มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

เรียนรู้ความเหมือนของศาสนาต่างๆจากประวัติศาสตร๋ยุคสมัย Axial (5)


บทที่ 1 (ต่อ)

ทำความรู้จักกับยุค pre-axial (1600-900 ปีก่อนคริสตกาล )

อันเนื่องมาจากตอนที่แล้ว

 - เมื่อ 1500 ปีก่อนคริสตกาล - ชาวอารยันที่เคยอยู่กันสงบๆตามทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของรัสเซีย (ยูเครนในปัจจุบัน) โดนรบกวนด้วยพวกเดียวกันเองที่คึกคะนองไปกับการใช้อาวุธและ ความสามารถในการเดินทางไกลด้วยรถม้า  พวกเค้าคิดว่าเทพแห่งความสงบ (Varuna) หน่ะน่าเบื่อ อยู่แต่ในท้องพระโรงไม่ออกไปไหน เค้าหันมาบูชาเทพแห่งการต่อสู้ (Indra) ดีกว่า เพราะกล้าหาญชาญชัย ฆ่ามังกรสามหัวที่เคยกั้นทางน้ำบนภพโน้น ทำให้คนบนโลกนี้มีน้ำใช้ พวกเค้าฆ่าสัตว์โดยไม่ยั้งคิด ปล้นเพื่อนบ้านแสดงอำนาจ

- 1200 ปีก่อนคริสตกาล - โซโรอัสเตอร์ทนไม่่ไหวแล้ว ต้องการแก้ปัญหา ท่านมีนิมิตว่าเทพเจ้า Mazda ให้เข้าพบและมอบหน้าที่ให้ท่านจัดการกับเหล่านักรบอารยันพวกนั้น เมื่อคนชั่วหมดไป โลกจะได้กลับมาสงบสุขอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้เองศาสนาของโซโรอัสเตอร์จึงถือกำเนิดขึ้น

ช่วงเวลานี้ชาวอารยันที่นับถือเทพเจ้าแบบโบราณดั้งเดิมก็ยังมีอยู่เช่นกัน

- ในช่วงปี 1500-1000 ปีก่อนคริสตกาลนี้เอง ที่ชาวอารยันได้เริ่มทะยอยย้ายถิ่นฐาน

มีพวกนึงไปทางยุโรป จะไม่กล่าวถึงมากในบันทึกชุดนี้ แล้วก็มีพวกอเวสถานเดินทางไปอิหร่านและพวกสันสกฤตไปทางปากีสถาน/อินเดีย

วันนี่กับคราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังถึงพวกที่ไปอยู่แถวลุ่มแม่น้ำสินธุ แล้วคราวต่อไปจะมาเล่าให้ฟังถึงพวกที่ไปอยู่แถวตะวันออกกลางค่ะ

-----------------------------------------------------------------------

2.0 ความเจริญแถบลุ่มน้ำสินธุก่อนที่ชาวอารยันจะย้ายมา

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/0c/IVC_Map.png

[Cluster of Indus Valley Civilization site จาก wikipedia] อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุมีมานานถึง 2300-2000 ปี ก่อนคริสตกาลแล้ว เมืองสำคัญใหญ่ๆมีอยู่ 2 เมืองคือ เมืองโมเฮนโจดาโร (ในแคว้นสินธ์ปัจจุบัน) และ เมืองฮารัปปา (ในแคว้นปันจาบปัจจุบัน)

ทั้งสองเมืองมีชื่อเสียงด้านการก่อสร้างบ้านเรือนด้วยอิฐ มีกำแพงเมืองเป็นเรื่องเป็นราว (ดังภาพด้านล่าง)

ชาวอินเดียโบราณทำการค้าขายกับพวกเมโสโปเตเมียและชาวอียิปต์

  • ส่งออกทอง ทองแดง ไม้ งา ฝ้าย และ
  • นำเข้า เงิน  ทองสัมฤทธิ์ ตะกั่ว ไพฑูรย์ ลาซูลี และ หินสบู่

http://www.archaeologyonline.net/indology/gallery/harappa/harappa-4.jpg http://www.archaeologyonline.net/indology/gallery/mohenjodaro/mdaro-citadel-stupa.jpg

Harappa (ซ้าย) Mohenjodaro (ขวา) จาก archaeologyonline.net

แต่แล้วอยู่ๆอารยธรรมลุ่มแม้น้ำสินธุนี้ก็หายไป!

นักประวัติศาสตร์สมัยก่อนคิดกันว่าเป็นเพราะชาวอารยันที่ย้ายถิ่นมานั้นแหละ มาทำสงครามแล้วก็เผาทำลายหลักฐานทางวัฒนธรรมชาวอินเดียโบราณจนแทบไม่เหลือ
แต่ต่อมาทฤษฎี Aryan Invasion นี้ก็ถูกหลักฐานที่น่าเชื่ิอถือกว่ามากมายทำลายลง
มันไม่มีร่องร่อยสงครามหรือการสู้รบขนาดใหญ่ที่จะทำให้เมืองหลายๆเมืองหายไปเลย และล่าสุดภาพถ่ายดาวเทียม (ดังภาพด้านล่าง) เป็นหลักฐานอย่างดีว่าเคยเกิดภัยแล้งครั้งใหญ่ แม่น้ำแห้งเหือดไปเมื่อราวๆ 1900 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอินเดียโบราณเลยพากันย้ายบ้านไปตั้งถิ่นฐานที่อื่่น กลายเป็นหมู่บ้านเล็กๆกระจัดกระจายไปทั่ว

http://www.archaeologyonline.net/indology/sarasvati-composite2.jpg http://www.archaeologyonline.net/indology/sarasvati-map-crop.jpg 

(ซ้าย) ภาพถ่ายดาวเทียม (ขวา) เส้นสีฟ้าคือแม่น้ำสินธุ (Indus River) สีเขียวคือแม่น้ำ Sarasvati [ปรากฎการณ์นี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากการที่แผ่นเปลือกโลกเลื่อน]

ภาพจาก archaeologyonline.net

2.1 เมื่อชาวอารยันทะยอยมาถึงแถบลุ่มน้ำสินธุ

ชาวอารยันที่เดินทางมาแถบนี้มีทั้งพวกรักสงบและพวกนักรบ (ตามมาในที่สุด -_-') พวกที่รักสงบก็ตั้งหมู่บ้านเป็นแคมป์อยู่ตามที่โล่ง ส่วนพวกนักรบกองโจรก็ไม่ชอบอยู่กับที่ เดินทางแร่ร่อนไปเรื่อบ แต่ก็ไม่มีใครคิดที่จะรื้อฟื้นสร้างเมืองโมเฮนโจดาโร หรือ เมือง ฮารัปปา ขึ้นมาใหม่

ส่วนชาวอินเดียพื้นเมือง (Indigenous Indian) หรือ พวกทราวิด ซึ่งเป็นแขกผิวดำก็อาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายปะปนไปทั่วบริเวณนี้เช่นกัน

2.2 วัฒนธรรมชาวอินโด-อารยันยุคแรก: ยุคพระเวท

ทีนี้ปัญหาคือ คัมภีร์พระเวท ค่ะ

คัมภีร์พระเวทเคยเป็นหลักฐานทางรายลักษณ์อักษรแหล่งเดียวที่ ทำให้เราๆท่านๆทราบประวัติศาสตร์ยุคนั้น (เดี๋ยวนี้ขุดเจอหลักฐานอื่นๆอีกมากมาย)

  • นักประวัติศาสตร์พวกหนึ่งคิดว่าคัมภีร์พระเวทเป็นของชาวอินเดียโบราณมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
  • นักประวัติศาสตร์อีกพวกแย้งว่า แต่ดูเนื้อหา แนวความคิด และรากของภาษาที่ใช้สิ มันช่างคล้ายกับคัมภีร์ Gatha ของพวกอารยันอเวสถานเสียนี่กระไร มันมีความเป็นอารยันมากๆ

นักประวัติศาสตรสมัยใหม่รวมทั้งคุณแคเรน ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เห็นว่ามันเป็นไปได้มากที่ชาวอารยันได้รับเอาวัฒนธรรม ความเขื่อของชาวอินเดียพื้นเมืองมาผสมผสาน แล้วก็เขียนคัมภีร์พระเวทขึ้น ก็ไม่เห็นแปลกอะไร ก็เป็นของทั้ง 2 ชนเผ่านั่นแหละ

อย่างที่เคยเกริ่นไว้ค่ะ ว่าแปลกแต่จริงชาวอินโด-อารยันพวกที่เหลิงๆ ชอบการต่อสู่นี่แหละค่ะ ที่เป็นบรรพบุรุษของศาสนาพรามห์ฮินดู (และพุทธในที่สุด)

ถ้าเรานึกภาพย้อนกลับไปสมัยนั้นในชุมชนอินโด-อารยันนี้จะประกอบไปด้วยคน 2 กลุ่มใหญ่ คือนักรบร่อนแร่พเนจรไปในป่า (aranya) และพวกที่อยู่ในหมู่บ้าน (grama)

พวกนักรบจะมาอาศัยในหมู่บ้านด้วยช่วงหน้าฝน พวกที่อยู่ในหมู่บ้านนี่ก็แบ่งได้หลายพวกย่อย เริ่มมีชนชั้น

2.3 ยุคพระเวท: ริชี

ชนชั้นที่เรียกว่า ริชี (rishi) นี่แหละที่เป็นกลุ่มที่รวบรวมคัมภีร์พระเวทขึ้น

ริชี เป็นทั้งกวี นักบวช และ โหรพยากรณ์ หลายๆตำราประวัติศาสตร์แปลคำว่า ริชี ว่าพราหมณ์ปุโรหิต บ้างก็แปลว่านักพรต ผู้เขียนขอใช้คำทับศัพท์ต่อไปนะคะ

บทสวด โคลงกลอนในคัมภัร์พระเวทมีพลังมาก กล่าวกันว่าคนที่ได้ฟังบทสวดเหล่านี้จะตกอยู่ในภวัง เหมือนได้สัมผัสพลังเหนือธรรมชาติ ว่ากันว่าปรากฎการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะ เนื้อหาในเพลงสวดเลยแต่เป็นเพราะเสียงสวดที่เปล่งออกมา

พวกรีชีเชื่อว่าตนไม่ได่เป็นคนแต่งถ้อยคำร้องเหล่านี้ แต่คำแต่ละคำเป็นเสียงที่ได้ยินมาอีกทีเมื่อริชีได้เข้าสมาธิอยู่ในความเงียบมากๆ รีชีเป็นเพียงผู้รวบรวมและส่งสารต่อเท่านั้นเอง

ด้วยเหตุนี้คนยุคพระเวทจึงนับถือว่าคัมภีร์พระเวท เป็น ศรุติ (shruti) คือเป็นคัมภีร์ที่ได้รับฟังมาจากเทพเจ้าโดยตรง (shruti แปลตรงตัวว่า that which is heard)

เพลงสวดโดยเฉพาะบทที่รวบรวมไว้ในคัมภีร์ส่วนฤคเวท (Rig Veda) ได้รับการถ่ายทอดมารุ่นต่อรุ่นทางเสียง (ไม่มีการเขียนเป็นตัวเอักษรจนกระทั่งหลังศริสตกาล) ข้อดีคือ การอ่านออกเสียงไม่มีเพี้ยนไปเลย จนถึงทุกวันนี้พวกพราหมณ์ก็ยังอนุรักษ์สำเนียงสันสกฤตโบราณ์ไว้ได้

ผู้ที่ได้ฟังบทสวดฤคเวทจะรู้สึกได้ถึงพลังที่เรียกว่า ริตา (rita) [ไม่แน่ใจว่าคือคำว่า รัช รึเปล่า?] พลังศักดิ์สิทธ์ที่ผู้ฟังสัมผัสและรู้สึกได้ว่ามีอยู่นี้ คือพลังเดียวกับสิ่งที่ทำให้ฤดูกลาเปลี่ยนไปมาอย่างคงที่ ี่ทำให้ดวงดาวโคจรตามเส้นทางของมัน  ทำให้ต้นหญ้าเติบโต และทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมอย่างที่เป็นมา 

คัมภีร์ส่วนฤคเวทจึงไม่ได้เป็นศาสตร์ที่ให้ความรู้โดยข้อมูล เนื้อหา แต่เป็นการช่วยให้คนเราเข้าใจโดยสัญชาตญาณ โดยการหยั่งรู้ที่เกิดขึ้นเองในใจ (intuitive insight) ว่าชีวิตและธรรมชาติประกอบไปด้วยสิ่งที่มองเห็นได้ และสิ่งที่เรามองไม่เห็น

พวกริชีจะทำตัวให้พร้อมรับเสียงศักดิ์สิทธิเสมอ มันเหมือนจะเป็นเสียงที่มาจากภายนอก (outside) แต่พวกริชีจะได้ยินในเป็นเสียงในหัวตัวเอง (inner voice)

พวกริชีนี่แหละที่เริ่มคิดค้นเทคนิกการทำสมาธิ ทำให้พวกเค้าเข้าถึง จิตใต้สำนึก (subconscious) ของตนเองได้ ริชีกล่าวไว้ว่า ถ้าเราสามารถกำจัดใจหมกหมุ่น กวนสมาธิได้ ประตูสู่จิตวิญญาณก็จะถูกเปิดออก

และ กองไฟ หรือ เทพอัคนี จะเป็นแสงสว่างชี้นำทางบนโลกทำให้พวกเราได้ "มองเห็น" ความจริง (พิธีต่างๆของชาวเวทจริงประกอบไปด้วยการใช้ไฟนั้นเอง)

ยังค่ะ ชีวิตชาวเวทไม่ได้สงบสุขไปซะตลอดหรอกค่ะ พวกอัศวินบ้าการต่อสู่ยังอยู่ค่ะ พวกริชีนี่เป็นชนส่วนน้อยในชุมชนอินโด-อารยันยุคพระเวทค่ะ

2.4 ยุคพระเวท: พวกนักรบและกองโจร

ชาวอารยันที่ทำตัวเป็นนักรบบนเทียมม้าเดินทางสำรวจที่ไปเรื่อยๆ ก็มีวัฒนธรรมด้านจิตวิญญาณของเค้าเองค่ะ

พวกเค้าใช้ชีวิตสลับไปมาระหว่างในป่ากับหมู่บ้าน เวลาอยู่ในหมู่บ้่่านช่วงฤดูมรสุมก็ร่วมพิธีกับพวกริชี เวลาเข้าป่าก็มีพิธีอีกแบบหนึ่ง ทั้งสองแบบนี่แหละที่ผสมผสานกลายเป็นพื้นฐานต้นตอของศาสนาในยุคAxial 

 พวกเค้าเห็นว่าหนทางสู่ความเข้าใจด้านจิตวิญญาณไม่ได้มีแต่วิธีที่ี "นั่งเฉยๆในความเงียบ"แบบพวกริชี แต่เค้าต้องออกไปต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งกุญแจไขประตูสู่จิตวิญญาณและความจริง

แนวความคิดความเชื่อหลักของพวกนักรบนี้คือ เทพทำอย่างไร เราก็ทำอย่างนั้น แล้วเราจะเข้าถึงประตูแห่งจิตวิญญาณ

คราวหน้าจะมาเล่าต่อค่ะว่า พิํธีกรรมและการใช้ชีวิตของเหล่านักรบพวกนี้เป็นอย่างไร

จะได้รู้ที่มาของคำว่า  โยคะ คำว่า เทพ-อสูร และ ที่มาของ พระพรหม กันในตอนต่อไปค่ะ

คราวหน้าจะเล่าเรื่องยุคพระเวทให้จบ แล้วก็จะมาเล่าเรื่องช่วงต่อจากยุคพระเวทเข้าสู่ อินโด-อารยันยุคปฏิรูป (reform) หรือ ยุคพราหณ์ ให้อ่านกันต่อค่ะ ยุคนี้ผู้คนลงรอยกัน ไม่มีกองโจรซุ่มปล้นมากเหมือนยุคพระเวท ชาวอินโด-อารยัน ทำการเกษตรอยู่เป็นหลักเป็นแหล่งมากขึ้น โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ

---------------------------------------------------------------------- 

  • หมายเหตุ: การแปลเรื่องThe Great Transformation: The Beginning of Our Religious Traditions ของ Karen Armstrong ที่นี่ไม่ได้ขอลิขสิทธิ์และไม่มีจุดประสงค์ทาง ธุรกิจ กรุณาอ่านข้อตกลงทางลิขสิทธิ์ที่ได้จดไว้กับ creative common ทางแถบข้อมูลด้านขวาล่างของบันทึกนี้และปฏิบัติตามด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 94442เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2007 05:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สับซับซ้อนจริงๆนะครับ...คนเราก็ช่างค้นหาที่มาที่ไป....มีเครื่องย้อนเวลาให้เห็นชัดกันไปเลยก็คงดี...

น่าสนใจมากครับ

โอชกร

น่าสนใจ และน่าติดตามมากครับ  เหมือนกำลังเฝ้าติดตามการเจริญเติบโตทางความคิดที่เกี่ยวเนื่องกันในแต่ละยุคสมัย...จะคอยติดตามตอนต่อไปครับ..

ประวัติศาสตร์ทางตะวันออกกลางโดยชนเผ่าอารยันน่าสนใจครับ เมโสโปเตเมีย  อิรัก อิหร่าน  เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มาก่อน เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาทุกศาสนาในโลก

          เคยดูทีวีมีพระภิกษุไทยรูปหนึ่งอยู่ที่อินเดีย ศึกษาเรื่อราวแถบนั้นแล้วท่านบอกว่า  อินเดียเองได้ผ่านยุคเลอเนซอง ที่เจริญรุ่งเรืองอย่างมากถึงขีดสุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชมาแล้ว ปัจจุบันที่อินเดียมุ่งหน้าเข้าสู่ความเจริญทางจิตวิญญาณกันแล้ว

สวัสดีครับคุณมัท..

  • ตอนนี้รอมาหลายวันครับ  ในที่สุดก็ได้อ่านนะ
  •  ความรู้สึกที่ผมติดตามคืออยากรู้ว่ากว่าจะมาเป็นจุดเริ่มต้นของพุทธ  เป็นอย่างไรบ้าง  และที่สำคัญได้จินตนาการถึงภาพในสมัยนั้น  ตามที่คุณมัทเล่ามาครับ (ภาพที่ผมจินตนาการ ออกจะอิงกับเรื่องรามเกียรนะ)
  • อืม..เป็นหวัดหายหรือยังครับ..
ไปหารูปมาได้นิดหน่อยค่ะ

http://hinduism.iskcon.com/img/tradition/ancient2.jpg http://hinduism.iskcon.com/img/tradition/ancient3.jpg

ภาพริชีทำพิธีและเหล่านักรบอารยันจาก [hinduism.iskcon.com]

http://www.himalayanacademy.com/resources/books/dws/images/dws_time_vedic-priests.jpg http://hinduism.iskcon.com/img/tradition/shruti.jpg

ภาพเหล่าริชีจาก[himalayanacademy.com] และ [hinduism.iskcon.com]

อ.พี่โจ (โอชกร),  mr. join_to_know, mr. สุมิตรชัย , หมอพัท(kmsabai

ขอบคุณมากค่ะที่ติดตามตลอด น่าสนใจจริงๆค่ะ

ตอนนี้จะเริ่มคุ้นๆใกล้ศาสนาฮินดูเข้าไปทุกที ใกล้จบยุค pre-axial แล้วค่ะ พอเข้ายุค axial ก็จะเป็นเรื่องฮินดูกับพุทธในที่สุด

แต่ก่อนจะเข้าเรื่องพุทธจะไปเขียนเรื่องทางอิหร่าน ทางเมืองเยรูซาเล็มก่อนซักพัก อย่าเพิ่งเบื่อนะคะ

เพราะทางนั้นก็น่าสนใจ จะทำให้เราเห็นว่า พระเจ้ายิว คริสต์ อิิสลาม จริงๆแล้วก็มีที่มาเดียวกัน ไม้รู้จะแปลคัมภีร์ตรงตัว ไปคิดว่าพระเจ้าตัวเองถูกทีสุดแล้วก็รบกันอยู่ได้ทำไม

ไว้อีกสองสามวันจะมาเขียนใหม่ค่ะ : ) 

หมอพัท(kmsabai): คิดภาพเป็นแนวรามเกียรต์ถูกแนวเลยค่ะ ตอนนี้หายหวัดแล้วค่ะ ของคุณนะคะที่ถามถึง
  •  - - '' ไม่มีเพื่อนทะเลาะด้วย(วิวาทะ) ไม่สนุกเลย
  • ชวนพิ่-อาจารย์มัท ไป brain stom ด้วยครับ คิดเยอะจนฟุ้งซ่าน -*-..

 

Man In Flame: มาตามถึงบ้าน : ) ได้ๆ ไว้จะตามไป เสาร์อาทิตย์นี้กิจกรรมเยอะไปหน่อย

แจ๋วจริงๆ หนูมัท

อาจารย์ขออนุญาต เอาไปสอนเด็กต่อนะครับ จะให้เครดิตกับ หนูมัท เป็นผลานิสงส์ให้มีปัญญาแจ่มใส รู้แจ้งแทงตลอดทุกสภาพปัญหา จนเกิดปัญญาเรียนสำเร็จโดยเร็วและได้ผลยอดเยี่ยมทุกวิชา และรู้รักษาตนเทอญ

อ. พิชัย กลับมาแล้ว : )

ยินดีค่ะอาจารย์  + ขอบคุณมากๆเลยค่ะสำหรับคำอวยพร มีค่าสำหรับหนูมากๆค่ะ 

สวัสดีครับ

เพิ่งค้นเจอบันทึกนี้ เลยติดตามตั้งแต่ตอนแรก สนุกดีครับ อ่านเข้าใจง่ายดี

ถ้ามีเวลา แก้คำผิดนิดๆ หน่อยๆ เยี่ยมเลยครับ

ขออนุญาตเสนอแนะ rishi น่าจะหมายถึง ฤษี คือ ผู้ได้เห็น (บาลีว่า อิสิ) ศรุติ คือ ได้ยิน, rita น่าจะเป็น ฤต ครับ

ขอบคุณค่ะคุณธ.วั ช ชั ย

ถ้าแปลคำว่า ฤษี กว้างก็เห็นจริงตามนั้นค่ะ แต่กลัวว่าคนจะนึกภาพไปตามที่คุ้นเคย เลยไม่แปลเลยดีกว่า : P นำภาพ rishi ที่นุ่งห่มขาวมาให้ดูแทน : )

-----------------------------------------------

ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

ฤต [รึด] น. กฎ, วินัย, (เช่นในพระศาสนา); ธรรมเนียม, ความจริง, ความชอบธรรม. (ส.).


ถ้าแปล ว่า "ความจริง" (The Truth ที่ใช้ T ตัวใหญ่) น่าจะเข้ากันได้ค่ะ แต่มัทคิดว่า rita = life force (Jiva) คำที่คุณธ.วั ช ชั ย เคยช่วยไขข้อข้องใจมัทมาแล้วครั้งนึงในอนุทิน

มัทก็ไม่ได้เรียนทางนี้มาแปลยากมากค่ะ เลยเขียนได้แค่ 6 บันทึก

แต่ก็ตั้งใจว่าว่าจะแปลต่อค่ะ เพราะชอบหนังสือเล่มนี้มาก แต่ถ้าจะแปลให้เร็วคงต้องทับศัพท์เยอะหน่อยอ่ะค่ะ : P แล้วจะแก้คำผิดด้วยแน่นอนคะ ขอบคุณมากๆนะคะ

ถ้าแปลคำว่า ฤษี กว้างก็เห็นจริงตามนั้นค่ะ แต่กลัวว่าคนจะนึกภาพไปตามที่คุ้นเคย เลยไม่แปลเลยดีกว่า : P นำภาพ rishi ที่นุ่งห่มขาวมาให้ดูแทน : )

-----------------------------------------------

ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

ฤต [รึด] น. กฎ, วินัย, (เช่นในพระศาสนา); ธรรมเนียม, ความจริง, ความชอบธรรม. (ส.).

ถ้าแปล ว่า "ความจริง" (The Truth ที่ใช้ T ตัวใหญ่) น่าจะเข้ากันได้ค่ะ แต่ผมคิดว่า rita = life force (Jiva) คำที่คุณธ.วั ช ชั ย เคยช่วยไขข้อข้องใจมัทมาแล้วครั้งนึงในอนุทิน

ผมก็ไม่ได้เรียนทางนี้มาแปลยากมากค่ะ เลยเขียนได้แค่ 6 บันทึก

แต่ก็ตั้งใจว่าว่าจะแปลต่อค่ะ เพราะชอบหนังสือเล่มนี้มาก แต่ถ้าจะแปลให้เร็วคงต้องทับศัพท์เยอะหน่อยอ่ะค่ะ : P แล้วจะแก้คำผิดด้วยแน่นอนคะ ขอบคุณมากๆนะคะ

สวัสดีค่ะคุณ เริงศักดิ์ หักไข่

หวังว่าจะแวะมาใหม่นะคะ เพราะ เม้นท์นี้ไม่ชัดเจนว่าจะสื่ออะไร เห็นแต่ว่าเปลี่ยนคำว่า "มัท" เป็น "ผม" ตรงย่อหน้ารองสุดท้าย แค่นั้นเอง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท