อาหารแดช(DASH) ช่วยลดความดัน(เลือด)ลดอ้วน


พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังอาหารสุขภาพ “แดช (DASH)” หรืออาหารช่วยลดความดันเลือดมาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับ “แดช” มาฝากครับ...

พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังอาหารสุขภาพ “แดช (DASH)” หรืออาหารช่วยลดความดันเลือดมาแล้วไม่มากก็น้อย วันนี้มีคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับ “แดช” มาฝากครับ...

นักวิจัยจากวิทยาลัยสาธารณสุขฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ทำการศึกษาอาหารที่มีพืชผัก หรือผลิตภัณฑ์จากพืชสูง (DASH / dietary approach to stop hypertension)

ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครที่กินอาหาร “แดช” มีความดันเลือดลดลงตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรก และหลังจากเวลาผ่านไป 8 สัปดาห์ ความดันเลือดของอาสาสมัครส่วนหนึ่งลดลงสู่ระดับปกติดังต่อไปนี้

  • กลุ่มที่กินอาหาร “แดช” มีความดันเลือดลดลงสู่ระดับปกติ 70%
  • กลุ่มที่กินอาหารประเภท “ผลไม้-ผัก” มีความดันเลือดลดลงสู่ระดับปกติ 45%
  • กลุ่มควบคุมมีความดันเลือดลดลงสู่ระดับปกติ 23%

สาเหตุที่อาหาร “แดช” ช่วยลดความดันเลือดได้อาจมาจากสาเหตุต่อไปนี้

  1. อาหารแดชเป็นอาหารประเภทเกลือโซเดียมต่ำ
  2. มีแร่ธาตุสำคัญได้แก่ โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียมสูง แร่ธาตุเหล่านี้อาจช่วยลดระดับฮอร์โมนที่ทำให้เส้นเลือดหดตัวผ่านการทำงานของแคลเซียม (calcium-regulating hormones) หรือแร่ธาตุดีๆ
  3. มีสารไนไทรท์ (nitrite) ขนาดต่ำๆ ซึ่งมีมากในผัก สารนี้มีส่วนช่วยขยายเส้นเลือด สารนี้ถ้ามีมากเกินไปจะเกิดพิษในร่างกาย ขนาดที่มีในผักทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ และปลอดภัย

อาหารแดชมีองค์ประกอบสำคัญๆ ดังต่อไปนี้... (หน่วยข้างท้ายคือ ส่วนบริโภค / servings)

  1. ข้าวไม่ขัดสี (whole grain) เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ วันละ 5-8 ส่วน (1 ส่วน = 1 ทัพพี)
  2. ผัก วันละ 5 ส่วน (1 ส่วน = 1 แผ่น CD หรือถ้วยตวง 240 มิลลิลิตร / ถ้าเป็นผักสุกให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง)
  3. ผลไม้ที่ไม่หวานจัด วันละ 5 ส่วน (1 ส่วน = 1 แผ่น CD หรือเท่าหลอดไฟชนิดมีไส้)
  4. นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ (low fat) หรือไม่มีไขมัน (nonfat) 2-3 ส่วน (1 ส่วน = นม 240 มิลลิลิตร หรือโยเกิร์ต 1 ถ้วย)
  5. ถั่ว เมล็ดพืช หรือนัท (เมล็ดพืชเปลือกแข็ง / nuts) 5 ส่วนต่อสัปดาห์
  6. เนื้อสัตว์ใหญ่ เนื้อสัตว์ปีก หรือปลา วันละ 1-2 ส่วน (1 ส่วน = 1 ฝ่ามือไม่รวมนิ้วมือ)

ขนาดที่กล่าวมานี้เป็นขนาดของฝรั่งรูปร่างใหญ่ คนไทยหรือคนเอเชียคงจะกินมากขนาดนี้ไม่ค่อยไหว แนะนำให้ลดลงตามขนาดรูปร่างของท่าน

คำแนะนำทางด้านโภชนาการของสหรัฐฯ แนะนำให้เปลี่ยนโปรตีนจากสัตว์เป็นโปรตีนจากพืชครึ่งหนึ่ง เช่น เต้าหู้ ถั่วเหลือง ถั่ว งา ฯลฯ

การกินโปรตีนจากพืชพร้อมกันในมื้อเดียวอย่างน้อย 3-5 อย่าง ช่วยให้ร่างกายนำโปรตีนจากพืชไปใช้ได้ดีขึ้น

การกินโปรตีนจากพืชแทนสัตว์อย่างน้อย 50% มีส่วนช่วยลดไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ (มีปนอยู่ แม้แต่ในเนื้อแดงไม่ติดมันก็มีไขมันปน)

การศึกษาอื่นๆ พบว่า อาหารแดชช่วยควบคุมเบาหวาน และช่วยลดไขมันในเลือด(โคเลสเตอรอล)ได้ดี โดยเฉพาะถ้ากินน้ำตาลและแป้งขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว ขนม เครื่องดื่มเติมน้ำตาล ฯลฯ ให้น้อยที่สุด

นอกจากนั้นยังช่วยลดความอ้วนในคนที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วนได้ ถ้ามีเงื่อนไขสำคัญ 3 ประการได้แก่

  1. ลดการกินน้ำตาลให้น้อยที่สุด
  2. ออกกำลังอย่างน้อยเทียบเท่าการเดินเร็ววันละ 30 นาที หรือจะดีกว่านั้นถ้าเพิ่มเป็นวันละ 60 นาที
  3. ไม่จำเป็นต้องออกกำลังรวดเดียว จะแบ่งเป็นช่วงๆ ช่วงละ 10-30 นาทีก็ได้

ข้อควรระวัง... ข้อควรระวังในการกินอาหารแดชคือ อาหารนี้ไม่ใช่อาหารวิเศษที่จะทำให้ความดันเลือดลดลงสู่ระดับปกติได้ทุกคน

คนส่วนหนึ่งยังคงต้องกินยาไปด้วย ปรับเปลี่ยนแบบแผนการใช้ชีวิต (lifestyle / ไลฟ์สไตล์) ให้ดีกับสุขภาพไปด้วย (ไม่ใช่เลิกใช้ยาไปหมดทุกคน)

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดี และมีความดันเลือดพอดีไปนานๆ ครับ

ข่าวประกาศ...                                                  

  • เนื่องจากผู้เขียนมีภาระงานมากเกิน อินเตอร์เน็ตที่อาศัยโรงพยาบาลใช้อยู่ช้ามาก จำเป็นต้องปิดส่วนความคิดเห็นในบล็อก "บ้านสุขภาพ" และงดตอบปัญหาไปพลางก่อน...

ขอแนะนำ...                                                    

  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ความดันเลือด / ความดันโลหิต"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "เบาหวาน"
  • [ Click - Click ]
  • รวมเรื่องสุขภาพ > "ลดความอ้วน"
  • [ Click - Click ]
  • ขอแนะนำบล็อก > "บ้านสาระ"
  • http://gotoknow.org/blog/talk2u

    แหล่งที่มา:                                       

  • Many thanks to > Gabe Mirkin, M.D. > DASH (high-plant) diet controls high blood pressure > [ Click ] >  http://www.drmirkin.com/heart/8614.html > 8/8/05.
  • Many thanks to > Gabe Mirkin, M.D. > Why the DASH diet lowers high blood pressure > [ Click ] > http://www.drmirkin.com/heart/3046.html > 8/6/06. // source: Nature Medicine. December 2003.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 21 กรกฎาคม 2550 > 23 กรกฎาคม 2550.
หมายเลขบันทึก: 113238เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2007 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท