มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

แนะนำสารคดีดูฟรี: The Selling Game


 
คลิกรูปด้านบนดูได้ฟรีค่ะ สารคดีนี้นานประมาณครึ่งชม.ได้ค่ะ
 
แหล่งที่มา: http://www.cbc.ca/doczone/sellinggame
 
ประเด็นสำคัญ:
โฆษณาขายของไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อน เพราะมีโฆษณามาก คุณต้องเจ๋งจริงถึงจะเข้าถึงลูกค้า
คุณต้องฟังความต้องการของผู้บริโภค ต้องให้เค้ามีส่วนร่วม
 นักโฆษณาฟังลูกค้าจริงๆ ต้องทำแต่สิ่งที่ลูกค้่าต้องการ ของถึงจะขายได้
 
โฆษณาในยุคนี้ ใครต้องง้อใคร  คนซื้อหรือคนขาย
หรือในที่สุดลูกค้าก็ถูกหลอกอยู่ดี! มาดูแล้วคิดต่อกันค่ะ 
 

 
ปล. ส่วนตัวเป็นคนไม่ต่อต้านสื่อโฆษณาค่ะ ชอบดูความคิดสร้างสรรของนักผลิตโฆษณา และเชื่อในพลังของมันด้วยซ้ำว่ามันเป็นเครื่องมือทำให้เกิดประโยชน์ได้มากและเร็ว เพียงแต่ไม่ชอบโฆษณาที่ไม่มีประโยชน์เท่านั้นเองค่ะ
 
 
 
 

 
หมายเลขบันทึก: 144689เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2007 04:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เป็นโฆษณาที่มีจุดหมายเพื่อให้ลูกค้าสนใจ

แต่ไม่ได้เห็นปัญหาที่กระทบ คือมองข้ามปัญหา ใช่ัไหมครับผม 

โป้ง อภิลัทธฺ์ เพิ่งแต่งงานไปเมื่อวันที่ 4 พย. จ้ะ เจอเพื่อนเก่าเยอะเลย
  • ตามมาดูครับอาจารย์
  • ยังไม่ได้เดินทาง
  • ถูก สกอ เลื่อนไปอีก
  • คาดว่าน่าจะปลายปี
  • ฮือๆๆๆ

สวัสดีค่ะคุณรักชาติ ท. บ. พล ทหาร และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

สารคดีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิกฤตการวงการโฆษณาค่ะ ว่ามันไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อน

มีตัวอย่างของโฆษณาดังๆในช่วงปีที่ผ่านมาว่า ทำไมโฆษณาเหล่านั้นถึงดัง  สิ่งที่สำคัญคือโฆษณาเหล่านั้นให้ความสำคัญกับผู้บริโภคมาก ให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วม หรือแม้กระทั่งโฆษณาที่ทำกันขึ้นมาเองโดยผู้บริโภค

อย่างในรูปผู้ชาย 2 คนด้านบนหน่ะค่ะ เป็นคนทางบ้าน 2 คนที่เล่นกันเล่นๆ เอาเมนทอสมาใส่ไดเอทโค้ก แล้วน้้ำโก็ฟูระเบิดออกมานอกขวด  2 คนนี้เลยเอามาทำเป็นโชว์ น้ำพุเต้นระบำ ถ่ายวีดีโอลง youtube จนดังเพราะมีคนส่งต่อๆกันให้เพื่อนดู

ปรากฎว่ายอดขายของเมนทอสกับไดเอทโค้กพุ้งกระฉูด เพราะคนซื้อเอาไปลองเล่นกันเอง

ในวงการโฆษณาก็ตื่นเต้นกันมาก  เมนทอสกับไดเอทโค้กไม่ต้องเสียตังค์ซักแดง แต่ไอ้โฆษณาที่ตั้งใจทำกันแทบตายกลับไม่มีผลต่อ การตัดสินใจของลูกค้าว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ

โฆษณาให้ตาย ใช้ดาราค่าตัวแพงๆก็ไม่ช่วยแล้วสมัยนี้ เพราะทุกยี้ห้อก็ทำเหมือนกันหมด 

จะหลอกคนฟังคนดูก็ไม่ง่าย เพราะมีอินเตอร์เนต คนมีข้อมูล หา review สินค้าได้ง่ายๆ ว่ายี่ห้อไหนดีกว่ายี่ห้อไหน  

ฟังดูเหมือนดีนะคะ เหมือนกับว่า ในที่สุดก็มีวันนี้ วันของเราผู้บริโภค

แต่ถ้าดูสารคดีต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นว่านักโฆษณา เค้าจับจุดอ่อนเราได้แล้วค่ะ เค้ารู้ว่าเราสำคัญเพราะเราอยาก"รู้สึก" ได้รับความสำคัญ เราอยาก"รู้สึก"ว่าเรามีอำนาจในการตัดสินใจ

และจุดอ่อนที่ลูกค้ามีที่เค้าจับได้คือ "อารมณ์" อยากมีกะเค้าบ้าง! แล้วเค้าที่ว่านี่ก็คือคนที่เหมือนๆเราๆ นี่แหละค่ะ ไม่ใช่ดารงดาราที่ไหน

แผนใหม่ของบ.โฆษณาคือ ไม่จ้างแล้วดารานางแบบนายแบบ เอาคนพื้นๆที่สุดนี่แหละ เอาปัญหาในชีวิตประจำวันนี่แหละมาขาย ร้ายที่สุดคือทำ home vdo ปลอม เหมือนว่าเป็นคนทางบ้านส่งมา มีปัญหาธรรมดา ที่สินค้าของเราช่วยได้

หรือไม่ก็ประกาศให้คนดูทำ vdo โฆษณาเอง เอามาประกวดรับราววัล หรือไม่ก็ได้ฉายโฆษณาที่คุณทำมาเองตอนที่มีคนดูมากที่สุดในประเทศ

หรือที่แนบเนียนมากอีกอย่างคือ เวลาประกาศขายของที่มีจำนวนจำกัด มีคนมาต่อคิวจะซื้อ ก็ให้พนักงานร้านหลายๆคนมาเป็นกองเชียร์ตอนรอและตอนซื้อเสร็จ ตบมือกรี๊ดเชียร์ว่า คุณทำสำเร็จแล้ว ได้ของมาแล้ว (กรณี iphone ดูในสารคดีนี้ได้ค่ะ ลูกค้าดีใจที่ได้ของยังกะ ปีนเขาสูงๆสำเร็จ)

ก็ประมาณนี้ค่ะ สารคดีนี้ ไม่ขอบอกบทสรุปว่าลงเอยยังไง ให้ดูเอาเองค่ะ : ) 

โป้ง อภิลัทธ์: ยินดีด้วย! ว่างๆเมลมาคุยได้นะ โป้งอยู่สาธิตถึงม.ปลายเลยเปล่า?

อ. ขจิต คะ มาตอนนี้ก็ฝนตกค่ะ : ) มาสิ้นปีเลยก็ดี

เราไม่ใช่โป้งนะ เราไปงานของโป้งมาจ้ะ

เพื่อนประสานมิตร: อ้าว เข้าใจผิด นี่ตกลงจะบอกไม๊เนี่ยะว่าใคร เฮอะๆ : )

 

สวัสดีค่ะ อ.มัท

ขอบคุณมากๆเลยจ้า  ตามไปดูแล้วสามเที่ยว   ดูไม่จบซักที (เข้ามาดูดึกไปหน่อยอะค่ะ)    ต้องรอดูคืนที่ไม่มีสอนจะได้ดูยาวๆไปจนจบ    พี่แอมป์ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง  ฟังกันเมื่อยหูเลยอะ

สรุปแล้วในเบื้องต้นได้ว่า  นักวิจัยเขาเก่งชะมัด   พวกโฆษณาเขาจัดการเราได้อยู่หมัด  เพราะเขาวิจัยมาแล้วว่าจะ"จัดการ"กับ สะ-หมอง  เราอย่างไร  เก่งจนน่ากลัวเลยแฮะ

เหมือนที่เขาวิจัยเรื่อง"ความเกรงใจ"ของคนไทย  แล้วก็ไดเร็กเซลกันเป็นว่าเล่นอยู่พักนึง  น้อยคนที่จะลุกมาตั้งคำถามว่าทำให้ระบบความสัมพันธ์  และศรัทธาที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์แบบ"ผู้ให้"  เสียหายไปแค่ไหน  วงการครูเนี่ยแหละ  บิดเบี้ยวไปเยอะเลย 

ศรัทธาจะไม่พังได้อย่างไร  ถ้า"ผู้ให้"  ไปเรียกร้องเอาประโยชน์ต่างตอบแทนจาก"ผู้รับ"  โดยอาศัยความเกรงใจ  "จำต้องซื้อ"  มากกว่า "ความต้องการซื้อ" ที่แท้จริง

ไม่รู้เมื่อไหร่ Media Literacy บ้านเราถึงจะอยู่ในหลักสูตรอนุบาล  หรืออาจมีแล้วก็ได้นะคะ  องค์กรอิสระมีออกเยอะแยะ   

สงสัยต้องมี Marketing Literacy เพิ่มด้วยแล้วมั้งคะ      : )

เราเคยอยู่ห้องเดียวกับใหญ่ตอน ป. 6 นะ :)

พี่แอมป์ (ดอกไม้ทะเล) ค่ะ ฝากพี่แอมป์เรื่อง Media Literacy  เลยละกันนะคะ (ฮา)

นอกจากต้องรู้ทันข้อมูลภายนอกแล้วยังต้องรู้ทันอารมณ์ตัวเองด้วยเนอะคะ 

เพื่อนประสานมิตร: มาละ 20 คำถาม : ) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท