดูความอลังการของงานค้นคว้าค่ะ

    น่าสนใจมากเลย  เอาไว้จะตามมานั่งแกะรอย อ่านต่อค่ะ

    ขอบคุณนะคะ

    • ว่างจากเก็บเห็ด.....แวะมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ค่ะ..... ^ - ^
    • ที่จังหวัดฯ เห็นสร้างพิพิธภัณฑ์ (นานมากแล้ว) แต่ยังสร้างไม่เสร็จ และยังไม่เปิดให้ชมอย่างเป็นทางการ...
    • "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ" ที่ผ่านการวางแผนจากบริษัทมืออาชีพ น่าสนใจดีค่ะ....หากเสร็จสมบูรณ์/เปิดอย่างเป็นทางการแล้วต้องมาชมให้ได้ค่ะ...

     

    สวัสดีค่ะ คุณ MSU-KM :panatung

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    ถ้าที่นี่เปิดแล้ว ต้องไปชมให้ได้ค่ะ

    พื้นที่เกือบ 3000 ตร.ม. ในการแสดงนิทรรศกาถาวร เรื่อง ปรืศนา หลายหมื่น หลายพันปี ของสุวรรณภูมิ มูลเหตุสู่ยุคทองของสยามประเทศ และเงื่อนปมก่อนจะมาเป็น ประเทศไทยอย่างที่เห็น และอย่างที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันนี้ค่ะ

    เดินชมกันเมื่อยเลยค่ะ

    จุดมุ่งหมายของพิพิธภัณฑ์นี้ เพื่อที่จะให้เป็นการนำเสนอ พิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์แห้งๆ เหมือนที่เป็นมาในอดีต และจะให้เป็นมากกว่า คลังสะสมวัตถุ ให้เราสามารถที่จะ ให้พิพิธภัณฑ์ เป็นเครื่องมือที่จะใช้ประวัติศาสตร์ สะท้อนภาพ ที่เราเป็นอยู่ขณะนี้ ด้วยประวัติศาสตร์ค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณ coffee mania

    ที่เขียนบันทึกนี้ ก็เขียนตาม ที่เขาแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ที่มีข้อมูลเยอะมาก และได้ถ่ายรูปไว้ด้วยค่ะ อาจจะยาวหน่อย แต่ นี่เพียงเสี้ยวเดียว แค่น้ำจิ้ม ค่ะ ยังมีที่เราควรไปดูเองอีกมาก

    ประเทศอื่นๆ ก็ใช้พิพิธภัณฑ์ เป็นเครื่องมือ ในการใช้ประวัติศาสตร์สะท้อนภาพ เช่นเดียวกับเราค่ะ

    ประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มากที่สุดในโลกคือ แคนาดา เป็นผลจาการอพยพครั้งใหญ่ ในศตวรรษที่ 20 โดยมีคนอพยพเข้าไปเกือบ 14 ล้านคน

    ในโตรอนโต ประชากร มากว่า 40 %เกิดนอกแคนาดา

    ในแวนคูเวอร์กว่า 30% สำนึกว่า ตัวเองมีชาติพันธุ์ของคนเอเซีย มีชาวแคนาดา กว่า 17 % ที่มีเชื้อสายจีน

    ซึ่งแคนาดา ก็ตั้งรับ ความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา สำนึกชาติพันธุ์ด้วยรัฐบัญญัติ ว่าด้วยพหุวัฒนธรรมแคนาดา ค.ศ.1988 ด้วยค่ะ

     

    สวัสดีค่ะคุณ Gutjang

    ดีใจจังที่ มาเยี่ยมค่ะ ตอนนี้ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์แล้วนะคะ

    ที่สุรินทร์มี พิพิธภัณฑ์หลายแห่งเหมือนกัน รู้สึกจะ4-5 แห่งนะคะ ไม่รวมที่ น้องกล่าวถึงค่ะ

    เช่น สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์     พิพิธภัณฑ์-นิทรรศการ ร.ร.สิรินธร

    พิพิธภัณฑ์ผ้าไหม เป็นต้น

    ซึ่งที่สุดท้ายนี้ เป็นศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตสุรินทร์
     ตั้งอยู่ภายในสถานีวิจัยหม่อนไหมสุรินทร์ 
    โดยเป็นโครงการส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร เน้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม ในรูปแบบของ " ห้องสมุดธรรมชาติ"
    ภายในพื้นที่ 5 ไร่ ในบริเวณสถานี ฯ เพื่อใหผู้ชมได้สัมผัสและเรียนรู้ขั้นตอนการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหมครบวงจรแบบพื้นบ้าน 
    ซึ่งมีการจัดแสดงให้ชม การสาวไหม เพื่อให้ได้เส้นไหมพื้นเมืองคุณภาพการย้อมเส้นไหมด้วยสีจากธรรมชาติ ไปจนถึงการทอผ้าไหม ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านของจังหวัดสุรินทร์
    โดยกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้านน่าสนใจมากนะคะ
    ถ้ามากรุงเทพฯตอนที่เขาเปิดแล้ว อย่าลืมมาชมค่ะ

    สวัสดีค่ะ อาจารย์ พิสูจน์

    ขอบคุณที่ชมค่ะ

    ที่นิทรรศการนี้ มีแสดง เรื่องสุพรรณบุรี หลายอย่างค่ะ มีตลาด สามชุกด้วยนะคะ

    ตลาดสามชุก เป็นตลาดเก่าแก่ได้รับการประกาศให้เป็นตลาด ๑๐๐ ปี ในเชิงอนุรักษ์ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

    ตลาดสามชุกมีร้านค้าห้องแถวเก่าอายุร่วมร้อยปี ในอตีดมีโรงสีและเป็นแหล่งค้าข้าวที่สำคัญ ซึ่งมีการเก็บภาษีได้มาก และนายอากรคนแรกคือ ขุนจำนงจีนารักษ์ ซึ่งบ้านท่านขุนจำนง ปัจจุบันกลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์ของชุมชน

    ดิฉัน  เคยไปค่ะ   ระยะทางราว150ก.มจากกรุงเทพฯใช้เส้นปิ่นเกล้านครชัยศรี,มาบางบัวทองแล้ววิ่งตรงมาตลอดบนถนนที่ราบเรียบตลอดเส้นทาง ใช้เวลาชั่วโมงครึ่ง

    ตลาดสามชุกมีหลายซอยเป็นตลาดที่ทำการค้าขายกันทุกวัน เป็นกลุ่มชาวบ้านท้องถิ่นที่รักษาวิถีชีวิตในชุมชนดั่งเดิมเอาไว้ด้วยความภูมิใจ

    ได้ซื้อ ข้าวห่อใบตองหรือใบบัวมาทานด้วย อร่อยมากค่ะ    ชอบเดินที่ ตลาดเก่า อาหารโบราณที่หายากขึ้นทุกวันนะคะ

    สวัสดีค่ะ คุณพี่ Sasinanda

    Imaget พักดื่มน้ำเย็นชื่นใจก่อนค่ะ

    อ๋อค่ะ

     สวัสดีค่ะคุณ Bright Lily

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมนะคะ

    พี่เคยทำงาน ที่กาญจนบุรีหลายปี ในช่วงเวลานั้น ได้มีโอกาสสัมผัสชีวิตของเกษตรกร ในพื้นที่ สุพรรณบุรี อ่างทอง ราชบุรี นครปฐมด้วย

    สังเกตดูว่า พอมีเวลาว่างจากการทำเรือก สวน ไร่นา เขาจะมีเวลาว่างกันพอสมควร ซึ่งพวกเขาก็มีอะไรทำในวลาว่างนี้นะคะ ไม่ได้อยู่เฉยๆ ซึ่งกลายเป็นเรื่องสร้างสรรค์ และคิดประดิษฐ์ต่างๆค่ะ

    เช่นเรื่องการหัตถกรรมต่างๆ การละเล่น การละคร การพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในด้านการพัฒนาอาชีพต่างๆ การอบรมสอนเด็กให้รู้จักทำงานบ้าน งานครัว งานเย็บปักเป็นต้น

    ส่วนใหญ่ การทำงานอะไรที่เป็นอิสระ ยามว่างจากงานหนัก ก็มัก จะเป็นผลมาจาก วัฒนธรรมที่ส่งต่อๆกันมาด้วยนะคะ และบางแห่ง การทำงานยามว่าง กลายเป็นวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อของท้องถิ่นหนึ่งๆไปด้วยค่ะ เช่น

    ผ้าทอมือ ของไทยวนคูบัว (เมืองนี้ มีความเป็นมาที่เก่าแก่มากค่ะ ตามที่เขียนในบันทึกด้านบน)  จังหวัดราชบุรี

    และของชาวไทโซ่ง ที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี เป็นต้นค่ะ เขายังรักษาประเพณีเดิมไว้ได้ สวยมากค่ะ ดังในภาพค่ะ พี่ได้ซื้อไว้ด้วยนะคะ

    สวัสดีค่ะคุณหมอnithimar

    น้ำหวานเย็นๆแก้วนี้ ชื่นใจมากๆค่ะ เลยขอนำภาพมาฝากด้วยภาพหนึ่งค่ะ

    %e0%b8%9a%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%b4

    คุณหมอ nithimar คะ

    บัวลอยของคุณหมอ ทำให้พี่อิ่ม ไม่ได้ทานข้าวเย็นวันนั้น เลยค่ะ อร่อยมากๆๆ

    ถ้าคุณหมอ มีเวลา อยากให้อ่านเรื่องนี้ค่ะ พี่อ่านแล้ว เข้าใจอะไรต่ออะไรมากขึ้นมากค่ะ ในด้าน ประวัติศาสตร์ของชาติเรา

    รศ. ศรีศักร วัลลิโภดมได้รับรางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟูกุโอกะ ประจำปี ๒๕๕๐  จบการศึกษาอักษรศาสตร์บัณฑิต ( ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส )คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .....คณะเดียวกับพี่ค่ะ แต่รุ่นพี่ ไม่เห็นฝุ่น.....และท่านไปศึกษาต่อที่อื่นอีกมากค่ะ

    รางวัลวัฒนธรรมเอเชียฟูกุโอกะ

    เป็นรางวัลที่นครฟูกุโอกะประเทศญี่ปุ่น มอบให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะผลงานที่จรรโลงและสร้างสรรค์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย

    ก่อให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมเอเชีย และส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างคนกลุ่มต่างๆในภูมิภาค


    จัดว่าเป็นหนึ่งในนักมานุษยวิทยาและนักโบราณคดีชั้นแนวหน้าของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านได้ใช้ความเชี่ยวชาญในด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์และขนบธรรมเนียมความเชื่อพื้นบ้านมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อนำเสนอประวัติศาสตร์ไทยในลักษณะใหม่โดยสิ้นเชิง

    ท่านมีผลงานโดดเด่นมาก  เรื่อง งานสำรวจทางโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในยุคก่อนประวัติศาสตร์   และงานวิจัยเกี่ยวกับอาณาจักรโบราณของไทย

    ในผลงานชิ้นแรกนั้นรองศาสตราจารย์ศรีศักรได้รวบรวมหลักฐานจากงานสำรวจภาคสนาม

    เป็นเหตุผลสนับสนุนว่า การเกษตรกรรม เกลือ และเหล็ก

    เป็นสิ่งที่มีความสำคัญและยังแสดงให้เห็นว่าการสักการะบูชาทางศาสนามีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์โดยมีหินสีมา

    ซึ่งพบได้เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นหลักฐาน การค้นพบดังกล่าวหักล้างภาพเก่า ๆ ของ ภาคอีสานที่ยากจน และได้วาดเค้าโครงใหม่ให้กับภูมิภาคว่าเป็น ภาคอีสานที่เคยรุ่งโรจน์ ข้อมูลทางโบราณคดีบางส่วนที่รองศาสตราจารย์ศรีศักรเก็บรวบรวมจากภูมิภาคนี้ได้แพร่หลายทางอินเตอร์เนตและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

    ในผลงานชิ้นที่สองของรองศาสตราจารย์ศรีศักรได้ใช้แผนที่ทางอากาศในงานวิจัยเมืองโบราณของไทย

    ทำให้ค้นพบการวางผังเมืองและโครงสร้างของเมืองโบราณหลายเมือง อาทิเช่นทวารวดีซึ่งเป็นอาณาจักรสมัยแรกของไทย     ต่อด้วย อาณาจักรในราชวงศ์สุโขทัย และอาณาจักรในราชวงศ์อยุธยา

    โดยรองศาสตราจารย์ศรีศักรได้วิจารณ์ว่าการค้าขายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอิทธิพลต่อการสถาปนาอาณาจักรโบราณของไทยเป็นอย่างมากค่ะ

     Pnithimar

    ขอบพระคุณค่ะ คุณพี่ศศินันท์ P

    รู้สึกตื่นตา ตื่นใจมากค่ะ เป็นอาการส่วนตัวของอ๋อ  เมื่อได้พบสิ่งดีๆ ถูกใจมากๆค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

    ครั้งแรกที่อ๋อเริ่มมาสนใจเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ คงเป็นเพราะได้มีโอกาสทำฟันให้ คุณลุง นิคม มูสิกะคามะ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ค่ะ

    ท่านเล่าเรื่องต่างๆให้อ๋อฟังมากมายตลอดเวลาราว 4 ปีที่ท่านมาทำฟันเป็นประจำจนท่านเสียชีวิตไปด้วยโรคมะเร็งเมื่อต้นปี 48 ที่ผ่านมาค่ะ

    ได้อ่านหนังสือของท่าน ได้พูดคุยกับท่านถึงการบูรณะโบราณสถาน วัดว่าอารามต่างๆทั่วประเทศ รู้สึกสนุกและได้ความรู้มากๆค่ะ

    บางครั้งมาทำฟันแล้วไฟดับ ไม่เป็นไรทำฟันไม่ได้นั่งคุยกันดีกว่า คุยเรื่องศิลปะ วัฒนธรรมต่างๆ มากมาย  รวมทั้งการเมืองค่ะ ท่านเคยบอกอ๋อว่าอยากรู้นักเชียว ว่านิยายการเมืองเรื่องนี้มันจะจบอย่างไร เรื่องไหนก็เรื่องนั้นนะคะ อ๋อดีใจที่ท่านไม่ต้องรับรู้ เพราะนิยายมันไม่ยอมจบและไม่สนุกด้วยค่ะ

    วันนี้มีน้ำชมพู่ปั่นมาฝากคุณพี่ค่ะ ที่บ้านไม่มีชมพู่หรอกค่ะ แต่เห็นหล่นไปทั่วเต็มบ้านเต็มเมือง จึงเก็บๆมาปั่นกินเสียให้สะใจ เอ๊ย..ชื่นใจค่ะ ชื่นใจ

    คิดถึงนะคะ

    Imagei

    มาอ่านแล้วค่ะ ตามที่คุยกัน วันนี้

    น่าสนใจจริงๆนะคะ จะรออ่านต่อด้วยค่ะ

    เข้ามาอ่าน พบในกูเกิ้ล

    เยี่ยมมากค่ะ เวลาไปดู ของจริง จะง่ายขึ้นมาก เพราะ มีพื้นอยู่แล้ว

    สวัสดีค่ะคุณ วงจันทร์

    ที่พิพิธภัณฑ์นี้ เริ่มต้น ดำเนินการมาตั้งแต่ 18 มิถุนายน ปี 2547 เป็นหน่วยงานของรัฐค่ะ

    สังกัด สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ได้มีโอกาสเรียนรู้ และเสริมสร้าง พัฒนา ขีดความสามารถ ผ่านกระบวนการๆเรียนรู้สาธารณะค่ะ

    เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณหมอ   nithimar

    ขอบคุณสำหรับน้ำชมพู่ปั่นเย็นเจี๊ยบค่ะ ทานเสียหมดเลย ชื่นใจค่ะ

    ตอนนี้ เราคงต้องคิดว่า ทุกอย่าง ไม่มีอะไรเที่ยงแท้ เป็นเรื่องของมายา เราคงต้องมองให้เห็นถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นดีที่สุดค่ะ

    ดีใจที่คุณหมอสนใจเรื่องเดียวกับพี่ค่ะจริงๆ พี่เป็นคนหลากหลาย มีความสนใจ ในเกือบทุกเรื่อง ที่พบเห็น เรื่องตราสัญญลักษณ์นี้ ก็เหมือนกัน ครั้งแรกงงๆว่า หมายความ ว่าอะไร พอศึกษาเข้า ก็ทราบความหมายค่ะ 

    คนเมื่อ 3000ปีก่อน เขาใช้ รูปกบนี้ สลัก บนหน้ากลองสำริดหรือมโหรทึก เพื่อขอฝนจากฟากฟ้ามาอำนวย ความอุดมสมบูรณ์ ให้แผ่นดินที่ตนอาศัยอยู่ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ เจเจ

    ดีใจที่มาเยี่ยม และชอบอ่านค่ะ

    ถ้าเปิดแล้ว ต้องไปนะคะ คอยอ่านจากข่าวหนังสือพิมพ์ คงจะมีข่าวค่ะ

    ทางสถาบันนี้ ได้รับมอบพื้นที่และอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งอาคารอื่นในบริเวณพื้นที่เดียวกัน จากกระทรวงพาณิชย์ เมื่อ 19 ม.ค 2548 โดยการนี้ ได้มีการเปิดตัวสถาบันนี้ด้วยค่ะ

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิด พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550 ค่ะ  

    สวัสดีคะคุณพี่ช่วงนี้ไม่มีเวลาเข้ามาเท่าไหร่แต่คืนนี้ว่างแล้วคะ นกจะมาอ่านต่อนะคะ คุณพี่ สุขภาพแข้งแรงนะคะ ตอนอากาศเปลี่ยนนกก็เป็นหวัดคะ

    สวัสดีค่ะคุณรัตน์ชนก

    ถ้าว่างก้เข้ามาอ่านนะคะ พอดีไปชม มาก็อยากจะนำมาบันทึกไว้เท่านั้นค่ะ

    เราน่าจะภูมิใจในความเป็นชาติไทยของเรา ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากค่ะ

    สยาม เป็นประเทศที่อุดมไปด้วยสัญญลักษณ์เกี่ยวกับน้ำ มากกว่าประเทศใดในโลก น้ำแทรกซึมอยู่ในสิ่งต่างๆเต้มไปหมด ไม่ว่า จะเป็นพิธีกรรม วรรณกรรม ศิลปกรรมต่างๆ และการวังผังเมือง เป็นต้นค่ะ

    %e0%b8%aa%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3

    มาเยี่ยม...คุณ

    Sasinanda

    น่าสนใจใฝ่รู้เรื่องใกล้ตัวนี้มากครับ...

    มีโอกาสคงได้เข้าเยี่ยมชม...แน่

    สวัสดีค่ะคุณ umi

    ค่ะ ถ้ามีโอกาส ควรไปชมค่ะ เพราะโครงการเต็มที่ของเขาจะ มี 4กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ แต่ละแห่งจะนำเสนอเนื้อหาที่ต่างกันค่ะ

    แต่ทั้งหมดจะสอดคล้อง และส่งเสริมภาพรวมขององค์ความรู้ที่เกี่ยวกับผู้คนและดินแดนอุษาคเณย์

    แต่ที่ไปดูมานี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยค่ะ ที่แสดงลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติกับความสมบูรณ์ของลุ่มแม่น้ำ ที่ดึงดูดผู้คนมากมาย นานาชาติพันธุ์ ให้มาตั้งถิ่นฐาน จนเกิดการผสมผสาน ทางสังคมและวัฒนธรรมกับคนพื้นเมืองดั้งเดิม แล้วเกิดการอยู่ร่วมกัน อย่างกลมกลืนค่ะ

    ขอบคุณอาจารย์ที่มาเยี่ยม

    ทีพิพิธภัณฑ์ นี้ น่าไปชมมากค่ะ และดีใจที่มีลิงค์ไปยังพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศเลย เป็นเรื่องน่ายินดีมากค่ะ

     P

    • สวัสดีค่ะ
    • สบายดีนะค่ะ
    • แวะมาดูไทยแท้...พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ค่ะ
    • เป็นอะไรที่หาดูได้ยากมากเลยค่ะ
    • ขอบคุณสำหรับสิ่งดี  ที่นำมาเสนอนะค่ะ

    มาตามที่ให้ลิงค์ไว้ครับผม  จาก 0knation

    และนำบล็อกคุณเป็น favoriteไว่แล้วครับ

    น่าสนใจจริงๆ เรื่องนี้ อ่าน 2 รอบแล้ว

    ตามลิงค์มาค่ะ

    สนใจเรื่องนี้มานานแล้วค่ะ

    ต้องไปดูให้ได้ค่ะ

    • แวะมาบ่อยครั้งมากในบันทึก   แต่ทั้งเวลาอันจำกัด  ผูกติดกับปัญหาระบบที่อืดช้ามาก  ทำให้ผมจำต้องล่าถอยออกไปจากบันทึก
    • ทำหน้าที่หลักแค่ลงบันทึกของตนเองและจากไป
    • แต่ไม่เคยเลยที่จะไม่แวะเข้ามา
    • ซึ่งบัดนี้  ผมยังเดินทางอยู่เรื่อย .. เมื่อวานก็ออกพื้นที่ ...วันนี้ก็ปฏิบัติงานเพิ่งกลับบ้านในตอน 4  ทุ่มครึ่ง  จึงเลือกบันทึกนี้เป็นบันทึกแรกของการพาตัวเองมาสู่ G2K   เพื่อเดินทางไกลอีกรอบ...
    • ........
    • ขอบคุณบันทึกสาระแห่งความเป็นไทย  ที่ทำให้คนที่รักความเป็นไทยอย่างผมอิ่มสุขอย่างล้นเหลือ  และขออนุญาตที่จะนำความเนไทยในบางเรื่องมาแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับเรื่องราวของบันทึกนี้นัก  แต่อย่างน้อยก็คือนาฏกรรมของไทยเราเหมือนกัน

    ......

    บางลำภู ...  เป็นสถานที่หนึ่งในเมืองกรุงเทพฯ  ที่ผมหลงรักและเห็นกลิ่นอายความเป็นไทยที่มีอีกเชื้อสายหนึ่งอย่างน่าสนใจ   เมื่อหลายปีก่อนผมเคยไปเยือนที่นั่นเพราะต้องเอากล้องไปซ่อม...  เคยนอนโรงแรมเก่า ๆ  แถวนั้น   พลอยนึกถึงบรรยากาศความเป็นสังคมไทยยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475  อย่างน่าสนใจ

    บางลำพู ... ในอดีตคงมีต้นลำพูมากเลยใช่ไหมครับ ...แต่เท่าที่ผมสัมผัสได้ในช่วงสั้น ๆ นั้นก็คือ  ย่านนี้ขึ้นชื่อในความเป็น "ตลาด"  ทีหลากหลายด้วยผู้คนและร้านค้า  จนเรียกติดปากว่า "ตลาดบางลำพู"  (บางลำภู - ก็เรียก)   และถ้าจำไม่ผิดเมื่อครั้งที่เรียนวิชาโทด้านประวัติศาสตร์นั้น  เหมือนเคยอ่านพบว่าตลาดบางลำพูเคยถูกเพลิงไหม้เสียหายมากมายก่ายกอง   แต่ก็ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5

    สิบกว่าปีแล้วครับ  ผมไม่เคยได้ไปเยือนที่นั่น   ไม่รู้ว่าสภาพทุกวันนี้เป็นอย่างไร 

    ผมไม่รู้จะบอกเล่าความเป็นไทยในบันทึกนี้อย่างไร   เลยหยิบเอาเรื่องอันเลือนลางของตนเองมาบอกกล่าว....

    .....

    ขอบพระคุณครับ

     

    สะพานพระราม 6 ...

    กรุงเทพฯ  เป็นเมืองที่มีคลองมากมาย ... วิถีชีวิตคนไทยผูกพันอยู่กับสายน้ำอย่างสนิทแน่น  ผมเองก็ไม่รู้ว่าเพราะเหตุใดจึงหลงใหลกับสะพานอยู่ทุกหนทุกแห่ง  โดยเฉพาะสะพานไม้ในชนบทนั้น   ถือได้ว่ามีมนต์ขลังสำหรับผมมาก

    แต่ในช่วงวัยหนุ่มของผม  เคยได้ยินชื่อของสะพานพระราม 6  อยู่บ่อยครั้ง  ในบทเพลงของวงสตริงวัยรุ่นในยุคสัก 20 ปีกว่าปีที่แล้วก็คล้ายกับจะมีชื่อเพลงว่า "ไม่มีเธอที่สะพานพระราม 6"    ซึ่งคนบ้านนอกอย่างผม  ไม่รู้หรอกว่า  สะพานพระราม 6   เป็นอย่างไร  สำคัญแค่ไหนถึงมีนักเพลงนำเอาไปแต่งเป็นเพลงได้ ...  ซึ่งนั่นก็ฝังจำเสมอมา  แต่บอกย้ำตลอดว่าหากมากรุงเทพฯ  ต้องไปดูให้เห็นกับตาสักครั้งว่าสะพานที่ว่านี้เป็นอย่างไรบ้าง

    กระทั่งมาเรียนในมหาวิทยาลัย  ก็พอได้รู้ชัดขึ้นบ้างว่า  สะพานนี้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 6  ซึ่งพระองค์ท่านเป็นผู้โปรดให้สร้างขึ้น  โดยถือเป็นสะพานเหล็กสะพานแรกที่สร้างขึ้นเพื่อทอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา  และเป็นที่น่าเสียดายว่านยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานนี้ก็โดนพิษของระเบิดอยู่อย่างสาหัส   กว่าจะได้บูรณะอีกครั้งก็หลังสงครามยุติลง    จนถึงทุกวันนี้  ผมเองก็ยังไม่เคยได้ไปสัมผัสสะพานนี้ด้วยตนเอง

    นี่เป็นอีกสถานที่หนึ่งในความทรงจำเด็กบ้านนอกอย่างผมครับ -  และเชื่อว่าสะพานนี้ก็น่าจะบอกความเป็นประวัติศาสตร์ไทยได้บ้างเหมือนกัน

     

     

    เรื่องวิถีชีวิตคนไทยที่ผูกติดกับสายน้ำ  จนเห็นคลอง, สายน้ำและสะพานอยู่เกลื่อนเมืองนั้น  เป็นภาพชีวิตที่ผมจินตนาการและซาบซึ้งอย่างไม่รู้ลืม 

    ยิ่งบ้านเกิดของตนเองอยู่ติดกับเขื่อนยิ่งทำให้ตนเองหลงรักแม่น้ำอย่างเป็นชีวิตจิตใจ

    ในโคลงพระราชพิธีทวาทศมาศ  พระนิพนธ์ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระยาบำราชปรปักษ์   มีหลายบทที่เขียนเรื่องราวอันเป็นภาพชีวิตในแบบวิถีไทยซึ่งผูกติดกับสายน้ำอย่างแจ่มชัด  เช่น

    เหล่าหญิงเก็บผักเหล้น         นานา

    ตบตับเต่าสันตวา                 ผักบุ้ง

    แพงพวยอีกต้นขา                เขียดเก็บ  มากแฮ

    บัวเผื่อนผักก้ามกุ้ง               กับทั้งใบบัว

    .....

    กลอนเพียงบทเดียวแต่ปรากฏชื่อพืชผักวัชพืชในทุ่งนาหน้าน้ำได้อย่างน่าประทับใจ  

    ขอบพระคุณครับ

    • ขอบคุณมากครับที่แวะไปทักทาย  จึงถือโอกาสแวะเข้ามาเยี่ยมบ้าง 
    • ข้อมูลของคุณSasinanda น่าสนใจ  ผมเองก็ชอบอ่านเกร็ดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์  โอกาสหน้าคงต้องขออนุญาตเข้ามาเยี่ยมอีก
    • ผมเองยังเป็นมือใหม่หัดขับ เกี่ยวกับg2k มาก  หากมีอะไรจะแนะนำก็ยินดีครับ

    สวัสดีค่ะน้อง อ้อยควั้น

    ดีใจที่มาเยี่ยมและอ่านนะคะ

    พิพิธภัณฑ์นี้ มีสิ่งที่สำคัญและน่าสนใจให้ชมและเรียนรู้มากมาย

    เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติของอุษาคเนย์

    แสดงที่ตั้งสภาพทางภูมิศาสตร์ของภาคพื้นทวีปและหมู่เกาะในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ป่าและพรรณพืช

    จัดเป็นป่าร้อนชื้น ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกนะคะ

    นำรูปป่าฝนของเรา แต่เป็นป่าจำลองจากเชียงใหม่มาให้ดูนะคะ

     

    สวัสดีค่ะคุณชาติ

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    พิพิธภัณฑ์นี้ จะแสดงการเชื่อมโยง ของท้องถิ่นในดิแดนอุษาคเนย์โบราณ ตั้งแต่บริเวณยูนนาน อัสสัม กวางสี จนถึงหมู่เกาะอิโดเนเซียค่ะ ซึ่เดิม เคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ทำให้แยกออกจากกัน และยังมีการแสดงถึง เรื่องราวของมนุษย์สมัยแรกด้วย เช่น มนุษย์ชวาและอื่นๆ ซึ่งมีวิวัฒนาการเป็นชุมชนชาติต่างๆ กระจายอยู่ทั่วไปค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณนารี

    ความเป็นมา และประวัติ ของอุษาคเนย์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากค่ะ เพราะนอกจากเรื่องของวิวัฒนาการของชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆแล้ว

    เรื่องภาษาตระกูลต่างๆก็น่าสนใจมากนะคะ

    แต่ที่พิพิธภัณฑ์นี้ จะเน้นที่ ความเป็นสุวรรณภูมิของเราค่ะ ซึ่งเป็นศุนย์กลางการค้าและการคมนาคมในภูมิภาคนี้เลยค่ะ

    เป็นจุดนัดพบระหว่างตะวันตกและตะวันออกค่ะ และการรับวัฒนธรรม จากจีนและอินเดียเข้ามา รวมทั้งการสร้างบ้านเมืองและรัฐ ยุคที่เริ่มมีศาสนาและตัวอักษร

    ภาพ จากหนังสือพิพิธเพลินค่ะ

     

    สวัสดีค่ะคุณพนัส แผ่นดิน

    ดีใจที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์ค่ะ และยังบอกให้อิ่มใจไปด้วยว่า.......

    ขอบคุณบันทึกสาระแห่งความเป็นไทย  ที่ทำให้คนที่รักความเป็นไทยอย่างผมอิ่มสุขอย่างล้นเหลือ 

    สมัยก่อน ตอนเด็กๆ พี่ก็ไปเดินซื้อของแถวบางลำพูบ่อยๆค่ะ ชอบไปที่นี่ แบบคุณพนัสค่ะ

    คำว่า บางลำพูนี้ ไปค้นที่มาที่ไปจาก ราชบัณฑิตยสถานได้ดังนี้ค่ะ

    บางลำพู - บางลำภู โดย ศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ

    ในปัจจุบัน กทม. ได้พยายามอำนวยความสะดวกในเรื่องป้ายบอกเส้นทางจราจรและป้ายบอกชื่อสถานที่ใน กทม. ได้ดีกว่าในทุกยุคทุกสมัย นับว่าน่ายกย่องชมเชยมาก อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องการเขียนชื่อวิสามานยนามที่ยังไม่ยุติกันก็ยังมีอยู่ เช่น คำว่า “บางลำพู” หรือ “บางลำภู” ถ้าท่านผ่านไปที่หน้าร้านสรรพสินค้า “นิวเวิลด์” ที่บางลำพู ท่านจะเห็นป้ายบอกชื่อ “บางลำภู” ติดตั้งอยู่ข้างหน้าตึกอย่างชัดเจน

              คำว่า “บางลำภู” (ใช้ ภ) ทั้ง ๆ ที่ความจริงควรจะเขียนเป็น “บางลำพู” (ใช้ พ) ทั้งนี้เพราะเรามี “บางลำพูล่าง” อยู่ที่เขตคลองสานแห่งหนึ่งแล้ว ที่นี่ความจริงก็ควรจะเป็น “บางลำพูบน” และถ้าหากสังเกตป้ายธนาคาร ห้างร้านต่าง ๆ แถวบางลำพูนั้น จะพบว่าเขียนเป็น “บางลำพู” (ใช้ พ) ก็มีเป็น “บางลำภู” (ใช้ ภ) ก็มี เหตุที่ข้าพเจ้าเห็นว่าควรเขียนเป็น “บางลำพู” (ใช้ พ) นั้

    น ก็เพราะเดิมที่บริเวณ “บาง” แห่งนี้ คงมีต้นลำพูมากจึงเรียกว่า “บางลำพู” ชื่อวิสามานยนามในลักษณะอย่างนี้มีทั่วไปทั้งประเทศ เช่น “บ้านม่วง” เพราะมีต้นมะม่วงมาก “บ้านยาง” เพราะมีต้นยางมาก “บ้านงิ้วราย” ก็เพราะมีต้นงิ้วเรียงรายอยู่มาก ชื่อวิสามานยนามเหล่านี้อยู่ที่บ้านเกิดของข้าพเจ้าที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี นี่เอง จึงยืนยันได้

     

    เคยไปกินโรตี ที่ร้านโรตีมะตะบะ  ร้านอยู่ตรงข้ามสวนสาธารณะสันติชัยปราการ

     โรตีเปล่าๆ กินกับ มัสมั่น กูรหม่า หรือจะเป็นแกงเขียวหวานก็อร่อยค่ะ

    เรากำลังคุยกันเรื่อง บางลำพู ที่จะข้ามขั้น บันทึกมานิดนึง ไม่เป็นไรค่ะ เพราะ บันทึกหน้าก็จะเข้ากรุงเทพฯแล้วเหมือนกัน

    บางลำพูทุกวันนี้ ก็คล้ายๆเดิม   มีร้านขายเสื้อผ้าเป็นส่วนใหญ่   ตั้งแต่ชุดนักเรียนไป จนสูงวัย  ที่จอดรถมีไม่มาก แต่ร้านขายอาหารน้อยลงมากค่ะ คงขายไม่ดี คนมาเดินน้อย ไม่สะดวกเรื่องจอดรถค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณ sasinanda

    • ไม้ได้แวะมาเยี่ยมเสียนาน ผ่านมาทีไรไม่เคยผิดหวัง
    • ได้ความรู้ไปเพียบ 
    • ขอบคุณมากค่ะที่ทำให้รู้จักพิพิธเพลิน ดูแล้วยังเพลินอยู่เลย
    • ขออนุญาติ  COP ไปสอนเด็กบ้างได้มั้ยค๊ะ
    •  วันหลังจะแวะมาหาใหม่ ขอบคุณค่ะ
    แวะมาเยี่ยมยินดีและเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูแพลนเน็ตแล้วน่าสนใจมากครับ

     คุณพนัสคะ.....

    เรื่องสะพานพระรามหกนี้ พี่คุ้นเคยมากๆค่ะ เพราะ แต่ก่อนบ้านอยู่เมืองนนท์ ถนนพิบูลสงคราม ริมถนนเลย ต่อมาขายให้Narai Propertyไป

    สะพานพระราม 6 (Rama VI Bridge)

    เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมระหว่างแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กับแขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

    ปัจจุบันสะพานพระราม 6 ปิดการจราจรส่วนที่เป็นถนน เมื่อมีการก่อสร้างสะพานพระราม 7 ขึ้นเป็นสะพานคู่ขนานแล้วนำส่วนที่เคยเป็นถนนแปรสภาพเป็นทางรถไฟ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทางคู่ช่วงบางซื่อ-นครปฐม สำเร็จเมื่อปี 2546

     แม้กระนั้นก็ตามเวลาใช้งานจริงต้องให้รถไฟ ผ่านเข้าไปทีละขบวน เพื่อป้องกันไม่ให้สะพานทะลายลงมาเพราะน้ำหนักเกินพิกัด

    ประวัติของสะพานนี้ ก็น่าสนใจมากค่ะ....

    สะพานพระราม 6

     เป็นสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสะพานแรกของประเทศไทย เซ็นสัญญาก่อสร้าง เมื่อ เมษายน พ.ศ. 2465

     เริ่มการสร้างเมื่อ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2465 วางหีบพระฤกษ์เมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2466 โดย กรมพระกำแพงเพชอัครโยธิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานได้ถูกกองทัพสหรัฐและอังกฤษทิ้งระเบิดอย่างหนัก

    ที่สุดสะพานขาดเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 และได้ซ่อมแซมใหม่โดยบริษัทดอร์แมนลอง (ผู้รับเหมาจากประเทศอังกฤษที่เคยประมูลการก่อสร้างสะพานพระราม 6 แต่แพ้ประมูลเพราะค่าเงินปอนด์แข็งเกินไป)

     และบริษัทคริสเตียนนีแอนด์นีลเส็น (ไทย) จำกัด (ผู้รับเหมาเดนมาร์กที่ภายหลังได้เป็นผู้รับเหมาไทยเต็มตัวเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพราะย้ายฐานมาเมืองไทย

     มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นสำคัญ) ในระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2496 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานพระราม 6 หลังจากซ่อมแซมแล้ว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2496 โดยใช้รถจักรดีเซลสวิส เบอร์ 563 ทำขบวนเสด็จ

    ใช่เลย  อย่างที่คุณพนัส บอกค่ะว่า.....สะพานนี้ก็น่าจะบอกความเป็นประวัติศาสตร์ไทยได้บ้างเหมือนกัน

    สวัสดีค่ะคุณ นาย สมเจตน์ เมฆพายัพ

    ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ เข้ามาเยี่ยมที่บล็อกนี้ค่ะ

    ที่นี่ เป็นบล็อกที่ บันทึกเรื่องราวต่างๆที่เจ้าของบ้านคิดว่า  น่าสนใจค่ะ ด้วยกแนวการบันทึกที่อ่านง่ายๆ สบายๆค่ะ ยินดีต้อนรับทุกเวลาค่ะ

    บันทึกนี้ เกี่ยวข้องด้วยประวัติศาสตร์ อันยาว นาน ของเรา จึงมีเรื่องให้กล่าวถึงเยอะหน่อย เพราะเราจะไปเรียนรู้ด้วยกันที่พิพิธภัณฑ์ ที่ย้อนยุคไป ตั้งแต่ สมัยเริ่มแรกมีมนุษย์เกิดขึ้นที่ๆเป็นประเทศไทยอยู่ ณ ปัจจุบันค่ะ และบันทึกนี้จะหยุดที่ปลายกรุงศรีอยุธยานะคะ

    พอเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ ก็จะมีภาคต่อ อีกหนึ่งภาคค่ะ

    ณ ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์นี้นะคะ มีประวัติอันยาวนานมาเช่นกันค่ะ...

    คือ เมื่อ 450 ปีก่อน บริเวณนี้ เคยเป็นฐานที่มั่นของทหารฝรั่งเศสในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ต่อมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์บริเวณเดียวกันนี้คือที่ตั้งของวังเจ้านายหลายต่อหลายพระองค์ในอดีตเคยประทับอยู่

     จนถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ทำการกระทรวงพาณิชย์ได้ถูกสร้างขึ้น

    และต่อมาได้ถูกบูรณะให้เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรกของเมืองไทย ท่ามกลางบรรยากาศกรุงเก่าที่แวดล้อมไปด้วยตลาด วัด และวัง ณ ชุมชนท่าเตียนบนเกาะรัตนโกสินทร์

    ตัวอาคารที่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรป สูง 3 ชั้น สีเหลืองนวลๆ  ประดับลวดลายปูนปั้นงดงาม สถาปนิกผู้ออกแบบคือ นายวิตโตริโอ โนวี นายช่างเอกจากเมืองมิลาน และมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาลี ในช่วงปีพ.ศ. 2465

    ตอนระหว่างก่อสร้าง มีการจัดกิจกรรม ‘พิพิธเพลิน

    ตอน นักโบราณคดีน้อย’ ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างรื่นรมย์โดยสวมบทบาทเป็นนักโบราณคดีน้อยขุดค้นในพื้นที่จริงและสลับบทบาทมาเป็นนักภัณฑารักษ์จิ๋วเพื่อจัดนิทรรศการสิ่งของที่ขุดค้นได้ร่วมกับเพื่อนๆด้วยค่ะ

    ศาสตราจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานกรรมการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า....


    ในอนาคตทางสถาบันยังมีแนวคิดจะขยายพื้นที่จัดแสดงพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ที่มีชีวิตในหัวข้ออื่นต่อไป โดยมีสถานที่กลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มอาคารที่เรียงรายอยู่ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในตั้งแต่ศาลฎีกา กระทรวงกลาโหม ไปจนถึงกรมการรักษาดินแดน และกรมแผนที่ทหาร

    แต่ในระยะเริ่มต้นจะมีพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรกที่นี่เพียงแห่งเดียวก่อน

    คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา ก็เป็นที่ปรึกษา สพร.ด้วยค่ะ

    คุณพนัส กล่าวถึงความประทับใจกับสายน้ำ......

    เรื่องวิถีชีวิตคนไทยที่ผูกติดกับสายน้ำ  จนเห็นคลอง, สายน้ำและสะพานอยู่เกลื่อนเมืองนั้น  เป็นภาพชีวิตที่ผมจินตนาการและซาบซึ้งอย่างไม่รู้ลืม 

    บ้านเมืองเราเป็นบ้านเมือง แห่งน้ำค่ะ

    น้ำแทรกซึมอยู่ในสิ่งต่างๆเต็มไปหมด ไม่ว่า จะเป็นพิธีกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรมหรือการวางผังเมืองนะคะ

    ท่าน ศาสตราจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช กล่าวว่า....

    ในปัจจุบันเรามีการศึกษาเรื่องโบราณคดีสุโขทัย โบราณคดีอยุธยา แต่โบราณคดีรัตนโกสินทร์ยังไม่มี

    ผมเชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การเกิดองค์ความรู้ในเรื่องโบราณคดีรัตนโกสินทร์ และจะนำไปสู่ความเข้าใจ รักหวงแหนมรดกวัฒนธรรมของประเทศไทยต่อไป

    เราสามารถปรับประยุกต์มรดกทางวัฒนธรรมไปใช้เพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม เพื่อความยั่งยืน”

    ศ.ชัยอนันต์กล่าวถึงแนวคิดด้านการท่องเที่ยวของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติว่า

    "ขณะนี้ได้มีการจัดทำแผนแม่บทเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวไว้แล้ว เพราะบริเวณนี้เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ความสนใจมาก หลังจากเปิดอย่างเป็นทางการแล้ว พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งนี้ก็จะเป็นแหล่งให้ความรู้ทางวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งที่สามารถเข้ามาเยี่ยมชมได้

     นอกจากนี้ สถานที่ใกล้เคียงอย่างวัดโพธิ์ ก็เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อย่างดีอีกแห่งในละแวกใกล้เคียงกัน

     ส่วนเรื่องอัตราค่าเข้าชมนั้น ประธานสพร. บอกว่ายังไม่ได้คิดว่าจะกำหนดค่าผ่านประตูชาวต่างชาติอยู่ที่เท่าใด เพราะในส่วนของประชาชนไทยทั่วไปนั้นไม่มีการคิดค่าเข้าชมแต่อย่างใด

    ทว่า การจะคิดเงินเฉพาะชาวต่างชาติอย่างเดียวก็อาจจะดูไม่เหมาะ

    จึงอาจปรับเน้นไปที่การขายสินค้าของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวชดเชยส่วนของค่าเข้าชมไม่ให้มีราคาสูงมากเกินไปนัก

    ที่สำคัญคือ การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ให้มากเกินกว่าสถานที่จะรองรับได้"

    ข้อมูลบางส่วนจาก  หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน

    สวัสดีค่ะคุณ pepra

    ที่ถามว่า....

  • ขออนุญาติ  COP ไปสอนเด็กบ้างได้มั้ยค๊ะ
  • ยินดีค่ะ ถ้าจะเป็นประโยชน์ แต่ช่วยบอกแหล่งที่มาด้วยนะคะ และมีข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจอีกดังนี้ค่ะ

    ข้อมูลจาก   หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน อ้าง คำให้สัมภาษณ์ของท่าน ศ.ชัยอนันต์ ว่า.....

    นอกจากจะมี  แนวคิดด้านการท่องเที่ยวของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติแล้ว


    ทางด้านนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.  

     ยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินหัวลำโพง-ท่าพระ และเริ่มยกระดับขึ้นบนดินที่ท่าพระ ที่มีแนวคิดว่าจะสร้างรถไฟฟ้าผ่านสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ด้วย

     ขณะนี้ทางรฟม. ได้มีการศึกษาพรบ.ร่วมทุนกับเอกชนเพื่อรอเสนอให้ ครม. เห็นชอบ จึงจะเริ่มประกวดราคา คาดว่าไม่น่าเกินปลายปีนี้จะเริ่มประกาศและก่อสร้างประมาณต้นปีหน้า

    เนื่องจากเส้นทางเดินรถสายสีน้ำเงินนี้ต้องตัดผ่านย่านโบราณสถานเก่าแก่ และยังต้องระวังปัญหาการทรุดตัวของพื้นดินและสิ่งแวดล้อม ทางผู้บริหาร รฟม.ยืนยันว่า มีการศึกษาผลกระทบในทุกด้านทั้งทางด้านเทคนิคและสิ่งแวดล้อม รวมถึงความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง

    “เราก็ได้ปรึกษากับกรมศิลป์แล้วว่าบริเวณที่เราจะขุดอุโมงค์ผ่านไม่น่าจะมีโบราณวัตถุ เพราะเป็นถนนเก่า ไม่ใช่บริเวณที่เป็นวัง

     เพราะฉะนั้น น่าจะทำให้สบายใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จุดที่เราผ่านในการดำเนินการแบบไม่มีการเปิดหน้าดิน คือจะมีการขุดพื้นที่พยายามเปิดหน้าดินแค่จุดเดียวเล็กๆ แล้วก็จะเอาหัวขุดลง แล้วก็ลำเลียงวัสดุก่อสร้าง จะไม่มีการเปิดหน้าดินยาว 200 เมตรเหมือนที่เราทำสมัยการก่อสร้างสายแรก

     ตรงจุดนี้จะช่วยให้ไม่กระทบกับข้างบนมากนัก ขณะเดียวกันเรามีข้อตกลงว่าระหว่างการขุดถ้าเราเจออะไร เราจะหยุดแล้วมาหารือกัน ว่าจะทำยังไงเราจะเอาของมีค่าเหล่านั้นขึ้นมาแสดง

     อย่างน้อยที่สุดเอาไว้ในสถานีก็ยังดี ทำเหมือนกับที่ประเทศกรีซ สถานีที่กรุงเอเธนส์

     เนื่องจากประเทศเขาเก่าแก่มาก เขามีการขุดเจอโบราณวัตถุ เขาก็หยุดการก่อสร้างแล้วขุดนำโบราณวัตถุเหล่านี้ออกมาก่อน พอก่อสร้างเสร็จก็นำสิ่งของโบราณเหล่านี้มาแสดงนิทรรศการที่สถานี

    ให้คนได้เห็นความเป็นมาของประวัติศาสตร์ชาติเขา ทางเราก็มองคล้ายๆ กัน เพราะพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติเป็นสิ่งที่ดีที่จะทำให้คนภาคภูมิใจในความเป็นชาติและมีประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องและยาวนาน

    ทางรฟม. สามารถช่วยได้ในการนำพาคนมาท่องเที่ยวหรือมาเรียนรู้ได้สะดวก จะได้ลดปัญหาการจราจรและความสั่นสะเทือน รวมทั้งมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อโบราณสถานที่เรารักและหวงแหน” ผู้ว่าฯ ประภัสร์ทิ้งท้าย

    วันนี้ ขอนำต้นลำพูมาฝากนะคะ


    สวัสดีค่ะคุณ เสียงเล็กๆ

    คงเคยได้ยินชื่อชาวเขา  เผ่าเมี่ยนหรือเย้า ใน 3 จังหวัด คือ พะเยา เชียงราย ลำปางแล้วนะคะ

    มีความเป็นมาน่าสนใจค่ะ......

    จากฐานข้อมูล การวิจัยทางชาติพันธุ์  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

      เมี่ยน [เย้า] ได้รับการจัดให้อยู่ในเชื้อชาติ มองโกลอยด์ คืออยู่ในตระกูลจีนธิเบต ได้ปรากฏครั้งแรกในเอกสารบันทึกของจีน สมัยราชวงศ์ถัง โดยปรากฏในชื่อ ม่อ เย้า มีความหมายว่าไม่อยู่ใต้อำนาจของผู้ใด

    คนเย้าในประเทศไทย เรียกตัวเองว่า เมี่ยน หรือ อิ้วเมี่ยน ซึ่งมีความหมายว่า มนุษย์ หรือ คนเหยา 

     การเดินทางจากจีนสู่ประเทศไทย ชาวเมี่ยนเผ่าเดิมมี 12 สกุล เส้นทางการอพยพของสกุลใหญ่ ๆ จะรู้เส้นทางชาวเย้าเผ่าเมี่ยนทั้งหมด

     ในหนังสือทางลงจากภูเขาของบรรพชน 12 สกุลที่ตำบลจงเหอเซียง อำเภอปกครองตนเอง ชนชาติเย้าเจียงหัว มณฑลฮูหนาน

    ถิ่นเดิมของชนชาติเย้าอยู่ที่นานไห่ผู เฉียวโถว จากตำนานชาวเย้าบางเผ่าที่อาศัยอยู่ตอนใต้ของทะเลสาปต้งถิงหู ก็มีเล่าว่าบรรพชนของพวกเขาย้ายมาจาก ผู เฉียว โกว แถบฝั่งเหนือของทะเลสาปต้งถิงหู จึงสันนิษฐานได้ว่า หนานไห่น่า จะหมายถึง ทะเลสาปต้ง ถึงชาวเย้า 12 สกุล

    คงจะข้ามทะเลสาปอพยพมาสู่ภาคใต้ ราวศตวรรตที่ 15-16

    ชาวเย้าเผ่าเปี้ยน อพยพเข้ามาสู่ภาคเหนือของเวียตนามผ่านประเทศลาว และอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยในราว 100 ปีมานี้เอง

    ชาวเมี่ยน     มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านดูแลสุขภาพในด้านพฤกษศาสตร์และด้านจิตวิญญาณจากเผ่าเมี่ยนในอดีต  ค่อนข้างมาก

    เมื่อถึงคราวเจ็บป่วย ชาวบ้านจะใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพพื้นบ้านที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีต ทั้งใช้วิธีการบีบนวด ไล่เลือดลม ยาสมุนไพร ใช้คาถาประกอบพิธีกรรม บางส่วนชาวบ้านสามารถทำได้เอง

     บางส่วนก็อาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น หมอยาสมุนไพร หมอผี หมอคาถา การดูแลรักษาสุขภาพของเมี่ยนจะเกี่ยวโยงกับการให้ความเคารพ ปฏิบัติและยึดมั่นตามหลักความเชื่ออย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ เช่น การเคารพบวงสรวงต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วให้มาคุ้มครองคนในครอบครัวให้รอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ

     โดยความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของเมี่ยนแบ่งได้ 4 ประเภทคือ 1) เกิดจากการกระทำของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ

    2) เกิดจากการที่ขวัญไม่อยู่หรืออกจากร่างกาย

    3) เกิดจากการดูแลสุขภาพและความผิดปกติของร่างกาย

    4) เกิดจากอุบัติเหตุ
    ประเภทหมอพื้นบ้าน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1)กลุ่มที่รักษาทางกาย ใช้การบีบนวด จับเส้น ใช้ยาสมุนไพร

    2) กลุ่มที่รักษาทางจิตวิญญาณ เรียนตำราหรือผู้รู้ที่เชี่ยวชาญด้านนี้และนำไปปฏิบัติจนชำนาญ เช่น คนเข้าทรง หมอคาถา เป็นต้น

    เป็นเรื่องที่น่าสนใจนะคะ และปัจจุบัน  พวกเขาก็เป็นสมาชิก อยู่ในประเทศไทยด้วยค่ะ

    ขออนุญาตนำข้อความของ ลุงเอก ที่เกี่ยวข้องมาไว้ที่นี้ด้วยค่ะ

     

    คิดเสมอว่า  คนที่ไม่มีอดีต  คือคนที่ไม่มีอนาคต   ให้ศึกษาอดีต  เพื่อกำหนดอนาคต
    คนไม่มี รากเหง้า  จะถูกคนอื่นกำหนดอนาคต 

    • ตามมาดู
    • ชอบเรื่องนี้
    • อยากให้เมืองไทยมีพิพิธภัณฑ์ดีมากๆ
    • ขอบคุณมากครับผมที่ไปอวยพรวันตรุษย์จีน
    • ตามน้องขจิตมารับอั่งเปาค่ะพี่
    • เห็นซองแดงมาแต่ไกล ขอบคุณพี่มากค่ะ
    • งานยุ่งมากค่ะช่วงนี้ไมได้แวะทักทายใครเลย
    • ขอสิ่งดีๆบังเกิดแก่พี่เช่นกันนะคะ
    • หวังว่าหลังตรุษจีนเราคงได้คณะรัฐบาลที่นำพาประชาชนให้พ้นวิกฤติเศรษฐกิจนะคะ
    สวัสดีครับ

    ความจริงผมก็ติดตาม ถามข่าวเรื่องนี้อยู่บ้าง เป็นเพราะว่ายังไม่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการนี่เอง เลยยังไม่มีใครเคยไปเยี่ยมชม

    ดูจากภาพและที่เล่ามาแล้ว น่าตื่นตาตื่นใจมากจริงๆ คงน่าสนุกด้วยทั้งสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ คงเหมือนหนังสือ ถ้ามีแต่ตัวหนังสือแล้ว ก็อ่านกันเหนื่อย ปวดตาด้วย มีภาพสวยๆ มีตัวหนังสือน้อยใหญ่สลับกันไป ได้พักสายตา ได้คิดไป อ่านได้จบจนลืมเหนื่อย

    เรื่องชาวเมี่ยน ผมเคยไปเยี่ยมบ้านพวกเขา บนเขาบนดอย ไปชมการปักผ้าลาย พร้อย สาวๆ ก็น่ารัก เด็กๆ แก้มแดงเหมือนเด็กจีน

    เรื่องภูมิปัญญานั้น เรามีที่น่าสนใจหลากหลาย แต่กระจายไปหมด ไม่ค่อยจะมีรวบรวมเอาไว้ จึงดูเหมือนว่าชาติเราไม่มีองค์ความรู้เป็นของเฉพาะตัว

    ต้องขอบคุณผู้เขียนบันทึกนะครับ ที่เล่าได้ละเอียดลออ คนที่เข้ามาอ่านบันทึกนี้คงจะใจจดใจจ่ออยากไปชมของจริงเสียเร็วๆ

    สวัสดีค่ะคุณ naree suwan

    คนไทยสมัยก่อน มีค่านิยม ของความเป็นคนมีน้ำใจ ช่วเหลือเกื้อกูลกันมาก

    แต่เดี๋ยวนี้ประเทศเรพัฒนาเข้าสู่ความทันสมัย ความมีน้ำใจกลับลดลง ต่างคนต่างอยู่มากขึ้นนะคะ

    อย่างไรก็ตาม คนไทยยังมีศูนย์รวมใจที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวร่วมกันอยู่ และมีความรู้สึกร่วมกันอย่างแท้จริง ว่าเราเป็นคนไทยด้วยกัน ไม่ว่า จะมีเชื้อชาติใดก็ตาม ขอนำรูปในหลวงมาฝากค่ะ จากหนังสือ Our Beloved King ของคุณ Anuchai Secharunputong

    สวัสดีค่ะคุณ  ธ.วั ช ชั ย

    ขอบคุณที่ชมว่าเล่าได้ละเอียด จริงๆ ไม่ละเอียด ขอให้ไปชมเอง บางคนยังไม่ได้ไป ก็จะได้ทราบว่า เขาแสดงอะไรไว้บ้าง เผื่อตรงกับความสนใจ จะได้ไปชมค่ะ อย่าลืมไปชมให้ได้นะคะ

    สวัสดีค่ะคุณ ขจิต ฝอยทอง

     ขอบคุณที่แวะมาค่ะ ไทยจีนมิใช่อื่นไกล พี่น้องกันนะคะ พี่เองมีคุณย่า เป็นคนจีนค่ะ เลยมีการฉลองกันนิดหน่อย ไม่ได้ทำพิธีอะไร เพราะคุณย่า ก็เสียไปแล้ว คนไทย คนจีน แยกกันไม่ออกค่ะ

    ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่   มีการจุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี การเชิดมังกรและสิงโต ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคล  


    ธรรมเนียมจีนให้ความสำคัญการความเป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิต มีนัยแห่งการสร้างความเชื่อมั่นเป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต นับเป็นความชาญฉลาดทางจิตวิทยา อย่างน่ายกย่องของบรรพชนค่ะ

    ขอบคุณครับ

    ผมไม่ค่อยได้ติดตามข่าวด้านนี้

    สรุปง่ายๆว่าผมตกข่าวครับ

    แต่ผมก็ยังอยากเห็นการปรับการสอนมาสู่ความรู้ที่ ทำให้ทุกคนเข้าใจกัน และเห็นใจกัน มากกว่าที่คอยจะดูถูก ข่มเหง และแก้แค้นกัน

    และทำให้สิ่งที่พลาดไปแล้วเป็นบทเรียน

    และควรปรับการสอนกันในโรงเรียน ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ครับ

    สวัสดีค่ะดร. แสวง รวยสูงเนิน

    ลองไปดูที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้   เขาจะมีการแสดง    ประวัติศาสตร์ผู้คนและดินแดน ในอุษาคเนย์เพื่อให้คนในละแวกนี้ด้วยกันรู้ถึงรากเหง้า      ความเป็นมาของความเป็นพี่น้องเพื่อเกิดความสมานฉันท์ในอุษาคเนย์แห่งนี้    โดยเฉพาะความต้องการให้เด็กไทยสำนึกรักประเทศ รู้จักเอกลักษณ์ของตัวเองค่ะ

    บันทึกนี้ถูกใจค่ะ  เคยไปเที่ยวเมืองจีน แถบเทือกเขาอัลไต เลยนึกสงสัยว่า ตกลง รากเหง้าเรามาจากเทือกเขานี้ จริงหรือคะ

    สวัสดีค่ะคุณเดือน

    ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ ตั้งแต่บันทึกด้านบนแล้วค่ะว่า....

    เริ่มต้นแสดงความเป็นมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์  มีหลักฐานชี้ชัดว่า มีมนุษย์ดึกดำบรรพ์ 500,000ปีที่แล้ว เคยอยู่ที่พื้นที่ประเทศไทยมาแล้ว คือ มนุษย์ ลำปาง 

    บางทฤษฏีบอกว่า น่าจะมีชนชาติไท อยู่อาศัยในแผ่นดิน ตรงที่เป็นประเทศไทยมา 4000 ปีแล้ว แต่ ยังไม่ปรากฏแน่ชัดจริงๆว่า บรรพบุรุษ ของชาวสุวรรณภูมิจริงๆ อาจจะเป็น ชนกลุ่มมองโกลลอยด์ ที่อพยพมาจากแผ่นดินจีน เมื่อ 3000 ปีก่อน มาแทนที่ ชนดั้งเดิมหรือไม่ ยังเป็นปริศนา ให้คนรุ่นใหม่ ต้องศึกษาต่อค่ะ

    ที่เทือกเขาอัลไต Altay Mountain อยู่ใจกลางเขตไซบีเรียตอนกลาง  มีรอยต่อของดิแดน 4 ประเทศคือ คาซัคสถาน รีสเซีย มองโกลเลียและจีน

    ชาวบ้านที่นี่ เป็นชนเผ่ามองโกล เผ่าอาซาเค่อ เผ่าถูวา อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของทะเลสาบ ชนเผ่าถูวา สืบเชื้อสายมาจากผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของมองดกลเลีย คือเจงกีสข่าน ดินแดนแถบนี้ เคยเป็นที่อยู่ของชาวรัสเซีย ก่อนที่ชาวถูวา จะมาอาศัยอยู่ค่ะ

    นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่จะเรียนรู้ในส่วนที่ตนเองเกี่ยวข้อง จะเป็นในลักษณะนักประวัติศาสตร์ภาคกลางก็เรียนรู้เรื่องภาคกลางเสียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกันนักประวัติศาสตร์ทางภาคเหนือก็เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ เหมือนกับเป็นการเรียนรู้แบบแยกส่วน ขาดคนกลางที่จะนำประวัติศาสตร์ทั้งหมดมาสังเคราะห์และเชื่อมโยง จึงเกิดการแบ่งแยกนักประวัติศาสตร์ออกเป็นกลุ่มๆ และมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน

    ผมศึกษาประวัติศาสตร์มา 10กว่าปี ทั้งประวัติศาสตร์ชาติไทย ประวัติศาสตร์ล้านนา และประวัติศาสตร์ของกลุ่มไต แทบทุกสาขา(โดยเฉพาะไทยใหญ่) ซึ่งไม่มีหนังสือแปล เรียนรู้ด้วยภาษาไต จึงสามารถเชื่อมโยงได้ว่า คนไทย(กรุงศรีอยุธยา)ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะบรรพบุรุษของพระเจ้าอู่ทองมาจากเชื้อสายผู้ครองเมืองชัยปราการ และบรรพบุรุษของผู้สร้างอาณาจักรสุโขทัย มาจากเชื้อสายของผู้ครองเมืองชัยนารายณ์ (ปากแม่นำกก) ซึ่งทั้งสองเมืองได้ถูกขุนเสือข่านฟ้า กษัตรย์ไตมาวตีแตก และบรรพบุรุษของผู้นำเหล่านี้ก็อพยพมาจากอาณาจักรน่านเจ้า ที่ชาวไตเรียกว่า หนองแส นั่นเอง

    ส่วนคำถามที่ว่า แล้วหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่บ้านเชียง ที่เมืองกาญจนบุรี ซึ่งมีอายุเป็นหมื่นๆปี พวกนี้เป็นใคร นักประวัติศาสตร์ต้องช่วยกันศึกษาเรียนรู้และสรุปให้ลูกหลานได้ศึกษาเรียนรู้ เชื่อมโยง

    คำตอบในการเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ ผมนำภาษามาวิเคราะห์ ร่วมกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้วย โดนเฉพาะภาษาพ่อขุนฯของเรา นำมาเชื่อมโยงกับภาษาล้านนา และที่สำคัญเชื่อมโยงกับภาษาไต (ไทยใหญ่) และเชื่อมกับภาษาไตในกลุ่มอื่นๆ คำตอบก็คือ พวกเราคือเทือกเหง้าเหล่ากอเดียวกันแน่นอน

    อาจารย์เก

    สวัสดีค่ะอาจารย์อาจารย์เก  คะ

    ดีใจเหลือหลายที่อาจารย์เข้ามาให้ขัอคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ยิ่ง

    ตอนนี้ เราน่าจะมีคนกลางที่จะนำประวัติศาสตร์ทั้งหมดมาสังเคราะห์และเชื่อมโยง จึงเกิดการแบ่งแยกนักประวัติศาสตร์ออกเป็นกลุ่มๆ และมีความเห็นที่ไม่ตรงกันแล้วนะคะ และคงจะใกล้เปิดแล้วค่ะ ดีมากๆค่ะ สมควรจะต้องไปดูค่ะ

    ....“พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ” (National Discovery Museum Institute : NDMI)กำเนิดใหม่ สมิทโซเนียนเมืองไทย

    ที่พิพิธภัณฑ์นี้ จะเน้นที่ ความเป็นสุวรรณภูมิของเราค่ะ

    โดยจะเชื่อมโยงไปถึงความเป็นมา และประวัติ ของอุษาคเนย์ด้วย

    เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากค่ะ เพราะนอกจากเรื่องของวิวัฒนาการของชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆแล้ว ยังมีเรื่องภาษาตระกูลต่างๆด้วยค่ะ

    แต่ที่แน่ๆคือ พวกเราคือเทือกเหง้าเหล่ากอเดียวกันแน่นอนค่ะ

    ขอบคุณครับอาจารย์ ผมจะหาโอกาสไปชมพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติให้ได้ และที่ต้องกราบเรียนขออนุญาตอาจารย์ก็คือ ขออนุญาตนำบล็อคเกอร์ของอาจารย์เข้าแพลนเนตด้วยนะครับ ผมชอบประวัติศาสตร์และความรู้ใหม่ๆ วันนี้ผมก็ไปสอนนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน เรื่องประวัติศาสตร์แม่ฮ่องสอน ผมใช้เวลาสอนเรื่องนี้ 2 ตอน 6 ชั่วโมง เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของถิ่นฐานที่ตนอาศัยอยู่ ชาติพันธุ์ ผมสอนโดยละเอียดทุกแง่ทุกมุม เทเวลาให้กับเรื่องนี้มาก เพื่อให้นักศึกษามีความรัก ความภาคภูมิใจในถิ่นฐานของตน อยากมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาถิ่นฐาน ไม่ใช่เข้าแถวเรียงหนึ่งดาหน้าเข้าสู่เมืองหลวงให้ชีวิตเป็นไปตามกรรมเหมือนเช่นที่เป็นอยู่ เราต้องใช้ประวัติศาสตร์สะกัดกั้นคนรุ่นใหม่ไม่ให้เข้าสู่เมืองใหญ่ ผมคิดอย่างนั้นครับอาจารย์

    ขอบพระคุณอาจารย์ จะติดตามผลงานอาจารย์อยู่เสมอ

    อาจารย์เก

    สวัสดีค่ะ อาจารย์เก คะ เขินจังที่อาจารย์เรียกขานเสียโก้ไป ขอให้เรียกพี่ศศินันท์ก็ได้ค่ะ กันเองดี

    ไม่ได้มีความรู้อะไรมากนักค่ะ เพียงแต่ชอบประวัติศาสตร์และชอบการเรียนรู้ ทุกเรื่องที่เป็นประโยชน์ค่ะ และถ้ามีข้อมูลอะไร ก็อยากนำมาแชร์กันน่ะค่ะ

    เป็นคนชาตินิยมพอตัวเลย และถือว่าทุกคนที่เกิดในแผ่นดินนี้คือพี่น้องกันหมด และในความเป็นจริงไปไล่ดูได้ พวกเราก็เป็นพี่น้องเดียวกันมาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนไทยในประเทศไทยหรือคนชาติอื่นในอุษาคเณย์แห่งนี้ค่ะ

    และรู้สึกเป็นเกียรติ์และยินดีมากๆที่อาจารย์จะรับเข้าแพลนเนตค่ะ

    ในเรื่องนี้ได้เคยอ่านพบว่า  นักวิชาการจำนวนมาก เห็นว่า ควรปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา   เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนไทยว่า คนที่แตกต่างจากเราทางวัฒนธรรมโดยสิ้นเชิงนั้นก็มีสิทธิในชาติเท่าเทียมกับเรา วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายล้วนมีรากลึกอยู่ในแผ่นดินนี้ พัฒนาคลี่คลายมาตามลำดับอย่างลึกซึ้งอยู่ในวัฒนธรรมนั้นๆ ทั้งสิ้นค่ะ

    สวัสดีคะ

    ขอบคุณคะ สำหรับความรู้และเรื่องดีๆ พึ่งทราบนะคะว่ากบ คือสัตว์แห่งความสมบูรณ์ และ ทำให้นึกถึง เพลง ที่มีเนื้อร้องว่า ย่างเข้าเืดือน 6กบก็ร้องอบ อบ ... ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์จริงๆ และ มองเห็นความเป็นธรรมชาติได้อย่างชัดเจน คะ ประวัติศาสตร์ และเนื้อหา ผลผลิต ของศิลปิน ดั้งเดิมมักจะแฝงแนว่คิดไว้ให้เราเสมอ มองเห็นคุณค่าของความเป็นไท และ ธรรมชาติมากขึ้นคะ

    สวัสดีค่ะคุณ ก้ามปู

    ที่คุณบอกว่า...กบ คือสัตว์แห่งความสมบูรณ์ และ ทำให้นึกถึง เพลง ที่มีเนื้อร้องว่า ย่างเข้าเืดือน 6กบก็ร้องอบ อบ ... ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์จริงๆ และ มองเห็นความเป็นธรรมชาติได้อย่างชัดเจน

    ลืมเพลงนี้ไปเลยค่ะ เพิ่งนึกถึงเดี๋ยวนี้เอง ใช่ค่ะ ที่ตราสัญญลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นรูปกบ เพราะสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกประเภทกบ เป็นสัญญลักษณ์ของน้ำและความอุดมสมบูรณ์ ดังปรากฏรูปกบอยู่บนหน้ากลองสำริดหรือกลองมโหรทึก ที่คนอุษาคเณย์ยุคโบราณเมื่อ 3000 ปีก่อน ใช้ประโคมในพิธีกรรม

    นอกจากนี้ คนโบราณยังร่วมเต้นฟ้อนทำท่ากบด้วย มีภาพเขียนสี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตามเพิงผาและถ้ำ ตั้งแต่มณฑลกวางสีถึงบริเวณประเทศไทยที่สะท้อนลีลาท่าเต้นนี้

    สวัสดีค่ะ

    • ขอบคุณค่ะ .. ที่ทำให้ได้เรียนรู้ ชาติพันธุ์ตัวเอง
    • เล่าได้ดี มีรูปให้เห็น อยากไปชมและศึกษา
    • แต่ตอนนี้ ขอเรียนรู้จากบล็อก ของอาจารย์ก่อนค่ะ
    • ขออนุญาตเรียกว่าอาจารย์นะคะ
    • .......
    • ชื่นชม ยินดี และดีใจ ค่ะ ที่มีโอกาสรู้จักคนดี
    • ถือว่าเป็นมงคลของชีวิตทีเดียวค่ะ

     

     สวัสดีค่ะคุณ สีตะวัน

    ดีใจที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ พิพิธภัณฑ์นี้ ได้ข่าวล่าสุดว่าจะเปิดเดือนมิถุนายนนี้ค่ะ ต้องไปชมให้ได้นะคะ

    ผมจำได้ว่าพิพิธภัณฑ์จะเปิดให้เข้าชมประมาณเดือนหน้า แวะมายืนยันข้อมูลครับ

    สวัสดีค่ะคุณ  ข้ามสีทันดร

    ข้อมูลเปลี่ยนไปมาค่ะ ครั้งแรกสุด บอกว่า เดือนมิ.ย 51  แต่วันที่ไปชม เขาบอกว่า จะเปิดเร็วขึ้น เป็น เม.ย. 51

    วันพฤหัสที่แล้ว 20มี.ค. ให้เด็กโทรไปถาม เจ้าหน้าที่ บอก...

     เป็น มิ.ย 51อีกแล้ว จะโทร ไปถามให้แน่ๆอีกทีค่ะ วันจันทร์ที่24มี.ค. นี้ค่ะ

    ประเด็นความรู้ที่เสนอเป็นตัวอย่างที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้  เรียบเรียงโดย ท่านศาสตราจารย์ นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์

    ประวัติศาสตร์สังคม

    ซึ่งอาจเจาะเฉพาะเรื่องราวของกลุ่มชนต่างๆ ในสังคมไทยที่ผมเลือกประเด็นความรู้เรื่องนี้ ก็เพราะสังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่มีความหลากหลาย

    แต่ความรู้ความเข้าใจในความหลากหลายเช่นนี้มีน้อย ทำให้ความขัดแย้งต่างๆ โน้มเอียงไปสู่ความรุนแรงได้ง่าย

    เพราะสังคมไม่ได้เรียนรู้และยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน ความหลากหลายของกลุ่มชนในสังคมไทยไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งมีอยู่มากเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงกลุ่มอาชีพ กลุ่มศาสนา กลุ่มวิถีชีวิต ฯลฯ   

     ซึ่งมีความหลากหลายอีกมาก ความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ของคนกลุ่มต่างๆ ในเวลาที่มีเรื่องขัดแย้งกับคนกลุ่มอื่น อันเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในทุกสังคมสมัยปัจจุบัน

    คืออาศัยฐานของอัตลักษณ์ซึ่งแตกต่างกันนี้เป็นเครื่องมือสำหรับการต่อรองโดยสันติในขณะเดียวกัน ก็มีงานศึกษา โดยเฉพาะวิทยานิพนธ์ในระยะหลัง ที่ศึกษาความหลากหลายของกลุ่มชนต่างๆ

    ในระยะหลังมานี้จำนวนไม่น้อย แสดงว่าเริ่มมีฐานะทางวิชาการที่แข็งแกร่งมา

     ฉะนั้นการศึกษาและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์สังคมไทยในแง่นี้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสังคมตัวเองแล้ว   ยังมีส่วนช่วยให้ความขัดแย้งต่างๆ ซึ่งต้องมีเป็นธรรมดาในทุกสังคมดำเนินไปด้วยความสงบมากขึ้น 

      เพราะความรู้เช่นนี้ทำให้คนไทยยอมรับกันและกันตามความเป็นจริงมากขึ้น (คือไม่ใช่ยอมรับแต่ความเหมือนซึ่งเป็นเรื่องสมมติขึ้นเท่านั้น)

    สวยจังครับ และมีความรู้มากๆเลย

    สวัสดีค่ะคุณ คนโรงงาน

    ขอบคุณนะคะ ที่เข้ามาอ่าน ตอนนี้ทางพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมแล้วค่ะ ทุกวัน อังคาร-อาทิตย์  หยุดวันจันทร์วันเดียว เข้าชมได้ตั้งแต่ 10.00น- 18.00 น

    ความหมายของ  "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ"

    "พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ" หมายถึง ....แหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้สู่สาธารณชน เรื่องความเป็นมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    ของผู้คนและดินแดนในประเทศไทย และดินแดนอื่นในอุษาคเนย์ รวมทั้งภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมธรรมชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์รื่นรมย์ สร้างสำนึกรักและเข้าใจผู้คน บ้านเมืองและท้องถิ่นของตน และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติกับประเทศเพื่อนบ้าน

    อันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค

     

    ไปอ่านงานวิจัย....ชื่อเรื่อง แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย   ชื่อผู้วิจัย สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ   ปี 2534

    สรุป สาระที่เกี่ยวข้องกับ บันทึกเรื่องนี้คือ...ขออนุญาต นำข้อเขียนโดยย่อ มาเผยแพร่  ณ ที่นี้ด้วย  ขอบคุณมากค่ะ

    ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางแผ่นดินใหญ่เอเชียอาคเนย์

    จึงมีความหลากหลาย ของภาษาและวัฒนธรรมของประชากรในชาติเป็นอย่างมาก
    แต่ในโลกยุคปัจจุบันภาษาและวัฒนธรรมของชนกลุ่มต่าง ๆ กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลายกลุ่มอยู่ในภาวะวิกฤต และกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยมีโอกาสสูญหายได้ในอนาคตอันใกล้

    งานวิจัยนี้เป็นงานที่ผนวกศาสตร์ ๓ ด้านเข้าด้วยกัน ได้แก่ ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ คอมพิวเตอร์ และการทำแผ่นที่ โดยได้ ๑) ศึกษารวบรวมภาษาที่พูดในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยปัจจุบันในระดับหมู่บ้าน (ประมาณ ๗ หมื่นหมู่บ้าน) ว่ามีภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ใด พูดอยู่ที่ไหน และมีผู้พูดมากน้อยเพียงใด โดยใช้แบบสอบถาม ๒) จัดทำฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์ด้านภาษาและชาติพันธุ์ในระดับประเทศ ๓) เผยแพร่ข้อมูลการวิจัยในรูปของแผนที่แสดงการกระจายของภาษาต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรมสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

    ผลการวิจัยได้พบว่า
    ๑. กลุ่มภาษาต่าง ๆ ในประเทศไทย มีทั้งสิ้นกว่า ๖๐ กลุ่ม ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษา ๕ ตระกูลสำคัญของภาษาในเอเชียอาคเนย์ คือ
    ๑) ตระกูลไท ประมาณร้อยละ ๙๔

    ๒) ตระกูลออสโตร เอเชียติก (มอญ-เขมร) ประมาณร้อยละ ๔.๓
    ๓) ตระกูลจีน-ธิเบต ประมาณร้อยละ ๑.๑
    ๔) ตระกูลออสโตรนีเชียนหรือมาลาโยโพลีเนเชียน ประมาณร้อยละ ๐.๓ และ
    ๕) ตระกูลม้ง-เมี่ยน (หรือแม้ว-เย้า) ประมาณร้อยละ ๐.๓ กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งได้จัดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลด้านภาษาและชาติพันธุ์ของประชากร

    ในการจัดแผนที่แสดงการกระจายของกลุ่มภาษาต่าง ๆ เสนอเป็น ๒ ลักษณะ คือ
    ๒.๑ แผนที่แสดงการกระจายของกลุ่มภาษาตามพื้นที่ทางสังคมวัฒนธรรม โดยแสดงการกระจายของภาษาในตระกูลต่าง ๆ แต่ละตระกูลทั้ง ๕ ตระกูล รวมทั้งการกระจายของภาษาใหญ่และภาษาย่อยในสังคม เช่น ภาษาท้องถิ่นตามภูมิภาค ภาษาพลัดถิ่น ภาษาชายขอบ ภาษาในวงล้อม เป็นต้น และได้แสดงการกระจายของแต่ละกลุ่มภาษาเป็นรายภาษาทั้ง ๖๐ กลุ่ม

    ๒.๒ แผนที่แสดงการกระจายของกลุ่มภาษาตามพื้นที่ภูมิศาสตร์การปกครอง โดยเสนอการกระจายของกลุ่มภาษาต่าง ๆ ในระดับประเทศ ภาค (แต่ละภาค) และรายจังหวัดทั้ง ๗๖ จังหวัด เป็นต้น
    ผลงานวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงทรัพยากรด้านภาษาและวัฒนธรรมของประเทศ ซึ่งกระจายในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้เป็นฐานในงานด้านนโยบาย การปฏิบัติงานในพื้นที่ การวิจัยในระดับลึกด้านต่าง ๆ ทั้งด้านภาษาศาสตร์ สังคมวิทยามานุษยวิทยา การสืบค้นและสืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิง และเป็นฐานข้อมูลด้านภาษาและวัฒนธรรมของประเทศ
     

    ได้ไปค้น หัวข้องานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับบันทึกนี้ ....ชื่อเรื่อง ความรู้เรื่องเมืองไทย : พัฒนาการทางสังคมไทย-วัฒนธรรมไทยความเป็นชนชาติไท ชีวิต-ประวัติศาสตร์ชาวนาสยาม

    ชื่อผู้วิจัย ศรีศักร วัลลิโภดม สุมิตร ปิติปัฒน์ และ ธิดา สาระยา

    ปี 2537 ผลงานวิจัย ทั่วไป
    จึงขออนุญาต นำมาลงไว้ เพื่อเป็นวิทยาทานและข้อมูลเพิ่มเติมด้วย...คือ.
    .

    มีนักวิชาการสามท่าน  ได้ศึกษาค้นคว้าในรูปสหวิทยาการ เพื่ออธิบายพัฒนาการของสังคมไทยใน ๓ หัวข้อหลัก  โดยอาศัยความรอบรู้ที่ทั้งสามท่านได้วิจัย ค้นคว้ามาตลอดเวลา  สาระสำคัญมีดังนี้....

                    ก. รศ.ศรีศักร  วัลลิโภดม  ได้ค้นคว้าและประมวลวิวัฒนาการของสังคมในย่านอุษาคเนย์  ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์  มาจนถึงการเกิดขึ้นของรัฐต่าง ๆ ในแว่นแคว้นสุวรรณภูมิ  การปรากฏตัวของคนไทยและการเกิดขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย  อยุธยา และอื่น ๆ ตลอดมาจนถึงกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์

      การติดต่อกับสังคมวัฒนธรรมอื่น ๆ ทางตะวันตกและตะวันออก  การล่าอาณานิคมทางการเมือง และเศรษฐกิจของฝรั่งที่มีผลกระทบต่อสังคมไทยทั้งหมด
    ที่ทำให้เห็นความต่อเนื่องและพลวัตของการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างจากการค้นคว้าเรียบเรียงประวัติศาสตร์ไทยในแนวอนุรักษ์ 
    มีการวิเคราะห์ตีความจากข้อมูลใหม่ หลักฐานใหม่ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี มานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์

    และให้ความเห็นแตกต่างจากนักวิชาการต่างประเทศและนักวิชาการไทยอื่น ๆ ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลง ความเคลื่อนไหวของสังคมไทยในภาพรวม  เห็นความล่มสลาย  การเกิดใหม่  เห็นบทบาทของประชาชนที่ประกอบด้วยชาติพันธุ์ต่าง ๆ และเห็นเหตุปัจจัยที่ส่งผลความต่อเนื่องของชีวิตคนในเมืองไทยเป็นภาพรวม  จนถึงยุคปัจจุบัน
    ที่มีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในประชาคมโลก  และชี้ให้เห็นปัญหาของบ้านเมืองโดยรวมที่ช่วยให้เข้าใจความสลับซับซ้อนของสังคมไทยปัจจุบัน
                    ข. รศ.สุมิตร  ปิติพัฒน์  ค้นคว้าและเรียบเรียง เรื่องความเป็นชนชาติไทย  โดยพิจารณาจากมิติทางเชื้อชาติที่ผสมกลมกลืนกันหลายเชื้อชาติ,  มิติทางภาษาที่มีหลายภาษา  แต่มีภาษาไทยเป็นหลักในการหลอมรวมคนทั้งหลายเข้าด้วยกัน,  มิติทางการเมืองหลายยุคหลายสมัย   ที่มีพัฒนาการมาเป็นรัฐไทยและคนไทยปัจจุบัน 
    และสุดท้ายคือ มิติทางวัฒนธรรมที่มีอยู่หลายลักษณะ  แต่ได้ผสมกลมกลืนกัน  มีอยู่ทั้งความหลากหลายและความคล้ายคลึง  ภายใต้สำนึกร่วมในความเป็นไทยร่วมกัน

                    ค. รศ.ดร.ธิดา   สาระยา   ได้เรียบเรียบประวัติศาสตร์ชาวนาสยามในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยวิเคราะห์ลักษณะสังคมชาวนา  วิวัฒนาการของการปลูกข้าวในสยามประเทศ 
    โดยแบ่งเป็นยุคสมัยต่าง ๆ จนถึงที่สยามส่งข้าวเป็นสินค้าออกสู่ตลาดโลก 

    วิเคราะห์วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์สู่ความเป็นชาวนาในสังคมสยามใหม่ 
    รวมถึงได้ชี้ให้เห็นวิวัฒนาการของการจัดระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน,  ระบบชนชั้นทางสังคมและให้ความ เห็นเกี่ยวกับวิถีการต่อสู้และวิบากกรรมของชาวนาไทยที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป

    157. นิชา ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ มีข่าวที่น่าสนใจ ที่จะบอกต่อดังนี้ค่ะ....

     เมื่อกลางเดือน มีนาคม 2552 ที่มิวเซียมสยามเปิดโชว์ลูกปัดโบราณ"สุริยเทพคลองท่อม"ผลสำรวจแหล่งอารยธรรมโบราณพื้นที่ภาคใต้  ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4  มีความเป็นไปได้ว่า ศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่มาสู่เมืองไทยนานกว่า 2 พันปี
    การสำรวจแหล่งอารยธรรมโบราณในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนกลางตั้งแต่ จ.กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร พังงา และชุมพร หลังการค้นพบลูกปัดชนิดต่างๆ อายุราว 2,000 ปี ทั้งลูกปัดหิน ลูกปัดแก้วโมเสก ลูกปัดทองคำ เครื่องมือผลิตลูกปัด เช่นรางและเบ้าหิน ว่...
    ในพื้นที่ภูเขาทอง หมู่ที่ 4 ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง เขาสามแก้ว ต.นาชะอัง อ.เมือง จ.ชุมพร อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี และ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ขุดพบลูกปัดสัญลักษณ์ตรีรัตนะเป็นเครื่องหมายทางพุทธศาสนาของอินเดียสมัยโบราณทำด้วยทองคำและหินสีมีค่ากึ่งรัตนชาติทั้งคริสตัล อมิทิสต์ โมกุล และอความารีน
    ซึ่งนักโบราณคดีพิสูจน์พื้นที่ที่พบสัญลักษณ์ตรีรัตนะทางวิทยาศาสตร์ด้วยคาร์บอน 14 มีค่าอายุอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 4-13

    โดยมีข่าวว่า  ร.อ.บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ นักโบราณคดีระดับชำนาญงานพิเศษ สำนักงานศิลปากรที่ 15 จ.ภูเก็ต ให้สัมภาษณ์ว่า การค้นพบตรีรัตนะทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าชาวอินเดียโบราณนำสัญลักษณ์ดังกล่าวติดตัวระหว่างเดินทางมาทำการค้าในชุมชนทางภาคใต้ของไทย หรืออาจเป็นไปได้ถึงร่องรอยการเผยแผ่ของพุทธศาสนายุคแรกเริ่มจากประเทศอินเดีย

    ร.อ.บุณยฤทธิ์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีการค้นพบหลักฐานทางพุทธศาสนาที่เป็นรูปเคารพของชาวอินเดียนำเข้ามาเผยแผ่ในพื้นที่ของไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่พุทธรูปศิลปะอมราวดี ของอินเดีย ที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ที่จ.นครราชสีมา และที่เกาะเซเรเบส ประเทศอินโดนีเซีย แต่อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8

     มิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เปิดแสดงนิทรรศการ"ปริศนาแห่งลูกปัด"อีกครั้งหลังจากที่ปิดชั่วคราวเนื่องจากเกิดเหตุคนร้ายบุกโจรกรรมลูกปัด "สุริยเทพคลองท่อม" เป็นลูกปัดโบราณอายุ 2,000ปีพบเพียงแห่งเดียวในโลกที่อ.คลองท่อม จ.กระบี่เมื่อวันที่ 5มีนาคม ต่อมามีผู้นำสุริยเทพคลองท่อมใส่ซองจดหมายส่งคืนให้มิวเซียมสยามเมื่อวันที่ 12มีนาคม

    พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ว่า ผู้เข้าชมนิทรรศการลูกปัดครั้งนี้ เกินเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ โดยมีผู้ชมมากถึง 300คน ทั้งที่ปกติคาดว่าน่าจะมีผู้เข้าชมเพียงวันละ 200คน ทั้งนี้เป็นเพราะสื่อมวลชนนำเสนอข่าวลูกปัด โดยเฉพาะลูกปัดสุริยเทพทำให้มีผู้สนใจมากขึ้นและรู้จักมิวเซียมสยามเพิ่มขึ้นอีกด้วย
    พล.ร.อ.ฐนิธกล่าวว่า มิวเซียมสยามได้ปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยจนขณะนี้มีความมั่นใจ โดยเฉพาะการติดตั้งระบบเซนเซอร์ที่ดูแลตรวจสอบพื้นที่เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รวมถึงระบบกล้องวงจรปิด ที่ติดตั้งเพิ่มอีก10จุดทำให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท