ยุทธการขยับ CAR...3) การควบคุมคุณภาพโดยองค์กรภายนอก (เฮ้อ!..คิดว่าแน่แล้วเชียว)


ไปมุ่งเน้นแต่การวิเคราะห์ผล ลืมปฏิบัติการแก้ไขให้ครบถ้วน

หลังจากได้แก้ไข CAR เสร็จไปหนึ่งเรื่องแล้ว จากบันทึกนี้ ก็รีบไปทำเครื่องหมาย "ถูก" อันใหญ่ๆไว้ที่หน้าตารางติดตามงานที่เตรียมไว้ จากบันทึกโน้น เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ว่า "เสร็จแล้วจ้า"...

แล้วก็ดูในตารางติดตามงานต่อไปว่า มีเรื่องอะไรอีกบ้างที่เราต้องแก้ไข  ก็นึกขึ้นมาได้ถึงตอนที่พี่เม่ยกำลังอธิบายให้กับอาจารย์ผู้ตรวจประเมินฟังว่า เราใช้วิธีทดสอบอะไรบ้าง...บลา...บลา....

อาจารย์ท่านฟังแล้วก็พยักหน้าเข้าใจ  ดูเหมือนว่าเรื่องการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมือของเราจะผ่านฉลุย  พี่เม่ยแอบโล่งใจไปเปลาะหนึ่ง  แต่ยังไม่ทันได้อิ่มเอมใจสักเท่าไรนัก อาจารย์ท่านก็เอ่ยลอยๆขึ้นมาว่า

" เอ๊ะ! ที่นี่มีการทำ EQA บ้างหรือเปล่า?" (EQA หมายถึงการควบคุมคุณภาพโดยองค์กรภายนอก ที่เราควรสมัครเข้าร่วมอย่างน้อย 1-2 โครงการ ยิ่งถ้าเป็นโครงการที่อินเตอร์ด้วยยิ่งดี  เพื่อประเมินความแม่นยำในการทดสอบของเรา)...

เข้าทางเราเลย...พี่เม่ยรีบตอบว่า "ทำค่ะ..." แล้วหยิบแฟ้มบันทึกผลการทำ EQA ออกมาให้อาจารย์ดู  เรามีการทำอย่างครบถ้วน ปีละ 4 ครั้ง มีผลตอบกลับมาทุกครั้งอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก  มีการทำกราฟวิเคราะห์แนวโน้มของผลประเมินในแต่ละรอบว่าดีขึ้นหรือแย่ลงด้วย

ไม่ง่ายอย่างที่คิด อาจารย์เปิดๆดูรายละเอียดของแต่ละการทดสอบ  แล้วก็ไปเห็นการทำ blood smear control ที่เราไม่ได้รายงานผล basophilic stippling ลงไป ทำให้ผลการประเมินในหัวข้อนั้นออกมาเป็น "Need Action' NA"  ท่านถามทันทีว่า "ไหน...พี่ขอดูปฏิบัติการแก้ไขเรื่องนี้หน่อยซิ..."

แป่ว! ประมาทเกินไปเสียแล้ว พี่เม่ยได้แต่ยิ้มแหยๆแล้วตอบไปว่า "ยังไม่มีค่ะ..." เป็นความผิดของหนูเองที่คิดว่ารายการนี้ไม่สำคัญ ไม่ต้องทบทวนก็ได้  "แต่หนูจะรีบจัดการค่ะ"  พี่เม่ยย้ำ...

จึงเป็นที่มาของ CAR ในหัวข้อที่ว่า "ผล EQA รอบที่ 3 ของเดือนสิงหาคม 2550   blood smear control No#5001.1H  มีผล NA แต่ไม่มีการแก้ไข"

อาจารย์แนะนำว่า  ให้นำสเมียร์แผ่นนั้นมาทบทวนอีกครั้ง ดูซิว่าเราตรวจพบ basophilic stippling หรือไม่  ถ้าพบก็ต้องแจ้งให้ผู้ทำการทดสอบในรอบนั้นรับทราบเพื่อเพิ่มความระมัดระวังในการตรวจสเมียร์เลือดให้มากขึ้น  ถ้าไม่พบก็ต้องประเมินดูว่าทำไมจึงไม่พบ  แล้วทำบันทึกการแก้ไขไว้...  นอกจากนี้อาจารย์ยังแนะนำว่า เราสามารถใช้สเมียร์นี้ในการประเมิน competency ด้านการอ่านสเมียร์เลือดของบุคลากรในหน่วยงานได้อีกด้วย

ไหนๆ ก็ต้องแก้ไขแล้ว  ทำเสียให้เป็นกิจลักษณะเลยดีกว่า พี่เม่ยจึงเริ่มจากการออกแบบบันทึกปฏิบัติการแก้ไข EQA  ให้มีรูปแบบสอดคล้องกับที่ภาควิชากำหนด  และใส่รหัสเอกสารให้เรียบร้อย เพื่อขออนุมัติใช้งาน  ส่วนหัวข้อที่นำมาใช้  ก็ไม่ได้คิดเองหรอกนะคะ  ไปประยุกต์มาจากปฏิบัติการแก้ไขการควบคุมคุณภาพภายใน ของมาตรฐานเทคนิคการแพทย์นั่นเองค่ะ
หลังจากนั้นก็จัดการบันทึกการแก้ไขเรื่องที่ติด CAR นี้ลงในแบบบันทึกนี้  จัดเก็บไว้เป็นหลักฐาน

เสร็จเรียบร้อย  ได้แก้ไข CAR ไปพร้อมๆกับได้สร้าง form ขึ้นมาใช้ในหน่วยงานเพิ่มอีก 1 ฉบับ 

แล้วดูท่าว่าจะได้ใช้บ่อยๆเสียด้วย เพราะเรามีการเข้าร่วมกิจกรรม EQA อยู่หลายโครงการเชียว...ซู่ ซู่ นะพี่เม่ย
คำสำคัญ (Tags): #iso15189
หมายเลขบันทึก: 182344เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ชอบอ่านพี่เม่ยเล่า
  • เห็นภาพ ฮ่าๆๆ
  •  "แต่หนูจะรีบจัดการค่ะ"
  • ขอบคุณครับ

พี่เม่ย...ซู่...ซู่...ค่ะ

พี่เมตตาหายไป พี่เมตตาสู้ๆๆ

พี่เม่ย แบบฟอร์มดูดีจัง ขอขโมยไปใช้เป็นส่วนกลางดีไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท