การประดิษฐ์-ดัดแปลงของใช้ ตอน : เครื่องนับเหรียญ


ตอนต่อไปจะพาไปดูความชุ่ยอย่างไม่น่าให้อภัย ของสาย-ปลั๊ก Adaptor จากเมืองจีน และผลงานการ Modify ให้หายแค้นครับ

      ขอลัดคิวเรื่องที่อยากเขียนอีกหลายเรื่องมาแนะนำ สิ่งประดิษฐ์ง่ายๆจากของใกล้ตัวที่เพิ่งทำเสร็จไปเมื่อ 2-3 วันก่อนครับ

      เหตุมาจากภาระหนักในการนับเงินเหรียญ ทั้ง 1 บาท 5 บาท และ 10 บาท เนื่องจากเรามีตู้บริการให้เขาหยอดเหรียญเติมเงิน Online ให้โทรศัพท์มือถือครับ แต่ละวันมีเหรียญหลายพันบาทต้องนับ เห็นคนช่วยนับแล้วเหนื่อยแทน จึงคิดหาของรอบตัวมาประดิษฐ์เป็นเครื่องนับเหรียญด้วยวิธีง่ายๆดังนี้

      เหรียญ 5 บาท ไม่ยากครับ ผมใช้ของฟรีคือกลักใส่ฟิล์มขนาด 35 มม.ซึ่งทำด้วยพลาสติก ทำช่องให้แคบลงพอเหมาะกับขนาดของเหรียญด้วยการตัด/ปรับขนาดอันหนึ่งซ้อนเข้าไปในกระบอกของอีกอันหนึ่ง ส่วนความลึกก็ปรับด้วยการนำวงแหวนพลาสติกใส่เข้าไปเพื่อหนุนให้ได้ระดับที่เมื่อใส่เหรียญ 5 ครบ 20 เหรียญก็จะเต็มและมีระดับเสมอปากกล่องพอดี ทำป้ายสติ๊กเกอร์ติด ก็นำไปใช้ได้เลย ใส่เหรียญเต็มแล้วเทออก 1 ครั้งเท่ากับ 100 บาท สะดวกขึ้นอีกมากเลยครับ

       เหรียญ 10 บาทซึ่งมีขนาดพอๆกัน ก็ทำคล้ายกัน ด้วยวัสดุอย่างเดียวกัน แต่คราวนี้เราต้องการให้ใส่แค่ 10 เหรียญแล้วเต็ม จึงต้องหนุนภายในกล่องให้สูงมากกว่าเดิม แทนที่จะใช้แหวนหลายๆตัว ผมเลือกที่จะใช้กลักฟิล์มอีกอันหนึ่งมาตัดแต่งขนาด และความสูง อัดลงไป โดยหันด้านก้นกล่องที่ทึบขึ้นด้านบน กดอัดลงไป โดยใช้วิธีใส่เหรียญ 10 จำนวน 10 เหรียญ ลงไปก่อน ทดลองอัดชิ้นกล่องที่ตัดเตรีมไว้ทับลงไปบนเหรียญ แล้วจึงตัดขนาดให้เสมอปากกระบอกอันเดิมพอดี จากนั้นก็ดึงออก เอาเหรียญทั้งหมดออก แล้วจึงกดชิ้นส่วนดังกล่าวเข้าไป  คราวนี้พอทดลองใส่เหรียญ 10 เข้าไปจำนวน 10 เหรียญ ก็จะเต็มพอดี ติดป้ายสติ๊กเกอร์ก็เป็นอันนำไปใช้ได้

       สำหรับเหรียญ 1 บาทซึ่งมีขนาดเล็ก หาวัสดุรอบตัวลำบาก จึงไปขอแบ่งซื้อท่อประปา PVC สีฟ้า จากร้าน Hardware ใกล้บ้านมา 10 ซม. เขาคิดเพียง 5 บาทครับ  ปัญหาคือจะเลื่อยตัดอย่างไรให้พอดีกับเหรียญบาท 50 เหรียญตามที่เราต้องการ  สุดท้ายก็รื้อๆไปเจอชิ้นส่วนของระบบชักโครกที่เคยซื้อมาเปลี่ยนเอง  เป็นของเหลือใช้ครับ ประกอบด้วย Screw และ Nut ทำด้วยพลาสติกดังรูปนี้

 

ใช้ปากกาจับยึดชิ้นงาน  แล้วตัดส่วนเกินทิ้งไปให้เหลือขนาดความยาวพอเหมาะ

 

      แล้วผมก็เกลาขนาดตัว Nut ให้ฟิตพอเหมาะ ก่อนตอกเข้าไปในกระบอกท่อประปาให้แน่นหนา  ใส่เหรียญบาทลงไป 50 เหรียญ หลังจากนั้นก็ค่อยๆไขสกรูพลาสติดเข้าไปจนดันเหรียญมาเสมอปากกระบอกก็เป็นอันเสร็จพิธี ติดป้ายสติ๊กเกอร์ระบุจำนวนให้เห็นชัด ก็นำไปใช้งานได้

        นี่คือผลงานขั้นสุดท้ายครับ

 

 

และนี่คือร่องรอยส่วนหนึ่ง ก่อนได้ชื่นชมกับความสำเร็จเล็กๆดังกล่าว

 

       ตอนต่อไปจะพาไปดูความชุ่ยอย่างไม่น่าให้อภัย ของสาย-ปลั๊ก Adaptor จากเมืองจีน และผลงานการ Modify ให้หายแค้นครับ

 

หมายเลขบันทึก: 226940เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2008 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • โอโหพี่บ่าว นวัตกรรมใหม่ อิอิๆๆ
  • สามารถทำให้ยาวกว่านี้ก็ได้ใช่ไหม
  • ไม่ต้องนับ
  • อัดใส่
  • ครบเลย ดีจัง
  • อิอิๆๆๆๆๆ

สวัสดีครับ น้องบ่าว ขจิต ฝอยทอง

  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมเร็วกว่าใคร
  • ทำให้ยาวกว่านี้ก็ได้ .. แต่กลัวคนกรอกจะเซ็งเพราะหยอดจนเมื่อยก็ไม่เต็มซักที
  • ทำขนาดประมาณนี้ ได้เปลี่ยนกิจกรรมบ่อย เดี่ยวกรอก เดี๋ยวเทออก ไม่เบื่อไง
  • เห็นมั้ย .. มีเหตุผล Back up ด้วย .. วิชาการครับ .. วิชาการ

สุดยอดเลยครับ อาจารย์ขออนุญาตนำไปปรับใช้นะครับ

ไอเดียนี้ ธนาคารออมสิน น่าจะซื้อมากๆ เพราะปัจจุบันเวลาผมพาลูกสาวไปฝากเงิน (หลังจากแคะกะปุก) ต้องรอคิวนับเหรียญนานมากครับ

บันทึกใหม่ รอคอยนะครับ

มีปัญหาเรื่องนับเหรียญเหมือนกันครับ

ผมใช้วิธีตัดแผ่นอคิลิคแล้วมาประกอบเพื่อใส่เหรียญบาทให้ได้ 500เหรียญครับ

อยากได้เครื่องนับเหรียญดีๆเหมือนกัน แนะนำบ้างนะครับ

ทำขายป่ะค่ะ ท่อพีวีซีที่นับเหรียญ 10,5,1 บาท สนใจค่ะ

ทำเองไม่เป็นค่ะ

อย่างนี้น่าจะต่อยอดทำเป็นกระปุกออมสินรุ่นนับได้เลยระหว่างหยอดออมเงิน ก็คือ ผ่าเป็นร่องด้านข้างสักนิดนึงให้เห็นเหรีญด้านใน แล้วทำเครื่องหมาย อาจจะทำเครื่องหมายทุกๆ 10 บาท สำหรับกระปุกเหรีญบาท จะได้ดูรูปว่าเราหยอดกระปุกไปแล้วกี่บาทกี่เหรียญล่ะครับ

ท่อพีวีซียาวได้ไม่จำกัดอยู่แล้วนิครับ ท่อละ 2 เมตรก็น่าจะโอเคอยู่ 2 เมตรเหรียญบาทก็ได้หลายบาทเหมือนกันนะครับ อิ อิ

พี่เก่งมากครับผมชอบ

ผมขอดูตัวเครื่องหน่อยครับ

พอดีผมทำโปรเจ็คอยู่ ช่วยผมหน่อยครับ

ขอบคุณมากๆครับที่แบ่งปันสิ่งดีๆมาฝาก

คุณๆสังเกตูไหมบางครั้งเหรียญขนาดเดียวกัน ยังหนาไม่เท่ากันเลย ลองเอาเหรียญ 5 มาซ้อนกันหลายๆเหรียญสิ

เหรียญอื่นไม่น่ามีปัญหาเพราะหนาเท่ากัน แต่เหรียญห้าบาท ปัจจุบันจะมี2ซีรีย์คือ5บาทหนัก7.5กรัมจะหนากว่า5บาท6กรัม วิธีนี้ไม่น่าจะได้ผลครับ

ทำขายมั้ยคะ สนใจอยากได้ค่ะ แต่ทำไม่เป็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท